วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา (ตอนที่ 1)



การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริง
เกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นางประเสริฐศรี ธรรมวิหาร
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2546
ISBN : 974-373-330-2
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
A Comparative Study of Expectations of Students
and Actual Performance of Counselors of
Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
as Perceived by the Students
MRS. PARSERTSRI THAMWIHARN
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education (Educational Administration)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2003
ISBN : 974-974-373-330-2
วิทยานิพนธ์ การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวัง และสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์
ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
โดย นางประเสริฐศรี ธรรมวิหาร
สาขา การบริหารการศึกษา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ หรรษา ศิวรักษ์
กรรมการ รองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์
กรรมการ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
....................................................................... คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
....................................................................... ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
....................................................................... กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ หรรษา ศิวรักษ์)
....................................................................... กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์)
....................................................................... กรรมการ
(ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง)
....................................................................... กรรมการ
(อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ)
....................................................................... กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประเสริฐศรี ธรรมวิหาร. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วิทยานิพนธ์ระดับ
มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม :
รศ.หรรษา ศิวรักษ์; รศ.เกริก วยัคฆานนท์; ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงของอาจารย์ที่
ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และเพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติ
จริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้าน
สมเด็จเจ้าพระยา ด้านวิชาการ ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา และด้านการบริการทั่วไป
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
และสาขาวิชาศิลปศาสตร์ จำนวน 310 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาโดยใช้ค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาทุกสาขาวิชาคาดหวังบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาตามภารกิจที่กำหนดใน
ระดับมาก ทั้งในด้านวิชาการ ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา และด้านการบริการทั่วไป แต่
เห็นว่าส่วนใหญ่สภาพที่ปฏิบัติจริงเป็นไปตามความคาดหวังในระดับปานกลาง มีบางรายการอยู่ใน
ระดับมาก และพบว่าสภาพที่ปฏิบัติจริงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความคาดหวัง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ
0.01 ทุกรายการ ในทุกสาขาวิชานอกจากรายการเดียวที่นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ได้รับ ไม่ต่ำ
กว่าระดับที่คาดหวัง คือ มีการนัดหมาย พบปะนักนักศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบ
2. นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาเห็นว่าสภาพที่ปฏิบัติจริงต่ำกว่าความคาดหวังทุกรายการ
อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 รายการที่ต่ำกว่ามากได้แก่ ให้คำแนะนำวิธีการจัดทำแผนการเรียน
ตลอดจนจบหลักสูตร ให้คำแนะนำในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นและนำนักศึกษาไปทัศนศึกษา
แหล่งความรู้ต่างๆ
3. นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์เห็นว่า สภาพที่ปฏิบัติจริงต่ำกว่าความคาดหวังอย่างมีนัย
สำคัญที่ระดับ 0.01 ทุกรายการ ยกเว้น มีการนัดหมาย พบปะนักศึกษา รายการที่ต่ำกว่ามากได้แก่
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการคำนวณหาค่าระดับเฉลี่ย ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการคบเพื่อน แจ้งประกาศ
ข่าวสารที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาทราบ
4. นักศึกษาสาขาศิลปศาสตร์ เห็นว่า สภาพที่ปฏิบัติจริงต่ำกว่าความคาดหวังทุกรายการ
อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ทุกรายการ รายการที่ต่ำกว่ามาก ได้แก่ ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องของ
2
หลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่ ให้คำแนะนำในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น และนำนักศึกษาไปทัศน
ศึกษาแหล่งความรู้ต่างๆ
3
PRASERTSRI THAMVIHARN. (2003). A COMPARATIVE STUDY OF EXPECTATIONS OF
STUDENTS AND ACTUAL PERFORMANCE OF COUNSELORS OF RAJABHAT
INSTITUTE BANSOMDEJCHAOPRAYA AS PERCEIVED BY THE STUDENTS.
GRADUATE SCHOOL RAJABHAT INSTITUTE BANSOMDEJ CHAO PRAYA,
ADVISOR COMMITTEE: ASST.PROF. HUNSA SIVARUKS; ASST.PROF. KRERK
WAYAKANON; DR.PREMSUREE CHUAMTHONG.
The purposes of this research were to study expectations and actual performances of
counselors and to compare their expectations and the actual performances as perceived by
Rajabaht Institute Bansomdejchaopraya’s students. There aspects of counseling were investigated:
academics, welfare and student development and general student services. The population and in
the research consisted of fourth year students in education, social sciences and liberal arts. Then
stratified random was made comprising 310 forth year students. Questionnaires were the research
100% to collect data, which, in turn, were analyzed, by mean, standard deviation and t-test through
means of SPSS/PC+.
Findings were as follows:
1. Perceptions of the three groups of student towards the expectations and actually
performances were found to be statistically different at the 0.01 level of significance.
2. In actual performance, the education student group rated ‘helping with study plan’,
advising further study and ‘assisting with learning sources’ at low level.
3. The science student group rated ‘advising social contact’ and ‘campus information’ at
low level.
4. The liberal arts student group rated ‘helping with study plan’, ‘advising further study’
assisting with learning sources’ at low level.
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจาก รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์
ประธานผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ ที่ได้สละเวลาอันมีค่าให้การแนะนำ ช่วยเหลือ และตรวจสอบแก้ไข
ข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่งมาโดยตลอด รวมทั้งรองศาสตราจารย์เกริก
วยัคฆานนท์ และ ดร. เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและตรวจแก้ไขเพื่อให้
วิทยานิพนธ์มีความถูกต้อง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง ประธานกรรมการตรวจสอบ
วิทยานิพนธ์ อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ และรองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์
กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และตรวจ
แก้ไขวิทยานิพนธ์ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณคณะผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบ
เครื่องมือ ซึ่งได้แก่ รองศาสตราจารย์ไพฑูรย์ ธรรมแสง ผู้ช่วยศาสตราจารย์อิสสรหัช โชติกเสถียร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อินทิรา บุณยาทร และอาจารย์ทวีศักดิ์
จงประดับเกียรติ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะสำหรับสร้างเครื่องมือในการวิจัย
ขอขอบพระคุณคณาจารย์ สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยาทุกท่านที่ได้ประสิทธิประสาทความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ต่างๆ ในขณะศึกษาอยู่ใน
สถาบันนี้
คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณ
บุพการีผู้ให้กำเนิดและคณาจารย์ทุกท่านผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ และผู้มีพระคุณทุกท่าน
ประเสริฐศรี ธรรมวิหาร
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย……………………………………………………................................. ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ……………………………………………….................................... ข
ประกาศคุณูปการ………………………………………………………............................... ค
สารบัญ.......…………………………………………………………................................... ง
สารบัญตาราง…...…………………....………………………………................................. ช
สารบัญแผนภูมิ…………………………...…………………………................................. ญ
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา…………………………………… 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย………………………………………………….... 3
1.3 ประโยชน์ที่จะได้รับ...........……………………………………………..…… 3
1.4 ขอบเขตของการวิจัย………………………………………………………… 3
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ...........…………………………………………………….. 4
1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย..…....…………………………………………....... 5
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษา............................................................ 7
2.1.1 ความหมายของอาจารย์ที่ปรึกษา............................................................ 7
2.1.2 ความสำคัญของอาจารย์ที่ปรึกษา............................................................ 8
2.1.3 คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา............................................................ 10
2.1.4 บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา...................................................... 13
1) ด้านวิชาการ.................................................................................... 13
2) ด้านสวัสดิการและพัฒนานักศึกษา................................................. 17
3) ด้านการบริการทั่วไป...................................................................... 20
2 . 2 โ ค ร ง ส ร้ า ง ก า ร บ ริ ห า ร ง า น อ า จ า ร ย์ ที่ ป รึ ก ษ า แ ล ะ ร ะ บ บ
อาจารย์ที่ปรึกษาของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.............................. 24
2.2.1 โครงสร้างการบริหารงานอาจารย์ที่ปรึกษา.......................................... 24
2.2.2 ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา......... 25
5
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.......................................................................................... 26
2.3.1 งานวิจัยในประเทศ............................................................................... 26
2.3.2 งานวิจัยต่างประเทศ............................................................................... 33
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.............................................................................. 36
3.2 ตัวแปรที่ศึกษา................................................................................................ 37
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................................................. 37
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล..................................................................................... 38
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล............................. 38
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม............................................... 40
4.2 ตอนที่ 2 ความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของ
นักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำแนกเป็นรายด้าน
และรวมทุกด้าน.............................................................................. 42
4.3 ตอนที่ 3 ความคาดหวังและสภาพปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของ
นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำแนกเป็นรายด้าน
และรวมทุกด้าน............................................................................. 55
4.4 ตอนที่ 4 ความคาดหวังและสภาพปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของ
นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์
ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
จำแนกเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน.............................................. 68
6
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
4.5 ตอนที่ 5 ความคาดหวังและสภาพปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของ
นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์เกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์
ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
จำแนกเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน.............................................. 82
4.6 ตอนที่ 6 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา............................................... 96
บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย................................................................................. 98
5.2 ขอบเขตของการวิจัย...............................................................................……. 98
5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................................................. 99
5.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล.................................................................................... 99
5.5 การวิเคราะห์ข้อมูล.......................................................................................... 99
5.6 สรุปผลการวิจัย................................................................................................ 100
5.7 อภิปรายผลการวิจัย........................................................................................... 103
5.8 ข้อเสนอแนะ.................................................................................................... 107
บรรณานุกรม………………………………………………………………………………… 111
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย........................................................................... 117
ภาคผนวก ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ....................................................... 124
ภาคผนวก ค ประวัติผู้วิจัย……………….............................................................. 126
7
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง……………………................................................ 36
2 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา................................... 41
3 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำแนกเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน.................. 42
4 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านวิชาการ..................................................... 44
5 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา....................................................................... 48
6 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านการบริการทั่วไป...................................... 52
7 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาการศึกษา จำแนกเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน........................................... 55
8 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาการศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านวิชาการ........................ 57
9 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาการศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา...................................................................... 61
8
สารบัญตาราง (ต่อ)
ตารางที่ หน้า
10 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาการศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการบริการทั่วไป..................................................................................................... 65
11 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ จำแนกเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน........................................ 69
12 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านวิชาการ...................... 71
13 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา.......................................................................... 75
14 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการบริการทั่วไป..................................................................................................... 79
15 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ จำแนกเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน........................................ 82
16 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านวิชาการ...................... 84
9
สารบัญตาราง (ต่อ)
ตารางที่ หน้า
17 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา.......................................................................... 88
18 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการบริการทั่วไป..................................................................................................... 92
19 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านวิชาการ...................................................... 96
20 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา........................................................................ 97
21 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านการบริการทั่วไป.......................................... 97
10
สารบัญแผนภูมิ
แผนภูมิที่ หน้า
1 กรอบแนวคิดในการวิจัย.........................…………………………….................….. 5
2 โครงสร้างการบริหารงานอาจารย์ที่ปรึกษา………………………….…................... 24
3 ความคาดหวังของนักศึกษาทุกสาขาและสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา................................................ 43
4 ความคาดหวังของนักศึกษาทุกสาขาวิชาและสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านวิชาการ......................... 46
5 ความคาดหวังของนักศึกษาทุกสาขาวิชาและสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา........................................................................ 50
6 ความคาดหวังของนักศึกษาทุกสาขาวิชาและสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านการบริการทั่วไป............. 53
7 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาและสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา................................................. 56
8 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาและสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านวิชาการ............................ 59
9 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาและสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา........................................................................ 63
10 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาและสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านการบริการทั่วไป............. 67
11 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา................................................. 69
12 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านวิชาการ............................ 73
11
สารบัญแผนภูมิ (ต่อ)
แผนภูมิที่ หน้า
13 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา........................................................................ 77
14 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านการบริการทั่วไป............. 80
15 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์และสภาพที่ปฏิบัติจริงของ
อาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา................................................. 83
16 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์ศาสตร์และสภาพที่ปฏิบัติจริง
ของอาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านวิชาการ...................... 86
17 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์ศาสตร์และสภาพที่ปฏิบัติจริง
ของอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา....................................................................... 90
18 ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์ศาสตร์และสภาพที่ปฏิบัติจริง
ของอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านการบริการทั่วไป..... 94
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่งอยู่
ในหมวด 3 ระบบการศึกษา (มาตรา 21) โดยมีหน้าที่หลักในการจัดการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 ที่ระบุไว้ว่า “ในการจัดการศึกษานั้นจะต้องทำ
ให้คนไทยมีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรมและ
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข” (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542 : 5)
จากหลักการดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นภารกิจสำคัญยิ่งของสถาบันในการสร้างบัณฑิตให้เป็นคนเก่งและคนดี
อันเป็นความปรารถนาและความใฝ่ฝันของสถาบัน ดังนั้นนโยบายการจัดการศึกษาของสถาบันจึง
พยายามดำเนินการทุกวิถีทางที่จะทำให้นักศึกษาของสถาบันเป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม ด้วยการจัด
ให้มี “ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา” ขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมาย (สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา,
2542 : 40) ดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้คำแนะนำทางวิชาการเกี่ยวกับหลักสูตร ลักษณะรายวิชา วิธีการเลือกรายวิชา
การลงทะเบียน วิธีการเรียนและการวัดผล เพื่อให้นักศึกษาสามารถศึกษาได้ตรงกับความสามารถ
ความถนัดและความสนใจของตน
2. เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องราวของระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนกฎเกณฑ์ต่างๆ
ทั้งหมดของคณะวิชาและของสถาบัน
3. เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริการและสวัสดิการต่างๆ ที่สถาบันและคณะวิชาจัด
ให้แก่นักศึกษา
4. เพื่อเป็นที่พึ่งของนักศึกษาสำหรับฟังปัญหาและช่วยเหลือให้นักศึกษาสามารถ
แก้ปัญหา ทั้งที่เป็นปัญหาทางการเรียนและปัญหาส่วนตัว
5. เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา และ
นักศึกษากับสถาบัน
การที่ผู้เรียนจะประสบความสำเร็จในชีวิตการเรียนได้นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน
ที่ตัวผู้เรียนเอง เช่น ความสามารถต่างๆ แล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ อันได้แก่ ครอบครัว
สื่อมวลชน และสถานศึกษา ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถใช้ชีวิตใน
2
วัยเรียนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและคุ้มค่า ในส่วนของสถานศึกษา ปัจจุบันได้มีการเน้นในเรื่อง
ของการประกันคุณภาพทางการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนและผู้ปกครองซึ่งถือเป็นลูกค้าที่สำคัญ
ที่สุดแน่ใจได้ว่าเมื่อผู้เรียนเข้ามาอยู่ในสถานศึกษาแล้วจะได้รับบริการอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นบริการ
ด้านวิชาการ บริการด้านการแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้เรียน รวมทั้งบริการ
ส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพภายในของตนเองอย่างเต็มที่ (มหาวิทยาลัย
หอการค้าไทย, 2545 : 1) โดยอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญซึ่งจะช่วยเสริมในส่วนที่
นักศึกษาขาดหายไปในการพัฒนาความเจริญงอกงามในทุกด้าน นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เข้าเรียนในระดับ
อุดมศึกษานั้น มีเป้าหมาย มีอุดมการณ์ และพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งเหล่านั้นจะ
สิ้นสุดลงไปเมื่อนักศึกษาเกิดปัญหาความคับข้องใจ ความไม่พึงพอใจ และไม่สามารถขจัดออกไปได้
ทำให้เกิดการออกกลางคัน เกิดความต้องการเปลี่ยนสาขาวิชาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นผู้เข้ามา
แนะนำในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียน ทักษะการเข้าสังคม ตลอดจนทักษะในการใช้
ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตัวนักศึกษา โดยตระหนักว่าระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็น
กิจกรรมที่จะส่งเสริมการศึกษาเล่าเรียน และการใช้ชีวิตความเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ของนักศึกษา
สถาบันราชภัฏ ทั้งนี้เพราะระบบอาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ตามความรู้
ความสามารถ และความสนใจของตนให้มากที่สุดที่จะมากได้ รวมทั้งการปรับตัวและพัฒนาตนเองให้
สอดคล้องกับเหตุผลและสถานการณ์ด้วยความมีสติ โดยงานให้คำปรึกษานั้นถ้าหากทำได้อย่าง
มีประสิทธิภาพก็น่าจะช่วยพัฒนานักศึกษาได้มาก เพราะนอกจากจะมุ่งให้นักศึกษาแก้ปัญหาได้ด้วย
ตนเองแล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะในการพึ่งตนเอง คิดเป็นทำเป็น แก้ปัญหาได้ แต่การที่จะทำงานนี้ได้
อย่างมีประสิทธิภาพนั้นมิใช่สิ่งที่ทำได้ง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินกว่าที่จะฝึกฝน (สถาบันราชภัฏบ้าน
สมเด็จเจ้าพระยา, 2542 : 46)
สำหรับบทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามที่ระบุไว้ในคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฉบับปรับปรุง 2544 (สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2544
: 8-16) กำหนดไว้ 3 ด้าน คือ (1) ด้านวิชาการ (2) ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา และ
(3) ด้านการบริการทั่วไป โดยบทบาทและหน้าที่ทั้ง 3 ด้านดังกล่าวข้างต้น สามารถครอบคลุม
งานด้านการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาได้เป็นอย่างดี
จากความสำคัญของอาจารย์ที่ปรึกษาดังได้กล่าวมาแล้ว ทำให้ผู้วิจัยซึ่งเป็นอาจารย์ใน
สถาบันราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา และทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาของสถาบัน มีความสนใจที่จะทำ
การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่ปฎิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบ ันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อทำให้ทราบความคาดหวังของนักศึกษาและสภาพที่ปฏิบัติ
จริงของอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ยังเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงระบบอาจารย์ที่ปรึกษา
3
ในสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อคุณภาพและ
ความสำเร็จของนักศึกษาในสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาตามนโยบายของสำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2. เพื่อศึกษาสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาตามความคิดเห็นของ
นักศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3. เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของนักศึกษากับสภาพที่ปฎิบัติจริงของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. เพื่อให้ทราบความคาดหวังของนักศึกษาและสภาพที่ปฏิบัติจริงของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2. เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ใน
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตเนื้อหาในการวิจัย ผู้วิจัยมุ่งศึกษาบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาตามคู่มืออาจารย์ที่
ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฉบับปรับปรุง 2544 (สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา, 2544 : 8-16) ใน 3 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านสวัสดิการและพัฒนานักศึกษา และด้าน
การบริการทั่วไป
2. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ที่ศึกษาในภาคปกติชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2545 ทั้ง 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษา สาขา
วิชาวิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาศิลปศาสตร์
4
นิยามศัพท์เฉพาะ
อาจารย์ที่ปรึกษา หมายถึง อาจารย์ที่สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แต่งตั้งให้ทำหน้าที่
ให้คำปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือแนะนำและสนับสนุนส่งเสริมนักศึกษาสถาบันด้านวิชาการ ด้าน
สวัสดิการและพัฒนานักศึกษา และด้านอื่น ๆ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ของอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น
การให้การปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะแนวทางที่ดีให้แก่นักศึกษาในด้านวิชาการ ด้านสวัสดิการและ
พัฒนานักศึกษา และด้านอื่น ๆ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการ หมายถึง การให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในเรื่อง
ของการวางแผนการศึกษา การเลือกวิชาเรียน โปรแกรมการเรียนตลอดจนการแก้ปัญหาต่างๆ ในด้าน
หลักสูตร การสอบ การวัดผล การเรียนการสอน ด้านฝ่ายทะเบียน วัดผลประเมินผลและด้านการเงิน
ของสถาบัน
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ด้านสวัสดิการและพัฒนานักศึกษา หมายถึง การให้
คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของสถาบัน ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง
สวัสดิการและบริการต่างๆที่สถาบันจัดให้กับนักศึกษา จัดทำข้อมูลระเบียนสะสมประจำตัว
นักศึกษา เพื่อให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเรื่องปัญหาส่วนตัว ความประพฤติ การพัฒนา
บุคลิกภาพ ร่างกาย สุขภาพ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านการบริการทั่วไป หมายถึง การให้คำปรึกษาในด้านการ
ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอน หน่วยงานต่างๆ พิจารณาคำร้องให้การรับรองต่างๆ กิจกรรมที่
ส่งเสริมนักศึกษาในทุกด้าน
นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ศึกษาในภาคปกติชั้น
ปีที่ 4 ปีการศึกษา 2545 ทั้ง 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และ
สาขาวิชาศิลปศาสตร์
ความคาดหวังของนักศึกษา หมายถึง ความปรารถนาของนักศึกษาที่จะให้อาจารย์
ที่ปรึกษาให้คำปรึกษา ช่วยเหลือและแนะแนวทางที่ดีแก่นักศึกษาทั้งเรื่องโครงการ เรื่องส่วนตัว และ
เรื่องอื่นๆ เมื่อนักศึกษาประสบปัญหา และต้องการความช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถศึกษาในสถาบัน
ราชภัฏได้จนจบหลักสูตร ซึ่งนักศึกษาคาดหวงว่าถ้าอาจารย์ใช้การนิเทศตามที่นักศึกษาคาดหวัง
จะช่วยในการพัฒนาการปฏิบัติงานของนักศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

สภาพที่ปฏิบัติจริง หมายถึง การให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาที่นักศึกษาได้รับ
ตามความเป็นจริง
5
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดตามบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาของ
สถาบันราชภัฏ ตามคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฉบับปรับปรุง 2544
(สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2544 : 8-16) ดังนี้
บทบาทของ
อาจารย์ที่ปรึกษา
(1) ด้านวิชาการ
(2) ด้านสวัสดิการและ
พัฒนานักศึกษา
(3) ด้านการบริการทั่วไป
ให้คำปรึกษา
ความคาดหวัง
ของนักศึกษา
ระดับการปฏิบัติจริง
ที่ได้รับ
แผนภูมิที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัย เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
1. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษา
1.1 ความหมายของอาจารย์ที่ปรึกษา
1.2 ความสำคัญของอาจารย์ที่ปรึกษา
1.3 คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา
1.4 บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
1.4.1 ด้านวิชาการ
1.4.2 ด้านสวัสดิการและพัฒนานักศึกษา
1.4.3 ด้านการบริการทั่วไป
2. โครงสร้างการบริหารงานอาจารย์ที่ปรึกษา และระบบอาจารย์ที่ปรึกษาของ
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยในประเทศ
3.2 งานวิจัยต่างประเทศ
7
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษา
1. ความหมายของอาจารย์ที่ปรึกษา
การให้คำปรึกษาเป็นการบริการที่ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจในตนเอง สามารถแก้ไข
ปัญหาและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ซึ่งนักวิชาการได้ให้แนวคิดไว้ดังนี้
วัชรี ทรัพย์มี (2525 : 5) กล่าวว่า การให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการของ
สัมพันธภาพระหว่างผู้ให้คำปรึกษาซึ่งเป็นนักวิชาชีพที่ได้รับการฝึกบอรม กับผู้รับบริการ
ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเพื่อช่วยเหลือให้ผู้รับบริการเข้าใจตนเองเพิ่มขึ้น ปรับปรุงทักษะ
ในการตัดสินใจและทักษะในการแก้ปัญหา ตลอดจนปรับปรุงความสามารถในการที่จะทำให้
ตนเองพัฒนาขึ้น
ผกา บุญเรือง (2528 : 140) ได้ให้ความหมายของการให้คำปรึกษาไว้ว่าการให้
คำปรึกษา คือ กระบวนการทั้งหมดในการที่จะช่วยเหลือบุคคลผู้ประสบปัญหาและมีความ
ต้องการต่างๆ ให้สามารถขจัดอุปสรรคและสนองความต้องการเหล่านั้นได้โดยวิธีที่เหมาะสมกับ
ตนเอง โดยการช่วยเหลือนั้นมาจากบุคคลผู้มีความรู้ ประสบการณ์ และได้รับการฝึกฝนมาแล้ว
การให้คำปรึกษามีองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ (1) ผู้ขอรับคำปรึกษา (2) ผู้ให้คำปรึกษา
และ (3) กระบวนการของการให้คำปรึกษา องค์ประกอบทั้ง 3 ประการ เป็นความสัมพันธ์ต่อกัน
ระหว่างผู้ให้คำปรึกษากับผู้มาขอรับคำปรึกษาที่จะร่วมมือกันเพื่อค้นหาแนวทางที่จะลดปัญหาให้
เบาบางหรือหมดสิ้นไป ซึ่งผู้ให้คำปรึกษาจะต้องช่วยตัวเองให้มากที่สุด โดยพยายามนำเอา
ความสามารถและคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวของผู้มาขอรับคำปรึกษามาใช้ เพื่อมุ่งให้เกิดประโยชน์
แก่ตัวผู้มาขอรับคำปรึกษาเองเป็นหลัก
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2529 : 1) ได้ให้นิยามของการให้คำปรึกษาไว้ว่าเป็น
กระบวนการซึ่งบุคคลที่มีความสามารถรอบรู้เป็นพิเศษ จะช่วยบุคคลอนื่ ใหเ้ ขา้ ใจตนเองและ
สิ่งแวดล้อมของตน และช่วยส่งเสริมให้บุคคลเหล่านั้นมีความรับผิดชอบในการตัดสินใจ
ซึ่งจะนำไปสู่การปรับตน อันเป็นที่พอใจหรือพิจารณาแก้ไขปัญหาอันเป็นที่รับรองได้
ศุภวดี บุญญวงศ์ (2531 : 113) ได้ให้ความหมายของการให้คำปรึกษาไว้ดังนี้
การให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการที่ผู้ให้คำปรึกษาซึ่งมีความรู้ได้รับการฝึกฝนอบรมมาเป็นอย่างดี
ช่วยผู้มารับคำปรึกษาอันหมายถึง บุคคลที่ประสบปัญหาและความต้องการต่างๆ ได้สามารถ
แก้ไขปัญหาตลอดจนตอบสนองความต้องการนั้นๆ โดยใช้กลวิธีต่างๆ เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญ
คือ ผู้มารับคำปรึกษาสามารถตัดสินใจและดำเนินการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
8
เจียรนัย ทรงชัยกุล (2533 : 734) ให้ความหมายของการให้คำปรึกษาดังนี้คือ
กระบวนการช่วยเหลือ ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ร่วมมือกันเป็นอย่างดีระหว่างบุคคลอย่างน้อย
สองคน ได้แก่ ผู้ให้บริการปรึกษา ซึ่งมีคุณสมบัติด้านส่วนตัวและคุณสมบัติด้านวิชาชีพ
ที่เหมาะสมให้ความช่วยเหลือเพื่อให้เขามีความเข้าใจในตนเองและสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น
มีทักษะและความสามารถในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถพัฒนาตนเองด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสมและดำเนินชีวิตด้วยความสุขตามควรแก่อัตภาพ
อาภา จันทรสกุล (2535 : 2) กล่าวว่า การให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการให้
ความช่วยเหลือ โดยผู้ขอรับคำปรึกษาพบปะกับผู้ให้คำปรึกษาภายใต้สัมพันธภาพที่ช่วยให้ผู้ขอรับ
คำปรึกษาเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง สภาพแวดล้อม และปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ได้ดีขึ้น การให้
คำปรึกษาโดยการใช้เทคนิคและวิธีการทางจิตวิทยาช่วยให้ผู้ขอรับคำปรึกษามีโอกาสสำรวจ
ความรู้สึก ค่านิยมตลอดจนข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับตนเอง เพื่อนำไปสู่ทักษะในการแก้ปัญหาและ
การตัดสินใจเลือกเป้าหมายในการดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การให้คำปรึกษาควรดำเนินการในสภาพที่มีลักษณะเป็นส่วนตัว มีแบบแผน
ทางวิชาชีพ โดยผู้ให้คำปรึกษาปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการรักษาข้อมูลของผู้รับคำปรึกษา
ไว้เป็นความลับ
ดังนั้นการให้คำปรึกษาจึงเป็นกระบวนการให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาให้เข้าใจ
และยอมรับตนเอง สามารถวิเคราะห์ข้อมูล แสวงหาลู่ทางพร้อมตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้
ซึ่งความสำเร็จทั้งหลายทั้งปวงนี้ อาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นผู้ที่มีบทบาทมีความสำคัญยิ่ง
สรุปได้ว่า อาจารย์ที่ปรึกษา หมายถึง อาจารย์ที่สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
แต่งตั้งให้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือแนะนำและสนับสนุนส่งเสริมนักศึกษาสถาบัน
ด้านวิชาการ ด้านสวัสดิการและพัฒนานักศึกษา และด้านอื่นๆ
2. ความสำคัญของอาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา หมายถึง อาจารย์ที่ทำหน้าที่สอนในภาควิชาที่ตนสังกัดและ
ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ ควบคุมหรือช่วยเหลือนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาตามที่หลักสูตร
กำหนด วิจิตร บุญยธโรกุล (2541 : 5) กล่าวว่า อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ
ต่อสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้ที่มีส่วนช่วยพัฒนานักศึกษาให้เป็นคนสมบูรณ์ทั้ง
ด้านวิชาการ สติปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกายและจิตใจ ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยผลิตกำลังคนที่
มีคุณภาพสนองต่อสังคมและประเทศชาติ และวิลาลินี นุกัลยา (2539 : 16) กล่าวเสริมอีกว่า
อาจารย์ที่ปรึกษามีความสำคัญ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีทัศนคติต่อกิจกรรมที่ถูกต้องว่ากิจกรรมต่างๆ
9
พัฒนาให้นักศึกษาเจริญงอกงามทางสติปัญญา ความคิดและความรับผิดชอบและความเป็นผู้นำ
ซึ่งวิโรจน์ ว่องวรานนท์ (2539 : 2-3) ให้ความเห็นว่า สถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาจำเป็น
ต้องจัดอาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาด้วยเหตุผลสำคัญสรุปไว้ 3 สาเหตุได้แก่
1) หลักสูตร ปว.ช. ปว.ท. และ ปว.ส. มีความซับซ้อนในการจบหลักสูตร มีการ
กำหนดสัดส่วนวิชาที่จะต้องเรียนในหมวดต่างๆ ไว้ตลอดจนมีการอนุญาตให้สอบเทียบได้ และ
ในระเบียบประเมินผลการศึกษามีเกณฑ์ที่กำหนดให้พ้นสภาพเป็นระยะ หากไม่ได้ระดับคะแนน
ตามที่กำหนด นักเรียนนักศึกษาที่มาเรียนจึงต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือดูแลตักเตือนให้
สามารถเรียนไปได้ตลอดโดยมิต้องออกกลางคัน
2) นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาส่วนหนึ่งต้องเช่าหอพัก
หรืออาศัยอยู่กับเพื่อน เช่น ญาติพี่น้อง พระภิกษุ เนื่องจากสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา
มีน้อย การที่นักศึกษาซึ่งอยู่ในวัยรุ่นต้องจากบิดามารดาหรือช่วยแก้ปัญหา ดังนั้นอาจารย์ที่ปรึกษา
จึงนับว่ามีความสำคัญต่อนักเรียนนักศึกษา
3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตรอาชีวศึกษาทุกระดับชั้น แสดงความคาดหวังไว้อย่าง
กว้างขวางว่าต้องการผลิตนักเรียนนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เช่นใด
ดังนั้น การให้การศึกษาจึงมิได้อยู่ที่การสอนรายวิชาต่างๆ ที่กำหนดไว้เท่านั้น จะต้องให้
การศึกษาอบรมและจะต้องกระทำโดยต่อเนื่อง ครู-อาจารย์หลายฝ่ายรวมทั้งอาจารย์ที่ปรึกษา
ล้วนมีหน้าที่จะต้องรับผิดชอบในการให้การศึกษาตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
สำหรับคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฉบับปรับปรุง
2544 กล่าวสรุปถึงความสำคัญของอาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2544 :
1) ได้ดังนี้
1) ด้านวิชาการ อาจารย์ที่ปรึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จทาง
ด้านวิชาการของนักเรียนนักศึกษา กล่าวคือ อาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร การลงทะเบียนวิชาเรียน วิธีการเรียน การวัดผล ตลอดจนแนวทางการศึกษาที่
นักศึกษาจะสามารถจบหลักสูตรไปได้อย่างราบรื่น
2) ด้านพัฒนาบุคลิกภาพ อาจารย์ที่ปรึกษาจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนา
บุคลิกภาพของนักศึกษาเช่น การแต่งกายให้ถูกระเบียบและเหมาะสมและสอดคล้องกับวัฒนธรรม
ประเพณีไทย การสร้างมนุษยสัมพันธ์ การรู้จักกาลเทศะและบุคคล ตลอดจนคุณธรรมต่างๆ เช่น
ความซื่อสัตย์ ความอุตสาหะวิริยะ ความรับผิดชอบ เป็นต้น
3) ด้านการทำกิจกรรมต่างๆ อาจารย์ที่ปรึกษาจะมีส่วนกระตุ้นและสนับสนุนให้
นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของวิทยาลัย อาทิ การปฐมนิเทศ วันไหว้ครู งานแห่เทียนพรรษา
งานกีฬาภายใน ฯลฯ การเข้าร่วมชมรม ชุมนุมหรือสโมสรนักศึกษาเพื่อฝึกการเป็นผู้นำและ
10
ผู้ตามที่ดีในสังคมประชาธิปไตย การทำงานร่วมกัน การแสดงความรู้ความสามารถพิเศษ เช่น
ดนตรี กีฬา หรือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตลอดจนการตัดสินใจและการแก้ปัญหาต่างๆ
4) ด้านการบริการต่างๆ อาจารย์ที่ปรึกษามีความสำคัญในการแนะนำบริการและ
สวัสดิการต่างๆ ของวิทยาลัยให้นักศึกษาทราบ เช่น บริการแนะแนวสารสนเทศและบริการ
อาชีพ บริการตรวจสุขภาพ บริการของฝ่ายทุนและรางวัล บริการจากฝ่ายทะเบียนวัดผล เป็นต้น
5) ด้านการสร้างชื่อเสียงให้สถาบัน อาจารย์ที่ปรึกษามีส่วนสำคัญในการส่งเสริม
สนับสนุน และกระตุ้นให้นักศึกษาช่วยสร้างเสริมและรักษาชื่อเสียงของสถาบัน รวมทั้ง
การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสถาบัน โดยพัฒนาความรู้ความสามารถของตนให้มีศักยภาพสูง
จนเป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น ความรู้ ความสามารถทางด้านการเรียน การสอบชิงทุน การได้
รับรางวัลด้านกีฬา ดนตรี การแสดงการแข่งขันและประกวดต่างๆ
6) ด้านการวางแผนชีวิตและการเลือกอาชีพอาจารย์ที่ปรึกษามีบทบาทสำคัญ
ในการกระตุ้นให้นักศึกษาวางแผนชีวิตและการเลือกอาชีพ โดยประสานกับฝ่ายต่างๆ เช่น
ฝ่ายแนะแนว อาชีพและจัดหางาน ฝ่ายจัดหางานของกรมแรงงาน
7) ด้านการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและเป็นพลเมืองดีของชาติ อาจารย์ที่ปรึกษามี
ส่วนสำคัญในการเสริมสร้าง สนับสนุนและกระตุ้นให้นักศึกษาประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิก
ที่ดีของสังคมและเป็นพลเมืองดีของชาติ โดยเสียสละอุทิศกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญาหรือ
กำลังทรัพย์ สร้างสรรค์สังคม รวมทั้งการให้ความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็น
ประโยชน์ต่อสังคม ปฏิบัติตามกฎระเบียบและกติกาที่กำหนดไว้ มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เห็นประโยชน์แก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ฯลฯ
ดังนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาจึงเป็นผู้รับภาระงานที่มีค่ายิ่งต่อนักศึกษาและประเทศชาติ
ถ้าทุกสถาบันให้ความสนใจ พัฒนาระบบงานอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างดี ย่อมส่งผลต่อคุณภาพของ
บัณฑิตเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นอาจารย์ที่ปรึกษายังต้องมีคุณลักษณะที่เพียบพร้อมสมบูรณ์ด้วย
3. คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา
คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติ
หน้าที่ ถ้าอาจารย์ที่ปรึกษามีคุณลักษณะที่เหมาะสม ย่อมประสบความสำเร็จในงานหน้าที่การเป็น
อาจารย์ที่ปรึกษา ทั้งนี้เพราะ นักศึกษาจะยอมรับอาจารย์ที่ปรึกษา โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของ
อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นประการสำคัญอันดับแรก มีนักการศึกษาได้แสดงความเห็นดังนี้
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (2523 : 1) ได้บัญญัติสาระ
เกี่ยวกับคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาไว้ในเอกสารคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาดังนี้
11
1) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ด้านวิชาการ หลักสูตรและ
กิจการสถาบัน
2) ผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
3) มีความเสียสละและยินดีช่วยเหลือผู้อื่น
4) เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษา
สำเนาว์ ขจรศิลป์ (2534 : 38) เห็นว่าสถาบันทุกแห่งควรกำหนด คุณลักษณะ
อาจารย์ที่ปรึกษาที่ดี เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาทราบและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง และ
กล่าวถึงคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดี ควรมีดังต่อไปนี้
1) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
2) มีความรับผิดชอบดี
3) ใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษา
4) มีความรู้กว้างขวางและทันต่อเหตุการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
5) มีความจริงใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
6) มีเหตุผลและมีความสามารถในการแก้ปัญหา
7) มีความเมตตากรุณา
8) ไวต่อความรับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว
9) มีหลักจิตวิทยาในการให้การปรึกษาและมีจรรยาอาจารย์ที่ปรึกษา
10) มีความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นแบบอย่างที่ดี
11) รู้บทบาท และหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นอย่างดี
12) มีประสบการณ์ในหน้าที่งานอาจารย์ที่ปรึกษา
วัฒนา พัชราวานิช (2539 : 221-222) ให้ความเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของอาจารย์ที่
ปรึกษาที่จะสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้
1) สนใจปัญหาต่างๆ ของนักศึกษา เอาใจใส่และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ
2) สนใจใฝ่หาความรู้เพื่อให้ทราบถึงหน้าที่ที่แท้จริงของตนเอง รวมทั้งวางแนวทาง
ในการแก้ปัญหา
3) มีความคิดริเริ่ม มีสมรรถภาพในการทำงาน มีความคล่องตัว มีใจรักงาน
อย่างแท้จริง
4) ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมมามากพอสมควร อันจะนำมา
ใช้ในการปฏิบัติตนเอง
5) มีบุคลิกลักษณะดีเป็นที่ยอมรับของนักศึกษา
12
6) มีไหวพริบและปฏิภาณในการโต้ตอบ การสนทนา การให้คำปรึกษาอย่างฉลาด
สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
7) มีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ รักความยุติธรรม มีระเบียบกฎเกณฑ์
8) เป็นบุคคลที่ใจกว้าง สามารถรับฟังความคิดเห็นต่างๆ ได้ทุกสถานการณ์
9) เป็นบุคคลที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่วิตกกังวลต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ
สามารถรับฟังได้ด้วยใจสงบ แล้วพยายามนำข้อบกพร่องไปพิจารณาเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
10) เป็นบุคคลที่สามารถรักษาความสามัคคีภายในกลุ่มได้อย่างสม่ำเสมอ
11) เป็นบุคคลที่สามารถปฏิบัติตัวในฐานะผู้นำแบบประชาธิปไตยอันเป็นที่ยอมรับ
ของสมาชิกภายในกลุ่ม
12) เป็นบุคคลที่ยอมเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่องานในหน้าที่ของตนเสมอ
13) เป็นบุคคลที่เตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์ทุกๆ ด้าน โดยไม่เกิดความวิตกกังวล
14) เป็นบุคคลที่สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม และมีความรับผิดชอบสูง
15) เป็นบุคคลที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีเมตตา
16) เป็นบุคคลที่ขยันขันแข็ง มีมานะอดทนในการทำงาน มีความอดทนในการรอคอย
17) เป็นบุคคลที่สนใจติดตามผลงานที่ตนเองได้ปฏิบัติลงไป
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (2542 : 41) ได้กำหนดคุณลักษณะของอาจารย์ที่
ปรึกษาไว้ว่า 7 ประการ คือ
1) เข้าใจปัญหาของนักศึกษา พร้อมและรู้จักที่จะช่วยเหลือให้นักศึกษาปรับต่อสภาพ
การเรียนระดับอุดมศึกษา โดยชี้แจงแนะนำให้นักศึกษาเข้าใจวิธีเรียนและวิธีการศึกษาค้นคว้า
2) มีบุคลิกภาพที่ช่วยให้ไว้ใจอยากเข้าไปปรึกษา เป็นกันเอง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
มีท่าทางน่าเชื่อถือศรัทธา
3) สละเวลาพบนักศึกษาอย่างน้อยสัปดาห์และ 1 ครั้ง เพื่อทราบปัญหาของนักศึกษา
4) ศึกษาและทำความรู้จักนักศึกษาของตนเป็นอย่างดี
5) เอาใจใส่ในความประพฤติของนักศึกษา
6) เป็นบุคคลที่ยอมรับและพยายามแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง
7) เป็นผู้มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งอาจารย์ที่ปรึกษา
13
นอกจากนี้ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (2544 : 10) ยังได้บัญญัติสาระ
เกี่ยวกับคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาไว้ในเอกสารคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาไว้ 10 ประการ คือ
1) เข้าใจปัญหาของนักศึกษา และพร้อมรับที่จะช่วยเหลือให้นักศึกษาปรับตัวต่อ
สภาพการเรียนระดับอุดมศึกษาโดยชี้แจงแนะนำให้นักศึกษาเข้าใจวิธีเรียนและวิธีการศึกษาค้นคว้า
2) มีบุคลิกภาพที่ช่วยให้ไว้ใจอยากเข้าไปปรึกษาเป็นกันเองมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
มีท่าทางน่าเชื่อถือศรัทธา
3) สละเวลาพบนักศึกษาอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้งเพื่อทราบปัญหาของนักศึกษา
4) ศึกษาและทำความรู้จักนักศึกษาของตนเป็นอย่างดี
5) เป็นบุคคลที่ยอมรับและพยายามแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง
6) เป็นผู้มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งอาจารย์ที่ปรึกษา
7) มีจิตสำนึกของความเป็นครูมืออาชีพ
8) มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา
9) หาโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมกับนักศึกษา
10) แสวงหาโอกาสในการศึกษา อบรมและพัฒนาทักษะการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
อย่างน้อยควรเข้ารับการอบรมปีละ 1 ครั้ง
ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่าคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดี จะก่อให้เกิดการ
มีปฏิสัมพันธ์อันดีกับนักศึกษา ทำให้นักศึกษาไว้วางใจ กล้าที่จะเผยความคับข้องใจ สามารถ
แก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี ช่วยลดปัญหาการสูญเปล่าในการลงทุนทางการศึกษา
4. บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่สำคัญ คือ ช่วยเหลือนักศึกษาให้ได้รับความรู้
และประสบการณ์อย่างดีที่สุด เมื่อเข้ามาอยู่ในสถานศึกษา ซึ่งแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบเป็น
3 ประการ ดังนี้
1) ด้านวิชาการ
ประชุมสุข อาชวอำรุง (2523 : 158-159) ถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญอันดับแรกของ
อาจารย์ที่ปรึกษา แล้วยังได้รับมอบหมายหน้าที่เกี่ยวกับให้คำแนะนำเรียนตามความมุ่งหมายของ
หลักสูตร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2530 : 1-11) โดยคณะ
อนุกรรมการพิจารณาวางระบบเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษา ได้กำหนดหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
ด้านวิชาการไว้ว่า ให้คำแนะนำในการวางแผนการศึกษา การเลือกวิชาเรียน การแก้อุปสรรค
14
ปัญหาการเรียนวิชาต่างๆ ให้ข้อมูลแก่นักศึกษาในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของสถาบัน
เพื่อจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม และให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิภาพและบริการต่างๆ
ที่มหาวิทยาลัยจัดให้แก่นิสิตนักศึกษา เพื่อนิสิตนักศึกษาจะได้รับเป็นโยชน์ตามสิทธิ์อันพึงมี
สำเนาว์ ขจรศิลป์ (2534 : 3) กล่าวว่า หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้าน
วิชาการดังนี้
(1) ให้การปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรและการเลือกวิชาเรียน
(2) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทะเบียนวิชาเรียน
(3) ควบคุมการลงทะเบียนให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2536 : 11) ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่
ปรึกษาด้านวิชาการไว้ดังนี้
(1) แนะนำและชี้แจงในด้านวิชาการอย่างมีระบบระเบียบ ต้องศึกษาหลักสูตร
แผนกำหนดการศึกษา ข้อบังคับ ลักษณะรายวิชาและวิธีการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ต้องแนะนำควบคุม ดูแลและติดตามผลการเรียนของนักเรียนนักศึกษาให้
เป็นไปตามแผนกำหนดการศึกษา หลักสูตรและเป็นไปตามข้อบังคับ
(3) ส่งเสริมและกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียน และ
ติดตามวิทยาการใหม่ๆ อยู่เสมอ
(4) รวมถึงการศึกษาต่อในระดับสูง ระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา
และการงานในอนาคต
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครเหนือ (2541 : 22) โดยคณะ
กรรมการพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ได้กำหนดหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการไว้ว่า
การให้คำปรึกษาแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรและการเลือกวิชาเรียน ให้คำแนะนำนักศึกษา
เกี่ยวกับการลงทะเบียนวิชาเรียน ควบคุมการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบ
ข้อบังคับ ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเพื่อเลือกวิชา และวางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ให้ คำแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเรียน การค้นคว้า ติดตามผลการเรียนของ
นักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ ทักท้วงการลงทะเบียนเรียนบางวิชาของนักศึกษา เมื่อพิจารณาเห็นว่า
การลงทะเบียนเรียนวิชานั้น ๆ ไม่เหมาะสม ให้การปรึกษาแนะนำ หรือตักเตือนเมื่อผลการเรียน
ของนักศึกษาต่ำลง ให้การปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือนักศึกษา เพื่อการแก้ไขอุปสรรคปัญหา
การเรียนวิชาต่างๆ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดค่าคะแนนระดับเฉลี่ยของนักศึกษา
ให้การปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับสูง
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (2545 : 1-2) ได้กำหนดหน้าที่ของอาจารย์ที่
ปรึกษาทางด้านวิชาการไว้ดังนี้
15
(1) ให้คำปรึกษาแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและการเลือกวิชาเรียน
(2) ให้คำปรึกษาแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับการลงทะเบียนวิชาเรียน
(3) ควบคุมการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ
(4) ให้คำปรึกษานักศึกษาเพื่อเลือกวิชาเอก-โท และการวางแผนการศึกษาให้
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
(5) ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับวิธีการเรียน การค้นคว้า และติดตามผล
การเรียนของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
(6) ยับยั้งการลงทะเบียนเรียนบางวิชาของนักศึกษาเมื่อพิจารณาเห็นว่าการลง
ทะเบียนเรียนวิชานั้นๆ ไม่เหมาะสมหรือก่อให้เกิดผลเสียแก่นักศึกษา
(7) ให้คำปรึกษาแนะนำตักเตือน เมื่อผลการเรียนของนักศึกษาไม่เป็นที่น่าพอใจ
(8) ให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือนักศึกษาเพื่อการแก้ไขอุปสรรคปัญหา
ในการเรียนวิชาต่างๆ
(9) ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดค่าระดับคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษา
(10) ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับสูง
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (2544 : 11) ได้กล่าวถึง บทบาทหน้าที่ของ
อาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการ โดยให้แนวทางในเรื่องของการวางแผนการศึกษา การเลือกวิชา
เรียนโปรแกรมการเรียน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต่างๆ การช่วยเหลือนักศึกษาด้านต่างๆ ดังนี้
(1) ด้านหลักสูตร
- ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจหลักสูตร แผนการเรียน การเลือกวิชาที่เรียน
ทั้งวิชาเอก-โท และวิชาเลือก
- ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจวิธีการจัดตารางสอน, ตารางสอบและการลง
ทะเบียนวิชาเรียนด้านการวัดผลและการสอบ
- ให้ความรู้เรื่องการวัดผลการเรียน การคิดคะแนน การหาค่าระดับคะแนน
เฉลี่ยประจำภาค และค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่เริ่มเรียนจนกระทั่งนักศึกษาสามารถ
คิดคำนวณด้วยตนเองได้
- ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการสอบว่าจะต้องมีเวลาเรียนเท่าใดใน
แต่ละวิชา จึงจะมีสิทธิ์สอบวิชานั้น ๆ หากนักศึกษาขาดไปโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจารย์ที่ปรึกษา
ต้องติดตามหรือประสานงานกับฝ่ายแนะแนวในการติดตามนักศึกษา
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการพ้นสภาพนักศึกษาว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร
- แนะนำให้ทราบถึงวินัยในการสอบ เช่น ถ้ามีการทุจริตในการสอบ
จะมีผลต่อผู้เข้าสอบอย่างไรบ้าง
16
- ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่มีปัญหาเรื่องการสอบ
- ให้แนวทางการศึกษารายละเอียดและเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่อง
ระเบียบการประเมินผล
(2) ด้านการเรียนการสอน
- สำรวจนักศึกษาที่มีผลการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ต้องช่วยเหลือ เพื่อให้
ความช่วยเหลือในการปรับปรุงการเรียนให้ดีขึ้น
- ช่วยให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน ต่อวิชาเรียน ต่ออาจารย์และ
ต่อเพื่อนนักศึกษา
- ให้การแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเรียนและการค้นคว้าหาความรู้
เพิ่มเติม
- ติดตามผลการเรียนของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
- จัดเวทีหรือโอกาสให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนวิธีการส่งเสริมให้เรียนรู้
อย่างไรให้มีความสุข
(3) ด้านฝ่ายทะเบียน วัดผลประเมินผล และฝ่ายการเงิน
- ให้ทราบถึงระเบียบการชำระเงินค่าหน่วยกิต เงินบำรุงการศึกษาทั้ง
กำหนดระยะเวลาชำระเงิน
- ให้ทราบถึงระเบียบการเพิ่มและถอนวิชาเรียน ตลอดจนถึงระเบียบ
การขอพักการเรียน
- การขอใบรับรองคุณวุฒิ และการขอใบรับรองผลการศึกษาและใบคำร้อง
ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเรียน
- ติดต่อประสานงานกับทุกหน่วยงาน เพื่อให้นักศึกษาได้รับบริการ
ที่มีคุณภาพรวดเร็ว
สรุปได้ว่า บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการ หมายถึง การให้คำปรึกษา
แก่นักศึกษาในเรื่องของการวางแผนการศึกษา การเลือกวิชาเรียน โปรแกรมการเรียนตลอดจน
การแก้ปัญหาต่างๆ ในด้านหลักสูตร การสอบ การวัดผล การเรียนการสอน ด้านฝ่ายทะเบียน
วัดผลประเมินผลและด้านการเงินของสถาบัน
17
2) ด้านสวัสดิการและพัฒนานักศึกษา
พจน์ สะเพียรชัย (2529 : 19) กล่าวว่า หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาคือให้
ความรู้ สัจจะหรือความจริงที่ถูกต้องที่เป็นสากลให้กับนักศึกษาเพื่อไปใช้ประโยชน์ในการปรับตัว
แก้ปัญหาเรื่องการเรียน เรื่องส่วนตัวและปัญหาที่เกิดจากสังคมนักศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2530 : 1–11) กำหนดหน้าที่ของ
อาจารย์ที่ปรึกษาด้านสวัสดิการและพัฒนานิสิตนักศึกษาว่าต้องจัดรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนิสิต
นักศึกษาที่อยู่ในความดูแล โดยมีระเบียนสะสมประจำตัวนิสิตนักศึกษาแต่ละคน เพื่อประโยชน์
ในการให้คำปรึกษาและการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและอื่นๆ เป็นที่พึ่งแก่นักศึกษาเมื่อมี
ปัญหาส่วนตัว เช่น แนะนำแหล่งทุนการศึกษาที่นิสิตนักศึกษาอาจไปขอความช่วยเหลือ จัดตาราง
เวลา (Office–hour) ไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้โอกาสนิสิตนักศึกษามาพบเพื่อขอคำปรึกษา พยายาม
หาทางช่วยนิสิตนักศึกษาในการแก้ปัญหา ถ้าเป็นปัญหาที่เกินความสามารถก็แนะนำให้ไปหาผู้ที่
สามารถช่วยเหลือได้ต่อไป นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ช่วยเหลือนิสิตนักศึกษาพัฒนาตนเองในด้าน
ต่างๆ เช่น ด้านสังคมและบุคลิกภาพ โดยส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อ
ปรับเปลี่ยนอุปนิสัยที่ไม่พึงประสงค์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2536 : 12) ได้กำหนดบทบาทด้านการพัฒนานักศึกษาไว้
4 ประการ คือ
(1) ให้คำปรึกษาเรื่องการปรับตัว การแต่งกาย บุคลิกภาพ
(2) แนะนำและตักเตือนให้นักศึกษาปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตามระเบียบคณะและ
ของมหาวิทยาลัย
(3) แนะนำ และสร้างเสริมให้นักศึกษามีจริยธรรมและคุณธรรมอันดีงามเป็น
แบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา
(4) ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักศึกษา มีความเป็นกันเองกับนักศึกษา
สุกัญญา สุวรรณนาคินทร์ (2537 : 32) กล่าวว่าหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา คือ
การช่วยให้นักศึกษาสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และการเรียนการสอนเป็นอุปสรรค
ต่อการเรียน ช่วยพัฒนาทั้งในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคมและจิตใจ การเลือกเรียน
อาชีพและการประกอบอาชีพที่เหมาะสม
18
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครเหนือ (2541 : 22) กำหนด
หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านบริการและพัฒนานักศึกษาว่าให้การแนะนำเกี่ยวกับระเบียบ
ข้อบังคับและบริการต่างๆ ของสถาบัน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัว ได้แก่ ปัญหาสุขภาพ
อนามัย ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสังคม เช่น ปัญหาการปรับตัว
ในสังคม และปัญหาการคบเพื่อน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ ความประพฤติ
และจริยธรรม ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาด้านอาชีพ ได้แก่ การให้ข้อมูลในแง่มุมต่างๆ เช่น
ลักษณะของงาน สภาพแวดล้อมของงาน ตลาดแรงงาน ตลอดจนจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่
นักศึกษากำลังศึกษาอยู่ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (2545 : 2) ได้กำหนดหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
ทางด้านบริการและพัฒนานักศึกษาไว้ดังนี้
(1) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับและบริการต่างๆ ภายใน
มหาวิทยาลัยและชุมชน
(2) ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัว ได้แก่ ปัญหาสุขภาพอนามัย
ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
(3) ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ ความประพฤติและ
จริยธรรม
(4) ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับปัญหาด้านอาชีพ ได้แก่ การให้ข้อมูลในแง่มุม
ต่างๆ เช่น ลักษณะของงาน สภาพแวดล้อมของงาน ความก้าวหน้าแนวโน้มของตลาดแรงงาน
ตลอดจนจรรยาบรรณของวิชาชีพที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่
(5) ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (2544 : 12) กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของ
อาจารย์ที่ปรึกษาด้านสวัสดิการและพัฒนานักศึกษาไว้ว่า “หน้าที่ในการพัฒนานักศึกษาด้านนี้ต้อง
เกิดจากสัมพันธภาพที่ดีของทั้ง นักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะคงต้องอาศัยการมีจิตวิญญาณ
ของการให้บริการด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา ความกรุณาต่อนักศึกษา”
ซึ่งแยกออกได้ 11 ประการ คือ
(1) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักศึกษาในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของ
สถาบันเพื่อนักศึกษาจะได้ปฏิบัติตนได้เหมาะสม อีกทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการและ
บรกิ ารตา่ งๆ ที่สถาบันจัดให  เพื่อนักศึกษาจะได้รับประโยชน์ตามสิทธิ์อันพึงมี
19
(2) จัดรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักศึกษาที่อยู่ในความดูแลโดยมีระเบียน
สะสมประจำตัวนักศึกษาแต่ละคน เพื่อประโยชน์ในการให้คำปรึกษาและการให้ความช่วยเหลือ
(3) เป็นที่พึ่งแก่นักศึกษาเมื่อมีปัญหาส่วนตัว เช่น ปัญหาการปรับตัว ปัญหา
การเรียน ปัญหาสุขภาพ เป็นต้น โดยจัดตารางเวลาไว้เป็นพิเศษเพื่อให้โอกาสนักศึกษามาพบ
เพื่อขอคำปรึกษาและพยายามหาวิธีการช่วยเหลือนักศึกษาแก้ปัญหา ถ้าเป็นปัญหาที่เกิน
ความสามารถ ควรแนะนำให้ไปหาผู้ที่สามารถจะช่วยเหลือได้ต่อไป
(4) เอาใจใส่ดูแลความประพฤติของนักศึกษาเพื่อให้เป็นพลเมืองดีและมีศีลธรรม
(5) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ
(6) ให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงหน้าที่ของตนในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ
องค์การนักศึกษาและกิจกรรมต่างๆ ของสถาบัน
(7) ให้นักศึกษาบำเพ็ญประโยชน์แก่ประเทศชาต ิ โดยการสนับสนุนและให้
ความช่วยเหลือต่อนโยบายและกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมที่พึงกระทำได้ในฐานะที่เป็นนักศึกษา
(8) ส่งเสริมนักศึกษาให้มีโอกาสพัฒนาตัวเองครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย
อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เช่น การออกกำลังกาย กิจกรรมการกีฬาและนันทนาการ เป็นต้น
(9) เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา ทั้งเรื่องระเบียบวินัย บุคลิกภาพ การใฝ่รู้
ใฝ่เรียน และพัฒนาตนเองตลอดเวลา
(10) ให้การปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาด้านอาชีพ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ ตลาด
แรงงาน การเข้าสู่อาชีพ และการพัฒนาอาชีพ
(11) ให้การปรึกษาปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การใช้สารเสพติด
การลักขโมย การทะเลาะวิวาท เป็นต้น
ดังนั้น บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านสวัสดิการและพัฒนานักศึกษา
อาจกระทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นิสิตนักศึกษาในด้านบุคลิกภาพ
การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบและการใช้ภาษา การตักเตือนหรือแนะนำแนวทางที่เหมาะสม
เมื่อพบข้อบกพร่องของนิสิตนักศึกษา กระตุ้นให้นิสิตนักศึกษารู้จักคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง
มีการติดตามและประเมินการพัฒนาการของนิสิตนักศึกษาในทุกด้านตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ใน
มหาวิทยาลัย
สรุปได้ว่า บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ด้านสวัสดิการและพัฒนานักศึกษา
หมายถึง การให้ คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของสถาบัน
ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง สวัสดิการและบริการต่างๆที่สถาบันจัดให้กับนักศึกษา จัดทำข้อมูลระเบียน
สะสมประจำตัวนักศึกษา เพื่อให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเรื่องปัญหาส่วนตัว
ความประพฤติ การพัฒนาบุคลิกภาพ ร่างกาย สุขภาพ
20
3) ด้านการบริการทั่วไป
สุจริต เพียรชอบ และ วรศักดิ์ เพียรชอบ (2523 : 108) ได้กล่าวถึงบทบาทของ
อาจารย์ที่ปรึกษาว่าควรทำความเข้าใจกับนักศึกษา เพื่อให้เข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบของ
ตนเกี่ยวกับการเรียนการดำเนินชีวิตในสังคม และเข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบของตนเอง
และของอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านต่างๆ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2530 : 11) กำหนดหน้าที่ของ
อาจารย์ ที่ปรึกษาด้านการบริการทั่วไป ไว้ว่าดำเนินการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการการคัดเลือก
นิสิตนักศึกษาเข้ารับการศึกษา ออกใบรับรองความประพฤติของนิสิตนักศึกษาให้แก่ผู้ที่ขอมาเป็น
ผู้เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหาร อาจารย์และนิสิตนักศึกษา ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์
หรือมีปัญหาใด ที่จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารและหาข้อมูลโดยรวดเร็ว อาจารย์ที่ปรึกษาก็จะ
เป็นสื่อกลางระหว่างสถาบันกับนิสิตนักศึกษา เป็นผู้รับนโยบายในด้านบริหาร ด้านวิชาการ
และด้านกิจการนิสิตนักศึกษาไปปฏิบัติให้เกิดผลดีต่อการดำเนินงานของสถาบันโดยส่วนรวม
รวมทั้งเป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับมายังผู้บริหารและนักวิชาการของสถาบัน ในเรื่องเกี่ยวกับ
การเรียนและปัญหาต่างๆ ของนิสิตนักศึกษา ให้ข้อเสนอแนะแก่สถาบันในการปรับปรุงหลัก
สูตรต่างๆ ให้สนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมในปัจจุบัน ตลอดจนปรับปรุงบริการนิสิต
นักศึกษาในด้านต่างๆ ให้พัฒนาต่อไป
สำเนาว์ ขจรศิลป์ (2534 : 8) ได้กล่าวถึง หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เกี่ยวกับ
การปฏิบัติหน้าที่ต่อนักศึกษาในความดูแลด้านการบริการทั่วไปไว้ 12 ประการคือ
(1) ให้การแนะนำเกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ และบริการต่างๆ ของ
มหาวิทยาลัยและชุมชน
(2) ให้การปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสังคม เช่น ปัญหาการปรับตัวในสังคม
ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
(3) ให้การปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ ความประพฤติและจริยธรรม
(4) พิจารณาคำร้องต่างๆของนิสิตนักศึกษาและดำเนินการให้ถูกต้อง
ตามระเบียบ
(5) ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือ
และเพื่อประโยชน์ของนิสิตนักศึกษา
(6) กำหนดเวลาให้นิสิตนักศึกษาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาแนะนำ อย่างสม่ำเสมอ
(7) เก็บข้อมูลรายละเอียดของนิสิตนักศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อใช้
กับระเบียนสะสม
21
(8) สร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างนิสิต นักศึกษา อาจารย์
คณะและมหาวิทยาลัย
(9) ให้การรับรองนิสิตนักศึกษา เมื่อต้องการนำไปแสดงแก่ผู้อื่นๆ
(10) ป้อนข้อมูลย้อนกลับมายังผู้บริหารเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ
(11) ชี้แจงให้นิสิตนักศึกษาเข้าใจหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา และหน้าที่ของ
นิสิต นักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
(12) ในกรณีที่นิสิตนักศึกษาแต่งกายไม่เรียบร้อยหรือมีความประพฤติไม่เหมาะสม
อาจารย์ที่ปรึกษาต้องตักเตือน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2536 : 12) กำหนดบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาด้าน
การบริการทั่วไปไว้ 7 ประการคือ
(1) ให้คำปรึกษาในปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาทั่วๆ ไป
(2) ควรจัดเวลาให้นักศึกษามาพบอย่างสม่ำเสมอ
(3) ศึกษาภูมิหลังและจัดทำระเบียนสะสมของนักศึกษาเป็นรายบุคคล และ
จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของนักศึกษาไว้เป็นความลับ
(4) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประกอบอาชีพและศึกษาต่อ
(5) แนะนำให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
(6) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย
เพื่อหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา เช่น ทุนการศึกษา งานอาชีพ ฯลฯ
(7) ให้ข้อมูลที่เปิดเผยได้และเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาแก่หน่วยงานต่างๆ
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครเหนือ (2541 : 22) กำหนด
หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านการบริการทั่วไป ไว้ว่าพิจารณาคำร้องต่างๆ ของนักศึกษาและ
ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อช่วยเหลือและเพื่อประโยชน์ของนักศึกษา กำหนดเวลาให้นักศึกษาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษา
แนะนำอย่างสม่ำเสมอ สร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างอาจารย์ แผนกวิชาและ
สถาบันให้การรับรองนักศึกษาเพื่อนักศึกษาต้องการแนะนำไปแสดงแก่ผู้อื่น ป้อนข้อมูลย้อนกลับ
(Feedback) มายังผู้บริหารและคณะกรรมการพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ
ของนักศึกษา ชี้แจงให้นักศึกษาเข้าใจหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อนักศึกษา และหน้าที่ของ
นักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ในกรณีที่นักศึกษาแต่งกายไม่เรียบร้อยหรือมีความประพฤติ
ไม่เหมาะสม อาจารย์ที่ปรึกษาต้องตักเตือน
22
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (2545 : 2-3) ได้กำหนดหน้าที่ของอาจารย์ที่
ปรึกษาทางด้านอื่นๆ ไว้ดังนี้
(1) ให้พิจารณาคำร้องต่างๆ ของนักศึกษาและดำเนินการให้ถูกต้องตาม
ระเบียบ
(2) ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งกองกิจกรรมและสวัสดิการนักศึกษาและกองบริการแนะแนว และจัดหางานเพื่อการ
ช่วยเหลือและเพื่อประโยชน์ของนักศึกษา
(3) กำหนดเวลาให้นักศึกษาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาแนะนำอย่างสม่ำเสมอ
(4) เก็บข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับนักศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบเพื่อใช้กับ
ระเบียบสะสมของนักศึกษา
(5) สร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างนักศึกษา อาจารย์ คณะ
และมหาวิทยาลัย
(6) ให้คำรับรองนักศึกษาภายหลังเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้ว
(7) ป้อนข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) มายังผู้บริหารและคณะกรรมการอาจารย์
ที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเรียนและปัญหาต่างๆ ของนักศึกษา
(8) ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการคณะวิชา
(9) ในกรณีที่นักศึกษาแต่งกายไม่เรียบร้อยหรือมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม
อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องว่ากล่าวตักเตือนนักศึกษาจะต้องว่ากล่าวตักเตือนนักศึกษา หากเห็นสม
ควรให้รายงานกองวินัยนักศึกษาพิจารณาดำเนินการต่อไป
(10) ชี้แจงให้นักศึกษาเข้าใจในหน้าที่ของนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (2544 : 12) กำหนดบทบาทหน้าที่ด้าน
การบริการทั่วไปไว้ 8 ประการ คือ
(1) ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา
เพื่อช่วยเหลือและเพื่อประโยชน์ของนักศึกษา
(2) พิจารณาคำร้องต่างๆ ของนักศึกษาและดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ
ของสถาบัน
(3) ให้การรับรองนักศึกษาเมื่อนักศึกษาต้องการนำไปแสดงแก่ผู้อื่น เช่น
รับรองรับรองการขอรับทุนการศึกษา รับรองสภาพการเป็นนักศึกษา รับรองเอกสารของสถาบันที่
นักศึกษาจะนำไปแสดงกับหน่วยงานของตัวเอง เป็นต้น
23
(4) ชี้แจงให้นักศึกษาเข้าใจบทบาทของนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและเข้าใจ
หน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา เช่น การเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาตามกำหนดเวลา การรับฟังคำตักเตือน
ของอาจารย์ เป็นต้น
(5) ชี้แจงให้นักศึกษาติดตามอ่านประกาศ ข่าวสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อย่างสม่ำเสมอ
(6) อาจารย์ที่ปรึกษาควรเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาบ้าง เพื่อเป็นขวัญ และ
กำลังใจแก่นักศึกษา ในขณะเดียวกันจะได้รวบรวมข้อมูลบางประการของนักศึกษาที่ไม่เหมาะสม
เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป
(7) จัดกิจกรรมเพื่อเสริมความรู้และประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาเป็นครั้งคราว
เช่น กิจกรรมทางศาสนา การเชิญวิทยากรบรรยาย ทัศนศึกษาแหล่งความรู้ต่างๆ การฝึกมารยาท
ด้านการทำความเคารพ การรับประทานอาหาร รวมทั้งการฝึกงานอาชีพ เป็นต้น
(8) การประกาศเกียรติคุณนักศึกษาที่กระทำความดี เพื่อให้สถาบันและ
หน่วยงานของนักศึกษาได้รับทราบ
จะเห็นได้ตำแหน่งอาจารย์ที่ปรึกษาได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อดูแลนักศึกษาใน
ความรับผิดชอบ จึงต้องสนใจ เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เข้าใจธรรมชาติ พฤติกรรมของนักศึกษา
พร้อมที่จะสละเวลาให้ความช่วยเหลือตามสมควร มีมนุษยสัมพันธ์ดี ให้คำปรึกษาทั้งด้านวิชาการ
ด้านสวัสดิการและพัฒนานักศึกษา และด้านการบริการทั่วไปด้วย เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียน
จบตามหลักสูตร มีพฤติกรรมพื้นฐานตามที่สังคมต้องการ
สรุปได้ว่า บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านการบริการทั่วไป หมายถึง การให้
คำปรึกษาในด้านการประสานงานกับอาจารย์ผู้สอน หน่วยงานต่างๆ พิจารณาคำร้องให้การรับรอง
ต่างๆ กิจกรรมที่ส่งเสริมนักศึกษาในทุกด้าน
24
โครงสร้างการบริหารงานอาจารย์ที่ปรึกษาและระบบงานอาจารย์ที่ปรึกษาของ
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1. โครงสร้างการบริหารงานอาจารย์ที่ปรึกษา
จากการสัมมนาเรื่องระบบงานอาจารย์ที่ปรึกษาของสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ
เมื่อวันที่ 13–15 กันยายน พ.ศ. 2543 ณ โรงแรมพิมาน จังหวัดนครสวรรค์ ที่ประชุมได้มีมติ
การวางกรอบโครงสร้างการบริหารงานอาจารย์ที่ปรึกษาไว้ ดังแผนภูมิต่อไปนี้
แผนภูมิที่ 2 โครงสร้างการบริหารงานอาจารย์ที่ปรึกษา
ที่มา : สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (2544 : 8)
อธิการบดี
รองอธิการบดี
ฝ่ายวิชาการ
รองอธิการบดี
ฝ่ายกิจการนักศึกษา
คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษา
ระดับสถาบัน
สำนักส่งเสริมวิชาการ สำนักกิจการนักศึกษา คณบดี
อาจารย์ที่ปรึกษา
25
2. ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (2544 : 9) ได้วางระบบอาจารย์ที่ปรึกษาไว้ดังนี้
1) ระบบคณะกรรมการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาระดับสถาบัน ประกอบด้วย
- รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ประธานคณะกรรมการ
- รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รองประธานคณะกรรมการ
- คณบดีคณะต่าง กรรมการ
- รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา กรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักกิจการนักศึกษา กรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
- หัวหน้าฝ่ายแนะแนวและสารสนเทศฯ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
โดยมีหน้าที่เกี่ยวกับงานพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาดังนี้
(1) กำหนดนโยบายการทำงานและรูปแบบของระบบอาจารย์ที่ปรึกษาประจำ
สถาบัน
(2) ประสานงานและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการ
พัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาระดับคณะ
(3) กำกับดูแลและติดตามประเมินผลการดำเนินงานของอาจารย์ที่ปรึกษาและ
คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาระดับคณะ
2) ระบบคณะกรรมการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาระดับคณะ ประกอบด้วย
- คณบดีคณะต่างๆ ประธานคณะกรรมการ
- รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา รองประธานคณะกรรมการ
- รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการ
- หัวหน้าโปรแกรมวิชาๆ ละ 1 คน กรรมการ
- อาจารย์ผู้รับผิดชอบงานแนะแนว 1 คน กรรมการและเลขานุการ
- ผู้แทนอาจารย์ที่ปรึกษาในคณะ 1 คน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
โดยมีบทบาทและหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) รับนโยบาย และดำเนินการงานอาจารย์ที่ปรึกษาจากคณะกรรมการพัฒนา
อาจารย์ระดับสถาบัน
(2) พัฒนารูปแบบการทำงานของอาจารย์ที่ปรึกษาภายในคณะ
(3) จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาระดับคณะอย่างน้อย
ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
26
(4) ประสานงานและส่งเสริมสนับสนุนกับอาจารย์ที่ปรึกษา
(5) ควบคุมและกำกับติดตามผลการดำเนินงานของอาจารย์ที่ปรึกษาภายในคณะ
(6) รวบรวมข้อมูลนักศึกษาและจัดเตรียมเครื่องมือต่าง ให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษา
3) ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา มีรูปแบบการจัดหลายรูปแบบดังนี้
- จดั เปน็ รายหอ้ งตามโปรแกรมวชิ าตอ่ อาจารย  1 คน และดูแลจนกว่าจะสำเร็จ
การศึกษาขั้นสูงสุด
- จัดเป็นห้องตามโปรแกรมต่ออาจารย์ 2 คน และช่วยกันดูแลนักศึกษาไป
จนสำเร็จชั้นสูงสุด
- จัดเป็นกลุ่มโปรแกรมวิชาต่อกลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษา และดูแลนักศึกษาร่วมกัน
ต่อเนื่องจนสำเร็จชั้นสูงสุด
- จัดเป็นอัตราส่วนที่แน่นอนต่ออาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน เช่น นักศึกษา 20 : 1
และดูแลต่อเนื่องไปจนสำเร็จชั้นสูงสุด
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. งานวิจัยในประเทศ
พรรณนา มงคลวิทย์ (2527 : ง-ฉ) ได้ศึกษาแนวโน้มภารกิจอาจารย์ที่ปรึกษา
ในวิทยาลัยครู ผลการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับด้านการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ พบว่า ภารกิจ
ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านการให้ความร่วมมือประสานกับผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษายังขาดการประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยครู
ซึ่งทั้งนี้สามารถแก้ไขได้โดยการนำระบบข้อมูล ระบบข่าวสาร ระบบภาควิชา อาจารย์ผู้สอน
มาใช้ประสานงานกัน ทั้งนี้ ผู้บริหารควรได้กำหนดขอบเขตงานได้อย่างชัดเจน
นวลจันทร์ รมณารักษ์ (2530 : 90-92) ได้ศึกษาพฤติกรรมการให้คำปรึกษาของ
อาจารย์ที่ปรึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด้านส่วนตัวและสังคม ผลการวิจัยปรากฏ
ดังนี้ อาจารย์ที่ปรึกษามีทัศนะว่าอาจารย์ที่ปรึกษามีพฤติกรรมการให้คำปรึกษาอยู่ในระดับมาก
ได้แก่ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ข้อที่อยู่ในระดับน้อย
ได้แก่ ให้คำแนะนำด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ นักศึกษาพยาบาลมีทัศนะว่าอาจารย์
ที่ปรึกษามีพฤติกรรมการให้คำปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับหน้าที่
และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
27
บัณฑิต ชัยชนะ (2533 : 56) ได้ศึกษาบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาในโรงเรียนมัธยม
ศึกษา ศึกษาผลการวิจัยที่เกี่ยวกับด้านกิจการนักเรียนนักศึกษานั้น อาจารย์ที่ปรึกษามีความเห็นว่า
งานที่อาจารย์ที่ปรึกษาปฏิบัติมากเป็นอันดับแรกคือ การส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมของ
โรงเรียน ส่วนนักเรียนมีความเห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาปฏิบัติมากเป็นอันดับแรกคือ การควบคุม
นักเรียนในด้านความประพฤติ การอบรมนักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบและส่งเสริมให้นักเรียน
เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน
ชัชวาล หังสพฤกษ์ (2535 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์
ที่ปรึกษา และนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรม นักศึกษามหาวิทยาลัย
กรุงเทพ พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทที่ปฏิบัติ
จริง และบทบาทที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษาเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ
ด้านการกำกับดูแล ด้านการให้คำปรึกษาและแนะนำการทำกิจกรรมด้านการประสานงาน สรุปผล
ตามลำดับได้ดังนี้
1) ความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริง และบทบาทที่พึงประสงค์
ของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษา โดยส่วนรวมพบว่า ระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติทุกด้าน
2) ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีบทบาทที่ปฏิบัติจริง และบทบาทที่พึง
ประสงค์ของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษา โดยส่วนรวมพบว่าระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติทุกด้าน
3) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริง และบทบาทที่พึงประสงค์
ของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษา โดยส่วนรวมพบว่าระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติทุกด้าน
4) ความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาที่มีต่อบทบาทที่ปฏิบัติ
จริง และบทบาทที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษา โดยส่วนรวมพบว่าระดับ
ความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับความ
คิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกด้าน
28
5) ความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาที่มีต่อบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษา โดยส่วนรวมพบว่าระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านการให้คำปรึกษาและแนะนำการทำกิจกรรม
6) ความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาที่มีต่อบทบาทที่พึง
ประสงค์ของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษา โดยส่วนรวมพบว่าระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติในด้านการกำกับ ดูแล และด้านการให้คำปรึกษาและแนะนำการทำกิจกรรม
สุรัสวดี มุสิกบุตร (2537 : 115-120) ได้ศึกษาการวิเคราะห์บทบาทของอาจารย์ที่
ปรึกษาวิชาการสาขาสังคมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐตามทฤษฎีของวินสตันและคณะ พบว่า
1) ด้านการแนะนำและให้คำปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการปฏิบัติได้ตามบทบาท
9 ใน 17 ข้อ อาจารย์ที่ปรึกษาส่วนใหญ่จะให้คำปรึกษาและตักเตือน เมื่อพบว่าผลการเรียนต่ำลง
2) ด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการปฏิบัติได้ตามบทบาท 7 ใน
15 ข้อ อาจารย์ที่ปรึกษาส่วนใหญ่สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นกันเองเมื่อนิสิตนักศึกษาเข้าพบ
3) ด้านการให้ความช่วยเหลือและประสานงาน อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการปฏิบัติได้
ตามบทบาท 3 ใน 8 ข้อ อาจารย์ที่ปรึกษาส่วนใหญ่เรียกพบนิสิตนักศึกษาในความดูแล
เมื่อพบว่ามีเรื่องใดที่เกี่ยวข้อง
4) ในด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการเห็นว่าที่เป็นปัญหา
คือ ขาดการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนนิสิตนักศึกษาเห็นว่าที่เป็น
ปัญหา คือ ขาดกิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการกับนิสิต
นักศึกษา
29
อรพรรณ พงษ์ประสิทธิ์ (2537 : 123-125) ได้ทำการศึกษาถึงความต้องการบริการ
ปรึกษาของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยพบว่า
นักศึกษามีความต้องการบริการปรึกษาด้านส่วนตัวและสังคมในเรื่องทักษะการเป็นผู้นำแนวทาง
ไปสู่การพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองและสร้างความอดทนในการทำงาน
อาภรณ์ แก้วมาลา (2537 : 116) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ความต้องการบริการให้คำปรึกษา
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตการศึกษา 7 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความต้องการ
บริการให้คำปรึกษาด้านส่วนตัวและสังคมในเรื่องให้คำปรึกษาแก่นักเรียนเกี่ยวกับแนวทางใน
การดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
วรรณี จำนงรักษ์ (2539 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
ตามความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาในวิทยาลัย สังกัดกรมอาชีวศึกษา จังหวัด
สุราษฎร์ธานี ผลการศึกษาพบว่าด้านกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษามีหน้าที่ให้
คำปรึกษาแก่นักศึกษาในด้านการปรับปรุงความประพฤติ การอบรมนักศึกษาในเรื่อง
ความประพฤติกิริยามารยาทและคุณภาพ การชี้แจงนักศึกษาในเรื่องระเบียบการแต่งกาย
วิสาลินี นุกัลยา (2539 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทอาจารย์
ที่ปรึกษาของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาล พบว่า
1) การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับสูง
และเมื่อจำแนกเป็นบทบาทในการพัฒนานักศึกษา 9 ด้าน คือ ด้านสมรรถนะทางด้านความรู้
และสติปัญญา ด้านความเป็นตัวของตัวเอง ด้านความมีเอกลักษณ์ ด้านสัมพันธภาพ ด้านการ
บูรณาการของนักศึกษาอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านสมรรถนะทางด้านร่างกาย ด้านสมรรถนะ
ด้านสังคม ด้านอารมณ์ของนักศึกษา ด้านเป้าหมายชีวิตของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง
2) อาจารย์ที่ปรึกษาพยาบาลที่มีอายุ ประสบการณ์การทำงานอาจารย์ที่ปรึกษาและ
ระดับเงินเดือนแตกต่างกัน มีการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาแตกต่างกัน
3) อาจารย์พยาบาลที่มีสถานภาพสมรส และวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีการปฏิบัติ
หน้าที่ตามบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาไม่แตกต่างกัน
นพดล เตชวาทกุล (2539 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาสภาพและปัญหาในการปฏิบัติงาน
ของอาจารย์ที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษา พบว่านักเรียนต้องการใช้บริการ
จากอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรและแผนการเรียนแนวทาง
การปฏิบัติและการแก้ปัญหาทางการเรียน คำแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพและ
วางแผนการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นในระดับมาก สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการให้คำปรึกษา
พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นทั้งจากตัวอาจารย์ที่ปรึกษาเอง ซึ่งได้แก่ การที่อาจารย์ที่
ปรึกษาไม่รู้จักนักเรียนอย่างทั่วถึง มีภาระงานมาก รับผิดชอบนักเรียนจำนวนมากเกินไปขาดข้อมูล
30
และรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ที่จะแนะนำนักเรียน นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นว่า
ต้องการให้อาจารย์ที่ปรึกษามีบุคลิกลักษณะ ลักษณะนิสัย และลักษณะทางอารมณ์ ดังนี้ มีหน้าตา
ยิ้มแย้ม แต่งกายเรียบร้อย เป็นกันเองกับนักเรียน พูดจาสุภาพ อธิบายสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนเข้าใจง่าย
มีความเมตตากรุณา ใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน มีอารมณ์ขัน เป็นต้น
พรพรรณ อภิวิมลลักษณ์ (2539 : 148-151) ได้ศึกษาบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
ตามความต้องการของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา จังหวัดอุดรธานี พบว่า
1) ด้านการปกครอง นักเรียนต้องการให้อาจารย์ที่ปรึกษาปฏิบัติหน้าที่ด้านการ
ปกครองอยู่ในระดับ “มาก” คือประพฤติปฏิบัติตนและวางตัวเหมาะสม สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีแก่
นักเรียนรองลงมาได้แก่ ควบคุมดูแลนักเรียนด้านความประพฤติให้เป็นไปตามระเบียบวินัยของ
โรงเรียนสามารถเก็บความลับและรับฟังปัญหาของนักเรียนได้
2) ด้านวิชาการ นักเรียนต้องการให้อาจารย์ที่ปรึกษาปฏิบัติหน้าที่ด้านวิชาการอยู่ใน
ระดับ “มาก” คือ จัดทำสมุดรายงานประจำตัวนักเรียน (รบ.4ต/ป) เรียบร้อยถูกต้อง รองลงมาได้แก่
ให้คำแนะนำช่วยเหลือเกี่ยวกับการเรียนได้เป็นอย่างดีให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรและ
แผนการเรียน
3) ด้านธุรการและบริการ นักเรียนต้องการให้อาจารย์ที่ปรึกษาปฏิบัติหน้าที่ด้าน
ธุรการ และบริการอยู่ในระดับ “มาก” ยกย่องชมเชยนักเรียนที่ประพฤติปฏิบัติดี รองลงมา
ได้แก่ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียนด้านการจัดกิจกรรมของชั้นเรียน
4) ด้านบุคลิกภาพของอาจารย์ที่ปรึกษา นักเรียนมีความเห็นว่าต้องการให้อาจารย์ที่
ปรึกษาปฏิบัติมากอันดับแรก คือ แต่งกายสุภาพ สะอาดและเหมาะสม พูดจาสุภาพไพเราะ
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความยุติธรรมให้กับเด็กทุกคน
มณี พงษ์เฉลียวรัตน์ (2539 : 63-65) ได้ศึกษาบทบาทและคุณลักษณะอาจารย์ที่
ปรึกษาตามความคิดเห็นของนักศึกษาในสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พบว่า
1) ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาตามที่เป็นจริงด้านวิชาการ
ด้านการให้การปรึกษาทั่วไป และด้านคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วน
บทบาทและคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาตามที่นักศึกษาต้องการอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อบทบาทและคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาตามที่เป็นจริง
ด้านวิชาการ ด้านการให้การปรึกษาทั่วไป และด้านคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาแตกต่างกับความ
คิดเห็นต่อบทบาทและคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษา ตามที่นักศึกษาต้องการ โดยนักศึกษาต้องการ
ให้อาจารย์ที่ปรึกษามีบทบาทและคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษามากกว่าตามที่เป็นจริงทั้ง 3 ด้าน
3) นักศึกษาชั้นปีที่ต่างกัน ภูมิลำเนาต่างกัน การพักอาศัยต่างกัน และมีคะแนนเฉลี่ย
สะสมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทและคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาตามที่เป็นจริง และตามที่
31
นักศึกษาต้องการด้านวิชาการ ด้านการให้การปรึกษาทั่วไปและด้านคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษา
ไม่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่ต่างสาขาวิชาและต่างสถาบันการศึกษามีความคิดเห็นต่อบทบาท
และคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาตามที่เป็นจริงแตกต่างกันทั้ง 3 ด้าน แต่มีความคิดเห็นต่อบทบาท
และคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาตามที่นักศึกษาต้องการไม่แตกต่างกันทั้ง 3 ด้าน
วิโรจน์ ว่องวรานนท์ (2539 : ก) ได้ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะและหน้าที่ที่ควรปฏิบัติ
ของอาจารย์ที่ปรึกษาตามความคิดเห็นของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ผลการวิจัยสรุป
ได้ดังนี้ ความคิดเห็นของนักเรียนนักศึกษาให้ความสำคัญในระดับมาก ในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่
ของอาจารย์ที่ปรึกษาเรียงลำดับดังนี้ การให้คำปรึกษาด้านการเรียน การวัดผลประเมินผล
หลักสูตรแผนการเรียน ให้กำลังใจและส่งเสริมตามความถนัดความสนใจ การเลือกและ
ลงทะเบียนรายวิชา
มิตรจิตร ทะโรงอาด (2542 : 65-69) ได้ศึกษาหน้าที่และบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
ตามความคิดเห็นของนักศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรมในวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ พบว่า
1) การเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาในแต่ละภาคเรียนพบว่า นักศึกษาร้อยละ
92 ได้พบกับอาจารย์ที่ปรึกษา แต่มีนักศึกษาร้อยละ 8 ไม่เคยพบกับอาจารย์ที่ปรึกษา ในกลุ่ม
นักศึกษาที่เคยพบกับอาจารย์ที่ปรึกษามีร้อยละ 51 ได้พบกับอาจารย์ที่ปรึกษาตั้งแต  3 ครั้งขึ้นไป
2) นักศึกษามีความคิดเห็นว่า อาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือ แนะนำ
และให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านสถานภาพนักศึกษา ด้านกิจการ
นักเรียนนักศึกษา และด้านประสานงานกับฝ่ายต่างๆ อาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติอยู่ในระดับ
ปานกลางทุกด้าน และนักศึกษามีความคาดหวังให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยหลือ
แนะนำแก่นักศึกษาทั้ง 4 ด้าน ในระดับมากทุกด้าน
วิสูตร จำเนียร (2543 : 81) ได้ศึกษาการปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับบทบาท
ในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในสถาบันราชภัฏธนบุรี พบว่า การปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา
เกี่ยวกับบทบาทในการให้คำปรึกษาในสถาบันราชภัฏธนบุรี อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือด้านการ
ศึกษา ด้านการพัฒนานักศึกษาและด้านวิชาชีพ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอาจารย์ที่ปรึกษา
ส่วนใหญ่เห็นว่า ข้อที่ควรปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทในการให้คำปรึกษามากที่สุดในแต่ละด้านดังนี้
ด้านการศึกษา ควรให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรในสาขาวิชาที่เรียนด้านการพัฒนานักศึกษาที่ควร
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแต่งกายของนักศึกษา ด้านการดำเนินงานให้คำปรึกษาควรมีเวลาเข้าพบ
นักศึกษาในความรับผิดชอบเป็นกลุ่มอย่างน้อยเดือนละครั้ง ด้านสวัสดิการควรให้คำแนะนำ
เกี่ยวกับเงินทุนกู้ยืมของรัฐบาล ด้านวิชาชีพควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับการศึกษาระดับสูงขึ้นไป
32
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่า อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีอายุเพศ วุฒิการศึกษาและ
โปรแกรมวิชาแตกต่างกัน มีการปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทในการให้คำปรึกษาแตกต่างกัน ส่วน
อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาและความรู้ด้านกิจการนักศึกษาแตกต่างกัน
มีการปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทในการให้คำปรึกษาไม่แตกต่างกัน
สุรชัย แย้มทิม (2543 : 65-68) ได้ศึกษาการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษาใน
สถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ที่
ปรึกษาให้คำปรึกษาแก่นักเรียนโดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 ด้าน
เรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านการศึกษาเรื่องที่ปฏิบัติที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ให้ความรู้เกี่ยวกับ
การนับเวลาเรียนเพื่อสิทธิในการสอบ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบระเบียบการชำระเงิน
ค่าลงทะเบียน ให้คำแนะนำการขอทุนการศึกษาหรือกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อการศึกษา ส่วน
การปฏิบัติที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดคือ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนระบบทวิภาคี รองลงมา คือ
ด้านส่วนตัวและสังคม เรื่องที่ปฏิบัติที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน
เกี่ยวกับการป้องกันสิ่งเสพย์ติด เช่น บุหรี่ เหล้า ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมของ
วิทยาลัย กิจกรรมของวิทยาลัย กิจกรรมชมรมต่างๆ ส่วนการปฏิบัติที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ ให้
คำแนะนำในเรื่องการจัดหาที่พัก การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในหอพักสำหรับนักเรียนต่างจังหวัด ส่วน
ลำดับสุดท้ายคือ ด้านอาชีพ เรื่องที่ปฏิบัติที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ให้คำแนะนำเรื่อง
การปฏิบัติตัวในการทำงานกับสถานประกอบการ ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในการทำงานให้
ประสบความสำเร็จ ให้คำแนะนำเรื่องการเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ ส่วนการปฏิบัติที่มีคะแนน
เฉลี่ยต่ำสุดคือ ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาชีพในตลาดแรงงาน
นันทา เกียรติกำจร (2544 : 75) ได้ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการ
ปฏิบัติหน้าทีอาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยอาชีวศึกษา
ในภาคตะวันออก พบว่า ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของ
นักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์แต่ละคณะวิชา
เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของอาจารย์ที่ปรึกษาพบว่า ระดับปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่
อาจารย์ที่ปรึกษา 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน แต่ระดับความต้องการแตกต่างกัน สำหรับความคิดเห็น
ของนักศึกษาแต่ละคณะวิชาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาและความต้องการของ
นักศึกษา 3 ด้าน พบว่าระดับการปฏิบัติงานและระดับความต้องการของอาจารย์ที่ปรึกษา
ไม่แตกต่างกัน นอกจากด้านความประพฤติเท่านั้น ที่พบว่าแตกต่างกัน
สิริวัลย์ อินทร์ใจเอื้อ (2545 : 65) ได้ศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานของ
อาจารย์ที่ปรึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า สภาพการ
ปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษาพบว่า ปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก คือ ด้านการเรียน
33
ปัญหาของอาจารย์ที่ปรึกษาที่สำคัญคือ อาจารย์มีงานมากไม่มีเวลาดูแลนักเรียน และไม่มีเวลาให้
คำปรึกษา ขาดความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและแผนการเรียน และขาดข้อมูลในเรื่องการศึกษาต่อใน
ระดับสูงขึ้น
2. งานวิจัยต่างประเทศ
พลาสคาร์เลลล่า และเทเรนชินี (Pascarella, E.T. and Tereuzini, P.T., 1978 : 5) ใน
การศึกษารูปแบบการรักษานิสิตนักศึกษาไม่ให้ลาออกกลางคัน ซึ่งอยู่ภายนอกห้องเรียน และการ
ดำรงอยู่ของนักศึกษาปีที่ 1 โดยการควบคุมตัวแปรในเรื่องนิสิตนักศึกษา ความสามารถทาง
วิชาการ บุคลิกภาพ พบว่านิสิตนักศึกษาปีที่ 1 คงอยู่ในสถาบันนั้น มีความถี่ของการ
มีปฏิสัมพันธ์ใน 6 มิติ สูงกว่านิสิตนักศึกษาที่ลาออกก่อนจบปีที่ 1
บาร์เกอร์ และแชมเบอร์เลน (Bargar, R.R., and Chamberlain, M.J., 1983 : 407-
432) ได้เสนอแนะไว้ในผลงานวิจัยตอนหนึ่งกล่าวว่า ทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตนักศึกษาจะ
ต้องพยายามเปลี่ยนแปลงความคิดให้มาพบกันตรงกลาง และตอบสนองต่อความต้องการของทั้ง
2 ฝ่าย ควรมีการพบปะกันบ่อยครั้งในกลุ่มนิสิตนักศึกษาในความดูแล เพื่อการเกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดี
แอสทิน (Astin, A.W., 1983 : 74) ได้เสนอแนะว่า ถ้านักศึกษาและอาจารย์มี
ปฏิสัมพันธ์มากขึ้น การประสบผลสำเร็จทางการศึกษาจะมากขึ้นเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่ปรากฏได้
ชัดเจนในการที่ นักศึกษา อาจารย์ อาจารย์สัมพันธ์กับกระบวนการให้คำปรึกษาด้านวิชาการ
ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาจะมีอิทธิพลต่อการส่งเสริมความงอกงามทางด้านวิชา
การและด้านส่วนตัวของนักศึกษา ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จในประสบการณ์ด้านการศึกษา
ความสัมพันธ์ในการให้คำปรึกษาวิชาการ สามารถนำมาใช้แนะนำนักศึกษาให้ไปสู่ระดับ
ความสามารถทางวิชาการให้สูงขึ้นได ้ นอกจากนั้น ระบบการให้คำปรึกษาสามารถถูกออกแบบ
เพื่อกระตุ้นให้พัฒนาการโดยส่วนรวมของนักศึกษา ช่วยให้เขาพัฒนาความสามารถในการใช้
ความรู้อย่างมีประสิทธิผล พัฒนาความเข้าใจตนเองและทักษะในการตัดสินใจ และพัฒนาการ
นำเอาทรัพยากรในมหาวิทยาลัยมาใช้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
34
แอสทิน (Astin, A.W., 1985 : 95) ได้ศึกษาวิจัย ในเรื่องนิสิตนักศึกษามีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไร พบว่า
1) มหาวิทยาลัยที่เน้นการให้คำปรึกษาวิชาการ นิสิตนักศึกษาจะมีความพึงพอใจ
ต่อสถาบัน ต่อหลักสูตร และประสบการณ์อื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น
2) อาจารย์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับนิสิตนักศึกษาโดยตรง เช่น การพูดคุยแลกชั้นเรียนมี
ผลต่อประสิทธิภาพการเรียนของนักศึกษาทุกด้าน เช่น คะแนนเฉลี่ย การสำเร็จการศึกษาหรือ
การเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษา
3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนิสิตนักศึกษามีผลต่อการพัฒนาทางด้านสติปัญญา
และพัฒนาการส่วนบุคคล อีกทั้งยังสามารถพัฒนาด้านเจตคติและบุคลิกภาพ เช่น ความเป็นผู้นำ
ความสามารถในการวิเคราะห์ตนเองและดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายได้
บาร์และคีทติ้ง (Barr, M.J., and Keating, L.A., 1985 : 102) ได้กล่าวถึงเรื่อง
ข้อผิดพลาดที่ปรากฏบ่อยครั้งในการวางแผนโปรแกรม ซึ่งในการประเมินโปรแกรมการให้
คำปรึกษาของระบบอาจารย์ที่ปรึกษาจำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่างคือ เป้าหมาย
(Goal) บริบท (Context) และการวางแผน (Plan) โดยอาจารย์และนักศึกษาจะมองเห็น
องค์ประกอบเหล่านี้แตกต่างกัน อาจารย์จะเป็นผู้ที่มองโลกทัศน์กว้างและไกลกว่านักศึกษา
ซึ่งมองค่อนข้างแคบ
โวลเวน คิงส์ และเทเรนชินี (Volkwein, J.F., King, M., and Tereuzini, P.T.,
1986 : 413-430) ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา
ความงอกงามทางปัญญาในหมู่นิสิตนักศึกษา จากการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาของนิสิตนักศึกษา
การคงอยู่ การเรียนรู้จนไม่ตกออก ไม่ลาออก มีพัฒนาการด้านบุคลิกภาพได้ชี้ให้เห็นว่า จะมี
ความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางด้านทักษะและสติปัญญา การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงาม
ทางสติปัญญา เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์ ซึ่งรวมถึงอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ ผลการวิจัย
เน้นความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนิสิตนักศึกษา และการพบปะนอกชั้นเรียน จะยังประโยชน์
ให้มากที่สุดในบรรดาประสบการณ์ในมหาวิทยาลัย ก่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลในการเรียนสูงขึ้น
ชิคเกอร์ริง (Chickering, A.W., 1993 : 68) ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
อาจารย์กับนักศึกษาว่า พื้นฐานของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาที่ดี ต้องวางอยู่
บนความนับถือซึ่งกันและกัน ส่วนในความคิดเห็นซึ่งแตกต่างกันนั้น อาจารย์กับนักศึกษารับรู้
ต่างกันในหลายๆ เรื่อง รวมทั้งประสบการณ์ ความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ และความคาดหวังก็
แตกต่างกันทั้งประเภทและระดับ
35
สรุป จากการศึกษาทฤษฎี ข้อคิดเห็นและงานวิจัยดังกล่าวมาแล้ว จึงสรุปได้ว่า
การปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษาจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับอาจารย์ที่
ปรึกษาเป็นสำคัญ ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาจะมีบทบาทหลัก 2 ประการคือ การให้คำปรึกษาด้าน
วิชาการและการให้คำปรึกษาทั่วไปตามวัตถุประสงค์ของระบบอาจารย์ที่ปรึกษา อันได้แก่ การให้
คำแนะนำทางด้านวิชาการ การให้คำแนะนำในเรื่องการปฏิบัติตนตามระเบียบข้อบังคับของ
สถาบัน การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้บริการและสวัสดิการของสถาบัน การอบรมและพัฒนา
นิสัยนักศึกษา การวางตัวให้เป็นที่พึ่งของนักศึกษา ตลอดจนการเป็นสื่อกลางในการสร้าง
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษา อาจารย์และสถาบัน โดยทั่วไปอาจารย์ที่ปรึกษา นอกจาก
จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ยังจำเป็นต้องมีคุณลักษณะ
ที่ดีของอาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ มีความรัก
ความเมตตา พร้อมที่จะสละเวลาช่วยเหลือนักศึกษาเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น มีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ
และน่าไว้วางใจ มีความตระหนักในบทบาทและความรับผิดชอบของตนอยู่เสมอ ซึ่งคุณลักษณะ
ของอาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยให้การปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นไปด้วยความราบรื่นและ
บังเกิดผลดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ อันเกิดจากตัวอาจารย์ที่ปรึกษาและที่สำคัญ
อาจารย์ที่ปรึกษาควรมีจรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและ
สภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ผู้วิจัยกำหนดวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ชั้นปีที่ 4 ที่ศึกษาในภาคปกติ ปีการศึกษา 2545 ทั้ง 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชา
วิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาศิลปศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้น 1,406 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ ปีการศึกษา 2545 ทั้ง 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชา
วิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาศิลปศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้น 310 คน ตามเกณฑ์ของเครซี่และมอร์แกน
(Krejcie and Morgan, 1970 : 608) และใช้การสุ่มตัวอย่างเชิงช่วงชั้น (Stratified Random
Sampling) กระจายในแต่ละสาขาวิชาโดยใช้สัดส่วนร้อยละได้กลุ่มตัวอย่างดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
โปรแกรมวิชา จำนวนประชากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
สาขาวิชาการศึกษา 311 69
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ 351 77
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ 744 164
รวม 1,406 310
37
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ นักศึกษาของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทั้ง 3 สาขาวิชา
คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาศิลปศาสตร์
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคาดหวังและระดับสภาพปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ลักษณะของเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาตาม
ความคาดหวังและระดับปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคาดหวังและสภาพที่เป็นจริงที่นักศึกษาได้
รับจากบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ (1) ด้านวิชาการ (2) ด้านสวัสดิการ
และพัฒนานักศึกษา และ (3) ด้านการบริการทั่วไป ซึ่งมีลักษณะของแบบสอบถาม
เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) และแบบปลายเปิด
2. การสร้างเครื่องมือ
ผู้วิจัยดำเนินการสร้างเครื่องมือในการวิจัย ตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หน้าที่ความรับผิดชอบของอาจารย์ที่
ปรึกษาจากเอกสาร ทฤษฎี งานวิจัย บทความต่างๆ และจากการสัมภาษณ์พูดคุยกับอาจารย์ที่
ทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาโดยทั่วไป
ขั้นที่ 2 กำหนดขอบเขต หัวข้อ ประเด็น กรอบแนวคิดในการวิจัย
ขั้นที่ 3 สร้างแบบสอบถามตามขอบเขต หัวข้อ ประเด็น กรอบแนวคิดที่กำหนด
ขั้นที่ 4 นำแบบสอบถามที่สร้างแล้วไปหารืออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อ
พิจารณาความเหมาะสม ครอบคลุม และปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ
ขั้นที่ 5 นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน
ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน ตามรายชื่อซึ่งอยู่ใน
ภาคผนวก ข
ขั้นที่ 6 นำแบบสอบถามมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 5 คน
38
ขั้นที่ 7 นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability)
โดยนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน
แล้วนำมาหาค่าความเชื่อมั่น (ϒ-Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach อ้างถึงใน
กรมวิชาการ, 2545 : 70) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.97
ขั้นที่ 8 นำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามและเก็บรวบรวมคืนด้วยตนเอง เนื่องจากผู้วิจัยเป็นอาจารย์
ประจำสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สอนนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 4 และทำหน้าที่อาจารย์ที่
ปรึกษา โดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษาภาคปกติชั้นปีที่ 4 ทั้ง 3 สาขาวิชาตามจำนวนที่กำหนดไว้
2. ได้รับแบบสอบถามคืนมาครบ 310 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม SPSS/ PC+
(Statistical Package for the Social Science) ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
1. นำแบบสอบถามที่รวบรวมกลับคืนมาทั้งหมดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
2. ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
2.1 ข้อมูลจากสภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้ค่าสถิติร้อยละ
2.2 ข้อมูลจากความคาดหวังของนักศึกษา นำมาศึกษาระดับความคาดหวังของ
นักศึกษา โดยหาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แต่ละรายการ และผลรวม
ทุกรายการในแต่ละด้าน ทั้ง 3 ด้าน โดยแยกวิเคราะห์ดังนี้
2.2.1 ระดับความคาดหวังของนักศึกษาทั้งหมด
2.2.2 ระดับความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา
2.2.3 ระดับความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์
2.2.4 ระดับความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์
2.3 ข้อมูลจากระดับปฏิบัติจริงนำมาศึกษาระดับปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับ
จากค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ในแต่ละรายการและผลรวมของทุกรายการ
ในแต่ละด้าน ทั้ง 3 ด้าน โดยแยกวิเคราะห์ดังนี้
39
2.3.1 ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาทั้งหมดได้รับ
2.3.2 ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาได้รับ
2.3.3 ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ได้รับ
2.3.4 ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์ได้รับ
โดยกำหนดน้ำหนักคะแนนของข้อมูลดังนี้
ความคาดหวัง / ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับมากที่สุด ให้ 5 คะแนน
ความคาดหวัง / ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับมาก ให้ 4 คะแนน
ความคาดหวัง / ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับปานกลาง ให้ 3 คะแนน
ความคาดหวัง / ระดับสภาพที่จริงที่นักศึกษาได้รับน้อย ให้ 2 คะแนน
ความคาดหวัง / ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับน้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน
เกณฑ์การแปลความหมายดังนี้ (กรมวิชาการ, 2545 : 82)
ค่าเฉลี่ย ( X ) เกณฑ์ การแปลความหมาย
4.50-5.00 มากที่สุด ความคาดหวัง / ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับมากที่สุด
3.50-4.49 มาก ความคาดหวัง / ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับมาก
2.50-3.49 ปานกลาง ความคาดหวัง / ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับปานกลาง
1.50-2.49 น้อย ความคาดหวัง / ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับน้อย
1.00-1.49 น้อยที่สุด ความคาดหวัง / ระดับสภาพที่ปฏิบัติจริงที่นักศึกษาได้รับน้อยที่สุด
2.4 เปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์
ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษาโดยใช้ค่าสถิติที (t-test)
2.5 วิเคราะห์ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบัน-
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จากคำถามแบบปลายเปิด โดยการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วจัดเรียง
ตามลำดับความสำคัญ
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริง
เกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งนำเสนอผล
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตารางและแผนภูมิเพื่อประกอบคำอธิบาย โดยแบ่งออกเป็น 6 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 ความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำแนกเป็น
รายด้านและรวมทุกด้าน
ตอนที่ 3 ความคาดหวังและสภาพปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชา
การศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา จำแนกเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน
ตอนที่ 4 ความคาดหวังและสภาพปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชา
วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา จำแนกเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน
ตอนที่ 5 ความคาดหวังและสภาพปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชา
ศิลปศาสตร์เกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา จำแนกเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน
ตอนที่ 6 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์
ที่ปรึกษา โดยใช้ค่าสถิติที (t – test) แล้วนำเสนอข้อมูลในตารางและแผนภูมิประกอบการบรรยาย
ดังแสดงในตารางและแผนภูมิต่อไปนี้
41
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามเพศ สาขาวิชา และการพักอาศัย
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตัวแปรที่ศึกษา จำนวน ร้อยละ
1. เพศ
1.1 หญิง 199 64.19
1.2 ชาย 111 35.81
2. สาขาวิชา
2.1 ศิลปศาสตร์ 164 52.90
2.2 วิทยาศาสตร์ 77 24.84
2.3 การศึกษา 69 22.26
3. การพักอาศัย
3.1 พักอยู่กับบิดา-มารดา 147 47.42
3.2 หอพัก 100 32.36
3.3 พักอยู่กับผู้ปกครองที่ไม่ใช่บิดา-มารดา 63 20.32
จากผลที่แสดงในตารางที่ 2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ส่วนใหญ่
เป็นนักศึกษาเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 64.19 เป็นนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ
52.90 และพักอาศัยอยู่กับบิดา - มารดา คิดเป็นร้อยละ 47.42
42
ตอนที่ 2 ความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับ
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำแนก
เป็นรายด้านและรวมทุกด้าน
จากข้อมูลการศึกษาระดับความคาดหวังของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
และสภาพปฏิบัติจริงของอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านสวัสดิการ
และการพัฒนานักศึกษา และด้านการบริการทั่วไป นำมาวิเคราะห์ได้ผลดังนี้
1. ความคาดหวังและสภาพปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
ทั้งหมดเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านต่างๆ นำมาวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย (X
__ ) และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) แล้วนำผลมาเปรียบเทียบ โดยใช้ค่าสถิติท ี (t -test) เพื่อศึกษา
ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริง ได้ผลดังแสดงในตารางและ
แผนภูมิที่ 3
ตารางที่ 3 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์
ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
จำแนกเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน
ความคาดหวัง
(N = 310)
สภาพปฏิบัติจริง
(N = 310)
บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา t
__
τ S.D. แปลผล __
τ S.D. แปลผล
ด้านวิชาการ 4.03 0.88 มาก 3.32 1.02 ปานกลาง 9.22**
ด้านสวัสดิการและ
การพัฒนานักศึกษา 4.02 0.89 มาก 3.35 1.06 ปานกลาง 8.48**
ด้านการบริการทั่วไป 4.10 0.82 มาก 3.37 1.03 ปานกลาง 9.73**
รวม 4.04 0.87 มาก 3.34 1.04 ปานกลาง 9.33**
หมายเหตุ [[ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
43
แผนภูมิที่ 3 ความคาดหวังของนักศึกษาทุกสาขาวิชาและสภาพที่ปฏิบัติจริงของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
จากผลที่แสดงในตารางและแผนภูมิที่ 3 พบว่า
1) ความคาดหวังของนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยรวมอยู่ใน
ระดับมาก (X
__
= 4.04, S.D. = 0.87) เมอื่ พจิ ารณาเปน็ รายดา้ น พบว่า ความคาดหวังอยู่ใน
ระดับมากทุกด้าน โดยมีความคาดหวังด้านบริการทั่วไปอยู่ในระดับสูงสุด (X
__
= 4.10, S.D. =
0.82) รองลงมา คือ ด้านวิชาการ (X
__
= 4.03, S.D. = 0.88) และด้านสวัสดิการและ
การพัฒนานักศึกษา (X
__
= 4.02, S.D. = 0.89)
2) สภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง (X
__
= 3.34, S.D. = 1.04) เมอื่ พจิ ารณาเปน็ รายดา้ น พบว่า สภาพที่ปฏิบัติจริงอยู่ใน
ระดับปานกลางทุกด้าน โดยสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับด้านบริการทั่วไปอยู่ในระดับสูงสุด
(X
__
= 3.37, S.D. = 1.03) รองลงมา คือ ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษา (X
__
= 3.35,
S.D. = 1.06) และด้านวิชาการ (X
__
= 3.32, S.D. = 1.02)
44
3) ความคาดหวังกับสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
ตามความคิดเห็นของนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งในด้าน
วิชาการ ด้านสวัสดิการและการพัฒนานักศึกษาด้านการบริการทั่วไป และรวมทุกด้าน
โดยนักศึกษามีคาดหวังสูงกว่าสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งความ
แตกต่างระหว่างความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงมีมากในระดับสูงสุด คือ ด้านบริการทั่วไป
2. ความคิดเห็นของนักศึกษาทั้งหมดเกี่ยวกับบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษานำมาวิเคราะห์ใน
รายการต่างๆ ด้านวิชาการ และนำระดับความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาท
ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการตามความคิดเห็นของนักศึกษา มาเปรียบเทียบด้วยค่าสถิติที
ได้ผลดังแสดงในตารางและแผนภูมิที่ 4
ตารางที่ 4 การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังกับสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของ
อาจารย์ที่ปรึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา ด้านวิชาการ
ความคาดหวัง
(N = 310)
สภาพที่ปฏิบัติจริง
(N = 310)
บทบาทของอาจารยท์ ปี่ รกึ ษา t
ด้านวิชาการ
__
τ S.D. แปลผล __
τ S.D. แปลผล
1. ให้ความรู้ความเข้าใจ
เรื่องของหลักสูตรที่กำลัง
ศึกษาอยู่ 4.22 0.78 มาก 3.45 0.91 ปานกลาง 11.32**
2. ให้คำแนะนำวิธีการจัด
ทำแผนการเรียนตลอดจน
จบหลักสูตร 4.09 0.77 มาก 3.33 0.94 ปานกลาง 11.01**
3. ให้ความรู้ความเข้าใจใน
การจัดตารางเรียนและ
การลงทะเบียน 4.19 0.80 มาก 3.47 1.06 ปานกลาง 9.60**
45
ตารางที่ 4 (ต่อ)
ความคาดหวัง
(N = 310)
สภาพที่ปฏิบัติจริง
(N = 310)
บทบาทของอาจารยท์ ปี่ รกึ ษา t
ด้านวิชาการ
__
τ S.D. แปลผล __
τ S.D. แปลผล

การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา (ตอนที่ 1)
การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น