วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบสารนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน



บทที่ 1
บทนำ
1.1กกความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
นับตั้งแต่อดีตกาลการศึกษาถือว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง การศึกษาในยุคก่อนๆ จะเป็นการศึกษา
แบบมีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือในการถ่ายทอดความรู้และวิทยาการต่างๆ นั้น จะมีครู อาจารย์
เป็นผู้คอยประสิทธิประศาสตร์วิชาให้กับผู้เรียนในชั้นเรียนโดยตรง แต่ในปัจจุบันการศึกษาได้
เปลี่ยนรูปแบบและวิธีในการสอนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาสู่
ระบบการศึกษาทำให้เกิดการนำเสนอบทเรียนในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเมื่อ
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเขามามีบทบาทในสถานศึกษา การศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงเป็นเรื่อง
ที่น่าสนใจ และทำให้เกิดสื่อประกอบการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่เรียกว่า บทเรียนออนไลน์
(Electronic Leaning : E-Leaning) หรือบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งบทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เนื่องจากผู้สอนสามารถสร้างสื่อในรูป
ของข้อความ รูปภาพทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงบรรยายหรือแม้กระทั่งไฟล์วีดีโอ
อีกทั้งผู้เรียนสามารถเข้าเรียนเพื่อทบทวนเนื้อหาเวลาใดก็ได้ แต่ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการ
สร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ก็คือ ผู้ที่จะสร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้นั้น
นอกจากจะมีความรู้ในรายวิชาที่จะนำมาสร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังต้องมี
ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมที่จะนำมาสร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ด้วย
ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เองทำให้ผู้จัดทำโครงการมีความคิดที่จะพัฒนาระบบที่สามารถสร้างบทเรียนผ่าน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบที่สามารถใช้งานได้ง่าย โดยที่ผู้สร้างไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานใน
การใช้โปรแกรมที่จะนำมาสร้าง หรือก็คือ ระบบนิพนธ์บทเรียน (Authoring System) ซึ่งหมายถึง
โปรแกรมสำเร็จรูปที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยเฉพาะ
มีความสามารถด้านการจัดการและนำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยเน้นความง่ายในการ
ใช้งาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์หรือผู้
ที่ไม่ต้องการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (มนต์ชัย : 2542)
2
2
1.2 วัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์
เพื่อพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่สามารถใช้งานได้ง่ายและอยู่ใน
เกณฑ์ดี พร้อมทั้งมีต้นทุนในการผลิตสื่อประกอบการเรียนการสอนที่ต่ำ
1.3 ขอบเขตของสารนิพนธ์
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียน
การสอนมีของเขตการทำงานดังนี้ ผู้ที่สามารถใช้งานระบบได้แก่
1.3.1 ครู อาจารย์ หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการสร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
1.3.2 นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าเรียนบทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต
โดยสามารถแบ่งของเขตของการใช้งานได้ดังนี้
1.3.1 ครู อาจารย์ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าเรียนบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
สามารถทำงานได้ดังนี้
1.3.1.1 ทำการลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิ์ในการสร้างบทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต
1.3.1.2 ทำการสร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้โดยการป้อนข้อมูลที่
เป็นไฟล์ข้อความ ไฟล์รูปภาพทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ไฟล์เสียง
และไฟล์วีดีโอ
1.3.1.3 ทำการสร้างแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน โดยสามารถเลือก
สร้างแบบทดสอบได้ 3 กรณี คือ
กรณีที่ 1 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนประจำเรื่อง
กรณีที่ 2 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนประจำบท
กรณีที่ 3 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนประจำรายวิชา
และแบบบททดสอบแต่ละกรณีสามารถเลือกสร้างได้ 4 แบบ คือ
แบบที่ 1 ชนิดเลือกตอบ
แบบที่ 2 ชนิดเติมคำ
แบบที่ 3 ชนิดถูกผิด
แบบที่ 4 ชนิดจับคู่
1.3.1.4 มีการสร้างแบบฝึกหัดโดยสามารถสร้างแบบฝึกหัดได้ 3 กรณี คือ
กรณีที่ 1 แบบฝึกหัดประจำเรื่อง
3
3
กรณีที่ 2 แบบฝึกหัดประจำบท
กรณีที่ 3 แบบฝึกหัดประจำรายวิชา
และแบบฝึกหัดแต่ละกรณีสามารถเลือกสร้างได้ 4 แบบ คือ
แบบที่ 1 ชนิดเลือกตอบ
แบบที่ 2 ชนิดเติมคำ
แบบที่ 3 ชนิดถูกผิด
แบบที่ 4 ชนิดจับคู่
1.3.1.5 ทำการลบ แก้ไข ปรับปรุง ค้นหา บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน รวมทั้งแบบฝึกหัดที่สร้างไว้ได้
1.3.1.6 ทำการประเมินความรู้ของผู้เข้าเรียน โดยดูจากการทำแบบทดสอบก่อน
และหลังเรียน แล้วรายงานผลการประเมินในรูปของการเปรียบเทียบค่า
ทางสถิติ
1.3.1.7 ทำการเก็บสถิติของผู้ที่เข้าเรียนบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
1.3.1.8 ทำการติดต่อกับนักศึกษาผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ได้
1.3.1.9 ทำการตอบปัญหาผ่านทางเว็บบอร์ด โดยสามารถกำหนดวัน เวลาที่
อาจารย์จะออนไลน์ให้นักศึกษาทราบก่อนล่วงหน้าในแผนการสอน
1.3.2 นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
1.3.2.1 ทำการลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิ์ในการเข้าเรียนบทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต
1.3.2.2 ทำการสืบค้นบทเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตในรายวิชาที่ตนเองสนใจ
1.3.2.3 ทำการตั้งกระทู้ถามปัญญาผ่านทางเว็บบอร์ด
1.3.2.4 ทำการติดต่อสื่อสารผ่านทางห้องสนทนา (Chat Room) กับผู้อื่นได้
1.3.2.5 ขอทราบผลการประเมินความรู้ของตนเองว่าอยู่ในเกณฑ์ใดเมื่อ
เปรียบเทียบจากผู้ที่เข้าเรียนก่อน
1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้เป็นสื่อ
ประกอบการเรียนการสอนภายในสถาบันราชภัฎสวนดุสิต
1.4.1 ระบบปฏิบัติการเลือกใช้ ระบบปฏิบัติการ Unix Linux (RedHat) สำหรับเครื่องแม่
ข่าย (Server) และระบบปฏิบัติการ Windows 98 สำหรับเครื่องลูกข่าย (Client)
4
4
1.4.2 ภาษาคอมพิวเตอร์ เลือกใช้ PHP, Java Script, HTML
1.4.3 ระบบจัดการฐานข้อมูล เลือกใช้ MySQL
1.4.4 โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer หรือ Netacape Communicator
1.5 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.5.1 ครู อาจารย์ หรือบุคคลทั่วไปสามารถนำบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สร้าง
ขึ้นไปใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการสอนให้
ดียิ่งขึ้น
1.5.2 ช่วยให้ครู อาจารย์ หรือบุคคลทั่วไปที่สร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างแผ่นใส และเอกสารที่ใช้เป็นสื่อประกอบการสอน
1.5.3 นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าเรียนบทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าเรียนได้ตลอดเวลา
1.5.4 นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าเรียนบทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตสามารถประเมินความรู้ของตนเองได้
1.5.5 นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าเรียนบทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตได้รับความรู้ความเพลิดเพลินไม่เบื่อหน่ายในการเรียน
5
บทที่ 2
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียน
การสอน กรณีศึกษาสถาบันราชภัฎสวนดุสิต เป็นการพัฒนาระบบให้สามารถทำงานผ่านทาง
เว็บบราวเซอร์ ซึ่งในการพัฒนาระบบต้องอาศัยเทคโนโลยีการนำเสนอข้อมูลบนเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต ดังนั้นผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียด
ดังต่อไปนี้
2.1 ระบบนิพนธ์บทเรียน
2.2 การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.3 บทเรียนบนอินเตอร์เน็ต
2.4 กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์
2.5 การออกแบบเว็บไซต์
2.6 ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม
2.7 ระบบฐานข้อมูล
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1กกระบบนิพนธ์บทเรียน
(มนต์ชัย : 2542) ระบบนิพนธ์บทเรียน (Authoring System) หมายถึง โปรแกรมสำเร็จรูปที่
ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยเฉพาะ มีความสามารถด้าน
การจัดการและการนำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยเน้นความง่ายในการใช้
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ หรือผู้ที่ไม่
ต้องการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในระบบนิพนธ์บทเรียน
จะประกอบด้วย การจัดลำดับบทเรียน เช่น รายวิชา บทเรียน มีการจัดเก็บระเบียนของผู้เรียน เช่น
รหัส และชื่อผู้เรียน มีการจัดเก็บข้อมูลผลการเรียนไว้ในระบบฐานข้อมูล มีระบบนำส่งบทเรียน
ไปยังผู้เรียน มีแบบทดสอบก่อน/ท้ายรายวิชา ระบบนิพนธ์บทเรียนที่ดีจะต้องมีความง่ายในการใช้
งานเพื่อช่วยลดเวลาในการเรียนรู้ของผู้ใช้ให้สั้นลง ในขณะเดียวกันองค์กรก็สามารถพัฒนา
บุคลากรขึ้นมารองรับได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเมอร์จำนวนมาก และที่สำคัญยิ่งรูปแบบ
การใช้งานของระบบนิพนธ์บทเรียนควรใช้งานได้ทั้งแบบโดยลำพังและแบบผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต ซึ่งในปัจจุบันระบบการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือเป็นนวัตกรรมทาง
การศึกษารูปแบบใหม่ที่มีบทบาทสำคัญ
6
2.2 การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
(กฤษมันต์ : 2543) กรรมวิธีการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น สามารถทำได้
3 ทาง ดังนี้
2.2.1 Asynchronous Learning
2.2.2 Synchronous Learning
2.2.3 Collaborative Learning
รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในแต่ละรูปแบบมีคุณสมบัติดังนี้
2.2.1 Asynchronous Learning
การเรียนแบบ Asynchronous เหมาะกับการเรียนแบบเสริมและการเรียนที่นักศึกษาเข้าใจ
ปรัชญา “Self Learning” ผู้เรียนจะเรียนผ่านเว็บเมื่อไรก็ได้ ในช่วงเวลาที่เจ้าของหลักสูตร
กำหนดการเรียนนั้นจะมีกิจกรรมการอ่านเนื้อหา ค้นคว้า ทำโครงการ ทำแบบทดสอบ และทำการ
สอบ ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนหรือบทเรียนในรูปแบบ Asynchronous คือ คนละเวลา ผู้เรียน
อาจตั้งคำถามผ่านเว็บบอร์ด (Web board) ผู้สอนก็จะเข้าไปดูคำถามและคำตอบในช่วงเวลาที่
สะดวก ผู้เรียนอาจติดต่อกับผู้สอนทางอีเมล์ (E-mail) ผู้สอนจะให้การบ้านหรือข้อมูลเพิ่มเติมแก่
ผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนจะเห็นข้อมูลภายหลังจากผู้สอนประกาศ และระหว่างที่นักศึกษาเรียนบทเรียนนั้น
ผู้สอนไม่ต้องออนไลน์ (Online) อยู่กับระบบ
2.2.2 Synchronous Learning
Synchronous Learning คือ การสอนเสมือนหนึ่งว่ามีผู้สอนอยู่ในห้อง อยู่หน้าชั้นแต่ผู้เรียน
อยู่กระจายทั่วโลก (ปัญหาคือเรื่อง Time Zone) หรือทั่วประเทศไทย โดยผู้เรียนแต่ละคนมีเครื่องพีซี
ที่ต่อกับอินเตอร์เน็ต และลงทะเบียนวิชานั้น ผู้สอนจะทำการสอนโดยมี Monitor การเรียนของ
ผู้เรียนหรือผู้สอนสามารถระบุหน้าที่ต้องการเรียน ผู้สอนสามารถติดต่อกับผู้เรียนทันทีผ่าน Chat,
Messenger, IP Phone หรือ IP Video การสอนนั้นผู้เรียนจะต้องระบุเวลาที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้อง
ออนไลน์มาพบกันที่ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)
2.2.3 Collaborative Learning
การสอนแบบ Collaborative Learning นั้นจะยากขึ้น จะต้องมีซอฟต์แวร์เฉพาะที่ทุกคนใช้
ร่วมกันได้ เช่น Whiteboard หรือซอฟต์แวร์ที่ทำงานแบบ Simulation เพื่อสื่อให้เป็นกลไก
กระบวนงาน แล้วผู้เรียนกับผู้สอนจะมีปฏิสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันและเรียนรู้กันเพื่อนำไปสู่
จุดหมายของบทเรียน การเรียนแบบ Collaborative Learning จะเป็นการเรียนแบบ Synchronous
ผสมกับการใช้เครื่องมือระดับสูงขึ้นไป
2.3 บทเรียนบนอินเตอร์เน็ต
8
(กฤษมันต์ : 2543) การสร้างบทเรียนสำหรับใช้กับการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตนั้นประกอบด้วย ส่วนเนื้อหาและส่วนทดสอบ หัวใจของการสร้างบทเรียนและ
นำเสนอบทเรียน คือ การสร้างชุดบทเรียนซึ่งประกอบด้วยหน้าสอน (หน้าบทเรียน) การสร้างหน้า
สอนบนอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีความเหมาะสมและใช้งานแตกต่างกันตามขีดความสามารถของ
ซอฟต์แวร์ ระดับความซับซ้อนของขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ที่สร้างบทเรียนแบ่งได้เป็น 7
ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 เป็นข้อความ (Text) ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด
ระดับนี้บทเรียนอยู่ในรูปของตัวอักษร HTML (Text) ซึ่งอาจจะมีรูปประกอบ บทเรียน
ระดับนี้อ่านยาก และใช้ในช่วงต้นของปี ค.ศ. 1995 จนถึงปัจจุบัน เครื่องมือในยุคแรก เช่น Web
CT, Web Course จะมีการนำเสนอโดยใช้ HTML Text เป็นหลัก
ระดับที่ 2 เป็นสไลด์ (Slide)
เป็นการนำเอา Slide ของ Power Point มาแปลงให้ใช้กับ Web ซึ่งใน Power Point ก็อาจจะ
มีตัวอักษรและรูปภาพและ Effect ที่เป็นขีดความสามารถของ Power Point ซอฟต์แวร์ในระดับ 2 นี้
มีการสร้างเป็นรูปแบบของตนเองที่นำเสนอบทเรียนเฉพาะอย่าง เช่น บทเรียนด้าน IT ของบริษัท
NETG ก็มีรูปแบบเป็น Slide
ระดับที่ 3 เพิ่มเสียงและวีดีโอ
มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับ 2 ให้สามารถผสมเสียงคำอธิบายหรือวีดีโอคลิปสั้นๆ เข้า
ไปเพื่อให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น วีดีโอที่ใช้ต้องสั้นมาก มิฉะนั้นจะเสียเวลาดาวน์โหลดนานมาก
ระดับที่ 4 เพิ่มปฏิสัมพันธ์
ซอฟต์แวร์นี้จะมีการเพิ่มขีดความสามารถการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ เช่น แบบทดสอบ
เครื่องมือ Webboard เครื่องมือ Chat เพื่อสร้าง Asynchronous Learning และ Synchronous Learning
ระดับที่ 5 เพิ่ม IP Phone, IP Video และ Instant Messenger
ระดับที่ 5 นี้เป็นการเพิ่มขีดความสามารถการสื่อสารระดับสูงขึ้น ที่ช่วยให้อาจารย์สามรรถ
ทำการสอนแบบ Synchronous Leaning ได้
ระดับที่ 6 แบบ Traditional Media
ระดับ 6 นี้ เป็นระดับที่สื่อการเรียนการสอนจัดทำในรูป CD-ROM, VCD, DVD ซึ่งจะต้อง
ทำงานผ่านเครื่องเล่น CD-ROM, VCD, DVD การส่งข้อมูลระดับนี้ผ่านอินเตอร์เน็ตยังทำได้ยาก
และไม่สะดวก แต่เมื่อมีการใช้ Broadband Internet (ความเร็วสูงระดับ 4000 Kbps – 50 Mbps) ก็จะ
ช่วยให้การใช้ข้อมูลเนื้อหาระดับนี้มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น
ระดับ 7 เพิ่ม Groupware
9
ระดับนี้จะเพิ่ม Groupware (ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานร่วมกัน) บางอย่าง เช่น Whiteboard ซึ่ง
ผู้สอนสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนทันที เป็นการสนับสนุนในการทำ Collaborative
Learning และเทคโนโลยีจะต้องใช้แบบ XML พร้อมทั้งสามารถทำ Personalization ตลอดจน
สามารถเพิ่มขีดความสามารถโดยใช้ Stream Video ได้
2.4กกกระบวนการพัฒนาเว็บไซต์
(ธวัชชัย, 2544) กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์นั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการหลายอย่าง
เช่น การออกแบบโครงสร้าง ลักษณะหน้าตา หรือการเขียนโปรแกรมซึ่งจะเห็นได้ว่าหลาย ๆ เว็บที่
มีการสร้างขึ้นมาโดยขาดการวางแผนและทำงานอย่างไม่มีระบบ เช่น อาจจะเริ่มต้นด้วยการสร้าง
เว็บจากโปรแกรมช่วยสร้างเว็บ เนื้อหาและรูปแบบก็เป็นไปตามที่นึกขึ้นได้ในขณะนั้น เมื่อเห็นว่าดู
ดีแล้วก็ทำการเปิดตัวเลย ทำให้เว็บที่ได้นั้นมีเป้าหมายและแนวทางที่ไม่แน่นอน ซึ่งจะเสี่ยงกับความ
ล้มเหลวค่อนข้างมาก
การสร้างเว็บที่ดีนั้นต้องอาศัยการออกแบบและจัดระบบข้อมูลอย่างเหมาะสม ไม่ใช่ว่าคิด
จะสร้างเว็บก็ลงมือทำโดยใช้โปรแกรมช่วยสร้างเว็บเลยทันที ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาเว็บไซต์
อย่างมีหลักการ ดำเนินการตามขั้นตอนที่ชัดเจนซึ่งหากทำตามขั้นตอนในการออกแบบนั้นข้อดีก็คือ
จะลดความเสี่ยงที่จะทำให้เว็บประสบความล้มเหลว และสามารถสร้างเว็บได้ตรงตามเป้าหมายตาม
ต้องการ มีประโยชน์
2.4.1 จัดระบบโครงสร้างข้อมูล (Information Architecture)
การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล คือ การพิจารณาว่าเว็บไซต์ควรจะมีข้อมูลและการทำงาน
ใดบ้าง ด้วยการสร้างเป็นแผนผังโครงสร้างก่อนที่จะเริ่มพัฒนาเว็บเพจ โดยเริ่มจากการกำหนด
เป้าหมายของเว็บไซต์ และกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย ต่อมาก็พิจารณาถึงเนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น แล้ว
นำมาจัดกลุ่มให้เป็นระบบจากนั้นก็ถึงเวลาในการออกแบบโครงสร้างข้อมูลในหน้าเว็บเพจให้
พร้อมที่จะนำไปออกแบบกราฟิกและหน้าตาให้สมบูรณ์ต่อไป
การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลเป็นพื้นฐานในการออกแบบเว็บไซต์ที่ดีซึ่งจะช่วยให้สามารถ
พัฒนาแบบแผนรายละเอียดข้อมูลในการออกแบบเว็บไซต์ซึ่งได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ ระบบการ
ทำงานแบบจำลอง ระบบเนวิเกชั่น และอินเตอร์เฟสของเว็บ
2.4.2 กระบวนการ 13 ขั้นตอนในการพัฒนาเว็บไซต์
2.4.2.1 Phase1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ (Research)
10
ขั้นแรกจะเน้นถึงการสำรวจข้อมูลของปัจจัยหลัก 3 อย่างที่เป็นพื้นฐานในการออกแบบ
เว็บไซต์ ซึ่งได้แก่ ผู้สร้าง ผู้ใช้ และคู่แข่ง เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางและกลยุทธ์ในการ
ออกแบบเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพและได้เปรียบในการแข่งขัน
ก) รู้จักตัวเอง
กำหนดเป้าหมายหลักของเว็บไซต์ : เป้าหมายหลักของเว็บไซต์เป็นตัวกำหนดขอบเขตและ
การทำงานของเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยอาจแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้นและ
เป้าหมายระยะยาวก็ได้เพื่อความสะดวกในการประเมินผล วิธีการกำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์อาจ
แบ่งเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่มคือ จำเป็นต้องมี อยากให้มี และยังรอได้ทั้งนี้เพื่อให้ผู้พัฒนาได้
ใส่ใจกับสิ่งที่สำคัญก่อน
กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน : ทำการรวบรวมความต้องการต่าง ๆ จากนั้นนำรายการต่าง ๆ มา
ระบุให้แคบและชัดเจนยิ่งขึ้นรวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็น
ปัจจัยสำคัญในการกำหนดขอบเขตเนื้อหาที่จำเป็นของเว็บไซต์
ระบุวิธีการวัดความสำเร็จ : หลังจากมีเป้าหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้วขั้นต่อมาคือการระบุถึง
แนวทางการวัดความสำเร็จของเว็บตามระยะเวลาที่กำหนด
พิจารณาทรัพยากรที่มี : ทรัพยากรในที่นี้หมายถึงองค์ประกอบหลักในการพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่ง
ได้แก่ บุคลากร เงินทุน ระยะเวลาในการพัฒนา และเนื้อหาข้อมูลที่จะนำเสนอบนเว็บ
ข) เรียนรู้ผู้ใช้
ในความเป็นจริงไม่สามารถสร้างเว็บให้มีคุณสมบัติทุกอย่างตามที่ทุกคนต้องการได้จึงต้อง
เลือกเจาะจงถึงผู้ใช้เฉพาะกลุ่มเพื่อจะได้ศึกษาถึงลักษณะและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
อย่างถูกต้อง
กำหนดกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย : ต้องรู้ว่าใครจะเป็นผู้เข้ามาใช้บริการ กลุ่มผู้ใช้เป้าหมายนี้มี
ลักษณะอย่างไร การออกแบบเว็บไซต์ต้องให้ความสำคัญแก่กลุ่มผู้ใช้เป็นหลัก และไม่กังวลกับกลุ่ม
ผู้ใช้อื่น
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายควรนึกถึงกลุ่มเป้าหมายหลาย ๆ กลุ่มแล้วเรียงลำดับความสำคัญ
เมื่อรู้จักกลุ่มผู้ใช้อย่างชัดเจนแล้วก็สามารถนำลักษณะและความต้องการของผู้ใช้มาพิจารณาในการ
ออกแบบเว็บไซต์เพื่อรองรับการใช้งานของผู้ใช้ทั้งหมดได้อย่างเหมาะสม
กรณีทำเว็บเกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์ กลุ่มผู้ที่เข้ามาใช้บริการก็จะเป็น ผู้ที่ต้องการซื้อรถที่มี
ความจำเป็นเร่งด่วนและไม่รีบ ผู้ที่ต้องการขายรถหรือต้องการนำรถมาฝากขาย ผู้สนใจอยากเข้ามาดู
รถรุ่นต่าง ๆ ผู้อยากรู้ราคาซื้อ-ขายในปัจจุบัน ผู้ที่สนใจอยากมาทำงานร่วมกับบริษัท หรืออาจจะ
เป็นผู้ที่ต้องการทราบประวัติเกี่ยวกับบริษัทเพื่อสำรวจความน่าเชื่อถือก่อนซื้อ-ขาย
11
ค้นหาสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ : เนื่องจากผู้ใช้แต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน ดังนั้นควรออกแบบ
เว็บไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ถูกต้องและครบถ้วนซึ่งการค้นหาอาจจะใช้วิธีการ
ต่างๆเช่น การสัมภาษณ์
สร้างประโยชน์ต่อผู้ใช้ : ในการสร้างเว็บขึ้นมาต้องดูว่าเว็บนั้นมีอะไรที่จะทำให้ผู้ใช้เข้ามาใช้
งาน ทั้ง ๆ ที่ยังมีเว็บอื่นประเภทเดียวกันอีกหลายเว็บ ผู้ใช้จะได้ประโยชน์อะไรที่ต่างจากเว็บอื่นบ้าง
เรียนรู้ประสบการณ์ของผู้ใช้ : ผู้สร้างสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้ใช้ได้จากการ
กำหนดกลุ่มเป้าหมาย และคาดการณ์ถึงลักษณะและความต้องการของผู้ใช้ล่วงหน้าได้โดยที่
ขณะนั้นยังไม่มีเว็บอยู่จริง ซึ่งสามารถทำได้โดยอาจใช้วิธีการสอบถาม สัมภาษณ์ สังเกต การจำลอง
สถานการณ์
ค) สำรวจจากการแข่งขันและคู่แข่ง
สำรวจบรรยากาศการแข่งขัน : เมื่อรู้กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มผู้ใช้เว็บแล้วสิ่งที่ควรรู้ต่อไปคือ
มีเว็บไหนบ้างที่ให้บริการเหมือนกับเว็บที่ต้องการสร้าง โดยสำรวจตลาดการแข่งขัน ค้นหาจำนวน
เว็บที่อยู่ในประเภทเดียวกัน และต้องรู้ว่า ผู้ใช้กำลังสนใจเรื่องอะไร
เรียนรู้จากคู่แข่ง : การเรียนรู้จากคู่แข่งถือเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่จะสร้างความได้เปรียบใน
การแข่งขันด้วยการเข้าไปสำรวจถึงเนื้อหา การใช้งานและลักษณะการออกแบบต่าง ๆ แล้วนำมา
วิเคราะห์หาจุดแข็งจุดอ่อนแต่ละเว็บเพื่อนำมาใช้ประกอบการกำหนดขอบเขตของเนื้อหาและการ
ใช้งานในเว็บที่สร้าง
2.4.2.2 Phase2 : พัฒนาเนื้อหา (Site Content)
ง) สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
สร้างแนวทางให้ผู้ใช้ได้รับข้อความที่จะสื่อ : การนำเสนอเนื้อหาต่อผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อความที่ต้องการสื่อและตอบสนองต่อสิ่งที่ได้รับตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
เช่น หากต้องการยกระดับสินค้าเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน กลยุทธ์ที่ใช้จะต้องทำให้ผู้ที่เข้ามา
ใช้บริการรู้สึกว่า สินค้าที่จำหน่ายมีคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าคู่แข่ง
ประยุกต์เนื้อหาจากสื่ออื่น (Repurposed Content) : ในบางครั้งเนื้อหาหรือข้อความที่ต้องการ
สื่อไปยังผู้ใช้นั้นอาจเป็นเนื้อหาเดียวกับที่มีอยู่แล้วในสื่อชนิดอื่น เช่น สิ่งพิมพ์ วิทยุ เป็นต้น ดังนั้น
เพียงแต่นำเนื้อหาเหล่านี้มาจัดรูปแบบให้เหมาะสมกับสื่ออินเตอร์เน็ต ก็จะได้เนื้อหาบางส่วนของ
เว็บไซต์แล้ว
เนื้อหาเสริมคุณค่า (Value Added Content) : นอกจากเนื้อหาหลักโดยทั่วไปแล้วควรจะมี
เนื้อหาที่เพิ่มคุณค่าให้กับเว็บด้วยเพื่อจะใช้ในการดึงดูดให้ผู้ใช้อยู่ใช้เว็บนานที่สุดและยังกลับเข้ามา
ใช้บริการอยู่เสมอ
12
เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม : การใช้เทคโนโลยีหรือลูกเล่นต่าง ๆ บนเว็บอาจสร้างปัญหา
ต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้บางส่วนที่ไม่มีความพร้อมได้
จ) หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา
กำหนดเนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น : จากขั้นตอนแรก ๆ ที่ได้หามานั้นสามารถที่จะนำ
ข้อมูลเหล่านั้นมาทำการพิจารณาถึงเนื้อหาที่จำเป็นในการสื่อถึงผู้ใช้ พร้อมเพิ่มเติมสิ่งอื่นๆ ที่คิดว่า
เหมาะสมเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย จากนั้นจึงแยกข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท คือ เนื้อหากับการใช้
งาน เมื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ได้แล้วและทำการสรุปก็จะได้ข้อสรุปขอบเขตของเนื้อหา
พิจารณาถึงความเป็นไปได้ : หลังจากได้ขอบเขตของเนื้อหาที่ต้องการแล้วก็มาพิจารณาถึง
ความเป็นไปได้ โดยอาศัยหลัก 3 ประการเป็นการตัดสิน ได้แก่ ความสอดคล้องกับเป้าหมาย ความ
เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
เก็บรวบรวมและพัฒนาข้อมูล : เมื่อรู้ถึงขอบเขตเนื้อหาแล้วอาจเริ่มต้นทำการรวบรวมและ
พัฒนาข้อมูลที่จำเป็น ข้อมูลเหล่านี้รวมถึงบทความ รูปภาพ กราฟิก และสิ่งอื่น ๆ ที่ต้องการนำเสนอ
บนเว็บ
ในเบื้องต้นอาจไม่จำเป็นต้องมีเนื้อหาจริงทั้งหมดก็ได้ จุดประสงค์หลักในขั้นตอนนี้คือ
สรุปของขอบเขตเนื้อหา เพื่อนำไปสร้างข้อมูลของเว็บไซต์ก่อน แล้วจึงค่อยพัฒนาและรวบรวม
เนื้อหาทั้งหมดให้สมบูรณ์
2.4.2.3 Phase3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซต์(Site structure)
ฉ) จัดระบบข้อมูล
จัดกลุ่มและระบุชื่อเนื้อหา : เมื่อมีข้อมูลจำนวนมากที่จะนำมาใช้ในเว็บไซต์ จำเป็นต้องนำ
ข้อมูลเหล่านั้นมาจัดให้เป็นระบบ เพื่อให้ได้เป็น ร่างแผนผังโครงสร้าง ด้วยการทดลองใช้แนวคิด
หลาย ๆ แบบมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม จากนั้นก็เปรียบเทียบแนวทางการจัดกลุ่มข้อมูลของ
ผู้เกี่ยวข้องทุกคนเพื่อหาข้อสรุปที่คนส่วนใหญ่เข้าใจได้ง่าย ระบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีมีส่วนช่วยให้
ผู้ใช้เข้าใจภาพรวมของเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
ช) จัดทำโครงสร้างข้อมูล
จัดทำรายการโครงสร้างของไซต์ : เมื่อมีข้อมูลที่ถูกจัดกลุ่มให้เป็นระบบเรียบร้อยแล้วขั้น
ต่อไปคือ นำข้อมูลที่ได้มาจัดเป็นโครงสร้างเนื้อหาที่แสดงถึงกลุ่มข้อมูลและลำดับชั้นของหัวข้อ
ย่อย โดยจัดอยู่ในรูปแบบของตัวหนังสือทั้งหมดก่อน ดังตัวอย่าง
Section1
Section1.1
Section1.2
13
Section2
Section2.1
Section2.2
Section2.2.1
Section2.2.2
Section2.2.3
Section2.3
Section2.4
Section3
จัดทำแผนผังโครงสร้างของเว็บ : การนำโครงสร้างของเว็บไซต์ข้างต้นมาจัดให้เป็นแบบ
แผนที่สื่อความหมายยิ่งขึ้นโดยสร้างเป็นแผนผังที่แสดงถึงโครงสร้างข้อมูลลำดับชั้นและการ
เชื่อมโยงแต่ละส่วนอย่างชัดเจนซึ่งเรียกว่าแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์ ซึ่งเป็นการแสดงภาพรวม
ของเว็บไซต์ในเชิงกราฟิกโดยเริ่มจากหน้าโฮมเพจ หรือหน้าเกริ่นนำและต่อไปจนถึงหน้าย่อย ๆ
ทั้งหมด
ซ) พัฒนาระบบเนวิเกชั่น
วางแนวทางการเคลื่อนที่ภายในไซต์ (Site Flow) : การวางแนวทางการเคลื่อนที่ในเว็บไซต์
เป็นการกำหนดขอบเขตของข้อมูลส่วนต่างๆรวมกับการสร้างทางเชื่อมโยงถึงกัน โดยเริ่มพิจารณา
จากหน้าโฮมเพจ แล้วจึงกำหนดแนวทางการเข้าถึงข้อมูลย่อยในส่วน ต่างๆ การเคลื่อนที่จากส่วน
หนึ่งไปอีกส่วนหนึ่งและวิธีการใช้งานระบบต่างๆโดยคาดการณ์ว่าผู้ใช้จะท่องเว็บไปในลักษณะใด
พวกเขาต้องการเคลื่อนที่ไปตามหัวข้อหรือตามส่วนหลักๆ ของเว็บไซต์ สิ่งใดที่ต้องการให้ผู้ใช้เข้า
มาสัมผัสเมื่อแรกเริ่มเข้ามายังเว็บไซต์ ทำอย่างไรจะไม่ให้ผู้ใช้หลงทางอยู่ในเว็บไซต์
สร้างระบบเนวิเกชั่น (Navigation System) : กระบวนการสร้างระบบเนวิเกชั่นเริ่มต้นจากการ
พิจารณาแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์ร่วมกับแนวทางในการเคลื่อนที่ภายในไซต์
โดยปกติอาจนำส่วนหลัก ๆ ในโครงสร้างของไซต์นั้น ๆ มาใช้เป็นลิงค์ในระบบเนวิเกชั่น
หลักที่จะมีอยู่ในทุกๆ หน้าของเว็บเพจ
ส่วนระบบเนวิเกชั่นเฉพาะส่วนที่จะลิงค์ไปยังรายละเอียดของส่วนต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ซึ่ง
สามารถเป็นได้หลายรูปแบบ เช่น รายชื่อหัวข้อย่อย รายชื่อผลิตภัณฑ์ รายการสินค้า หรือ
รายละเอียดที่อยู่ในส่วนนั้น
2.4.2.4 Phase4 : ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ (Visual Design)
ฌ) ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บเพจ (Interface Design)
14
การเริ่มออกแบบเว็บไซต์เป็นการนำโครงสร้างข้อมูลมาพัฒนาให้เป็นรูปร่างอย่างสื่อ
ความหมายโดยเริ่มจากการจัดโครงสร้างของหน้า แล้วออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บก็จะเป็นหน้า
ตัวอย่าง เพื่อนำไปสร้างเป็นหน้าต้นแบบต่อไป
สร้างแบบจำลองรายละเอียดข้อมูลในหน้าเว็บ (Architectural Page Make-up) : การสร้าง
แบบจำลองหน้าเว็บที่สื่อถึงการจัดกลุ่มของรายการเนื้อหา เพื่อส่งให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์นำไป
ดำเนินการต่อได้ และยังไว้ทดสอบการใช้งานว่าเหมาะสมหรือไม่
จัดแบ่งพื้นที่ในหน้าเว็บ (Page Layout) : พื้นที่ในหน้าเว็บเกิดจากการจัดแบ่งบริเวณต่างๆใน
หน้าเว็บให้เป็นพื้นที่ขององค์ประกอบชนิดต่าง ๆ โดยที่องค์ประกอบหลักของแต่ละหน้าจะอยู่ใน
ตำแหน่งเดียวกันเช่น โลโก้ เนื้อหา ระบบเนวิเกชั่น เป็นต้น
ออกแบบโครงร่างของหน้าเว็บ (Design Sketch) : การออกแบบหน้าตาของเว็บเพจต้องอาศัย
ผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิกมาช่วย เริ่มจากการร่างภาพคร่าว ๆโดยอาศัยข้อมูลและข้อกำหนดจาก
กระบวนการต่างๆ ที่ผ่านมา มาออกแบบเป็นโครงร่างลักษณะของหน้าหลัก ๆ ในเว็บไซต์
ญ) พัฒนาเว็บต้นแบบและโครงสร้างเว็บไซต์ขั้นสุดท้าย
สร้างและทดสอบเว็บเพจต้นแบบ (Web-base Prototype) : หลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบ
ของเว็บเพจที่ต้องการได้แล้ว จึงนำไปสร้างเป็นเว็บเพจต้นแบบขึ้นซึ่งจะประกอบไปด้วย ตัวอักษร
ลิงค์ และองค์ประกอบหลักเท่าที่จำเป็น เพื่อนำไปทดสอบการใช้งานกับตัวอย่างกลุ่มผู้ใช้หลายๆคน
สรุปแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์ขั้นสุดท้าย (Final Architecture Blueprint) : เมื่อเว็บต้นแบบ
ผ่านการทดสอบแล้วหรือหากพบปัญหาก็ดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนที่จะเริ่มทำการพัฒนา
เว็บไซต์จริง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นนี้คือ แผนผังโครงสร้างเว็บไซต์ขั้นสุดท้าย (Final Architecture
Blueprint)
ระบุข้อกำหนดในการพัฒนาเว็บไซต์ (Production Specification) : คือ การกำหนดลักษณะ
การออกแบบ หรือสิ่งที่ต้องการทางเทคนิค การจัดระบบข้อมูลเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เช่น การ
กำหนดไฟล์กราฟิกไม่เกิน 50 K ใช้ภาพเคลื่อนไหวไม่เกิน 3 ภาพในแต่ละหน้า
กำหนดรูปแบบมาตรฐาน (Style Guide) : รูปแบบมาตรฐานที่ใช้เป็นหลักในการพัฒนาอาจ
ประกอบด้วย ชุดสีที่ใช้ ชนิดและขนาดของตัวอักษร ลักษณะของหัวข้อเรื่อง เป็นต้น
2.4.2.5 Phase5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production & Operation)
ฎ) ลงมือพัฒนาเว็บเพจ (Production)
เรียบเรียงและตรวจสอบข้อมูล : จัดเตรียมข้อมูลให้เรียบร้อย ตรวจสอบคำผิด ข้อผิดพลาด
ความครบถ้วนของข้อมูล
15
ตกแต่งหน้าเว็บเพจให้สมบูรณ์ (Final Interface) : นำเว็บเพจต้นแบบที่ได้ออกแบบไว้มาทำ
การออกแบบให้เสร็จสมบูรณ์
สร้างเทมเพลตสำหรับหน้าเว็บ (Web Template) : โครงร่างมาตรฐาน ประโยชน์ก็คือหากทำ
การแก้ไขส่วนใดในหน้าเทมเพลตเว็บเพจที่ถูกสร้างจากเทมเพลตนั้น ๆ จะถูกแก้ไขไปด้วย
พัฒนาเว็บ : เป็นรูปแบบของการนำเสนอข้อมูล
พัฒนาระบบการใช้งานของเว็บ : เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรม เช่น CGI ASP PHP (การ
สั่งซื้อสินค้า GuestBook Counter Webboard )
ฏ) เปิดตัวเว็บไซต์ (Launch)
ทดสอบคุณภาพ การใช้งาน และความถูกต้อง : การใช้งานต้องแน่ใจว่าไม่สร้างความสับสน
ให้แก่ผู้ใช้ ตรวจสอบความถูกต้องในส่วนต่าง ๆ เช่น ลิงค์ คำผิด สคริปต์ เป็นต้น และตรวจสอบ
ความเข้ากันได้ของสิ่งแวดล้อมเช่น ชนิด และรุ่นของBrowser
ทำเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก (Promotion)
ฐ) ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง (Maintenance & Growth)
เพิ่มข้อมูลใหม่โดยยึดรูปแบบมาตรฐาน
วิเคราะห์สถิติการใช้บริการเว็บไซต์
ตรวจสอบความถูกต้องของลิงค์
ตรวจสอบเนื้อหาและการใช้งานของเว็บให้ถูกต้องทันสมัย และตรงกับความต้องการของ
ผู้ใช้อยู่เสมอ
2.5 การออกแบบเว็บไซต์
2.5.1 ก้าวสู่ยุคอินเตอร์เน็ต
ในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตเป็นระบบสื่อสารที่กำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลก ส่วนในประเทศ
ไทยก็ได้รับความแพร่หลายทั้งในส่วนราชการ และองค์กรธุรกิจต่าง ๆ โดยได้รับความสนใจจาก
กลุ่มผู้ใช้ทุกระดับเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา จากความนิยมในอินเตอร์เน็ตที่มี
เพิ่มมากขึ้นทำให้หลายหน่วยงานจำเป็นต้องมีการพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมา ดังนั้นจึงเห็นเว็บไซต์ต่าง ๆ
เกิดขึ้นมากมายทั้งที่มีคุณภาพและไม่มีคุณภาพตามความรู้ความสามารถของผู้ออกแบบ
การสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาสักแห่งนั้นจะต้องมีเป้าหมายที่แน่นอนและเมื่อสร้างเสร็จแล้ว
จำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
2.5.2 ความสำคัญของการออกแบบเว็บไซต์
16
เว็บไซต์เป็นสื่อที่อยู่ในความนิยมของผู้ใช้ เพราะผู้ใช้มีโอกาสที่คลิกและไม่คลิกที่ใดก็ได้
ตามต้องการ และสามารถไปยังทุกแห่งได้อย่างง่ายดายด้วยการใช้เมาส์คลิกไปตามลิงค์ต่าง ๆ ผู้ใช้
จึงมักไม่ค่อยมีความอดทนกับอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการออกแบบที่ผิดพลาด ถ้าผู้เข้าใช้บริการไม่
สามารถมองเห็นประโยชน์จากเว็บไซต์ที่เข้าใช้บริการหรือดูแล้วไม่เข้าใจว่าใช้งานอย่างไร ก็มักจะ
เปลี่ยนไปยังเว็บไซต์อื่น ดังนั้นผู้สร้างจึงควรออกแบบเว็บไซต์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้
และดึงดูดให้พวกเขาเข้ามาใช้บริการเว็บอยู่เสมอๆ
การออกแบบเว็บไซต์จึงมีส่วนสำคัญในการสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้บริการ และ
อยากกลับเข้ามาใช้อีกในอนาคต และนอกจากจะต้องพัฒนาเว็บให้ดีและมีประโยชน์แล้ว ยังต้อง
แข่งขันกับเว็บไซต์อื่นที่ให้บริการเช่นเดียวกับเว็บไซต์ที่จัดทำในปัจจุบันและยังต้องสร้างความ
ได้เปรียบเหนือเว็บไซต์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วยดังนั้นไม่ว่าเว็บไซต์จะมีคู่แข่งอยู่แล้ว
หรือไม่ ก็ควรออกแบบเว็บอย่างมีคุณภาพ เพื่อดึงดูดผู้ใช้ให้อยู่กับเว็บตลอดไป
2.5.3 สร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
สำหรับเว็บทางธุรกิจยิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบมากขึ้น เนื่องจาก
พฤติกรรมการใช้จ่ายบนเว็บนั้นมีลักษณะไม่เหมือนกับการซื้อขายทั่วไป ลูกค้าสามารถเข้าไปใน
เว็บหลาย ๆ แห่งพร้อมกันเพื่อเปรียบเทียบหาราคาสินค้าและบริการที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ โดยไม่
ต้องเกรงใจผู้ขายเหมือนกับในร้านจริง
2.5.4 การออกแบบเว็บไซต์ที่ดี
การออกแบบเว็บไซต์นั้นไม่ได้หมายถึงลักษณะหน้าตาของเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว แต่
เกี่ยวข้องตั้งแต่การเริ่มต้นกำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์ ระบุกลุ่มผู้ใช้ การจัดระบบข้อมูล การสร้าง
ระบบเนวิเกชั่น การออกแบบหน้าเว็บ รวมไปถึงการใช้กราฟิก การเลือกใช้สี และการจัดรูปแบบ
ตัวอักษร นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงความแตกต่างของสื่อกลางในการแสดงผลเว็บไซต์ด้วย สิ่ง
เหล่านี้ได้แก่ ชนิดและรุ่นของบราวเซอร์ ขนาดของหน้าจอมอนิเตอร์ ความละเอียดของสีในระบบ
รวมไปถึง Plug-in ชนิดต่าง ๆ ที่ผู้ใช้มีอยู่เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกและความพอใจที่จะท่องไปใน
เว็บไซต์นั้น
2.5.5 ออกแบบให้ตรงกับเป้าหมายและลักษณะของเว็บไซต์
เว็บไซต์แต่ละประเภทต่างมีเป้าหมายและลักษณะที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ที่เป็น
Search Engine ซึ่งเป็นแหล่งรวมที่อยู่ของเว็บไซต์ต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นประตูไปสู่เว็บไซต์อื่น ๆ
เว็บไซต์ประเภทนี้มีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการอย่างรวดเร็ว และจะมีผู้เข้ามาใช้บริการ
ค้นหาข้อมูลเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการออกแบบเว็บไซต์ประเภทนี้ก็คือ
สามารถแสดงหน้าเว็บอย่างรวดเร็วเมื่อมีผู้เปิดเข้ามา และมีระบบสืบค้นที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้
ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว
17
2.5.6 องค์ประกอบของการออกแบบเว็บไซต์อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบต่อไปนี้ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของเว็บไซต์ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างมี
ประสิทธิภาพ
2.5.6.1 ความเรียบง่าย (Simplicity)
ความเรียบง่ายคือ ความไม่ซับซ้อน ใช้งานได้สะดวกมีการสื่อสารเนื้อหาถึงผู้ใช้
โดยจำกัดองค์ประกอบเสริมที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอให้เหลือเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น
2.5.6.2 ความสม่ำเสมอ (Consistency)
ควรสร้างความสม่ำสมอให้กับเว็บไซต์โดยใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์
ซึ่งถ้าลักษณะของแต่ละหน้าในเว็บไซต์เดียวกันนั้นแตกต่างกันมากผู้ใช้ก็จะเกิดความสับสนและ
อาจจะไม่แน่ใจว่าอยู่ในเว็บไซต์เดิมหรือไม่ ดังนั้น รูปแบบของหน้า สไตล์ของกราฟิก
ระบบเนวิเกชั่น และโทนสีที่ใช้ควรจะมีความคล้ายคลึงกันตลอดทั้งเว็บไซต์
2.5.6.3 ความเป็นเอกลักษณ์ (Identity)
การออกแบบต้องคำนึงถึงลักษณะขององค์กรเนื่องจากรูปแบบของเว็บไซต์
สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กรนั้นได้ เว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการจึงไม่
ควรดูเหมือนสวนสนุก การใช้ชุดสี ชนิดตัวอักษร รูปภาพและกราฟิกจะมีผลต่อรูปแบบของ
เว็บไซต์อย่างมาก ผู้ออกแบบจึงควรเลือกใช้องค์ประกอบเหล่านี้อย่างเหมาะสม
2.5.6.4 เนื้อหาที่มีประโยชน์ (Useful Content)
เนื้อหาถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเว็บไซต์ดังนั้นในเว็บไซต์จึงควรจัดเตรียมเนื้อหา
และข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้องสมบูรณ์ โดยมีการปรับปรุงและเพิ่มเติมให้ทันต่อเหตุการณ์อยู่
เสมอ
2.5.6.5 ระบบเนวิเกชั่นที่ใช้ง่าย (User-Friendly Navigation)
ระบบเนวิเกชั่นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากของเว็บไซต์ จึงควรออกแบบให้ผู้ใช้
เข้าใจได้ง่ายและใช้งานได้สะดวก โดยใช้กราฟิกที่สื่อความหมายร่วมกับคำอธิบายที่ชัดเจน รวมทั้ง
มีรูปแบบและลำดับของรายการที่สม่ำเสมอ
2.5.6.6 มีลักษณะที่น่าสนใจ (Visual Appeal)
เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่าลักษณะหน้าตาของเว็บไซต์แห่งใดแห่งหนึ่งนั้น
น่าสนใจหรือไม่ เพราะเกี่ยวข้องกับความชอบของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดีหน้าตาของเว็บไซต์จะมี
ความสัมพันธ์กับคุณภาพขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่น คุณภาพของกราฟิกที่สมบูรณ์ การใช้ชนิด
ตัวอักษรที่อ่านง่าย สบายตา และการใช้โทนสีที่เข้ากันอย่างสวยงาม
18
2.5.6.7 การใช้งานอย่างไม่จำกัด (Compatibility)
การออกแบบเว็บไซต์ควรออกแบบให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เข้าถึงได้มากที่สุด โดยไม่มี
การบังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ เพิ่มเติม หรือต้องเลือกใช้บราวเซอร์ชนิดใดชนิดหนึ่งจึง
จะสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และที่ความละเอียดของหน้าจอต่าง ๆ กันอย่าง
ไม่มีปัญหา สิ่งเหล่านี้จะยิ่งมีความสำคัญมาก สำหรับเว็บที่มีผู้ใช้บริการมาก หรือมีกลุ่มเป้าหมายที่
หลากหลาย
2.5.6.8 คุณภาพในการออกแบบ (Design Quality)
หากต้องการให้ผู้ใช้รู้สึกว่าเว็บของคุณมีคุณภาพ ถูกต้องและเชื่อถือได้ ก็ควรให้
ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์อย่างมาก เช่นเดียวกับสื่อประเภทอื่นๆ ที่ต้องออกแบบและ
เรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ
2.5.6.9 ระบบการใช้งานที่ถูกต้อง (Functional Stability)
ระบบการทำงานในเว็บไซต์จะต้องมีความถูกต้องแน่นอน เช่น กรณีมีฟอร์มให้
ผู้ใช้กรอกข้อมูลฟอร์มนั้นจะต้องใช้งานได้จริง หรือลิงค์ต่าง ๆ ที่มีอยู่จะต้องสามารถเชื่อมโยงไปยัง
หน้าที่ปรากฏอยู่จริงและถูกต้องด้วย
2.5.7 ออกแบบเพื่อความสำเร็จของเว็บ
ความสำเร็จของเว็บไซต์ไม่ได้เกิดจากการที่มีผู้ใช้หน้าใหม่เข้ามาในเว็บไซต์จำนวนมาก ถ้า
ผู้ใช้จำนวนนั้นเข้ามาที่โฮมเพจครั้งเดียวแล้วก็ไม่ย้อนกลับเข้ามาอีกเลย หากเป็นแบบนี้เว็บไซต์นี้ก็
จะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะผู้ใช้ขาประจำเท่านั้นที่ทำให้เว็บไซต์ประสบความสำเร็จ
เหตุผลที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่ชอบเข้าไปใช้บริการในบางเว็บไซต์เป็นประจำอาจแบ่งได้เป็น 4 ข้อ
ใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ใช้ต้องการจาก
เว็บไซต์ คือ
2.5.7.1 มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ตรงกับที่ผู้ใช้ต้องการ
2.5.7.2 มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาและพัฒนาเว็บไซต์อยู่เสมอ
2.5.7.3 ใช้เวลาการดาวน์โหลดน้อยแสดงผลเร็ว
2.5.7.4 การใช้งานที่สะดวกและเข้าใจง่าย
2.5.8 เริ่มต้นออกแบบเว็บไซต์
การสร้างเว็บไซต์ขึ้นใหม่สักแห่งหนึ่งนั้นต้องอาศัยความรู้และทักษะต่างๆหลายด้านรวมกัน
เช่น พื้นฐานภาษา HTML ความสามารถในการสร้างและออกแบบกราฟิกได้อย่างเหมาะสม การจัด
ระเบียบตัวอักษรและองค์ประกอบต่าง ๆ หรือการเลือกใช้ชุดสีอย่างเหมาะสมเป็นต้น นอกจากนั้น
ผู้ออกแบบยังต้องติดตามศึกษาหาความรู้และเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้มี
ประสิทธิภาพอยู่เสมอ
19
2.5.9 ทีมงานพัฒนาเว็บไซต์
กรณีที่จัดทำเว็บไซต์ของบริษัทขนาดใหญ่จะมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในส่วนต่างๆ ซึ่ง
แบ่งเป็นตำแหน่ง ต่างมีหน้าที่และความสามารถเฉพาะด้าน
Webmaster: เป็นบุคคลเดียวที่ต้องทำหน้าที่ทุกอย่างเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรืออาจเป็นเพียง
ผู้ดูแลกระบวนการพัฒนาเว็บไซต์ของทีมงาน โดยปกติแล้ว Webmaster จะเป็นผู้ควบคุมในเรื่อง
การออกแบบ เนื้อหา และรายละเอียดทางเทคนิค รวมทั้งเป็นผู้ที่คอยหาวิธีสร้างความน่าสนใจ
ให้กับเว็บไซต์เพื่อให้มีผู้เข้ามาใช้บริการมากๆ บุคคลผู้นี้ควรมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการการ
ออกแบบเว็บไซต์ HTML, perl, CGI, Script และเรื่องระบบปฏิบัติการพอสมควร
Information Architect : ทำหน้าที่จัดระเบียบข้อมูลและทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน
ตำแหน่งนี้ควรมีพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูลหรืออาจมีประสบการณ์เป็นบรรณารักษ์
หรือนักหนังสือพิมพ์มาก่อน
Designer : เป็นผู้ออกแบบหน้าตาทั้งหมดของเว็บไซต์ ด้วยการออกแบบกราฟิกและลักษณะ
ต่าง ๆ ขององค์ประกอบ ควรเป็นผู้มีความรู้ทางศิลปะและสามารถใช้โปรแกรมกราฟิก รู้จัก
วิธีการปรับขนาดไฟล์กราฟิก มีความสามารถในการใช้โปรแกรมช่วยสร้างเว็บ ได้พอสมควร
HTML and JavaScript Coder : รับผิดชอบการสร้างเว็บเพจโดยอาศัยเครื่องมือ และต้องมี
ความรู้เกี่ยวกับภาษา HTML, Cascading Style Sheet และภาษา Script ต่างๆ อย่างดี และสามารถ
อัพเดทเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถอัพโหลดไฟล์ได้ด้วย
Developer / Programmer : เป็นผู้เขียน Script ต่างๆ ภายในเว็บไซต์ ช่วยพัฒนาการทำงานที่มี
ประโยชน์ให้กับผู้ใช้และอาจต้องมีความเกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ควรมีความรู้เกี่ยวกับ HTML,
DHTML, Script ต่างๆ, internet protocol, database development and relational database design
System Administrator : ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเว็บเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
อื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และปรับตั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ ควรมีความรู้
เกี่ยวกับ routing, client/server programming
Content Editor / Writer : สำหรับเว็บที่มีการผลิตเนื้อหาเองจำเป็นต้องมีบรรณาธิการกับ
นักเขียนรับผิดชอบในการจัดเตรียมเนื้อหาของเว็บไซต์ทั้งหมดและจะต้องคอยตรวจสอบความ
ถูกต้องและคุณภาพของเนื้อหาไม่ให้มีคำผิดหรือข้อความที่อ่านแล้วสับสนหลุดรอดออกไป
2.5.10 โปรแกรมที่ช่วยในการสร้างเว็บ
2.2.10.1 Macromedia Dreamweaver
2.2.10.2 Microsoft FrontPage
2.2.10.3 Allaire HomeSite
2.5.11 ความผิดพลาดในการออกแบบเว็บไซต์ 10 อันดับแรก
20
ก) โครงสร้างหน้าเว็บเป็นระบบเฟรม
การใช้ระบบเฟรมในเว็บไซต์จะสร้างความสับสนให้ผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถทำ bookmark
หน้าเว็บเพจที่สนใจจะกลับเข้ามาอีก การแสดงชื่อไฟล์ของ URL ไม่ถูกต้อง การสั่งพิมพ์ให้ผลลัพธ์
ไม่แน่นอน นอกจากนั้นยังทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นที่เฟรม
ไหนหลังจากคลิกที่ลิงค์ไปแล้ว
ข) ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงโดยไม่จำเป็น
ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อแสดงฝีมือหรือดึงดูดความสนใจจากผู้ใช้ เพราะจะ
ได้ผลเฉพาะกับผู้ใช้ที่มีประสบการณ์สูงเท่านั้น
ค) ใช้ตัวหนังสือหรือภาพเคลื่อนไหวตลอดเวลา
ในหน้าเว็บไม่ควรมีองค์ประกอบที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาโดยไม่มีหยุด เพราะสิ่งเหล่านี้จะ
สร้างความรำคาญและรบกวนสายตาของผู้อ่าน
ง) มีที่อยู่เว็บไซต์ที่ซับซ้อน
ที่อยู่เว็บไซต์ที่ซับซ้อนนั้นอาจอยู่ในรูปของชื่อที่มีความยาวมาก สะกดลำบาก การใช้
ตัวอักษรพิมพ์เล็กผสมกับพิมพ์ใหญ่ รวมถึงการใช้ตัวอักษรพิเศษ นอกจากนั้นที่อยู่เว็บไซต์ควรสื่อ
ถึงโครงสร้างภายในเว็บไซต์อีกด้วย
จ) ไม่มีการแสดงชื่อและที่อยู่ของเว็บไซต์ในหน้าเว็บเพจ
เนื่องจากผู้ใช้บางคนอาจจะเข้ามาสู่หน้าโฮมเพจผ่านมาจากการใช้ระบบการค้นหา หรือ
search engine โดยไม่ได้ผ่านหน้าโฮมเพจมาก่อนทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถรู้ได้ว่ากำลังอยู่เว็บไหนและ
จะกลับเข้ามาอีกได้อย่างไร
ฉ) มีความยาวของหน้ามากเกินไป
การมีความยาวของหน้ามากเกินไปจะมีข้อเสียคือผู้ใช้จะเกิดความสับสนกับข้อมูลที่มีมาก
เกินไปเสียเวลาในการ Download ข้อมูลนานบางครั้งอาจเกิดการลายตาจนมองไม่เห็นข้อมูลที่
ต้องการ
ช) ขาดระบบเนวิเกชั่นที่ประสิทธิภาพ
อย่าคิดว่าผู้ใช้จะเข้าใจโครงสร้างเว็บไซต์ได้เท่ากับผู้สร้าง ผู้ใช้จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่
ต้องการได้ถ้าปราศจากระบบเนวิเกชั่นที่ชัดเจนเมื่อผู้ใช้หาสิ่งที่ต้องการไม่พบเว็บไซต์นั้นก็ไม่มี
โอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้
ซ) ใช้สีของลิงค์ไม่เหมาะสม
โดยปกติแล้วลิงค์ที่นำไปสู่หน้าที่ยังไม่เข้าไปนั้นจะเป็นสีน้ำเงินส่วนลิงค์ที่เคยไปแล้วจะเป็น
สีม่วง การเปลี่ยนแปลงหรือสลับดังกล่าวอย่างไม่รอบคอบจะทำให้ผู้ใช้ไม่แน่ใจว่าส่วนไหนคือลิงค์
แล้วลิงค์ไหนที่ได้คลิกเข้าไปแล้วบ้าง
21
ฌ) ข้อมูลเก่าไม่มีการปรับปรุงให้ทันสมัย
เมื่อผู้ใช้พบว่าข้อมูลในเว็บไซต์นั้นเก่าหรือไม่ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน ก็จะเกิด ความไม่
น่าเชื่อถือและไม่อยากกลับมาใช้บริการอีก
ญ) เว็บเพจแสดงผลช้า
กราฟิกและไฟล์ขนาดใหญ่จะมีผลทำให้เว็บเพจนั้นใช้เวลาการดาวน์โหลดมาก ซึ่งถ้าใช้
เวลานานมากอาจทำให้ผู้เข้าชมขาดความสนใจได้เนื่องจากผู้ใช้มีความอดทนรอการแสดงผลของ
เว็บเพจได้จำกัด
2.6 ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม
2.6.1 ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง
(ศิริลักษณ์, 2542) ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language) หรือเรียกสั้น
ๆ ว่า เอสคิวแอล (SQL) เป็นภาษาที่ใช้ในการจัดการข้อมูลของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ที่สามารถใช้
ในเรื่องของการนิยามข้อมูล การเรียกใช้ หรือการควบคุม คำสั่งเหล่านี้จะช่วยประหยัดเวลาในการ
พัฒนาระบบงาน หรือนำไปใช้ในส่วนของการสร้างฟอร์มเพื่อการทำรายงานของระบบงานต่าง ๆ
ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งได้สรุปและอธิบายลักษณะ ของการใช้ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้างไว้ดังนี้
2.6.1.1 ประเภทของคำสั่ง SQL
ก) ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language : DLL)
ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างข้อมูลว่ามีคอลัมน์อะไร แต่ละคอลัมน์เก็บข้อมูล
ประเภทใด รวมถึงการเพิ่มคอลัมน์ การกำหนดดัชนี การกำหนดวิวของผู้ใช้เป็นต้น
ข) ภาษาสำหรับการจัดดำเนินการข้อมูล (Data Manipulation Language:
DML) ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการเรียกใช้ข้อมูล การเปลี่ยนแปลงข้อมูล การเพิ่มหรือลบข้อมูล
เป็นต้น
ค) ภาษาที่ใช้ในการควบคุมข้อมูล (Data Control Language : DCL)
ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการควบคุม การเกิดภาวะพร้อมกันหรือป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ใช้
หลายคนเรียกใช้ข้อมูลพร้อมกัน โดยที่ข้อมูลนั้น ๆ อยู่ในระหว่างการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นเวลา
เดียวกับที่ผู้ใช้อีกคนหนึ่งก็เรียกใช้ข้อมูลนี้ ทำใหข้ ้อมูลที่ผู้ใช้ที่สองได้ไปเป็นค่าที่ไม่ถูกต้อง
นอกจากนี้ยังประกอบด้วยคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการให้สิทธิ์
ผู้ใช้ที่แตกต่างกันเป็นต้น
2.6.1.2 รูปแบบการใช้คำสั่ง SQL สามารถใช้ได้ 2 รูปแบบคือ
ก) คำสั่ง SQL ที่ใช้เรียกดูข้อมูลแบบโต้ตอบ (Interactive SQL) เป็นการ
ใช้คำสั่ง SQL สั่งงานบนจอภาพ เพื่อเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลได้โดยตรงในขณะทำงาน
22
ข) คำสั่ง SQL ที่ใช้เขียนร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ (Embedded SQL) เป็น
การนำคำสั่ง SQL ไปใช้ร่วมกับชุดคำสั่งงานที่เขียนโดยภาษาต่าง ๆ
2.6.1.3 คำสั่ง SQL ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล
ก) INSERT เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในทูเพิล ซึ่งจะเป็น
การเพิ่มข้อมูลเข้าไปทีละ 1 ทูเพิล มีรูปแบบดังนี้
รูปแบบ
INSERT INTO <ชื่อรีเลชั่น> [(<ชื่อแอททริบิวต์>)]
VALUE (<ค่าของแอททริบิวต์>);
กรณีที่ต้องการใส่ข้อมูลเข้าไปในรีเลชั่นนั้นมากกว่าหนึ่งค่าขึ้นไป ควรจะระบุชื่อแอททริบิวต์ต่อ
จากชื่อรีเลชั่นด้วย และค่าของแอททริบิวต์ต่าง ๆ ที่เพิ่มเข้าไปในรีเลชั่นจะต้องเรียงลำดับตามชื่อ
ของแอททริบิวต์ที่ระบุ กรณีที่ค่าของแอททริบิวต์นั้นระบุเป็นตัวอักษรจะต้องมีเครื่องหมาย ‘ ’
กำกับ
ข) UPDATE เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับปรุงข้อมูลในรีเลชั่น มีรูปแบบ
ดังนี้
รูปแบบ
UPDATE <ชื่อรีเลชั่น>
SET <ชื่อแอททริบิวต์1>=<ค่าของแอททริบิวต์1>
[,<ชื่อแอททริบิวต์2>=<ค่าของแอททริบิวต์2>,…]
[WHERE <เงื่อนไข>];
กรณีที่ต้องการปรับปรุงค่าที่อยู่ในรีเลชั่นใหม่ ให้ใช้คำสั่ง UPDATE และตามด้วยชื่อของ
รีเลชั่นที่จะปรับปรุง และหลัง SET จะใส่ชื่อแอททริบิวต์ ที่ต้องการเปลี่ยนค่าใหม่ และตามด้วยค่า
ของแอททริบิวต์ ก็คือค่าใหม่ที่จะเปลี่ยน ถ้ามีมากกว่าหนึ่งค่า ให้คั่นด้วยเครื่องหมายคอมมา (,) และ
ตามด้วยเงื่อนไข ซึ่งจะอยู่หลังคำสั่ง WHERE
ค) DELETE เป็นคำสั่งที่ใช้ลบข้อมูลที่อยู่ในรีเลชั่น มีรูปแบบดังนี้
รูปแบบ
DELETE <ชื่อรีเลชั่น> [WHERE <เงื่อนไข>];
กรณีที่ต้องการลบทูเพิลออกจากรีเลชั่น จะใช้คำสั่ง DELETE ตามด้วยชื่อรีเลชั่น ถ้าไม่มี
เงื่อนไข จะเป็นการลบข้อมูลทุกทูเพิลในรีเลชั่นนั้นออก แต่ถ้าต้องการลบบางทูเพิลต้องใส่เงื่อนไข
หลังคำสั่ง WHERE ด้วย
ง) SELECT เป็นคำสั่งที่เรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลมาแสดง มีรูปแบบ
ดังนี้
23
รูปแบบ
SELECT <ชื่อแอททริบิวต์> FROM <ชื่อรีเลชั่น>
[WHERE <เงื่อนไข>];
จากรูปแบบดังกล่าว เป็นการแสดงข้อมูลที่อยู่ในรีเลชั่นออกมาตามชื่อแอททริบิวต์ที่ระบุ
หลังคำสั่ง SELECT แต่ถ้าหลังคำสั่งดังกล่าวใส่เครื่องหมาย * จะเป็นการแสดงออกมาทุกแอททริ
บิวต์ และถ้าต้องการที่จะแสดงข้อมูลออกมาตามเงื่อนไขที่ระบุจะต้องใส่เงื่อนไขหลังคำสั่ง
WHERE
2.6.2 ภาษา HTML
(ไพศาล, 2544) HTML มาจากคำว่า HyperText Markup Language ซึ่งเป็นรูปแบบของภาษา
ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมในเว็บเพจเพื่อแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์ ลักษณะของเอกสาร HTML
จะเป็น Text File ธรรมดาที่ต้องอาศัยการแปลความจากเว็บบราวเซอร์ ในสมัยก่อนจุดประสงค์การ
ใช้ HTML เพื่อแสดงผลที่เป็นข้อความเป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน HTML ได้มีการพัฒนาให้มีขีด
ความสามารถเพิ่มเติมมากมายที่รวมทั้งความสามารถในด้านมัลติมีเดีย
คำสั่งของภาษา HTML เรียกว่า “แท็ก” (Tag) ซึ่งแท็กนี้โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบ
<...> … ซึ่งเว็บบราวเซอร์จะแปลงแท็กนี้แล้วแสดงผลให้เห็น โดยทั่วไปการสร้างเว็บเพจด้วย
ภาษา HTML โดยใช้เอดิเตอร์ต่าง ๆ เช่น NotePad ของวินโดวส์ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมเข้าใจ
โครงสร้างโดยรวมทั้งหมด แต่โปรแกรมเมอร์จะต้องเข้าใจรูปแบบคำสั่งหรือแท็กของ HTML
ทั้งหมด ซึ่งเป็นการยากและเสียเวลามาก ในปัจจุบันจึงได้มีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเขียน
โปรแกรมบนเว็บเพจในลักษณะ WYSIWYG (What You See Is What You Get) เช่น Microsoft
Front Page โปรแกรมสำเร็จรูปในลักษณะนี้จะทำให้โปรแกรมเมอร์ประหยัดเวลาในการสร้างเว็บ
เพจเพราะคุณสามารถใช้งานเหมือนกับที่สร้างเอกสารทั่วไป คือพิมพ์ข้อความแล้วเปลี่ยนรูปแบบ
อื่น ๆ ตามต้องการ หลังจากนั้นเมื่อมีการจัดเก็บเอกสารแค่เพียงเลือกรูปแบบเอกสารที่ต้องการ
จัดเก็บให้เป็นแบบ HTML หลังจากนั้นก็สามารถนำไปแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์ได้ทันที โดย
โปรแกรมสำเร็จรูปนี้จะสร้างโค้ด HTML ให้โดยอัตโนมัติ
เอกสาร HTML มีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นเนื้อหา และสว่ นที่เป็นคำสั่งหรือแท็ก
รูปแบบพื้นฐานโครงสร้างของเอกสาร HTML จะเป็นดังนี้
ตารางที่ 2-1กกคำสั่งของภาษา HTML
รูปแบบ ความหมาย
…. เป็นคำสั่งเริ่มต้นและสิ้นสุดของเอกสาร HTML เหมือนคำสั่ง
Begin และ End ใน Pascal
24
ตารางที่ 2-1 (ต่อ) คำสั่งของภาษา HTML
รูปแบบ ความหมาย
…. ใช้กำหนดข้อความในส่วนที่เป็น ชื่อเรื่อง ภายในคำสั่งนี้จะมีคำสั่ง
ย่อยอีหนึ่งคำสั่งคือ เป็นส่วนแสดงชื่อของเอกสาร โดยจะแสดงที่ไตเติลบาร์ของวินโดว์
ที่เปิดเอกสารนี้อยู่เท่านั้น
…. ส่วนเนื้อหาของโปรแกรมจะเริ่มต้นด้วยคำสั่ง และ
สิ้นสุดด้วย ในระหว่าง 2 คำสั่งนี้จะประกอบด้วยแท็ก
มากมายตามที่คุณต้องการให้แสดงผลบนบราวเซอร์
ตารางที่ 2-2กกลักษณะของโค้ดภาษา HTML





คำสั่งหรือข้อความที่ต้องการแสดงบนเว็บบราวเซอร์


2.6.3 MySQL
(กิตติ, 2544) MySQL เป็นดาตาเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) เป็นโปรแกรมที่มี
ความสามารถสูง สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก ถือว่าเป็นดาตาเบสเซิร์ฟเวอร์ที่มี
ผู้ใช้งานจำนวนมากที่สุดโปรแกรมหนึ่ง นอกจากนั้นยังสามารถใช้กับระบบปฏิบัติการแบบ
เซิร์ฟเวอร์เช่น Windows NT หรือ Linux ได้ และการติดตั้งโปรแกรม MySQL ก็สามารถที่จะติดตั้ง
ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตั้ง MySQL ให้กับระบบปฏิบัติการ Linux จะไม่เกิดปัญหาในเรื่อง
ลิขสิทธิ์ แต่ถ้าเลือกใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows NT จะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ราคาแพง
2.6.4 ภาษา PHP
(ไพศาล, 2544) PHP หมายถึง PHP Hypertext Preprocessor ซึ่งเป็นภาษาสคริปต์แบบหนึ่ง
ซึ่งเรียกว่า Server Side Script ที่ประมวลผลฝั่งเซิร์ฟเวอร์ แล้วส่งผลลัพธ์ไปฝั่งไคลเอ็นต์ ผ่านเว็บ
25
บราวเซอร์เช่นเดียวกับ ASP (Active Server Pages) ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการ
นำมาช่วยพัฒนางานบนเว็บที่เรียกว่า Web Development หรือ Web Programming เนื่องจากมี
จุดเด่นหลายประการ รูปแบบของภาษา PHP มีเค้าโครงมาจากภาษา C และ Perl ที่นำมาปรับปรุงทำ
ให้มีประสิทธิภาพสูง และทำงานได้เร็วขึ้น
การเขียนคำสั่งของภาษา PHP นั้นสามารถที่จะแทรกคำสั่งเหล่านี้บนคำสั่ง HTML ได้โดย
ใช้เครื่องหมาย ตัวอย่างในตารางที่ 2-3
เป็นการแทรกภาษา PHP ในแท็กของ HTML
ตารางที่ 2-3กกแสดงคำสั่ง PHP





HELLO





จากตารางที่ 2-3 เมื่อพิมพ์คำสั่งเรียบร้อยแล้วจะต้องมีการจัดเก็บชื่อไฟล์ให้มีนามสกุล
เป็น .php3 หรือ .php เช่น test.php และแสดงผลการรันโปรแกรมดังภาพที่ 2-1 ถ้าต้องการเขียน
comment ในภาษา PHP นี้จะใช้เครื่องหมาย // ซึ่งคล้ายกับภาษา C โดยจะเป็นการ comment ครั้งละ
1 บรรทัด แต่ถ้าต้องการที่จะ comment หลาย ๆ บรรทัดให้ใช้เครื่องหมาย /*…*/ ส่วนคำสั่งที่แสดง
ข้อความออกมาทางจอภาพจะใช้คำสั่ง echo หรือคำสั่ง print ก็ได้ ซึ่งมีอีกหลายคำสั่งที่สามารถ
ศึกษาได้
26
ภาพที่ 2-1 แสดงผลการรันโปรแกรม test.php
2.6.5 PHP กับการเชื่อมต่อ MySQL
PHP มีคำสั่งในการเริ่มติดต่อฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ฟังก์ชั่น mysql_connect() ซึ่งมี
รูปแบบคำสั่งดังนี้
รูปแบบ
mysql_connect($hostname,$user,$password);
โดยที่ $hostname คือ ข้อความที่เป็นชื่อโฮสต์
$user คือ ชื่อล็อกอิน
$password คือ รหัสผ่านสำหรับเข้าใช้ฐานข้อมูล MySQL
จากรูปแบบดังกล่าว จะต้องทราบเกี่ยวกับชื่อโฮสต์ ชื่อที่ใช้ในการล็อกอินเข้าโฮสต์ และ
รหัสผ่าน ของโฮสต์ที่ต้องการจะติดต่อ ซึ่งได้แสดงตัวอย่างดังตารางที่ 2-4
ตารางที่ 2-4กกแสดงการติดต่อฐานข้อมูล MySQL ด้วยภาษา PHP
$hostname = “localhost”;
$user = “itt80812”;
$password = “80812”;
$dbConnect = mysql_connect($hostname,$user,$password);
27
PHP ยังมีคำสั่งในการเลือกฐานข้อมูลที่ต้องการใช้ โดยใช้ฟังก์ชั่น mysql_select_db() ซึ่งมี
รูปแบบดังนี้
รูปแบบ
mysql_select_db($dbname);
โดยที่ $dbname คือ ชื่อฐานข้อมูลที่ต้องการใช้ ตัวอย่างการเลือกฐานข้อมูล แสดงดัง
ตารางที่ 2-5
ตารางที่ 2-5กกแสดงการเลือกฐานข้อมูลชื่อ systemteaching
$dbname = “systemteaching”;
mysql_select_db($dbname);
นอกจากนั้นยังมีคำสั่งในการปิดการติดต่อกับฐานข้อมูล MySQL ด้วยฟังก์ชั่น mysql_close()
ซึ่งจะทำการปิดฐานข้อมูลที่ได้ทำการเปิดไว้
ในการพัฒนาระบบครั้งนี้ ได้นำทฤษฎีด้านฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์มาใช้ในการวิเคราะห์และ
ออกแบบระบบ และได้นำภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง ภาษา HTML ภาษา PHP มาใช้ในการ
พัฒนาทางด้านโปรแกรม เนื่องจากเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำมาช่วยพัฒนา
งานบนเว็บที่เรียกว่า Web Development หรือ Web Programming เนื่องจากมีจุดเด่นหลายประการ
เป็นโปรแกรมภาษาที่มีประสิทธิภาพสูง และทำงานได้รวดเร็ว สามารถตอบสนองต่อความต้องการ
ในการพัฒนาระบบงานได้เป็นอย่างดี และได้ใช้ MySQL เป็นดาตาเบสเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรม
ที่มีความสามารถสูง สามารถใช้กับระบบปฏิบัติการแบบเซิร์ฟเวอร์เช่น Windows NT หรือ Linux
ได้ และการติดตั้งโปรแกรม MySQL ก็สามารถที่จะติดตั้งได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตั้ง
MySQL ให้กับระบบปฏิบัติการ Linux จะไม่เกิดปัญหาในเรื่องลิขสิทธิ์ โดยได้นำโปรแกรมภาษา
PHP และ SQL มาเป็นตัวเชื่อมต่อฐานข้อมูล ซึ่งสามารถทำงานได้ดีในระบบการทำงานแบบ Client
Server
2.7 ระบบฐานข้อมูล
(ศิริลักษณ์, 2542) ระบบฐานข้อมูล (Database System) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สัมพันธ์
กันโดยมีการกำหนดรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อให้สามารถนำไปประมวลผลใช้งาน
ได้ง่าย ประโยชน์ที่ได้จากระบบฐานข้อมูลคือ การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ลดเนื้อที่ในการ
28
จัดเก็บข้อมูล และสะดวกต่อการบำรุงรักษา เนื่องจากฐานข้อมูลเป็นที่รวบรวมข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลาง
อย่างมีระบบ ดังนั้นข้อมูลจึงไม่มีความซ้ำซ้อน สามารถใช้งานร่วมกันได้ กำหนดมาตรฐานเดียวกัน
ได้ กำหนดความปลอดภัยของข้อมูลได้ และช่วยประหยัดเนื้อที่ของสื่อบันทึก นอกจากนี้ฐานข้อมูล
ยังช่วยแก้ปัญหาการล้าสมัยของข้อมูลด้วย เพราะไม่ต้องตามไปแก้ไขข้อมูลที่ประจายอยู่ตาม
สถานที่ต่างๆ
2.7.1 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
(ศิริลักษณ์, 2542) ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) เป็นฐานข้อมูลที่นิยมใช้กัน
มากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลที่เข้าใจง่าย และข้อมูลต่าง ๆ มีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็น
ลักษณะ 2 มิติ ก็คือมีการจัดเก็บที่เป็นแถว (Row) และคอลัมน์ (Column)
2.7.2 ข้อดีของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
2.7.2.1 การจัดเก็บข้อมูลในแต่ละแถวจะไม่มีข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน
2.7.2.2 การจัดเรียงลำดับของแอททริบิวต์หรือคอลัมน์ในตารางหนึ่ง ๆ นั้นสามารถ
ที่จะจัดเรียงลำดับอย่างไรก็ได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการเรียงลำดับก่อนหลัง
2.7.2.3 ข้อมูลในหนึ่งแอททริบิวต์สามารถที่จะทำการจัดเก็บได้เพียงค่าเดียวเท่านั้น
2.7.3 นิยามศัพท์เรียกใช้ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ศัพท์ที่เรียกใช้แทนกันได้ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์หรือศัพท์เทคนิคนั้น ได้มีการ
เปรียบเทียบกับคำศัพท์ทั่วไปที่เจอบ่อย ๆ ดังแสดงในตารางที่ 2-6
ตารางที่ 2-6กกแสดงคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เรียกแทนกันได้ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
คำศัพท์เทคนิค คำศัพท์ทั่วไป
รีเลชั่น(Relation)
ทูเพิล (Tuple)
แอททริบิวต์ (Attribute)
คาร์ดินาลลิตี้ (Cardinality)
คีย์หลัก (Primary Key)
โดเมน (Domain)
ตาราง (Table)
แถว (Row) หรือ เรคคอร์ด (Record)
คอลัมน์ (Column) หรือ ฟิลด์ (Field)
จำนวนแถว (Number of Rows)
ค่าเอกลักษณ์ (Unique Identifier)
ขอบเขตค่าของข้อมูล
2.7.4 ประเภทของคีย์
สำหรับคีย์นั้นสามารถที่จะใช้เป็นตัวบ่งบอกหรือเชื่อมโยงถึงค่าของข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ใน
รีเลชั่นนั้น ๆ ได้ ซึ่งได้มีการแบ่งประเภทของคีย์ไว้ 2 ประเภทด้วยกันดังนี้
29
ก) คีย์หลัก (Primary Key)
สำหรับคีย์หลักนั้น ก็คือ ถ้ากำหนดแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งในรีเลชั่นนั้นเป็นคีย์
หลักแล้วแอททริบิวต์นั้นจะเก็บข้อมูลที่ไม่ซ้ำกันเลยในรีเลชั่นนั้นๆ โดยที่เมื่อทราบค่าของคีย์หลัก
แล้วจะสามารถระบุค่าอื่นๆ ในทูเพิลหรือแถวนั้นได้ เช่น รีเลชั่นนักศึกษา มีการกำหนดให้
แอททริบิวต์ รหัสนักศึกษาเป็นคีย์หลัก ถ้าทราบรหัสนักศึกษา ก็จะสามารถทราบรายละเอียดว่า
นักศึกษาคนนี้ชื่อว่าอะไร
ในกรณีที่ในหนึ่งรีเลชั่นนั้นมีแอททริบิวต์ตั้งแต่ 2 แอททริบิวต์ขึ้นไปประกอบกัน จึงจะ
สามารถที่จะระบุรายละเอียดของข้อมูลอื่น ๆ ในทูเพิลนั้นได้ เรียกว่าคีย์คู่แข่ง (Candidate Key)
ข) คีย์นอก (Foreign Key)
สำหรับคีย์นอกนั้น จะเป็นแอททริบิวต์หนึ่งที่อยู่ในรีเลชั่นหนึ่ง และสามารถที่จะเชื่อมโยง
ข้อมูลกับอีกรีเลชั่นหนึ่งได้
ตารางที่ 2-7กกตารางข้อมูลพนักงาน
Emp_Id Name Surname Sex Salary Dept_Id
00001
00002
00003
00004
สมบูรณ์
สมเกียรติ
จันจิรา
น้ำฝน
สุขมาก
เจริญพร
แจ้งเกิด
ม่วงทอง
M
M
F
F
12,000
10,000
15,000
9,000
001
002
003
001
ตารางที่ 2-8กกตารางแผนก
Dept_Id Dept_Name
001
002
003
004
ฝ่ายบัญชี
ฝ่ายคอมพิวเตอร์
ฝ่ายการตลาด
ฝ่ายธุรการ
จากตารางที่ 2-7 จะเป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน คือ เก็บรหัส ชื่อ นามสกุล เพศ
เงินเดือน และรหัสแผนกที่พนักงานสังกัด ส่วนในตารางที่ 2-8 จะเป็นการเก็บข้อมูลแผนก ซึ่งจะ
จัดเก็บรหัสแผนก และชื่อแผนก จะเห็นว่าแอททริบิวต์ที่เป็นคีย์นอกก็คือ Dept_Id ซึ่งแอททริบิวต์นี้
จะเป็นส่วนที่เชื่อมโยงให้ทราบว่ารหัสแผนกที่พนักงานสังกัดนั้นมีชื่อแผนกว่าอะไร
30
ชื่อเอ็นทิตี้
ความสัมพันธ์
ชื่อแอทริบิวต์
ชื่อแอทริบิวต์
2.7.5 แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้
แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้ (Entity – Relationship Diagram : ERD) เป็น
แผนภาพความสัมพันธ์ทางตรรกศาสตร์ระหว่างบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือข้อมูล ตัวอย่างเช่น
ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา เนื่องจากนักศึกษาต้องเรียนและมีผลการเรียนจาก
อาจารย์ผู้สอน แผนภาพนี้จะเป็นแผนภาพที่ช่วยออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ในระดับแนวคิด
โดยแสดงถึงรายละเอียดและความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ในลักษณะภาพรวม ซึ่งเป็นประโยชน์
ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในระบบว่ามีรายละเอียดและความสัมพันธ์อย่างไรบ้าง ซึ่ง
สามารถแสดงความสัมพันธ์ของอ็นทิตี้ต่างๆ ในรูปของภาพกราฟิกเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
เอ็นทิตี้ในระบบโดยใช้สัญลักษณ์ดังนี้
แทนเอ็นทิตี้
แทนความสัมพันธ์
แทนแอทริบิวต์
แทนแอทริบิวต์ที่เป็นคีย์หลัก
ภาพที่ 2-2 แสดงสัญลักษณ์การเขียนแผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้
แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้สามารถแสดงความสัมพันธ์ได้ 3 แบบ คือ
ก) ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-To-One Relationship)
ซึ่งสามารถเขียนเป็นแบบย่อคือ 1 : 1 เป็น ความสัมพันธ์ของเอ็นทิตี้หนึ่งกับ
อีกเอ็นทิตี้หนึ่งโดยมีโอกาสของความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้ทั้งสองได้เพียงความสัมพันธ์เดียว
เท่านั้น เช่น อาจารย์ในคณะหนึ่งจะเป็นคณบดีคณะนั้นได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ตัวอย่าง
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งแสดงในรูปภาพที่ 2-3
ภาพที่ 2-3 แสดงความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
คณบดี 1 1 คณะ
31
ข) ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-To-Many Relationship)
ซึ่งสามารถเขียนเป็นแบบย่อคือ 1 : M เป็นความสัมพันธ์ของเอ็นทิตี้หนึ่งกับเอ็นทิตี้หนึ่ง
โดยเอ็นทิตี้แรกที่เกิดขึ้นจะสัมพันธ์กับเอ็นทิตี้ที่สองได้หลายความสัมพันธ์ แต่ความสัมพันธ์ที่
เกิดขึ้นของเอ็นทิตี้ที่สองจะมีความสัมพันธ์กับเอ็นทิตี้แรกได้เพียงความสัมพันธ์เดียวเท่านั้น เช่น
อาจารย์หนึ่งคนสามารถเป็นเจ้าของรายวิชาได้หลายรายวิชา แต่รายวิชาหนึ่งสามารถมีเจ้าของได้คน
เดียว ดังแสดงในรูปภาพที่ 2-4
ภาพที่ 2-4 แสดงความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
ค) ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-To-Many Relationship)
ซึ่งสามารถเขียนเป็นแบบย่อคือ M : N เป็นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้หนึ่งกับอีกเอนทิตี้หนึ่ง โดย
เอ็นทิตี้แรกที่เกิดขึ้นจะสัมพันธ์กับเอ็นทิตี้ที่สองได้หลายความสัมพันธ์ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น
ของเอ็นทิตี้ที่สองจะมีความสัมพันธ์กับเอ็นทิตี้แรกได้หลายความสัมพันธ์เช่นเดียว เช่น
ความสัมพันธ์ของกับอนทิตี้บทเรียน กล่าวได้ว่านักศึกษาหลายคน สามารถเข้าเรียนบทเรียนได้
หลายบทเรียน และในทำนองเดียวกัน ในบทเรียนหนึ่งก็สามารถรับนักศึกษาได้หลายคน
ภาพที่ 2-5 แสดงความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
2.7.6 แผนภาพกระแสข้อมูล
แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) คือ แผนภาพกระแสข้อมูลที่มีการ
วิเคราะห์แบบในเชิงโครงสร้าง (Structured) แสดงถึงการไหลของข้อมูลเข้าและข้อมูลออก ขั้นตอน
การทำงานต่างๆ ของระบบ ซึ่งสัญลักษณ์ต่างๆ ตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ Data Flow
Diagram Symbol (DFDs) แสดงได้ดังภาพที่ 2-6
อาจารย  1 N รายวิชา
นักศึกษา M N บทเรียนเรียน
32
ชื่อเอ็นทิตี้
ชื่อแฟ้มข้อมูล
ชื่อข้อมูล
ชื่อวีธี
การประมวลผล
สัญลักษณ์แทนเอ็นทิตี้ภายนอกระบบ (External Entity Symbol)
สัญลักษณ์แทนการเก็บข้อมูล (Data Store Symbol)
สัญลักษณ์แทนเส้นทางการไหลของข้อมูล (Data Flow Symbol)
สัญลักษณ์แทนการประมวลผล (Process Symbol)
ภาพที่ 2-6 แสดงสัญลักษณ์ต่างๆ ตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ Data Flow Diagram Symbol
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
(กชกร, 2544) ระบบสร้างบทเรียนออนไลน์ เพื่อใช้ในสร้างบทเรียนบนอินเตอร์เน็ต ระบบ
สร้างบทเรียนออนไลน์ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ส่วนแรก เป็นการเข้าใช้ระบบ ส่วนที่สอง เป็น
การกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของผู้สร้างบทเรียน ส่วนที่สาม เป็นการสร้างไฟล์ที่จำเป็นสำหรับ
สร้างบทเรียน และส่วนสุดท้าย เป็นการจัดการด้านผู้เรียน
จากการใช้และประเมินโปรแกรมโดยตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ที่เคยสร้าง และใช้แบบสอบถามเป็น
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน โดยประเมินส่วนต่าง ๆ ของ
โปรแกรมในประเด็นของความสามารถทำงานได้ตามความต้องการของระบบ ความยากง่ายในการ
เข้าใช้งานระบบ ความปลอดภัยของระบบ และเหมาะสมของซอฟต์แวร์ที่ใช้พัฒนาระบบ พบว่า
ในแต่ละส่วนของโปรแกรมได้คะแนนการประเมินอยู่ในระดับสูงถึงสูงที่สุด สำหรับข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรลดขั้นตอนในการสร้างบทเรียนลงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการ
สร้างบทเรียน คำนึงถึงระบบที่สามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมากผ่านทางเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต และความเร็วในการใช้งาน
33
32
บทที่ 3
ก) วิธีการดำเนินงาน
วิธีการดำเนินงานของการพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้เป็น
สื่อประกอบการเรียนการสอนภายในสถาบันราชภัฎสวนดุสิต ผู้พัฒนาได้แบ่งวิธีการดำเนินงาน
ออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ
3.1 ขั้นตอนการวางแผนโครงการ
3.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ
3.3 ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาระบบ
3.4 ขั้นตอนการทดสอบระบบ
3.1 ขั้นตอนการวางแผนโครงการ
เป็นการศึกษาปัญหาที่เกิดจากการสร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของอาจารย์ผู้สอน
โดยเฉพาะปัญหาด้านการเขียนโปรแกรม ปัญหาของการจัดเก็บข้อมูลผู้เรียน ความยุ่งยากในการ
สร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำเสนอบทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต ความต้องการระบบบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของผู้เรียนที่เน้นการใช้งานง่าย
สะดวกต่อการเข้าใช้งาน ศึกษาและทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง จากนั้นได้นำระบบนิพนธ์
บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน เพื่อเป็นเครื่องมือช่วย
ให้อาจารย์ผู้สอนที่ขาดความรู้ในการเขียนโปรแกรมให้สามารถสร้างบทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตได้ พร้อมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตการทำงานของระบบ ศึกษารูปแบบของ
บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตว่ามีลักษณะการใช้งาน ประโยชน์และข้อจำกัดของบทเรียนผ่าน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
จากการศึกษา สามารถแบ่งการดำเนินงานของการพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต ออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ
3.1.1 การสร้างบทเรียน เป็นงานเกี่ยวกับการสร้างบทเรียนว่าจะสร้างเรื่องอะไร
มีรายละเอียดเนื้อหาอะไรบ้าง
3.1.2 การสร้างแบบทดสอบ เป็นงานเกี่ยวกับการสร้างแบบทดสอบ การเลือกรูปแบบ
ข องแบบทดสอบ
33
3.1.3 ข้อมูลผู้เรียน เป็นงานเกี่ยวกับการเก็บรายละเอียดของผู้เรียน การเข้าเรียนและ
รายงานผลการเรียน
3.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ
ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ผู้พัฒนาระบบได้ทำการวิเคราะห์ระบบโดยใช้เครื่องมือ
ดังนี้
3.2.1 แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD)
3.2.2 แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ (Entity-RelationshipDiagram : ERD)
3.2.3 พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
3.2.1 แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) เป็นเครื่องมือที่ใช้อธิบายถึง
ขั้นตอนการทำงานของระบบ แสดงทิศทางการไหลของข้อมูลในระบบ ซึ่งจะอธิบายให้ผู้พัฒนา
ระบบ ได้ทราบรายละเอียดการทำงานของระบบได้ดียิ่งขึ้น
แผนภาพกระแสข้อมูลระดับสูงสุด (Context Diagram) ของระบบนิพนธ์บทเรียนผ่าน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถเขียนได้ดังแสดงในภาพที่ 3-1
ภาพที่ 3-1 Context Diagram ระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
จากภาพที่ 3-1 จะเห็นได้ว่ามีแหล่งข้อมูลจากภายนอกระบบ 2 แหล่ง คือ
ก) อาจารย์หรือผู้สร้างบทเรียน เป็นผู้ที่สามารถสร้างบทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต โดยนำข้อมูลส่วนตัวเข้ามาประมวลผลเพื่อขอข้อมูลการเข้าใช้ระบบ จากนั้นก็จะได้
ข้อมูลการใช้ระบบ และนำข้อมูลบทเรียนที่ต้องการสร้างก็จะได้ข้อมูลบทเรียนที่ปรับปรุงแล้ว
นอกจากนี้ยังได้รับรายงานผลการเรียนของของนักศึกษาที่เข้าเรียนอีกด้วย
34
นักศึกษา เป็นผู้ที่เข้ามาใช้งานบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่อาจารย์สร้างขึ้น โดยนำข้อมูล
ส่วนตัวเข้ามาประมวลผลเพื่อขอใช้ระบบ จากนั้นก็สามารถเข้าเรียนบทเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตได้ และทราบรายงานผลการเรียนของตนเองด้วย
ข) สามารถแสดงการประมวลผลของระบบโดยรวมได้จากแผนภาพกระแส
ข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) ดังแสดงในภาพที่ 3-2
ซึ่งระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แบ่งกระบวนการทำงานออกเป็น 6
ส่วนหลักๆ ดังนี้
ก) ส่วนลงทะเบียนเข้าใช้ระบบ เป็นกระบวนการทำงานที่จัดการเกี่ยวกับการ
ลงทะเบียนเข้าใช้ระบบสำหรับอาจารย์หรือผู้สร้างบทเรียน และสำหรับผู้เรียนหรือนักศึกษา
สามารถเขียนแผนภาพระดับรองลงมาดังแสดงในภาพที่ 3-3
ข) ส่วนการจัดการบทเรียน เป็นกระบวนการทำงานที่ใช้ในการสร้าง แก้ไข
และลบข้อมูลบทเรียน ดังแสดงในภาพที่ 3-4
ค) ส่วนการจัดการด้านการเรียน
ง) ส่วนการจัดการด้านการสอบ
จ) ส่วนการจัดการแบบทดสอบ เป็นกระบวนการทำงานที่ใช้ในการสร้าง
แก้ไขและลบข้อมูลแบบทดสอบ ดังแสดงในภาพที่ 3-5
ฉ) ส่วนการจัดการรายงานผลการเรียน เป็นกระบวนการทำงานที่ใช้ในการ
รายงานผลการเรียน สามารถเขียนแผนภาพระดับรองลงมาดังแสดงในภาพที่ 3-6
ในส่วนของการจัดการด้านการเรียนและส่วนการจัดการด้านการสอบจะไม่มีแผนภาพ
กระแสข้อมูลในระดับรองลงมาเนื่องจากมีรายละเอียดสมบูรณ์แล้วใน Data Flow Diagram 0
35
ภาพที่ 3-2 แสดง Data Flow Diagram Level 0 ของระบบ
36
ภาพที่ 3-3 Data Flow Diagram Level 1 ของส่วนลงทะเบียนเข้าใช้ระบบ
ภาพที่ 3-4 Data Flow Diagram Level 1 ส่วนการจัดการบทเรียน
37
ภาพที่ 3-5 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการข้อมูลรายวิชา
ภาพที่ 3-6 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียน
38
ภาพที่ 3-7 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการข้อมูลหัวเรื่อง
ภาพที่ 3-8 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการข้อมูลเนื้อหา
39
ภาพที่ 3-9 Data Flow Diagram Level 1 ส่วนการจัดการแบบทดสอบ
ภาพที่ 3-10 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการแบบทดสอบก่อนรายวิชา
40
ภาพที่ 3-11 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการแบบทดสอบก่อนบทเรียน
ภาพที่ 3-12 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการแบบทดสอบก่อนเรื่อง
ภาพที่ 3-13 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการแบบทดสอบท้ายรายวิชา
41
ภาพที่ 3-14 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการแบบทดสอบท้ายบทเรียน
ภาพที่ 3-15 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการแบบทดสอบท้ายเรื่อง
ภาพที่ 3-16 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการแบบฝึกหัดรายวิชา
42
ภาพที่ 3-17 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการแบบฝึกหัดบทเรียน
ภาพที่ 3-18 Data Flow Diagram Level 2 ส่วนการจัดการแบบฝึกหัดเรื่อง
43
ภาพที่ 3-19 Data Flow Diagram Level 1 ของส่วนการจัดการรายงานผลการเรียน
3.2.2 แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้ (Entity Relationship Diagram : ERD) เป็น
แผนผังที่ใช้ช่วยในการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ในระดับแนวคิด โดยแสดงถึงรายละเอียด
และความสัมพันธ์ของข้อมูลในระดับภาพรวมของระบบว่ามีรายละเอียดและความสัมพันธ์อย่างไร
บ้าง ซึ่งในระบบนิพนบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผู้พัฒนาระบบไม่ได้ทำการ Normalization
แต่ได้ใช้วิธีการสอบถามจาก Application Domain ประกอบด้วยเอ็นทิตี้ต่างๆ ดังแสดงในภาพที่ 3-9
3.2.3 พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ใช้ในการแสดงความหมายของข้อมูลต่างๆ
ในระบบซึ่งประกอบไปด้วย
44
3.2.3.1 แฟ้มข้อมูลอาจารย์ เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับผู้สร้างบทเรียน โดยมีรหัส
อาจารย์เป็นคีย์หลัก ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-1
ตารางที่ 3-1 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลอาจารย์ (Teacher)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 T_name Character 100 ชื่อ – นามสกุล
3 T_pws Character 10 รหัสผ่าน
4 T_occu Character 100 อาชีพ
5 T_place Character 255 สถานที่ทำงาน
6 T_dist Character 255 ตำบล/อำเภอ
7 T_prov Character 100 จังหวัด
8 T_zipcode Character 5 รหัสไปรษณีย์
9 T_phone Character 10 เบอร์โทรศัพท์
10 T_email Character 50 E – mail อาจารย์
11 T_grad Character 100 ระดับการศึกษา
12 T_pos Character 1 ตำแหน่งทางวิชาการ
1 = อาจารย์
2 = ดร.
3 = ผู้ช่วยศาสตราจารย์
4 = ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
5 = รองศาสตราจารย์
6 = รองศาสตราจารย์ ดร.
7 = ศาสตราจารย์
8 = ศาสตราจารย์ ดร.
9 = ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ
13 T_day Date วันที่ลงทะเบียน
3.2.3.2 แฟ้มข้อมูลนักศึกษา เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน โดยมีรหัสอาจารย์และรหัส
นักศึกษาเป็นคีย์หลักร่วมกัน เนื่องจากผู้เรียนสามารถเรียนกับอาจารย์ได้หลายคน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ
ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-2
45
ตารางที่ 3-2 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลนักศึกษา (Student)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Std_id Character 20 รหัสนักศึกษา PK
3 Std_name Character 100 ชื่อ – นามสกุล
4 Std_pws Character 10 รหัสผ่าน
5 Std_email Character 50 E – mail นักศึกษา
6 Std_grad Character 100 ระดับการศึกษา
7 Std_occu Character 100 อาชีพ
8 Std_place Character 255 สถานที่เรียน/ที่ทำงาน
9 Std_day Date วันที่ลงทะเบียน
3.2.3.3 แฟ้มข้อมูลรายวิชา เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชาที่สร้างไว้ โดยมีรหัสอาจารย์และ
รหัสวิชาเป็นคีย์หลักร่วมกัน เนื่องจากอาจารย์สามารถกำหนดรหัสวิชาซ้ำกันได้ ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-3
ตารางที่ 3-3 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลรายวิชา (Subject)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Sub_thai Character 255 ชื่อวิชาภาษาไทย
4 Sub_eng Character 255 ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ
5 Sub_word Character 255 คีย์เวิร์ดบทเรียน
6 Sub_desc Character คำอธิบายรายวิชา
3.2.3.4 แฟ้มข้อมูลบทเรียน เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับบทเรียนที่สร้างไว้ โดยมีรหัสอาจารย์
รหัสวิชา และเลขที่บทเรียนเป็นคีย์หลักร่วมกัน เนื่องจากในแต่ละรายวิชาอาจารย์สามารถกำหนด
เลขที่บทเรียนซ้ำกันได้ ซึ่งมีข้อมูลต่างๆดังรายละเอียดในตารางที่ 3-4
46
ตารางที่ 3-4 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลบทเรียน (Chapter)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Ch_name Character 255 ชื่อบทเรียน
3.2.3.5 แฟ้มข้อมูลหัวเรื่อง เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับหัวเรื่องที่สร้างไว้ โดยมีรหัสอาจารย์
รหัสวิชา เลขที่บทเรียนและเลขที่หัวเรื่องเป็นคีย์หลักร่วมกัน เนื่องจากในแต่ละรายวิชา และแต่ละ
บทเรียนอาจารย์สามารถกำหนดเลขที่หัวเรื่องซ้ำกันได้ซึ่งมีข้อมูลต่างๆดังรายละเอียดในตารางที่3-5
ตารางที่ 3-5 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลหัวเรื่อง (Topic)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Ch_name Character 255 ชื่อหัวเรื่อง
3.2.3.6 แฟ้มข้อมูลเนื้อหา เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาในแต่ละหน้าที่สร้างไว้ โดยมีรหัส
อาจารย์ รหัสวิชา เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และเลขที่หน้าเป็นคีย์หลักร่วมกัน เนื่องจากในแต่ละ
รายวิชา แต่ละบทเรียน และแต่ละหัวเรื่อง อาจารย์สามารถกำหนดเลขที่หน้าซ้ำกันได้ ซึ่งมีข้อมูล
ต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-6
ตารางที่ 3-6 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลเนื้อหา (Content)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 C_id Numeric 2 เลขที่หน้า PK
6 C_content Character เนื้อหา
47
ตารางที่ 3-6 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
7 C_picture Character 50 รูปภาพประกอบ
8 C_animation Character 50 รูปภาพเคลื่อนไหวประกอบ
9 C_sound Character 50 เสียงประกอบ
10 C_video Character 50 วีดีโอประกอบ
12 C_linkch Numeric 2 เลขที่บทเรียนเชื่อมโยง
13 C_linkid Numeric 2 เลขที่หน้าเชื่อมโยง
3.2.3.7 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชา มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา และ
รูปแบบแบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-7
ตารางที่ 3-7 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชา (SubjectPretest)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Template Character 1 รูปแบบแบบทดสอบ
1 = Multiple Choice
(เลือกตอบ)
2 = True – False (ถูกผิด)
3 = Short Answer (เติม
คำ)
4 = Matching (จับคู่)
PK
4 Description Character คำชี้แจงการทำ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ประจำรายวิชา
3.2.3.8 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียน มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่
บทเรียน และรูปแบบแบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกันซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-8
48
ตารางที่ 3-8 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียน (ChapterPretest)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Template Character 1 รูปแบบแบบทดสอบ
1 = Multiple Choice (เลือกตอบ)
2 = True – False (ถูกผิด)
3 = Short Answer (เติมคำ)
4 = Matching (จับคู่)
PK
5 Description Character คำชี้แจงการทำแบบทดสอบก่อน
เรียนประจำบทเรียน
3.2.3.9 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำเรื่อง มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่
บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และรูปแบบแบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียด
ในตารางที่ 3-9
ตารางที่ 3-9 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำเรื่อง (TopicPretest)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Template Character 1 รูปแบบแบบทดสอบ
1 = Multiple Choice (เลือกตอบ)
2 = True – False (ถูกผิด)
3 = Short Answer (เติมคำ)
4 = Matching (จับคู่)
PK
6 Description Character คำชี้แจงการทำแบบทดสอบก่อน
เรียนประจำเรื่อง
49
3.2.3.10 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชาชนิดเลือกตอบ มีรหัสอาจารย์
รหัสวิชา และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกันซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3 -10
ตารางที่ 3-10 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชาชนิดเลือกตอบ
(SubPre_Choice)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 PreC_ques Character 255 คำถาม
5 PreC_ansA Character 255 ตัวเลือกที่ 1
6 PreC_ansB Character 255 ตัวเลือกที่ 2
7 PreC_ansC Character 255 ตัวเลือกที่ 3
8 PreC_ansD Character 255 ตัวเลือกที่ 4
9 PreC_answer Character 1 คำตอบ
A = ตัวเลือกที่ 1
B = ตัวเลือกที่ 2
C = ตัวเลือกที่ 3
D = ตัวเลือกที่ 4
3.2.3.11 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชาชนิดเติมคำ มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-11
ตารางที่ 3-11 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชาชนิดเติมคำ
(SubPre_Short)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 PreS_ques Character 255 คำถาม
5 PreS_answer Character 255 คำตอบ
50
ตารางที่ 3-11 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
6 PreS_answerA Character 255 คำตอบใกล้เคียง1
7 PreS_answerB Character 255 คำตอบใกล้เคียง2
3.2.3.12 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชาชนิดถูกผิด มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-12
ตารางที่ 3-12 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชาชนิดถูกผิด (SubPre_TF)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 PreTF_ques Character 255 คำถาม
5 PreTF_answer Character 1 คำตอบ
T = ถูก
F = ผิด
3.2.3.13 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชาชนิดจับคู่ มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-13
ตารางที่ 3-13 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชาชนิดจับคู่
(SubPre_Match)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 PreM_code Character 1 ตัวเลือกคอลัมภ์ B
5 PreM_A Character 255 คำถามคอลัมภ์ A
6 PreM_B Character 255 คำถามคอลัมภ์ B
7 PreM_answer Character 1 คำตอบ
51
3.2.3.14 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียนชนิดเลือกตอบมีรหัสอาจารย์
รหัสวิชา เลขที่บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-14
ตารางที่ 3-14 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียนชนิดเลือกตอบ
(ChPre_Choice)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 PreC_ques Character 255 คำถาม
6 PreC_ansA Character 255 ตัวเลือกที่ 1
7 PreC_ansB Character 255 ตัวเลือกที่ 2
8 PreC_ansC Character 255 ตัวเลือกที่ 3
9 PreC_ansD Character 255 ตัวเลือกที่ 4
10 PreC_answer Character 1 คำตอบ
A = ตัวเลือกที่ 1
B = ตัวเลือกที่ 2
C = ตัวเลือกที่ 3
D = ตัวเลือกที่ 4
3.2.3.15 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียนชนิดเติมคำ มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา เลขที่บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-15
ตารางที่ 3-15 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียนชนิดเติมคำ
(ChPre_Short)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
52
ตารางที่ 3-15 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
4 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 PreS_ques Character 255 คำถาม
6 PreS_answer Character 255 คำตอบ
7 PreS_answerA Character 255 คำตอบใกล้เคียง1
8 PreS_answerB Character 255 คำตอบใกล้เคียง2
3.2.3.16 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียนชนิดถูกผิด มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา เลขที่บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-16
ตารางที่ 3-16 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชาชนิดถูกผิด (SubPre_TF)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 PreTF_ques Character 255 คำถาม
6 PreTF_answer Character 1 คำตอบ
T = ถูก
F = ผิด
3.2.3.17 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียนชนิดจับคู่ มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา เลขที่บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-17
ตารางที่ 3-17 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียนชนิดจับคู่(ChPre_Match)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
53
ตารางที่ 3-17 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
4 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 PreM_code Character 1 ตัวเลือกคอลัมภ์ B
6 PreM_A Character 255 คำถามคอลัมภ์ A
7 PreM_B Character 255 คำถามคอลัมภ์ B
8 PreM_answer Character 1 คำตอบ
3.2.3.18 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำเรื่องชนิดเลือกตอบ มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-18
ตารางที่ 3-18 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำเรื่องชนิดเลือกตอบ
(TopPre_Choice)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 PreC_ques Character 255 คำถาม
7 PreC_ansA Character 255 ตัวเลือกที่ 1
8 PreC_ansB Character 255 ตัวเลือกที่ 2
9 PreC_ansC Character 255 ตัวเลือกที่ 3
10 PreC_ansD Character 255 ตัวเลือกที่ 4
11 PreC_answer Character 1 คำตอบ
A = ตัวเลือกที่ 1
B = ตัวเลือกที่ 2
C = ตัวเลือกที่ 3
D = ตัวเลือกที่ 4
54
3.2.3.19 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำเรื่องชนิดเติมคำ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา
เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-19
ตารางที่ 3-19 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียนชนิดเติมคำ
(ChPre_Short)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 PreS_ques Character 255 คำถาม
7 PreS_answer Character 255 คำตอบ
8 PreS_answerA Character 255 คำตอบใกล้เคียง1
9 PreS_answerB Character 255 คำตอบใกล้เคียง2
3.2.3.20 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำเรื่องชนิดถูกผิด มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา
เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-20
ตารางที่ 3-20 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชาชนิดถูกผิด (SubPre_TF)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 PreTF_ques Character 255 คำถาม
7 PreTF_answer Character 1 คำตอบ
T = ถูก
F = ผิด
55
3.2.3.21 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำเรื่องชนิดจับคู่ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา
เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-21
ตารางที่ 3-21 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบก่อนเรียนประจำเรื่องชนิดจับคู่ (TopPre_Match)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Pre_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 PreM_code Character 1 ตัวเลือกคอลัมภ์ B
7 PreM_A Character 255 คำถามคอลัมภ์ A
8 PreM_B Character 255 คำถามคอลัมภ์ B
9 PreM_answer Character 1 คำตอบ
3.2.3.22 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชา มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา และ
รูปแบบแบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-22
ตารางที่ 3-22 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชา (SubjectTest)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Template Character 1 รูปแบบแบบทดสอบ
1 = Multiple Choice (เลือกตอบ)
2 = True – False (ถูกผิด)
3 = Short Answer (เติมคำ)
4 = Matching (จับคู่)
PK
4 Description Character คำชี้แจงการทำแบบทดสอบหลัง
เรียนประจำรายวิชา
56
3.2.3.23 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียนมีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่
บทเรียนและรูปแบบแบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-
23
ตารางที่ 3-23 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียน (ChapterTest)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Template Character 1 รูปแบบแบบทดสอบ
1 = Multiple Choice (เลือกตอบ)
2 = True – False (ถูกผิด)
3 = Short Answer (เติมคำ)
4 = Matching (จับคู่)
PK
5 Description Character คำชี้แจงการทำแบบทดสอบหลัง
เรียนประจำบทเรียน
3.2.3.24 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่อง มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่
บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และรูปแบบแบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียด
ในตารางที่ 3-24
ตารางที่ 3-24 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่อง (ContentTest)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Template Character 1 รูปแบบแบบทดสอบ
1 = Multiple Choice (เลือกตอบ)
2 = True – False (ถูกผิด)
3 = Short Answer (เติมคำ)
4 = Matching (จับคู่)
PK
57
ตารางที่ 3-24 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
6 Description Character คำชี้แจงการทำแบบทดสอบหลัง
เรียนประจำเรื่อง
3.2.3.25 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชาชนิดเลือกตอบ มีรหัสอาจารย์
รหัสวิชา และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่
3-25
ตารางที่ 3-25 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชาชนิดเลือกตอบ
(SubTest_Choice)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 TestC_ques Character 255 คำถาม
5 TestC_ansA Character 255 ตัวเลือกที่ 1
6 TestC_ansB Character 255 ตัวเลือกที่ 2
7 TestC_ansC Character 255 ตัวเลือกที่ 3
8 TestC_ansD Character 255 ตัวเลือกที่ 4
9 TestC_answer Character 1 คำตอบ
A = ตัวเลือกที่ 1
B = ตัวเลือกที่ 2
C = ตัวเลือกที่ 3
D = ตัวเลือกที่ 4
3.2.3.26 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชาชนิดเติมคำ มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-26
58
ตารางที่ 3-26 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชาชนิดเติมคำ
(SubTest_Short)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 TestS_ques Character 255 คำถาม
5 TestS_answer Character 255 คำตอบ
6 TestS_answerA Character 255 คำตอบใกล้เคียง1
7 TestS_answerB Character 255 คำตอบใกล้เคียง2
3.2.3.27 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชาชนิดถูกผิด มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-27
ตารางที่ 3-27 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชาชนิดถูกผิด (SubTest_TF)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 TestTF_ques Character 255 คำถาม
5 TestTF_answer Character 1 คำตอบ
T = ถูก
F = ผิด
3.2.3.28 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชาชนิดจับคู่ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา
และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-28
ตารางที่ 3-28 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชาชนิดจับคู่
(SubTest_Match)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
59
ตารางที่ 3-28 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
3 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 TestM_code Character 1 ตัวเลือกคอลัมภ์ B
5 TestM_A Character 255 คำถามคอลัมภ์ A
6 TestM_B Character 255 คำถามคอลัมภ์ B
7 TestM_answer Character 1 คำตอบ
3.2.3.29 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียนชนิดเลือกตอบ มีรหัสอาจารย์
รหัสวิชา เลขที่บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-29
ตารางที่ 3-29 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียนชนิดเลือกตอบ
(ChTest_Choice)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 TestC_ques Character 255 คำถาม
6 TestC_ansA Character 255 ตัวเลือกที่ 1
7 TestC_ansB Character 255 ตัวเลือกที่ 2
8 TestC_ansC Character 255 ตัวเลือกที่ 3
9 TestC_ansD Character 255 ตัวเลือกที่ 4
10 TestC_answer Character 1 คำตอบ
A = ตัวเลือกที่ 1
B = ตัวเลือกที่ 2
C = ตัวเลือกที่ 3
D = ตัวเลือกที่ 4
60
3.2.3.30 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียนชนิดเติมคำ มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา เลขที่บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-30
ตารางที่ 3-30 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียนชนิดเติมคำ
(ChTest_Short)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 TestS_ques Character 255 คำถาม
6 TestS_answer Character 255 คำตอบ
7 TestS_answerA Character 255 คำตอบใกล้เคียง1
8 TestS_answerB Character 255 คำตอบใกล้เคียง2
3.2.3.31 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียนชนิดถูกผิด มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา เลขที่บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-31
ตารางที่ 3-31โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียนชนิดถูกผิด (ChTest_TF)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 TestTF_ques Character 255 คำถาม
6 TestTF_answer Character 1 คำตอบ
T = ถูก
F = ผิด
61
3.2.3.32 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียนชนิดจับคู่ มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา เลขที่บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-32
ตารางที่ 3-32 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียนชนิดจับคู่
(ChTest_Match)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 TestM_code Character 1 ตัวเลือกคอลัมภ์ B
6 TestM_A Character 255 คำถามคอลัมภ์ A
7 TestM_B Character 255 คำถามคอลัมภ์ B
8 TestM_answer Character 1 คำตอบ
3.2.3.33 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่องชนิดเลือกตอบ มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-33
ตารางที่ 3-33 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่องชนิดเลือกตอบ
(TopTest_Choice)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 TestC_ques Character 255 คำถาม
7 TestC_ansA Character 255 ตัวเลือกที่ 1
8 TestC_ansB Character 255 ตัวเลือกที่ 2
9 TestC_ansC Character 255 ตัวเลือกที่ 3
62
ตารางที่ 3-33 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
10 TestC_ansD Character 255 ตัวเลือกที่ 4
11 TestC_answer Character 1 คำตอบ
A = ตัวเลือกที่ 1
B = ตัวเลือกที่ 2
C = ตัวเลือกที่ 3
D = ตัวเลือกที่ 4
3.2.3.34 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่องชนิดเติมคำ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา
เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-34
ตารางที่ 3-34 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่องชนิดเติมคำ (TopTest_Short)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 TestS_ques Character 255 คำถาม
7 TestS_answer Character 255 คำตอบ
8 TestS_answerA Character 255 คำตอบใกล้เคียง1
9 TestS_answerB Character 255 คำตอบใกล้เคียง2
3.2.3.35 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่องชนิดถูกผิด มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา
เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-35
ตารางที่ 3-35 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่องชนิดถูกผิด (TopTest_TF)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
63
ตารางที่ 3-35 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 TestTF_ques Character 255 คำถาม
7 TestTF_answer Character 1 คำตอบ
T = ถูก
F = ผิด
3.2.3.36 แฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่องชนิดจับคู่ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา
เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-36
ตารางที่ 3-36 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่องชนิดจับคู่ (TopTest_Match)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Test_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 TestM_code Character 1 ตัวเลือกคอลัมภ์ B
7 TestM_A Character 255 คำถามคอลัมภ์ A
8 TestM_B Character 255 คำถามคอลัมภ์ B
9 TestM_answer Character 1 คำตอบ
3.2.3.37 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำรายวิชา มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา และรูปแบบ
แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-37
64
ตารางที่ 3-37 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำรายวิชา (SubjectExample)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Template Character 1 รูปแบบแบบฝึกหัด
1 = Multiple Choice (เลือกตอบ)
2 = True – False (ถูกผิด)
3 = Short Answer (เติมคำ)
4 = Matching (จับคู่)
PK
4 Description Character คำชี้แจงการทำแบบฝึกหัดประจำ
รายวิชา
3.2.3.38 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำบทเรียน มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่บทเรียน
และรูปแบบแบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-38
ตารางที่ 3-38 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำบทเรียน (ContentExample)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Template Character 1 รูปแบบแบบทดสอบ
1 = Multiple Choice (เลือกตอบ)
2 = True – False (ถูกผิด)
3 = Short Answer (เติมคำ)
4 = Matching (จับคู่)
PK
5 Description Character คำชี้แจงการทำแบบฝึกหัดประจำ
บทเรียน
3.2.3.39 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำเรื่อง มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่บทเรียน
เลขที่หัวเรื่อง และรูปแบบแบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตาราง
ที่ 3-39
65
ตารางที่ 3-39 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำเรื่อง (TopicExample)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Template Character 1 รูปแบบแบบทดสอบ
1 = Multiple Choice (เลือกตอบ)
2 = True – False (ถูกผิด)
3 = Short Answer (เติมคำ)
4 = Matching (จับคู่)
PK
6 Description Character คำชี้แจงการทำแบบฝึกหัดประจำ
เรื่อง
3.2.3.40 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำรายวิชาชนิดเลือกตอบ มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-40
ตารางที่ 3-40 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำรายวิชาชนิดเลือกตอบ (SubEx_Choice)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 ExC_ques Character 255 คำถาม
5 ExC_ansA Character 255 ตัวเลือกที่ 1
6 ExC_ansB Character 255 ตัวเลือกที่ 2
7 ExC_ansC Character 255 ตัวเลือกที่ 3
8 ExC_ansD Character 255 ตัวเลือกที่ 4
9 ExC_answer Character 1 คำตอบ
A = ตัวเลือกที่ 1
B = ตัวเลือกที่ 2
C = ตัวเลือกที่ 3
D = ตัวเลือกที่ 4
66
3.2.3.41 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำรายวิชาชนิดเติมคำ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา และ
ลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-41
ตารางที่ 3-41 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำรายวิชาชนิดเติมคำ (SubEx_Short)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 ExS_ques Character 255 คำถาม
5 ExS_answer Character 255 คำตอบ
6 ExS_answerA Character 255 คำตอบใกล้เคียง1
7 ExS_answerB Character 255 คำตอบใกล้เคียง2
3.2.3.42 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำรายวิชาชนิดถูกผิด มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา และ
ลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-42
ตารางที่ 3-42 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำรายวิชาชนิดถูกผิด (SubEx_TF)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 ExTF_ques Character 255 คำถาม
5 ExTF_answer Character 1 คำตอบ
T = ถูก
F = ผิด
3.2.3.43 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำรายวิชาชนิดจับคู่ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา และลำดับ
ที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-43
ตารางที่ 3-43 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำรายวิชาชนิดจับคู่ (SubEx_Match)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
67
ตารางที่ 3-43 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
3 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
4 ExM_code Character 1 ตัวเลือกคอลัมภ์ B
5 ExM_A Character 255 คำถามคอลัมภ์ A
6 ExM_B Character 255 คำถามคอลัมภ์ B
7 ExM_answer Character 1 คำตอบ
3.2.3.44 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำบทเรียนชนิดเลือกตอบ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา
เลขที่บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-44
ตารางที่ 3-44 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำบทเรียนชนิดเลือกตอบ (ChEx_Choice)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 ExC_ques Character 255 คำถาม
6 ExC_ansA Character 255 ตัวเลือกที่ 1
7 ExC_ansB Character 255 ตัวเลือกที่ 2
8 ExC_ansC Character 255 ตัวเลือกที่ 3
9 ExC_ansD Character 255 ตัวเลือกที่ 4
10 ExC_answer Character 1 คำตอบ
A = ตัวเลือกที่ 1
B = ตัวเลือกที่ 2
C = ตัวเลือกที่ 3
D = ตัวเลือกที่ 4
68
3.2.3.45 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำบทเรียนชนิดเติมคำ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่
บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-45
ตารางที่ 3-45 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำบทเรียนชนิดเติมคำ (ChEx_Short)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 ExS_ques Character 255 คำถาม
6 ExS_answer Character 255 คำตอบ
7 ExS_answerA Character 255 คำตอบใกล้เคียง1
8 ExS_answerB Character 255 คำตอบใกล้เคียง2
3.2.3.46 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำบทเรียนชนิดถูกผิด มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่
บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-46
ตารางที่ 3-46 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำบทเรียนชนิดถูกผิด (ChEx_TF)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 ExTF_ques Character 255 คำถาม
6 ExTF_answer Character 1 คำตอบ
T = ถูก
F = ผิด
69
3.2.3.47 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำบทเรียนชนิดจับคู่ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่
บทเรียน และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-47
ตารางที่ 3-47 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำบทเรียนชนิดจับคู่ (ChEx_Match)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
5 ExM_code Character 1 ตัวเลือกคอลัมภ์ B
6 ExM_A Character 255 คำถามคอลัมภ์ A
7 ExM_B Character 255 คำถามคอลัมภ์ B
8 ExM_answer Character 1 คำตอบ
3.2.3.48 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำเรื่องชนิดเลือกตอบ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่
บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียด
ในตารางที่ 3-48
ตารางที่ 3-48 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำเรื่องชนิดเลือกตอบ (TopEx_Choice)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 ExC_ques Character 255 คำถาม
7 ExC_ansA Character 255 ตัวเลือกที่ 1
8 ExC_ansB Character 255 ตัวเลือกที่ 2
9 ExC_ansC Character 255 ตัวเลือกที่ 3
10 ExC_ansD Character 255 ตัวเลือกที่ 4
70
ตารางที่ 3-48 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
11 ExC_answer Character 1 คำตอบ
A = ตัวเลือกที่ 1
B = ตัวเลือกที่ 2
C = ตัวเลือกที่ 3
D = ตัวเลือกที่ 4
3.2.3.49 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำเรื่องชนิดเติมคำ (TopEx_Short) มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-49
ตารางที่ 3-49 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำเรื่องชนิดเติมคำ (TopEx_Short)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 ExS_ques Character 255 คำถาม
7 ExS_answer Character 255 คำตอบ
8 ExS_answerA Character 255 คำตอบใกล้เคียง1
9 ExS_answerB Character 255 คำตอบใกล้เคียง2
3.2.3.50 แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำเรื่องชนิดถูกผิด (TopEx_TF) มีรหัสอาจารย์ รหัส
วิชา เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดัง
รายละเอียดในตารางที่ 3-50
ตารางที่ 3-50 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำเรื่องชนิดถูกผิด (TopEx_TF)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
71
ตารางที่ 3-50 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 ExTF_ques Character 255 คำถาม
7 ExTF_answer Character 1 คำตอบ
T = ถูก
F = ผิด
3.2.3.51. แฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำเรื่องชนิดจับคู่ มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่
บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และลำดับที่แบบทดสอบเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียด
ในตารางที่ 3-51
ตารางที่ 3-51 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบฝึกหัดประจำเรื่องชนิดจับคู่ (TopEx_Match)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Ex_id Number 3 ลำดับที่แบบทดสอบ/ข้อที่ PK
6 ExM_code Character 1 ตัวเลือกคอลัมภ์ B
7 ExM_A Character 255 คำถามคอลัมภ์ A
8 ExM_B Character 255 คำถามคอลัมภ์ B
9 ExM_answer Character 1 คำตอบ
3.2.3.52 แฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชา เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับ
คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชา มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา และรหัสนักศึกษา
เป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-52
72
ตารางที่ 3-52 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนประจำรายวิชา (ScoreSubPre)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Std_id Character 20 รหัสนักศึกษา PK
4 Pre_score Numeric 5 คะแนนสอบ
5 Pre_day Date วันที่เข้าสอบ
3.2.3.53 แฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียน เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับ
คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียน มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่บทเรียน
และรหัสนักศึกษาเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-53
ตารางที่ 3-53 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนประจำบทเรียน (ScoreChPre)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Std_id Character 20 รหัสนักศึกษา PK
5 Pre_score Numeric 5 คะแนนสอบ
6 Pre_day Date วันที่เข้าสอบ
3.2.3.54 แฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนประจำเรื่อง เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับ
คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนประจำเรื่อง มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่บทเรียน เลขที่
หัวเรื่อง และรหัสนักศึกษาเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-54
ตารางที่ 3-54 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนประจำเรื่อง (ScoreTopPre)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Std_id Character 20 รหัสนักศึกษา PK
73
ตารางที่ 3-54 (ต่อ)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
6 Pre_score Numeric 5 คะแนนสอบ
7 Pre_day Date วันที่เข้าสอบ
3.2.3.55. แฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชา เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับ
คะแนนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชา มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา และรหัสนักศึกษา
เป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-55
ตารางที่ 3-55 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนประจำรายวิชา (ScoreSubTest)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Std_id Character 20 รหัสนักศึกษา PK
4 Test_score Numeric 5 คะแนนสอบ
5 Test_day Date วันที่เข้าสอบ
3.2.3.56 แฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียน เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับ
คะแนนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียน มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่บทเรียน
และรหัสนักศึกษาเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-56
ตารางที่ 3-56 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนประจำบทเรียน (ScoreChTest)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Std_id Character 20 รหัสนักศึกษา PK
5 Test_score Numeric 5 คะแนนสอบ
6 Test_day Date วันที่เข้าสอบ
74
3.2.3.57 แฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่อง เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับ
คะแนนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่อง มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่บทเรียน เลขที่
หัวเรื่อง และรหัสนักศึกษาเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-57
ตารางที่ 3-57 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนประจำเรื่อง (ScoreTopTest)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Std_id Character 20 รหัสนักศึกษา PK
6 Score Numeric 5 คะแนนสอบ
7 PreDay Date วันที่เข้าสอบ
3.2.3.58. แฟ้มข้อมูลคะแนนแบบฝึกหัดประจำรายวิชา เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนจาก
การทำแบบฝึกหัดประจำรายวิชา มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา และรหัสนักศึกษาเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่ง
มีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-58
ตารางที่ 3-58 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลคะแนนแบบฝึกหัดประจำรายวิชา (ScoreSubEx)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Std_id Character 20 รหัสนักศึกษา PK
4 Ex_score Numeric 5 คะแนนสอบ
5 Ex_day Date วันที่เข้าสอบ
3.2.3.59 แฟ้มข้อมูลคะแนนแบบฝึกหัดประจำบทเรียน เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนจาก
การทำแบบฝึกหัดประจำบทเรียน มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่บทเรียน และรหัสนักศึกษาเป็นคีย์
หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-59
75
ตารางที่ 3-59 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลคะแนนแบบฝึกหัดประจำบทเรียน (ScoreChEx)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Std_id Character 20 รหัสนักศึกษา PK
5 Ex_score Numeric 5 คะแนนสอบ
6 Ex_day Date วันที่เข้าสอบ
3.2.3.60 แฟ้มข้อมูลคะแนนแบบฝึกหัดประจำเรื่อง เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนจากการ
ทำแบบฝึกหัดประจำเรื่องประจำเรื่อง มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา เลขที่บทเรียน เลขที่หัวเรื่อง และรหัส
นักศึกษาเป็นคีย์หลักร่วมกัน ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-60
ตารางที่ 3-60 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลคะแนนแบบฝึกหัดประจำเรื่อง (ScoreTopEx)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Ch_id Numeric 2 เลขที่บทเรียน PK
4 Top_id Character 20 เลขที่หัวเรื่อง PK
5 Std_id Character 20 รหัสนักศึกษา PK
6 Score Numeric 5 คะแนนสอบ
7 PreDay Date วันที่เข้าสอบ
3.2.3.61 แฟ้มข้อมูลการเข้าเรียนบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับ
การเข้าเรียนของนักเรียนแต่ละคน มีรหัสอาจารย์ รหัสวิชา และรหัสนักศึกษาเป็นคีย์หลักร่วมกัน
ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-61
ตารางที่ 3-61 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลการเข้าเรียนบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (TimeLearn)
ลำดับ ชื่อฟิลด์ ชนิด ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 T_id Character 20 รหัสอาจารย์ PK
2 Sub_id Character 20 รหัสวิชา PK
3 Std_id Character 20 รหัสนักศึกษา PK
4 Lean_day Date วันที่เข้าเรียน
76
อาจารย์ เป็นนักศึกษา นักศึกษา เข้าเรียน การเข้าเรียนบทเรียนผ่าน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เป็นเจ้าของ
รายวิชา
มีแบบทดสอบ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ประจำรายวิชา
มีแบบทดสอบ
มีแบบทดสอบ
คะแนนสอบ
คะแนนแบบทดสอบ
ก่อนเรียนประจำรายวิชา
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
ข้อสอบก่อนเรียนประจำรายวิชา
แบบเลือกตอบ
ข้อสอบก่อนเรียนประจำรายวิชา
แบบเติมคำ
ข้อสอบก่อนเรียนประจำรายวิชา
แบบถูกผิด
ข้อสอบก่อนเรียนประจำรายวิชา
แบบจับคู่
แบบทดสอบหลังเรียน
ประจำรายวิชา
คะแนนสอบ
คะแนนแบบทดสอบ
หลังเรียนประจำรายวิชา
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
ข้อสอบหลังเรียนประจำรายวิชา
แบบเลือกตอบ
ข้อสอบหลังเรียนประจำรายวิชา
แบบเติมคำ
ข้อสอบหลังเรียนประจำรายวิชา
แบบถูกผิด
ข้อสอบหลังเรียนประจำรายวิชา
แบบจับคู่
แบบฝึกหัดประจำรายวิชา
คะแนนสอบ
คะแนนแบบฝึกหัด
ประจำรายวิชา
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำรายวิชา
แบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำรายวิชา
แบบเติมคำ
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำรายวิชา
แบบถูกผิด
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำรายวิชา
แบบจับคู่
M N M N
1
M
1
A
1
1
1
1
1
1
1
1
1
1
1 1
1
1
1 1
1
1
M
M
M
M
M
M
M
M
M
M
M
M
N
M
N
M
N
M
ภาพที่ 3-20 ER Diagram ของระบบ
77
มีบทเรียน
บทเรียน
มีแบบทดสอบ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ประจำบทเรียน
มีแบบทดสอบ
มีแบบทดสอบ
คะแนนสอบ
คะแนนแบบทดสอบ
ก่อนเรียนประจำบทเรียน
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
ข้อสอบก่อนเรียนประจำบทเรียน
แบบเลือกตอบ
ข้อสอบก่อนเรียนประจำบทเรียน
แบบเติมคำ
ข้อสอบก่อนเรียนประจำบทเรียน
แบบถูกผิด
ข้อสอบก่อนเรียนประจำบทเรียน
แบบจับคู่
แบบทดสอบหลังเรียน
ประจำบทเรียน
คะแนนสอบ
คะแนนแบบทดสอบ
หลังเรียนประจำบทเรียน
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
ข้อสอบหลังเรียนประจำบทเรียน
แบบเลือกตอบ
ข้อสอบหลังเรียนประจำบทเรียน
แบบเติมคำ
ข้อสอบหลังเรียนประจำบทเรียน
แบบถูกผิด
ข้อสอบหลังเรียนประจำบทเรียน
แบบจับคู่
แบบฝึกหัดประจำ
บทเรียน
คะแนนสอบ
คะแนนแบบฝึกหัด
ประจำบทเรียน
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำ
บทเรียนแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำ
บทเรียนแบบเติมคำ
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำ
บทเรียนแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำ
บทเรียนแบบจับคู่
M
1
1
1
1
1
1
1
1
1
1
1
1 1
1
1
1 1
1
1
M
M
M
M
M
M
M
M
M
M
M
M
N
M
N
M
N
M
A
B
ภาพที่ 3-20 (ต่อ)
78
มีหัวเรื่อง
หัวเรื่อง
มีแบบทดสอบ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ประจำเรื่อง
มีแบบทดสอบ
มีแบบทดสอบ
คะแนนสอบ
คะแนนแบบทดสอบ
ก่อนเรียนประจำเรื่อง
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
ข้อสอบก่อนเรียนประจำเรื่อง
แบบเลือกตอบ
ข้อสอบก่อนเรียนประจำเรื่อง
แบบเติมคำ
ข้อสอบก่อนเรียนประจำเรื่อง
แบบถูกผิด
ข้อสอบก่อนเรียนประจำเรื่อง
แบบจับคู่
แบบทดสอบหลังเรียน
ประจำเรื่อง
คะแนนสอบ
คะแนนแบบทดสอบ
หลังเรียนประจำเรื่อง
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
ข้อสอบหลังเรียนประจำเรื่อง
แบบเลือกตอบ
ข้อสอบหลังเรียนประจำเรื่อง
แบบเติมคำ
ข้อสอบหลังเรียนประจำเรื่อง
แบบถูกผิด
ข้อสอบหลังเรียนประจำเรื่อง
แบบจับคู่
แบบฝึกหัดประจำเรื่อง
คะแนนสอบ
คะแนนแบบฝึกหัด
ประจำเรื่อง
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
มีข้อสอบ
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำ
เรื่องแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำ
เรื่องแบบเติมคำ
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำ
เรื่องแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบฝึกหัดประจำ
เรื่องแบบจับคู่
M
1
1
1
1
1
1
1
1
1
1
1
1 1
1
1
1 1
1
1
M
M
M
M
M
M
M
M
M
M
M
M
N
M
N
M
N
M
B
มีเนื้อหา
เนื้อหา
M
ภาพที่ 3-20 (ต่อ)
79
เชื่อมโยงมาจากแผ่นที่
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
เข้าใช้ระบบ
ผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
สถานะ A อาจารย์
B นักศึกษา
เชื่อมโยงไปแผ่นที่
A 3
B 8
C 2
D 7
3.3 ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาระบบ
หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์ระบบ โดยใช้ Data flow diagram และ ER Diagram แล้วนั้นจะ
ทำให้ทราบถึงการไหลของข้อมูลที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการออกแบบ
หน้าจอของโปรแกรม ซึ่งจะทำให้ทราบถึงการทำงานของโปรแกรม ก่อนที่จะนำไปสู่ ขั้นตอนการ
พัฒนาระบบต่อไป
จากขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงานของ
โปรแกรมมากยิ่งขึ้น สำหรับขั้นตอนการพัฒนาระบบนี้เป็นขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ซึ่ง
โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้จะเขียนเป็นระบบที่ใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตซึ่งใช้ภาษาในการพัฒนาคือ
PHP ซึ่งจะต้องเขียนโปรแกรมให้สามารถทำงานตามที่ได้ทำการออกแบบไว้ โดยโครงสร้างของ
ฐานข้อมูลของระบบคือ ระบบฐานข้อมูลของ My SQL
ในการออกแบบหน้าจอนี้ได้ทำการแบ่งขั้นตอนการออกแบบเป็นสองส่วนคือ
3.5.1 ส่วนของผู้สร้างบทเรียนหรืออาจารย์
3.5.2 ส่วนของผู้เข้าเรียนหรือนักศึกษา
3.5.1 ส่วนของผู้สร้างบทเรียนหรืออาจารย์ ประกอบด้วยหน้าจอหลัก ดังนี้
ภาพที่ 3-21 หน้าจอแรกเมื่อเข้าสู่ระบบ
C ลงทะเบียนอาจารย์
D ลงทะเบียนนักศึกษา
หมายเหตุ
แผ่นที่ 1
80
เชื่อมโยงมาจากแผ่นที่ 1
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
เชื่อมโยงไปแผ่นที่
A 1
B 2
C 1
หมายเหตุ กรอกรายละเอียดครบแล้วกดปุ่มลงทะเบียน
ภาพที่ 3-22 หน้าจอแสดงการลงทะเบียนสำหรับอาจารย์
แผ่นที่ 2
ลงทะเบียนอาจารย์
ชื่อใช้งาน
รหัสผ่าน
ชื่อ-สกุล
อาชีพ
สถานที่ทำงาน
ตำบล/อำเภอ
จังหวัด
รหัสไปรษณีย์
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล์
ระดับการศึกษา
ตำแหน่งทางวิชาการ
A ลงทะเบียน B ล้างข้อมูล
C กลับหน้าแรก
81
เชื่อมโยงมาจากแผ่นที่ 1
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
เชื่อมโยงไปแผ่นที่
A 3
B 4
C 5
D 6
E 1
หมายเหตุ
ข้อมูลทั่วไป สร้างบทเรียน สร้างแบบทดสอบ แก้ไขข้อมูลส่วนตัว ออกจากระบบ
A B C D E
ภาพที่ 3-23 หน้าจอข้อมูลทั่วไปเมื่อเข้าสู่ระบบโดยผู้สร้างบทเรียน
ประกอบด้วยเมนู ข้อมูลทั่วไป สร้างบทเรียน สร้างแบบทดสอบ แก้ไขข้อมูลส่วนตัว ข้อมูล
นักศึกษา ออกจากระบบ
แผ่นที่ 3
82
เชื่อมโยงมาจากแผ่นที่ 3
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
เชื่อมโยงไปแผ่นที่
A 3
B 4
หมายเหตุ กดปุ่มสร้างเพื่อบันทึกเนื้อหา และกดปุ่มเคลียร์ข้อมูลเพื่อยกเลิก
รหัสวิชา
ชื่อวิชา
เลขที่หน้า
ภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหว
เสียงประกอบ
วีดีโอประกอบ
เนื้อหา
A สร้าง B เคลียร์ข้อมูล
ภาพที่ 3-24 หน้าจอแสดงการสร้างบทเรียน
สำหรับหน้าจอแก้ไขบทเรียนโดยผู้สร้างบทเรียนนั้นจะมีหน้าจอคล้ายกับหน้าจอแสดงการ
สร้างบทเรียน และประกอบด้วยเมนู แก้ไขข้อมูลทั่วไป แก้ไขหัวเรื่อง และแก้ไขรายละเอียดของ
เนื้อหา
แผ่นที่ 4
กรอกข้อมูลเนื้อหา
อัพโหลดไฟล์ภาพ
อัพโหลดไฟล์ภาพเลื่อนไหว
อัพโหลดไฟล์เสียง
อัพโหลดไฟล์วีดีโอ
83
เชื่อมโยงมาจากแผ่นที่ 3
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
เชื่อมโยงไปแผ่นที่
หมายเหตุ เลือกรายละเอียดแล้วกดปุ่มสร้างแบบทดสอบเพื่อสร้างแบบทดสอบ
รหัสวิชา
ชนิดของแบบทดสอบ
ลักษณะแบบทดสอบ
ตำแหน่งแบบทดสอบ
สร้างแบบทดสอบ
ภาพที่ 3-25 หน้าจอแสดงการเลือกสร้างแบบทดสอบแบบต่างๆ
แผ่นที่ 5
84
เชื่อมโยงมาจากแผ่นที่ 3
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
เชื่อมโยงไปแผ่นที่
A 3
หมายเหตุ กดปุ่มแก้ไขเพื่อบันทึกข้อมูลที่แก้ไขแล้ว
แผ่นที่ 6
ภาพที่ 3-26 หน้าจอแสดงการแก้ไขข้อมูลผู้สร้างบทเรียน
ลงทะเบียนอาจารย์
ชื่อใช้งาน
รหัสผ่าน
ชื่อ-สกุล
อาชีพ
สถานที่ทำงาน
ตำบล/อำเภอ
จังหวัด
รหัสไปรษณีย์
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล์
ระดับการศึกษา
ตำแหน่งทางวิชาการ
A แก้ไขข้อมูล
85
3.5.2 ส่วนของผู้เข้าเรียนหรือนักศึกษา
ภาพที่ 3-27 หน้าจอลงทะเบียนสำหรับนักศึกษา
เชื่อมโยงมาจากแผ่นที่ 1
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
เชื่อมโยงไปแผ่นที่
A 1
B 7
C 1
หมายเหตุ กดปุ่มลงทะเบียนเพื่อขอสิทธิ์การเข้าใช้ระบบ
แผ่นที่ 7
ลงทะเบียนนักศึกษา
รหัสนักศึกษา
รหัสผ่าน
ชื่อ-สกุล
อีเมล์
ระดับการศึกษา
อาชีพ
สถานที่เรียน/ที่ทำงาน
A ลงทะเบียน B ล้างข้อมูล
C กลับหน้าแรก
86
เชื่อมโยงมาจากแผ่นที่ 1
เชื่อมโยงไปแผ่นที่
A 9
B 10
หมายเหตุ กดปุ่มเฉลยเพื่อดูเฉลย กดปุ่มเข้าสู่บทเรียนเพื่อเรียน กดปุ่มทำแบบทดสอบเพื่อทำแบบทดสอบ
แผ่นที่ 8
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
รหัสวิชา ชื่อรายวิชา
เฉลย A เข้าสู่บทเรียน B ทำแบบทดสอบ
เชื่อมโยงมาจากแผ่นที่ 8
เชื่อมโยงไปแผ่นที่
หมายเหตุ
แผ่นที่ 9
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
รหัสวิชา : ชื่อวิชา เนื้อหาบทเรียน
สารบัญ
ภาพที่ 3-28 หน้าจอแสดงรายวิชา
ภาพที่ 3-29 หน้าจอแสดงเนื้อหาบทเรียน
87
เชื่อมโยงมาจากแผ่นที่ 8
เชื่อมโยงไปแผ่นที่
หมายเหตุ กดปุ่มเลือกเมื่อต้องการทำแบบทดสอบ
แผ่นที่ 10
การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
รหัสวิชา : ชื่อวิชา ก่อนเรียน หลังเรียน แบบฝึกหัด
รายวิชา เลือก เลือก เลือก
บทเรียน
เรื่อง
ภาพที่ 3-30 หน้าจอแสดงรายละเอียดแบบทดสอบ
3.4 ขั้นตอนการทดสอบระบบ
หลังจากได้ทำการพัฒนาระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของระบบ
ว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ จึงได้จัดทำแบบ
ประเมินหาประสิทธิภาพของระบบ โดยแบ่งการทดสอบการหาประสิทธิภาพของระบบออกเป็น 5
ด้าน คือ
1. การติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้
2. การประมวลผลของระบบ
3. ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ
4. ความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้
5. การตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ
ผู้ทำแบบประเมินจะต้องทำการทดสอบระบบ โดยทดสอบระบบที่ได้พัฒนาขึ้นและทำแบบ
ประเมินที่ได้ทำการออกแบบไว้ ผู้ที่ทำแบบประเมิน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ผู้ที่มีความรู้ในด้านการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ท่าน
กลุ่มที่ 2 ผู้ที่มีความรู้ในด้านการสร้างแบบสอบถามเพื่องานวิจัย จำนวน 3 ท่าน
88
ผลที่ได้จากการทำแบบประเมินนำมาสรุปผลเพื่อประเมินว่าระบบที่ได้พัฒนามานี้มีประสิทธิ
ภาพ ในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับใด
ในการประเมินได้มีการกำหนดเกณฑ์ให้คะแนนในเชิงปริมาณ ซึ่งเกณฑ์การให้คะแนนจะ
แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังตารางที่ 3-9
ตารางที่ 3-62 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนของแบบประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน ความหมาย
4.51-5.00 ระบบที่พัฒนามีประสิทธิภาพในระดับดีมาก
3.51-4.50 ระบบที่พัฒนามีประสิทธิภาพในระดับดี
2.51-3.50 ระบบที่พัฒนามีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง
1.51-2.50 ระบบที่พัฒนามีประสิทธิภาพในระดับน้อย
1.00-1.50 ระบบที่พัฒนาไม่มีประสิทธิภาพ
เมื่อทำการเก็บรวบรวมผลที่ได้จากแบบประเมินในแต่ละการทดสอบมาแล้ว จะใช้หลักการ
ทางสถิติเข้ามาช่วยในการสรุปผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ใน
การวัดค่ากลางของข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) หรือค่าเฉลี่ย (Mean) วัดการ
กระจายของข้อมูลโดยใช้ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าเฉลี่ย
กลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่มด้วยค่าที (t–test) โดยให้ค่านัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ .05 รวมทั้งการ
ประมวลผลข้อมูลใช้โปรแกรมวิเคราะห์ค่าทางสถิติ SPSS/FW
3.6.1 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) หรือค่าเฉลี่ย (Mean) หมายถึง ค่าที่ได้จาก
การนำข้อมูลทั้งหมดมารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด
3.6.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) คือ ค่าเฉลี่ยของความแตกต่าง
ระหว่างข้อมูลแต่ละตัวจากค่าเฉลี่ยเลขคณิต
เป็นค่าที่แสดงถึงการกระจายของข้อมูลแต่ละตัวที่เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย ซึ่งทำให้ทราบว่า
โดยเฉลี่ยแล้วข้อมูลแต่ละตัวเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย เลขคณิตเท่าใดส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะ
89
บอกให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างข้อมูลในกลุ่มว่ามีข้อมูลมากน้อยเพียงใด ถ้าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานมีค่ามาก แสดงว่าข้อมูลนั้นมีค่าที่แตกต่างกันมาก ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีทั้ง
ค่าต่ำและค่าสูง ถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าน้อย แสดงว่าข้อมูลมีค่าใกล้เคียงกันเป็นส่วนมาก
และถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเป็นศูนย์ แสดงว่าข้อมูลทุกตัวมีค่าเท่ากัน
3.6.3ก การทดสอบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่มด้วยค่าที (t–test)
โดยการทดสอบมีข้อตกลงดังนี้
ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่มด้วยค่าที (t-test)
ดำเนินการตามขั้นตอน ตั้งสมมติฐานทางสถิติเพื่อการทดสอบ ซึ่งประกอบด้วย สมมติฐานว่าง (null
hypothesis : H0) และสมมติฐานทางเลือก (alternative hypothesis : H1) ดังนี้
H0 : μ < C H1 : μ ≥ C เมื่อ C แทน คะแนนระดับประสิทธิภาพในแต่ละด้านของความต้องการของผู้ใช้ระบบ โดยที่กำหนดค่า C = 3.51 ถ้าสรุปผลว่า C มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 3.51 จะเป็นการยอมรับ H1 คือ ระบบที่พัฒนามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีสามารถนำไปใช้งานได้ เกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพของโปรแกรม พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง โดยต้องมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป และผลการทดสอบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่มด้วยค่า ที (t–test) โดยกำหนดให้ค่านัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.05 จึงยอมรับว่าโปรแกรมนี้มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับดี n s t = x μ 90 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน หลังจากผ่านขั้นตอนของการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การพัฒนาระบบ การทดสอบระบบและการประเมินผลระบบ โดยแบ่งการอธิบายดังต่อไปนี้ 4.1 การพัฒนาระบบ หลังจากได้พัฒนาระบบตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้ จากผลการพัฒนาระบบหน้าจอจะถูก แบ่งออกเป็นสามส่วนหลักๆคือ หน้าจอทั่วไป หน้าจอของอาจารย์ผู้สร้างบทเรียน และ หน้าจอของ นักศึกษาผู้เข้าเรียน 4.1.1 หน้าจอทั่วไป 4.1.1.1 หน้าจอแรกเมื่อเข้าสู่ระบบ คือหน้าจอแสดงหน้าหลักของการลงทะเบียน เพื่อขอสิทธิ์การเข้าใช้งานระบบ และแสดงเมนูหลักเพื่อใช้เชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆ ในเว็บไซต์ ดัง ภาพที่ 4-1 ภาพที่ 4-1 หน้าจอแรกเมื่อเข้าสู่ระบบ 91 4.1.1.2 หน้าจอแสดงข้อความในกรณีที่การเข้าสู่ระบบเกิดการผิดพลาด ดังแสดง ในภาพที่ 4-2 ภาพที่ 4-2 หน้าจอแสดงข้อความในกรณีที่การเข้าสู่ระบบเกิดการผิดพลาด 4.1.2 หน้าจอของผู้สร้างบทเรียน 4.1.2.1 หน้าจอสำหรับลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิ์ในการสร้างบทเรียน ผู้สร้าง บทเรียนจะต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ ดังภาพที่ 4-3 ภาพที่ 4-3 หน้าจอสำหรับลงทะเบียนของผู้สร้างบทเรียน 92 4.1.2.2 หน้าจอข้อมูลทั่วไปเมื่อเข้าสู่ระบบโดยผู้สร้างบทเรียน แสดงหน้าหลักของ การเข้าใช้งานในระบบ ประกอบด้วยรายวิชาต่างๆ ที่ผู้สร้างบทเรียนสร้างไว้ ซึ่งจะประกอบด้วยเมนู แก้ไขแบบทดสอบ เพิ่ม แก้ไข ลบ ลบทั้งรายวิชา ดังภาพที่ 4-4 ภาพที่ 4-4 หน้าจอข้อมูลทั่วไปเมื่อเข้าสู่ระบบโดยผู้สร้างบทเรียน 4.1.2.3 หน้าจอสำหรับการสร้างบทเรียน เพื่อใช้สร้างบทเรียน โดยประกอบด้วย รหัสวิชา ชื่อวิชา คำอธิบายรายวิชา เป็นต้น ดังภาพที่ 4-5 ภาพที่ 4-5 หน้าจอสำหรับการสร้างบทเรียน 93 4.1.2.4 หน้าหลักของการสร้างบทเรียน เพื่อใส่รายละเอียดของแต่ละรายวิชา ดังภาพที่ 4-6 ภาพที่ 4-6 หน้าหลักของการสร้างบทเรียน 4.1.2.3 หน้าจอในการเลือกรูปแบบของแบบทดสอบที่จะสร้าง ซึ่งจะมีให้เลือก แบบทดสอบอยู่ 4 แบบ ดังภาพที่ 4-7 ภาพที่ 4-7 หน้าจอแสดงการเลือกสร้างแบบทดสอบแบบต่างๆ 94 ภาพที่ 4-8 หน้าจอแสดงแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ ภาพที่ 4-9 หน้าจอแสดงแบบทดสอบชนิดถูกผิด 95 ภาพที่ 4-10 หน้าจอแสดงแบบทดสอบชนิดเติมคำ ภาพที่ 4-11 หน้าจอแสดงแบบทดสอบชนิดจับคู่ 96 ภาพที่ 4-12 หน้าจอแสดงการแก้ไขข้อมูลผู้สร้างบทเรียน ภาพที่ 4-13 หน้าจอแสดงรายงานข้อมูลคะแนนนักศึกษา 97 4.1.2 หน้าจอของนักศึกษาผู้เข้าเรียน ประกอบด้วย ภาพที่ 4-14 หน้าจอสำหรับลงทะเบียนของผู้เข้าเรียน ภาพที่ 4-15 หน้าจอแสดงรายวิชาเมื่อเข้าสู่ระบบโดยผู้เรียน ประกอบด้วยเมนู เฉลยข้อสอบ เข้าสู่บทเรียน และทำแบบทดสอบ 98 ภาพที่ 4-16 หน้าจอแสดงเนื้อหาบทเรียน ภาพที่ 4-17 หน้าจอแสดงรายละเอียดแบบทดสอบ 99 ภาพที่ 4-18 หน้าจอแสดงการแก้ไขข้อมูลนักศึกษา ภาพที่ 4-19 หน้าจอแสดงรายงานผลการทำแบบทดสอบของนักศึกษา 4.2 การทดสอบระบบ ในกระบวนการทดสอบ โปรแกรมระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผู้จัดทำ โครงงานใช้วิธีการทดสอบระบบแบบแบล็กบอกซ์ (Black Box Testing) โดยการทดสอบโดย ผู้พัฒนาระบบ ซึ่งเป็นการทดสอบที่ผู้พัฒนาสมมุติข้อมูลขึ้นที่เรียกว่า Test Data แล้วนำข้อมูล ที่ สมมุติขึ้นป้อนเข้าสู่ระบบในส่วนการทำงานต่าง ๆ ข้อมูลที่นำมาทดสอบเป็นทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง 100 จากการทดสอบระบบแบบแบล็กบอกซ์ พบว่าระบบที่ได้พัฒนาขึ้นนี้สามารถทำงานได้ตาม ครบความต้องการของผู้ใช้ คือ สมารถสร้าง แก้ไข ลบ บทเรียนได้ และสามารถตรวจสอบความ ผิดพลาดเมื่อป้อนข้อมูลไม่ถูกต้อง และสามารถทำการประมวลผลหาค่าทางสถิติเบื้องต้นได้ 4.3 การประเมินผลระบบ กระบวนการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการ ประเมินผลการปฏิบัติงานของสารนิพนธ์ “การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน” ซึ่งมีการแบ่งการทดสอบระบบออกเป็น 5 ส่วน ด้วยกันคือ 4.3.1 การติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ 4.3.2 การประมวลผลของระบบ 4.3.3 ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ 4.3.4 ความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ 4.3.5 การตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ จากนั้นนำแบบประเมินที่ได้ทำการออกแบบไว้ไปให้ผู้ประเมินทำการประเมินระบบ ผู้ที่ทำ แบบประเมินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ที่มีความรู้ในด้านการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ท่าน กลุ่มที่ 2 ผู้ที่มีความรู้ในด้านการสร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จำนวน 3 ท่าน หลังจากนั้น จะเก็บรวบรวมผลที่ได้จากแบบประเมินสารนิพนธ์ในแต่ละการทดสอบมา แล้ว ใช้หลักการทางสถิติเข้ามาช่วยในการสรุปผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารนิพนธ์ที่ได้ พัฒนาขึ้น ซึ่งต้องทำการคำนวณหาค่าเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อของแต่ละการทดสอบเพื่อสรุปผลการ ประเมินว่าสารนิพนธ์ที่ได้พัฒนามานี้มีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับใด ซึ่งจะแบ่งได้ตาม ระดับของเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ โดยแบ่งออกเป็นการทดสอบระบบทั้งหมด 5 ด้าน ดังนี้ คือ ตารางที่ 4-1 ด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ (กลุ่มที่ 1) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1. การแบ่งเมนูของระบบสามารถเข้าใจ ได้ง่าย 4.33 0.58 2.47 1.73 ดี 2. ปุ่มและคำอธิบายมีความง่ายต่อความ เข้าใจ 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี 101 ตารางที่ 4-1 (ต่อ) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 3. ความสวยงามของหน้าตาของระบบ 3.67 0.58 0.47 - 1.73 ดี 4. ความสามารถของระบบที่มีข้อความ บอกการทำงานของระบบ 3.33 0.58 0.53 1.73 ดี 5. สามารถใช้งานระบบได้สะดวก 4.33 0.58 2.47 1.73 ดี รวม 3.87 0.46 1.34 .10 ดี จากผลการทดสอบระบบด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ ของกลุ่มที่ 1 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่า ค่าเฉลี่ยที่ได้คือ 3.87 แสดงว่าระบบด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้มีประสิทธิภาพในระดับดี และมีการแจกแจงของข้อมูลเบ้ทางบวก ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสมมติ ฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 14 ค่า t จากตารางเท่ากับ 1.761 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพ ของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ตารางที่ 4-2 ด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ (กลุ่มที่ 2) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1. การแบ่งเมนูของระบบสามารถเข้าใจ ได้ง่าย 4.33 0.58 2.47 1.73 ดี 2. ปุ่มและคำอธิบายมีความง่ายต่อความ เข้าใจ 4.33 0.58 2.47 1.73 ดี 3. ความสวยงามของหน้าตาของระบบ 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี 4. ความสามารถของระบบที่มีข้อความ บอกการทำงานของระบบ 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี 5. สามารถใช้งานระบบได้สะดวก 4.00 1.00 0.85 .00 ดี รวม 4.00 0.53 1.60 .65 ดี 102 จากผลการทดสอบระบบด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ ของกลุ่มที่ 2 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่า ค่าเฉลี่ยที่ได้คือ 4.00 แสดงว่าระบบด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้มีประสิทธิภาพในระดับดี และมีการแจกแจงของข้อมูลเบ้ทางบวก ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสมมติ ฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 14 ค่า t จากตารางเท่ากับ 1.761 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพ ของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ตารางที่ 4-3 ด้านการประมวลผลของระบบ (กลุ่มที่ 1) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1. ความเร็วในการทำงานของระบบใน ภาพรวม 4.00 - - - ดี 2. ความเร็วในการนำแสดงข้อมูล 4.00 - - - ดี 3. ความเร็วในการแสดงผลจากการ เชื่อมโยง 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี 4. ความเร็วในการเพิ่ม ลบ และแก้ไข ข้อมูล 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี 5. สามารถใช้งานระบบได้สะดวก 4.00 - - - ดี รวม 3.87 0.23 2.68 -2.4 ดี จากผลการทดสอบระบบด้านการประมวลผลของระบบ ของกลุ่มที่ 1 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำ คะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่าค่าเฉลี่ยที่ ได้คือ 3.87 แสดงว่าระบบด้านการประมวลผลของระบบ มีประสิทธิภาพในระดับดี และมีการแจก แจงของข้อมูลเบ้ทางลบ ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินในภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสม มติฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 14 ค่า t จากตาราง เท่ากับ 1.761 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ใน ระดับดี 103 ตารางที่ 4-4 ด้านการประมวลผลของระบบ (กลุ่มที่ 2) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1. ความเร็วในการทำงานของระบบใน ภาพรวม 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี 2. ความเร็วในการนำแสดงข้อมูล 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี 3. ความเร็วในการแสดงผลจากการ เชื่อมโยง 4.00 - - - ดี 4. ความเร็วในการเพิ่ม ลบและแก้ไขข้อมูล 4.33 0.58 2.47 -1.73 ดี 5. สามารถใช้งานระบบได้สะดวก 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี รวม 3.93 0.23 3.18 -.28 ดี จากผลการทดสอบระบบด้านการประมวลผลของระบบ ของกลุ่มที่ 2 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำ คะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่าค่าเฉลี่ยที่ ได้คือ 3.39 แสดงว่าระบบด้านการประมวลผลของระบบ มีประสิทธิภาพในระดับดี และมีการแจก แจงของข้อมูลเบ้ทางลบ ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสมมติ ฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 14 ค่า t จากตารางเท่ากับ 1.761 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพ ของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ตารางที่ 4-5 ด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ (กลุ่มที่ 1) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1. ผลลัพธ์ที่ได้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ 4.33 0.58 2.47 1.73 ดี 2. ผลลัพธ์ที่ได้ตรงกับความต้องการของ ผู้ใช้ 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี 3. ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้งานจริง 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี รวม 3.89 0.51 1.29 -.02 ดี จากผลการทดสอบระบบด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ ของกลุ่มที่ 1 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำ คะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่าค่าเฉลี่ยที่ 104 ได้คือ 3.89 แสดงว่าระบบด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ มีประสิทธิภาพในระดับดี และมีการแจกแจง ของข้อมูลเบ้ทางลบ ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสมมติ ฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 8 ค่า t จากตารางเท่ากับ 1.86 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพ ของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ตารางที่ 4-6 ด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ (กลุ่มที่ 2) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1. ผลลัพธ์ที่ได้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ 4.33 0.58 2.47 1.73 ดี 2. ผลลัพธ์ที่ได้ตรงกับความต้องการของ ผู้ใช้ 3.33 0.58 0.53 1.73 ดี 3. ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้งานจริง 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี รวม 3.78 0.51 0.91 .254 ดี จากผลการทดสอบระบบด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ ของกลุ่มที่ 2 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำ คะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่าค่าเฉลี่ยที่ ได้คือ 3.78 แสดงว่าระบบด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ มีประสิทธิภาพในระดับดี และมีการแจกแจง ของข้อมูลเบ้ทางบวก ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสมมติ ฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 8 ค่า t จากตารางเท่ากับ 1.86 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพ ของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ตารางที่ 4-7 ด้านความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ (กลุ่มที่ 1) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1. ระบบสามารถสร้างและแก้ไข บทเรียน 4.00 - - - ดี 2.ระบบสามารถสร้างและแก้ไขข้อมูล ประวัติผู้สร้าง 4.00 - - - ดี 105 ตารางที่ 4-7 (ต่อ) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 3. ระบบสามารถสร้างและแก้ไข แบบทดสอบ 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี รวม 3.89 0.19 3.41 -3.00 ดี จากผลการทดสอบระบบการประเมินด้านความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของ ผู้ใช้ ของกลุ่มที่ 1 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทาง สถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่าค่าเฉลี่ยที่ได้คือ 3.89 แสดงว่าระบบการประเมินด้าน ความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ มีประสิทธิภาพในระดับดี และมีการแจกแจง ของข้อมูลเบ้ทางลบ ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสมมติ ฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 8 ค่า t จากตารางเท่ากับ 1.74 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพ ของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ตารางที่ 4-8 ด้านความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ (กลุ่มที่ 2) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1. ระบบสามารถมีบทเรียน 4.33 0.58 2.47 1.73 ดี 2.ระบบสามารถสร้างและแก้ไขข้อมูล ประวัติผู้เรียน 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี 3. ระบบสามารถมีแบบทดสอบ 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี 4. ระบบสามารถรายงานผลการเรียน 4.00 - - - ดี รวม 3.92 0.14 4.88 -.21 ดี จากผลการทดสอบระบบการประเมินด้านความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของ ผู้ใช้ ของกลุ่มที่ 2 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทาง สถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่าค่าเฉลี่ยที่ได้คือ 3.92 แสดงว่าระบบการประเมินด้าน ความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ มีประสิทธิภาพในระดับดี และมีการแจกแจง ของข้อมูลเบ้ทางลบ 106 ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสมมติ ฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 11 ค่า t จากตารางเท่ากับ 1.80 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพ ของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ตารางที่ 4-9 ด้านการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ (กลุ่มที่ 1) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1.การตรวจสอบข้อผิดพลาดโดยรวม ของระบบ 4.00 - - - ดี 2. ระบบมีการเตือนเมื่อพบข้อผิดพลาด ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี รวม 3.83 0.29 1.94 -2.45 ดี จากผลการทดสอบระบบการประเมินด้านการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ ระบบ ของกลุ่มที่ 1 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทาง สถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่าค่าเฉลี่ยที่ได้คือ 3.83 แสดงว่าระบบการประเมินด้าน ความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ มีประสิทธิภาพในระดับดี และมีการแจกแจง ของข้อมูลเบ้ทางลบ ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสมมติ ฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 5 ค่า t จากตารางเท่ากับ 2.02 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพ ของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ตารางที่ 4-10 การประเมินการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ (กลุ่มที่ 2) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1.การตรวจสอบข้อผิดพลาดโดยรวม ของระบบ 4.33 0.58 2.47 1.73 ดี 2. ระบบมีการเตือนเมื่อพบข้อผิดพลาด ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ 3.67 0.58 0.47 -1.73 ดี รวม 4.00 0.50 1.70 .00 ดี 107 จากผลการทดสอบระบบการประเมินด้านการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ ระบบ ของกลุ่มที่ 2 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทาง สถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่าค่าเฉลี่ยที่ได้คือ 4.00 แสดงว่าระบบการประเมินด้าน ความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ มีประสิทธิภาพในระดับดี ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสมมติ ฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 5 ค่า t จากตารางเท่ากับ 2.02 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพ ของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ตารางที่ 4-11 ด้านการประมวลผลภาพรวมทุกด้านของระบบทั้งหมด (กลุ่มที่ 1) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1. ด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ 3.87 0.46 1.34 .10 ดี 2. ด้านการประมวลผลของระบบ 3.87 0.23 2.68 -2.4 ดี 3. ด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ 3.89 0.51 1.29 -.02 ดี 4. ด้านความสามารถของระบบตรงต่อ ความต้องการของผู้ใช้ 3.89 0.19 3.41 -3.00 ดี 5. การประเมินการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ 3.83 0.29 1.94 -2.45 ดี รวม 3.87 0.34 2.12 -.39 ดี จากผลการทดสอบระบบด้านการประมวลผลภาพรวมทุกด้านของระบบทั้งหมดของกลุ่มที่ 1 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่าค่าเฉลี่ยที่ได้คือ 3.87 แสดงว่าระบบด้านการประมวลผลของระบบ มีประสิทธิภาพใน ระดับดี และมีการแจกแจงของข้อมูลเบ้ทางลบ ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสมมติ ฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 53 ค่า t จากตารางเท่ากับ 1.671 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพ ของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี 108 ตารางที่ 4-12 ด้านการประมวลผลภาพรวมทุกด้านของระบบทั้งหมด (กลุ่มที่ 2) รายการประเมิน X SD t Skew ness ประสิทธิภาพ 1. ด้านการติดต่อระหว่างระบบกับ ผู้ใช้ 4.00 0.53 1.60 .00 ดี 2. ด้านการประมวลผลของระบบ 3.93 0.23 3.18 -.28 ดี 3. ด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ 3.78 0.51 0.91 .25 ดี 4. ด้านความสามารถของระบบตรง ต่อความต้องการของผู้ใช้ 3.92 0.14 4.88 -.21 ดี 5. การประเมินการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ ระบบ 4.00 0.50 1.70 .63 ดี รวม 3.93 0.38 2.47 -.25 ดี จากผลการทดสอบระบบด้านการประมวลผลภาพรวมทุกด้านของระบบทั้งหมดของกลุ่มที่ 2 แสดงให้เห็นว่า เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) พบว่าค่าเฉลี่ยที่ได้คือ 3.93 แสดงว่าระบบด้านการประมวลผลของระบบ มีประสิทธิภาพใน ระดับดี และมีการแจกแจงของข้อมูลเบ้ทางลบ ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาพรวมทุกด้าน โดยการตั้งสมมติ ฐาน จากการเปิดตารางแจกแจงแบบที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ df = 53 ค่า t จากตารางเท่ากับ 1.671 พบว่าค่า t ที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งอยู่ในเขตการยอมรับ H1 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพ ของโปรแกรมในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี 109 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ การพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียน การสอน เป็นโปรแกรมสำหรับสร้าง บทเรียนและรายงานผลการเรียนเบื้องต้น โดยมีวัตถุประสงค์ ในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สอนในกรณีที่ต้องการสร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ไม่ มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม และส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้นอก ห้องเรียนได้ด้วยตนเอง ดังนั้นในการพัฒนาระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้เป็นสื่อ ประกอบการเรียนการสอน ได้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการจัดการฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บ ข้อมูลการสร้างบทเรียน ข้อมูลผู้เรียนที่เข้าเรียน และระบบสามารถรายงานผลการเรียนเบื้องต้นได้ 5.1 สรุปผลการทำงานของระบบ ระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้เปน็ สื่อประกอบการเรียนการสอน มี ความสามารถดังต่อไปนี้ 5.1.1 เพิ่ม แก้ไข ลบ บันทึก ข้อมูลผู้สร้างได้ 5.1.2 เพิ่ม แก้ไข ลบ บันทึก ข้อมูลการสร้างบทเรียนได้ 5.1.3 เพิ่ม แก้ไข ลบ บันทึก ข้อมูลผู้เรียนได้ 5.1.4 สามารถรายงานผลการเรียนซึ่งเป็นการประเมินความรู้เบื้องต้นของผู้เรียนได้ 5.2 สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ จากการประเมินความสามารถของระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตตาม ขอบเขตของสารนิพนธ์ โดยผู้ที่มีความรู้ในด้านการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และผู้ที่มีความรู้ ในด้านการสร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สรุปได้ว่าระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ตมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับดีมาก สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงต่อ ความต้องการของผู้ใช้ 110 จากผลการประเมินระบบสรุปได้ว่า ระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เมื่อทำ การเปรียบเทียบค่าต่างๆ แล้วค่าเฉลี่ยของระบบจะอยู่ในระดับดี ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าระบบที่ได้ พัฒนามีความสามารถที่สามารถจะนำไปใช้งานได้ 5.3 ปัญหาที่พบในระบบ จากการพัฒนาระบบพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นั้นมีดังต่อไปนี้ 1. ยังไม่มีส่วนของผู้ดูแลระบบทำให้เกิดปัญหาไม่มีการจัดการระหว่างผู้ใช้กับระบบ เช่น กรณีที่ผู้ใช้ไม่ได้ติดต่อกับระบบเป็นเวลานานเกินไป 2. ระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีข้อมูลบทเรียนที่ประกอบด้วย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอประกอบจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์ที่ รองรับการทำงานของระบบงานจำเป็นต้องมีความเร็วในการประมวลผล และ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล เนื่องจากระบบงานมีการปฏิบัติการกับข้อมูลใน ปริมาณมากและมีความซับซ้อน 3. ระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีรูปแบบในการแสดงผลจำกัด สามารถ แสดงผลภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ ได้อย่างละ 1 ไฟล์ต่อหนึ่งหน้าเนื้อหา 4. ระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตยังไม่สามารถจัดการกับรูปแบบของ ตัวอักษรในเนื้อหาได้ 5. การพัฒนาระบบงานบนระบบเครือข่ายจำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ในระดับสูง 5.4 ข้อเสนอแนะ สารนิพนธ์ระบบนิพนธ์บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียน การสอน หากพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นบทเรียนบนอินเตอร์เน็ตในระดับที่ 4 คือ เพิ่ม ปฏิสัมพันธ์ ดังนั้นสารนิพนธ์ยังสามารถพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยยังสามารถพัฒนาการใช้ งานระบบให้อยู่ในระดับที่ 5 คือ เพิ่ม IP Phone, IP Video และ Instant Messenger ระดับที่ 6 คือ แบบ Traditional Media และระดับ 7 คือ เพิ่ม Groupware

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น