วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรม



บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เนื่องด้วยการจัดการการฝึกอบรมและการจัดการการประชุมของศูนย์ฝึกอบรมของบริษัท
ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มีการดำเนินการจัดฝึกอบรมให้กับบุคคลภายในของ
บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบุคคลภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งการจัดการฝึกอบรมของ ทศท. ในปัจจุบันนี้ได้มีการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรทางด้านต่างๆ
ดังนี้คือ ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านการอำนวยการ ด้านการสื่อสารข้อมูลและ
คอมพิวเตอร์ ด้านเทคโนโลยีสื่อสาร ด้านช่าง ด้านภาษาต่างประเทศ และ Core Competencies
(อานนท์, 2545) ซึ่งการทำงานในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้บุคลากรจำนวนมากในการจัดการเกี่ยวกับ
การฝึกอบรม การสัมมนา การจัดเลี้ยง การจัดการการประชุม ดังกล่าว ซึ่งขั้นตอนการดำเนินการ
แบบเดิมค่อนข้างมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก เสียเวลา มีลักษณะการดำเนินการเป็นแบบ
Manual ใช้ทรัพยากรบุคคลเป็นหลักในการพิจารณาดำเนินการ ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาและ
หาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดการ
การฝึกอบรมและการจัดการการสัมมนาโดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อลดขั้นตอนในการ
บริหารงานและดำเนินงาน ลดระยะเวลาการเดินทางของงานเอกสาร ลดงานด้านเอกสาร
ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา สามารถทราบสถานะของการฝึกอบรมได้ ข้อมูลมีการ Update
ทันสมัยอยู่เสมอ สะดวก รวดเร็ว สามารถตอบสนองการบริหารงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ฉะนั้น
การจัดการการฝึกอบรมผ่านทางอินเตอร์เน็ตจะทำให้สามารถชักจูงผู้สนใจมาอบรมในหลักสูตร
ต่างๆ ได้ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขันทางธุรกิจ ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและหา
ประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรม บริษัท ทศท.
คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ปัญหาที่พบในปัจจุบัน มีดังนี้
1. การจัดการฝึกอบรมในปัจจุบัน จำเป็นต้องใช้บุคลากรจำนวนมากในการจัดการเกี่ยวกับ
การฝึกอบรม ห้องฝึกอบรม ห้องสัมมนา ซึ่งห้องที่ใช้ในการฝึกอบรมและสัมมนามีจำนวนมาก
มีหลายอาคาร จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมากในการดูแล ซึ่งแต่ละอาคารจะมีเจ้าหน้าที่
ในการบริหารและจัดการ
2. การค้นหาข้อมูลทำได้ยาก เนื่องจากเก็บไว้ต่างที่ ต่างอาคาร โอกาสผิดพลาดมีสูง
2
3. การติดต่อประสานงานค่อนข้างล่าช้า เสียเวลาในการดำเนินการ เนื่องจากการติดต่อ
ประสานงาน จะต้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่ดูแล เกี่ยวกับห้องประชุมและห้องฝึกอบรม
ของแต่ละอาคารด้วยเอกสาร เพื่อให้มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร
4. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกอบรมต่างๆ มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนกัน เนื่อง
จากมีการเก็บข้อมูลอย่างกระจัดกระจายมีการทำงานที่ซ้ำซ้อน ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดสูง
5. เสียเวลาในการจัดการฝึกอบรม เนื่องจากหลักสูตรฝึกอบรมมีจำนวนมากบุคคลที่เข้ารับ
การฝึกอบรมมีจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการจัดการฝึกอบรม
6. ระบบงานที่มีอยู่เดิมไม่มีความยืดหยุ่น กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถจัดการ
การฝึกอบรม และสัมมนาได้โดยอัตโนมัติ ไม่สามารถจัดการฝึกอบรมโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ
ได้ทันที ต้องใช้เวลาในการจัดการการฝึกอบรม เนื่องจากการจัดการการฝึกอบรมจะต้องมีการ
ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องหลายส่วนงาน
7. การจัดการดูแลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ เช่น
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ โปรเจคเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโฟนไร้สาย วีดีโอค่อนข้าง
มีปัญหา เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ มีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จำเป็นต้องมีการบริหาร
การจัดการอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ
8. การจัดการเกี่ยวกับการฝึกอบรมใช้ทรัพยากรมนุษย์ ในการจัดการฝึกอบรมต้องใช้
บุคลากรจำนวนมากในการจัดการฝึกอบรม ต้องใช้เวลาในการจัดการฝึกอบรม การเตรียมการจะ
ต้องใช้เวลานานในการเตรียมการ วางแผนการจัดหลักสูตรล่วงหน้าหลายเดือนจึงจะสามารถ
กำหนดการฝึกอบรมได้ ฉะนั้นจึงขาดความคล่องตัวในการจัดการฝึกอบรม
9. ปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ตั้งของห้องฝึกอบรม ห้องสัมมนา และห้องประชุม เนื่องจาก
บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ทำการจัดการฝึกอบรมให้กับพนักงานทั้งภายใน
ทศท. และภายนอก ทศท.ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ จึงมีห้องฝึกอบรม และสัมมนา
เป็นจำนวนมาก หลายตึก หลายอาคารเพื่อรองรับการฝึกอบรม ดังนั้นจึงเกิดปัญหาในการค้นหา
ห้องฝึกอบรม
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงเสนอระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรม
1.2 วัตถุประสงค์
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.2.1 พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.2.2 หาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรม
1.2.3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการใช้งานระบบเดิมและระบบใหม่
3
1.3 สมมติฐานการวิจัย
1.3.1 ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการช่วยงานด้านการฝึกอบรมได้ในระดับดี
1.3.2 ระบบที่พัฒนาขึ้นมีผลทำให้การดำเนินการฝึกอบรมมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น เมื่อเทียบกับ
ระบบเดิม
1.4 ขอบเขตของการวิจัย
1.4.1 ระบบที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถดังต่อไปนี้
1.4.1.1 ผู้ใช้งานระบบ (User) มี 2 ประเภท คือ
ก) ผู้ดูแลระบบ
ข) ผู้ใช้งานระบบ
1.4.1.2 ผู้ดูแลระบบมี Function การทำงานในส่วนนี้ ดังนี้
ก) หลักสูตรการฝึกอบรม สามารถเพิ่ม ยกเลิก แก้ไข ค้นหา ได้
ข) การประชุม การสัมมนา สามารถเพิ่ม ยกเลิก แก้ไข ค้นหา ได้
ค) ประเภทของการฝึกอบรม สามารถเพิ่ม ยกเลิก แก้ไข ค้นหา ได้
1.4.1.3 ผู้ใช้งานระบบมี Function การทำงานในส่วนนี้ ดังนี้
ก) สามารถจองห้องฝึกอบรม ห้องประชุม และนัดหมายได้โดยอัตโนมัติ
ข) สามารถแสดงแผนผัง สถานที่ของห้องฝึกอบรม ห้องประชุม และ
ห้องสัมมนาได้
ค) สามารถแสดงรายละเอียดของห้องฝึกอบรม ห้องประชุม และ
ห้องสัมมนาได้
ง) สามารถพิมพ์รายละเอียดของการจองห้องฝึกอบรม ห้องประชุม
ห้องสัมมนา
จ) สามารถพิมพ์รายงานสรุปผลการทำงาน ของระบบการจัดการเกี่ยวกับ
การฝึกอบรมได้
ฉ) สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกอบรมได้สะดวก รวดเร็ว และง่าย
ยิ่งขึ้น
ช) สามารถติดต่อประสานงานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ซ) สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกอบรมต่างๆ อย่างเป็น
ระบบระเบียบ มีความถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัยอยู่เสมอ มีการทำงานที่ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน
ฌ) สามารถจัดการเกี่ยวกับการฝึกอบรมได้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ทันต่อ
ความต้องการ
ญ) สามารถจัดการดูแลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการฝึกอบรมใน
หลักสูตรต่างๆ ได้
4
ฎ) สามารถแสดงตำแหน่ง สถานที่ตั้ง แผนผังของห้องฝึกอบรม
ห้องประชุม และห้องสัมมนา
ฏ) สามารถตรวจสอบหลักสูตรที่เจ้าหน้าที่แต่ละตำแหน่งสามารถอบรมได้
1.4.1.2 ความสามารถอื่นๆ มีดังนี้
ก) สามารถจองหลักสูตรการฝึกอบรม ห้องฝึกอบรม ห้องประชุม
ห้องสัมมนา โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และอินทราเน็ต
ข) สามารถประเมินผลวิทยากรผ่าน Internet
1.4.2 หลังจากการพัฒนาระบบแล้วนำไปทดสอบใช้ที่ บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด
เพื่อประเมินประสิทธิภาพ และหาผลสัมฤทธิ์ โดยใช้ T-Test
1.5 นิยามศัพท์
1.5.1 ประสิทธิภาพ หมายถึง ระดับความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามในการทดสอบ
ระบบ
1.5.2 ผลสัมฤทธิ์ หมายถึง ค่าวัดประสิทธิภาพการใช้งานระบบโดยผู้ใช้งานจริงและ
เจ้าหน้าที่จัดการฝึกอบรมจากผู้เข้าอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมของ บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น
จำกัด (มหาชน)
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถประยุกต์ใช้ในการช่วยงานฝึกอบรมต่างๆ ช่วยในการตัดสินใจ
ทำให้สามารถจัดการการฝึกอบรมได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยสามารถจัดการการฝึกอบรม
และประเมินผลวิทยากรโดยผ่านระบบอินทราเน็ตได้ และสามารถวางแผนการจัดการการฝึกอบรม
ในอนาคตได้
บทที่ 2
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรม ได้ใช้
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการพัฒนาระบบงาน ทำให้ระบบงานถูกแบ่งแยกเป็น
ส่วนย่อยๆ ออกจากกัน ซึ่งแต่ละส่วนสามารถประมวลผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างเครื่อง
ต่างสถานที่แต่สามารถติดต่อประสานงานกันได้ โดยอาศัยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาช่วย
ในการติดต่อรับ-ส่งข้อมูล ดังนั้นในการพัฒนาระบบงานจึงต้องอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ในการ
นำเสนอข้อมูล โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้พัฒนาได้ศึกษาเอกสารและผลงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. การฝึกอบรม
2. แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศแบบวอเตอร์ฟอล
4. ไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์
5. เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต
6. มายเอสคิวแอล
7. ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา
8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในแต่ละหัวข้อมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1 การฝึกอบรม (Training)
การฝึกอบรม (Training) คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ
ที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติงานไปในทิศทาง
ที่ต้องการ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2523) ซึ่งการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคคลนั้น
จะเป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจงเน้นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของงาน ซึ่งตัวบุคคลนั้น
ปฏิบัติงานอยู่หรือจะปฏิบัติต่อไปในระยะยาว เนื้อหาของเรื่องที่ฝึกอบรมอาจเป็นเรื่องที่ตรงกับ
ความต้องการของตัวบุคคลนั้นหรือไม่ก็ได้ แต่จะเป็นเรื่องที่มุ่งเน้นให้ตรงกับงานที่กำลังปฏิบัติอยู่
หรือกำลังจะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ การฝึกอบรมจะต้องเป็นเรื่องที่จะต้องมีกำหนดระยะเวลา
เริ่มต้นและสิ้นสุดอย่างแน่นอน โดยมีจุดประสงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งสามารถ
ประเมินผลได้จากการปฏิบัติงานหรือผลงาน หลังจากได้รับการฝึกอบรม ในขณะที่การศึกษา
จะเป็นเรื่องระยะยาวและอาจประเมินผลไม่ได้ทันที การศึกษาเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง
6
พฤติกรรมอย่างมีระบบอาจประเมินผลไม่ได้ทันที การศึกษาเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมอย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลมีความรู้ทักษะ ทัศนคติในเรื่องทั่วๆ ไป อย่างกว้างๆ โดย
มุ่งเน้นการสร้างคนให้มีความสมบูรณ์ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี และสามารถ
ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ การศึกษาจะเน้นที่ตัวบุคคล โดยปกติการศึกษาจะจัดขึ้น ใน
โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ส่วนการฝึกอบรมจะมีพื้นฐานทางด้านอาชีพ และเกิดขึ้นใน
องค์กรปกติ การฝึกอบรมจะมีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานทันทีในด้านปฏิบัติ (ชาญชัย,
2538)
2.1.1 ความหมายของการฝึกอบรม
การฝึกอบรม หมายถึง “กระบวนการต่างๆ ที่ใช้เพื่อช่วยให้ข้าราชการมีความรู้ ทักษะและ
ทัศนคติที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ในหน้าที่ และเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างข้าราชการ
ในการปฏิบัติงานร่วมกันในองค์การ” (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2520)
การฝึกอบรม คือ “การถ่ายทอดความรู้เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ความชำนาญ ความสามารถ
และทัศนคติในทางที่ถูกที่ควร เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานและภาระหน้าที่ต่างๆ ในปัจจุบันและ
อนาคตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าการฝึกอบรมจะมีขึ้นที่ใดก็ตามวัตถุประสงค์
ก็คือ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานหรือเพิ่มขีดความสามารถในการจัดรูปของ
องค์การ” (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2520)
การฝึกอบรม หมายถึง “กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคล
มีความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถที่จำเป็น และมีทัศนคติที่ดีสำหรับการปฏิบัติงานอย่างใด
อย่างหนึ่งของหน่วยงานหรือองค์การนั้น” (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2533)
การฝึกอบรม คือ “กระบวนการในอันที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ
ทัศนคติ และความชำนาญ ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด และเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์
ที่กำหนดไว้” (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2533)
การฝึกอบรม หมายถึง “กระบวนการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่แท้จริง
สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมและยกระดับความสามารถ
ของบุคลากรในการเข้าสู่ระบบงานเพื่อรับใช้สังคม” (ติน, 2535)
การฝึกอบรม หมายถึง “กิจกรรมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ในชั่วระยะเวลาหนึ่งอย่างมีระบบ
แบบแผน เป็นกระบวนการที่จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ความชำนาญ
ในการปฏิบัติงาน มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน และเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน
ให้เป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ” (ดนัย, 2537)
การฝึกอบรม หมายถึง “กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยมุ่งเพิ่มพูนความ
รู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude) อันจะนำไปสู่การยกมาตรฐาน การ
7
ทำงานให้สูงขึ้น ทำให้บุคคลมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและองค์บรรลุเป้าหมายที่
กำหนดไว้” (สมคิด, 2538)
การฝึกอบรม หมายถึง “กระบวนการในการเรียน การสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
เสริมสร้างทักษะ และแลกเปลี่ยนทัศนคติตามความมุ่งหวังที่กำหนดไว้ อันนำไปสู่การ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม” (สมชาติ และ อรจรีย์, 2539)
การฝึกอบรม หมายถึง “การเพิ่มประสิทธิภาพของงานซึ่งบุคคลนั้นปฏิบัติอยู่หรือจะปฏิบัติ
ต่อไปในระยะยาว เนื้อหาของเรื่องที่ฝึกอบรมอาจเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของตัวบุคคลนั้น
หรือไม่ก็ได้ แต่จะเป็นเรื่องที่มุ่งเน้นให้ตรงกับงานที่กำลังปฏิบัติ หรือกำลังจะได้รับมอบหมาย
ให้ปฏิบัติ การฝึกอบรมจะต้องเป็นเรื่องที่จะต้องมีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดลงอย่าง
แน่นอน โดยมีจุดประสงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งสามารถประเมินผลได้จาก
การปฏิบัติงานหรือผลงาน (Performance) หลังจากได้รับการฝึกอบรม” (ดวงใจ, 2546)
จากความหมายของนักการศึกษาต่างๆ สามารถสรุปความหมายของการฝึกอบรมได้ว่า
การฝึกอบรม คือ กิจกรรมการเรียนรู้เฉพาะเจาะจงของบุคคล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
ซึ่งบุคคลนั้นปฏิบัติอยู่หรือจะปฏิบัติต่อไปในระยะยาว เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ
ทักษะ ความชำนาญ และทัศนคติที่ดี จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงานที่สูง
ขึ้น ซึ่งสามารถประเมินผลได้จากการปฏิบัติงานหรือผลงานหลังจากได้รับการฝึกอบรม ทำให้
องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และบุคลากรมีความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การ
งาน
2.1.2 วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
2.1.2.1 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือเพิ่มขีดความสามารถ
ในการจัดรูปขององค์กร (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2520)
2.1.2.2 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ (Knowledge) พัฒนาทักษะ (Skill) และเปลี่ยนแปลง
เจตคติ (Attitude) เมื่อบุคคลได้รับการฝึกอบรมทางด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติแล้ว จะก่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมไปในทางที่ดี ทำให้การปฏิบัติงานได้ผลดีขึ้น (พัฒนา, 2541)
2.1.2.3 เพื่อให้บุคคลในองค์กรสามารถทำประโยชน์แก่องค์กร หน่วยงาน และ
ทีมงานได้อย่างเต็มที่ เพราะการฝึกอบรมจะทำให้เข้าหลักการ และวิธีการในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น
(สมชาติ และ อรจรีย์, 2539)
2.1.2.4 เพื่อปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การปฏิบัติงานของบุคลากรในแต่ละระดับ
มีความเข้าใจในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน
เพื่อเพิ่มทักษะความชำนาญของการทำงาน และเพื่อจูงใจบุคลากรให้ปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น
(Wexley and Latham, 1981)
2.1.3 ประโยชน์จากการฝึกอบรม
8
การฝึกอบรมช่วยพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพสูงขึ้น ในยุคของข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยี
สารสนเทศอันทันสมัยที่มีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเป็นไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนา
บุคลากรให้เหมาะสมกับงานมีความจำเป็นต้องดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ (พัฒนา,
2541) ได้กล่าวถึงประโยชน์และความสำคัญของการฝึกอบรมไว้ว่า การฝึกอบรมจะก่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อบุคคลเป้าหมาย ต่อหน่วยงานของบุคคลเป้าหมาย และหน่วยงานที่จัดฝึกอบรม ดังนี้
2.1.3.1 ประโยชน์ต่อบุคคลเป้าหมาย
ก) ช่วยให้บุคคลเป้าหมายได้มีโอกาสเรียนรู้ โดยการฝึกปฏิบัติภายใต้
คำแนะนำของวิทยากรผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องนั้น
ข) ช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียนรู้ เนื่องจากหลักสูตรฝึกอบรมได้จัด
อย่างมีระบบ และเป็นขั้นตอนบุคคลเป้าหมายจึงได้เรียนรู้ตาม ลำดับขั้นและเข้าใจถึงเหตุผล
รวมถึงสามารถเชื่อมโยงการปฏิบัติในแต่ละขั้นที่ต่อเนื่องกันได้
ค) ช่วยให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ระหว่างบุคคล
เป้าหมายด้วยกัน หรือระหว่างบุคคลเป้าหมายกับวิทยากร
ง) ช่วยพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม (Team Work) โดยบุคคลเป้าหมาย
ได้มีการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการกลุ่ม (Group Process) ซึ่งผู้เข้าอบรมทุกคนได้เรียนรู้
ด้วยตนเองจึงมีความเข้าใจ และเกิดเจตคติในการทำงานเป็นกลุ่มอย่างมีประสิทธิผล
จ) เพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้เข้าอบรมจากการให้ความรู้ หรือเทคนิค
ใหม่ๆ เป็นการปรับปรุงความสามารถในการทำงาน
ฉ) ช่วยลดความเหนื่อยหน่ายเฉื่อยชาในการทำงาน ทำให้ความผิดพลาด
ในการทำงานลดน้อยลง มีความกระตือรือร้น ตั้งใจทำงานมากขึ้น
ช) ลดความตึงเครียดในการทำงาน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดความรู้
ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่การงาน ที่รับผิดชอบ เพิ่มความมั่นใจในการทำงาน
มากขึ้น
2.1.3.2 ประโยชน์ต่อหน่วยงานของบุคคลเป้าหมาย
ก) หน่วยงานสามารถสร้างผลงานและบริหารงานได้มากขึ้น และดีขึ้น
เพราะบุคลากรสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพการทำงานได้อย่างรวดเร็วตลอดจนมีขวัญกำลังใจดี
ข) ส่งเสริมความมั่นคงและยืดหยุ่นให้แก่หน่วยงาน รวมถึงให้มี
การเตรียมพร้อมหากมีการเปลี่ยนแปลงภายในหน่วยงาน เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบาย
การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน หรือการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น
ค) ช่วยลดปัญหาในการปฏิบัติงาน การทำงานไม่ติดขัด และอุบัติเหตุ
ในการทำงานน้อยลง
ง) ช่วยประหยัดงบประมาณของหน่วยงาน เพราะบุคลากรสามารถ
ทำงานชิ้นหนึ่งสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพไม่เสียเวลา
9
จ) ลดการสายขาดลางาน ลดการลาออกของพนักงาน
2.1.3.3 ประโยชน์ต่อหน่วยงานที่จัดฝึกอบรม
ก) ช่วยให้บุคลากรที่รับผิดชอบแต่ละคน เกิดการพัฒนาตนเองให้มี
ความรู้ความเข้าใจ ความชำนาญ และเจตคติที่ดีอยู่เสมอ
ข) ช่วยให้บุคลากรมีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ และทักษะ
รวมถึงการได้รับประสบการณ์ ทำให้สามารถเลือกใช้วิธีการถ่าย ทอดความรู้ได้อย่างเหมาะสม
มีความคล่องตัวมีประสิทธิผล
ค) ช่วยให้ขวัญและกำลังใจของบุคลากรแต่ละคนดีขึ้น เนื่องจากทุกคน
มีความเชื่อมั่นในความสามารถและตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง จึงมีความมั่นใจในการทำงาน
ง) ช่วยบุคลากรเกิดความเชื่อมั่นในการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จ
และมีความพร้อมที่จะทำงาน ในตำแหน่งหน้าที่การงานที่มีความรับผิดชอบสูงขึ้น เกิดความ
ก้าวหน้าในอาชีพและรายได้
จ) ช่วยให้หน่วยงานปรับตัวได้ดีขึ้น สอดคล้องกับการผันแปรทาง
เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต
2.1.4 กระบวนการฝึกอบรม
กระบวนการฝึกอบรม หมายถึง "กระบวนการหรือขั้นตอนการปฏิบัติในอันที่จะทำให้
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เกิดความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ ทักษะ หรือความชำนาญ ตลอดจน
ประสบการณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้"
ตามภาพที่ 2-1
การหาความจำเป็น
ในการฝึกอบรม
การประเมินผล/ติดตาม
ผลการฝึกอบรม
การสร้างหลักสูตร
ฝึกอบรม
การบริหารโครงการ
ฝึกอบรม
กำหนดโครงการ
ฝึกอบรม
10
ภาพที่ 2-1 แสดงกระบวนการฝึกอบรม
กระบวนการฝึกอบรมมีขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอน ซึ่งผู้รับผิดชอบจัดโครงการ ฝึกอบรม
เพื่อพัฒนาบุคลากรแต่ละโครงการ ควรจะต้องดำเนินการในแต่ละขั้นตอนอย่างครบถ้วน เพื่อให้
เป็นการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ มีความสมบูรณ์ และเกิดผลสำเร็จตรงตามเป้าหมายโดยมี
กระบวนการฝึกอบรมดังนี้
1. การหาความจำเป็นในการฝึกอบรม หมายถึง การค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรหรือ
ในหน่วยงาน ว่ามีปัญหา เรื่องใดบ้าง ที่จะสามารถแก้ไขให้หมดไปหรืออาจทำให้ทุเลาลงได้ด้วย
การฝึกอบรม โดยรวมไปถึงการพยายาม หาข้อมูลด้วยว่า กลุ่มบุคลากรเป้าหมายที่จะต้อง
เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มใด ตำแหน่งงานอะไร มีจำนวนมากน้อยเพียงใด ควรจะต้องจัดเป็น
โครงการฝึกอบรมให้หรือเพียงแต่ส่งไปเข้ารับการอบรมภายนอกองค์การเท่านั้นมีภารกิจใดบ้าง
ที่ควรจะต้องแก้ไข ปรับปรุง ด้วยการฝึกอบรม พฤติกรรมประเภทใดบ้างที่ควรจะต้องเปลี่ยนแปลง
ด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ หรือประสบการณ์ ทั้งนี้สภาพการณ์ที่เป็นปัญหา และแสดงถึง
ความจำเป็นในการฝึกอบรมอาจมีทั้งที่ปรากฏชัดแจ้ง และเป็นสภาพการณ์ที่ซับซ้อนจำเป็น ต้อง
วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา เพื่อค้นหาวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบ
รมมีหลายหลายวิธี เช่น การสำรวจ การสังเกตการณ์ การทดสอบ และการประชุม เป็นต้น
2. การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม หมายถึง การนำเอาความจำเป็นในการฝึกอบรม ซึ่งมีอยู่
ชัดเจนแล้วว่ามีปัญหาใดบ้างที่จะสามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร
และพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงเป็นด้านใดนั้นมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป็น
หลักสูตร โดยประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม หมวดวิชา หัวข้อวิชา วัตถุประสงค์
ของแต่ละหัวข้อวิชา เนื้อหาสาระหรือแนวการอบรม เทคนิคหรือวิธีการอบรม ระยะเวลา
การเรียงลำดับหัวข้อวิชาที่ควรจะเป็นตลอดจนการกำหนดลักษณะของวิทยากรผู้ดำเนินการ
ฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อจะทำให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีขั้นตอน และเกิดการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมจนทำให้สิ่งที่เป็นปัญหาได้รับการแก้ไขลุล่วงไปได้ หรืออาจทำให้ผู้เข้ารับการอบรม
ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มใจยิ่งขึ้น
3. การกำหนดโครงการฝึกอบรม คือ การวางแผนการดำเนินการฝึกอบรมอย่างเป็น
ขั้นตอน ด้วยการเขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเรียกว่า "โครงการฝึกอบรม" เป็นการระบุ
รายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่เหตุผลความเป็นมา หรือความจำเป็นในการฝึกอบรม
หลักสูตร หัวข้อวิชาต่างๆ วิทยากร คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการอบรม วันเวลา สถานที่อบรม
ประมาณการค่าใช้จ่าย ตลอดจนรายละเอียดด้านการบริหารและธุรการต่างๆ ของการฝึกอบรม
ทั้งนี้เนื่องจากการฝึกอบรมเป็นกิจกรรมที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายนับตั้งแต่ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกอบ
รม ผู้บังคับบัญชา ในหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม วิทยากร และที่สำคัญคือ
11
ผู้บริหารซึ่งมีอำนาจอนุมัติโครงการและค่าใช้จ่าย จำเป็นจะต้องเข้าใจถึงรายละเอียดต่างๆ ของ
การฝึกอบรม โดยใช้โครงการฝึกอบรมที่เขียนขึ้นเป็นสื่อนั่นเอง
4. การบริหารโครงการฝึกอบรม เป็นขั้นตอนหนึ่งของ "การดำเนินการฝึกอบรม"
ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของการจัดโครงการฝึกอบรม หากแท้ที่จริงแล้วการดำเนินการฝึกอบรม
เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบริหารโครงการฝึกอบรม เพราะการดำเนินการฝึกอบรมที่มี ประ
สิทธิภาพ และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้นั้น นอกจากวิทยากรที่มีความรู้ความ
สามารถ และหลักสูตรฝึกอบรมที่เหมาะสมแล้ว ยังจำเป็นต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดการ
ฝึกอบรมที่เข้าใจหลักการบริหารงานฝึกอบรมที่สามารถวางแผน และดำเนินงานธุรการทั้งหมด
ในช่วงทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย จึงได้กำหนดขั้นตอนนี้
เป็นการบริหารโครงการฝึกอบรมเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหา ที่ผู้จัดโครงการฝึกอบรมควรทราบทั้ง
หมด ส่วนในการดำเนินการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ผู้จัดโครงการอบรมจะต้องมีบทบาทหลักช่วย
อำนวยความสะดวกให้กับวิทยากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้าอบรม ทั้งในด้าน
สถานที่โสตทัศนูปกรณ์ วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ การเงิน ฯลฯ และยังต้องดำเนินงานในฐานะผู้
อำนวยการโครงการทำหน้าที่ควบคุมให้การฝึกอบรมดำเนินไปตามกำหนดการ จัดให้มีกิจกรรม
ละลายพฤติกรรมและกิจกรรมกลุ่มต่างๆ ในระหว่างผู้เข้าอบรมอันจะช่วยสร้างบรรยากาศ ใน
การฝึกอบรมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้สำหรับผู้เข้าอบรมได้เป็นอย่างดี มิฉะนั้นอาจไม่สามารถ
ทำให้การฝึกอบรมดำเนินไปตามที่ระบุไว้ในโครงการอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุประสิทธิผล
5. การประเมินและติดตามผลการฝึกอบรม ในการกำหนดโครงการฝึกอบรม ผู้รับผิดชอบ
จะต้องคำนึงถึงการประเมินผลการฝึกอบรมไว้ด้วยว่า จะดำเนินการประเมินผลด้วยวิธีการใดบ้าง
โดยใช้เครื่องมืออะไร และจะดำเนินการติดตามผลการฝึกอบรมหรือไม่ เมื่อใด เพราะเมื่อ
การฝึกอบรมเสร็จสิ้นลงแล้ว ผู้รับผิดชอบโครงการควรจะต้องทำการสรุปประเมินผลการฝึกอบรม
และจัดทำรายงานเสนอให้ผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาถึงผลของการฝึกอบรม ส่วนผู้รับผิดชอบ
โครงการเองจะต้องนำผลการประเมินโครงการฝึกอบรมทั้งหมดมาเป็นข้อมูลย้อนกลับหรือ
Feedback ใช้พิจารณาประกอบในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเช่นเดียวกันในรุ่นถัดไป ในขั้นตอน
ของการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมว่าควรจะต้องมีการพัฒนา หรือปรับปรุงหลักสูตร หรือ
การดำเนินการในการบริหารงานฝึกอบรมอย่างไรบ้าง เพื่อจะทำให้การฝึกอบรมสัมฤทธิผล
ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการเพิ่มขึ้น
เพื่อให้การจัดการฝึกอบรมขององค์กรเป็นไปอย่างให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และ
บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ จึงต้องนำเอาระบบสารสนเทศมาช่วยในการจัดการ ดังนั้นผู้วิจัย
จึงได้ศึกษาแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพื่อนำไปช่วยจัดการ
การฝึกอบรม
12
2.2 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารเป็นแนวคิดที่เป็นพื้นฐานต่างๆ และเป็นแนวทางในการบริหาร
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับระบบข้อมูล และเอื้ออำนวยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการนำ
คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูลและบริหารงาน ดังนั้นจึงมีชื่อว่า Management
Information Systems (MIS) หรือ Computer-Based Information Systems หรือ Information
Systems Concepts for Management
แฮค แคนโดลี และเรย์ ได้นิยามว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระเบียบวิธีหนึ่ง
ในการปรับปรุงคุณภาพของสารสนเทศ และการเข้าถึงสารสนเทศที่ตรงกรณีที่มีอยู่กับองค์กร
ระเบียบวิธีนั้นประกอบด้วยการนิยาม การตัดสินใจทางการจัดการ การอธิบายนโยบายการทำการ
ตัดสินใจ และการพัฒนาเทคนิคสำหรับประมวลผลสารสนเทศ
ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารเป็นระบบที่ประมวลข้อมูลไว้เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน และ
บริหารงานในทุกระดับ แต่สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีจำนวนมากในปัจจุบันประกอบกับ มีการ
แข่งขันที่รุนแรง การบริหารงานจึงมีความยุ่งยากและต้องการระบบข้อมูลที่ดีเข้ามาช่วยวางแผน
ควบคุม และตัดสินใจ และต้องทันเวลาอีกด้วย จึงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคอมพิวเตอร์
จะต้องเข้ามาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร ที่ช่วยให้สามารถ
ประมวลผลข้อมูลจำนวนมากอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม และสามารถนำไปใช้ได้อย่างทันเวลา
ฉะนั้นเมื่อมีการกล่าวถึงระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร จึงมักจะหมายถึงระบบข้อมูลที่ใช้
คอมพิวเตอร์ช่วยในการประมวลผลข้อมูล
การที่มีคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นช่วยทำให้แนวคิดเกี่ยวกับระบบข้อมูลที่มีอยู่เดิม สามารถ
นำมาปฏิบัติให้เป็นจริงได้ ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดความ
ก้าวหน้าของระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร ฉะนั้นความก้าวหน้าของระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร
จึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ด้วยระบบ
สารสนเทศ
การประมวลข้อมูล หรือการบริหารข้อมูลในด้านความรู้ (Knowledge Work) หรือ
การตัดสินใจ เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักงาน และเทคโนโลยีการสื่อสาร
(Communication Technology) เพื่อสนับสนุนงานด้านธุรกิจก็เป็นส่วนหนึ่งของ MIS
(Management Information Systems) ด้วยเช่นกัน
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนับว่ามีประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่าย เช่น ผู้ออกแบบ
ผู้ปฏิบัติ ผู้จัดการระบบสารสนเทศ และผู้กำหนดความต้องการสารสนเทศ และยังช่วย
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ให้เข้าใจสารสนเทศที่ต้องการในการวางแผนจัดการ และ
ผู้ใช้ (User) ให้เข้าใจสารสนเทศที่เขาต้องการว่าเหมาะสมกับระบบอย่างไร
13
วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) เป็นศาสตร์ที่สำคัญต่อระบบสารสนเทศ
เพื่อการจัดการ เป็นการนำเอาวิธีการคำนวณ ซอฟต์แวร์ และโครงสร้างข้อมูลมารวมไว้ด้วยกัน
จึงถือว่าเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของวิทยาการคอมพิวเตอร์กับสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ส่วนประกอบการปฏิบัติงานของระบบสารสนเทศในการประมวลผล หรือผลลัพธ์ของระบบ
ประกอบด้วยทางกายภาพ ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ เป็นการนำข้อมูลเข้า
แสดงผลลัพธ์ เก็บข้อมูล ประมวลผล
2. ซอฟต์แวร์ หมายถึง คำสั่งต่างๆ ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ในที่นี้
เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์
3. ฐานข้อมูล เป็นแหล่งเก็บข้อมูลทั้งหมด เพื่อนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ข้อมูล
ที่จัดเก็บไว้จะอ้างอิงถึงแฟ้มข้อมูล (File) เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลหนังสือ การดึงข้อมูลจาก
แหล่งข้อมูล มาเก็บไว้ที่หน่วยความจำสำรองเพื่อใช้งาน เป็นต้น
4. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ (Formal) เป็นหนังสือ
คู่มือการปฏิบัติงาน ในการบันทึกข้อมูลเข้าหรือดึงข้อมูลมาดูเพื่อต้องการใช้ผลรายงาน การ
ประมวลผล เป็นการทำงานของระบบสารสนเทศในแง่ของหน้าที่ในการประมวลผล
การประมวลผลรายการ (Process Transaction) หมายถึง การดำเนินในกิจกรรม
ในองค์กรหรือภายนอกองค์กรเป็นการบันทึกรายงาน (Record) จากรายการ (Transaction) เพื่อ
1. กำหนดรายการนำเข้า เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการกำหนดราคา
2. ออกผลรายงานข้อมูลลูกค้า รายรับรายจ่ายของร้าน
3. การติดต่อสื่อสารระหว่างรายการใช้งานของลูกค้า และการกำหนดราคา ที่ต้องการ
เพื่อใช้บันทึกรายการเป็นสารสนเทศ เพื่ออ้างอิง
การใช้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจโดยผ่านตัวแบบ ในระบบ
สารสนเทศ หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้า จนกระทั่งคำตอบเป็นที่น่าพอใจ
รายงานที่ผู้ใช้ต้องการ เป็นระบบสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการรายงานหรือผลลัพธ์ (Output)
ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลนำเข้า (Input) ต้องมีประโยชน์ต่อการใช้งาน กะทัดรัด เข้าใจง่าย
สะดวกต่อการนำไปใช้ และสะดวกหรือง่ายต่อผู้ใช้ที่ออกรายงาน
เมื่อมีการนำเอาระบบสารสนเทศมาช่วยในการจัดการฝึกอบรม จำเป็นต้องมีการศึกษา
ถึงขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศแบบวอเตอร์ฟอล เพื่อให้การพัฒนาระบบสารสนเทศ
เพื่อช่วยในการจัดการฝึกอบรมเป็นไปตามลำดับขั้น
2.3 การพัฒนาระบบสารสนเทศแบบวอเตอร์ฟอล (มนต์ชัย, 2545)
การพัฒนาระบบสารสนเทศโดยการพิจารณาฐานข้อมูลทีละส่วนเรียงกันไปเป็นลำดับขั้น
เป้าหมายของการพัฒนาวิธีนี้เกิดขึ้นจากอัตราการขยายตัวของฐานข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้น
14
โดยกล่าวกันว่า The Waterfall Method เป็นวิธีคิดเชิงระบบที่มีลำดับขั้นแน่นอน สามารถนำไป
ประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบสารสนเทศได้ ดังแสดงในภาพที่ 2-2 ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย
6 ขั้นตอน ได้แก่
ภาพที่ 2-2 แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนย่อยของวิธีวอเตอร์ฟอล
2.3.1 วิศวกรรมระบบ (System Engineering) เป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาระบบ
สารสนเทศ เป็นการพิจารณาข้อมูลขั้นต้นเกี่ยวกับความต้องการระบบ ข้อกำหนดรายการ
ฟังก์ชัน หน้าที่การทำงาน และกระบวนการพัฒนาเพื่อให้ได้มาของระบบที่มีคุณสมบัติดังกล่าว
ข้อกำหนดต่างๆ อาจมาจากลูกค้า ผู้ใช้งาน ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้คือความต้องการพัฒนา
(Develop Requirement) โดยต้องมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้
2.3.2 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นการวิเคราะห์โดยนำข้อมูลจากความต้องการพัฒนา
(Develop Requirement) เพื่อวิเคราะห์เป็นข้อกำหนดของระบบ (System Specifications)
ซึ่งใช้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาในขั้นถัดไป ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนย่อยๆ หลายขั้นตอน
เพื่อใช้ในการวิเคราะห์กระแสข้อมูล (Data Flow) พัฒนาพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
กำหนดรูปแบบของระบบสารสนเทศ และสรุปข้อกำหนดของระบบ
Analysis
Software
Engineering
Design
Coding
Testing
Maintenance
Develop Requirement
System Specifications
Software Design Document
Implementation
Validated Software
Software Re-evaluation
15
2.3.3 การออกแบบ (Design) ประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนข้อกำหนดให้ชัดเจนขึ้น
การใช้หลักพื้นฐานในการออกแบบ การเตรียมการออกแบบ การพัฒนาโครงสร้างของระบบ
สารสนเทศ การออกแบบกระบวนการดำเนินงานในแต่ละโมดูล การเตรียมการทดสอบระบบ
และการเตรียมงานด้านเอกสาร การสรุปเอกสารของการออกแบบทั้งหมด (Software Design
Document) เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าทุกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ควรสรุปการออกแบบร่วมกับ
ลูกค้า โดยทำความตกลงและปรับเปลี่ยนเสียใหม่ เพื่อให้ขั้นตอนต่อไปผิดพลาดน้อยที่สุด
2.3.4 การเขียนโปรแกรม (Coding) ต้องมีเป้าหมายชัดเจนและเรียบง่าย กำหนดและ
ใช้ชื่อตัวแปรที่มีความหมาย ใส่หมายเหตุชื่อหัวเรื่องและคำอธิบายไว้ในแต่ละโมดูลด้วย
สร้างโครงสร้างของคำสั่งและร่างโปรแกรมให้ง่ายต่อความเข้าใจ ภายหลังจากการใส่รหัสควรมี
การทดสอบการทำงานขั้นต้นด้วยผู้พัฒนาเอง โดยการทดสอบการทำงานของแต่ละโมดูล
เพื่อเพิ่มความถูกต้องยิ่งขึ้นหากเป็นไปได้ควรให้บุคคลอื่นได้มีโอกาสตรวจสอบด้วย
2.3.5 การทดสอบ (Testing) เป็นการทดสอบการทำงานของระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น
ว่าสอดคล้องกับความต้องการหรือไม่ สำหรับวิธีการทดสอบมีหลายวิธี ผู้ทดสอบต้องเลือก
วิธีการตามที่เห็นว่าให้ผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้ การทดสอบทั่วไปจำแนกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก
ต้องแน่ใจว่าการออกแบบถูกการทดสอบอย่างถูกต้อง โดยการทดสอบการทำงานของระบบ
สารสนเทศแต่ละโมดูลเกี่ยวกับการทำงานภายใน การถ่ายโอนข้อมูล และการเชื่อมต่อกับโมดู
อื่นๆ หลังจากนั้นเป็นการทดสอบระบบรวมเมื่อนำโมดูลทั้งหมดมาต่อเชื่อมกันทั้งระบบ ส่วนที่สอง
เป็นการทดสอบตามข้อกำหนดรายการที่ตกลงไว้กับลูกค้า ทั้งสองส่วนต้องทดสอบจนเกิด
ความพอใจและมั่นใจว่าระบบสามารถทำงานตามที่ต้องการได้ (Validated Software)
2.3.6 การบำรุงรักษา (Maintenance) เป้าหมายคือปรับเปลี่ยนแก้ไขระบบสารสนเทศ
ให้สมบูรณ์ขึ้น หลังจากได้ทำการทดสอบการใช้งานแล้ว หรือเพื่อเพิ่มความสามารถให้ทำงาน
ได้เร็วขึ้น จากนั้นจึงสร้างเอกสารคู่มือประกอบการใช้งานของระบบสารสนเทศ นอกจากนี้
การบำรุงรักษายังรวมถึงการประเมินผลการทำงานของระบบสารสนเทศ โดยการประเมินผลการ
ทำงานของระบบสารสนเทศนั้นเป็นขั้นตอนที่ส่งผลกลับไปยังทุกขั้นตอนที่ผ่านมา และ ยัง
รวมถึงการรื้อปรับระบบ (Reengineering) โดยทั่วไปแล้วการรื้อปรับระบบมักไม่เกิดขึ้นกับระบบ
ที่พัฒนาขึ้นใหม่ แต่มักเกิดขึ้นกับระบบที่ถูกใช้งานไปในระยะเวลาหนึ่งแล้วพบข้อผิดพลาดหรือ
ต้องการปรับเปลี่ยนระบบให้ทันสมัยขึ้น
จากการที่ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ระบบจัดการฝึกอบรมแล้ว ผู้วิจัยคิดว่าการที่จะนำเอา
ระบบสารสนเทศมาช่วยในการจัดการฝึกอบรมได้นั้น ลักษณะการทำงานที่เหมาะสมและมี
ความคล่องตัวจะต้องมีลักษณะที่ผู้ใช้หลายๆ คน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้พร้อมๆ กัน สามารถ
ทำงานประสานงานกันได้ ดังนั้นสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมจะต้องเป็นแบบไคลเอนต์-เซิรฟ์เวอร์
16
2.4 ไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ (Client-Server)
ไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ (Client-Server) หมายถึง ลักษณะการทำงานที่เป็นการประสานกัน
ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป คล้ายกับเป็นการแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วน คือ
ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ โดยผู้ให้บริการสามารถให้บริการได้หลายคนพร้อมกันซึ่งก็คือ
สถาปัตยกรรมไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ (Client - Server) โดยแบ่งซอฟต์แวร์ที่เคยเป็นหนึ่งเดียว
ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของผู้ใช้งาน (Client) และส่วนของผู้ให้บริการ (Server) (ประชา, 2543)
ในการทำงานในลักษณะไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์นั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์และ
ไคลเอนต์อาจอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เช่น เครือข่าย LAN หรืออยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็ได้
ในกระบวนการจัดการข้อมูลมีการทำงานรวมกันระหว่างเครื่องลูกข่าย (Client) และเครื่องแม่ข่าย
(Server) ที่มีขีดความสามารถดังภาพที่ 2-3
ภาพที่ 2-3 แสดงระบบเครือข่ายที่มีการทำงานแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server)
จากภาพที่ 2-7 มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 1 เครื่อง เครื่องไคลเอนต์ 5 เครื่อง และเครื่องพิมพ์
1 เครื่อง การทำงานแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) มีประโยชน์ต่อองค์กรที่มีผู้ใช้
จำนวนมากต้องการเข้าถึงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งระบบเครือข่ายไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์
(Client/Server) นี้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงในการเข้าถึงและจัดการฐานข้อมูลสำหรับ
โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ
สถาปัตยกรรมไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์d แบบ 2 ระดับ (Two-Tier Client-Server
Architecture) เป็นรูปแบบการทำงานของระบบงานที่มีการแบ่งระดับออกเป็นสองส่วนทั้งสองส่วน
ทำงานประสานกันเพื่อให้ระบบงานสามารถทำงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยรับผิดชอบ
ในการประมวลผลที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับผู้ใช้งาน ทั้งเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ทำงานสื่อสาร
กันด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยอาศัยรูปแบบโปรโตคอล (Protocol) การสื่อสารทั้งที่
ไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ได้ตกลงกันไว้ เป็นไปได้เหมือนกันที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว
ติดตั้งระดับทั้งในส่วนเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ไว้ในเครื่องเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในการทดสอบ
หรือทดลองการทำงานก่อนการใช้งานจริง
ระบบเครือข่าย
INTERNET
Client
Client
Client
Client
Client
Printer Server Modems
17
ภาพที่ 2-4 แสดงการทำงานของระบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์หรือระบบสองระดับ
สถาปัตยกรรมไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์แบบ 3 ระดับ (Three-Tier Client-Serve Architecture)
เพื่อแก้ปัญหาของสองระดับ จึงเพิ่มจากสองระดับเป็นสามระดับ โดยในแบบสองระดับเดิม
ไคลเอนต์ติดต่อโดยตรงกับฐานข้อมูล หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นในฐานข้อมูล
การแสดงผลทางด้านไคลเอนต์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยในการแก้ปัญหานี้จึงเพิ่ม
ระดับใหม่เข้ามาคั่นระหว่าง ไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์โดยไคลเอนต์ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์โดยผ่านทาง
ออบเจ็คที่อยู่บนมิดเดิลเทียร์ (Middle Tier) จากนั้นมิดเดิลเทียร์ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ โดย
ไคลเอนต์เห็นเฉพาะออบเจ็คในมิดเดิลเทียร์เท่านั้นการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องทำผ่านมิดเดิลเทียร์
เท่านั้น โดยระดับในส่วนนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่าแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ (Application Server)
ประโยชน์ที่ได้จากการแทรกแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์คือ ในระบบงานสามารถมีการปรับปรุง
หรือเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ได้โดยไม่มีผลกระทบกับการทำงานของไคลเอนต์อีกทั้งยังช่วยให้
เกิดความสะดวกในการที่องค์กรมีการใช้ผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์หลายตัวร่วมกัน แต่ข้อเสียของ
ระบบก็คือการทำงานช้าลงเนื่องจากการทำงานต้องผ่านแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ก่อน
ภาพที่ 2-5 แสดงการทำงานของระบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์หรือระบบสามระดับ
คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์ใช้งาน
Client Server
คำร้องขอ
ผลลัพธ์
ระบบเครือ ฐานข้อมูล
มิดเดิลแวร์
คอมพิวเตอร์ใช้งาน คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูล
Client Server
คำร้องขอ
ผลลัพธ์
Application Server
ฐานข้อมูล
18
ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่มีลักษณะการทำงานในลักษณะของ ไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบัน
ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตซึ่งผู้ใช้งานหลายคนสามารถเข้าถึงข้อมูล
ได้พร้อมกัน
2.5 เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต (Internet)
ความหมายของอินเตอร์เน็ตมีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลายความหมายซึ่งแต่ละคำจำกัดความ
ก็มีความหมายในทิศทางเดียวกัน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ที่ใหญ่ที่สุด
ของโลก เป็นกระบวนการสื่อสารข้อมูลทางสาย (Online) ระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างระบบ และ
ต่างชนิดร่วมกับสายเคเบิล และผู้ใช้จำนวนมากอาศัยซอฟต์แวร์ (Software) และเครื่องช่วย
สื่อสาร ต่างๆ ในแง่ของวิชาการ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารกัน
โดย Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) ซึ่งหมายถึงกฎเกณฑ์ที่คอย
ควบคุมกระบวนการส่งข่าวสารไปมาระหว่างคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องชนิดที่อยู่บนเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต การมี TCP/IP ใช้ร่วมกันผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของตนกับเครือข่าย
ใดก็ได้ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อกับผู้อื่น หรือเพื่อสื่อสารกับ Software ของแต่ละ
เครื่องบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (พรทิพย์, 2538)
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน เมื่อนำเครือข่าย
คอมพิวเตอร์เครือข่ายหนึ่งเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตนั้นก็เป็นอินเตอร์เน็ต และหากใครนำเครือข่าย
อื่นมาเชื่อมอีกก็เข้าสู่อินเตอร์เน็ตและเป็นการขยายเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วย (ยืน, 2544) ได้มี
ผู้อธิบายความหมายของอินเตอร์เน็ตว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
รอบโลกที่เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยแต่ละเครือข่ายย่อย (Sub–Network) อาจมีเครื่องคอมพิวเตอร์
แม่ข่าย (Host) เพียงตัวเดียวหรือหลายๆ ตัวก็ได้ โดยใช้เครื่องแม่ข่ายทุกตัวก็เชื่อมโยงกับ
อินเตอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน โดยใช้วงจรโทรศัพท์เป็นตัวเชื่อม (ศรีศักดิ์, 2539)
อินเตอร์เน็ตคือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายๆ เครือข่ายภายใต้มาตรฐาน
และข้อตกลงเดียวกัน โดยที่เครือข่ายสามารถที่สื่อสารข้อมูลกันในรูปแบบของ ตัวอักษร ภาพ
และเสียงได้อย่างรวดเร็วจากคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดและต่างระบบกัน (วาสนา, 2541)
กล่าวโดยสรุป อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกัน
ทั่วโลกโดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เหมือนกัน โดยที่ข้อมูลเหล่านั้นอาจเป็นตัวอักษร
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือเป็นเสียงก็ได้รวมทั้งยังมีความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่อยู่ใน
แหล่งต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเป็นกระบวนการสื่อสารข้อมูลทางสาย
(on-line) ระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างระบบและต่างชนิดรวมกับสายเคเบิลและผู้ใช้จำนวนมาก
โดยอาศัย Software และเครือข่ายต่างๆ อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่สื่อสารกันโดย TCP/IP
(Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นเกณฑ์ ที่คอยควบคุมกระบวนการ
19
ส่งข่าวสารไปมาระหว่างคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ดังนั้น อินเตอร์เน็ต
มีองค์ประกอบ 2 ส่วนใหญ่ คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และข้อมูลที่เก็บในคอมพิวเตอร์
ภาพที่ 2-6 แสดงการทำงานของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่พัฒนามาจากอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ภายได้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยชั้นสูงหรือเรียกย่อว่าอาร์พา
(ARPA) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่าย
ทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางการทหารและโดยเนื้อแท้แล้ว อาร์พาเน็ตเป็นผลมาจาก
ความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรี
ประชาธิปไตย (ไพศาล, 2544)
สำหรับประเทศไทยอินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทประมาณปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็น เครือ
ข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) ซึ่งการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทำได้
สมบูรณ์ในปี 2535 และได้มีการเปิดบริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปี 2538
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่สื่อสารกันโดยมี
มาตรฐานการสื่อสารหรือโปรโตคอลเดียวกัน ซึ่งโปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า IP (Internet Protocol)
เป็นการระบุที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อด้วย ส่วนในการรับส่งข้อมูลนั้นกระทำตามมาตรฐาน
ของโปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol) ซึ่งหลักของ TCP มีอยู่ว่า ต้องมีการ
สร้าง Connection กันเสียก่อน จากนั้นจึงเริ่มส่งข้อมูล เมื่อส่งข้อมูลครบแล้วก็ทำการปิด
Connection ซึ่งวิธีการของ TCP นี้มีข้อดีตรงที่มีความแม่นยำในการส่งข้อมูลสูง เพราะมีการ
ตรวจสอบความถูกต้องในระหว่างที่สร้าง Connection ในระบบ วิธีนี้มีความเหมาะสมมาก
สำหรับการส่งข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เช่น E-mail, World Wide Web และFTP เป็นต้น แต่การ
20
สื่อสารกันด้วยโปรโตคอลแบบ TCP นี้ก็มีข้อเสียคือ ต้องเสียเวลาในตอนเริ่มต้นส่งข้อมูล เพื่อ
สร้าง Connection
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมี เวิลด์ไวด์ เว็บ (World Wide Web: www) หรือ Web ที่ช่วยให้
ใช้งาน Internet ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นเครือข่ายที่โยงใยไปทั่วโลกเรียกว่า Internet แต่เดิมการใช้
Internet ต้องมีการเรียนรู้คำสั่งต่างๆ ที่ลึกลับซับซ้อนมากมายไม่ใช่เพื่อใช้งานอย่างเดียว แต่ยัง
เพื่อดึงข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่อีกด้วย เช่น ถ้าต้องการดึงข้อมูลจาก
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ UNIX ก็จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับคำสั่ง UNIX จึงทำให้การใช้
Internet ดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก (สุปราณี, 2542)
ต่อมาในปี ค.ศ. 1992 Tim Berners-Lee และนักวิจัยอื่นๆ ได้เปิดตัว Web ที่ทำให้ผู้ใช้
สามารถที่เปิดดู Internet ได้โดยไม่ต้องทราบคำสั่งที่ซับช้อนซึ่งเรียกทั่วไปว่า Web Browser
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้เปิดดู Web ทำให้การใช้ Internet เป็นเรื่องง่ายและ Web แต่ละ Web ยังมี
ความสามารถมากขึ้น สิ่งสำคัญในการสร้าง Web ก็คือ Hypertext ซึ่งเป็นวิธีการเชื่อมโยงกลุ่ม
หรือหน้าของข้อมูลเข้าด้วยกันวิธีนี้คิดขึ้นครั้งแรกในปี 1960 แต่ในปี 1990 Berners-Lee และ
เพื่อนร่วมงานของเขาได้ใช้แนวคิดของ Hypertext สร้างสิ่งที่เรียกว่า HTTP (Hypertext
Transfer Protocol) และด้วย HTTP นี้เองจึงเกิด World Wide Web ขึ้น
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าอินเตอร์เน็ตกับการทำงานของบริการ WWW นี้จะมี
ลักษณะเช่นเดียวกันกับบริการอื่นๆ ของอินเตอร์เน็ต คือทำงานอยู่ในรูปแบบของไคลเอ็นต์-
เซิร์ฟเวอร์ (Client-Server) ซึ่งมีโปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ (Web Client) ทำหน้าที่เป็นผู้ร้องขอ
บริการ และมีโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server หรือบางครั้งเรียกว่า http server) ทำหน้าที่
เป็นผู้ให้บริการ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ในเครื่องของผู้ใช้นั่นเอง สำหรับ
โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะถูกติดตั้งไว้ในเครื่องของผู้ให้บริการเว็บไซต์ (เรามักเรียก
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการ WWW ว่า “เว็บเซิร์ฟเวอร์”
เช่นเดียวกัน) การติดต่อระหว่างโปรแกรมเว็บบราวเซอร์กับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์จะกระทำ
ผ่านโปรโตคอล HTTP (สมประสงค์, 2545)
เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดจึงขอสรุปเกี่ยวกับการทำงานของบริการ WWW ได้ว่า WWW
จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังนี้ คือ
1. เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เป็นแอพพลิเคชั่นที่นำผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตไปสู่
แหล่งข้อมูลต่างๆ โดยบราวเซอร์จะทำหน้าที่แสดงเอกสารตามที่ผู้ใช้ต้องการ นอกจากนี้ยังเพิ่ม
ความสามารถในการบันทึกชื่อของแหล่งข้อมูลที่เคยค้นหามาก่อนหน้านี้ หรือแนะนำแหล่งข้อมูล
ที่น่าสนใจให้กับผู้ใช้งาน บราวเซอร์จะทำหน้าที่แสดงเอกสารตามที่ผู้ใช้ต้องการ นอกจากนี้
ยังเพิ่มความสามารถในการบันทึกชื่อของแหล่งข้อมูลที่เคยค้นหามาก่อนหน้านี้ หรือแนะนำ
แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจให้กับผู้ใช้งาน บราวเซอร์มีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Internet Explorer,
Netscape Navigator เป็นต้น ซึ่งบราวเซอร์แต่ละตัวก็มีความสามารถที่จะเข้าใจข้อมูลทั้งที่เป็น
21
ข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Video) หรือเสียง (Sound) ได้ นอกจากนี้
ยังมีโปรแกรมย่อยๆ ขนาดเล็กเข้ามาเสริมความสามารถอีกมากมาย
2. เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) เป็นแอพพลิเคชั่นที่คอยรับการร้องขอจากบราวเซอร์
ซึ่งการร้องขอจากบราวเซอร์อาจจะต้องการดูเอกสาร เรียกค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล หรือทำการ
คำนวณ ซึ่งเว็บเซิร์ฟเวอร์จะดำเนินการตามที่ต้องการแล้วส่งผลลัพธ์ไปแสดงที่บราวเซอร์
3. HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language เป็นภาษาที่ใช้ในการแสดงผล
เอกสารชนิดพิเศษ ซึ่งมีความสามารถเชื่อมโยงเอกสารอื่นๆ หรือแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน
ได้โดย HTML ได้ถูกนำมาเป็นภาษาสำหรับเอกสารที่ใช้ใน WWW
4. HTTP ย่อมาจาก Hyper Text Transfer Protocol เป็นโปรโตคอลชนิดหนึ่ง
เพื่อควบคุมการรับ-ส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอนต์ หรือ
บราวเซอร์ ข้อมูลที่ส่งมีหลายรูปแบบ เช่น เอกสารธรรมดา เอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ ภาพ เสียง
หรือแม้แต่ไฟล์ที่มีรูปแบบเฉพาะของโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง เช่น ไฟล์ของโปรแกรม Adobe
Acrobat เป็นต้น แต่ทั้งนี้จะต้องถูกกำหนดอยู่ในชนิดของ MIME (Multipurpose Internet Mail
Exchange) HTTP จะทำงานครอบคลุมระบบอินเตอร์เน็ตทั้งหมด ซึ่งการติดต่อสื่อสารระหว่าง
คอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลงานมาจากการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP (Transmission
Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สร้างพื้นฐานในการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างคอมพิวเตอร์
5. Database Server เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการเรียกค้น และจัดการ
ฐานข้อมูลในอินเตอร์เน็ต Database Server จะถูกเรียกใช้งานจากเว็บเซิร์ฟเวอร์อีกต่อหนึ่ง
หลังจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้รับการร้องขอจากบราวเซอร์ให้ค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งงานวิจัยนี้
ได้ใช้ฐานข้อมูล MySQL ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูล
ทั้งหมดรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไปในข้อ 2.6
2.6 มายเอสคิวแอล (MySQL)
MySQL เป็นระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (DBMS: Relational Database
Management System) ซึ่งได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของอินเทอร์เน็ต
เพราะว่าเป็นฟรีแวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว สามารถรองรับจำนวนผู้
ใช้และขนาดของข้อมูลจำนวนมหาศาล และสนับสนุนการใช้งานบนระบบปฏิบัติการมากมาย
เช่น Linux, Windows 9x, Windows NT, Windows 2000, OS/2, Mac OS และยังสามารถ
ใช้งานร่วมกับ Web Development Platform ทั้งหลายได้ เช่น C, C++, Java, Perl, PHP, Asp,
Python, Tcl เป็นต้น ดังนั้น มายเอสคิวแอลจึงเป็นระบบจัดการฐานข้อมูลระดับเซิร์ฟเวอร์ที่ได้
รับความนิยมมากในปัจจุบัน
22
MySQL จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท Open Source Software สามารถดาวน์โหลด
Source Code ต้นฉบับได้จากอินเทอร์เน็ต โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ การแก้ไขก็สามารถกระทำ
ได้ตามความต้องการ MySQL ยึดถือสิทธิบัตรตาม GPL (GNU General Public License)
ซึ่งเป็นข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่ โดยจะเป็นการชี้แจงว่าสิ่งใดทำได้ หรือ ทำ
ไม่ได้ MySQL ได้รับการยอมรับและทดสอบเรื่องของความรวดเร็วในการใช้งาน โดยจะมีการ
เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ทางด้านฐานข้อมูลอื่นอยู่เสมอ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน
MySQL ได้รับการพัฒนาให้สามารถรองรับข้อมูลได้จำนวนมหาศาล สามารถใช้งานหลายผู้ใช้ได้
พร้อมๆ กัน (Multi-user) มีการออกแบบให้สามารถแตกงานออก (Multi-treaded) เพื่อช่วยการ
ทำงานให้เร็วยิ่งขึ้น วิธีและเครื่องมือหรือโปรแกรมสนับสนุนทั้งของตัวเองและของผู้พัฒนาอื่นๆ
มีมากขึ้น และสิ่งที่สำคัญคือ “MySQL ได้รับการพัฒนาไปในแนวทางตามข้อกำหนด มาตรฐาน
SQL ดังนั้น เราสามารถใช้คำสั่ง SQL ในการทำงานกับ MySQL ได้” นักพัฒนาที่ใช้ SQL มาตร
ฐานอยู่แล้ว ไม่ต้องศึกษาคำสั่งเพิ่มเติม แต่อาจจะต้องเรียนรู้ถึงรูปแบบและข้อจำกัดบางอย่าง
โดยเฉพาะ ทั้งนี้ทั้งนั้นทางทีมงานผู้พัฒนา MySQL มีเป้าหมายอย่างชัดเจนที่จะพัฒนาให้
MySQL มีความสามารถสนับสนุนตามข้อกำหนด SQL92 มากที่สุด และจะพัฒนา ให้เป็นไป
ตามข้อกำหนด SQL99 ต่อไป
สถาปัตยกรรมของ MySQL คือการออกแบบการทำงานในลักษณะของ Client/Server
ซึ่งประกอบด้วยหลักๆ 2 ส่วน คือ ส่วนของผู้ให้บริการ (Server) และส่วนของผู้ใช้บริการ
(Client) โดยในแต่ละส่วนก็จะมีโปรแกรมสำหรับการทำงานตามหน้าที่ของตน ดังนี้
1. ส่วนของผู้ให้บริการ หรือ Server จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบฐานข้อมูล
ซึ่งในที่นี้หมายถึงตัว MySQL Server นั่นเอง และเป็นที่จัดเก็บข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลที่เก็บไว้นี้
มีทั้งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการทำงานกับระบบฐานข้อมูลและข้อมูลที่เกิดจากการที่ผู้ใช้แต่ละคน
สร้างขึ้นมา
2. ส่วนของผู้ใช้บริการ หรือ Client คือผู้ใช้ โดยโปรแกรมสำหรับผู้ใช้งานในส่วนนี้ได้แก่
MySQL Client, Access, Web Development Platform ต่างๆ เช่น Java, Perl, PHP, ASP
เป็นต้น
ความสามารถของ MySQL เด่นๆ มีดังนี้
1. MySQL จัดเป็นระบบฐานข้อมูลประเภท SQL-based ผู้ใช้หรือผู้พัฒนาสามารถ
ใช้คำสั่ง SQL ในการส่ง หรือใช้งาน MySQL Server ได้โดยไม่ต้องศึกษาเพิ่มเติมแต่อย่างใด
2. สนับสนุนการใช้งานสำหรับตัวประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit)
หลายๆ ตัว
3. การทำงานแบบ Multi-treaded ใช้ Kernel Threads
4. สนับสนุน API เพื่อใช้งานกับ Development Platform ต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น C,
C++, Java, Perl, PHP, Asp, Python หรือ Tcl และยังสามารถใช้งานร่วมกับ ODBC (Open
23
Database Connectivity) ซึ่งทำให้สามารถใช้งานได้กับเครื่องมืออื่น บน Windows Platform
เช่น Access เป็นต้น
5. MySQL สามารถรันได้บนระบบปฏิบัติการหลายตัวหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น Linux,
Windows Platform, OS/2, Mac OS X, NetBSD, OpenBSD, Solaris, SunSO, Aix, DEC
Unix, SGI Irix, Tru64 Unix
6. ประเภทของข้อมูลที่สามารถใช้ได้ใน MySQL ได้แก่ ตัวเลข (ทั้งแบบคิดและไม่คิด
เครื่องหมาย) ขนาด 1, 2, 3, 4 และ 8 ไบต์, FLOAT, DOUBLE, CHAR, VARCHAR, TEXT,
BLOB, DATE, TIME, DATETIME, TIMESTAMP, YEAR, SET และ ENUM
7. สนับสนุน GROUP BY และ ORDER BY clauses และ Group Functions ได้แก่
COUNT(), COUNT(DISTINCT), AVG(), STD(), SUM(), MAX() และ MIN()
8. สนับสนุน LEFT OUTER JOIN และ RIGHT OUTER JOIN
9. การกำหนดสิทธิและรหัสผ่านให้มีความปลอดภัย ความยืดหยุ่นสูง สามารถกำหนด
เครื่องและ/หรือผู้ใช้ ในการเข้าถึงข้อมูลได้มีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) สำหรับรหัสผ่าน
ของผู้ใช้ด้วย ทำให้ผู้ใช้มีความมั่นใจว่าข้อมูลจะมีความปลอดภัย ไม่มีใครสามารถทำการเข้าถึง
ข้อมูลได้หากไม่ได้รับอนุญาต
10. สามารถทำดัชนี (Index) ได้สูงสุดถึง 32 ดัชนี ในแต่ละตารางข้อมูล โดยที่ในแต่ละ
ดัชนีสามารถใช้ฟิลด์ได้ตั้งแต่ 1-16 ฟิลด์
11. สามารถรองรับข้อมูลขนาดใหญ่
12. สนับสนุนรูปแบบภาษา (Character Set) หลายชนิด ทำให้สามารถจัดเรียงลำดับ ของ
ข้อมูล (Sort) หรือกำหนดการแสดงข้อผิดพลาด (Error Message) ได้ตามรูปแบบภาษา ที่
ต้องการ
13. เครื่องที่ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้บริการ (Client) สามารถเชื่อมเข้าสู่ MySQL Server โดย
การใช้ TCP/IP Sockets, Unix Sockets (Unixes) หรือ Named Pipes (NT) (สงกรานต์, 2544)
ส่วนการทำงานในส่วนของผู้ใช้บริการ (Client) จะต้องมีโปรแกรมสำหรับผู้ใช้งาน
ในส่วนนี้ได้แก่ MySQL Client, Access, Web Development Platform ต่างๆ โดยผู้วิจัย
ได้เลือกใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) และพีเอชพี (PHP Hypertext Preprocessor)
เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเว็บเพจ ซึ่งมีรายละเอียดตามข้อ 2.7
2.7 ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา
2.7.1 เอชทีเอ็มแอล (HTML)
เอชทีเอ็มแอล (HTML) มาจากคำว่า Hyper Text Markup Language เป็นรูปแบบของ
ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมในเว็บเพจเพื่อแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์ ลักษณะของเอกสาร
เอชทีเอ็มแอลเป็นเท็กซ์ไฟล์ธรรมดาที่ต้องอาศัยการแปลความจากเว็บบราวเซอร์ ในสมัยก่อน
24
จุดประสงค์การใช้ เอชทีเอ็มแอลเพื่อแสดงผลที่เป็นข้อความเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบัน
เอชทีเอ็มแอล ได้พัฒนามาเรื่อยๆ จนสามารถรวบรวมความสามารถในด้านต่างๆ และคำสั่ง
ที่ใช้งานและพัฒนาเว็บเพจร่วมกับพีเอชพีคำสั่งของภาษาเอชทีเอ็มแอล เรียกว่า “แท็ก” (Tag)
ซึ่งนี้โดยทั่วไปอยู่ในรูปแบบ <…>… ซึ่งเว็บบราวเซอร์แปลงแท็กนี้แล้วแสดงผลให้เห็น
โดยทั่วไปการสร้างเว็บเพจด้วยภาษาเอชทีเอ็มแอล โดยใช้เอดิเตอร์ต่างๆ เช่น NotePad,
EditPlus2 หรือเป็น Microsoft Word ก็ได้ (ไพศาล, 2544)
เอชทีเอ็มแอล เป็นภาษาที่คิดค้นขึ้นมาโดยนักวิจัยของห้องทดลองฟิสิกส์ CERN
ในสวิตเซอร์แลนด์ เอชทีเอ็มแอลถือได้ว่าเป็นภาษาที่ทำให้มีการเชื่อมโยงกันของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งไม่ใช่ภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรม แต่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมได้บ้างเล็กน้อย
เอกสารเอชทีเอ็มแอลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ Header และ Body
Header หรือส่วนหัวของเอกสาร เป็นส่วนที่ใช้บอกข้อมูลสรุป หรือภาพรวมของเอกสาร
ซึ่งต่อมามักใช้ในการเพิ่มความสามารถในการโปรแกรม ทำให้เอกสารเอชทีเอ็มแอลมีความ
น่าสนใจ และน่าใช้งานยิ่งขึ้น
Body หรือส่วนเนื้อหาของเอกสารเป็นส่วนของเนื้อหาที่ใช้เก็บเอกสารทั้งหมด สามารถ
ใส่เนื้อหาทั้งที่เป็นข้อความ ภาพ หรือ เสียงเข้าไปในเอกสารเอชทีเอ็มแอล รวมทั้งยังสามารถ
เพิ่มความสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งาน
หลักการเบื้องต้นในการใช้ Tag HTML เอชทีเอ็มแอลมีการแยกคำสั่งให้บราวเซอร์รู้จัก
โดยการใช้สิ่งที่เรียกว่า Tag ซึ่ง Tag มีการขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย “<” ตามด้วยชื่อ Tag แล้ว ปิดท้ายด้วย “>” ซึ่ง Tag มักใช้กันเป็นคู่

เป็นแท็กแรกที่พบในเอกสารเอชทีเอ็มแอล ซึ่งบอกให้บราวเซอร์ทราบว่านี่คือ เอกสาร
เอชทีเอ็มแอล

เป็นแท็กที่ใช้กำหนดหัวข้อ (Header) เอกสาร ซึ่งหัวข้อแสดงที่แถบบน (Caption) ของ
บราวเซอร์

เป็นแท็กที่ใช้แสดงขอบเขตเนื้อหาของเอกสารเอชทีเอ็มแอลซึ่งสามารถแทรกข้อความ
(Text) ตาราง (Table) ภาพนิ่ง (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Video Animation) หรือเสียง
(Sound) เข้าไปได้

เป็นแท็กที่ใช้กำหนดรายละเอียดส่วนหัวของเอกสาร เอาไว้แสดงชื่อเรื่องของเอกสาร

25
เป็นแท็กที่ใช้กำหนดรูปแบบ (ชนิด ขนาด สี) ของฟอนต์ที่ต้องการแสดงในเอกสาร

เป็นการแทรกรูปภาพเข้าไปในเอกสารแอ็ตทริบิวต์ SRC บอกว่าตำแหน่งที่เก็บรูปภาพ
นั้นอยู่ที่ไหน อาจอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันกับที่เก็บเอกสารเอชทีเอ็มแอลนั้น
หรืออาจอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในอินเตอร์เน็ต

(มาจาก Paragraph)
เป็นแท็กที่บอกให้บราวเซอร์ขึ้นต้นย่อหน้าใหม่ เป็นแท็กที่ใช้เดี่ยวๆ โดยไม่ต้องมีคู่

(มาจาก Break) เป็นแท็กที่บอกให้บราวเซอร์ขึ้นต้นบรรทัดใหม่



เป็นแท็กที่บอกให้บราวเซอร์ขีดเส้นใต้ก่อนขึ้นต้นบรรทัดใหม่
,
, เป็นแท็กที่ใช้จัดวางตำแหน่ง (Alignment) ของเนื้อหา
เอกสารว่าชิดซ้าย (Left) ตรงกลาง (Center) หรือชิดขวา (Right)
ในการสร้างเว็บเพจหนึ่งๆ นั้น สามารถเขียนได้ด้วยภาษาเอชทีเอ็มแอล ซึ่งโดยทั่วไป
มีอยู่หลายภาษาให้เลือกใช้ ความสามารถของภาษาเอชทีเอ็มแอล สามารถแสดงรูปภาพ และ
ข้อความ ต่างๆ ให้ผู้ใช้ดูได้จากนั้นก็มีการเพิ่มความสามารถ และน่าสนใจให้กับเว็บเพจโดยการ
เขียนสคริปต์เพิ่มเข้าไปเพื่อเพิ่มการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างการเขียนโปรแกรมเว็บเพจ
ภาพที่ 2-7 แสดงตัวอย่างการเขียนโปรแกรมเว็บเพจด้วยภาษา HTML
ในการเขียนเว็บเพจนั้นต้องมีขั้นตอนการออกแบบเว็บเพจ เพื่อได้ง่ายในการแก้ไข
ภายหลังโดยมีขั้นตอนการออกแบบดังนี้ (มาโนต, 2542)
การแสดงผลของหัวข้อต่างๆ ที่ใช้ในการค้นข้อมูล หรือบอกถึงข้อมูลต่างๆ ที่กำหนดให้
ผู้ใช้งานทั่วๆ ไปได้เข้าใจ เพื่อใช้ในการสืบค้นข้อมูลต่อไป การแสดงผลของเนื้อหาหรือข้อมูล
ต่างๆ ที่อยู่ภายในเว็บเพจไม่ควรที่สั้นจนเกินไปจนไม่สามารถจำใจความได้ หรือมีเนื้อหา
ของข้อมูลที่ยาวจนเกินไปจนหาเนื้อหาที่จำเป็นจริงๆ ไม่ได้ หัวข้อนี้ถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญ
เหมือนกัน เพราะการแสดงข้อมูลที่ไม่ยาวจนเกินไปหรือเยอะจนเกินไปนั้น ทำให้ผู้ใช้งานค้นหา




ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฝึกอบรม


26
ข้อมูลได้รวดเร็วขึ้นไม่เปลืองเวลาที่ใช้ในการค้นหาและไม่เกิดความเบื่อหน่ายอีกด้วย อย่างเช่น
การให้บริการของ ISP ต่างๆ ที่อยู่ในบ้าน การใช้บริการอินเตอร์เน็ตนั้นได้มีการจำกัดเกี่ยวกับ
เรื่องของจำนวนชั่วโมงที่เข้าใช้งาน ที่มีผลกับการเสียค่าใช้จ่ายประจำเดือนให้กับ ISP ต่างๆ
ที่ใช้บริการอยู่ ดังนั้นต้องนำเสนอข้อมูลที่ไม่เยอะจนไม่มีสาระเกินไปและสามารถจับใจความได้
โดยง่ายซึ่งต้องช่วยในส่วนของผู้ใช้งานต่างๆ ในเรื่องเกี่ยวกับเวลาที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ดี
ทีเดียว
ภาพที่นำมาใช้ในการแสดงประกอบภายในเว็บเพจ การแสดงภาพมีอยู่หลายอย่าง
อย่างเช่น ภาพที่จำเป็นต้องการใช้ในการแสดงนั้นๆ เป็นภาพ Background หรือไม่ หรือ
เป็นภาพที่ใช้ในการประกอบโดยใช้แสดงวัสดุอุปกรณ์หรือสถานที่ต่างๆ หรือสิ่งของอื่นๆ เหล่านี้
ล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาถึงเพราะในการสร้างรูปภาพขึ้นมานั้น ภาพที่ได้ไม่ควรมีขนาด
ของไฟล์ใหญ่จนเกินไป เพราะทำให้ผู้ใช้งานที่เข้ามาภายในเว็บไซต์เกิดความล่าช้าในการโหลด
ข้อมูลได้ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองและเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน การนำเสนอรูปภาพนั้น
ก็ไม่ควรมีมากจนเกินไป เกินความจำเป็นควรให้มีพอเหมาะกับเนื้อหาที่ใช้บริการได้
ตัวอักษรที่ใช้แสดงบนเว็บเพจ การใช้ตัวอักษรในการแสดงผลบนเว็บเพจนั้น ควรกำหนด
ให้เป็นมาตรฐานทั่วๆ ไป ไม่ควรใช้ตัวอักษรที่คนทั่วๆ ไปไม่นิยมใช้ เพราะให้ผู้ใช้งานต้องมา
กำหนดเพื่อเลือกตัวอักษรที่ใช้งานใหม่ ถ้าเกิดผู้ใช้งานไม่มีรูปแบบของตัวอักษรที่กำหนดไว้ใน
เว็บเพจ ก็ทำให้ผู้ใช้งานนั้นๆ ไม่สามารถดูเว็บเพ็จที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้บริการได้
การเชื่อมโยงข้อมูลในส่วนต่างๆ ในการสร้างเว็บเพจ แน่นอนว่าไม่สามารถที่แสดงข้อมูล
ได้ทั้งหมดให้ครบพอดีในหนึ่งหน้าจอได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องกำหนดหัวข้อเป็นข้อๆ ไว้ และ
เชื่อมโยงหัวข้อนั้นเข้าหาข้อมูลของตนเอง และในการเชื่อมโยงข้อมูลนั้นๆ ก็ไม่ควรที่สร้างให้มี
ความสลับซับซ้อนจนเกินไป เพราะทำให้เกิดความสับสนในการใช้งานขึ้นมาได้ ทำให้การค้นคว้า
ข้อมูลเกิดความล่าช้าไม่รวดเร็วเท่าที่ควร อีกทั้งทำให้ยากในการใช้งานด้วย
การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ในการสร้างเว็บเพจขึ้นมาต้องมีการสุ่มหรือกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
ที่เข้าถึงข้อมูลที่ได้สร้างขึ้นมาเพราะต้องพิจารณาว่าเว็บเพจที่สร้างขึ้นมาควรให้ประโยชน์
กับกลุ่มบุคคลประเภทใดที่มีผลโดยตรงกับเว็บเพจซึ่งทำให้เกิดผลประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาเพื่อให้เกิดผลดีตามมาด้วย
การตอบสนองกลับต่อผู้ใช้งาน ในการใช้งานของบุคคลทั่วๆ ไปจำเป็นที่ต้องมีการค้นหา
ข้อมูล หรือมีการส่งข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ในการส่งข้อมูลกลับไปนั้นควรมี
ความรวดเร็วและส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องด้วย มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้
ทำให้ความเข้าใจของข้อมูลเกิดความผิดพลาดตามไปด้วย
การออกแบบควรกำหนดให้เป็นมาตรฐาน การสร้างเว็บเพจนั้นไม่ได้หมายถึง การที่สร้าง
เว็บเพจขึ้นมาครั้งเดียวแล้วใช้งานตลอดไปหรือจบเพียงแค่นั้น แต่การสร้างเว็บเพจในครั้งแรก
หรือเริ่มต้นเปรียบเหมือนกับการวางรากฐานในการทำงานครั้งต่อๆ ไป เพราะการออกแบบ
27
หรือการสร้างเว็บเพจขึ้นมานั้นต้องมีการปรับปรุงและ Update ข้อมูลอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นการสร้าง
เว็บเพจครั้งแรกไม่วางรูปแบบไว้ให้เป็นมาตรฐานแล้วในการทำงานภายหลังอาจเกิดปัญหา
หลายๆ อย่างได้
ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเว็บเพจอีกภาษาหนึ่งคือ พีเอชพี (PHP)
2.7.2 พีเอชพี (PHP)
พีเอชพี (PHP Hypertext Preprocessor) เป็นภาษาสคริปต์ที่เรียกว่า Server Side
Script ที่ประมวลผลบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ แล้วส่งผลลัพธ์ไปยังฝั่งไคลเอนต์โดยผ่านเว็บบราวเซอร์
ซึ่งทำการอ่านเอกสารเอชทีเอ็มแอลนั้น และเมื่อเจอสคริปต์พีเอชพีทางเว็บเซิร์ฟเวอร์ ก็ทำการ
ประมวลผลสคริปต์นั้นและส่งผลลัพธ์การทำงานที่ได้ไปแสดงผลยังฝังเว็บบราวเซอร์ซึ่งอยู่ในรูป
ของเอกสารเอชทีเอ็มแอลปัจจุบันพีเอชพีได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยการนำมาช่วยพัฒนา
งานบนเว็บที่เรียกว่า Web Programming และมีโปรแกรมเมอร์จำนวนมากนิยมใช้ เนื่องจาก
พีเอชพีมีรูปแบบของภาษา C และ Perl ที่นำมาปรับปรุงทำให้มีประสิทธิภาพสูง และทำงาน ได้
เร็ว (ไพศาล, 2544)
พีเอชพีเกิดขึ้นในปี 1994 โดยโปรแกรมเมอร์ชาวสหรัฐอเมริกา ชื่อ Rasmus Lerdorf
โดยพัฒนาเครื่องมือที่ใช้สำหรับการสร้างเว็บเพจ เดิมทีเดียวพีเอชพี (PHP) ย่อมาจาก
Professional Home Page โปรแกรมพีเอชพีเป็นที่รู้จักของ Programmer ได้ไม่นานนักแต่ได้รับ
ความนิยมในการใช้เป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาเว็บเพจ เนื่องจากพีเอชพีมีจุดเด่นดังนี้
1. เป็นภาษาแบบ Open Source
2. เป็นโปรแกรมฟรี สามารถ Download ได้ฟรีจาก www.php.net ทั้งตัว Source Code
และเอกสารอ้างอิงมาใช้โดยไม่ผิดกฎหมาย
3. สามารถใช้ได้กับหลายๆ ระบบปฏิบัติการ เช่น Windows 95/98/me/ NT/2000,
Unix, Linux หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆ ได้โดยแทบไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโค้ดคำสั่งเลย
4. พีเอชพีสนับสนุนการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้หลายประเภท เช่น MySQL, Oracle,
และ SQL Server โดยมีการเรียกใช้ผ่าน ODBC, SQL หรือผ่านตัวฐานข้อมูลโดยตรง ซึ่งมี
ฟังก์ชันที่สนับสนุนฐานข้อมูลต่างๆ อย่างมากมาย
5. พีเอชพีมีความยืดหยุ่นสูง เป็นภาษาสคริปต์ที่สามารถแทรกในตำแหน่งใดก็ได้ในแท็ก
ของเอชทีเอ็มแอลทำให้สามารถนำไปสร้างแอพพลิเคชันได้หลายประเภท
6. พีเอชพีมีประสิทธิภาพการทำงานสูง ทำงานได้รวดเร็ว
หลักการทำงานของ PHP Hypertext Preprocessor
เนื่องจากพีเอชพีทำงานโดยมีตัวแปล และเอ็กซิคิวต์ (Execute) ที่ฝั่งเครื่องเซิร์ฟเวอร์
เรียกการทำงานว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์ไซด์ (Server Side) ส่วนการทำงานของบราวเซอร์ของผู้ใช้
เรียกว่า ไคลเอนต์ (Client Side) โดยการทำงานเริ่มต้นที่ผู้ใช้ส่งข้อความที่ต้องการผ่าน
เว็บบราวเซอร์ทาง HTTP (HTTP Request) ซึ่งอาจเป็นการกรอก แบบฟอร์ม หรือใส่ข้อมูล
28
ที่ต้องการ ข้อมูลเหล่านั้นเป็นเอกสารพีเอชพี เมื่อเอกสารพีเอชพีเข้ามาถึงเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็ถูก
ส่งไปให้พีเอชพีเพื่อทำหน้าที่แปลคำสั่งแล้วเอ็กซิคิวต์ คำสั่งนั้น หลังจากนั้นพีเอชพีสร้างผลลัพธ์
ในรูปแบบเอกสารเอชทีเอ็มแอลส่งกลับไปให้เซิร์ฟเวอร์เพื่อส่งต่อไปให้บราวเซอร์แสดงผล
ทางฝั่งผู้ใช้ต่อไป (HTTP Response) ซึ่งลักษณะการทำงานแบบนี้คล้ายกับการทำงานของ CGI
หรืออาจกล่าวได้ว่าพีเอชพีก็คือโปรแกรม CGI ประเภทหนึ่งก็ได้ซึ่งลักษณะการทำงานเป็น
ดังภาพที่ 2-8
ภาพที่ 2-8 หลักการทำงานของ PHP
ความสามารถหลักของ PHP มีดังนี้
1. ความสามารถในการจัดการกับตัวแปรหลายๆ ประเภท เช่น เลขจำนวนเต็ม (Integer),
เลขทศนิยม (Float), สตริง (String) และอาร์เรย์ (Array) เป็นต้น
2. ความสามารถในการรับข้อมูลจากฟอร์มของ HTML
3. ความสามารถในการรับ-ส่ง Cookie
4. ความสามารถเกี่ยวกับ Session (ตั้งแต่ PHP Version 4 ขึ้นไป)
5. ความสามารถทางด้าน OOP (Object Oriented Programming) ซึ่งรองรับการเขียน
โปรแกรมเชิงวัตถุ
Client
SQL Server
Access
Server ส่งคำสั่ง PHP
ไปยัง PHP Interpreter
HTML
Web Browser Server
PHP Libraries PHP Interpreter
ODBC
Other Database
การติดต่อฐานข้อมูลอื่น ๆ
ด้วยฟังก์ชัน MySQL
MySQL
การติดต่อฐานข้อมูล MySQL
ด้วยฟังก์ชัน MySQL
การติดต่อฐานผ่าน ODBC
ด้วยฟังก์ชัน ODBC
เรียกใช้ฟังก์ชันที่
PHP ส่งผลลัพธ์ เป็น
HTML ไปยัง Server
Server ส่งผลต่อไปยัง
Web Browser
Web Browser แสดงผลให้
ผู้ใช้ฝั่ง Client
Client เรียกใช้คำสั่ง PHP
ผ่านทาง Web Browser
Web browser ส่งคำสั่ง
ต่อไปยัง Server
29
6. ความสามารถในการเรียกใช้ COM component
7. ความสามารถในการติดต่อและจัดการฐานข้อมูล
8. ความสามารถในการสร้างกราฟิก (สมประสงค์, 2545)
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นิวัฒน์ (2539) ทำการวิจัยเรื่องการออกแบบซอฟต์แวร์สนับสนุนระบบสารสนเทศสำหรับ
การบริหารฝึกอบรมภายในองค์กร โดยการทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษา
วิเคราะห์ขั้นตอนการบริหารงานฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรมภายในองค์กรขนาดใหญ่ เพื่อทำการ
ออกแบบให้เป็นระบบสารสนเทศ โดยประยุกต์นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้โปรแกรม
ระบบจัดการฐานข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการออกแบบและพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์
สนับสนุนการดำเนินงานของระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารงานฝึกอบรมภายในองค์กร การ
รวบรวมข้อมูลในการทำวิจัยครั้งนี้ได้อาศัยข้อมูลการดำเนินงานของสถาบันฝึกอบรมและพัฒนา
บุคลากร ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกอบรมของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยแบ่งการดำเนินการ เป็น 2
ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินงานและออกแบบระบบสารสนเทศ ซึ่งได้
ออกแบบระบบงาน 3 ระบบ ได้แก่ ระบบงานคลังข้อมูลฝึกอบรม ระบบงานวางแผนพัฒนา
พนักงาน และระบบงานจัดโครงการฝึกอบรม ส่วนที่สอง เป็นการออกแบบซอฟต์แวร์และ
การพัฒนาโปรแกรม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของระบบสารสนเทศ โดยทำงานภายใต้ระบบ
ปฏิบัติการวินโดวส์ ซึ่งมีลักษณะง่ายต่อการใช้งานและสามารถรองรับการเรียกใช้งานฐานข้อมูล
บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเน้นในเรื่องสิทธิของการเข้าใช้ระบบ เพื่อควบคุมมิให้เกิดการซ้ำซ้อน
ในการจัดเก็บ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลระบบ โดยระบบทำการพัฒนาด้วยโปรแกรม
จัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ฟอกซ์โปร์ 2.6 สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
ซอฟต์แวร์ที่ได้ออกแบบและทำการพัฒนาขึ้น สามารถสนับสนุนระบบสารสนเทศสำหรับการ
บริหารงานฝึกอบรมภายในองค์กร ทำให้ดำเนินงานตามกระบวนการฝึกอบรมของทีมฝึกอบรม
ได้รับความสะดวกในการแก้ไขปรับปรุงรายการต่างๆ รวมทั้งการจัดเตรียมเอกสารและรายงาน
ที่ต้องการได้อย่างถูกต้องรวดเร็วกว่าการทำงานตามระบบเดิม ซึ่งทำให้สามารถลดเวลาที่ใช้
สำหรับการดำเนินงานลงได้ โดยเฉลี่ยทั้งระบบคิดเป็นร้อยละ 80 เมื่อใช้จำนวนผู้ปฏิบัติงาน ที่
เท่ากัน
คัชรินทร์ (2545) ทำวิจัยเรื่องการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
การจัดฝึกอบรมทางไกลสำหรับข้าราชการพลเรือนไทยโดยผ่านระบบเครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดฝึกอบรมทางไกล โดย
ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ ซึ่งแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม
เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมทางไกล กลุ่มเจ้าหน้าที่ดูแลระบบ และกลุ่มผู้ฝึกอบรมทางไกล การ
ออกแบบแบ่งระบบออกเป็น ระบบการลงทะเบียน ระบบงานจัดการโครงการฝึกอบรม ระบบ
30
งานคัดเลือกผู้มีสิทธิ์ฝึกอบรม ระบบงานการรับชำระเงิน ระบบงานฝึกอบรมทางไกลและประเมิน
ผลการสอบ และระบบงานประเมินโครงการ ซึ่งทั้ง 6 ระบบ ได้ออกแบบให้ทำงานประสานสอด
คล้องกันภายใต้การทำงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งาน การพัฒนา
โปรแกรมประยุกต์นี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนโปรแกรม ซึ่งพัฒนาโดยใช้ภาษาเอเอสพี และ
ส่วนของฐานข้อมูลใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลไมโครซอฟต์แอ็กเซส 2002 ผลการวิจัยครั้งนี้เป็น
ประโยชน์ต่อข้าราชการไทยและเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมทางไกล ให้สามารถดำเนินการ ฝึกอบรมได้
อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และมีความผิดพลาดน้อยลง
เติมศักดิ์ (2544) ได้ทำวิจัยเรื่องการพัฒนาต้นแบบระบบฝึกอบรมสำหรับหน่วยงาน
ฝึกอบรม ระบบงานนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างต้นแบบระบบฝึกอบรมสำหรับหน่วยงานฝึกอบรม
ในการที่จะรวบรวมข้อมูลฝึกอบรม และสามารถใช้ข้อมูลดิบที่ได้ทำการบันทึกให้เป็นข้อมูลที่มี
ประโยชน์ในการทำงานและค้นคืนได้ ระบบงานนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยมุ่งความสำคัญไปที่
ความต้องการของผู้ใช้เพื่อที่จะให้ต้นแบบโปรแกรมฝึกอบรมให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้อย่าง
สะดวกมากยิ่งขึ้นทั้งนี้รูปแบบ และแนวคิด ในกระบวนการดำเนินงานของต้นแบบโปรแกรม
ฝึกอบรมอยู่บนพื้นฐานของสำนักพัฒนาบุคลากรเครือเจริญโภคภัณฑ์ งานวิจัยชิ้นนี้ใช้โปรแกรม
SQL Windows เป็นเครื่องมือในการพัฒนาต้นแบบโปรแกรม ฝึกอบรมและใช้ฐานข้อมูล
SQLBase เป็นฐานข้อมูล ซึ่งระบบจะทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 98
ผลที่ได้รับจากการพัฒนาคือต้นแบบโปรแกรมฝึกอบรมที่ช่วยในการทำงานประจำของเจ้าหน้าที่
ฝึกอบรม และผู้บริหารสามารถที่จะค้นหาข้อมูลจากการฝึกอบรมได้อย่างรวดเร็วและมีความถูก
ต้อง
จากการศึกษางานวิจัยดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่างานวิจัยที่ผ่านมาเป็นงานวิจัยเชิง
Application เป็นการพัฒนาระบบงาน ยังมิได้มีการประเมินผลหาประสิทธิภาพหาผลสัมฤทธิ์
เปรียบเทียบระบบการฝึกอบรมแบบที่มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้กับไม่มีการนำระบบ สาร
สนเทศมาใช้นั้น มีผลสัมฤทธิ์เป็นอย่างไร ผู้วิจัยจึงได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบและ หา
ประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา
ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หาประสิทธิภาพ
ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรม และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการใช้ระบบเดิม
กับระบบใหม่ โดยใช้ภาษา PHP เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม มีจุดเด่นคือมีประสิทธิภาพสูง
ทำงานได้รวดเร็ว และสามารถตอบสนองความต้องการพัฒนาระบบงานบนเว็บได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของฐานข้อมูลได้เลือกใช้ MySQL ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบฐานข้อมูลทั้งหมด
เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว รองรับจำนวนผู้ใช้จำนวนมหาศาล
และสนับสนุนระบบปฏิบัติการได้มากมาย สำหรับงานวิจัยนี้จะเป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ที่ช่วยในการบริหารงานฝึกอบรม และเพื่อศึกษาว่าระบบที่พัฒนาขึ้นจะช่วยให้การบริหารงาน
ฝึกอบรมมีประสิทธิภาพสูงขึ้นหรือไม่
31
บทที่ 3
วิธีการดำเนินงานวิจัย
ในงานวิจัยนี้แบ่งขั้นตอนการดำเนินงาน ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1) การพัฒนาระบบ
2) การประเมินประสิทธิภาพระบบ และ 3) การหาผลสัมฤทธิ์ของระบบ ซึ่งในขั้นตอนต่างๆ
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1 ขั้นตอนการพัฒนาระบบ
ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรม ได้นำวิธีการพัฒนาระบบ
สารสนเทศแบบวอเตอร์ฟอลมาประยุกต์ใช้โดยในขั้นตอนแรกของการพัฒนาระบบสารสนเทศ
เพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรม ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้งาน
โดยกำหนดขั้นตอนการทำงานต่างๆ อย่างชัดเจน จากนั้นทำการวิเคราะห์ระบบโดยทำการ
วิเคราะห์กระแสข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล และทำการออกแบบระบบตามความต้องการของผู้ใช้งาน
จากนั้นได้ทำการเขียนโปรแกรมให้ง่ายต่อการใช้งาน เข้าใจง่าย และทำการทดสอบ แก้ไข
ข้อผิดพลาด จนกระทั่งระบบสมบูรณ์ ปรับปรุงแก้ไขระบบให้ทันสมัย และจัดทำเอกสารคู่มือ
การใช้งาน โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้
3.1.1 การรวบรวมข้อมูล (Requirement Phase)
3.1.1.1 ศึกษาปัญหาของระบบงานเดิม
ในขั้นตอนนี้ผู้พัฒนาระบบได้ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบงานเดิมเกี่ยวกับงานจัดการ
ฝึกอบรม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมต่อไป
ซึ่งจากการศึกษาทำให้ทราบปัญหาของระบบงานเดิม ดังต่อไปนี้
ก) การจัดการฝึกอบรมใช้บุคลากรจำนวนมาก ในการจัดการเกี่ยวกับ
การฝึกอบรม ห้องฝึกอบรม ห้องสัมมนา ซึ่งห้องที่ใช้ในการฝึกอบรมและสัมมนามีจำนวน
มากมาย มีหลายอาคาร จึงมีความจำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมากในการดูแล ซึ่งแต่ละ
อาคารจะมีเจ้าหน้าที่ในการบริหารและจัดการ
ข) การค้นหาข้อมูลต่างๆ ค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากเก็บไว้ต่างสถานที่
ต่างอาคาร ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดสูง
ค) การติดต่อประสานงานเป็นไปอย่างล่าช้า เสียเวลาในการดำเนินการ
เนื่องจากการติดต่อประสานงานจะต้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับห้อง
ฝึกอบรมของแต่ละอาคารด้วยเอกสาร เพื่อให้มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร
32
ง) การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกอบรมต่างๆ ค่อนข้างมีความยุ่งยาก
สลับซับซ้อนกัน เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลอย่างกระจัดกระจาย ซึ่งเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน
จึงทำให้ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดสูง
จ) เสียเวลาในการจัดการฝึกอบรม เนื่องจากหลักสูตรฝึกอบรมมีจำนวน
มาก บุคคลที่เข้ารับการฝึกอบรมมีจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการจัดการฝึกอบรม
ฉ) ระบบงานที่มีอยู่เดิมไม่มีความยืดหยุ่น กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง
ไม่สามารถจัดการการฝึกอบรม และสัมมนาได้โดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ ได้ทันที ต้องใช้เวลา
ค่อนข้างมากในการจัดการการฝึกอบรม เนื่องจากการจัดการการฝึกอบรมจะต้องมีการประสานงาน
กับบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับห้องฝึกอบรมห้องประชุมที่มีอยู่แต่ละอาคาร
ช) การจัดการดูแลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการฝึกอบรม ในหลักสูตร
ต่างๆ เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ โปรเจคเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโฟนไร้สาย วีดีโอ
ค่อนข้างมีปัญหาเนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ มีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และไม่ทราบ
สถานะการใช้งานของอุปกรณ์ จึงจำเป็นต้องมีระบบการบริหารการจัดการอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้
เพียงพอกับความต้องการ
ซ) การจัดการเกี่ยวกับการฝึกอบรม จะใช้ทรัพยากรมนุษย์ในการจัดการ
ฝึกอบรมจะต้องใช้บุคลากรจำนวนมากในการจัดการ
ฌ) ต้องใช้เวลานานในการจัดการฝึกอบรม การเตรียมการจะต้องใช้
เวลานานในการเตรียมการวางแผนการจัดหลักสูตรล่วงหน้าใช้ระยะเวลาหลายเดือน จึงสามารถ
กำหนดการฝึกอบรมได้ จึงขาดความคล่องตัวในการจัดการฝึกอบรม
ญ) ปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ตั้งของห้องฝึกอบรม ห้องสัมมนา และ
ห้องประชุม เนื่องจากบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ทำการจัดการฝึกอบรม
ให้กับพนักงานทั้งภายใน ทศท. และภายนอก ทศท.ทั้งภายในและภายนอกประเทศ จึงมีห้อง
ฝึกอบรม และสัมมนาเป็นจำนวนมาก หลายตึก หลายอาคารเพื่อรองรับการฝึกอบรม ดังนั้น
จึงเกิดปัญหาการหาห้องฝึกอบรม
ทั้งหมดนี้คือปัญหาที่สำคัญพอสรุปได้ในระบบงานเดิม จึงเป็นการเหมาะสมที่พัฒนา
ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมของบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ให้ตรงตามจุดประสงค์ของผู้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
และทันสมัยในปัจจุบัน
จากการศึกษาระบบงานเดิมสามารถเขียนเป็นผังการทำงานได้ดัง ภาพที่ 3-1
3.1.1.2 วิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้และความเป็นไปได้ของระบบงานใหม่
จากการที่ได้ทำการศึกษาขั้นตอนการทำงานของงานจัดการฝึกอบรมและความต้องการ
อย่างละเอียด จากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับ
อาคารสถานที่ เจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ เจ้าหน้าที่ประสานงานของสถาบันวิชาการ ทศท.
33
โดยการสอบถามและสัมภาษณ์แบบปากเปล่า ทำให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหาและความต้องการ
ของผู้ใช้ ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงาน
ด้านการฝึกอบรม ดังนี้
ก) สามารถจองห้องฝึกอบรมห้องประชุม และนัดหมายได้โดยอัตโนมัติ
ข) สามารถแสดงแผนผัง สถานที่ของห้องฝึกอบรม ห้องประชุม และ
ห้องสัมมนาได้
ค) สามารถแสดงรายละเอียดของห้องฝึกอบรม ห้องประชุม และห้อง
สัมมนาได้
ง) สามารถพิมพ์รายละเอียดของการจองห้องฝึกอบรม ห้องประชุม
ห้องสัมมนา
จ) สามารถพิมพ์รายงานสรุปผลการทำงาน ของระบบการจัดการเกี่ยวกับ
การฝึกอบรมได้
ฉ) สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกอบรมได้สะดวก รวดเร็ว และง่าย
ยิ่งขึ้น
ช) สามารถติดต่อประสานงานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ซ) สามารถจัดการเกี่ยวกับการฝึกอบรมได้โดยอัตโนมัติ
ฌ) สามารถจัดการดูแลเกี่ยวกับอุปกรณ์ ที่ใช้ประกอบการฝึกอบรม
ในหลักสูตรต่างๆ ได้
ญ) สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกอบรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ
ระเบียบ
ฎ) มีความถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัยอยู่เสมอ มีการทำงานที่ไม่ยุ่งยาก
สลับซับซ้อน
ฏ) สามารถตรวจสอบหลักสูตรที่เจ้าหน้าที่แต่ละตำแหน่งสามารถอบรมได้
ฐ) สามารถจองหลักสูตรการฝึกอบรม ห้องฝึกอบรม ห้องประชุม
ห้องสัมมนา โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และอินทราเน็ต
แนวทางในการแก้ปัญหาสามารถนำมาเขียนเป็นผังการทำงานดังภาพที่ 3-2
34
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารหลักสูตร/หน่วยงานประสานงานหลักสูตร
ภาพที่ 3-1 System Flowchart ของระบบงานเดิม
พัฒนาหลักสูตร
กำหนดข้อมูลหลักสูตร
สำหรับการฝึกอบรม
สร้างหลักสูตรการฝึกอบรม
กำหนดรายละเอียดของ
หลักสูตร
เลื่อนหลักสูตร
เลื่อน/ยกเลิก
ประกาศรับสมัครเพิ่ม
พิจารณาจำนวน
ผู้เข้าอบรมเพียงพอ
หรือไม่
ดำเนินการจองเพื่อเข้ารับการอบรม ยกเลิกหลักสูตร
(เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ)
ทำหนังสือเชิญเข้าอบรม
พร้อมเอกสารยืนยัน
ประกาศรับสมัครเพิ่ม
คัดเลือกรายชื่อ
ผู้เข้ารับการอบรมแทน
ยกเลิกการจอง
เอกสารยืนยัน
การเข้ารับการอบรม
คัดเลือกรายชื่อ
ผู้เข้ารับการอบรม
รายงานข้อมูล
ผู้ที่ทำการจอง
ยืนยัน
สละสิทธิ์
A
ไม่พอ
พอ/เกิน
พอ
ใบสมัคร/รายชื่อ
ผู้สมัครเข้าอบรม
เลื่อน/ยกเลิก
35
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารหลักสูตร/หน่วยงานประสานงานหลักสูตร
ภาพที่ 3-1 (ต่อ)
A
ยืนยัน B
การจัดหลักสูตร
ยกเลิก
ยืนยัน
ฝึกอบรมตามหลักสูตร
ประเมินผลวิทยากร ประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม
ตรวจสอบการประเมิน
ผู้เข้าอบรม
ผ่าน
บันทึกประวัติการฝึกอบรม แจกวุฒิบัตร
ไม่ผ่าน
รายงานผลการอบรม
ให้ต้นสังกัดทราบ
36
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารหลักสูตร/หน่วยงานประสานงานหลักสูตร
ภาพที่ 3-2 System Flowchart ของระบบงานใหม่
พัฒนาหลักสูตร/เตรียมข้อมูลเข้า
กำหนดข้อมูลหลักสูตร
สำหรับการฝึกอบรม
สร้างหลักสูตรการฝึกอบรม
ผ่านระบบ Internet
กำหนดรายละเอียดของหลักสูตร เลื่อนหลักสูตร
เลื่อน/ยกเลิก
พิจารณาจำนวน ประกาศรับสมัครเพิ่ม
ผู้เข้าอบรมเพียงพอ
หรือไม่
ดำเนินการจองเพื่อเข้ารับการอบรม ยกเลิกหลักสูตร
(ระบบตรวจสอบคุณสมบัติ)
ประกาศรับสมัครเพิ่ม
รายชื่อผู้ลงทะเบียน
สำรองเข้ามาแทนที่
ยกเลิกการลงทะเบียน
เอกสารยืนยัน
การเข้ารับการอบรม
เอกสารยืนยัน
การลงทะเบียน
ยืนยัน
ยกเลิก
A
ไม่พอ
พอ/เกิน
ไม่พอ
สมัครฝึกอบรมผ่าน
Internet/Intranet
เลื่อน/ยกเลิก
พอ/เกิน
37
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารหลักสูตร/หน่วยงานประสานงานหลักสูตร
ภาพที่ 3-2 (ต่อ)
A
ยืนยัน B
การจัดหลักสูตร
ยกเลิก
ยืนยัน
ฝึกอบรมตามหลักสูตร
ประเมินผลวิทยากร
โดยผ่านระบบ Intranet
ประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม
ตรวจสอบการประเมิน
ผู้เข้าอบรม
ผ่าน
บันทึกประวัติการฝึกอบรม แจกวุฒิบัตร
ไม่ผ่าน
รายงานผลการอบรม
ให้ต้นสังกัดทราบ
38
3.1.2 การวิเคราะห์ระบบ (Analysis Phase)
จากการที่ได้ศึกษาระบบงานเดิมทำให้ทราบปัญหาและความต้องของผู้ใช้ ซึ่งสามารถ
ใช้เป็นแนวทางให้ผู้พัฒนาระบบได้วิเคราะห์ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมได้
โดยอาศัยเครื่องมือ คือ แผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD) เป็นเครื่องมือ
ที่ใช้อธิบายถึงขั้นตอนการทำงานของระบบ แสดงทิศทางการไหลของข้อมูล ซึ่งอธิบายให้
ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบรายละเอียดของการทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดย
เริ่มจากแผนภาพกระแสข้อมูลระบบสูงสุด (Context Diagram) หลังจากนั้นผู้พัฒนาได้ใช้
เครื่องมือในสร้างข้อมูล โดยอาศัยโครงสร้างฐานข้อมูลที่เรียกว่า แผนภาพอี-อาร์ (Entity
Relationship Diagram: E-R Diagram) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งระบบ แล้วใช้
แผนภาพอี-อาร์ เขียนข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์
3.1.2.1 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับสูงสุด (Context Diagram) การพัฒนาระบบ
สารสนเทศ เพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมได้ใช้ แผนภาพกระแสข้อมูลระดับสูงสุด (Context
Diagram) ซึ่งเป็นภาพรวมทั้งหมดของระบบสามารถบอกให้ทราบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละกลุ่ม
มีหน้าที่ที่ทำอะไรได้บ้างกับระบบ สามารถเขียนได้ดัง ภาพที่ 3-3
ภาพที่ 3-3 Context Diagram ของระบบสารสนเทศช่วยงานด้านฝึกอบรม
จากแผนภาพกระแสข้อมูลระดับสูงสุด (Context Diagram) ระบบได้กำหนดสิทธิ์และ หน้า
ที่ของกลุ่มผู้ใช้แต่ละกลุ่มรวมทั้งแหล่งข้อมูลจากภายนอกที่สามารถนำเข้าสู่ระบบ โดย เกี่ยว
ข้องและนำข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ตามสิทธิ์ที่กำหนด โดยผ่านระบบเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตซึ่งกำหนดหน้าที่และสิทธิ์ของกลุ่มผู้ใช้ดังนี้
1. ผู้ดูแลระบบ คือผู้เข้าระบบในฐานะผู้ดูแลระบบทำหน้าที่ดูแลจัดการข้อมูลทั้งหมด
รวมทั้งการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งมีหน้าที่หลักคือการตรวจสอบสิทธิ์ในการฝึกอบรมหลักสูตร
แต่ละหลักสูตร ตำแหน่ง และทะเบียนประวัติของพนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมด รวมทั้ง
สามารถค้นหา เพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการฝึกอบรม สัมมนา ตึก อาคาร ห้อง
อุปกรณ์ วิทยากร และข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการการฝึกอบรมทั้งหมดรวมทั้งการรักษา
ความปลอดภัยของระบบ
ระบบสารสนเทศเพื่อ
ช่วยงานฝึกอบรม
0
เพิ่ม ลบ แก้ไข
ข้อมูล ห้องประชุม
อุปกรณ์ หลักสูตร
วิทยากร
ลงทะเบียนประเมินผล
ผู้ดูแลระบบ ผู้ใช้งาน
ผลการลงทะเบียน
39
2. ผู้ใช้งานระบบ คือพนักงานของ ทศท. ทุกคนที่เข้าสู่ระบบในฐานะผู้ใช้งาน สามารถ
ดูหลักสูตร การฝึกอบรม การประชุม และสัมมนาได้ สามารถค้นหาหลักสูตรได้ สามารถ
จองหลักสูตรฝึกอบรม ยกเลิกการจองหลักสูตรฝึกอบรมและสามารถประเมินผลวิทยากรได้
3.1.2.2 แผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD)
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรม ได้ใช้แผนภาพการไหลของ
ข้อมูล แสดงถึงการไหลของข้อมูลเข้าและข้อมูลออก ในแต่ละขั้นตอนการทำงานต่างๆ ของ
ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมของบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ซึ่งแสดงภาพรวมของระบบทั้งหมดโดย แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 จะเป็นที่รวมของ
โปรเซสหลักและข้อมูลหลัก ดังนั้นเมื่อทำการกำหนดกระบวนการ (List of Process) ที่เกี่ยวข้อง
กับระบบแล้ว ควรทำการรวมกลุ่มโปรเซส (Group of Process) เข้าด้วยกัน เพื่อให้สะดวกต่อ
การจัดการแผนกระแสข้อมูลในระดับย่อยๆ ต่อไป โดยแสดงขั้นตอนการทำงานรวมทั้งรายละเอียด
ต่างๆ ดังภาพที่ 3-4
จากภาพที่ 3-4 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 (Data Flow Diagram Level 1) แสดง
ให้เห็นถึงรายละเอียดของการประมวลผลหลัก ซึ่งการเขียนแผนภูมิกระแสข้อมูลในระดับที่ 1
(Data Flow Diagram Level 1) จะนำ Context Diagram มาแตกรายละเอียด โดยจะแสดง
โปรเซสหลักๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบ สามารถทำการวิเคราะห์ เพื่อหารายละเอียดของ
บุคคล (Boundaries) ข้อมูล (Data) และกระบวนการ (Process) ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. บุคคล หน่วยงาน หรือระบบงาน (List of Boundaries)
1.1 ผู้ดูแลระบบ (Admin)
1.2 ผู้ใช้งานทั่วไป (User)
2. ข้อมูลที่ไหลอยู่ในระบบ (List of Data)
2.1 ข้อมูลห้องประชุม /ห้องสัมมนา/ ห้องฝึกอบรม
2.2 ข้อมูลอุปกรณ์
2.3 ข้อมูลหลักสูตรฝึกอบรม
2.4 ข้อมูลบุคลากร
3. กระบวนการที่ต้องทำในระบบ (List of Process)
3.1 ปรับปรุงข้อมูลอาคาร
3.2 ปรับปรุงข้อมูลอุปกรณ์
3.3 ปรับปรุงข้อมูลหลักสูตรฝึกอบรม
3.4 ปรับปรุงข้อมูลบุคลากร
3.5 ปรับปรุงข้อมูลลงทะเบียน
3.6 ปรับปรุงข้อมูลยกเลิกลงทะเบียน
3.7 ปรับปรุงข้อมูลประเมินผล
40
41
ในขั้นตอนของการประมวลผลแต่ละกระบวนการ โดยยังคงเป็นแผนภาพที่สมดุล ดังแสดง
ในภาพที่ 3-5, 3-6, 3-7, 3-8, 3-9 และ 3-10 ตามลำดับ กระบวนการทั้งหมดกระทำโดยผ่าน
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจากภาพทั้งหมดสามารถอธิบายการทำงานของระบบ ได้ดังนี้
1. ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ (Log in) ผู้ใช้งานที่เป็นพนักงานของบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น
จำกัด (มหาชน) เท่านั้น สามารถเข้ามาสู่ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมได้โดย
ผ่านการลงทะเบียน (Log in) เท่านั้น ซึ่งเมื่อผู้ใช้ทำการลงทะเบียนเข้ามาจะมีการเชื่อมต่อกับ
ระบบฐานข้อมูลหลักของประวัติของพนักงาน ทำให้ทราบรายละเอียดของพนักงาน เช่น
ตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ ,วันที่เริ่มทำงาน, วันเดือนปีเกิด, ประวัติการฝึกอบรม เป็นต้น
ผู้ใช้สามารถค้นหารายการหลักสูตรที่เปิดรับสมัคร โดยสามารถเลือกหลักสูตรที่เปิดรับสมัครได้
โดยการค้นหาหลักสูตรฝึกอบรมได้จากการกำหนดช่วงวันที่จากปฏิทิน ซึ่งระบบจะทำการค้นหา
และแสดงรายการหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดรับสมัครตามช่วงเวลาที่เราเลือก และสามารถสมัครเรียน
ได้โดยอัตโนมัติโดยการลงทะเบียนเรียน หากมีคุณสมบัติตรงกับคุณสมบัติที่ได้กำหนดไว้
ก็สามารถสำรองที่นั่งเรียนได้และทราบผลการสมัครทันที ซึ่งระบบจะทำการตรวจสอบคุณสมบัติ
เองโดยอัตโนมัติ เมื่อลงทะเบียนเรียนเรียบร้อยแล้ว สามารถระบุให้ส่งเอกสารรายละเอียด
การฝึกอบรมให้หรือไม่ก็ได้
2. ประเมินผลวิทยากร เป็นกระบวนการที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทำการประเมินผล
วิทยากรในหลักสูตรที่ฝึกอบรมหลังจากที่ผ่านการฝึกอบรมจากหลักสูตรแล้ว โดยระบบจะมีการ
ตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ที่มีสิทธิ์ในการประเมินผล ซึ่งผู้ที่จะประเมินผลวิทยากรได้จะต้องเป็นผู้ที่
เข้ารับการฝึกอบรมเท่านั้น การประเมินผลจะทำการประเมินผลได้เพียงครั้งเดียว เท่านั้น
เมื่อยืนยันผลการประเมินวิทยากรแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้
3. วิธีการใช้งาน เป็นกระบวนการที่อธิบายให้ผู้ใช้งานทราบข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้งาน
4. ยกเลิกการลงทะเบียน เป็นกระบวนการที่ผู้ใช้สามารถเข้ามายกเลิกการลงทะเบียนได้
โดยเมื่อ Log in ผ่านระบบเข้ามาแล้วสามารถเลือกหัวข้อหลักสูตรฝึกอบรมที่ต้องการยกเลิก
การลงทะเบียน จะปรากฏรายชื่อหลักสูตรที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้ และเลือกหลักสูตรที่ต้องการ
ยกเลิกการลงทะเบียนระบบจะทำการยกเลิกการลงทะเบียนให้ โดยอัตโนมัติ เมื่อยกเลิก เรียบ
ร้อยแล้วรายชื่อของผู้สมัครสำรองจะเข้ามาแทนที่ทันที แต่ถ้าหลักสูตรนั้นมีผู้สมัครไม่เต็มจำนวน
ที่เปิดรับสมัครรายชื่อก็จะถูกลบไป 1 รายชื่อ
3.1.2.3 ออกแบบตารางข้อมูลโดยใช้แผนภาพ E-R Diagram
เมื่อวิเคราะห์และออกแบบโดยใช้ DFD ไปแล้วขั้นตอนต่อไปผู้พัฒนาได้ใช้เครื่องมือ
ในการสร้างตารางข้อมูล โดยอาศัยโครงสร้างฐานข้อมูลที่เรียกว่า แผนภาพ E-R Diagram
(Entity Relationship Diagram) ซึ่งใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งระบบ เป็นแบบจำลอง
ในการนำเสนอรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน เมื่อได้แผนภาพ E-R
Diagram แล้วใช้หลักการของแผนภาพ E-R Diagram ในการที่เปลี่ยนแปลงแผนภาพดังกล่าว
42
เป็นตารางข้อมูลอย่างมีหลักวิธี ก็ได้ตารางข้อมูลที่มีคุณภาพ ขจัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
ความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data Redundant) หรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของข้อมูล (Data
Integrity) เป็นต้น จากนั้นก็สามารถนำตารางข้อมูลดังกล่าวใช้งานจริงภายใต้ระบบจัดการ
ฐานข้อมูลต่อไป สุดท้ายก็ได้แผนภาพ Entity Relationships Model ของระบบสารสนเทศ
เพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรม บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ทั้งระบบ ดังภาพที่ 3-11
จากภาพที่ 3-11 สามารถแยกอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง Entity ที่ได้ ดังนี้
1. ผู้ดูแลระบบสามารถทำการเพิ่ม ปรับปรุงแก้ไข ลบ ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอาคาร เช่น
ห้อง อาคาร ชั้น สถานะในการใช้งาน อุปกรณ์ที่มีอยู่ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับ
การใช้ห้องในอาคารได้ ทำให้สามารถนำไปวางแผนจัดการการฝึกอบรมได้ แสดงดังภาพที่ 3-5
ภาพที่ 3-5 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level 2): ปรับปรุงข้อมูลอาคาร
2. ผู้ดูแลระบบสามารถทำการเพิ่ม ปรับปรุงแก้ไข ลบ ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้
ประกอบการฝึกอบรม เช่น ชื่ออุปกรณ์ รหัสอุปกรณ์ หมายเลขทรัพย์สิน ประเภทอุปกรณ์
สถานะภาพของอุปกรณ์ เป็นต้น แสดงดังภาพที่ 3-6
เพิ่ม
1.1
ผู้ดูและระบบ
แก้ไข
1.2
ลบ
1.3
1 แฟ้มข้อมูลอาคาร
ข้อมูลอาคาร
ข้อมูลอาคาร
ข้อมูลอาคาร
รหัสอาคาร,ชื่ออาคาร
รหัสอาคาร,
ชื่ออาคาร
รหัสอาคาร,ชื่ออาคาร
43
ภาพที่ 3-6 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level 2): ปรับปรุงข้อมูลอุปกรณ์
3. ผู้ดูแลระบบสามารถทำการเพิ่ม ปรับปรุงแก้ไข ลบ ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหลักสูตร
การฝึกอบรม เช่น รหัสหลักสูตร ชื่อหลักสูตร ประเภทของหลักสูตร วันที่ฝึกอบรม เวลา
วิทยากร ห้อง อาคาร จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม วัตถุประสงค์ของหลักสูตร คุณสมบัติของ
ผู้เข้าฝึกอบรม การประเมินผล เป็น แสดงดังภาพที่ 3-7
ภาพที่ 3-7 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level 2): ปรับปรุงข้อมูลหลักสูตร
เพิ่ม
3.1
ผู้ดูและระบบ
แก้ไข
3.2
ลบ
3.3
3 แฟ้มข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลหลักสูตร
รหัสหลักสูตร,ชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร,
ชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร,ชื่อหลักสูตร
เพิ่ม
2.1
ผู้ดูและระบบ
แก้ไข
2.2
ลบ
2.3
2 แฟ้มข้อมูลอุปกรณ์
ข้อมูลอุปกรณ์
ข้อมูลอุปกรณ์
ข้อมูลอุปกรณ์
รหัสอุปกรณ์, ชื่ออุปกรณ์
รหัสอุปกรณ์,
ชื่ออุปกรณ์
รหัสอุปกรณ์,ชื่ออุปกรณ์
44
4. ผู้ดูแลระบบสามารถทำการเพิ่ม ปรับปรุงแก้ไข ลบ ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับวิทยากร
เช่น รหัสวิทยากร ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เกียรติประวัติ เป็นต้น แสดงดังภาพที่ 3-8
ภาพที่ 3-8 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level 2): ปรับปรุงข้อมูลวิทยากร
5. ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถทำการเพิ่ม ลบ ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการลงทะเบียน หรือ
ยกเลิกการลงทะเบียนได้ หากเข้ามาเพิ่มก็เป็นการลงทะเบียน หากยกเลิกการลงทะเบียนก็เป็นลบ
เช่นรหัส ผู้ลงทะเบียน ชื่อ โทรศัพท์ หลักสูตรที่ลงทะเบียน หลักสูตรที่ยกเลิก เป็นต้น แสดง
ดังภาพที่ 3-9
ภาพที่ 3-9 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level 2): ปรับปรุงข้อมูลลงทะเบียน
เพิ่ม
4.1
ผู้ดูและระบบ
แก้ไข
4.2
ลบ
4.3
4 แฟ้มข้อมูลวิทยากร
ข้อมูลวิทยากร
ข้อมูลวิทยากร
ข้อมูลวิทยากร
รหัสวิทยากร,ชื่อวิทยากร
รหัสวิทยากร,ชื่อวิทยากร
รหัสวิทยากร,ชื่อวิทยากร
เพิ่ม
5.1
ผู้ใช้งานทั่วไป
ลบ
5.2
5 แฟ้มข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลยกเลิกลง
ทะเบียน
รหัสผู้ลงทะเบียน,
ชื่อผู้ลงทะเบียน
รหัสผู้ยกเลิกลงทะเบียน,
ชื่อผู้ยกเลิกการลงทะเบียน
45
6. ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถทำการเพิ่ม ปรับปรุงแก้ไข ลบ ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการ
ลงทะเบียน หรือยกเลิกการลงทะเบียนได้ หากเข้ามาเพิ่มก็เป็นการลงทะเบียน หากยกเลิก
การลงทะเบียน เช่น รหัสผู้ลงทะเบียน ชื่อ โทรศัพท์ หลักสูตรที่ลงทะเบียน หลักสูตรที่ยกเลิก
เป็นต้น แสดงดังภาพที่ 3-10
ภาพที่ 3-10 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level 2): ปรับปรุงข้อมูลประเมินผล
ผู้ใช้งานทั่วไป
เพิ่ม
6.1
6 แฟ้มข้อมูลประเมินผล
ข้อมูลประเมินผล
รหัสประเมินผล,
รหัสหลักสูตร
46
47
ก) ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินผลกับวิทยากร มีความสัมพันธ์
แบบ one-to-one ซึ่งอธิบายว่า ในการประเมินผลวิทยากรแต่ละหลักสูตรจะประเมินผลวิทยากร
แต่ละคนได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น ดังภาพที่ 3-12
vote
vote_id
pg_id
vote_date
expert_id
vote_code
vote_objective
vote_transfer
vote_knowledge
vote_step
vote_conclude
vote_ask_question
vote_emotion
vote_useoption
vote_ontime
vote_personality
expert
expert_id
expert_code
expert_name
expert_surname
expert_tel
expert_address
expert_education
expert_fame
expert_birth
expert_file
ภาพที่ 3-12 ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินผลกับวิทยากร
ข) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ลงทะเบียนกับหลักสูตร ที่มีความสัมพันธ์
แบบ many-to-many ผู้ลงทะเบียน 1 คน สามารถเลือกเรียนได้หลายหลักสูตรและในหลักสูตร
1 หลักสูตร ก็สามารถให้ผู้ลงทะเบียนเลือกเรียนได้หลายคน ดังภาพที่ 3-13
register
register_id
code
register_date
pg_id
program
pg_id
pg_code
pg_type
pg_name
ภาพที่ 3-13 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ลงทะเบียนกับหลักสูตร
ค) ความสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับชั้น มีความสัมพันธ์แบบ one-to-many
เป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม ซึ่งอธิบายได้ว่าในอาคาร 1 อาคารมีห้องมากกว่า 1 ห้อง และห้อง 1 ห้อง
สามารถใช้อาคารได้เพียง 1 อาคาร ดังภาพที่ 3-14
is for
M
N
1 is for 1
48
Building1
building_id
building_name
building_floor
building_room
build_floor1
building_floor_id
building_floor_number
building_floor_file
building_id
ภาพที่ 3-14 ความสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับห้อง
ง) ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้ลงทะเบียน มีความสัมพันธ์แบบ
one-to-many ซึ่งอธิบายได้ว่าพนักงาน 1 คน สามารถลงทะเบียนได้หลายหลักสูตร ดังภาพที่
3-15
Employee
code
name
title
sex
cbirth
chire
cemp
cdiv
divi
cdivf
pjob
tpjob
pc
level
cedu
edu
email
Register
register_id
code
register_date
pg_id
register_type
register_tel
Is for
ภาพที่ 3-15 ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้ลงทะเบียน
จ) ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยากรกับหลักสูตร ที่มีความสัมพันธ์แบบ
one-to-one ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ซึ่งอธิบายได้ว่าวิทยากร 1 คน สอน 1 หลักสูตร
ดังภาพที่ 3-16
is for
1 M
M
1
49
Expert
expert_id
expert_code
expert_name
expert_surname
expert_tel
expert_address
expert_education
expert_fame
expert_birth
expert_file
Program
pg_id
pg_code
pg_type
pg_name
pg_objective
pg_subject
pg_method
pg_check
pg_department
pg_start
pg_end
pg_expert_id
ภาพที่ 3-16 ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรกับวิทยากร
ฉ) ความสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับชั้น ซึ่งอธิบายว่าอาคาร 1 อาคาร
มีชั้นได้หลายชั้น มีความสัมพันธ์แบบ one-to-many ส่วนชั้นกับห้องที่มีความสัมพันธ์แบบ
many-to-many ดังภาพที่ 3-17
Building
building_id
building_name
building_floor
building_room
build_floor
building _floor_id
building _floor_number
building _floor_file
building _id
room
room_id
room_name
room_type
room_detail
room_number
building_floor_number
building_id
ภาพที่ 3-17 ความสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับชั้นกับห้อง
ช) ความสัมพันธ์ระหว่างห้องกับอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งอธิบายว่า
ห้อง 1 ห้อง อาจมีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์มากกว่า 1 ชิ้น อยู่ใน 1 ห้องได้ ความสัมพันธ์จึงเป็น
แบบ one-to-many ดังภาพที่ 3-18
option_name
option _item_id
option _item_code
option _item_name
option _item_model
option _group _id
option _item_status
room_id
room
room_id
room_name
room_type
room_detail
room_number
building_floor_number
building_id
ภาพที่ 3-18 ความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์กับห้อง
1 is for 1
1 has M
1 is for M 1 is for M
50
3.1.3 พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
ผู้พัฒนาระบบได้ทำการศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงาน
ด้านการจัดการการฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรม บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
พร้อมทั้งกำหนดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูลซึ่งมีทั้งหมด 12 แฟ้มข้อมูล โดยมี
รายละเอียดและโครงสร้างดังต่อไปนี้
3.1.3.1 แฟ้มข้อมูลพนักงาน (Employee) โดยมีรหัสประจำตัวพนักงานเป็นคีย์หลัก
และข้อมูลที่จำเป็นดังรายละเอียดในตารางที่ 3-1
ตารางที่ 3-1 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลพนักงาน (Employee)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 code varchar 8 รหัสประจำตัว PK
2 name varchar 34 ชื่อนามสกุลพนักงาน
3 title varchar 15 คำนำหน้านาม
4 sex char 1 เพศ
5 cbirth datetime 8 วันเดือนปีเกิด
6 chire datetime 8 วันที่เริ่มทำงาน
7 cemp datetime 8 วันที่บรรจุ
8 cdiv varchar 10 รหัสสังกัด
9 divi varchar 65 ชื่อสังกัดย่อ
10 divf varchar 95 ชื่อสังกัดเต็ม
11 pjob char 3 รหัสสายงาน
12 tpjob varchar 35 ชื่อสายงาน
13 pc char 2 ระดับพนักงาน
14 level varchar 4 ระดับทางการบริหาร
15 cedu varchar 4 รหัสคุณวุฒิ
16 edu varchar 65 ชื่อคุณวุฒิ
17 email varchar 50 อีเมล์
3.1.3.2 แฟ้มข้อมูลผู้ดูแลระบบ (Admin) ใช้เก็บข้อมูลผู้ดูแลระบบ โดยมีรหัส
ผู้ดูแลระบบเป็นคีย์หลัก และข้อมูลที่จำเป็น ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-2
ตารางที่ 3-2 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลผู้ดูแลระบบ (Admin)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 admin_pass varchar 15 รหัสผู้ดูแลระบบ PK
2 admin_name varchar 40 ชื่อผู้ดูแลระบบ
3 admin_descript tinytext 255 รายละเอียดผู้ดูแลระบบ
51
3.1.3.3 แฟ้มข้อมูลหลักสูตร (Program) ได้ออกแบบเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลของ
หลักสูตร โดยมีรหัสหลักสูตร เป็นคีย์หลัก ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-3
ตารางที่ 3-3 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลหลักสูตร (Program)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 pg_id smallint 8 รหัสหลักสูตร PK
2 pg_code varchar 15 หมายเลขหลักสูตร
3 pg_type char 1 ประเภทหลักสูตร
4 pg_name varchar 150 ชื่อหลักสูตร
5 pg_objective text 255 วัตถุประสงค์
6 pg_subject varchar 255 หัวข้อวิชา
7 pg_method text 255 วิธีการอบรม
8 pg_check text 255 วิธีการประเมินผล
9 pg_department varchar 150 แผนกที่รับผิดชอบ
10 pg_start date 8 วันที่เริ่ม
11 pg_end date 8 วันที่สิ้นสุด
12 pg_last_vote date 8 วันที่ประเมินผล
13 pg_on_time varchar 20 ช่วงเวลา
14 pg_num_register smallint 5 จำนวน
15 pg_count_register smallint 5 จำนวนนับผู้อบรม
16 pg_num_reserve smallint 6 จำนวนสำรองผู้อบรม
17 pg_count_reserve smallint 6 จำนวนสำรองผู้อบรม
18 pg_building_id smallint 6 รหัสอาคาร
19 pg_room_id smallint 8 รหัสห้อง
20 pg_expert_id smallint 8 รหัสวิทยากร
21 pg_status char 1 สถานะ
22 pg_expert_point smallint 6 คะแนนวิทยากร
23 pg_count_vote smallint 6 จำนวนผู้ประเมิน
24 pg_count_add smallint 6 ผลรวมคะแนน
3.1.3.4 แฟ้มข้อมูลอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ (Option Name) ใช้สำหรับเก็บข้อมูล
เกี่ยวกับอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม โดยมีรหัสอุปกรณ์เป็นคีย์หลัก ดังราย
ละเอียดในตารางที่ 3-4
52
ตารางที่ 3-4 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลโสตทัศนูปกรณ์ (Option Name)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 option_item_id smallint 5 รหัสอุปกรณ์ PK
2 option_item_code varchar 15 หมายเลขอุปกรณ์
3 option_item_name varchar 150 ชื่ออุปกรณ์
4 option_item_model varchar 30 รุ่น
5 option_group_id smallint 5 รหัสประเภทอุปกรณ์
6 option_item_status tinyint 1 สถานะอุปกรณ์
7 room_id smallint 8 รหัสห้อง
3.1.3.5 แฟ้มข้อมูลตำแหน่งอุปกรณ์ (Option Position) ใช้สำหรับเก็บข้อมูล
เกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งมีรหัสตำแหน่งอุปกรณ์ เป็นคีย์หลักและ
ข้อมูลที่จำเป็น ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-5
ตารางที่ 3-5 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลตำแหน่งอุปกรณ์ (Option Position)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 posit_map_id smallint 5 รหัสตำแหน่งอุปกรณ์ PK
2 posit_map_position_id varchar 15 ที่ตั้งอุปกรณ์
3 posit_map_date varchar 150 วันที่เก็บอุปกรณ์
4 posit_map_pg_id varchar 30 รหัสหลักสูตร
3.1.3.6 แฟ้มข้อมูลประเภทอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ (Option Group) ใช้เก็บข้อมูล
ประเภทของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ เพื่อแบ่งแยกอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ โดยมีรหัสประเภท
อุปกรณ์เป็นคีย์หลักและข้อมูลที่จำเป็น ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-6
ตารางที่ 3-6 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลประเภทอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ (Option Group)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 option_group_id smallint 5 รหัสประเภทอุปกรณ์ PK
2 option_group_name varchar 50 ชื่อประเภทอุปกรณ์
3.1.3.7 แฟ้มข้อมูลตำแหน่งงาน (Job Position) ใช้สำหรับเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ
สายงาน ตำแหน่งงาน และระดับของพนักงาน ซึ่งมีรหัสตำแหน่งงาน เป็นคีย์หลัก และข้อมูล
ที่จำเป็น ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-7
53
ตารางที่ 3-7 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลตำแหน่งงาน (Job Position)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 pjob char 3 รหัสตำแหน่ง PK
2 path_name varchar 36 สายงาน
3 path_rank varchar 40 ตำแหน่ง
4 path_ini varchar 8 ระดับ
3.1.3.8 แฟ้มข้อมูลวิทยากร (Expert) ใช้สำหรับเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากร
โดยมีรหัสวิทยากร เป็นคีย์หลัก และข้อมูลที่จำเป็นดังรายละเอียดในตารางที่ 3-8
ตารางที่ 3-8 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลวิทยากร (Expert)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 expert_id smallint 8 รหัสวิทยากร PK
2 expert_code varchar 8 หมายเลขวิทยากร INDEX
3 expert_name varchar 30 ชื่อวิทยากร INDEX
4 expert_surname varchar 30 นามสกุลวิทยากร
5 expert_tel varchar 20 หมายเลขโทรศัพท์
6 expert_address tinytext 20 ที่อยู่วิทยากร
7 expert_education text 255 การศึกษาวิทยากร
8 expert_fame text 255 เกียรติประวัติ
9 expert_birth date 8 วันเดือนปีเกิด
10 expert_file varchar 15 รูปถ่ายวิทยากร
3.1.3.9 แฟ้มข้อมูลการประเมินผลวิทยากร (Vote) โดยมีรหัสการประเมินผล เป็น
คีย์หลักและข้อมูลที่จำเป็นดังรายละเอียดในตารางที่ 3-9
ตารางที่ 3-9 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลการประเมินผลวิทยากร (Vote)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 vote_id smallint 5 รหัสประเมินผล PK
2 pg_id smallint 8 รหัสหลักสูตร
3 vote_date datetime 8 วันที่ประเมินผล
4 expert_id smallint 8 รหัสวิทยากร
5 vote_code varchar 8 หมายเลข
6 vote_objective smallint 6 วิชาที่ประเมินผล
7 vote_transfer smallint 6 การถ่ายทอดวิชาความรู้
54
ตารางที่ 3-9 (ต่อ)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
8 vote_knowledge smallint 6 ความรอบรู้ในวิชาที่สอน
9 vote_step smallint 6 การจัดลำดับเนื้อหา
10 vote_conclude smallint 6 สรุปใจความสำคัญ
11 vote_ask_question smallint 6 การตั้งคำถาม
12 vote_emotion smallint 6 การสร้างบรรยากาศในห้อง
13 vote_useoption smallint 6 การใช้อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์
14 vote_ontime smallint 6 การตรงต่อเวลา
15 vote_personality smallint 6 บุคลิกภาพ
3.1.3.10 แฟ้มข้อมูลห้อง (Room) ใช้สำหรับเก็บข้อมูลเกี่ยวกับห้องต่างๆ ได้แก่
ห้องประชุม ห้องสัมมนา ห้องอบรม โดยมี รหัสห้องเป็นคีย์หลัก และข้อมูลที่จำเป็น ดังรายละเอียด
ในตารางที่ 3-10
ตารางที่ 3-10 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลห้อง (Room)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 room_id smallint 8 รหัสห้อง PK
2 room_name varchar 255 ชื่อห้อง
3 room_type varchar 255 ประเภทห้อง
4 room_detail text 255 รายละเอียดห้อง
5 room_number varchar 20 หมายเลขห้อง
6 building_floor_number tinyint 2 ชั้น
7 building_id smallint 4 รหัสอาคาร
3.1.3.11 แฟ้มข้อมูลอาคาร (Building) ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอาคาร
โดยมีรหัสอาคารเป็นคีย์หลักและข้อมูลที่จำเป็นดังรายละเอียดในตารางที่ 3-11
ตารางที่ 3-11 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลอาคาร (Building)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 building_id smallint 4 รหัสอาคาร PK
2 building_name varchar 255 ชื่ออาคาร
3 building_floor tinyint 2 ชั้น
4 building_room smallint 5 ห้อง
55
3.1.3.12 แฟ้มข้อมูลชั้น (Floor) ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชั้นของอาคาร แต่
ละอาคาร โดยมีรหัสชั้นเป็นคีย์หลัก และข้อมูลที่จำเป็นดังรายละเอียดในตารางที่ 3-12
ตารางที่ 3-12 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลชั้น (Floor)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 building_floor_id smallint 8 รหัสชั้น PK
2 building_floor_number tinyint 2 หมายเลขชั้น
3 building_floor_file varchar 10 รูปแผนผังชั้น
4 building_id smallint 4 รหัสอาคาร
3.1.3.13 แฟ้มข้อมูลผู้ลงทะเบียน (Register) ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ การ
ลงทะเบียน โดยมีรหัสผู้ลงทะเบียนเป็นคีย์หลัก และข้อมูลที่จำเป็นดังรายละเอียดในตารางที่ 3-
13
ตารางที่ 3-13 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลผู้ลงทะเบียน (Register)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 register_id mediumint 8 รหัสผู้ลงทะเบียน PK
2 code varchar 8 รหัสพนักงาน
3 register_date date 8 วันที่ลงทะเบียน
4 pg_id smallint 8 รหัสหลักสูตร
5 register_type char 1 ชนิดการลงทะเบียน
6 register_tel varchar 20 หมายเลขโทรศัพท์
3.1.4 การออกแบบและพัฒนาระบบ (Design and Implementation)
หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบโดยใช้ Data Flow Diagram และ E-R
Diagram แล้วนั้นทำให้ทราบถึงการไหลของข้อมูลที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด ขั้นตอนต่อไปเป็น
ขั้นตอนการออกแบบระบบ เป็นการออกแบบหน้าจอของโปรแกรม ซึ่งทำให้ทราบถึงการทำงาน
ของโปรแกรม ก่อนที่นำไปสู่ขั้นตอนการพัฒนาระบบต่อไป
ผู้พัฒนาได้ยกตัวอย่างการออกแบบหน้าจอแรก หน้าจอหลักๆ หน้าจอการล็อกอินเข้าใน
ฐานะพนักงานทั่วไป และผู้ดูแลระบบ ส่วนหน้าจอที่เกี่ยวกับรายละเอียดประเภท ต่างๆ และ
ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมอธิบายไว้ใน ภาคผนวก ข คู่มือการใช้โปรแกรม
56
ภาพที่ 3-19 หน้าจอแรกของการเข้าสู่ระบบในฐานะผู้ใช้งาน
ภาพที่ 3-20 หน้าจอแรกในส่วนการล็อกอินเข้าสู่ระบบในฐานะผู้ใช้งาน
โลโก้เว็บไซต์
โลโก้ในส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป
ล็อกอินฟอร์มสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
Name_Surnam Id_No.
57
ภาพที่ 3-21 หน้าจอแรกในส่วนของการแสดงรายละเอียดตามคำสั่งของผู้ใช้งาน
ภาพที่ 3-22 หน้าจอแรกสำหรับการล็อกอินเข้าสู่ระบบในฐานะผู้ดูแลระบบ
โลโก้เว็บไซต์ ชื่อระบบงาน
รายละเอียดการแสดงผลตามเมนูคำสั่งต่างๆ ที่ใช้งาน
เมนูคำสั่งต่างๆ
มี 4 คำสั่ง
ปฏิทิน
โลโก้ในส่วนของผู้ดูแลระบบ โลโก้เว็บไซต์
แสดงคำสั่งที่ใช้งานอยู่
ล็อกอินฟอร์มสำหรับผู้ดูแลระบบ
User Name Password
58
ภาพที่ 3-23 หน้าจอแสดงคำอธิบายการใช้งานเมนูคำสั่งต่างๆ ในส่วนของผู้ดูแลระบบ
ภาพที่ 3-24 หน้าจอแสดงรายละเอียดการใช้งานตามคำสั่งต่างๆ ในส่วนของผู้ดูแลระบบ
ภาพที่ 4-25 หน้าจอแรกสำหรับการล็อกอินเข้าสู่ระบบในฐานะผู้ดูแลระบบ
โลโก้ในส่วนของผู้ดูแลระบบ โลโก้เว็บไซต์
แสดงคำสั่งที่ใช้งานอยู่
คำอธิบายรายละเอียดการใช้งานเมนูคำสั่งต่าง ๆ
คำอธิบายรายละเอียดการแสดงผลของการใช้งาน
เมนูคำสั่งต่างๆ
เมนูคำสั่งต่างๆ
ชื่อเมนูคำสั่งต่างๆ
โลโก้ในส่วนของผู้ดูแลระบบ โลโก้เว็บไซต์
แสดงคำสั่งที่ใช้งานอยู่
รายละเอียดของการแสดงผลการใช้งานตามคำสั่งต่างๆ
เมนูคำสั่งต่างๆ
59
จากขั้นตอนการวิเคราะห์ออกแบบระบบ ทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงานของโปรแกรม
มากยิ่งขึ้น สำหรับขั้นตอนการพัฒนาระบบนี้เป็นขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ซึ่งโปรแกรม
ที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยใช้ภาษาพีเอชพี (PHP) ซึ่งต้องเขียนโปรแกรมให้สามารถ
ทำงานตามที่ได้ทำการออกแบบไว้ โดยโครงสร้างฐานข้อมูลของระบบใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล
มายเอสคิวแอล (MySQL) เป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการ
3.2 ขั้นตอนการประเมินประสิทธิภาพระบบ
หลังจากได้ทำการพัฒนาระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ทำการหาประสิทธิภาพและคุณภาพ
การทำงานของระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรม บริษัท ทศท.
คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วและตรงตาม
ความต้องการของผู้ใช้ จึงได้ทำการทดสอบ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
3.2.1 การทดสอบโดยผู้พัฒนาโปรแกรม ใช้วิธีการทดสอบแบบแบล็กบอกซ์ (Black Box
Testing) เป็นกระบวนการทดสอบการทำงานของระบบโดยรวมทั้งหมดว่ามีกระบวนการทำงาน
ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ โดยทำการทดสอบการทำงานแต่ละฟังก์ชันการทำงาน
ทั้งหมด หาข้อบกพร่องของโปรแกรม หลังจากนั้นทำการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมให้ดีขึ้น
3.2.2 การทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใช้งาน และผู้ดูแลระบบ วิธีการประเมินประกอบด้วย
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประชากรกลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
และการแปลผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้พัฒนาได้ทำแบบประเมินเพื่อหาประสิทธิภาพของ
ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรม บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) ผู้พัฒนาได้ใช้กลุ่มตัวอย่างของบุคลากรฝึกอบรม บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) จังหวัดกรุงเทพฯ และภูมิภาค ประกอบด้วย กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
3.2.2.1 เลือกกลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้งาน โดยเลือกเฉพาะพนักงานที่เคยสมัคร
เข้าขอรับการฝึกอบรมจากศูนย์ฝึกอบรมที่เคยดำเนินการขอฝึกอบรมตามกระบวนขั้นตอน
แบบเดิม จำนวน 30 คน
3.2.2.2 เลือกกลุ่มตัวอย่างของผู้ดูแลระบบ โดยเลือกจากเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่
เป็นผู้จัดการการฝึกอบรมเดิม และบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และผู้ดูแลระบบ
คอมพิวเตอร์ จำนวน 10 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพ
ของโปรแกรมพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรม บริษัท
ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 40 คน
3.2.3 เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรม ผู้พัฒนาได้ออกแบบ
สอบถามเพื่อประเมินหาประสิทธิภาพ และคุณภาพของโปรแกรมพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อ
ช่วยงานด้านฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรม บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดย
แบ่งการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมไว้ 4 ด้าน ดังนี้
60
3.2.3.1 ด้านการตรงความต้องการของผู้ใช้
3.2.3.2 ด้านการทำงานได้อย่างถูกต้องตามขีดความสามารถ
3.2.3.3 ด้านการติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้
3.2.3.4 ด้านความปลอดภัยในการทำงานของระบบ
แบบประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพได้กำหนดเกณฑ์ตามวิธีของไลเกิร์ต (Likert)
ซึ่งเป็นมาตรอันดับเชิงคุณภาพ (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ ดังนี้
5 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมดีมาก
4 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมดี
3 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมปานกลาง
2 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมตํ่า
1 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมต่ำมาก
3.2.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้พัฒนาได้นำแบบประเมินหาประสิทธิภาพไปขอความ
ร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่างให้ตอบแบบสอบถามซึ่งได้แก่ พนักงานของ ทศท. ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
จำนวนทั้งสิ้น 30 คน โดยวิธีให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้ระบบและตอบแบบสอบถาม
3.2.5 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผู้พัฒนาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/FW 12.0
โดยดำเนินการดังนี้
3.2.5.1 ตอนที่ 1 แบบสอบถามหาประสิทธิภาพและคุณภาพเป็นมาตราส่วน
ประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการตรงความต้องการของผู้ใช้
ด้านการทำงานได้อย่างถูกต้องตามขีดความสามารถ ด้านการติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้
และด้านความปลอดภัยในการทำงานของระบบ แบ่งกลุ่มของแบบสอบถามออกเป็น 4 กลุ่ม
ดังตารางที่ 3-14
ตารางที่ 3-14 จำนวนข้อคำถามของแต่ละกลุ่มตัวอย่าง
จำนวนข้อคำถาม
กลุ่มตัวอย่าง ความต้องการ
ของผู้ใช้
การทำงาน การติดต่อ
กับผู้ใช้
ความ
ปลอดภัย
1. แบบสอบถามสำหรับผู้ดูแล
ระบบและผู้เชี่ยวชาญ
8 6 5 4
2. แบบสอบถามสำหรับ
ผู้ใช้งานทั่วไป
8 6 5 4
61
ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกฉบับ ใช้ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.) โดยรายงานกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม แล้วเสนอ
เป็นตารางประกอบความเรียง ซึ่งกำหนดเกณฑ์ ดังนี้ (บุญชม, 2543)
4.51 – 5.00 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมดีมาก
3.51 – 4.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมดี
2.51 – 3.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมปานกลาง
1.51 – 2.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมต่ำ
1.00 – 1.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมต่ำมาก
เกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรม พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ย
ที่ได้จากแบบประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของโดยได้คะแนนเฉลี่ยในระดับที่กำหนดขึ้นไป
จึงยอมรับได้ว่า โปรแกรมมีประสิทธิภาพและคุณภาพในการใช้งานในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง
ของระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรม บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น
จำกัด (มหาชน) โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
3.2.5.2 ตอนที่ 2 แบบสอบถามที่เป็นคำถามปลายเปิดนำเสนอเป็นข้อๆ ประกอบ
เป็นความเรียง
3.2.6 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้ใช้สถิติดังนี้
3.2.6.1 หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ โดยการหาค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.)
คะแนนเฉลี่ย (Mean) สามารถหาได้จากสมการที่ (3-1)
สูตร n
x Σx = (3-1)
เมื่อ x แทนค่าเฉลี่ยเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย
Σx แทนผลรวมทั้งหมดของข้อมูล
n แทนจำนวนข้อมูลทั้งหมด
62
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สามารถหาได้จากสมการที่ (3-2)
สูตร n 1
S.D. (x x)
2


=
Σ (3-2)
เมื่อ S.D. แทนค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
x แทนข้อมูลแต่ละตัว
x แทนค่าเฉลี่ยเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย
n แทนจำนวนข้อมูลทั้งหมด
3.3.6.2 หาค่าสถิติ t การหาค่า T-Test เป็นการทดสอบสมมติฐานหาค่าความ
แตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน สามารถหาได้จากสมการที่
(3-3)
S / n , df n 1
t x x
x
0 = −

= (3-3)
เมื่อ Σ=
=
n
i 1
x xi /n
n แทน จำนวนตัวอย่าง
x0 แทน ค่าระดับความพึงพอใจ
สมมติฐานการทดสอบประสิทธิภาพของระบบว่าอยู่ในระดับดีขึ้นไป
H0 : μ1 ≤ 3.5 และ H1 : μ1 > 3.5
กำหนดให้ μ1 คือ คะแนนเฉลี่ยแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบในด้านต่างๆ
โดยที่จะ Accept H1 ก็ต่อเมื่อ ค่า t ที่คำนวณได้มีค่ามากกว่า 1.699 หรือ 1.833 หรือ 1.684
(t0.05,39 > 1.686 กรณีที่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้งานทั่วไป ,
t0.05,29 > 1.699 กรณีที่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้งานทั่วไปและผู้ดูแลระบบ และ
t0.05,9 > 1.833 กรณีที่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลระบบและผู้เชี่ยวชาญ)
63
3.3 ขั้นตอนการหาผลสัมฤทธิ์ของระบบ
หลังจากได้ทำการวัดประสิทธิภาพและคุณภาพการทำงานของระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ได้ทำการหาผลสัมฤทธิ์ของระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรม จาก
กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ใช้งานจริง และเป็นเจ้าหน้าที่จัดการการฝึกอบรม จำนวน 30 คน ทำการ
ตอบแบบสอบถามที่วัดความพึงพอใจของระบบงานเดิมกับระบบงานใหม่ที่นำระบบสารสนเทศ
มาช่วยในการจัดการ โดยมีขั้นตอนในการทำงาน ดังนี้
3.3.1 เลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้งานจริง และเป็นเจ้าหน้าที่จัดการการฝึกอบรม จำนวน
ทั้งสิ้น 30 คน
3.3.2 เครื่องมือประเมินผลสัมฤทธิ์ของโปรแกรม ผู้พัฒนาได้ออกแบบสอบถามเพื่อ
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างโปรแกรมพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านฝึกอบรม และ
ระบบที่ใช้ในปัจจุบัน ของศูนย์ฝึกอบรม บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
แบบประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพได้กำหนดเกณฑ์ตามวิธีของไลเกิร์ต (Likert)
ซึ่งเป็นมาตรอันดับเชิงคุณภาพ (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ ดังนี้
5 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมดีมาก
4 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมดี
3 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมปานกลาง
2 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมต่ำ
1 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมต่ำมาก
3.3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้พัฒนาได้นำแบบประเมินหาประสิทธิภาพไปขอความ
ร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่างให้ตอบแบบสอบถามซึ่งได้แก่ พนักงานของ ทศท. ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
จำนวนทั้งสิ้น 30 คน โดยวิธีให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้ระบบและตอบแบบสอบถาม
3.3.4 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผู้พัฒนาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/FW 12.0
โดยดำเนินการดังนี้
3.3.4.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกฉบับ ใช้ค่าเฉลี่ย ( x) และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยรายงานกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ยของ
แต่ละกลุ่ม แล้วเสนอเป็นตารางประกอบความเรียง ซึ่งกำหนดเกณฑ์ ดังนี้ (บุญชม, 2543)
4.51 – 5.00 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
3.51 – 4.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพอยู่ในระดับดี
2.51 – 3.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง
1.51 – 2.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพอยู่ในระดับน้อย
1.00 – 1.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพอยู่ในระดับน้อยมาก
64
เกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพและคุณภาพของระบบ พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยที่ได้จาก
แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ หากได้คะแนนเฉลี่ยในระดับที่กำหนดขึ้นไป จึงยอมรับได้ว่า ระบบ
มีผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับนั้นๆ
3.3.5 สถิติที่ใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบระบบเดิมกับระบบทีพัฒนาขึ้นใหม่
ใช้ค่าสถิติ pair t-test เป็นการทดสอบสมมติฐานหาค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของ
2 กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน สามารถหาได้จากสมการที่ (3-4)
S / n , df n 1
t d d
d
0 = −

= (3-4)
เมื่อ Σ=
=
n
i 1
d di /n
di = X1i-X2I แทน ค่าแตกต่างของข้อมูลคู่ที่ 1
n แทน จำนวนคู่
d0 แทน ค่าคงที่
สมมติฐานการทดสอบผลสัมฤทธิ์ระหว่างระบบที่พัฒนาขึ้นกับระบบเดิมที่ใช้อยู่
H0 : μ1 − μ2 ≤ 0 และ H1 : μ1 − μ2 > 0
กำหนดให้ μ1 คือ คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ของระบบที่พัฒนาขึ้นใหม่
μ2 คือ คะแนนค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ของระบบเดิม
โดยที่จะ Accept H1 ก็ต่อเมื่อ ค่า t ที่คำนวณได้มีค่ามากกว่า 1.699 (t0.05,29 > 1.699)
ภาพที่ 3-4 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 (DFD-Level 1) ของระบบสารสนเทศช่วยงานด้านการฝึกอบรม
ผู้ดูแลระบบ
ปรับปรุงแฟ้มข้อมูล
อาคาร
1.0
ปรับปรุงแฟ้ม
ข้อมูลอุปกรณ์
2.0
ปรับปรุงแฟ้มข้อมูล
หลักสูตร
3.0
ปรับปรุงแฟ้มข้อ
มูลบุคคล
4.0
1.0 ข้อมูลอาคาร
2.0
3.0 ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลอุปกรณ์
ข้อมูลอาคาร
ข้อมูลอุปกรณ์
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลอาคาร
ข้อมูลอุปกรณ์
ข้อมูลหลักสูตร
ผู้ใช้งานทั่วไป
ปรับปรุงแฟ้ม
ข้อมูลการลงทะเบียน
5.0
ปรับปรุงแฟ้มข้อมูล
การประเมินผล
6.0
ข้อมูลการลงทะเบียน
ข้อมูลการประเมินผล
ข้อมูลบุคคล
ข้อมูล
4.0
5.0
ข้อมูลการ
ประเมินผล
ข้อมูลการ
ลงทะเบียน
6.0 ข้อมูลการประเมินผล
ข้อมูลการลงทะเบียน
ข้อมูลบุคคล
ภาพที่ 3-11 แผนภาพ Entity Relationship Model ของระบบสารสนเทศเพื่อช่วยงานด้านฝึกอบรม
บทที่ 4
ผลการดำเนินงานและผลการวิจัย
ในบทนี้เป็นการอธิบายถึงผลของการพัฒนาระบบที่ได้ออกแบบไว้จากบทที่ 3 นอกจากนี้
ได้นำเสนอผลของการทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้นด้วย
4.1 ผลการพัฒนาระบบ
ในที่นี้ผู้พัฒนาขอยกตัวอย่างหน้าจอล็อกอินในฐานะผู้ดูแลระบบ ส่วนผลการทดสอบ
หน้าจออื่นๆ รวมทั้งรายละเอียดหน้าจอประเภทต่างๆ และขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมก็มีผล
เช่นเดียวกันกับที่ออกแบบไว้ซึ่งอธิบายไว้ใน ภาคผนวก ค คู่มือการใช้โปรแกรม
4.1.1 เมื่อเข้าโปรแกรมเว็บบราวเซอร์แล้วให้พิมพ์ที่ Address Bar สำหรับระบบสารสนเทศ
เพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมของบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยใช้
http://www.boonthewee.com/Admin/login ก็ปรากฏโปรแกรมหน้าแรก ดังภาพที่ 4-1
ภาพที่ 4-1 หน้าจอแรกของระบบ
66
4.1.2 การเข้าสู่ระบบในสถานะผู้ดูแลระบบ สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ทั้งหมด สามารถ
Login โดยการใช้ admin หรือ admin_ชื่อตึก เช่น admin_chalerm และรหัสผ่านคือ รหัสของ
ผู้ดูแลระบบของแต่ละอาคาร และเลือกล๊อกอินในฐานะผู้ดูแลระบบ ดังภาพที่ 4-2
ภาพที่ 4-2 หน้าจอการเข้าสู่ระบบในฐานะผู้ดูแลระบบ
4.1.3 หน้าจอแรกเมื่อใส่ชื่อและรหัสผ่าน และ Login ในฐานะผู้ดูแลระบบก็เข้าสู่ระบบได้
หน้าจอนี้พบรูปภาพของผู้ดูแลระบบ มี เมนูต่างๆ ดังนี้
4.1.3.1 Building Management ระบบการจัดการห้องประชุม/อบรม/สัมมนา
4.1.3.2 Option & Accessories ระบบการจัดการอุปกรณ์
4.1.3.3 Trainings Course ระบบการจัดการหลักสูตร
4.1.3.4 Personal Registration ระบบการจัดการเกี่ยวกับบุคคล
หน้าจอเมนูคำสั่งต่างๆ ในส่วนของผู้ดูแลระบบ ดังภาพที่ 4-3
67
ภาพที่ 4-3 หน้าจอเมนูต่างๆ ของผู้ดูแลระบบ
4.1.4 เมื่อเข้าโปรแกรมเว็บบราวเซอร์แล้วให้พิมพ์ที่ Address Bar สำหรับระบบสารสนเทศ
เพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรม บริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
โดยพิมพ์ http://www.boonthewee.com ก็ปรากฏโปรแกรมหน้าแรก ดังภาพที่ 4-4
68
ภาพที่ 4-4 หน้าจอการเข้าสู่ระบบหน้าแรกของผู้ใช้งาน
4.1.5 การเข้าสู่ระบบในสถานะผู้ใช้งานทั่วไป สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้โดย Click Here
จากนั้นจะเข้าสู่หน้า Login โดยการใช้ชื่อพนักงานและรหัสผ่านคือ รหัสของพนักงานผู้ใช้งาน
ในการ Login เข้า (ฐานข้อมูลพนักงานเป็นฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดสอบระบบ
เท่านั้น เพราะการใช้งานจริงจะดึงข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานจากระบบฐานข้อมูลของ
พนักงาน) หน้าจอการ Login การเข้าสู่ระบบ ดังภาพที่ 4-5
69
ภาพที่ 4-5 หน้าจอการ Login เข้าสู่ระบบหน้าแรกของผู้ใช้งาน
4.1.6 หน้าจอแรกเมื่อใส่ชื่อและรหัสผ่านในฐานะผู้ใช้งานทั่วไปจะเข้าสู่ระบบได้ หน้าจอนี้
จะพบเมนูคำสั่งของผู้ใช้งานทั่วไป ดังนี้
4.1.6.1 ฟังรายการที่ฝึกอบรม
4.1.6.2 ประเมินผลวิทยากร
4.1.6.3 วิธีการใช้งาน
4.1.6.4 ยกเลิกการลงทะเบียน
หน้าจอเมนูคำสั่งต่างๆ ในส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป ดังภาพที่ 4-6
70
ภาพที่ 4-6 หน้าจอแรกในส่วนของผู้ใช้งาน
4.2 ผลการหาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น
4.2.1 ผลการทดสอบระบบโดยผู้พัฒนาโปรแกรม
ในส่วนของการทดสอบระบบส่วนนี้เป็นการทดสอบแบบแบล็กบอกซ์ (Blackbox Testing)
ซึ่งเป็นการทดสอบการทำงานของระบบโดยรวมทั้งหมดว่ามีกระบวนการทำงานถูกต้องตาม
วัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ โดยการทดสอบจะเป็นการป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง (Valid) และ
การป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (Invalid) หรือค่าว่างเข้าสู่ระบบ (Null) เพื่อให้ระบบทำการประมวลผล
ข้อมูลพร้อมทั้งแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน ผู้วิจัยได้ออกแบบตารางสำหรับบันทึกผล
การทดสอบ โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ตารางบันทึกผลการทดสอบระบบสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป มีดังนี้
1.1 ตารางที่ 4-1 บันทึกผลการทดสอบการลงทะเบียน
1.2 ตารางที่ 4-2 บันทึกผลการทดสอบการยกเลิกการลงทะเบียน
1.3 ตารางที่ 4-3 บันทึกผลการทดสอบการป้อนข้อมูลการประเมินผล
2. ตารางบันทึกผลการทดสอบระบบสำหรับผู้ดูแลระบบ มีดังนี้
2.1 ตารางที่ 4-4 บันทึกผลการทดสอบการป้อนข้อมูลอาคาร
2.2 ตารางที่ 4-5 บันทึกผลการทดสอบการป้อนข้อมูลอุปกรณ์
2.3 ตารางที่ 4-6 บันทึกผลการทดสอบการป้อนข้อมูลหลักสูตร
2.4 ตารางที่ 4-7 บันทึกผลการทดสอบการป้อนข้อมูลวิทยากร
71
รายละเอียดภายในตารางบันทึกผลการทดสอบระบบของแต่ละประเภทนั้น บอกว่าได้ ทำ
การทดสอบความถูกต้องของระบบในส่วนงานใด โดยทำเครื่องหมาย �� ลงในช่องการทดสอบ
เมื่อทำการทดสอบโดยการป้อนข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ในส่วนช่องท้ายสุดของแต่ละ
การทดสอบนั้น อ้างอิงไปยังภาพประกอบที่ได้จากการทดสอบระบบ ซึ่งอยู่ในภาคผนวก ง
ตารางที่ 4-1 บันทึกผลการทดสอบการลงทะเบียน
หน้าจอ ผลการทดสอบ
ภาพประกอบ
(ภาคผนวก ข)
การลงทะเบียน หน้าจอลงทะเบียน ภาพที่ ง-1
การทดสอบและตรวจสอบ รายการถูกต้อง รายการผิดพลาด ภาพประกอบ
1. การป้อนชื่อ นามสกุล รหัส ถูกต้อง �� ภาพที่ ง-2
2. การตรวจสอบเมื่อป้อนชื่อ นามสกุล
รหัสไม่ถูกต้อง �� ภาพที่ ง-3
3. การตรวจสอบเมื่อลงทะเบียนซ้ำ �� ภาพที่ ง-4
4. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนชื่อเข้าสู่
ระบบ �� ภาพที่ ง-5
5. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนนามสกุล
เข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-5
6. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนรหัสเข้าสู่
ระบบ
�� ภาพที่ ง-7
7. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนชื่อ
นามสกุล รหัส เข้าสู่ระบบ
�� ภาพที่ ง-8
72
ตารางที่ 4-2 บันทึกผลการทดสอบการยกเลิกลงทะเบียน
หน้าจอ ผลการทดสอบ
ภาพประกอบ
(ภาคผนวก ง)
การยกเลิกการลงทะเบียน หน้าจอยกเลิกการลงทะเบียน ภาพที่ ง-9
การทดสอบและตรวจสอบ รายการถูกต้อง รายการผิดพลาด ภาพประกอบ
1. การป้อนชื่อ นามสกุล รหัส ถูกต้อง �� ภาพที่ ง-10
2. การตรวจสอบเมื่อป้อนชื่อ นามสกุล
รหัสไม่ถูกต้อง
�� ภาพที่ ง-11
3. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนชื่อเข้าสู่
ระบบ
�� ภาพที่ ง-12
4. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนนามสกุล
เข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-13
5. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนรหัสเข้าสู่
ระบบ �� ภาพที่ ง-14
6. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนชื่อ
นามสกุล รหัส เข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-15
ตารางที่ 4-3 บันทึกผลการทดสอบการป้อนข้อมูลประเมินผล
หน้าจอ ผลการทดสอบ
ภาพประกอบ
(ภาคผนวก ง)
ประเมินผล หน้าจอประเมินผล ภาพที่ ง-16
การทดสอบและตรวจสอบ รายการถูกต้อง รายการผิดพลาด ภาพประกอบ
1. การป้อนรายละเอียดผู้ประเมินผล
ครบถ้วนถูกต้องเข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-17
2. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนข้อมูล
ผู้ประเมินไม่ถูกต้องเข้าสู่ระบบ
�� ภาพที่ ง-18
3. การตรวจสอบเมื่อประเมินผลซ้ำ �� ภาพที่ ง-19
73
ตารางที่ 4-4 บันทึกผลการทดสอบการป้อนข้อมูลอาคาร
หน้าจอ ผลการทดสอบ
ภาพประกอบ
(ภาคผนวก ง)
อาคาร หน้าจอประเมินผล ภาพที่ ง-20
การทดสอบและตรวจสอบ รายการถูกต้อง รายการผิดพลาด ภาพประกอบ
1. การป้อนรายละเอียดอาคารครบถ้วน
ถูกต้องเข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-21
2. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนชื่อห้อง
เข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-22
3. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนเลขห้อง
เข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-23
4. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนประเภท
ห้อง เข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-24
5. การตรวจสอบการลบข้อมูลห้อง �� ภาพที่ ง-25
ตารางที่ 4-5 บันทึกผลการทดสอบการป้อนข้อมูลอุปกรณ์
หน้าจอ ผลการทดสอบ
ภาพประกอบ
(ภาคผนวก ง)
อุปกรณ์ หน้าจออุปกรณ์ ภาพที่ ง-26
การทดสอบและตรวจสอบ รายการถูกต้อง รายการผิดพลาด ภาพประกอบ
1. การป้อนรายละเอียดอุปกรณ์
ครบถ้วนถูกต้องเข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-27
2. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนข้อมูล
หมวดอุปกรณ์เข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-28
3. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนข้อมูล
ห้องเก็บอุปกรณ์เข้าสู่ระบบ
�� ภาพที่ ง-29
4. การตรวจสอบการลบข้อมูลอุปกรณ์ �� ภาพที่ ง-30
74
ตารางที่ 4-6 บันทึกผลการทดสอบการป้อนข้อมูลหลักสูตรฝึกอบรม
หน้าจอ ผลการทดสอบ
ภาพประกอบ
(ภาคผนวก ง)
หลักสูตรฝึกอบรม หน้าจอหลักสูตรฝึกอบรม ภาพที่ ง-31
การทดสอบและตรวจสอบ รายการถูกต้อง รายการผิดพลาด ภาพประกอบ
1. การป้อนรายละเอียดหลักสูตร
ครบถ้วนถูกต้องเข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-32
2. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนรหัสเข้าสู่
ระบบ �� ภาพที่ ง-33
3. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนข้อมูล
แผนกที่รับผิดชอบเข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-34
4. การตรวจสอบเมื่อไม่กำหนดวันที่
เริ่มต้นการฝึกอบรมเข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-35
5. การตรวจสอบเมื่อไม่กำหนดวันที่
สิ้นสุดการฝึกอบรมเข้าสู่ระบบ
�� ภาพที่ ง-36
6. การตรวจสอบเมื่อกำหนดวันที่สิ้นสุด
การฝึกอบรมก่อนวันที่เริ่มต้น
การฝึกอบรมเข้าสู่ระบบ
�� ภาพที่ ง-37
7. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนข้อมูล
ช่วงเวลาเข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-38
8. การตรวจสอบเมื่อไม่กำหนดห้อง
เข้าสู่ระบบ
�� ภาพที่ ง-39
9. การตรวจสอบเมื่อไม่กำหนดชื่อ
วิทยากรเข้าสู่ระบบ
�� ภาพที่ ง-40
10. การตรวจสอบการลบข้อมูลหลักสูตร �� ภาพที่ ง-41
75
ตารางที่ 4-7 บันทึกผลการทดสอบการป้อนข้อมูลวิทยากร
หน้าจอ ผลการทดสอบ
ภาพประกอบ
(ภาคผนวก ง)
วิทยากร หน้าจอวิทยากร ภาพที่ ง-42
การทดสอบและตรวจสอบ รายการถูกต้อง รายการผิดพลาด ภาพประกอบ
1. การป้อนรายละเอียดวิทยากร
ครบถ้วนถูกต้องเข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-43
2. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนชื่อวิทยากร
เข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-44
3. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนข้อมูล
นามสกุลวิทยากรเข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-45
4. การตรวจสอบเมื่อไม่ป้อนข้อมูล
วันเกิดวิทยากรเข้าสู่ระบบ �� ภาพที่ ง-46
5. การตรวจสอบการลบข้อมูลวิทยากร �� ภาพที่ ง-47
4.2.2 ผลการหาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ เพื่อช่วยงานด้านการฝึกอบรมที่พัฒนา
ขึ้น ผู้วิจัยได้ทำการหาประสิทธิภาพ และเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างการจัดการฝึกอบรม
ด้วยระบบเดิม และระบบจัดการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ จะสนใจศึกษาประสิทธิภาพของการใช้งานระบบในด้านต่างๆ ดังนี้
4.2.2.1 ด้านการตรงความต้องการของผู้ใช้ (Functional Requirement Test)
4.2.2.2 ด้านการทำงานได้อย่างถูกต้องตามขีดความสามารถ (Function Test)
4.2.2.3 ด้านการติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้ (Usability Test)
4.2.2.4 ด้านความปลอดภัยในการทำงานของระบบ (Security Test)
โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานของ บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) จำนวนทั้งสิ้น 40 คน แบ่งเป็น กลุ่มผู้ใช้ทั่วไป จำนวน 30 คน และ กลุ่มผู้ดูแลระบบ
จำนวน 10 คน ซึ่งได้ผลการวิจัยเป็นดังนี้
4.2.3 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 4-8 แสดงจำนวนร้อยละของเพศผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามกลุ่มผู้ใช้งาน
กลุ่มผู้เพศ ใช้ทั่วไป กลุ่มผู้ดูแลระบบ รวม
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ชาย
หญิง
21
9
70
30
5
5
50
50
26
14
65
35
รวม 30 100 10 100 40 100
76
จากตารางที่ 4-8 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 65
และผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ส่วนใหญ่ก็เป็นเพศชายเช่นเดียวกัน คิดเป็น
ร้อยละ 70 ส่วนในกลุ่มผู้ดูแลระบบ จะมีสัดส่วนของเพศชายและเพศหญิงที่เท่ากัน คือร้อยละ 50
ตารางที่ 4-9 แสดงจำนวนร้อยละของอายุผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามกลุ่มผู้ใช้งาน
กลุ่มผู้อายุ ใช้ทั่วไป กลุ่มผู้ดูแลระบบ รวม
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
25-30 ปี
31-35 ปี
สูงกว่า 35 ปี
9
8
13
30
26.7
43.3
-
4
6
-
40
60
9
12
19
22.5
30
47.5
รวม 30 100 10 100 40 100
จากตารางที่ 4-9 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีอายุสูงกว่า 35 ปี คิดเป็นร้อยละ
43.3 รองลงมาคือ 25-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 30 และ 31-35 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.7 ในทำนอง
เดียวกัน เมื่อพิจารณาในกลุ่มผู้ดูแลระบบและกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ
สูงกว่า 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 60 และ 47.5 ตามลำดับ
ตารางที่ 4-10 แสดงจำนวนร้อยละของระดับการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถาม
จำแนกตามกลุ่มผู้ใช้งาน
ระดับการศึกษา กลุ่มผู้ใช้ทั่วไป กลุ่มผู้ดูแลระบบ รวม
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
16
13
1
53.3
43.3
3.3
3
6
1
30
60
10
19
19
2
47.5
47.5
5
รวม 30 100 10 100 40 100
จากตารางที่ 4-10 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้จบการศึกษาในระดับ
ปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 47.5 และระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 47.5 เท่ากัน เช่นเดียวกับ
กลุ่มผู้ดูแลระบบที่ส่วนใหญ่จะมีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท ร้อยละ 60 ส่วนกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป
ส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 53.3
77
ตารางที่ 4-11 แสดงจำนวนร้อยละของสายงานผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามกลุ่มผู้ใช้งาน
กลุ่มผู้สายงาน ใช้ทั่วไป กลุ่มผู้ดูแลระบบ รวม
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
งานธุรการ
งานพาณิชย์
งานบริหาร
งานช่าง
คอมพิวเตอร์
อื่นๆ
-
1
5
19
2
3
-
3.3
16.7
63.3
6.7
10
3
-
1
-
4
2
30
-
10
-
40
20
3
1
6
19
6
5
7.5
2.5
15
47.5
15
12.5
รวม 30 100 10 100 40 100
จากตารางที่ 4-11 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในสายงานช่าง คิดเป็นร้อยละ
63.3 รองลงมา คือ งานบริหาร และ คอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 15 เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป
ที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในสายงานช่าง คิดเป็นร้อยละ 63.3 และในกลุ่มผู้ดูแลระบบ
ส่วนใหญ่จะอยู่ในสายงานคอมพิวเตอร์คิดเป็นร้อยละ 40
4.2.4 การประเมินประสิทธิภาพในการทำงานด้านต่างๆ ของการจัดการฝึกอบรมที่นำ
ระบบสารสนเทศมาใช้
ตารางที่ 4-12 แสดงค่าประเมินประสิทธิภาพในด้านการตรงความต้องการของผู้ใช้
จำแนกตามกลุ่มผู้ใช้
ค่าประเมินประสิทธิภาพ
รายการประเมินประสิทธิภาพ กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป กลุ่มผู้ดูแลระบบ
ของโปรแกรมใช้งาน x. S.D t แปลผล x. S.D t แปลผล
1. สามารถจัดเก็บ เพิ่ม ลบ
และแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับ
การฝึกอบรมได้อย่างถูก
ต้อง
4.70 0.46 13.98** ดีมาก 4.60 0.52 6.67** ดีมาก
2. สามารถแสดงหลักสูตร
การฝึกอบรม ห้องประชุม
และห้องสัมมนาได้อย่าง
ถูกต้อง
4.60 0.56 10.60** ดีมาก 4.50 0.53 5.94** ดี
3. ความสามารถในการค้นหา
ข้อมูลและแสดงผลข้อมูล
เกี่ยวกับการฝึกอบรม
4.60 0.50 11.98** ดีมาก 4.40 0.69 4.03** ดี
78
สัมมนาได้อย่างถูกต้อง
ตารางที่ 4-12 (ต่อ)
ค่าประเมินประสิทธิภาพ
กลุ่รายการประเมินประสิทธิภาพ มผู้ใช้งานทั่วไป กลุ่มผู้ดูแลระบบ
ของโปรแกรมใช้งาน x. S.D t แปลผล x. S.D t แปลผล
4. สามารถจองหลักสูตรการ
ฝึกอบรมผ่านทาง
อินเตอร์เน็ต ได้อย่าง
ถูกต้อง
4.70 0.47 13.98** ดีมาก 4.80 0.42 9.67** ดีมาก
5. สามารถดูแลเกี่ยวกับ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการ
ฝึกอบรมได้อย่างถูกต้อง
4.60 0.56 10.60** ดีมาก 4.50 0.53 5.94** ดี
6. สามารถแสดงสถานที่
แผนผังของห้องฝึกอบรมได้
4.53 0.55 11.58** ดีมาก 4.30 0.48 5.17** ดี
7. สามารถตรวจสอบข้อมูล
เกี่ยวกับลำดับที่ของผู้เข้ารับ
การฝึกอบรมได้อย่างถูกต้อง
4.53 0.51 11.05** ดีมาก 4.10 0.88 2.13** ดี
8. ความสามารถในการพิมพ์
รายงานได้อย่างถูกต้อง
4.60 0.50 11.98** ดีมาก 4.50 0.53 2.94** ดี
รวม 4.62 0.34 17.69** ดีมาก 4.46 0.36 8.40** ดี
จากตารางที่ 4-12 พบว่า ค่าประเมินประสิทธิภาพในด้านการตรงความต้องการของ
กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปและกลุ่มผู้ดูแลระบบ มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.62 และ 4.46 ตามลำดับ นั่นคือ
กลุ่มผู้ใช้ทั่วไปมีความเห็นว่าประสิทธิภาพในด้านการตรงความต้องการอยู่ในระดับดีมากทุกเรื่อง
ส่วนในกลุ่มผู้ดูแลระบบ มีความเห็นว่า ประสิทธิภาพในด้านการตรงความต้องการอยู่ในระดับดี
ทุกเรื่อง ยกเว้น การจองหลักสูตรทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง และ การจัดเก็บ ลบ เพิ่ม
ข้อมูลการฝึกอบรมได้อย่างถูกต้องอยู่ในระดับดีมาก
79
ตารางที่ 4-13 แสดงค่าประเมินประสิทธิภาพในด้านการทำงานได้อย่างถูกต้อง
ตามขีดความสามารถ จำแนกตามกลุ่มผู้ใช้
ค่าประเมินประสิทธิภาพ
กลุ่รายการประเมินประสิทธิภาพ มผู้ใช้งานทั่วไป กลุ่มผู้ดูแลระบบ
ของโปรแกรมใช้งาน x. S.D t แปลผล x. S.D t แปลผล
1. ความถูกต้องของการ
จัด เก็บข้อมูล 4.60 0.51 11.98** ดีมาก 4.20 0.42 5.18** ดี
2. ความถูกต้องของการ
ลบข้อมูล 4.60 0.50 11.98** ดีมาก 4.20 0.42 5.18** ดี
3. ความถูกต้องของการ
ปรับปรุงแก้ไขข้อมูล
4.53 0.67 9.81** ดีมาก 4.00 0.67 2.32** ดี
4. ความถูกต้องของการ
แสดงผลข้อมูลในส่วนของ
การค้นหา
4.57 0.50 11.48** ดีมาก 4.50 0.71 4.43** ดี
5. ความถูกต้องของการ
แสดงผลข้อมูลในส่วนของ
การพิมพ์รายงาน
4.50 0.57 9.47** ดี 4.50 0.53 5.94** ดี
6. ความถูกต้องในการ
ตรวจสอบข้อมูล 4.57 0.57 10.18** ดีมาก 4.20 0.63 3.45** ดี
รวม 4.56 0.32 18.16** ดีมาก 4.27 0.26 9.10** ดี
จากตารางที่ 4-13 พบว่า ค่าประเมินประสิทธิภาพในด้านการทำงานได้อย่างถูกต้องตาม
ขีดความสามารถของกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปและกลุ่มผู้ดูแลระบบ มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.56 และ 4.27
ตามลำดับ นั่นคือ ในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป มีความเห็นว่า ประสิทธิภาพในด้านการทำงานได้อย่าง
ถูกต้องตามขีดความสามารถ อยู่ในระดับดีมากทุกเรื่อง ยกเว้นในเรื่องความถูกต้องของการ
แสดงผลข้อมูลในส่วนของการค้นหา มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี และในกลุ่มผู้ดูแลระบบ และ
จากการทดสอบด้วยค่าสถิติ t ซึ่งค่า t คำนวณ เท่ากับ 18.16 และ 9.10 สำหรับกลุ่มผู้ใช้งาน
และกลุ่มผู้ดูแลระบบ ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่า t จากตาราง แสดงให้ความเห็นว่า ประสิทธิภาพ
ในด้านการทำงานได้อย่างถูกต้องตามขีดความสามารถ อยู่ในระดับดี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ
0.05
80
ตารางที่ 4-14 แสดงค่าประเมินประสิทธิภาพในด้านการติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้
จำแนกตามกลุ่มผู้ใช้
ค่าประเมินประสิทธิภาพ
กลุ่รายการประเมินประสิทธิภาพ มผู้ใช้งานทั่วไป กลุ่มผู้ดูแลระบบ
ของโปรแกรมใช้งาน x. S.D t แปลผล x. S.D t แปลผล
1. ความง่ายในการใช้งาน 4.50 0.51 10.66** ดีมาก 4.80 0.42 9.68** ดีมาก
2. ความถูกต้องของผลลัพธ์ 4.53 0.57 9.81** ดีมาก 4.60 0.52 6.67** ดีมาก
3. ความเร็วในการประมวลผล
ของระบบ
4.50 0.57 9.47** ดี 4.70 0.67 3.70** ดีมาก
4. ความเหมาะสมในการใช้สี
ของตัวอักษร พื้นหลัง และ
รูปภาพประกอบต่างๆ
4.67 0.48 13.21** ดีมาก 4.60 1.03 2.11** ดีมาก
5. ความชัดเจนในการใช้
ข้อความที่เข้าใจง่าย
4.57 0.50 11.48** ดีมาก 4.60 0.70 4.93** ดีมาก
รวม 4.55 0.39 14.71** ดีมาก 4.51 0.51 6.14** ดีมาก
จากตารางที่ 4-14 พบว่า ค่าประเมินประสิทธิภาพในด้านการติดต่อระหว่างโปรแกรม
กับผู้ใช้ของกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปและกลุ่มผู้ดูแลระบบ มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.55 และ 4.51 ตามลำดับ
นั่นคือกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป มีความเห็นว่า ประสิทธิภาพในด้านการติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้
อยู่ในระดับดีมาก ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่อง ความเร็วในการประมวลผลของระบบ ที่ให้การประเมิน
อยู่ในระดับดี และในกลุ่มผู้ดูแลระบบ และจากการทดสอบด้วยค่าสถิติ t ซึ่งค่า t คำนวณ เท่ากับ
14.71 และ 6.14 สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานและกลุ่มผู้ดูแลระบบ ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่า t จากตาราง
แสดงว่า ประสิทธิภาพในด้านการติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้ อยู่ในระดับดีมาก ที่ระดับ
นัยสำคัญทางสถิติ 0.05
81
ตารางที่ 4-15 แสดงค่าประเมินประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัยในการทำงานของระบบ
จำแนกตามกลุ่มผู้ใช้
ค่าประเมินประสิทธิภาพ
กลุ่รายการประเมินประสิทธิภาพ มผู้ใช้งานทั่วไป กลุ่มผู้ดูแลระบบ
ของโปรแกรมใช้งาน x. S.D t แปลผล x. S.D t แปลผล
1. การกำหนดรหัสผู้ใช้และ
รหัสผ่านในการตรวจสอบ
ผู้เข้าใช้ระบบ
4.36 0.50 9.57** ดี 4.10 0.57 3.29** ดี
2. การตรวจสอบสิทธิ์
การใช้งานของผู้ใช้ระบบ
ในระดับต่างๆ
4.16 0.53 6.78** ดี 4.10 0.32 5.90** ดี
3. ระบบมีแยกการทำงาน
ในส่วนของผู้ใช้และผู้ดูแล
ระบบ
4.26 0.53 7.96** ดี 4.10 0.32 2.18** ดี
4. ความปลอดภัยในการ
เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้
และผู้ดูแลระบบ
4.47 0.51 10.33** ดี 3.80 0.32 0.89
ปาน
กลาง
รวม 4.32 0.44 10.15** ดี 3.93 0.41 3.21** ดี
จากตารางที่ 4-15 พบว่า ค่าประเมินประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัยในการทำงาน
ของระบบ ของกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปและกลุ่มผู้ดูแลระบบ มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.32 และ 3.93 ตามลำดับ
นั่นคือ กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป และกลุ่มผู้ดูแลระบบ มีความเห็นตรงกันว่า ประสิทธิภาพในด้าน
ความปลอดภัยในการทำงานของระบบ อยู่ในระดับดี ทุกเรื่อง และจากการทดสอบด้วยค่าสถิติ t
ซึ่งค่า t คำนวณ เท่ากับ 10.15 และ 3.21 สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานและกลุ่มผู้ดูแลระบบ ตามลำดับ
ซึ่งสูงกว่าค่า t จากตาราง แสดงว่าประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัยในการทำงานของระบบ
อยู่ในระดับดี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
82
ตารางที่ 4-16 แสดงค่าประเมินประสิทธิภาพของผู้ใช้ที่มีต่อระบบในด้านต่างๆ
ค่าประเมินประสิทธิภาพ
รายการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมใช้งาน x. S.D. t แปลผล
ด้านการตรงความต้องการของผู้ใช้
1. สามารถจัดเก็บ เพิ่ม ลบ และ แก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับ
การฝึกอบรมได้อย่างถูกต้อง
4.67 0.47 11.58** ดีมาก
2. สามารถแสดงหลักสูตรการฝึกอบรม ห้องประชุม และ
ห้องสัมมนาได้อย่างถูกต้อง
4.57 0.54 15.53** ดีมาก
3. ความสามารถในการค้นหา ข้อมูลและแสดงผลข้อมูล
เกี่ยวกับการฝึกอบรม สัมมนาได้อย่างถูกต้อง
4.55 0.55 12.26** ดีมาก
4. สามารถจองหลักสูตรการฝึกอบรมผ่านทาง
อินเตอร์เน็ต ได้อย่างถูกต้อง 4.72 0.45 11.91** ดีมาก
5. สามารถดูแลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม
ได้อย่างถูกต้อง 4.57 0.54 16.99** ดีมาก
6. สามารถแสดงสถานที่ แผนผังของห้องฝึกอบรมได้ 4.53 0.55 12.26** ดีมาก
7. สามารถตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับลำดับที่ของผู้เข้ารับ
การฝึกอบรมได้อย่างถูกต้อง 4.42 0.63 9.09** ดี
8. ความสามารถในการพิมพ์รายงานได้อย่างถูกต้อง 4.57 0.50 13.45** ดีมาก
รวม 4.58 0.35 19.38** ดีมาก
ด้านการทำงานได้อย่างถูกต้องตามขีดความสามารถ
1. ความถูกต้องของการจัดเก็บข้อมูล 4.50 0.51 12.37** ดี
2. ความถูกต้องของการลบข้อมูล 4.50 0.51 12.37** ดี
3. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล 4.40 0.63 8.90** ดี
4. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหา 4.55 0.55 11.91** ดีมาก
5. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
พิมพ์รายงาน 4.50 0.55 12.29** ดี
6. ความถูกต้องในการตรวจสอบข้อมูล 4.47 0.59 10.19** ดี
รวม 4.49 0.33 18.86** ดี
ด้านการติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้
1. ความง่ายในการใช้งาน 4.57 0.50 13.45** ดีมาก
2. ความถูกต้องของผลลัพธ์ 4.55 0.55 11.91** ดีมาก
3. ความเร็วในการประมวลผลของระบบ 4.45 0.59 9.96** ดี
4. ความเหมาะสมในการใช้สีของตัวอักษร พื้นหลัง และ
รูปภาพประกอบต่างๆ
4.55 0.67 9.71** ดีมาก
5. ความเข้าใจในการใช้ข้อความที่เข้าใจง่าย 4.58 0.55 12.26** ดีมาก
83
รวม 4.54 0.42 15.68** ดีมาก
ตารางที่ 4-16 (ต่อ)
ค่าประเมินประสิทธิภาพ
รายการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมใช้งาน x. S.D. t แปลผล
ด้านความปลอดภัยในการทำงานของระบบ
1. การกำหนดรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านในการตรวจสอบ
ผู้เข้าใช้ระบบ
4.30 0.52 9.68** ดี
2. การตรวจสอบสิทธิ์การใช้งานของผู้ใช้ระบบในระดับ
ต่างๆ
4.15 0.48 8.38** ดี
3. ระบบมีการแยกการทำงานในส่วนของผู้ใช้และผู้ดูแล
ระบบ
4.15 0.53 7.59** ดี
4. ความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้และผู้ดูแลระบบ 4.28 0.64 7.56** ดี
รวม 4.22 0.46 9.81** ดี
คะแนนรวมทั้งหมด 4.48 0.29 21.07** ดี
จากตารางที่ 4-16 พบว่า ค่าประเมินประสิทธิภาพในด้านการตรงความต้องการของผู้ใช้
และด้านการติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้ มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.58 และ 4.53 ตามลำดับ นั่นคือ
ประสิทธิภาพของการทำงานในด้านการตรงความต้องการของผู้ใช้ และด้านการติดต่อระหว่าง
โปรแกรมกับผู้ใช้ อยู่ในระดับดีมาก และค่าประเมินประสิทธิภาพในด้านการทำงานได้อย่างถูกต้อง
ตามขีดความสามารถและด้านความปลอดภัยในการทำงานของระบบ มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.49 และ
4.21 ตามลำดับ นั่นคือ ประสิทธิภาพในด้านการทำงานได้อย่างถูกต้องตามขีดความสามารถ
และด้านความปลอดภัยในการทำงานของระบบอยู่ในระดับดี สอดคล้องกับการทดสอบค่า t
ซึ่งได้ค่าคำนวณเท่ากับ 21.07 ซึ่งสูงกว่าค่าจากตาราง และเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมจะได้
ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.48 นั่นคือ ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ อยู่ในระดับดี
84
4.3 การเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างการจัดการฝึกอบรมด้วยระบบเดิม และการ
จัดการฝึกอบรมที่นำระบบสารสนเทศมาใช้
ตารางที่ 4-17 แสดงคะแนนความพึงพอใจในการใช้งานจากรูปแบบการฝึกอบรมแบบเดิม
กับรูปแบบการจัดการฝึกอบรมที่ใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วย
แบบเดิม
แบบที่ใช้ระบบ
ความพึงพอใจในด้านต่างๆ สารสนเทศ
x. S.D. x. S.D.
t
1. ด้านกระบวนการ และวิธีการ
ดำเนินการฝึกอบรม
2.67 0.99 4.30 0.65 8.15**
2. ความสะดวก รวดเร็ว ในการสมัคร
เข้ารับการฝึกอบรม 2.33 1.18 4.13 0.68 7.17**
3. ความรวดเร็วในการแจ้งข่าวสาร
ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักสูตร
ที่มีการเปิดรับสมัคร
2.33 1.18 4.23 0.63 8.20**
4. ความสะดวกในการจองหลักสูตร 2.03 0.99 4.16 0.69 12.47**
5. ความสะดวกในการยกเลิกการจอง
หลักสูตรฝึกอบรม
2.00 0.91 4.47 0.63 11.58**
6. ความรวดเร็วในการคัดเลือกบุคคล
เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตร
ต่างๆ
1.90 0.93 4.20 0.66 10.69**
7. ผลการคัดเลือกบุคคลเข้ารับ
การฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ 2.40 0.77 3.83 0.75 5.89**
8. การแจ้งผลการคัดเลือกบุคคลเข้า
รับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ
1.77 0.82 4.17 0.69 11.03**
9. ความสะดวกรวดเร็วในการ
ประสานงานกับผู้ดูแลระบบ
2.33 1.15 3.93 0.83 6.73**
10. ความสะดวกรวดเร็วในการดู
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
1.90 1.03 4.10 0.88 8.32**
11. สะดวก รวดเร็วในการพิมพ์
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม 3.00 0.98 4.20 1.03 6.60**
12. ความสะดวก รวดเร็วในการค้นหา
หลักสูตรที่เปิดรับสมัครในช่วง
เวลาต่างๆ
2.53 0.63 4.20 0.81 7.71**
85
13. การประชาสัมพันธ์ให้ทราบ
ตำแหน่งที่ตั้งของห้องฝึกอบรม 2.93 0.69 4.23 0.77 7.21**
ตารางที่ 4-17 (ต่อ)
แบบเดิม
แบบที่ใช้ระบบ
ความพึงพอใจในด้านต่างๆ สารสนเทศ
x. S.D. x. S.D.
t
14. การประเมินผลการฝึกอบรม 1.67 0.88 4.16 0.87 10.48**
15. ความรวดเร็วในการแจ้งการยืนยัน
การยกเลิก การเปลี่ยนแปลง
เกี่ยวกับการจัดหลักสูตรล่วงหน้า
3.37 0.99 4.30 0.92 4.16**
16. การจัดการดูแลอุปกรณ์ที่ใช้ในการ
ประกอบการฝึกอบรม 2.23 0.97 4.10 1.06 7.39**
17. ความในการวางแผนการฝึกอบรม 1.76 0.86 4.43 0.57 15.84**
18. วิธีการคัดเลือก 1.67 0.76 4.60 0.50 17.71**
19. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการ
ฝึกอบรม
1.70 0.84 4.03 0.99 10.30**
20. เวลาที่ใช้ในการดำเนินการ 1.63 0.93 4.17 0.65 10.85**
จากตารางที่ 4-17 พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้ในด้านต่างๆ ระหว่างการใช้ระบบ
การจัดการฝึกอบรมด้วยวิธีแบบเดิมและรูปแบบที่ใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วย มีความแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 นั่นคือ ผู้ใช้มีความพึงพอใจในด้านต่างๆ
ของระบบการจัดฝึกอบรมที่มีการนำระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยมากกว่ารูปแบบเดิมทุกหัวข้อ
ตารางที่ 4-18 แสดงการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้งานจากรูปแบบการฝึกอบรม
แบบเดิมกับรูปแบบการจัดการฝึกอบรมที่ใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วย
รูปแบบการจัดฝึกอบรม n x. S.D. df t
แบบเดิม
แบบที่ใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วย
30
30
2.33
4.08
0.25
0.19
29 28.23**
จากตารางที่ 4-18 โดยรวมแล้ว พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อรูปแบบการจัดการ
ฝึกอบรมด้วยวิธีแบบเดิมและรูปแบบที่ใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วย ระบบที่พัฒนาขึ้นทำให้
การทำงานมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยจากภาพรวม
ของผู้ใช้งานจริงมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการฝึกอบรมที่ใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วย
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่สูงกว่ารูปแบบเดิมซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.33 นั่นคือ ผู้ใช้มี
ความพึงพอใจในรูปแบบการจัดฝึกอบรมที่มีการนำระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยมากกว่ารูปแบบ
86
เดิม ซึ่งสอดคล้องกับการทดสอบค่า t ซึ่งได้ค่าคำนวณเท่ากับ 28.23 ซึ่งเป็นค่าที่สูงกว่าค่าจาก
ตาราง
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำระบบสารสนเทศมาช่วยในงานด้านการฝึกอบรมของ
บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยให้สามารถใช้จัดการฝึกอบรมผ่านระบบเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตได้ และเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างการจัดการฝึกอบรมด้วยระบบเดิมและ
ระบบที่พัฒนาขึ้นใหม่โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็น
พนักงานของ บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวนทั้งสิ้น 4 0 คน แบ่งเป็น
กลุ่มผู้ใช้ทั่วไป จำนวน 3 0 คน และ กลุ่มผู้ดูแลระบบ จำนวน 1 0 คน ได้ข้อสรุปเป็นดังนี้
5.1.1 ด้านการตรงความต้องการของผู้ใช้
ผู้ใช้มีความเห็นว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยรวมในด้านนี้อยู่ในระดับดีมาก โดยมี
ความสามารถของระบบตามบทที่ 4
5.1.2 ด้านการทำงานได้อย่างถูกต้องตามขีดความสามารถ
ผู้ใช้มีความเห็นว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยรวมในด้านนี้อยู่ในระดับดี โดยที่
ความสามารถของระบบ มีความถูกต้องในการพิมพ์รายงาน จัดเก็บข้อมูล ลบข้อมูล ปรับปรุง
แก้ไข ค้นหา และตรวจสอบข้อมูล
5.1.3 ด้านการติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้
ผู้ใช้มีความเห็นว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยรวมในด้านนี้อยู่ในระดับดีมาก โดยที่
ความสามารถของระบบใช้งานง่าย ผลลัพธ์มีความถูกต้อง ทำการประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว
สีของตัวอักษร พื้นหลัง และรูปภาพประกอบมีความเหมาะสมดี และข้อความมีความชัดเจน และ
เข้าใจง่าย
5.1.4 ด้านความปลอดภัยในการทำงานของระบบ
ผู้ใช้มีความเห็นว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยรวมในด้านนี้อยู่ในระดับดี โดยที่
ความสามารถของระบบสามารถกำหนดรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน ในการตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ
ตรวจสอบสิทธิ์การใช้งานของผู้ใช้ มีการแยกการทำงานในส่วนของผู้ใช้และผู้ดูแลระบบและ
การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้และผู้ดูแลระบบมีความปลอดภัยดี
จากการเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างการจัดการฝึกอบรม ด้วยระบบที่ใช้อยู่ปัจจุบัน
และการจัดการฝึกอบรมที่นำระบบสารสนเทศมาช่วยพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในการทำงาน
ของระบบการจัดการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมของผู้ใช้งานจริงมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ
การจัดการฝึกอบรมที่ใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 . 0 8 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่สูง
กว่า
87
รูปแบบเดิมซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.33 นั่นคือ ผู้ใช้มีความพึงพอใจในรูปแบบการจัดฝึกอบรมที่มี
การนำระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยมากกว่ารูปแบบเดิม ซึ่งสอดคล้องกับการทดสอบค่า t ซึ่งได้
ค่าคำนวณเท่ากับ 28.23 ซึ่งเป็นค่าที่สูงกว่าค่าจากตาราง โดยการจัดการวิธีการนำระบบ
สารสนเทศมาช่วยจัดการการฝึกอบรมมีความพึงพอใจมากกว่าการจัดการฝึกอบรมด้วยระบบเดิม
ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากต้องดำเนินการในรูปแบบ
ของเอกสาร ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ความยุ่งยากในการดำเนินการสมัคร หรือแม้กระทั่ง
ผลการพิจารณาของผู้รับสมัครซึ่งบางครั้งอาจจะมีความลำเอียง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้
จะสามารถแก้ไขได้ เมื่อนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้
5.2 การอภิปรายผล
จากผลการประเมินประสิทธิภาพของการนำระบบสารสนเทศมาใช้ ในการจัดการฝึกอบรม
ของ บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น จะเห็นได้ว่า การประเมินของกลุ่มผู้ใช้
เกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบในด้านการทำงานได้อย่างถูกต้องตามขีดความสามารถ และ
ด้านความปลอดภัยในการทำงานของระบบ มีระดับต่ำกว่า ด้านการตรงความต้องการของผู้ใช้
และด้านการติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้ ทั้งนี้อาจจะเป็นผลมาจากกลุ่มผู้ใช้มีความเห็นว่า
การส่งข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต มีความปลอดภัยค่อนข้างต่ำหากใช้เทคโนโลยีในการรักษา
ความปลอดภัยของข้อมูลไม่ดีพอหรือในส่วนของฟังก์ชั่นการใช้งานที่ยังไม่ครอบคลุมทุกเรื่อง
ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ น่าจะเป็นสาเหตุทำให้การประเมินประสิทธิภาพของระบบในด้านดัง
กล่าวมีค่าต่ำกว่าด้านอื่นๆ
5.3 ปัญหาและอุปสรรค
5.3.1 ปัญหาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการฝึกอบรม ใช้เวลานาน
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ภายในองค์กร
เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่ประสานงานด้วยมีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะการทำงาน ผู้รับผิดชอบ
และมีการโยกย้ายตำแหน่ง จึงทำให้ต้องใช้เวลานานในการรวบรวมข้อมูล
5.3.2 ปัญหาด้านการทดสอบ ระบบต้องมีการใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานของบริษัท
ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีหลากหลาย ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค และ
กลุ่มตัวอย่างบางท่านมีภารกิจค่อนข้างมาก ไม่มีเวลา จึงมีปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือในการ
ทดสอบ จึงทำให้การทดสอบระบบเกิดความล่าช้า
5.4 ข้อเสนอแนะ
สำหรับวิทยานิพนธ์นี้ได้พัฒนาขึ้นตามความต้องการของเจ้าหน้าที่สถาบันวิชาการของ
บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้ทำในลักษณะของ Intranet ที่เปิดโอกาส
88
ให้เฉพาะพนักงานภายในบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เท่านั้น สามารถเข้ามา
ใช้งานได้ ในการพัฒนาต่อไปอาจจะดำเนินการในลักษณะต่อไปนี้
1. พัฒนาต่อในส่วนของการรับสมัครการฝึกอบรมของบุคคลภายนอก โดยผ่านระบบ
อินเตอร์เน็ตได้
2. พัฒนาต่อในส่วนของการรับจองห้องประชุมและจัดเลี้ยงของบุคคลภายนอก โดยผ่าน
ระบบอินเตอร์เน็ตได้
3. พัฒนาต่อในส่วนของการให้บริการที่พัก และโรงแรมให้กับบุคคลภายในและภายนอก
โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. คัมภีร์ PHP. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์
จำกัด, 2547.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และคนอื่นๆ. PHP ฉบับโปรแกรมเมอร์. กรุงเทพมหานคร :
หจก.ไทยเจริญการพิมพ์, 2545.
กิตติภูมิ วรฉัตร. PHP เปลี่ยนวิถีสู่การสร้างโฮมเพจอย่างมือ. กรุงเทพมหานคร :
โปรวิตตี้กรุ๊ป, 2543.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2541.
ธนู กุลชล. มนุษยพฤติกรรมและการเรียนรู้ในการฝึกอบรม. เอกสารประกอบการบรรยาย
การฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร : สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2523.
ธวัชชัย งามสันติวงศ์. หลักการและวิธีใช้คอมพิวเตอร์ในงานสถิติเพื่อการวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี่ จำกัด, 2542.
ธวัชชัย ศรีสุเทพ. คัมภีร์WEB DESIGN. กรุงเทพมหานคร : Provision, 2544.
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. คู่มือการทำวิทยานิพนธ์.
กรุงเทพมหานคร : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด, 2544.
บุญชม ศรีสะอาด. วิธีทางสถิติสำหรับการวิจัย 1. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น, 2541.
ประชา ตระการศิลป์. การพัฒนาระบบงาน ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์. กรุงเทพมหานคร :
ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2538.
ปราณี ศรีฉัตราภิมุข. การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2524.
ไพศาล โมลิสกุลมงคล. พัฒนา Web Database ด้วย PHP. กรุงเทพมหานคร :
หจก. ไทยเจริญการพิมพ์ จำกัด, 2544.
มาโนต กลิ่นประทุม. เทคนิคการใช้ HTML. กรุงเทพมหานคร : เอ็มไซโคลกราฟ, 2542.
ยืน ภู่วรวรรณ. เรียนรู้อินเตอร์เน็ตฯ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2544.
ระพีพรรณ พิริยะกุล. การออกแบบโปรแกรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคำแหง, 2544.
90
วิชัย สุรเชิดเกียรติ. สถิติสำหรับวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร :
สกายบุ๊กส์, 2543.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.
สงกรานต์ ทองสว่าง. My SQL ระบบฐานข้อมูลสำหรับอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร :
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2544.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. การบริหารงานฝึกอบรม. เอกสารประกอบการฝึกอบรม
หลักสูตรการบริหารงานฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร : สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2523.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การจัดการฐานข้อมูล. กรุงเทพมหานคร
: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, 2541.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. กระบวนการฝึกอบรม. เอกสารประกอบ
การบรรยายการฝึกอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานด้านการฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร
: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน, 2533.
. นโยบายฝึกอบรม. เอกสารประกอบการบรรยาย การฝึกอบรม หลักสูตรเจ้าหน้าที่
ฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร : กองวิชาการ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน, 2520.
. แนวความคิดและหลักการเกี่ยวกับการฝึกอบรม. เอกสารประกอบการบรรยาย
การฝึกอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานด้านการฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร : สถาบัน
พัฒนาข้าราชการพลเรือน, 2533.
สมชาย ปราการเจริญ. การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร :
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543.
สัลยุทธ สว่างวรรณ. เครือข่ายคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น
อินโดไซน่า, 2542.
สุปราณี ธีรไกรศรี. HTML 4 Visual Guide. กรุงเทพมหานคร : บริษัท โปรวิชั่น, 2542.
อานนท์ ทับเที่ยง. หนังสือหลักสูตรการฝึกอบรม 2545. กรุงเทพมหานคร : กองการพิมพ์
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, 2545
อำไพ พรประเสริฐสกุล. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 2543.
อุทุมพร จามรมาน. การเขียนโครงงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : หจก.ฟันนี่พับบลิชซิ่ง, 2533.
โอภาส เอี่ยมสิริวงค์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท
ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2546.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น