วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน



แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
นายจนัย แย้มมีกลิ่น
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2547
ISBN : 974-373-366-3
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
A Study of Building School-Community Relationship of Secondary Schools in Group 3,
Bangkok Educational Service Area, Zone 3
MR. JANAI YAMMEEKLIN
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education (Educational Administration)
at Bansomdejchaopraya Rajabhat University
Academic Year 2004
ISBN : 974-373-366-3
วิทยานิพนธ์ แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
โดย นายจนัย แย้มมีกลิ่น
สาขา การบริหารการศึกษา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
กรรมการ รองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์
กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
.......................................................................
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
.......................................................................
ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
.......................................................................
กรรมการ
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
.......................................................................
กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์)
.......................................................................
กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์)
.......................................................................
กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อินทิรา บุณยาทร)
.......................................................................
กรรมการและเลขานุการ
(ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง)

ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
จนัย แย้มมีกลิ่น. (2547). แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม : ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร; รศ. เกริก วยัคฆานนท์; ผศ. สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เก็บรวบรวม ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ฝ่ายโรงเรียน 168 คน และฝ่ายชุมชน 83 คน โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 หมวดที่ 6 คือ (1) การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (2) การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน (3) การให้บริการชุมชน (4) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน (5) การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน และ (6) การประเมิน ผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.83 และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน มีดังต่อไปนี้
1. ด้านการวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เรื่องที่ควรมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ ผู้ประสานงานระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ต้องมีประสบการณ์เพียงพอในการประสาน การทำงานเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
2. ด้านการสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน เรื่องที่ควรมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ จัดประชุมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อชี้แจงอุดมการณ์ นโยบาย และวัตถุประสงค์ของโรงเรียนให้ทราบโดยทั่วถึง
3. ด้านการให้บริการชุมชน เรื่องที่ควรมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในการติดต่อประสานงานขึ้นภายในโรงเรียน
4. ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เรื่องทควรมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด โรคเอดส์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ และให้ความรู้แก่ชุมชน
5. ด้านการได้รับความสนับสนุนจากชุมชน เรื่องที่ควรมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ เชิญวิทยากรท้องถิ่นที่มีความรู้ ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพมาแนะแนวการศึกษาด้านอาชีพให้แก่นักเรียน
6. ด้านการประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เรื่องที่ควรมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ นำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการปรับปรุงงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

JANAI YAMMEEKLIN. (2004). A STUDY OF BUILDING SCHOOL-COMMUNITY RELATIONSHIP OF SECONDARY SCHOOLS IN GROUP 3, BANGKOK EDUCATIONAL SERVICE AREA, ZONE 3. GRADUATE SCHOOL BANSOMDEJ CHAO PRAYA RAJABHAT UNIVERSITY, ADVISOR COMMITTEE : DR. SARAYUTH SETHAKHAJORN; ASSOC.PROF. KRIRK WAYAKKANON; ASST.PROF.SUPORN LIMBORIBOON.
This research aimed to study ways of building school-community relationship of secondary schools in Group 3, Bangkok Educational Service Area, Zone 3. The school-community relationship under the study comprised 1) planning; 2) building and disseminating school achievements; 3) school services to community; 4) school participation in community development; 5) community support; 6) evaluation of outcomes of school-community program.
The population used consisted of 168 school staff and 83 community members. Questionnaire was the instruments used to collect data, which were analyzed by means of percentage, means, standard deviation and frequency.
Findings were the following.
1. Planning was rated at high level therefore the school coordinator must hare enough experience in building relationship between school and community.
2. Building and disseminating school achievements was rated at high level therefore parents the should be kept informed of school policy and objectives.
3. School services to community area were rated at high level therefore internal coordination should be built up on a friendly basis.
4. School participation in community development was rated at high level. Focus activities for should be on drug abase and AIDS.
5. Community support was rated at high level therefore local wisdom should be fully utilized.
6. Evaluation of outcomes of school-community program was rated at high level in applying canalized result for at high level therefore analized results should be effectively used in improving school-community relations.
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จด้วย ได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจาก ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร ประธานผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ ซึ่งได้สละเวลาอันมีค่าให้การแนะนำ ช่วยเหลือ และตรวจสอบ แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความสนใจอย่างดียิ่งมาโดยตลอด รวมทั้งรองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและตรวจแก้ไขเพื่อให้วิทยานิพนธ์มีความถูกต้อง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อินทิรา บุณยาทร กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และ ดร. เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง กรรมการและเลขานุการ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำ และให้ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นประโยชน์ พร้อมทั้งตรวจสอบเพื่อแก้ไขให้วิทยานิพนธ์มีความถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณ คณะผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือ ซึ่งได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. นันทา วิทวุฒิศักดิ์ อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ อาจารย์สมชาย ใจเที่ยง อาจารย์สุนันทา แสงทอง และ อาจารย์เจริญ เลื่อนธรรมรัตน์ ที่กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการสร้างเครื่องมือ เพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ขอขอบพระคุณคณาจารย์ สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทุกท่านที่ได้ประสิทธิประสาทความรู้ แนวคิดและ ประสบการณ์ต่างๆ ในขณะที่ผู้วิจัยได้ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาแห่งนี้
ขอขอบพระคุณคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารโรงเรียน และคณะครูอาจารย์โรงเรียนโพธิสารพิทยากร และโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ที่กรุณาให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม และให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ไว้อย่างสมบูรณ์
จนัย แย้มมีกลิ่น
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย……………………………………………………..................................... ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ………………………………………………........................................ ข
ประกาศคุณูปการ ……………………………………………………….................................... ค
สารบัญ.......…………………………………………………………......................................... ง
สารบัญตาราง…...…………………....………………………………....................................... ช
สารบัญแผนภูมิ…………………………...…………………………....................................... ซ
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………..……………………… 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………….....…….... 4
1.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย........... …………………………………... .......... 4
1.4 ขอบเขต ข อ ง การวิจัย ……………………………………………………………. 4
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………………………………... 5
1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย..…....…………………………………………........…. 7
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน.................................... 9
2.1.1 ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน...................... 10
2.1.2 ความมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน... 11
2.1.3 ความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชน................................................................................... 13
2.1.4 หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน........... 15
2.1.5 วิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน............................. 18
2.1.6 องค์ประกอบในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน....... 20
2.1.7 บทบาทของโรงเรียนที่มีต่อชุมชน.......................................................... 21
2.1.8 บทบาทของชุมชนที่มีต่อโรงเรียน.......................................................... 23
2.1.9 บทบาทของผู้บริหารกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน.. 24

2.1.10 แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน................................................. 27

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
2.2 แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่องโรงเรียนกับชุมชน………………………………….... 32
2.2.1 การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน................ 32
2.2.2 การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน...................................... 35
2.2.3 การให้บริการชุมชน.................................................................................. 38
2.2.4 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน........................................................... 39
2.2.5 การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน......................................................... 41
2.2.6 การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน.......... 43
2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.............................................................................................. 45
2.3.1 งานวิจัยในประเทศ.................................................................................. 45
2.3.2 งานวิจัยต่างประเทศ................................................................................. 49
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง................................................................................. 52
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.................................................................................... 55
3.3 การสร้างเครื่องมือในการวิจัย............................................................................ 55
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล....................................................................................... 56
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้....................................................................... 56
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 ตอนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม................................ 59
4.2 ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนรวมทุกด้าน และจำแนกเป็นรายด้าน......... 62
4.3 ตอนที่ 3 ข้อมูลเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน.............................................................................. 76

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย..................................................................................... 78
5.2 ขอบเขตของการวิจัย.......................................................................................... 78
5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย..................................................................................... 79
5.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล......................................................................................... 79
5.5 การวิเคราะห์ข้อมูล.............................................................................................. 79
5.6 สรุปผลการวิจัย.................................................................................................... 80
5.7 อภิปรายผลการวิจัย.............................................................................................. 82
5.8 ข้อเสนอแนะ....................................................................................................... 85
บรรณานุกรม………………………………………………………………………………… ..... 88
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย.............................................................................. 97
ภาคผนวก ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ.......................................................... 108
ภาคผนวก ค สูตรการคำนวณของยามาเน่.......................................................................... 110ภาคผนวก ง หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง............................................................................ 112
ภาคผนวก จ ประวัติผู้วิจัย................................................................................................. 115

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างฝ่ายโรงเรียน และฝ่ายชุมชน
ของโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กรุงเทพมหานคร เขต 3.......................................................................................................... 54
2 ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม..................................................... 60
3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยรวมทุกด้าน............................................................. 62
4 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน..............................................................……………………… 64
5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติ
ของโรงเรียน.......................................................................................................................... 66
6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการให้บริการชุมชน....................................................... 68
7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน................................ 70
8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการได้รับความสนับสนุนจากชุมชน.................... 72
9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน.................................................................................................... 74
10 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน..….. 76

สารบัญแผนภูมิ
แผนภูมิที่ หน้า
1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย........................……………………….................…… 7
2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน............................................................ 9
3 แสดงวิธีการศึกษาชุมชน.............................................................................................. 28
4 แสดงการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงเรียน..................................... 30
5 แสดงการให้บริการชุมชน......................................................................................…. 33
6 แสดงวงจรโครงการ........................................………………......………................... 35
7 แสดงกรอบความคิดกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม............................................................ 40
8 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยรวมทุกด้าน................................................................. 63
9 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน..................................................................................................... 65
10 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน.... 67
11 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการให้บริการชุมชน................................................ 69
12 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน................................. 71
13 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการได้รับความสนับสนุนจากชุมชน............................... 73
14 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน…………………………………………………………….. 75
15 แสดงค่าความถี่ของข้อเสนอแนะแนวทางการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน.......................................................................................... 77
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการศึกษาในอดีตที่ผ่านมาเป็นการจัดการศึกษาแบบศูนย์รวมอำนาจ ทั้งด้านการจัดสรรงบประมาณ การบริหารบุคคล และด้านหลักสูตร การจัดการศึกษาไม่เพียงแต่แปลกแยกจากชุมชน เท่านั้น แต่ยังขาดความเชื่อมโยงกับท้องถิ่น กิจกรรมการเรียนการสอนเน้นครูเป็นศูนย์กลาง มุ่งความรู้ความจำไม่เสริมสร้างภูมิปัญญาดั้งเดิม ให้ความสำคัญต่อวิชาการมากจนละเลยการพัฒนาทุกด้านใน ตัวผู้เรียน คนที่ได้รับการศึกษาสูงย่อมห่างไกลจากชนบท ทำให้พลังชุมชนอ่อนแอลง เกิดปัญหา การเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทเข้ามาสู่สังคมเมือง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะแนวคิดการพัฒนาแบบ แยกส่วน การศึกษามุ่งผลิตผู้ชำนาญการเฉพาะด้านเพื่อสนองต่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ดังจะเห็นได้ว่าในช่วง 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมานั้นมีกระแสการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษา (จิรพันธ์ ไตรทิพจรัส, 2542 : 8) จุดอ่อนของการจัดการศึกษาของไทยดังกล่าวไดนำไปสู่ความพยายามใน การปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้มีโครงการปฏิรูปการศึกษาขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม มีโรงเรียนนำร่องโครงการปฏิรูปและดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา ปฏิรูปบุคลากร ปฏิรูปหลักสูตรการสอน และปฏิรูปการบริหารและการจัดการ และในปี พ.ศ. 2541 โรงเรียนทุกโรงเรียนต้องดำเนินการตาม โครงการปฏิรูปการศึกษาตามแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (จรัสศรี ขุนทวี, 2544 : 1)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542) ถือว่าเป็นกฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกของประเทศไทย และยังเป็นมาตรการสำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จและตอบสนองความต้องการของสังคมไทย มีความยืดหยุ่น สามารถเชื่อมโยงระหว่าง ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล มีการกระจายอำนาจการบริหารส่งเสริมให้ประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นคนเก่งคนดี และมีความสุข (ศุภชัย พานิชภักดิ์, 2542 : 7) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวดที่ 1 บททั่วไปกล่าวถึง การจัดการศึกษาต้องยึดหลัก 3 ประการ คือ ต้องจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ต้องเปิดโอกาสให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และระบุให้สถาบันต่างๆ เช่น ครอบครัว ชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการจัด
2
การศึกษาและสามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ในรูปแบบของศูนย์การเรียนหรือการเรียนการสอน ที่บ้าน ไม่ต้องส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนเป็นการเปิดโอกาสและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้เรียนและผู้สอน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและคนไทย ดังนั้นการจะบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพจึงต้องบริหารแบบยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) มีกรรมการโรงเรียน (สุรัฐ ศิลปอนันต์, 2541 : 7) การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การยกโรงเรียนให้ผู้ปกครอง ชุมชนเป็นเจ้าของรับผิดชอบร่วมดำเนินการจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้โรงเรียนไม่แปลกแยกจากชุมชน (สงบ ลักษณะ, 2541 : 12)
กรมสามัญศึกษา ได้ให้ความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาเป็นอย่างมาก จึงมุ่งปฏิรูป การเรียนรู้ตามแผนที่กำหนด เพื่อสนองตอบต่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ต้องการให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน ซึ่งมีสังคมเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เกิดการกระจายอำนาจ มีการกำหนดมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ตลอดจนต้องการให้มีการระดมทรัพยากรต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา และจากแนวนโยบายดังกล่าว กรมสามัญศึกษาจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้หลายยุทธศาสตร์เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย หนึ่งในหลาย ยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในแผน นโยบาย คือ กระจายอำนาจการศึกษา นั่นคือ การกระจายอำนาจใน การตัดสินใจ ในการบริหารการศึกษาให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในแง่การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมประเมินผลและร่วมรับผิดชอบ ซึ่งเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2541 : 40) กล่าวว่า การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม (Participatory Decision-Making) นั้นจะต้องมุ่งให้อำนาจแก่คณะกรรมการโรงเรียนใน 3 เรื่อง คือ งบประมาณ บุคลากร หลักสูตร หรือโปรแกรมการศึกษา โดยเฉพาะการบริหาร เชิงพฤติกรรมศาสตร์ได้มีการมุ่งเน้นเรื่องมนุษยสัมพันธ์มากขึ้น เพราะการบริหารงานอย่างเดียว ไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้ ถ้าขาดความร่วมมือของผู้ร่วมงาน ดังนั้นผู้บริหารที่ดีจะต้อง สร้างความเข้าใจ สร้างทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน (บัญชา อึ๋งสกุล, 2542 : 32) การกำหนดเป้าหมายการบริหารงานในโรงเรียนตามแนวปฏิรูปนั้น ผู้บริหาร ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง ชุมชน จะต้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนด การวางแผนงานโครงการขั้นตอนปฏิรูปงานต่างๆ ตลอดจน ระยะเวลา และงบประมาณ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะต้องช่วยกัน ร่วมมือกันคิดหาวิธีการแก้ไข เพื่อให้การปฏิรูปบรรลุเป้าหมาย โดยกำหนดโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาว่าจะต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้แทนครู ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ รวมคณะกรรมการทั้งหมด 7-15 คน แต่ละกลุ่มจะเลือกผู้แทนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและมีการระดมทุนจากบุคคลหรือองคกรท้องถิ่นมา
3
2540 สนับสนุนการจัดการศึกษา (จรัสศรี ขุนทวี, 2544 : 3) ดังนั้นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนจึงถือเป็นภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานของ โรงเรียน กรมสามัญศึกษาในอดีต ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา จึงได้ประกาศเป็นเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 ไว้ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่องโรงเรียนกับชุมชน โดยกำหนดให้โรงเรียนมัธยมศึกษาสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนใน 6 ด้าน ได้แก่ (1) การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (2) ด้านการสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน (3) การให้บริการชุมชน (4) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน (5) การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน และ (6) การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชน (กรมสามัญศึกษา, 2539 : 54-62) โดยเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช (กรมการศาสนา, 2541 : 4) ซึ่งได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (มาตรา 289) สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542 : 15-28) ที่ต้องการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน (มาตรา 29) โดยให้ มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (มาตรา 40) และกำหนดให้หน่วยงานทางการศึกษา ระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (มาตรา 57) นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้แทนที่มาจาก องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิ (มาตรา 15) (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546 : 6-7)
ผู้วิจัยได้ในฐานะที่เป็นผู้หนึ่ง ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ซึ่งประกอบไปด้วยโรงเรียนต่างๆ จำนวน 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ โรงเรียนสตรี วัดอัปสรสวรรค์ โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม โรงเรียน ฤทธิณรงค์รอน โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม โรงเรียนวัดรางบัว โรงเรียนปัญญาวรคุณ โรงเรียน ราชวินิตบางแคปานขำ และโรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมงคลาภิเษก จึงได้นำเอาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมาใช้เป็นกรอบในการศึกษา ซึ่งจะทำให้ทราบถึงแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เพื่อนำผลการวิจัยนี้ไปเป็นประโยชน์ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนพร้อมทั้งกำหนดโยบายและปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และยังเป็นการพัฒนาการดำเนินงานด้านโรงเรียนกับชุมชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้
4
บรรลุเป้าหมายตามแนวนโยบายของการปฏิรูปการศึกษา และพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ให้ยิ่งขึ้นไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
1. ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 และผู้บริหารหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำผลการวิจัยไปประกอบการพิจารณาให้การสนับสนุนโรงเรียนในการสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้มีประสิทธิภาพ
2. ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา นำไปพิจารณาปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้มีประสิทธิภาพ
ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตเนื้อหาในการวิจัย ผู้วิจัยมุ่งศึกษาแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 โดยใช้กรอบเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่องโรงเรียนกับ ชุมชน แบ่งออกเป็น 6 ด้าน (กรมสามัญศึกษา, 2539 : 54-62) ได้แก่
1.1 การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
1.2 การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน
1.3 การให้บริการชุมชน
1.4 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
1.5 การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน
1.6 การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
5
2. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ
2.1 ฝ่ายโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
2.2 ฝ่ายชุมชน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
นิยามศัพท์เฉพาะ
แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง วิธีการของโรงเรียน ที่จะต้องปฏิบัติงานด้านชุมชนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 ซึ่งมี 6 ด้าน ได้แก่ (1) การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (2) การสร้างและ เผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน (3) การให้บริการชุมชน (4) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน (5) การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน และ (6) การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชน
การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง การศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงานของโรงเรียนและใช้เป็นแนวทางสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน หมายถึง การกำหนดอุดมการณ์ เพื่อสร้างเสริมคุณธรรม ลักษณะนิสัย และความประพฤติของบุคลากรและนักเรียนในโรงเรียน เพื่อสร้างและเผยแผ่เกียรติประวัติทางด้านวิชาการ คุณธรรมจริยธรรมและ กีฬา รวมทั้งการรวบรวมผลงานของบุคลากรและนักเรียน และเผยแพร่เกี่ยวกับประวัติของโรงเรียน
การให้บริการชุมชน หมายถึง การบริการที่โรงเรียนให้แก่ชุมชนทั้งด้านวิชาการ การใช้อาคารสถานที่ตลอดจนให้การส่งเสริมทางด้านนันทนาการ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและด้านอาชีพ
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน การให้ ความรวมมือในการพัฒนาท้องถิ่น และการจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์สังคม เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิด จิตสำนึกสาธารณะ มีพฤติกรรมสร้างสรรค์สังคม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกไปทำประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป
6
การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน หมายถึง บุคคลในชุมชน องค์กรในชุมชน และ ผู้ปกครองให้การสนับสนุนโรงเรียนทั้งด้านวิชาการ ทุนทรัพย์ การบริการ และการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง การพิจารณา ผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนและชุมชนว่าสามารถร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และสรุปผลการประเมินได้อย่างสม่ำเสมอ
โรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 หมายถึง โรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม โรงเรียนวัดรางบัว โรงเรียนปัญญาวรคุณ โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ และโรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมงคลาภิเษก
ฝ่ายโรงเรียน หมายถึง ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติงานด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
ผู้บริหาร หมายถึง ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติงานด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
อาจารย์ หมายถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่การสอนหรือสนับสนุนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
ฝ่ายชุมชน หมายถึง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากบุคคลต่อไปนี้ คือ ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยไม่รวมผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นคณะกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่งของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
ชุมชน หมายถึง ชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ทั้ง 10 แห่ง
7
กรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยใช้เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่อง โรงเรียนกับชุมชน (กรมสามัญศึกษา, 2539 : 54-62) ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (กรมการศาสนา, 2541 : 4) และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542 : 15-28) และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546 : 6-7) ดังแสดงไว้ในแผนภูมิที่ 1
แผนภูมิที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย

เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 (กรมสามัญศึกษา, 2539 : 54-62)
(1) การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียน กับชุมชน (2) การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติ ของโรงเรียน
(3) การให้บริการชุมชน
(4) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
(5) การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน
(6) การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542 : 15-28)
มาตรา 29 มาตรา 40 และมาตรา 57

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (กรมการศาสนา, 2541 : 4)
มาตรา 289

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546 : 6-7)
มาตรา 15
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอไว้ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ความมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
วิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
องค์ประกอบในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
บทบาทของโรงเรียนที่มีต่อชุมชน
บทบาทของชุมชนที่มีต่อโรงเรียน
บทบาทของผู้บริหารกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
2. แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ตามเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่องโรงเรียนกับชุมชน
การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน
การให้บริการชุมชน
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน
การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศ
งานวิจัยต่างประเทศ
9
แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 237) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้น นับเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารการศึกษายุคปัจจุบัน เพราะโรงเรียนจะต้องอาศัยทรัพยากรจากชุมชนมาช่วยในการพัฒนาโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นด้านอาคารสถานที่ หรือการเรียนการสอนก็ตาม จะเห็นได้จากแนวการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบัน ได้มุ่งเน้นให้ใช้แหล่งวิทยาการ สถานประกอบการ และสถานประกอบอาชีพอิสระของชุมชนมาช่วยในการเรียนการสอนกลุ่มวิชาชีพ ถ้าทั้งทางโรงเรียนและชุมชนขาดความร่วมมือ และ ขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันแล้ว ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนวนี้คงจะสำเร็จได้ยาก
ละออ เกษสุวรรณ (2544 : 10) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ไว้ว่า การจัดการศึกษาของโรงเรียนในปัจจุบันนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากชุมชน เพราะโรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา ชุมชนจึงมีส่วนสำคัญที่จะให้ความสำคัญช่วยเหลือโรงเรียนได้ทั้งทรัพยากรในการจัดการ แหล่งวิทยาการต่างๆ อีกทั้งโรงเรียนก็เป็นองค์กรที่ตั้งอยู่ในชุมชน ที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่สมาชิกในชุมชน ฉะนั้นโรงเรียนกับชุมชนจึงต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและพัฒนาชุมชน
พิเชษฐ คงสตรี (2544 : 10) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ว่า เป็นความสัมพันธ์ของสองสถาบัน คือ โรงเรียน กับชุมชนที่มีความเกี่ยวข้อง ผูกพัน เชื่อมโยงกันในหลายๆ ด้านทั้งในฐานะเป็นผู้ให้ และในฐานะเป็นผู้รับ โดยจะนำไปสู่การพัฒนาของทั้งสองสถาบันนี้ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ซึ่งความเจริญก้าวหน้าของโรงเรียน ควรเป็นผลมาจาก ความเจริญก้าวหน้าของชุมชน และความเจริญก้าวหน้าของชุมชนก็เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าของ โรงเรียนเช่นเดียวกัน ดังแสดงความสัมพันธ์ของสถาบันทั้งสองไว้ในแผนภูมิที่ 2
แผนภูมิที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ที่มา : พิเชษฐ คงสตรี, 2544 : 9

ความเจริญก้าวหน้า ของโรงเรียน

ความเจริญก้าวหน้า ของชุมชน
10
สำหรับสมาคมผู้บริหารโรงเรียนแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Association of School Administrators, 1974 : 7) ได้ให้ความหมายในลักษณะของการพัฒนาความร่วมมือและสื่อสารแบบ สองทางเพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างโรงเรียน บุคลากรของโรงเรียนและชุมชน
คินเดอร์ และคณะ (Kindred and Other, 1984 : 9) ได้อธิบายไว้ว่า การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพื่อให้ประชาชนเกิดความ เข้าใจในความสำคัญ ความจำเป็นของการศึกษาและกระตุ้นให้ประชาชนในท้องถิ่นให้ความสนใจและความเข้าใจและความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนให้ดีขึ้น
สรุปได้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนที่กล่าวมา ล้วนเกิดขึ้นจากกระบวนการหรือวิธีการต่างๆ ที่ผู้บริหารโรงเรียน ตลอดจนครู-อาจารย์ภายใน โรงเรียนต่างต้องการให้เกิดการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียน ประชาชน และชุมชน เพื่อให้เกิดการตอบสนองในความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งภายในโรงเรียนและภายในชุมชนด้วยเช่นกัน
1. ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เป็นสิ่งสำคัญในการบริหารการศึกษายุคปัจจุบัน ดังนั้นผู้บริหารการศึกษาจึงจำเป็นต้องศึกษาแนวทางการดำเนินงานสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด จากการศึกษาพบว่ามีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ดังนี้
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 237) กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง กระบวนการในการวางแผน การควบคุม การประสานงาน การจัดบุคลากรและเผยแพร่ความรู้ต่อชุมชน เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนและโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้าไปพร้อมกัน
พนิจดา วีระชาติ (2542 : 44) กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน คือการสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพื่อให้โรงเรียนรู้จักชุมชนดีขึ้นในแง่ที่สามารถค้นหาและใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา และในเวลาเดียวกันก็ให้ชุมชนมีความรู้สึกที่ดีต่อโรงเรียน
ละออ เกษสุวรรณ (2544 : 12) กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนคือ การดำเนินการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความรู้สึกที่ดี ต่อกัน อันจะเป็นหนทางให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ขณะเดียวกัน ก็เป็นหนทางให้โรงเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น
11
สรุปได้ว่า ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน คือ การสร้าง ความรู้ ความเข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนของชุมชนอย่างแท้จริง
2. ความมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน มีความมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้ได้ผลดีที่สุด และให้ผลที่ได้จากการศึกษานั้นเป็นประโยชน์ต่อชุมชนด้วยได้มีผู้กล่าวถึงความมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ดังนี้
เกรียงศักดิ์ ฤทธิรงค์ (2530 : 12-13) กล่าวว่า ความมุ่งหมายของการสร้างความสมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีจุดมุ่งหมายคือ (1) เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนและส่งเสริมความเจริญงอกงาม ความเจริญเติบโตของเด็กสิ่งเหล่านี้ ลำพังโรงเรียนด้านเดียวไม่อาจกระทำได้บรรลุวัตถุประสงค์จำต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน (2) เพื่อที่จะพัฒนาชุมชนในบริเวณที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดยการปรับปรงคุณภาพของการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน นักวิชาการเห็นความสำคัญของการศึกษาว่า การศึกษาน่าจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางท ี่ดีขึ้น (3) เพื่อที่จะจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โรงเรียนไม่สามารถที่จะรู้ ความต้องการของชุมชน โรงเรียนไม่สามารถที่จะรู้ความต้องการของชุมชนได้ ถ้าโรงเรียนกับชุมชน ไม่มีความสัมพันธ์กัน (4) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนร่วมมือกันพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยการ ช่วยประสานความคิดของประชาชนในชุมชนชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการร่วมมือร่วมใจและ ความสามัคคี (5) เพื่อใช้แหล่งทรัพยากรของชุมชนให้เกิดประโยชน์ (6) เพื่อพัฒนาความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นบันได ขั้นแรกของความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งกันและกัน และ (7) เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องให้แก่ชุมชน เพราะว่าประชาธิปไตยที่ถูกต้องให้แก่ชุมชน เพราะว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น เริ่มด้วยการฝึกคนให้มีเหตุผล มีวินัยในตนเอง รู้จักวิพากษ์ วิจารณ์ รู้จัก อดทนต่อคำวิพากวิจารณ์ มีความเสียสละ ซื่อสัตย์ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรู้จักทำงานเป็นกลุ่ม คุณสมบัติทั้งหมดนี้คือพื้นฐานของประชาธิปไตย
สุรธวัช ศรีธวัช (2532 : 110) กล่าวว่า ความมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีจุดมุ่งหมาย คือ (1) เพื่อเผยแพร่ให้ชุมชนทราบเกี่ยวกับกิจการและข่าวสารของ โรงเรียน (2) รับทราบข่าวสารการเคลื่อนไหวภายนอกเพื่อประโยชน์ของโรงเรียน (3) ส่งเสริมให้ ประชาชนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการศึกษาจนเกิดความรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของประชาชนใน
12
ระบบของประชาธิปไตย ที่ต้องสนใจต่อการศึกษาและช่วยกันสนับสนุน (4) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดูแลจัดการศึกษาของโรงเรียน (5) ส่งเสริมชุมชนให้เข้ามามีบทบาทในการวางเป้าหมายการศึกษา และการพัฒนาการเรียนการสอน (6) สร้างความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างโรงเรียน บ้าน และท้องถิ่น โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์ประชาคม ศูนย์การศึกษาและวัฒนธรรม (7) เสนอความรู้ทางด้านความก้าวหน้าและความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับสถาบันอื่นๆ ในสังคม (8) เพื่อให้เป็นหนทางในการประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนจากชุมชน และ (9) แก้ไขข้อข้องใจในสิ่งที่ประชาชนเข้าใจ โรงเรียนผิด ช่วยให้ประชาชนมองโรงเรียนในแง่ดี ด้วยความเชื่อถือและนิยมยกย่อง
ภูวนาถ คงแก้ว (2539 : 18) กล่าวว่า ความมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับ ชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และความรู้สึกที่ดีต่อกันอันจะเป็นหนทางให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ขณะเดียวกันก็เป็นหนทางให้โรงเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมใน การพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น
วัชรี สุขเจริญวิภารัตน์ (2542 : 22) กล่าวว่า ความมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีความมุ่งหมายเพื่อให้ชุมชนเข้าใจโรงเรียน และโรงเรียนเข้าใจชุมชน ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาชุมชน
พนิจดา วีระชาติ (2542 : 51-52) กล่าวว่า ความมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนมีความมุ่งหมาย คือ (1) เพื่อสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพราะ สัมพันธภาพจะเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้มาร่วมมือกันปฏิบัติการต่างๆ ที่มีอยู่ให้บรรลุจุดหมายอันเดียวตามที่กำหนด (2) เพื่อสร้างเสริมความรู้สึกเป็นเจ้าของให้แก่ชุมชน เนื่องจากโรงเรียนเป็นสาธารณสมบัติที่ชุมชนเป็นเจ้าของอยู่แล้ว หากแต่มอบหมายให้คณะครูเป็น ผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยมีครูใหญ่เป็นหัวหน้า (3) เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการของ โรงเรียน กิจการต่างๆ ของโรงเรียนอาจแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น การกำหนดความมุ่งหมาย และนโยบาย กิจการเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียน กิจการเกี่ยวกับการพัฒนาอาคารสถานที่ ตลอดจน การพัฒนาด้านวิชาการ เช่น หลักสูตร เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของโรงเรียนสอดคล้องกับ ความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ในอันที่จะพัฒนาบุตรหลานของเขา (4) เพื่อฟื้นฟูและรักษาวัฒนธรรมของชุมชน ในชุมชนที่มีวัฒนธรรมประจำอยู่มากมาย ทั้งที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี และศาสนา วัฒนธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์ความดีของชุมชน เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นศูนย์รวมทางจิตใจ และเป็นสัญลักษณ์ของชุมชน ชุมชนจะรักษาและหวงแหนอย่างยิ่ง หากโรงเรียนทำการฟื้นฟูและถ่ายทอดให้แก่เยาวชนชุมชนจะให้ความร่วมมือทุกประการ เพราะชุมชน
13
มองเห็นว่าโรงเรียนกระทำการเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง และ (5) เพื่อสร้างความกลมกลืนระหว่างบ้านกับโรงเรียน เป็นที่ยอมรับว่าโรงเรียนเป็นหน่วยงานของชุมชน ดำเนินงานพัฒนาคนสำหรับชุมชน โรงเรียนกับชุมชนจึงมีการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันในทุกกรณี การดำรงชีพในชุมชนควรจะเป็นหลักสูตรของโรงเรียน ปฏิบัติการต่างๆ ควรเป็นชุมชนโรงเรียนเป็นเพียงสถานที่ฝึกหัดให้เท่านั้น
ละออ เกษสุวรรณ (2544 : 15-16) กล่าวว่า ความมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีความมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ให้มีทัศนคติและแนวทางที่ตรงกันในการพัฒนาการศึกษาของชุมชนส่งเสริมให้ชุมชนได้เข้ามามี ส่วนร่วมและสนับสนุนการวางเป้าหมายนโยบายในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชนและให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
นาวี ยั่งยืน (2544 : 37) กล่าวว่า ความมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชนนั้นเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนจะก่อให้เกิดความร่วมมือหรือการวางนโยบายเพื่อ การพัฒนาประสิทธิภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ เพราะโรงเรียนเป็นหน่วยสังคมหนึ่งที่ชุมชนพึงให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนกิจการต่างๆ เพื่อความเจริญของชุมชนเอง หากสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนได้ผลดียอมรวมมือกันขจัดปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นเพื่อการพัฒนา ชุมชนได้ต่อไป
สรุปได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพื่อให้เกิดทัศนคติและแนวทางที่ตรงกันใน การพัฒนาการศึกษาของชุมชนร่วมกัน โดยส่งเสริมให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุน การวางเป้าหมายนโยบายในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชนและให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
3. ความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
เนื่องจากโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และเป็นสถาบันพัฒนาคนเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีในชุมชน และโรงเรียนยังเป็นองค์กร และตัวกลางที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาชุมชนอีกด้วย ดังนั้นโรงเรียนกับชุมชนจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และจากความสำคัญและ ความจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนดังกล่าว จึงมีนักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายถึงความสำคัญไว้ดังต่อไปนี้
14
สนานจิตร สุคนธทรัพย์ (ม.ป.ป. : 4) กล่าวถึง ความสำคัญและจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้นมีจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะชุมชนชนบท ซึ่งครูเป็นเสมือนทรัพยากรทางสมองของชุมชน ทำหน้าที่ผลิตคนให้สนองความต้องการของชุมชน เป็นผู้รู้ซึ่งจะให้ คำปรึกษาหารือในสิ่งที่เป็นปัญหาของชุมชน ทรัพยากรในโรงเรียนสามารถเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมต่างๆ โรงเรียนก็มองชุมชนเป็นแหล่งทรัพยากรทั้งในด้านคน วัสดุ เงิน และแรงงานใน การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 350) กล่าวถึง ความสำคัญและความจำเป็นในการสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนก็เพื่อใช้เป็นเหตุผลที่นำมาสนับสนุนให้โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับชุมชน คือ (1) โรงเรียนเป็นแหล่งเลือกสรรคนในชุมชนมีหน้าที่พัฒนาคนให้มีความรู้ ความสามารถที่จะออกไปสู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) โรงเรียนเป็นแหล่งพัฒนาคนให้ชุมชน จึงเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงคนที่มาจากครอบครัวต่างๆ หล่อหลอมพฤติกรรมเด็กให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชน และ (3) โรงเรียนเป็นแหล่งรวมศาสตร์สาขาต่างๆ พร้อมที่จะจัดสิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่าให้แก่นักเรียนที่จะเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 26-27) กล่าวถึง ความสำคัญและความจำเป็นใน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนก็เนื่องมาจาก (1) เพราะโรงเรียนเป็นแหล่งรวม วิชาการสาขาต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการเรียนรู้ของคนในชุมชน (2) เพราะโรงเรียนเป็นแหล่งผลิต พัฒนา และคัดเลือกสมาชิกที่ดีให้กับชุมชน (3) เพราะโรงเรียนเป็นแหล่งถ่ายทอด วัฒนธรรมของชุมชน (4) เพราะโรงเรียนเป็นแหล่งศูนย์รวมของชุมชน กิจกรรมและบริการต่างๆ เกิดขึ้นที่โรงเรียน (5) เพราะโรงเรียนเป็นหน่วยผลิตวิชาการใหม่ๆ ให้กับชุมชน (6) เพราะโรงเรียนอาศัยภาษีและการสนับสนุนจากประชาชน และ (7) เพราะโรงเรียนอาศัยภาษีและการสนับสนุนจากประชาชน
เพ็ญรำไพ รามบุตร (2537 : 20) กล่าวถึง ความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเพราะ (1) โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นแหล่งผลิต พัฒนา อบรมและคัดเลือกสมาชิกที่ดีให้แก่ชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนโรงเรียนด้วย (2) โรงเรียนเป็นศูนย์รวมของวิทยาการต่างๆ ที่สามารถทำให้สมาชิกของชุมชนมีความก้าวหน้าทางการศึกษา และ (3) โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่จะช่วยพัฒนาชุมชน จัดกิจกรรม บริการต่างๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกของชุมชนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาและสร้างภาพพจน์ที่ดีของโรงเรียนและครู-อาจารย์
ละออ เกษสุวรรณ (2544 : 18) กล่าวถึง ความสำคัญและความจำเป็นในการสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเกิดขึ้นมาเนื่องจาก โรงเรียนกับชุมชนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่
15
จะต้องสร้างความสัมพันธ์กัน เพราะโรงเรียนเป็นสถาบันพัฒนาคนเพื่อดำรงชีวิตที่ดีในชุมชน และโรงเรียนยังเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนด้วย โรงเรียนกับชุมชนจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และความจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้นมีหลายประการด้วยกัน การศึกษาในโรงเรียนสัมพันธ์กับบุคคลในชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ทำให้ครูกับผู้ปกครองนักเรียน และประชาชนมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มคนที่เป็นปัญหาต่อการศึกษา เพื่อปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอนตามความต้องการของชุมชน เพื่อใช้ทรัพยากรของชุมชนให้เป็นประโยชน์ ทำให้โรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจชุมชนดี โรงเรียนเป็นแหล่งคัดเลือกคนให้ชุมชน โรงเรียนเป็นแหล่งพัฒนาคนในชุมชน โรงเรียนเป็นแหล่งรวมสาขาวิชาต่างๆ โรงเรียนเป็นแหล่งถ่ายทอดวัฒนธรรม โรงเรียนเป็นศูนย์อบรมของชุมชน และโรงเรียนและชุมชนมีจุดหมายเดียวกัน
สรุปได้ว่า ความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเกิดขึ้นมาเพราะโรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่มุ่งให้ประโยชน์ต่อชุมชน และให้บริการ ชุมชน โดยมีการถ่ายทอดความรู้ ปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมของชาติ เพื่อหล่อหลอมให้ผู้ที่ได้ผ่านการคัดเลือกเข้ามาสู่ระบบการเรียนการสอนภายในโรงเรียนมีคุณสมบัติเป็น “คนดี คนเก่ง มีปัญญา และมีความสุข” ตามความต้องการของสังคมและประเทศชาติต่อไป
4. หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน จัดว่าเป็นงานที่โรงเรียนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับชุมชน ไม่ว่าจะโดยการออกไปหาชุมชน หรือนำชุมชนเข้าสู่โรงเรียนก็ตาม การดำเนินการจำเป็นจะต้องมีการวางแผนจัดดำเนินงานอย่างรอบคอบ และตั้งใจจริง หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอแนวคิดไว้ดังนี้
บรรเทา กิตติศักดิ์ (ม.ป.ป. : 189) กล่าวถึง หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้น ผู้บริหารโรงเรียนกับคณะครูในโรงเรียนจะต้องมีแนวคิดในการสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนที่ตรงกัน จึงจะทำให้การสร้างความสัมพันธ์เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยหลักการที่ว่า (1) ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน มีค่ายิ่งต่อการจัดการศึกษา ถ้าโรงเรียนให้การศึกษาที่มีคุณภาพแล้วก็จะเป็นที่เชื่อถือของประชาชน ชุมชนจะเข้ามามีบทบาทให้ความช่วยเหลือและพัฒนาโรงเรียนมากขึ้น (2) การจัดการศึกษาจะต้องมีอิสระและ เสรีภาพในทางวิชาการ ผู้บริหารและคณะครูจะต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความคิดของคน ในชุมชนที่ผิดต่อหลักการทางวิชาชีพแม้ว่าชุมชนจะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงาน และ
16
(3) การติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การติดต่อสื่อสารที่ดีจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันโรงเรียนจะต้องแจ้งข่าวสารของโรงเรียนให้ชุมชนรับทราบอยู่เสมอ
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 224) กล่าวถึง หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชนไว้ดังนี้ (1) ยึดหลักมนุษยสัมพันธ์การติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนนั้น ต้องอาศัยหลักมนุษยสัมพันธ์เป็นอย่างมาก บุคลากรในโรงเรียนจึงต้องเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี (2) ยึดหลัก ความจริงใจหรือบริสุทธิ์ใจ ข้อความใดๆ ที่จะเผยแพร่สู่ประชาชนย่อมจะมีความเชื่อถือได้ ตรงไปตรงมามากที่สุด และไม่ควรมีอะไรปิดบังภายในโรงเรียน (3) ยึดหลักซื่อสัตย์ บุคลากรในโรงเรียนควรมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ และการทำงาน ควรให้ประชาชน หรือกรรมการศึกษาของโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่างๆ ด้วย (4) ยึดความคงเส้นคงวา หมายถึง ความสม่ำเสมอใน การทำงาน การติดต่อสัมพันธ์กับคน (5) ยึดความเสียสละ บุคลากรทุกคนในโรงเรียน ควรมี ความเสียสละในการทำงานเพื่อชุมชน (6) ยึดความอดทน บุคลากรในโรงเรียนจะต้องอดทนเป็น อย่างมากในการดำเนินงานของโรงเรียน และการติดต่อกับชุมชน (7) ยึดความยืดหยุ่น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ควรเป็นลักษณะโอนอ่อนผ่อนปรน การดำเนินการควรมีการยืดหยุ่นตามสถานการณ์และเวลา (8) ยึดความต่อเนื่อง การจะสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนนั้น ย่อมต้องอาศัยเวลาในการดำเนินงานที่ต่อเนื่องกัน และจำเป็นต้องมีตลอดไป (9) ยึดการครอบคลุมเนื้อหา การสร้าง ความสัมพันธ์จะต้องครอบคลุมลักษณะงานและขอบข่ายของโรงเรียนในทุกๆ ด้านอย่างเพียงพอ มิใช่มุ่งในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ (10) ยึดความเรียบง่าย การนำเสนอของโรงเรียนต่อชุมชนไม่ว่าจะเป็นด้านใด ควรคำนึงถึงความเรียบง่ายสื่อสัมพันธ์กับชุมชน (11) ยึดการสร้างสรรค์ เป็นหลักที่โรงเรียนต้องมุ่งที่จะกระทำเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และ (12) ความสามารถในการ ปรับตัว การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพของ ท้องถิ่นในแต่ละโอกาส และแต่ละสภาพปัญหา
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 27) กล่าวถึง หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ดังนี้ (1) ต้องดำเนินการด้วยความบริสุทธิ์ใจ ตรงไปตรงมา และเชื่อถือได้ (2) ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องทำต่อเนื่องตลอดเวลา (3) ต้องดำเนินให้ครอบคลุมทุกด้านที่ชุมชนมีส่วนรับผิดชอบด้วย (4) ต้องมีความง่ายและคล่องตัวในการดำเนินงาน (5) ต้องเป็นไปด้วยความสร้างสรรค์ มิใช่ทำลายภาพพจน์ของโรงเรียนและชุมชน (6) ต้องดำเนินการปรับให้เข้ากับ สภาพของชุมชน (7) ต้องดำเนินการด้วยความยืดหยุ่นใหเข้ากับสาระตามเวลาและโอกาส (8) ควรจะคำนึงความต้องการที่เกี่ยวกับความเจริญงอกงามของแต่ละคน และการพัฒนาสังคมและชุมชนไป
17
พร้อมๆ กัน (9) ควรใช้กระบวนการติดต่อสื่อสารสองทางในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และ (10) ใช้วิถีทางแห่งประชาธิปไตยในการดำเนินงาน
ภูวนาถ คงแก้ว (2539 : 27-28) กล่าวถึง หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชนมีหลักสำคัญๆ ดังนี้ (1) ต้องมีความตั้งใจจริง ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมงานทุกด้าน (2) ต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมในชุมชน (3) ต้องมีความอดทน และมุมานะในการทำงาน และ(4) ต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ตลอดจนศึกษา และเรียนรู้วิถีของชุมชน
กมล ตราชู (2541 : 11) กล่าวถึง หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ดังนี้ (1) โรงเรียนกับชุมชนจัดให้มีการดำเนินกิจกรรมด้วยความบริสุทธิ์ใจ มีความ จริงใจต่อกัน (2) โรงเรียนกับชุมชนจัดให้มีการดำเนินกิจกรรมด้วยความต่อเนื่องสม่ำเสมอ (3) โรงเรียนกับชุมชนจัดให้มีการดำเนินการพัฒนางานให้ครบทุกด้าน และครอบคลุม (4) โรงเรียนกับชุมชนจัดให้มีการดำเนินการร่วมกันด้วยความเรียบง่ายใช้ภาษาสื่อสารเข้าใจตรงกัน (5) โรงเรียนกับชุมชนจัดให้มีการดำเนินการด้วยวิธีการเสริมสร้างความเข้าใจอนดีต่อกันตามหลักเกณฑ์แห่ง ความถูกต้อง และ (6) โรงเรียนกับชุมชนจัดให้มีการดำเนินการด้วยความยืดหยุ่นเปิดโอกาสให้ ทุกฝ่ายปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังและเต็มความสามารถ
วัชรี สุขเจริญวิภารัตน์ (2542 : 28) กล่าวถึง หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้น กระทำได้ไม่ว่าจะเป็นการนำกิจกรรมภายในโรงเรียนออกสู่ประชาชนหรือนำเอาชุมชนมาเข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนจะต้องยึดหลักความบริสุทธิ์ใจ มีความปรารถนาดี ต่อกัน มีความเรียบง่ายตรงไป ตรงมา มีความเข้าใจพึงพอใจร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ความเจริญแก่ทั้งโรงเรียนและชุมชน
สาคร จันทะเลิศ (2542 : 21) กล่าวถึง หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชนนั้น โรงเรียนจะต้องมีกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้โรงเรียนกับชุมชนได้เข้าร่วมกิจกรรมกันมากที่สุด เช่น การจัดการศึกษาร่วมกัน การมีกิจกรรมร่วมกันด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการให้บริการด้านอาคาร สถานที่ บุคลากร และบทบาทหน้าที่ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ละออ เกษสุวรรณ (2544 : 21) กล่าวถึง หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้น บุคลากรในโรงเรียนต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ อย่างละเอียดลึกซึ้ง เพื่อที่จะสามารถปรับบทบาทให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
18
การดำเนินการต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจตรงไปตรงมาเป็นไปในทางสร้างสรรค์ มีความต่อเนื่องมี วิธีการหลายๆ อย่าง คล่องตัว ยืดหยุ่นได้ เหมาะสมกับสถานการณ์ เวลา และโอกาส
สรุปได้ว่า หลักเกณฑ์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้น ครูหรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องมีความรู้เกี่ยวกับชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ และดำเนินการตามขบวนการต่างๆ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง การดำเนินการควรใช้หลายๆ วิธีให้เหมาะสมตามสถานการณ์ เพื่อให้เกิดการตอบสนองในความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในโรงเรียนและในชุมชนนั้น
5. วิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ในสภาพการณ์ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนยังไม่บรรลุผลอันก่อให้เกิดความร่วมมือมากนัก โดยเฉพาะในปัจจุบันโลกมีความก้าวหน้า การพัฒนาชุมชนต้องอาศัยหลายหน่วยงานเข้าร่วมพัฒนาท้องถิ่นนั้น จึงจะมีความเจริญเท่าทันกัน วิธีการที่จะสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนให้ดีที่สุดนั้น สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541 : 20) ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ครูผู้สอน ที่จะต้องร่วมกันจัดกิจกรรมที่จะต้องนำชุมชนเข้าสู่โรงเรียน และนำโรงเรียนเข้าสู่ชุมชน รวมถึงการให้บริการแก่ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการสร้างความสัมพันธ์กับ ชุมชนของนักการศึกษาหลายท่าน ดังนี้
สุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ (2535 : 28-31) ได้เสนอวิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ 5 ประการ ได้แก่ (1) นักเรียน เป็นตัวเชื่อมระหว่างโรงเรียนกับชุมชนอยู่แล้ว โรงเรียนเป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์ได้ทุกโอกาส ในกรณีของชุมชนเมือง โรงเรียนคงจะพิจารณาถึงเงื่อนไขที่สังคมเมืองเป็นอยู่ เช่น การรณรงค์ทำความสะอาดบ้านเมือง การรณรงค์ต่อต้าน สิ่งเสพติด ต่อต้านเอดส์ สภาพแวดล้อมเป็นพิษ งานเสริมสร้างประชาธิปไตย ฯลฯ รูปแบบเช่นนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างความสัมพันธ์โดยอาศัยนักเรียนเป็นสื่อ (2) ผู้บริหารโรงเรียนและครู ควรออกไป เยี่ยมชุมชนเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะในสังคมเมืองซึ่งเวลามีอยู่อย่างจำกัด โรงเรียนควรปรับให้ สอดคล้องกับเงื่อนไขของชุมชนเพื่อไม่ทำให้ผู้ปกครองเสียเวลาในการทำมาหากินหรือรบกวนด้านอื่นๆ แก่ผู้ปกครอง ทั้งนี้โนโรงเรียนอาจจัดกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเชิญชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อเป็นการทำความรู้จักกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียนกับผู้นำชุมชน (3) เชิญผู้ปกครองนักเรียนและ ผู้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน เช่น งานวันเด็ก งานวันแม่ งานกีฬา หรืองานประจำปีของโรงเรียน ในกิจกรรมเหล่านี้โรงเรียนไม่ควรรบกวนเงินของผู้มาร่วมงาน เพราะจะทำให้เขารังเกียจ เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีแล้ว โรงเรียนอาจให้ชุมชนคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมขึ้นมา
19
เป็นตัวแทนชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกชื่อว่าเป็นกรรมการโรงเรียน หรือกรรมการศึกษาก็ได้ กรรมการชุดนี้นอกจากจะรับรู้ภารกิจของโรงเรียนแล้วยังทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้กับโรงเรียนด้วย ถ้ามีศักยภาพพอก็อาจเสนอความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ หรือมีส่วนร่วมใน การจัดหลักสูตรท้องถิ่นได้ และการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อบุตรหลานของเขาเองเป็นสิ่งที่โรงเรียนพึงกระทำ เพราะชุมชนควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่ออนาคตของ บุตรหลานของเขาด้วย อีกส่วนหนึ่งคือภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้บริหารโรงเรียนและครูไม่ควรมองข้าม เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมและสืบทอดดุจกระแสธาร แสดงออกถึงศักดิ์ศรีของการพึ่งตนเองของหมู่บ้าน ซึ่งอาจจะมีรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม จิตใจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม โรงเรียนควรจะดึงศักยภาพส่วนนี้ให้เข้ามาเกื้อหนุนการเรยนการสอนวิชาอาชีพให้จงได้ (4) เมื่อชุมชนจัดงานประเพณีต่างๆ โรงเรียนควรให้ความร่วมมือกับกิจกรรมนั้นๆ เช่น งานประจำปีของวัดในชุมชน วันสำคัญทางศาสนา งานบุญบั้งไฟ งานสงกรานต์ ฯลฯ ถ้าโรงเรียนนำครูและ นักเรียนไปร่วมตามความเหมาะสม จะทำให้ชุมชนศรัทธาโรงเรียนมากขึ้น เมื่อโรงเรียนขอความ ร่วมมืออะไร เขาก็จะช่วยเหลืออย่างเต็มใจ อีกประเด็นหนึ่งก็คือถ้าโรงเรียนมีสิ่งใดที่จะต้อง ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับทราบ ก็ถือโอกาสนี้ดำเนินการได้ทันที และ (5) จัดงานกิจกรรมที่โรงเรียนและชุมชนร่วมมือกันจัดขึ้น เช่น ปลูกต้นไม้ในวันเข้าพรรษา งานรณรงค์ทำความสะอาดวัด งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม งานประกวดหัตถกรรมพื้นบ้าน งานปลูกฝังสำนึกของประชาธิปไตย ฯลฯ โรงเรียนควรหาลู่ทางร่วมมือกับชุมชนเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์
ณรงค์ศักดิ์ ถนอมศรี (2538 : 87-93) ได้เสนอวิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ดังนี้ (1) การเชิญผู้ปกครองนักเรียนหรือประชาชนในชุมชนมาโรงเรียน (2) การรายงานเกี่ยวกับตัวนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบ (3) โรงเรียนให้ความช่วยเหลือชุมชนด้วยการให้บริการด้านต่างๆ ที่ชุมชนต้องการ (4) โรงเรียนขอความช่วยเหลือและความร่วมมือจากชุมชน (5) บริการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ของโรงเรียนแก่ชุมชน (6) การใช้ทรัพยากรในชุมชน (7) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน และ(8) การประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ
พนิจดา วีระชาติ (2542 : 55-56) ได้เสนอวิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ดังนี้ (1) จัดให้มีการปฐมนิเทศผู้ปกครองของนักเรียนในวันเปิดภาคเรียนโดยชี้แจงถึง วัตถุประสงค์ของการศึกษา และการดำเนินงานของโรงเรียนทั้งด้านการสอน การอบรมบ่มนิสัยและการพัฒนาด้านต่างๆ (2) เชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมชมโรงเรียน เช่น มาชมการเรียนการสอน ชมการแสดงของนักเรียน ชมนิทรรศการที่โรงเรียนจัดขึ้น เป็นต้น (3) เชิญผู้ปกครองมาร่วมแก้ไขปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับเด็กก้าวร้าว เด็กติดยาเสพย์ติด ฯลฯ (4) ให้ครูไปเยี่ยมผู้ปกครองและนักเรียน
20
ที่บ้าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันและมีความสนิทสนมซึ่งกันและกัน (5) ให้ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน เช่น เชิญมาเป็นวิทยากรในเรื่องที่เขามีความถนัดและชำนาญสูง เชิญมาเป็นกรรมการในงานที่โรงเรียนจัดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬา การจัดงานประเพณีหรือ กิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจร่วมกัน ถ้าเป็นไปได้ อาจเชิญผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนงานของโรงเรียน ทั้งในด้านหลักสูตร อาคารสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ของโรงเรียน และ (6) จัดตั้งสมาคมครูและผู้ปกครองขึ้น เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน และโรงเรียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น หลังจากที่สร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครองนักเรียนได้แล้ว โรงเรียนควรขยายความสัมพันธ์ไปสู่ชุมชน โดยการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนให้ชุมชนทราบ สร้างความเชื่อถือและความมั่นใจ ตลอดจนความนิยมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนโดยการกระตุ้นใหประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษา สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน หรือให้ความช่วยเหลือกิจการของโรงเรียน โรงเรียนอาจจะประเมินความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับการศึกษา และสนองความต้องการดังกล่าวให้ได้มากที่สุด และพยายามทำให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชนทั้งในทางวิชาการ และการพัฒนาท้องถิ่น โรงเรียนอาจติดต่อขอความช่วยเหลือและความร่วมมือกับ หน่วยราชการในท้องถิ่น เช่น โรงเรียน พยาบาล สถานีอนามัย สถานีตำรวจ หน่วยพัฒนาชุมชน หน่วยปราบปรามยาเสพย์ติด ศูนย์เยาวชน ศูนย์สุขภาพจิต หรือแม้แต่หน่วยงานของเอกชนที่ตั้งอยู่ในชุมชนนั้น ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัท ห้างร้านต่างๆ ที่มีอยู่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัด การศึกษาและการแก้ปัญหาของชุมชนให้มากที่สุด
สรุปได้ว่า วิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้น โรงเรียนจะต้องมีการศกษาชุมชน จัดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง บริการชุมชน จัดองค์กรช่วยประสานงานของ โรงเรียนกับชุมชน บริการชุมชน จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความร่วมมือร่วมใจระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในฐานะผู้รับใช้และผู้นำชุมชน พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งในโรงเรียนและชุมชนให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่า รับฟังความคิดเห็นของชุมชนให้มากเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงสภาพต่างๆ ให้ดีขึ้น
6. องค์ประกอบในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
สนานจิตร สุคนธทรัพย์ (ม.ป.ป. : 9-13) กล่าวว่า องค์ประกอบในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนจะต้องเกิดจาก (1) ความพร้อมของผู้ที่จะร่วมมือ หมายถึง ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีความพร้อมที่จะรู้สภาพปัญหา วิธีการแก้ปัญหา และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ เช่น ในด้านการฝึกอบรม การนิเทศ เป็นต้น (2) มีกลไกที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ เช่น มีการจัดตั้ง
21
คณะกรรมการการศึกษาของโรงเรียน สมาคมผู้ปกครองและครู เป็นต้น โดยมีการเสริมความพร้อมให้คณะกรรมการและควรกำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันในทิศทางที่พึงประสงค์ (3) มีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือ กล่าวคือ มีการวางแผนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ร่วมกันทั้งสองฝ่ายโดยมี 3 ขั้นตอน คือ วางแผนปฏิบัติ และประเมินผล แล้วรายงานการประเมินให้บุคลากร โรงเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
จุมพล กั้งโสม (2543 : 19) กล่าวว่า องค์ประกอบในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชนที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นไปด้วยดีนั้น ขึ้นอยู่กับแนวนโยบายของโรงเรียน ความพร้อมของชุมชน และการให้ความร่วมมือกันทุกฝ่าย นอกจากบทบาทดังกล่าวแล้ว ผู้บริหารโรงเรียนยังต้องทำงานเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของชุมชน เพื่อให้ การช่วยเหลืออบรม หรือเป็นวิทยากรบางเรื่องด้วย บุคลากรทุกคนในโรงเรียนเป็นผู้ทำหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ให้งานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนสัมฤทธิ์ผล โดยมี ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวกระตุ้นและผู้รับผิดชอบโดยตรง
ละออ เกษสุวรรณ (2544 : 30) กล่าวว่า องค์ประกอบในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนจะบังเกิดผลดีมากน้อยเพียงใด จะต้องดูที่แนวนโยบายของโรงเรียน ความพร้อมของโรงเรียน และชุมชนที่จะให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน มีกลไกและองค์กรที่จะทำให้เกิดความร่วมมือ ตลอดจนวางแผนงานร่วมกัน
สรุปได้ว่า องค์ประกอบในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนที่ดี ต้องเกิดจาก (1) นโยบายของโรงเรียน ถ้าหากเป็นแบบ “เปิดประตู” ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนก็จะเป็นสิ่งที่ดี และหากเป็นแบบ “ปิดประตู” ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางลบ (2) ความร่วมมือของบุคคลภายในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารครู เจ้าหน้าที่ตลอดจนนักเรียน (3) ความพร้อมของโรงเรียนทางด้านอาคารสถานที่ และเครื่องอำนวยความสะดวกและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับชุมชน และ (4) ความพร้อมของชุมชน ซึ่งต้องพร้อมที่จะให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิดเห็นอื่นๆ และให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน
7. บทบาทของโรงเรียนที่มีต่อชุมชน
โดยทั่วไปแล้วโรงเรียนมีหน้าที่หลัก คือ ให้การศึกษาแก่เยาวชน หากพิจารณาถึง บทบาทของโรงเรียนในฐานะที่โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแล้ว โรงเรียนต้องมีบทบาทและ หน้าที่ต่อชุมชนทั้งในด้านเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชน และเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชนด้วย อีกด้านหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งจากเอกสารการสอน
22
ชุดวิชาการศึกษากับชีวิตและชุมชนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2523 : 26) กล่าวถึง บทบาทของโรงเรียนที่มีต่อชุมชน ได้แก่ (1) นำการเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชน โรงเรียนในฐานะเป็นสถาบันทางการศึกษาควรจะเป็นผู้นำ ความรู้ที่แปลกใหม่และสามารถทำให้สภาพความเป็นอยู่ของ ชุมชนดีขึ้น การนำการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ชุมชนโดยอาจจะทำได้ผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น นักเรียน สมาคมครูผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงนี้ อาจเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น เช่น การปรับปรุงวิธีการประกอบอาชีพให้ดีขึ้น การสรางอาชีพใหม่ๆ ของชุมชน (2) เป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ใช้เป็นแหล่งสำหรับการศึกษาค้นคว้าวิชาการและวิชาชีพ หากจำเป็นโรงเรียนควรจัดเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับให้ความรู้แก่ชุมชนด้วย (3) เป็นศูนย์พัฒนาชุมชน ในการพัฒนาชุมชนนั้น รฐอาจไม่สามารถจัดหน่วยงานพัฒนาชุมชนให้ครบทุกตำบล หมู่บ้าน โรงเรียนซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านสถานที่ และบุคลากรควรจะทำหน้าที่เป็นศูนย์หรือผู้ประสานงานระหว่างชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาด้านต่างๆ ของชุมชน เช่น ด้านการอาชีพ อนามัย การสหกรณ์ เป็นต้น (4) เป็นแหล่ง ส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรม หน้าที่หนึ่งของโรงเรียน คือ การส่งเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรม ดังนั้นโรงเรียนจึงควรดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่นี้ ด้วยการอำนวยความสะดวก หรือเป็นตัวกลางในการรวบรวม ประกวด แข่งขัน หรือจัดงานเกี่ยวกับประเพณีหรือวัฒนธรรมของชุมชนขึ้น (5) เป็นศูนย์การดำเนินงานของทางราชการ โรงเรียนที่กระจายอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ เป็นจำนวนมาก ในระยะที่ผ่านมาจะประสบกับปัญหาเรื่องจำนวนนักเรียนลดลง ทำให้อาคารเรียนว่างลงหากปล่อยไว้จะทำให้เกิดการสูญเปล่า ดังนั้นเพื่อให้อาคารเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่ชุมชน ควรใช้ให้เป็นที่ทำงานของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง เช่น เป็นที่ทำการของอนามัยตำบล เกษตรตำบล เป็นต้น ดังนั้นโรงเรียนในอนาคตมีหน่วยงานอื่นตั้งอยู่บริเวณเดียวกันหลายหน่วยงานก็ได้ และ (6) เป็นสถานฝึกอาชีพ บทบาทนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับเป็นแหล่งวิทยาการแต่เน้นหนักเฉพาะ งานอาชีพที่เห็นว่าเหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นแต่เพียงอย่างเดียว โดยการฝึกอาชีพนั้น ควรเป็น การฝึกที่มีระยะเวลาไม่นานนัก
ปรีชา คัมภีรปกรณ์ และคณะ (2525 : 26) กล่าวถึง บทบาทของโรงเรียนที่มีต่อชุมชน ไว้ดังนี้ (1) โรงเรียนเป็นสถาบันเฉพาะสำหรับการให้การศึกษาแก่สมาชิกของชุมชน (2) บทบาท แรกและบทบาทหลักของโรงเรียนคือ การรักษาและการถ่ายทอดมรดกทางสังคมให้อยู่และให้สืบทอดต่อไป และ (3) ในชุมชนทุกชุมชนหรือทุกสังคมยอมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โรงเรียนเป็น หน่วยงานหนึ่งที่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่ดีกว่ามาสู่ชุมชน
23
กมล ตราชู (2541 : 11) กล่าวถึง บทบาทของโรงเรียนที่มีต่อชุมชนไว้ดังนี้ (1) โรงเรียนเป็นแหล่งถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่อนุชนรุ่นหลังเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่ทำหน้าที่รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่ (2) โรงเรียนเป็นแหล่งเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของชุมชนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทุกขณะ จึงมีหน้าที่ปลูกฝังวัฒนธรรมอันดีงามและมีความทันสมัยให้แก่ชุมชน (3) โรงเรียนเป็นแหล่งการพัฒนาบุคคลมีหน้าที่หล่อหลอมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยฝึกอบรม ผู้เรียนให้มีการพัฒนาทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สงคม และสติปัญญาและ (4) โรงเรียนเป็นแหล่งบริการวิทยาการชุมชน ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมสมาชิกของชุมชน มีบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์และให้บริการช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ชุมชน
นิวา อารีกิจ (2545 : 27) กล่าวถึง บทบาทของโรงเรียนที่มีต่อชุมชน คือโรงเรียน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ มาสู่ชุมชน เป็นแหล่งวิทยาการให้ชุมชน เป็นแหล่งส่งเสริมและ ถ่ายทอดวัฒนธรรม เป็นสถานฝึกอาชีพ ตลอดจนเป็นศูนย์การดำเนินงานทางด้านต่างๆ ของทางราชการด้วย
สรุปได้ว่า บทบาทของโรงเรียนที่มีต่อชุมชน ได้แก่ (1) บทบาทที่เป็นสถาบันทาง การศึกษาของสังคม จึงควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อความเป็นไปของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดยการเป็นสถานที่ให้ความรู้ ให้การฝึกอบรมแก่ชุมชน (2) บทบาทที่เป็นผู้นำการพัฒนามาสู่ชุมชน จึงต้องรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี และสิ่งแวดล้อมของชุมชน และ (3) บทบาทต่อ การปกครองและต้องปฏิบัติตามนโยบายของทางราชการและภาครัฐ โดยการพัฒนาความเป็นอยู่ ของคนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
8. บทบาทของชุมชนที่มีต่อโรงเรียน
ชุมชนย่อมมีความสัมพันธ์กับโรงเรียนอย่างแยกไม่ออก เพราะโรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนการจัดการเรียนการสอน จึงต้องให้เป็นไปตามความต้องการ หรือตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน การพิจารณา บทบาทและความสำคัญของชุมชนต่อโรงเรียน นอกจากพิจารณาจากหน้าที่ต่างๆ ของชุมชนแล้ว ยังจำเป็นต้องพิจารณาจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ภายในชุมชนนั้นด้วย เนื่องจาก สิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมทางสังคม ต่างเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตในท้องถิ่นหรือชุมชนนั้นๆ อยู่เป็นอันมาก ซึ่งปรีชา คัมภีรปกรณ์ และคณะ (2525 : 64) กล่าวถึง บทบาทของชุมชนที่มีต่อโรงเรียน ได้แก่ (1) บทบาทในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายของโรงเรียน โรงเรียนตั้งขึ้นเพื่อชุมชน ชุมชนจึงควรมีส่วนในการกำหนดเป้าหมาย นโยบายและกำหนดทิศทางของโรงเรียนในรูปแบบต่างๆ กัน ตามระดับของการมีส่วนร่วมและ
24
การตัดสินใจ เช่น การมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูล การมีส่วนร่วมในการต ีความข้อมูลและ เสนอแนวทางเลือก การมีส่วนร่วมในการกำหนดทางเลือกและข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในแนวนโยบายของโรงเรียนเป็นต้น (2) บทบาทในการสนับสนุนภารกิจหลักของโรงเรียน การสอนต้องได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ปกครองและชุมชน โดยชุมชนควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ทางโรงเรียนว่า โรงเรียนมีประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนเป็นอย่างไร และ (3) บทบาทในการให้บริการด้านทรัพยากรแก่โรงเรียน โรงเรียนมักมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากร แต่ชุมชนจะมีความพร้อมมากกว่า ชุมชนจึงควรให้บริการทรัพยากรแก่โรงเรียนได้หลายลักษณะและหลายรูปแบบ
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 242) กล่าวถึง บทบาทของชุมชนที่มีต่อโรงเรียน ได้แก่ (1) ชุมชนมีส่วนร่วมต่อการกำหนดปรัชญาและจุดมุ่งหมายของโรงเรียน โดยการกำหนดให้ สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ (2) ชุมชนมีบทบาทและความสำคัญในการที่โรงเรียนจะพัฒนาหลักสูตร (3) ชุมชนมีบทบาทในการที่โรงเรียนจะพัฒนาคนอันเป็นส่วนสำคัญของชุมชนนั้น (4) ชุมชนมีบทบาทในการที่ช่วยโรงเรียนพัฒนาปรับปรุงการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (5) ชุมชนมีบทบาทในการช่วยอนุรักษ์ และถ่ายทอดวัฒนธรรม (6) ชุมชนมีบทบาทที่จะช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียนในด้านต่างๆ (7) ชุมชนมีบทบาทและความสำคัญต่อโรงเรียน ในฐานะที่ชุมชนเป็นที่ตั้งของหน่วยงาน องค์การและสถาบันต่างๆ รวมทั้งที่ตั้งของโรงเรียนเองด้วย และ (8) ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมและสนับสนุนส่งเสริมโรงเรียน
สรุปได้ว่า บทบาทของชุมชนที่มีโรงเรียน ได้แก่ (1) บทบาทในการส่งเสริมพัฒนา การศึกษาของโรงเรียนโดยการส่งบุตรหลานให้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียน (2) บทบาทในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายของโรงเรียนโดยมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ และ (3) บทบาทในการสนับสนุนด้านภารกิจหลักของโรงเรียน ด้วยการใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่ชุมชนมีอยู่ให้กับโรงเรียน ซึ่งถือได้ว่าเป็นบทบาทสำคัญของชุมชนที่พึงมีให้กับทางโรงเรียน
9. บทบาทของผู้บริหารกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนนั้น ถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องดำเนินการอย่างมีเป้าหมาย โดยต้องอาศัยนโยบายและการบริหารจัดการเป็นหลักการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนจึงขึ้นอยู่กับศักยภาพของโรงเรียน และบุคลากรในโรงเรียนบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนจึงขึ้นอยู่กับศักยภาพของโรงเรียนและบุคลากรในโรงเรียนบทบาทของผู้บริหาร
25
โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนดังที่นักการศึกษา หลายท่านได้กล่าวได้ ดังต่อไปนี้
กิตติมา ปรีดีดิลก (2532 : 245) กล่าวถึง บทบาทของผู้บริหารกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนคือ (1) กำหนดรูปแบบหรือแนวทางในการประสานงาน ผู้บริหารจะเป็นผู้วางแนวทางรูปแบบของความสัมพันธ์และการประสานสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่างๆ (2) ทำหน้าที่ประสานงาน ผู้บริหารร่วมลงมือปฏิบัติงาน เป็นผู้ประสานงานและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนด้วยตนเอง บางครั้งจะต้องเป็นผู้ประสานงานระหว่างชุมชนกับแหล่งวิทยาการ หรือ หน่วยงานอื่นในการพัฒนาชุมชนนั้น (3) เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโรงเรียนถือว่าเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิของชุมชนดังนั้นผู้บริหารจะมีบทบาทสำคัญในการนำการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ชุมชน และ (4) เป็นผู้แก้ปัญหา ปัญหาบางประการของชุมชนจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือแนะนำจากบุคคลภายนอก ซึ่งบทบาทนี้จะตกอยู่กับผู้บริหารโรงเรียนในการให้คำแนะนำช่วยเหลือ
ประสาน สีสันต์ (2538 : 51) กล่าวถึง บทบาทของผู้บริหารกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ได้แก่ (1) บทบาทในด้านการประสานงานราชการแก่ชุมชน โรงเรียนเป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุดโรงเรียนจึงเป็นแหล่งเผยแพร่ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของทางราชการและชุมชน ปกติผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำชุมชน ผู้บริหารจึงเป็นที่ปรึกษาและคอยให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้แก่ชุมชน (2) บทบาทในการสร้างสัมพันธภาพอันดีในโรงเรียน สัมพันธภาพในโรงเรียนมีความสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์กับภายนอกเปนอย่างมาก หากความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนไม่ดีมีความแตกร้าวภายในจะเป็นเครื่องทำลายความร่วมมือและกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ และการดำเนินงานสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนด้วย บุคลากรภายนอกจะขาดศรัทธาเชื่อถือ โรงเรียนจะหวังให้ชุมชนร่วมมือสนับสนุนจึงเป็นเรื่องยาก (3) บทบาทในด้าน การประชาสัมพันธ์โรงเรียน การประชาสัมพันธ์เป็นวิธีการที่ต้องมีแผนและต้องเป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะสร้าง หรือก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเพื่อให้ โรงเรียนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและสนับสนุนร่วมมือกันและกัน งานประชาสัมพันธ์เป็นงานระดับนโยบายของโรงเรียน และถือว่าเป็นงานที่ต้องใช้เทคนิค ใช้ความจริงเกี่ยวกับนโยบายและ ผลงาน วิธีการและบทบาทการทำงานของโรงเรียน คือ การนำความจริงเผยแพร่ออกไปและรับฟังความคิดเห็นของชุมชนด้วย (4) บทบาทการใช้ชีวิตร่วมในชุมชน ตามปกติผู้บริหารมักมีโอกาสติดต่อกับประชาชนเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเดินทางไปและกลับจากโรงเรียน ตามถนนหนทาง ตามร้านค้า ตามบ้าน หรือตามงานสังคมต่างๆ แม้ว่าจะเป็นการพบปะกันโดยบังเอิญหรือเหตุการณ์
26
ธรรมดา ผู้บริหารไม่ควรละเลยที่จะสร้างความสัมพันธ์ โดยการพูดจาทักทายปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี ผู้บริหารบางคนอาจะเป็นคนในท้องถิ่นใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน ควรได้ศึกษาทำความเข้าใจชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนนั้นเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการปรับตัวเข้ากับสังคมของชุมชน ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนและชักจูงคณะครูและนักเรียนให้คำนึงถึงบทบาทด้านนี้อยู่เสมอ จะทำให้คนในชุมชนเห็นว่าโรงเรียนกับชุมชนเป็นสิ่งที่ไม่ได้แยกออกจากกัน และสมาชิกของชุมชนจะเกิดความรู้สึกรับผิดชอบต่อโรงเรียนมากขึ้น (5) บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารในการช่วยเหลือครู และบิดามารดาหรือผู้ปกครองมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน เปิดโอกาสและสนับสนุนให้ผู้ปกครองและครูได้มีโอกาสพบปะกัน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาหรือผู้ปกครองมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และผู้ปกครองจะได้ให้ความสนใจในกิจการของโรงเรียนซึ่งมีส่วนในการพัฒนาของเด็ก การสร้าง ความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง นอกจากจะเป็นการกระชับความสนิทสนมระหว่างกันให้มั่นคงแล้วโรงเรียน ยังอาจได้รับความช่วยเหลือในด้านอุปกรณ์และกำลังทรัพย์จากผู้ปกครองอีกด้วย และ (6) บทบาทในด้านสัมพันธ์ต่อนักเรียนและศิษย์เก่า นักเรียนและศิษย์เก่าของโรงเรียนเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทต่อ การเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณ และการดำเนินงานของโรงเรียน เมื่อโรงเรียนสามารถสร้างความพึงพอใจแก่นักเรียนและศิษย์เก่า โรงเรียนก็จะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี
พนิจดา วีระชาติ (2542 : 18) กล่าวถึง บทบาทของผู้บริหารกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ได้แก่ (1) ผู้บริหารต้องตระหนักในความสำคัญของชุมชน (2) ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญในการที่จะกระตุ้นให้ครูและบุคลากรทางวงการศึกษาสนใจเอาใจใส่ ทำความเข้าใจชุมชน ผู้บริหารต้องทำตนให้ชุมชนยอมรับนับถือ (3) ผู้บริหารต้องทำตนให้สามารถติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างดี (4) ผู้บริหารต้องรู้จักบุคลากรในโรงเรียนดี (5) ผู้บริหารต้องมี ความกระตือรือร้นในการทำความเข้าใจกับชุมชน และ (6) ผู้บริหารต้องมีบทบาทในการพัฒนา หลักสูตรให้สอดคล้องและสนองความต้องการของชุมชน
สรุปได้ว่า บทบาทของผู้บริหารกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน นั้นผู้บริหารจะต้องมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้าใจที่ดีและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและให้การสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญในอันที่จะช่วยให้การดำเนินงานของโรงเรียนสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับ ชุมชนได้เป็นอย่างดี
27
10. แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
โรงเรียนเป็นสถาบันหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนและมีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน จะทำให้โรงเรียนและชุมชนสามารถร่วมกันพัฒนาการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมสร้าง ความสัมพันธ์กับชุมชนมีแนวทางและข้อเสนอแนะไว้ 5 แนวทาง (สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 51-66) ดังต่อไปนี้
10.1 การสร้างมนุษยสัมพันธ์ มนุษยสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ว่าด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีของบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจะมีผลให้ การดำรงชีวิตร่วมกันอย่างราบรื่น ตลอดจนการทำงานด้วยกัน เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และทำให้ทุกฝ่ายได้รับความพึงพอใจในที่สุด ดังนั้นบุคลากรในโรงเรียนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้าง มนุษยสัมพันธ์ เพื่อให้สามารถดำเนินงานร่วมกันกับชุมชนได้อย่างเหมาะสม
หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์
10.1.1 พัฒนาตนเองเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น ลักษณะท่าทาง การแต่งกาย การรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ และความรอบรู้ด้านต่างๆ เป็นต้น
10.1.2 พัฒนาตนเองเพื่อให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี เช่น อ่อนน้อม มีน้ำใจ อารมณ์ดี เป็นมิตรกับทุกคน ให้ความร่วมมือ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นต้น
10.1.3 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างข้าราชการกับประชาชน เช่น เข้าใจและยอมรับในวิถีชีวิตของชุมชน สำนึกในหน้าที่ เต็มใจให้บริการ สุภาพเรียบร้อย ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม และสามารถใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารได้
ดังนั้น มนุษยสัมพันธ์จึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่งในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยง่าย และบุคลากรในโรงเรียนปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายด้วยความมั่นใจ
10.2 การศึกษาชุมชน (Community Study)
การศึกษาชุมชน คือ การสำรวจ วิเคราะห์ หาความจริงเกี่ยวกับสภาพของสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความต้องการ ปัญหาชุมชนนั้นๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ดังแสดงไว้ในแผนภูมิที่ 3
28
แผนภูมิที่ 3 แสดงวิธีการศึกษาชุมชน
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 52
แนวทางในการศึกษาชุมชนที่ดี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจ จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลของชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 53-54) ดังต่อไปนี้
10.2.1 สภาพพื้นฐาน เช่น ประวัติความเป็นมา แหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติแหล่งทรัพยากรทางโบราณคดี ที่ตั้ง ส่วนราชการ และศาสนสถาน ขนาดพื้นที่ ลักษณะของ ภูมิประเทศและภูมิอากาศ และสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น
10.2.2 ประชากร เช่น โครงสร้างของประชากร เช่น วัย เพศ จำนวนครัวเรือน ขนาดของครอบครัว การปฏิบัติของคนในชุมชน เครือญาติ อัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัย การศึกษาของประชากรในชุมชน อุปกรณ์ การเรียนการสอน จำนวนนักเรียนแยกตามเพศวัยต่างๆ สุขภาพอนามัย การเจ็บป่วยของประชากรในชุมชน และการบริการสุขภาพอนามัย อาหาร การกินและน้ำดื่มน้ำใช้
10.2.3 เศรษฐกิจ เช่น ลักษณะที่อยู่อาศัย การถือครองที่ดินทำกิน เช่น เช่าหรือของตนเอง การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การว่างงานหรือการทำงานไม่คุ้มค่าแรง รายจ่าย การเก็บออม การลงทุน อาชีพ อาชีพหลัก อาชีพรอง การกู้ยืม แหล่งเงินกู้ ธนาคาร พ่อค้า อัตราดอกเบี้ย ผลตอบแทนจากการลงทุนร่วมกัน การใช้วิทยาการในการผลิต การคมนาคมใน ชุมชนและการขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาด การรับจ้าง อัตราค่าจ้างต่อวัน กลุ่มธุรกิจในชุมชนที่นำไปสู่การช่วยเหลือตนเอง และกิจกรรมต่างๆ ที่นำไปสู่การเพิ่มพูนวิทยาการแผนใหม่ในการประกอบอาชีพ

วิธีการศึกษาชุมชน

(1) ศึกษาชุมชนด้วยการสังเกต
(2) ศึกษาด้วยสัมภาษณ์
(3) แบบสอบถาม
(4) แจงนับที่สมบูรณ์

(1) รู้ปัญหาในชุมชน
(2) รู้ผลกระทบต่อชุมชน
(3) รู้ถึงลักษณะผู้นำที่ดี
(4) รู้แหล่งทรัพยากร
(5) รู้ถึงแนวทางในการแก้ปัญหาและอุปสรรคในชุมชน
(6) รู้แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประโยชน์
29
10.2.4 วัฒนธรรม เช่น โครงสร้างทางวัฒนธรรมในชุมชน ความเชื่อ ประเพณี ค่านิยม ข้อห้ามต่างๆ ในชุมชน ความสัมพันธ์ของสถาบันทางศาสนากับชุมชน บทบาทของสถาบันทางศาสนาที่มีต่อชุมชนในเชิงพัฒนา สถานภาพของสตรีในชุมชน เยาวชน เด็ก คนชรา และพลังของวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน
10.2.5 องค์กรชุมชนและกลุ่มต่างๆ เช่น โครงสร้างขององค์กรในการปกครองตนเองในชุมชนระบบผู้นำ อำนาจกลุ่มต่างๆ ในชุมชน อันนำไปสู่การช่วยเหลือตนเองของประชาชนในชุมชน คณะกรรมการในชุมชน บุคคลที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจในชุมชน และคณะร่วมมือของ ประชาชนที่มีต่อกิจกรรมของส่วนรวม
ผู้บริหารโรงเรียน ครู อาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโรงเรียน จึงจำเป็นจะต้องศึกษาชุมชนด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเข้าใจสภาพพื้นฐานชุมชน อันเป็นแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้น
10.3 การเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ถือเป็นงานหลักที่มีผลต่อการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนควรจะให้ความสำคัญและถือปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะถ้าโรงเรียนกับชุมชนมการร่วมกิจกรรมต่างๆ กันแล้ว ความรู้สึกผูกพัน ความรักใคร่หวงแหนก็ย่อมเกิดขึ้น ในการเข้าร่วมกิจกรรมชุมชนของบุคลากรในโรงเรียนนั้น ทุกกิจกรรมสามารถที่จะเข้าร่วมได้ โดยการเรียนรู้จากคนในท้องถิ่น เพื่อให้ทราบข้อปฏิบัติตนในการเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างถูกต้องมั่นใจ โดยเฉพาะสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย อย่างเช่น ชุมชนมุสลิมนั้น สถานศึกษาสามารถนำนักเรียนไปร่วมกิจกรรมเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 55, 63)
10.4 การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงเรียน โรงเรียนมีภารกิจในการจัดการศึกษา เพื่อสมาชิกของชุมชน การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนรับรู้ปัญหา ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับทราบผลการดำเนินงานจะช่วยให้โรงเรียนและชุมชนมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานนั้น อาจกระทำได้ดังต่อไปนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 63-65) 10.4.1 เข้าร่วมหรือชมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่น การแข่งขันกีฬากิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ กิจกรรมวันแม่ กิจกรรมวันสงกรานต์ และกิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น
10.4.2 การปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ โรงเรียนควรเชิญผู้ปกครองของนักเรียนเข้าใหม่มาร่วมประชุมในการปฐมนิเทศ เพื่อจะได้ทราบระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน และจะได้ช่วยกันกวดขันบุตรหลานของตนให้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
30
10.4.3 การร่วมปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน ชุมชนอาจเข้ามามีส่วนร่วมในการ ปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนได้ ทั้งด้านแรงงาน ความคิด และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้โรงเรียนพัฒนาขึ้นทุกด้าน สามารถดำเนินตามภารกิจได้ดียิ่งขึ้น
10.4.4 การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงเรียนในรูปคณะทำงานตามควรแก่กรณี
10.4.5 กิจกรรมอื่นๆ โรงเรียนสามารถให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงเรียนได้อีกอย่างหลากหลาย แล้วแต่ลักษณะของพื้นที่ กฎ ระเบียบที่กำหนด
การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงเรียน สามารถดำเนินการได้ ดังแสดงไว้ในแผนภูมิที่ 4
แผนภูมิที่ 4 แสดงการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงเรียน
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 65
การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานนั้น จะทำให้เกิดความสามัคคีระหว่าง ผู้ปกครอง นักเรียน ประชาชน กับบุคลากรในโรงเรียน ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และส่งผลให้โรงเรียนพัฒนาขึ้น เป็นที่ชื่นชมร่วมกัน
10.5 การให้บริการชุมชน เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นให้ชุมชนได้เข้ามาใช้บริการด้านต่างๆ เพื่อให้ชุมชนเห็นว่าโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ สามารถให้บริการแก่ชุมชนได้ ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน การให้บริการชุมชน สามารถ ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 65-66) เช่น
10.5.1 จัดบริการด้านอาคารสถานที่ โดยให้ชุมชนใช้สถานที่ของโรงเรียนในกิจกรรมต่างๆ ใช้หอประชุมเพื่อการจัดงานประเพณี ใช้สถานกีฬาเพื่อการออกกำลังกาย

โรงเรียน

ชุมชน
(1) เข้าร่วมหรือชมกิจกรรมต่างๆ
(2) เข้าร่วมในการปฐมนิเทศนักเรียน
(3) ร่วมปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน
(4) ร่วมในการดำเนินงานในรูปคณะทำงาน เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา
(5) เข้าร่วมกิจกรรมอื่น
31
10.5.2 จัดบริการความรู้และข่าวสารให้แก่ชุมชน เช่น จัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ จัดการสอนหรือฝึกอบรมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพให้แก่ชุมชน
10.5.3 จัดบริการวัสดุ อุปกรณ์ให้แก่ชุมชน เช่น จัดอุปกรณ์กีฬาให้เยาวชนได้ออกกำลังกาย ให้ชุมชนได้ยืมใช้เครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์ไฟฟ้าในการจัดงานประเพณี เป็นต้น
10.5.4 จัดกิจกรรมนันทนาการ ประเพณี วัฒนธรรมให้แก่ชุมชนตามโอกาส อันเหมาะสมและตรงตามความต้องการ เช่น จัดแข่งขันกีฬา จัดงานศิษย์เก่า จัดบริการประเพณี ท้องถิ่น เป็นต้น
10.5.5 จัดบริการช่วยเหลือให้แก่นักเรียนที่ขาดแคลนในด้านต่างๆ เช่น บริการอาหารกลางวัน เครื่องเขียน แบบเรียน ทุนการศึกษา ฯลฯ
10.5.6 จัดโรงเรียนให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาชุมชนในเรื่องต่างๆ เช่น ความยากจน โรคภัยไข้เจ็บ การขาดแคลนน้ำ การรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
การให้บริการชุมชนนั้น โรงเรียนสามารถดำเนินการได้ดังแสดงไว้ในแผนภูมิที่ 5
ให้บริการควรตระหนัก โรงเรียนจักต้องคำนึง
หลายรูปแบบให้ทั่วถึง ชุมชนจึงรักโรงเรียน
แผนภูมิที่ 5 แสดงการให้บริการชุมชน
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 66
สรุปได้ว่า แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น โรงเรียนสามารถดำเนินการได้ทั้งหมด 5 วิธี ซึ่งได้แก่ (1) การสร้างมนุษยสัมพันธ์

(1) บริการด้านอาคารสถานที่
(2) บริการความรู้และข่าวสาร
(3) บริการวัสดุอุปกรณ์
(4) จัดกิจกรรมนันทนาการ ประเพณี วัฒนธรรม
(5) ช่วยเหลือนักเรียนขาดแคลน
(6) โรงเรียนเป็นศูนย์กลางพัฒนา

โรงเรียน

ชุมชน
32
(2) การศึกษาชุมชน (3) การเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน (4) การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงเรียน และ (5) การให้บริการชุมชน
แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่องโรงเรียนกับชุมชน
เซอร์จิโอวานนี่ และคณะ (Sergiovanni and Others, 2003 : 246) ได้เสนอแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ 6 ด้าน คือ (1) การส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้าใจชุมชน ของตน (2) การช่วยให้ชุมชนเข้าใจในศักยภาพของชุมชน (3) การให้บริการทางการศึกษาแก่ชุมชน (4) การช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน (5) การให้บริการที่โรงเรียนทำได้โดยร่วมมือกับองค์กรอื่นในชุมชน และ (6) การประเมินนโยบายและแผนงานการพัฒนาชุมชนในส่วนที่โรงเรียนเกี่ยวข้อง โดยแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับกรมสามัญศึกษา (2539 : 54-62) ที่กำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่องโรงเรียนกับชุมชน ได้แก่ (1) การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (2) การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน (3) การให้บริการชุมชน (4) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน (5) การได้รับความสนับสนุนจากชุมชนและ (6) การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
กรมสามัญศึกษา (2539 : 54) ได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนงานสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ไว้ดังนี้
1.1 การศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลกับชุมชน
1.1.1 มีการรวบรวมข้อมูล
1.1.2 มีหลักฐานให้ตรวจสอบได้
1.1.3 มีการจัดระบบข้อมูล
1.1.4 มีการวิเคราะห์ข้อมูล
1.1.5 มีการนำข้อมูลไปใช้
1.2 การทำแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
1.2.1 มีแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
1.2.2 จัดทำแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
33
1.2.3 มีผู้รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามแผน
1.2.4 มีการปฏิบัติงานตามแผน
1.2.5 มีการติดตามประเมินผล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2529 : 440-446) ได้อธิบายถึงกระบวนการวางแผนโครงการไว้ว่า มีลักษณะเป็นกระบวนการที่มีติดต่อสืบเนื่องกันแบบไม่มีที่สิ้นสุด หรือเรียกว่า “วงจรโครงการ” (Project Cycle) ซึ่งอาจแบ่งกระบวนการวางแผนโครงการออกได้เป็น 5 ขั้นตอน ดังแสดงไว้ในแผนภูมิที่ 6
แผนภูมิที่ 6 แสดงวงจรโครงการ
ที่มา : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2529 : 440-446
สุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ (2535 : 24-26) กล่าวถึง การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ว่า สิ่งที่โรงเรียนควรเรียนรู้จากชุมชนคือ (1) ความเป็นมาของชุมชน (2) แบบแผนการผลิตของชุมชน (3) วัฒนธรรมและประเพณีของชมชน (4) อัตราการเรียนต่อของ
34
นักเรียน (5) ตัวนักเรียนและครอบครัว (6) องค์ความรู้และเครื่องมือการผลิต และ (7) ผู้นำชุมชน ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการจัดการเรียนการสอนวิชาอาชีพในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
กมล ตราชู (2541 : 13) กล่าวถึง การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ว่า โรงเรียนกับชุมชนต้องดำเนินการร่วมกันโดย (1) ศึกษาวิเคราะห์ภาพรวมของโรงเรียน ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปรัชญาหรือเป้าหมาย โดยพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพของชุมชน (2) กำหนดจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนแต่ละด้านให้ชัดเจน พร้อมกำหนดแผนหรือแนวทางพัฒนา จุดเน้นตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง (3) ดำเนินการจัดทำ รายละเอียดหรือหัวข้อที่โรงเรียนต้องการบรรจุไว้ในธรรมนูญโรงเรียน (4) ตรวจสอบความสมบูรณ์ ความเรียบร้อยของเนื้อหาและการใช้ภาษา พร้อมเสนอคณะกรรมการโรงเรียนร่วมลงนาม และ (5) จัดพิมพ์ ประกาศใช้และเผยแพร่เป็นธรรมนูญโรงเรียน
บริษัท สยามเอชอาร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (18 กันยายน 2544, Online) ให้ความหมายของ การวางแผนว่าเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ว่าจะให้เกิดสิ่งใดขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งกำหนดแนวทาง ขั้นตอนหรือวิธีการในการปฏิบัติ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ดังนั้นการวางแผน จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับอนาคต และเป็นกระบวนการของการตกลงใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร จะทำเมอใด จะทำอย่างไร ใครจะเป็นผู้ทำ อาจกล่าวว่าเป็นการตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การนั่นเอง โดยมีขั้นตอนในการจัดทำแผน 5 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 การเตรียมการก่อนการวางแผน ได้แก่ (1) การจัดตั้งหน่วยงานหรือ กลุ่มบุคคลขึ้นเพื่อรับผิดชอบในการวางแผน (2) กำหนดวิธีการวางแผนว่ามีขั้นตอนอย่างไร จะต้องทำอะไรบ้าง (3) การรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อันได้แก่ ทรัพยากรบริหาร สถิติต่างๆ และปัญหาต่างๆ
ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลและปัญหา ศึกษางานที่ปฏิบัติมาแล้วว่ามีปัญหาอะไร ด้านใดที่จะต้องแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่พึงประสงค์ ต้องการให้เกิดสิ่งใหม่อะไรบ้าง และองค์การ มีเป้าหมายอะไร
ขั้นที่ 3 การกำหนดแผนงานและโครงการต่างๆ คือ การเขียนเป็นแผน ซึ่งประกอบด้วยแผนงาน โครงการ และกิจกรรม ซึ่งในการกำหนดแผนงานและโครงการต่างๆ นั้นจะต้องกำหนด สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ (1) กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย การกำหนดเป้าหมายของแผนงาน ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ และการกำหนดเป้าหมายของโครงการต้องสัมพันธ์กับ แผนงานด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ดีให้มีผลอย่างจริงจัง ในทางปฏิบัติควรกำหนดไว้ใน เชิงปริมาณ เพราะการกำหนดไว้ในเชิงคุณภาพนั้นยากที่จะวัดได้ (2) กำหนดวิธีดำเนินการหรือ
35
กิจกรรม เป็นการกำหนดแนวปฏิบัติว่าจะทำอย่างไรบ้างตามลำดับกำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบ กำหนดเวลาในการปฏิบัติ และวิธีประเมินผล และ (3) กำหนดค่าใช้จ่าย จะต้องใช้งบประมาณสำหรับดำเนินการเท่าใด ต้องคำนวณรายระเอียดทุกแง่ทุกมุม และต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
ขั้นที่ 4 การปฏิบัติตามแผน คือ การนำแผนออกปฏิบัติ ซึ่งต้องใช้กระบวนการบริหารต่างๆ ได้แก่ การจัดระบบงาน การจัดวางตัวบุคคล การอำนวยการสั่งการ การตรวจนิเทศ ควบคุมงาน เป็นต้น หลักทั่วไปในการทำแผนออกปฏิบัติมีดังนี้ (1) หัวหน้างานและผู้ปฏิบัติต้องศึกษาแผนให้เข้าใจเสียก่อน เช่น เข้าใจจุดประสงค์ ต้องรู้ว่าทำอะไร เมื่อไร มีใครร่วมงาน มีงบประมาณมากน้อยเพียงใด เป็นต้น (2) หัวหน้างานต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้คนงานอย่างชัดเจน (3) ชี้แจงการปฏิบัติงานตามแผนให้ทราบโดยละเอียด เพื่อพรอมจะปฏิบัติงานได้ (4) จะต้องมีการ ประสานงานระหว่างหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในงานสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไป (5) จัดให้มี การควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน และ (6) จัดทำปฏิทินปฏิบัติงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
ขั้นที่ 5 การประเมินผล เมื่อได้ดำเนินการตามแผนไประยะหนึ่งควรมีการตรวจสอบประเมินผลงาน การประเมินผลที่นิยมทำกันคือ ประเมินในระยะครึ่งเวลาของแผนและในเวลาสิ้นสุดของแผน เพื่อให้รู้จุดอ่อน จุดแข็ง ข้อบกพร่อง อุปสรรคต่างๆ จะได้แก้ไขปรับปรุงแผนให้ดีต่อไป
สรุปได้ว่า การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง การศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงานของโรงเรียนและใช้เป็นแนวทางสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
2. การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน
กรมสามัญศึกษา (2539 : 55-56) ได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน ไว้ดังนี้
2.1 การกำหนดอุดมการณ์เพื่อสร้างเสริมคุณธรรมลักษณะนิสัยและความประพฤติ
2.1.1 มีอุดมการณ์ของโรงเรียน
2.1.2 กำหนดอุดมการณ์ของโรงเรียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
2.1.3 มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
2.1.4 มีการกำหนดวิธีและแนวปฏิบัติให้เป็นไปตามอุดมการณ์
2.1.5 มีหลักฐานที่ปรากฏให้เป็นผลตามอุดมการณ์นั้นๆ
2.2 การสร้างเกียรติประวัติทางด้านวิชาการ
2.2.1 มีการประกวดแข่งขัน หรือแสดงผลงานทางวิชาการ
36
2.2.2 มีหลักฐานการประกวด แข่งขัน หรือแสดงผลงานทางวิชาการ
2.2.3 มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
2.2.4 มีการเผยแพร่ให้เป็นที่ปรากฏแก่ชุมชน
2.2.5 มีการประกาศผลงานดีเด่น
2.3 การสร้างเกียรติประวัติทางด้านจริยธรรมและคุณธรรม
2.3.1 มีการส่งเสริมให้บุคลากรและนักเรียนประกอบคุณงามความดี
2.3.2 มีผลงานหรือกิจกรรมที่แสดงว่าได้มีการปฏิบัติในการปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรม
2.3.3 มีการประกวดคุณงามความดีของบุคลากรและนักเรียน
2.3.4 มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
2.3.5 บุคลากรและนักเรียนมีความประพฤติดีงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย
2.4 การสร้างเกียรติประวัติทางด้านกีฬา
2.4.1 มีการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน
2.4.2 มีการสนับสนุนการเล่นกีฬา
2.4.3 มีการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาภายนอก
2.4.4 มีการประกาศเกียรติคุณผลงานดีเด่นด้านกีฬา
2.4.5 มีการเผยแพร่ให้ปรากฏแก่ชุมชน
2.5 การรวบรวมและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน
2.5.1 มีการรวบรวมเกียรติประวัติของโรงเรียนไว้เป็นหลักฐานมีการเผยแพร่ให้ทราบภายในโรงเรียน
2.5.2 มีการเผยแพร่ให้ปรากฏแก่ชุมชน
2.5.3 มีการจัดเก็บรักษาไว้อย่างเป็นระบบ
หวน พินธุพันธ์ (2528 : 126) กล่าวว่า การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของ โรงเรียนนั้น สามารถกระทำได้ด้วยการประชาสัมพันธ์ซึ่งทางโรงเรียนต้องดำเนินการดังนี้ (1) จัดให้มีสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสารของโรงเรียน (2) จัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประจำโรงเรียน (3) จัดเผยแพร่ข่าวสารของโรงเรียนทางสื่อมวลชน (4) ให้นักเรียนทราบข่าวสารของโรงเรียนที่ ถูกต้อง และ (5) ให้ครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ คนงานภารโรงได้ทราบข่าวสารของโรงเรียนที่ถูกต้อง ถ้าหากผู้ปกครองนักเรียนหรือประชาชนมาติดต่อโรงเรียนจะได้รับข่าวสารที่ถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งนอกเวลาราชการหรือวันหยุด
37
รุ่ง แก้วแดง (2543 : 161-162) กล่าวไว้ในหนังสือปฏิวัติการศึกษาไทย ซึ่งโรงเรียนมัธยมศึกษาสามารถนำมาเป็นแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน ได้ เนื่องจากโครงการครูแห่งชาตินั้นได้กำหนดขั้นตอนเพื่อใช้ในการดำเนินงานไว้ดังนี้ (1) กำหนดมาตรฐานด้านความรู้ ความสามารถ และผลงานของคนที่เป็นครูแห่งชาติ ตลอดจนเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ประเมิน (2) จัดทำคู่มือสำหรับประเมินผู้ที่สมควรจะเป็นครูแห่งชาติ ซึ่งในคู่มือจะกำหนด มาตรฐานและคุณสมบัติของครูแห่งชาติ ผู้ประเมิน วิธีการประเมิน ฯลฯ และ (3) ดำเนินการใน ทางปฏิบัติ โดยแต่งตั้งผู้ประเมิน ทำการประเมิน ตัดสิน ยกย่องให้รางวัล ค่าตอบแทน และให้ ครูแห่งชาติได้ทำหน้าที่บทบาทใหม่ในฐานะครูต้นแบบสำหรับการพัฒนาครูต่อไป
ภัทรสณี วงศ์ชัย (2545 : 25) กล่าวว่า การที่จะพิจารณาเลือกสื่อในการเผยแพร่นั้น จะต้องเขาใจเนื้อหาของสื่อเหมาะสมกับวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด ข้อดีข้อเสียของการสื่อแต่ละประเภทนั้นนับว่าเหมาะสมกับที่จะใช้ในการเผยแพร่นั้นๆ หรือไม่ ทั้งนี้ต้องดูปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่ งบประมาณ และพื้นฐานความรู้ จำนวนหรือขนาดของผู้รับสาร เป็นต้น ตลอดจนผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้สื่อชนิดนั้นๆ และมีทักษะในการติดต่อ สื่อสารด้วย
จามจุรี จำเมือง (2546 : 11-16) กล่าวว่า การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน นั้นสามารถทำได้ 7 วิธีดังนี้ (1) แสดงมิตรจิตต่อชุมชน (2) จดหมายข่าวสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน (3) ส่งบทความไปลงหนังสือพิมพ์ (4) รายงานทางวิทยุและโทรทัศน์ (5) จัดการประชุมระหว่างครูกับผู้ปกครอง (6) จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และ (7) จดหมายจากโรงเรียน ซึ่งเป็นหนทางที่จะทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญของโรงเรียน และเกิดการกระชับสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โรงเรียนต้องการให้ชุมชนและผู้ปกครองเข้ามามีสนับสนุนโรงเรียนฉันใด ชุมชนและผู้ปกครองก็ต้องการให้โรงเรียน ช่วยเหลือสนับสนุนบุตรหลานของเขาที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนฉันนั้น
สรุปได้ว่า การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน หมายถึง การกำหนด อุดมการณ์ เพื่อสร้างเสริมคุณธรรม ลักษณะนิสัย และความประพฤติของบุคลากรและนักเรียนใน โรงเรียน เพื่อสร้างและเผยแผ่เกียรติประวัติทางด้านวิชาการ คุณธรรมจริยธรรมและ กีฬา รวมทั้งการรวบรวมผลงานของบุคลากรและนักเรียน และเผยแพร่เกี่ยวกับประวัติของโรงเรียน
38
3. การให้บริการชุมชน
กรมสามัญศึกษา (2539 : 57-59) ได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริการชุมชน ไว้ดังนี้
3.1 การบริการข่าวสาร ให้ข้อมูลความเคลื่อนไหวให้ชุมชนทราบด้วยการจัดบริการห้องสมุดชุมชน วิทยุ หนังสือพิมพ์
3.2 การส่งเสริมสุขภาพอนามัยจัดให้มีโครงการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย แก่ชุมชนมีโครงการตลอดจนสุขภาพให้ชุมชน
3.3 การส่งเสริมอาชีพมีโครงการบริการส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชนมีการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความรู้
3.4 การบริการนันทนาการมีการบริการด้านนันทนาการจัดเป็นโครงการของโรงเรียน เช่น การแข่งขันกีฬาพื้นเมือง การแสดงดนตรีพื้นเมือง
3.5 การบริการอาคารสถานที่ และวัสดุครุภัณฑ์ ส่งเสริมให้มีการบริการอาคารสถานที่หรือวัสดุครุภัณฑ์แก่ชุมชน เช่น หอประชุม
3.6 การบริการวิชาการ มีโครงการบริการด้านวิชาการแก่ชุมชน จัดนิทรรศการวิชาการ การให้ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการ
เกรียงศักดิ์ ฤทธิรงค์ (2530 : 13-15) กล่าวถึง การให้บริการชุมชนของโรงเรียนกระทำได้ด้วยการจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ (1) การจัดนิทรรศการโรงเรียน (2) การเปิดอาคารเรียน (3) การมอบรางวัล (4) การอนุญาตให้ชุมชนใช้สถานที่และอุปกรณ์ของโรงเรียน (5) การศึกษา ผู้ใหญ่ (6) การจัดแข่งขันกีฬาระหว่างบุคลากรในโรงเรียนกับประชาชนในชุมชน และ (7) การให้บริการปรึกษาปัญหาทางกฎหมาย
วีระ อิ่มวิเศษ (2545 : 29-31) กล่าวถึง การให้บริการชุมชนของโรงเรียน ได้แก่ (1) การให้บริการด้านการให้การศึกษา (2) การให้บริการด้านพัฒนาชุมชนและร่วมกิจกรรมชุมชน (3) การให้บริการด้านส่งเสริมเศรษฐกิจและอาชีพ และ (4) การให้บริการด้านการอนุญาตใช้อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์
นิวา อารีกิจ (2545 : 35) กล่าวถึง การให้บริการชุมชนของโรงเรียน ได้แก่ (1) ด้านบริการการศึกษา (2) ด้านเศรษฐกิจและอาชีพ (3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม และ (4) ด้านโภชนาการและอนามัย
สรุปได้ว่า การให้บริการชุมชน หมายถึง การบริการที่โรงเรียนให้แก่ชุมชนทั้ง ด้านวิชาการ การใช้อาคารสถานที่ตลอดจนให้การส่งเสริมทางด้านนันทนาการ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและด้านอาชีพ
39
4. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
กรมสามัญศึกษา (2539 : 59-60) ได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมใน การพัฒนาชุมชนไว้ดังนี้
4.1 การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน สังเกตจากโรงเรียนมีโครงการจัด กิจกรรมพัฒนาชุมชน เช่น โครงการรักษาความสะอาดวัดในชุมชน โครงการปลูกต้นไม้ โครงการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ
4.2 การให้ความร่วมมือ ในการพัฒนาท้องถิ่น โรงเรียนให้ความร่วมมือส่งบุคลากรของโรงเรียน นักเรียนช่วยพัฒนาท้องถิ่นเมื่อชุมชนขอความร่วมมือ อย่างต่อเนื่อง
สุรีย์ จันทรโมลีและคณะ (2541 : 3) กล่าวถึง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนว่า หมายถึง การที่กลุ่มบุคคลมีส่วนร่วมทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ร่วมความคิด ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมทุนทรัพย์ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมในการออกความคิดสร้างสรรค์ ร่วมพัฒนา เพราะการมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการทางสังคมที่บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องกับกลุ่ม และต้องการเห็นความสำเร็จของงานนั้นๆ ดังนั้น การมีส่วนร่วมจึงรวมถึงการทำงานของบุคคลและกลุ่ม เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ด้วยความตั้งใจ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งอาจมีการแบ่งงานรับผิดชอบตามความสามารถ หรือการตกลงในร่วมกันปฏิบัติงานดังกล่าวด้วยความผูกพัน มีความไว้วางใจเป็นพื้นฐาน และ มีการเสริมพลังงานและการทำงานเป็นทีม
กรมวิชาการ (2546 : 113-118) กล่าวถึง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนไว้ว่า โรงเรียนควรเชื่อมโยงกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนกับกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์สังคมเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดจิตสำนึกสาธารณะ และมีพฤติกรรมสร้างสรรค์สังคม ตลอดจนสามารถทำประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติได้ด้วย โดยกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมนี้สามารถ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ (1) กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และบริการสังคม (2) กิจกรรมพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสังคม และ (3) กิจกรรมดำรงรักษา สืบสานศาสนา ศิลปะ และ วัฒนธรรมซึ่งทั้ง 3 กิจกรรมนั้น แสดงเป็นกรอบความคิดได้ดังแผนภูมิที่ 7
40
แผนภูมิที่ 7 แสดงกรอบความคิดกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม
ที่มา : กรมวิชาการ, 2546 : 115
สรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน การให้ความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่น และการจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์สังคม เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิด จิตสำนึกสาธารณะ มีพฤติกรรมสร้างสรรค์สังคม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกไปทำประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป
41
5. การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน
กรมสามัญศึกษา (2539 : 60) ได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการได้รับความสนับสนุนจากชุมชน ไว้ดังนี้
5.1 การจัดตั้งองค์กรเพื่อสนับสนุนโรงเรียน ส่งเสริมให้มีการตั้งชมรม สมาคมมูลนิธิ เพื่อสนับสนุนโรงเรียน มีการจัดตั้งคณะกรรมการและกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ รับผิดชอบกรณีได้รับการสนับสนุนจากชุมชน จัดรวบรวม สรุปผลการปฏิบัติงานไว้อย่างเป็นระบบสืบค้นได้ง่าย รวดเร็ว
5.2 การช่วยเหลือด้านวิชาการ ชุมชนได้ให้ความช่วยเหลือโรงเรียนด้านวิชาการ เช่น การเป็นวิทยากร ให้ใช้สถานที่ประกอบแหล่งวิทยาการ ให้ฝึกงานในสถานที่ประกอบอาชีพอิสระ
5.3 การช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์ จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือทางด้านทุนทรัพย์ เช่น เงิน วัสดุครุภัณฑ์ อุปกรณ์การศึกษา หรือการสร้างถาวรวัตถุจากชุมชน โรงเรียนจัดทำหลักฐาน การช่วยเหลือจากชุมชนพร้อมทั้งเผยแพร่ให้ชุมชนทราบ
5.4 การช่วยเหลือด้านบริการ จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือด้านบริการ ได้แก่ แรงงาน ยานพาหนะ การให้ยืมอุปกรณ์การอำนวยความสะดวกจากชุมชน ชุมชนให้ความช่วยเหลือโรงเรียนด้านบริการตามโครงการของโรงเรียน
ธนาคารโลก (World Bank, 1993 : 15) กล่าวว่า การได้รับความสนับสนุนจากชุมชนนั้นจัดได้ว่ามีความสำคัญต่อโรงเรียนเป็นอย่างมาก ดังตัวอย่างของประเทศกานาที่นำเสนอไว้ในรายงานของธนาคารโลกที่ระบุว่า “สมาคมผู้ปกครองและครู มักจะมีหน้าที่จัดหาทุนเพื่อการพัฒนาโรงเรียนหรือช่วยในการจัดองค์กรแรงงานของชุมชน แต่สมาชิกของสมาคมมักจะถูกกีดกัดไม่ให้เข้าไป เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียน นอกจากนี้ ครูและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นก็หวาดระแวงว่าพวกที่ไม่ใช่มืออาชีพจะมากำกับดูแลการปฏิบัติงานของครู” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของชุมชนที่มีต่อการให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแก่โรงเรียนได้อย่างชัดเจน
กมล ตราชู (2541 : 12) กล่าวว่า การได้รับความสนับสนุนจากชุมชนนับว่าเป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของชุมชนที่พึงมีต่อการพัฒนาการศึกษา นั่นก็คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ คณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มหรือคณะบุคคลอันเกิดจากการคัดเลือกบุคคลในโรงเรียนและ ตัวแทนในชุมชนที่มีคุณลักษณะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาและ การพัฒนาชุมชนโดยมีเป้าหมายปฏิบัติงานร่วมกันตามบทบาทหน้าที่ รวมทั้งการกำหนดทิศทาง การมีส่วนร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผนปรับปรุงโรงเรียนให้มีคุณภาพมาตรฐานทางการศึกษาด้วย
42
การจัดทำแผนแม่บทในรูปของเอกสารที่บ่งบอกถึงข้อตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงาน ภายในระยะเวลาอันจำกัด หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ธรรมนูญโรงเรียน” นั่นเอง
ธนาคารโลก (2542 : 69-73) กล่าวว่า การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน โดยเฉพาะการสนับสนุนทางด้านการเงินจากชุมชนนั้นในมุมมองของทางราชการถือว่าเป็นเรื่องที่ควรได้รับ การยกย่อง เพราะจะเป็นการช่วยผ่อนคลายภาระของรัฐบาลในการสนับสนุนด้านการศึกษา โดยเป็นแหล่งที่ช่วยทดแทนการจัดสรรทรัพยากรให้แก่ภาคการศึกษา สำหรับประเทศที่รัฐบาลมั่งคั่ง การสนับสนุนด้านการเงินของชุมชน อาจจะเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่ของรัฐน้อยกว่าประเทศที่รัฐบาลขาดแคลนงบประมาณ ทั้งนี้ธนาคารโลกแนะนำว่ารัฐบาลกลางควรมีมาตรการเพื่อใช้ควบคุมและบริหารการเงินที่ได้จากการสนับสนุนจากชุมชน โดยเริ่มตั้งแต่มาตรการจูงใจ มาตรการชี้นำ และมาตรการควบคุมการใช้จ่ายเงิน
กรมสามัญศึกษา (2543 : 19) กล่าวว่า การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน มักจะออกมาในรูปแบบของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งได้แก่ (1) แนวการจัดการศกษา (2) การบริหารและจัดการศึกษา และ (3) การระดมทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรอื่น และแนวทาง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษาในภาพรวม
พิเชษฐ คงสตรี (2544 : 21-22) กล่าวว่า การได้รับความสนับสนุนจากชุมชนนั้นทางโรงเรียนได้รับมาในหลายๆ เรื่องได้แก่ (1) มีกรรมการโรงเรียน โดยเลือกจากบุคคลในชุมชน (2) เป็นที่จัดงานประเพณีของชุมชนและสอนหนังสือแก่ผู้ใหญ่ (3) การจัดหลักสูตรของโรงเรียนจะสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและนำวิทยากรท้องถิ่นมาช่วยการสอน และ (4) การจัด กิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนชุมชนมีบทบาทในการสนับสนุน เช่น นิทรรศการ การแสดงละคร กีฬานักเรียน การแนะแนวกิจกรรมทางศาสนาที่อาศัยผู้นำทางศาสนาในการอบรมสั่งสอนนักเรียน
พจนี เทียมศักดิ์ (2545 : 267-268) กล่าวว่า การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน ที่พบคือ การมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน และการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอน ส่วนใหญ่ปราชญ์ชาวบ้านจะมีส่วนร่วมในลักษณะเป็นวิทยากรในเนื้อหาบางเรื่อง เช่น การสอนเรื่องพืชสมุนไพร การต่อกิ่งติดตา การปลูกป่า เมื่อผู้เรียนศึกษานอกสถานที่ การให้ปราชญ์ชาวบ้านทำหน้าที่แทนครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนภายในโรงเรียนหรือภายในชุมชน จึงเป็นสิ่งที่ แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนว่าเป็นไปด้วยดี ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้ปราชญ์ชาวบ้านเข้ามีส่วนร่วมเป็นแนวทางหนึ่งในการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ให้ เกิดประโยชน์ในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน ทำให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค ซึ่งครูคือ ผู้ที่มีบทบาทเข้าถึงประชาชนมากที่สุด เพราะสัมพันธภาพของครูที่มีต่อ
43
นักเรียนจะเป็นสายใยที่เชื่อมสัมพันธ์ภาพของครูที่มีต่อชุมชนด้วย ความสำคัญของสัมพันธภาพอาจจะติดต่อกันได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนและชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ชุมชนที่เข้มแข็งร่วมมือมือใจกันด้วยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ทั้งนี้มีกิจกรรมทางสังคม โดยเฉพาะกิจกรรมทางศาสนาที่วัดเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ ในชุมชนยังมีองค์กรที่ร่วมกันทำงานเพื่อชุมชน จึงเกิดเป็นปฏิสัมพันธ์แบบให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม
สุนิจจา ทัพศาสตร์ (2546 : 34) ได้สรุปถึงการมีส่วนร่วมไว้ว่า หมายถึง กระบวนการ ที่ชุมชนได้เข้าไปเกี่ยวข้องในการพัฒนาโรงเรียนโดยร่วมแสดงความคิด การกระทำตลอดจน ร่วมพิจารณากำหนดปัญหาความต้องการของโรงเรียนและหาแนวทางในการพัฒนาโรงเรียน
สรุปได้ว่า การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน หมายถึง บุคคลในชุมชน องค์กรในชุมชน และผู้ปกครองให้การสนับสนุนโรงเรียนทั้งด้านวิชาการ ทุนทรัพย์ การบริการ และการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
6. การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
กรมสามัญศึกษา (2539 : 61-62) ได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ไว้ดังนี้
6.1 มีการประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
6.2 มีหลักฐานให้ตรวจสอบได้
6.3 มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการ
6.4 มีการวิเคราะห์ผลการประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
6.5 มีการนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการปรับปรุงงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชน
พนัส หันนาคินทร์ (2529 : 22) กล่าวว่า การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน คือการนำเอาผลงานที่ได้จากหน่วยงานต่างๆ มาประมวลกันเข้าเพื่อวิเคราะห์และสรุปว่างานที่ได้กระทำไปแต่ละหน่วยนั้นได้ผลสมความมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยอาศัยหลักเกณฑ์การประเมินผลดังนี้ (1) การประเมินผลต้องกระทำโดยยึดเอาจุดหมายของงานที่ได้วางไว้เป็นเกณฑ์ในการประเมินผล ถ้าไม่มีจุดมุ่งหมายแน่นอน การประเมินผลก็จะเลื่อนลอยไร้ความหมาย (2) การประเมินผลที่ดีต้องประกอบด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งนี้เพื่อจะได้ภาพที่เป็นจริง ในกรณีผู้บริหารควรจะทำความเข้าใจกับผู้ใต้บังคับบัญชาว่าการประเมินผลเป็นไปเพื่อช่วยให้กิจการดีขึ้น ไม่ได้กระทำเพื่อจับผิด (3) เกณฑ์และวิธีการประเมินผล จะต้องเป็นความเข้าใจกันระหว่างผู้ที่จะ
44
ร่วมมือประเมินผลว่าเกณฑ์ที่ใช้มีความหมายอย่างไร เช่น ที่เรียกว่าสอนดีนั้นมีเกณฑ์อะไรเป็น เครื่องวัด (4) การประเมินผลควรจะได้กระทำเสมอๆ เป็นระยะเพื่อจะได้มองเห็นแนวโน้มและ ความเปลี่ยนแปลงในงานต่างๆ รวมทั้งความแน่นอนในการประเมินผลนั้นด้วย อย่าลืมว่ายิ่งทดสอบบ่อยๆ ความเชื่อมั่นก็ยิ่งสูง (5) ตัวเครื่องมือสำหรับประเมินผลก็ควรจะได้รับการประเมินด้วย ยังไม่เคยมีใครสร้างเครื่องมือวัดที่แน่นอนสำหรับวัดพฤติกรรมของมนุษย์ ดังนั้นตัวเครื่องมือเอง ก็คงจะได้รับการตรวจสอบด้วยว่าให้ความเที่ยงตรงและความแน่นอนสักเพียงใดการประเมินผลเปนขั้นสุดท้ายของขบวนการบริหาร แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นจุดหมายปลายทาง ผลจาก การประเมินผลย่อมจะก่อให้เกิดความคิดที่จะเริ่มต้นงานใหม่ต่อไป โดยเหตุนี้จึงมีผู้เปรียบขั้นทั้ง 4 ของการบริหาร คือ ขั้นวางแผน ขั้นจัดรูปงาน ขั้นดำเนินการ และขั้นประเมินผล โดยเปรียบเสมือนวัฎจักรที่จะต้องกระทำกันเรื่อยไปโดยไม่หยุดยั้ง และ (6) หลังจากที่ได้ประเมินผลของแต่ละ หน่วยงานแล้วควรจะได้นำผลของการประเมินแต่ละหน่วยงานมารวมประมวลผลเข้าเป็นการประเมินส่วนรวมของโรงเรียน ผลจาการประเมินนี้จะเป็นเครื่องนำทางในการพิจารณาปรับปรุงโรงเรียนในโอกาสต่อไป
สนธยา พลศรี (2537 : 45-49) กล่าวว่า การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เป็นกระบวนการพัฒนาชุมชนอย่างหนึ่ง และเป็นเครื่องมือคอยตรวจสอบ การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ก็คือการติดตามประเมินผลงาน ซึ่งมีขั้นตอนใน การประเมินผลงานอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมวางโครงการ ต้องการประเมินผลในสิ่งต่อไปนี้ (1) ข้อมูลที่ใช้ว่าเป็นอย่างไร (2) ใครเข้ามามีส่วนร่วม (3) กำหนดข่ายโครงการ (4) วิธีการวางโครงการ และ (5) วัตถุประสงค์จุดหมาย
ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการตามโครงการ ต้องการประเมินผลในสิ่งต่อไปนี้ (1) วิธีปฏิบัติ (2) ทรัพยากรที่ใช้ (3) ผลที่ได้ และ (4) ผลกระทบและประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 3 ภายหลังการดำเนินการตามโครงการ ต้องการประเมินผลในสิ่งต่อไปนี้ (1) ประสิทธิภาพและผลกระทบ และ (2) ระยะเวลาที่มีผลกระทบ
บริษัท สยามเอชอาร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (18 กันยายน 2544, Online) ได้กำหนดเป็นหลักการทั่วไปเพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลงานว่าจะต้องประกอบไปด้วย (1) ศึกษาจุดประสงค์หรือเป้าหมายของแผนให้เข้าใจ (2) เลือกวิธีการประเมินที่เหมาะสมมาใช้ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้สถิติ เป็นต้น (3) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามแผน (4) เปรียบเทียบผลที่ได้กับ จุดประสงค์ เป้าหมาย และมาตรฐานที่กำหนดไว้ และ (5) รายงานประเมินผลต่อผู้บริหารหรือ
45
ผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องทราบถึงผลการประเมินดังกล่าว เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงงาน ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
สรุปได้ว่า การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง การพิจารณาผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนและชุมชนว่าสามารถร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และสรุปผลการประเมินได้อย่างสม่ำเสมอ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. งานวิจัยในประเทศ
ภูวนาถ คงแก้ว (2539 : 175) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจากผลการศึกษาพบข้อเสนอแนะว่า (1) การบริหารงานระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นเรื่องสำคัญมีภารกิจหลายด้านปัจจุบันได้รับความสนใจจากผู้บริหารระดับสูง ให้โรงเรียนพยายามหาทางนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้มากที่สุด โดยน่าจะมีการแต่งตั้งผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายความสัมพันธ์กับชุมชนขึ้นมารับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรง เพื่อให้งาน ความสัมพันธ์กับชุมชนได้ผลดี แม้ในปัจจุบันจะมีบางโรงเรียนได้แต่งตั้งผู้ช่วยผู้บริหารฝ่าย ความสัมพันธ์กับชุมชนอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ยังนับว่าน้อยมาก (2) การสำรวจชุมชนเพื่อหาข้อมูล ในการวางแผน ควรได้มีการกระทำอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่ได้จึงต้องมีความทันสมัย และ (3) ต้องยอมรับว่าที่ครู อาจารย์ทำงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนเป็นภารกิจที่เพิ่มขึ้น ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานควรได้รับขวัญและกำลังใจจากผู้บริหารตามสมควร
กรมสามัญศึกษา (2543 : ญ-ฎ) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา (ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542) ซึ่งผลการศึกษาพบข้อเสนอแนะ 2 ข้อ คือ (1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรกำหนดนโยบายด้านมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาให้ชัดเจน กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และจะมีสัดส่วนของ ตัวแทนของชุมชน ในคณะกรรมการมากขึ้น ตามมาตรา 40 โดยมีหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ตามมาตรา 39 ที่จะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ควรกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาที่เน้นการมี
46
ส่วนร่วมของชุมชน และควรกำหนดมาตรการส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรทั้งใน การเก็บภาษีการศึกษา การลดหย่อนภาษี และการมีส่วนร่วมรับประโยชน์อื่นๆ และ (2) ข้อเสนอแนะเชิงการปฏิบัติในสถานศึกษา ควรกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและความพร้อมของชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ โดยใช้แผนยุทธศาสตร์ที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดทำเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ ขณะเดียวกันผู้บริหารและบุคลากรของโรงเรียนควรยอมรับและเห็นความสำคัญของการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนในคณะกรรมการโรงเรียนและกรรมการกิจกรรมอื่นๆ ควรกำหนด หลักเกณฑ์การคัดเลือกตัวแทนชุมชนเข้ามาเป็นคณะกรรมการโรงเรียนที่เชื่อมั่นได้ว่า ได้ตัวแทนจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องและมีความสามารถที่จะทำหน้าที่ในฐานะเป็นกรรมการโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ในการประเมินคุณภาพผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรเน้นบทบาทของชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมตามระบบการประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษา และมีความสอดคล้องกับระดับคุณภาพที่กำหนดและมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง
เชษฐา ชนะบุญ (2543 : ค-จ) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษาการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียน ครูสายผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งผลการศึกษาพบว่า แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกบชุมชนได้แก่ (1) การประชาสัมพันธ์โรงเรียน ควรจ ัดทำเอกสารเผยแพร่ ใช้หอกระจายข่าว และผู้บริหารควรหาโอกาสเยี่ยมชุมชนให้มากขึ้น (2) การให้บริการแก่ชุมชน โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนมากขึ้น (3) การร่วมกิจกรรมของชุมชน ควรส่งเสริมให้ครู นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนตามลักษณะของกิจกรรม (4) การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน และ (5) การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่นในท้องถิ่น ควรให้บุคลากรของโรงเรียน สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองกับชุมชนและหน่วยงานอื่นให้มากขึ้น
ณัฐพงศ์ แก้วตาปี (2543 : 134-141) ได้ศึกษาเรื่อง ปัญหา สาเหตุ และแนวทาง แก้ปัญหาการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่ตั้งอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว, ไทยลาว-ไทยเขมร, ไทยลาว-ไทยส่วย, ไทยลาว-ไทยเยอ สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดศรีษะเกษ โดยผลการศึกษา พบว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน คือ กำหนดแผน การจดเก็บข้อมูลร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการจัดระบบข้อมูลของชุมชน โดยให้นำชุมชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาระบบและวิเคราะห์ข้อมูลในการจัดทำแผนงาน ปรับแผนงานให้มีความยืดหยุ่นตามความเหมาะสม
47
จัดโครงการเพื่อเพียงพอกับทรัพยากรที่มีอยู่ จัดหาผู้ประสานงานเพื่อไปขอข้อมูลจากผู้แทนชุมชนแบบไม่เป็นทางการ (2) ด้านการสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน คือ ของบประมาณสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นศูนย์กีฬาเยาวชนตำบล เพื่อส่งเสริมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัย จัดทำแผนงานสร้างเสริมวินัย คุณธรรม จริยธรรม ให้มีความต่อเนื่อง โดยกำหนดนโยบายทาง วิชาการให้ชัดเจนพัฒนาบุคลากรทางวิชาการ จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย จัดสรรงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์สนับสนุนการกีฬา ดนตรี ให้เพียงพอ รณรงค์ให้ผู้ปกครองสนใจดูแลเพื่อให้ความอบอุ่นแก่นักเรียนเพิ่มขึ้น ส่งเสริมการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยให้นักเรียนเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์สู่ชุมชน ส่งเสริม การจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม (3) ด้านการให้บริการชุมชน คือ โรงเรียนทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมเพื่อให้บริการชุมชนอย่างทั่วถึง จัดให้มีระบบการยืมและให้บริการวัสดุอุปกรณ์แก่ชุมชนรวมทั้งการซ่อมบำรุงให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดี จัดหางบประมาณ เครื่องมือ เครื่องดนตรี และวัสดุอุปกรณ์ พัฒนาบุคลากร ด้านดนตรี กีฬา นาฏศิลป์ โดยใช้วิทยากรจากท้องถิ่นมาให้ความรู้ในโรงเรียนร่วมมือกับอนามัย พัฒนากร เกษตรอำเภอ ดำเนินการปรับแผนงานให้ชัดเจนและสอดคล้องกับทรัพยากรและภารกิจหลักร่วมกับหน่วยงานพัฒนาชุมชนอื่นๆ และสอดแทรกความรู้ในกจกรรมต่างๆ ที่ชุมชนจัดขึ้น ตามโอกาส เปิดโอกาสนักเรียนไปแสดงความสามารถ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้โดยใช้ นักเรียนเป็นสื่อ (4) ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน คือ กำหนดแผนงานและจัดทำ ปฏิทินงานร่วมกับชุมชน เพื่อให้แผนงานมีความยืดหยุ่นและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ปรับแผนงานโครงการ และให้มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง มีการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือกันพัฒนาชุมชนและใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (5) ด้านการได้รับความสนับสนุนจากชุมชน คือ สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลเพื่อใช้เป็นแหล่ง วิทยาการ และจัดทำทะเบียนศิษย์เก่า ปรับกลยุทธ์การพัฒนาชุมชนโดยการกำหนดนโยบายโรงเรียนเพื่อส่งเสริมให้ครูนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยสอนหรือนำนักเรียนหาความรู้จากชุมชน และ สร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของชุมชนต่อโรงเรียนเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้นำชุมชนได้เข้ามามีส่วนส่งเสริมให้มีผู้นำเพื่อจัดตั้งองค์กรที่สามารถให้ช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียน เพื่อจัด กิจกรรมหารายได้เข้าโรงเรียน เช่น การขอรับบริจาค และ (6) ด้านการประเมินผลงานสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน คือ กำหนดแผนงานและปฏิทินการประเมินผลให้ชัดเจน จัดหาเครื่องมือที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารติดตามประเมินผลร่วมกับคณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผล นิเทศ และติดตามงานเพื่อให้สามารถ
48
วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอรายงาน ต่อที่ประชุมประจำเดือนเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
นิวา อารีกิจ (2545 : 105) ได้ศึกษาเรื่อง การสังเคราะห์งานวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งผลการศึกษาพบข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติคือ (1) ควรมีนโยบายในทุกระดับที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้จริง ในการกำหนดบทบาทหน้าที่ของโรงเรียนต่อการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยการจัดทำแผนปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นแผนงานหลัก แผนงานหนึ่งของโรงเรียน (2) ควรจัดสรรงบประมาณ บุคลากร และทรัพยากร เพื่อดำเนินการกิจกรรมในด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนให้มากขึ้น โดยคำนึงถึง ความแตกต่างของลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมและระดับการพัฒนาของชมชนของแต่ละพื้นที่ (3) การวางแผนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้น ควรมีลักษณะที่ยืดหยุ่น โดยคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจเกิดขึ้น เนื่องจากลักษณะความสัมพันธ์และปัญหาที่ พบในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (4) ควรมี การอบรมผู้บริหาร ครู ผู้นำชุมชน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนให้ตระหนักถึงความสำคัญและ มีเจตนคติที่ดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และมีความรอบรู้ในการดำเนินงานใน การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ (5) โรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในชุมชน ควรมีการวางแผนร่วมกันในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และเน้นการมี ส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนในทุกระดับของการสร้างความสัมพันธ์ ตั้งแต่การวางแผนไปจนถึง การประเมินผลการปฏิบัติงาน (6) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ควรเริ่มจากการสำรวจสภาพความสัมพันธ์ และปัญหาที่เป็นอยู่ ว่ามีจุดเด่น จุดด้อยอย่างไร แล้วจึงกำหนดแผนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโดยอิงจากผลการสำรวจดังกล่าว โดยอาจเน้นพัฒนาจุดเด่น และแก้ไขจุดด้อยของความสัมพันธ์ที่มีอยู่เป็นหลัก (7) สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการอบรมพัฒนาผู้บริหาร ครู หรือผู้นำชุมชน ควรบรรจุเนื้อหาสาระรวมทั้งภาคปฏิบัติที่เกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชนในหลักสูตรโดยเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนแก่บุคลากรเหล่านั้น และ (8) ควรมีการประเมินผลงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนา สภาพและลักษณะ ความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น
49
2. งานวิจัยในต่างประเทศ
ฮาคาเนน (Hakanen, 1975 : 6004-A) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้ปกครองและกลุ่ม นักวิชาการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยแยกออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบุคคล ด้านโครงการการเรียนการสอน ด้านระดับการลงทุนทางการศึกษา ด้านคณะครูอาจารย์ ด้านกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน และด้านหมวดเบ็ดเตล็ด โดยใช้กลุ่มตัวอย่างซึ่งอยู่ในรัฐเซาท์ดาโกต้า ซึ่งผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ปกครองยังขาดความรู้เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของ โรงเรียน และจากผลการศึกษาดังกล่าวนี้ ผู้ปกครองได้เสนอแนะเพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่าง โรงเรียนกับชุมชนมากขึ้น (2) การขาดข้อมูลข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน ส่งผลให้ ผู้ปกครองขาดความสัมพันธ์ภายในชุมชนไปด้วย (3) เครื่องมือที่ใช้ติดต่อสื่อสารยังมีไม่เพียงพอ โดยผู้ปกครองได้เสนอให้แจ้งนโยบายการติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับชุมชน อย่างมีจุดมุ่งหมาย กำหนดให้มีผรับผิดชอบในการให้ข้อมูลข่าวสารของโรงเรียนทางด้านการเงิน และเวลา ตลอดจน ความจำเป็นในด้านอื่นๆ ของโรงเรียนให้ชุมชนได้รับรู้อย่างสม่ำเสมอ
คิง (King, 1984 : 1593-A) ได้ศึกษาเรื่อง โรงเรียนในฐานะเป็นชุมชน และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน จุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารสามารถลดความแตกต่างของชุมชน โดยการสร้างความสัมพันธ์ด้วยวิธีการประชาธิปไตยให้เกิดความรู้สึกว่าโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ผลการวิจัยของบุคคลอื่นที่ได้วิจัยไว้ 3 คน ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า ถ้าหากให้บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องกับการสร้างกฎจะทำให้มีความรู้สึกว่าจะต้องรักษากฎนั้นไว้ ถ้าหากเขามีโอกาสเข้าร่วมจะมีการปฏิบัติตามกฎนั้นไว้ ถ้าหากเขามีโอกาสเข้าร่วมจะมีการปฏิบัติตามกฎ มากขึ้น และถ้าบุคคลอื่นเข้าไปเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เขาจะเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับ การดำเนินงานของโรงเรียน ความแตกแยกจะน้อยลง
คราฟท์ (Craft, 1988 : 1633-A) ได้ศึกษาทศนคติของชุมชนต่อการศึกษาและระดับการ มีส่วนร่วมในกิจการของโรงเรียน เพื่อทำให้ทัศนคติของชุมชนต่อโรงเรียนดีขึ้น จุดมุ่งหมาย คือต้องการความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วม สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดตามทัศนคติของโรงเรียน ในแต่ละสภาพตามสิ่งแวดล้อมของแต่ละแห่ง ซงไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างทัศนคติของชุมชนกับสิ่งแวดล้อม หรือทัศนคติของชุมชนกับระดับการเข้าร่วมในกิจการต่างๆ ของโรงเรียน
โจแฮนเนค (Johanek, 1996 : 4296-A) ได้ศึกษาเรื่อง วิวัฒนาการของชุมชนต่อการ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาเบนจามิน แฟรงคลิน ในช่วง ค.ศ. 1934-1944 พบว่า ในปี ค.ศ. 1934 ลีโอนาร์ด โคเวลโล ผู้อพยพชาวอิตาเลียนและพรรคพวกได้ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมเบนจามิน แฟลงคลินขึ้นในอีสฮาเร็ม โดยมีเป้าหมายที่จะประสานงานและร่วมมือกับสถาบัน
50
การศึกษาต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งนี้ได้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัด การศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เตรียม นักเรียนให้เป็นผู้นำ และความเป็นประชาธปไตย ได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของวิสัยทัศน์สาธารณชน ที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งมีผลต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
ทูปส์ (Tubbs, 1996 : 966-A) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษาความเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ต่อการบริหารโรงเรียนแบบเบ็ดเสร็จ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีแนวโน้มที่ จะเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำแผนงานของโรงเรียนมากกว่าผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษาและผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 3 ระดับ ไม่ให้โอกาสผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการคัดเลือกบุคลากรในโรงเรียน
แฮงค์ (Hwang, 1997 : 2768-A) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษาผลกระทบจากแนวคิดทาง การเมืองของชุมชนจากผลผลิตของโรงเรียนในชุมชนรัฐเท็กซัส พบว่า ความคิดทางการเมืองของ ชุมชนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและค่าใช้จ่ายของโรงเรียนซึ่งชุมชน ให้เงินสนับสนุนโรงเรียน
บริทติงแฮม (Brittingham, 1998 : 1406-A) ได้ศึกษาเรื่อง ลักษณะของการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนที่ประสบผลสำเร็จ พบว่า ผู้ปกครองมีความสำคัญต่อการจัด การศึกษาที่จะทำให้ห้องเรียนมีคุณภาพ และพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ครูจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนว่าจะสอนอะไร สอนอย่างไร และผู้ปกครองจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างไร ซึ่งสิ่งที่ผู้ปกครองและชุมชนจะต้องตระหนัก คือ การเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมด้านสังคม อารมณ์ และความก้าวหน้าทางด้านวิชาการของเด็ก การพัฒนาสภาวะของเด็กเยาวชนและครอบครัวให้ดีขึ้น ถือเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่จะทำให้ครอบครัวและชุมชนเข้มแข็ง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ฮารีส (Harris, 1998 : 1437-A) ได้ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน กรณีศึกษาที่นามิเบีย โดยมีเป้าหมายที่จะชี้ให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนใน การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้ศึกษาพบว่า ในช่วงก่อนที่ชาวยุโรปจะติดต่อกับนามิเบีย ชุมชนมี ส่วนร่วมโดยตรงในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวคือ ชุมชนจะมีหน้าที่ในการอบรม ฝึกฝน เยาวชน และในปัจจุบันชุมชนก็ยังมีส่วนสำคัญในการจัดการศึกษา เพื่อสรรค์สร้าง การศึกษาของชาติให้บรรลุเป้าหมาย
51
โกลด์ (Gold, 2000 : 295-A) ได้ศึกษาเรื่อง การให้ชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พบว่า การปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนในเขตเมืองครอบคลุมไปถึงความต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกันและเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง ชุมชนและนักการศึกษา ชุมชนที่มีรายได้ต่ำจะมีปัญหาในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและระดับการศึกษาของผู้ปกครองมีผลต่อการให้ ความร่วมมือในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า แนวคิดที่เกี่ยวกับการบริหารการศึกษาที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น ต้องใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมทั้งบุคลากรภายในโรงเรียนกับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนั้นผู้ปกครองและผู้นำชุมชนถือว่ามีส่วนสำคัญและมีบทบาทต่อการบริหารการศึกษา การจัดการศึกษาจะต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
ดังนั้นในการศึกษาแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 จึงเป็นประโยชน์ต่อ การบริหารการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และยังเป็นการระดมทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย
1.1.1 ฝ่ายโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และอาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 จำนวน 956 คน
1.1.2 ฝ่ายชุมชน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 140 คน ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่งของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
2. กลุ่มตัวอย่าง
2.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย
2.1.1 ฝ่ายโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และอาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วย
53
7 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างฝ่ายโรงเรียน 168 คน โดยได้มาจากการใช้ สูตรคำนวณของยามาเน่ (Yamane, 1973 : 580-581) ดังรายละเอียดซึ่งปรากฏอยู่ในภาคผนวก ค
2.1.2 ฝ่ายชุมชน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 140 คน ยกเว้น ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่งของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยความคลาดเคลื่อนร้อยละ 7 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างฝ่ายชุมชน 83 คน โดยได้มาจากการใช้สูตร คำนวณของยามาเน่ (Yamane, 1973 : 580-581) ดังรายละเอียดซึ่งปรากฏอยู่ในภาคผนวก ค
และเมื่อได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 ฝ่ายแล้วจึงใช้การสุ่มตัวอย่างเชิงช่วงชั้น (Stratified Random Sampling) เพื่อให้กระจายไปในแต่ละโรงเรียน โดยใช้สัดส่วนร้อยละทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างดังแสดงในตารางที่ 1
54
ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างฝ่ายโรงเรียน และฝ่ายชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
ฝ่ายโรงเรียน
ฝ่ายชุมชน
ชื่อโรงเรียน
ผู้บริหาร
อาจารย์
รวม
คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประชากร
กลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
กลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
กลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
กลุ่มตัวอย่าง
1. โรงเรียนวัดนวลนรดิศ
5
1
123
22
128
23
14
9
2. โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์
5
1
107
19
112
20
14
9
3. โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม
5
1
104
18
109
19
14
8
4. โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม
5
1
84
15
89
16
14
8
5. โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน
5
1
60
10
65
11
14
8
6. โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม
5
1
132
23
137
24
14
9
7. โรงเรียนวัดรางบัว
5
1
81
14
86
15
14
8
8. โรงเรียนปัญญาวรคุณ
5
1
98
17
103
18
14
8
9. โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ
5
1
83
14
88
15
14
8
10.โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมงคลาภิเษก
5
1
34
6
39
7
14
8
รวม
50
10
906
158
956
168
140
83
54
55
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม มีทั้งหมด 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบเลือกตอบ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่องโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ (1) การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (2) การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน (3) การให้บริการชุมชน (4) การมีส่วนร่วมใน การพัฒนาชุมชน (5) การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน และ (6) การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ คือ
5 หมายถึง ควรมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง ควรมีการปฏิบัติในระดับมาก
3 หมายถึง ควรมีการปฏิบัติในระดับปานกลาง
2 หมายถึง ควรมีการปฏิบัติในระดับน้อย
1 หมายถึง ไม่ควรปฏิบัติ
ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เป็นลักษณะคำถามแบบปลายเปิด
การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ ชุมชน และเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 หมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่องโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ (1) การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (2) การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน (3) การให้บริการชุมชน (4) การมีส่วนร่วมใน การพัฒนาชุมชน (5) การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน และ (6) การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
56
2. นำข้อมูลที่ศึกษามาสร้างเป็นแบบสอบถามให้ครอบคลุมเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ทั้ง 6 ด้าน
3. นำแบบสอบถามเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อตรวจสอบเนื้อหา และภาษาที่ใช้ในแบบสอบถาม แล้วนำมาแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการที่ปรึกษา
4. นำแบบสอบถามที่แก้ไขเรียบร้อยแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เพื่อทำการ ตรวจสอบความถูกต้อง ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษา ดังรายชื่อของผู้เชี่ยวชาญซึ่งปรากฏอยู่ในภาคผนวก ข
5. นำแบบสอบถามที่ได้รับการปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เพื่อหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Cronbach’s Alpha Coefficient) และได้ค่าเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.83
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ผู้วิจัยได้ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แจ้งผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เพื่อขออนุญาตในการส่งแบบสอบถามและเก็บรวบรวมข้อมูล
2. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และใช้การโทรศัพท์ เพื่อทวงถามในบางรายที่ยังไม่ส่งแบบสอบถามกลับคืน ทำให้ได้รับแบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 251 ฉบับ ถือว่าเก็บรวบรวมข้อมูลร้อยละ 100
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
1. นำแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาทั้งหมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์
2. นำข้อมูลที่ได้รับไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์หาสถิติ ตามจุดมุ่งหมาย ที่กำหนดไว้
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 ค่าร้อยละ (Percents) (ประคอง กรรณสูต, 2542 : 63) โดยใช้สูตร
ร้อยละของแต่ละรายการ = 100งหมดความถี่ทั้รแต่ละรายกาความถี่ของ×
57
3.2 ค่าเฉลี่ย (X ) (ประคอง กรรณสูต, 2542 : 68) โดยใช้สูตร
NXXΣ=
X แทน คะแนนเฉลี่ย
ΣX แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N แทน จำนวนข้อมูล
3.3 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) (ประคอง กรรณสูต, 2542 : 70) โดยใช้สูตร
1N)XX(.D.S2−−Σ=
S.D. แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X แทน คะแนนเฉลี่ย
X แทน คะแนนของผู้ตอบแบบสอบถาม
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด ΣX
N แทน จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
3.4 การหาคุณภาพของเครื่องมือ (ประคอง กรรณสูต, 2542 : 31) โดยใช้สูตร
NRIOCΣ=
IOC คือ ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์
ΣR คือ ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน
N คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
3.5 การหาความเชื่อมั่นแบบครอนบัค (Cronbach อ้างถึงใน ประคอง กรรณสูต, 2542 : 45) เพื่อคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) โดยใช้สูตร
⎭⎬⎫⎩⎨⎧Σ−−=α2t2iSS11nn
α = ความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัด
n = จำนวนข้อคำถามของเครื่องมือวัด
2iS = ความแปรปรวนเป็นรายข้อ
= ความแปรปรวนของเครื่องมือ 2tS
58
3.6 การแปลความค่าเฉลี่ยของแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยกำหนดเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย (ประคอง กรรณสูต, 2542 : 98) ไว้ดังนี้
ค่าเฉลี่ย การแปลความหมาย
4.51 – 5.00 ควรมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด
3.51 – 4.50 ควรมีการปฏิบัติในระดับมาก
2.51 – 3.50 ควรมีการปฏิบัติในระดับปานกลาง
1.51 – 2.50 ควรมีการปฏิบัติในระดับน้อย
1.00 – 1.50 ไม่ควรปฏิบัติ
3.7 ข้อเสนอแนะ ทำการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วจัดเรียงตามความถี่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น