วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์



การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ :
กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตธนบุรี
Participation of Secondary School on Police Community Relation
Case Study : Secondary School in Dhonburi District
วิทยานิพนธ์
ของ
ร้อยตำรวจเอก สหชัย สืบด้วง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545
ISBN 974-373-185-7
ลิขสิทธิ์เป็นของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์ : กรณีศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา
ในเขตธนบุรี
บทคัดย่อ
ของ
ร้อยตำรวจเอก สหชัย สืบด้วง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545
กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ดำเนินงานสำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์จากท่านอาจารญ์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ ดร.ทวิธ บุญธิรัศมี ผศ.สุพิศวง ธรรมพันธา
พ.ต.ท.พิพัฒน์ บุญเพ็ชร์ และคณาจารย์ทุกท่าน ที่ได้ให้คำปรึกษาชี้แนะความรู้ต่างๆ ทำให้เกิด
กระบวนการเรียนรู้ และความเข้าใจในการดำเนินงานศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ อันเป็นประโยชน์
แก่ผู้วิจัยอย่างยิ่ง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง
ขอขอบคุณผู้อำนวยการ อาจารย์ ครู และนักเรียนของโรงเรียงซางตาครูสคอนแวนท์ โรงเรียน
ซางตาครูสศึกษา โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ โรงเรียนวัฒนะศึกษา ที่ให้ความร่วมมือในการตอบ
แบบสอบถาม ข้อเสนอแนะต่างๆ และให้กำลังใจรวมถึงการเอื้ออาทรเป็นอย่างดีในครั้งนี้
ขอขอบคุณพี่และเพื่อนนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ที่สนับสนุนให้ความรู้และ
กำลังใจอย่างเสมอมา รวมทั้งครอบครัวเรืองฤทธิ์ และกำลังใจจากคนใกล้ชิด ส่งผลให้เกิดความวิริยะ
ในการศึกษาและจัดทำวิทยานิพนธ์จนประสบความสำเร็จได้ด้วยดี
สหชัย สืบด้วง
5
สหชัย สืบด้วง. (2545) การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ศึกษากรณี : โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตธนบุรี
กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
คณะกรรมการควบคุม :
รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสด์
ผศ.สุพิศวง ธรรมพันทา
พ.ต.ท.พิพัฒน์ บุญเพ็ชร
การศึกษาการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ศึกษากรณี :
โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตธนบุรี มีวัตถุประสงค์ในการ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของโรงเรียน
มัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของโรงเรียน
มัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรที่นำมาศึกษา เป็นผู้บริหาร ครู
อาจารย์ และนักเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา และสำนักงานการศึกษาเอกชนที่อยู่ในพื้นของ
เขตธนบุรี จำนวน 147 คน เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 1 โรงเรียน และ
โรงเรียนในสังกัดการศึกษาเอกชน จำนวน 3 โรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สหสัมพันธ์
ของเพียร์สัน ใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า
1. ระดับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ โดยภาพรวมอยู่
ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตัวแปรแต่ละตัวพบว่า ความรู้ความเข้าใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน
งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ความสัมพันธ์ที่ดีของโรงเรียนมัธยมศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง ความพึงพอใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาต่อการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
2. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ได้แก่
ความรู้ความเข้าใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ไม่มีความสัมพันธ์กับการ
มีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่ดีของโรงเรียน
มัธยมศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงาน
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ และความพึงพอใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ตำรวจไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของโรงเรีบนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
3. จากผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้สามารถหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงานตำรวจชุม
ชนสัมพันธ์กับโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้ดังนี้
6
3.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องแสวงหาความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับโรงเรียนมัธยมศึกษา และประชา
สัมพันธ์ถึงวัตถุประสงค์ของงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
3.2 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ต้องมีความพร้อมในการปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์ และ
ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับ
3.3 ความพร้อมของโรงเรียนมัธยมศึกษา เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมทำกิจกรรมเกี่ยวกับงาน
ตำรวจชุมขนสัมพันธ์
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานของงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
2. ควรมีการศึกษาการดำเนินงานของงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่นำไปสู่ชุมชน
3. ควรมีการศึกษาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ที่อยู่ในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
Participation of Secondary School on Police Community Relation
Case Study : Secondary School in Dhonburi District
AN ABSTRACT
BY
Police Captain Sahachai Suebduang
Presented in partial fulfillment of the requirements
For the Master of Arts (Social Sciences for Development)
At Rajabhat Institute Bansomdej Chao Praya
2002
8
Sahachai Suebduang. (2002). Participation of Secondary School on Police Community
Relation. A case study : the secondary schools in Dhonburi
Advisor Committee : -
Assoc. Prof. Dr. Nongluksana Thepsawasdi
Asst. Professor Supitsawong Tampunta
Police Lieutenant Colonel Pipat Boonpech
A study on “Participation of Secondary School on Police Community Relation” aims to
study the involvement and the participation of the Secondary Schools on the Police
Community Relation’s program and also the factors effecting that participation
It is an exploratory research, the population studies were the school administrations,
teachers, and students the 4 schools (3 schools under the Department of Education and 1
under private authority) totally 147 cases. The data was analyzed by statistical method
using co-valuation of Pearson at the level of significance 95%.
The findings were :-
1. The level of participation of secondary school on Police Community Relation Program in
general was at average level. Taking into Consideration of the various variables it
was found out that the knowledge and understanding of the school on “Police
Community Relation” was at high level the good relationship of the school with
policeman in this “Police Community Relation” was at average level. The contentment
of the school toward the working of policeman on this Police Community Relation
Project” was at average level.
2. The knowledge and understanding of school on “Police Community Relation” has
no relation with the participation of schools towards this project. Good relationship of
the school with police personal has no relation with the participation of school
toward “Police Community Relation Project”. Contentment of school toward the
practice of police officers has no relation with the participation of school on “Police
Community Relation Project”
3. This study recommend that
9
3.1. The police officers should seek co-operation, making good relationship with school
and making the objective of the “Police Community Relation” program known in
public.
3.2. The police officers should be ready work on “Police Community Relation Project”
and make themselves accepted and reliable by public.
3.3. The school should be ready to work with police officer in connection with the activity
relating “Police Community Relation Project”
Recommendation for the next research
1. There should be study on the factors leading to the successful of the “Police Community
Relation Program”
2. There should be study on the Police Community Relation activities leading to the
community development
3. There should be study on the participation of the police officers working and involving in
the “Police Community Relation”
สารบัญ
หน้า
กิตติกรรมประกาศ…………………………………………………………………... ค
บทคัดย่อภาษาไทย…………………………………………………………………. ง-ฉ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ……………………………………………………………… ช-ฌ
สารบัญเรื่อง…………………………………………………………………………. ญ-ฏ
สารบัญตาราง……………………………………………………………………….. ฐ
สารบัญแผนภาพ…………………………………………………………………….. ฑ
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา……………………………….…. 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………. 4
ขอบเขตของการวิจัย……………………………………………….………. 4
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการศึกษา…………………………………..………...….. 4
สมมติฐานการวิจัย……………………………………………………….… 5
กรอบความคิดในการวิจัย………………………………………………….. 6
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ………………………………………………… 8
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดเกี่ยวกับอาชญากรรม……………………………………………….. 9
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม….………. 13
ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม……………………….. 15
แนวคิดที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม………………………….………………… 18
ทฤษฎีความพึงพอใจ…………………………….…….…………………… 27
ทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์.……………………………………………………..… 28
งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์.………………………………………………...… 30
11
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
แนวนโยบายของสถาบนั การศกึ ษาในการปอ้ งกนั และปราบปรามอาชญากรรม...32
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………. 36
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง………………………….……………………… 40
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย………………………………………….………… 41
การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย………………………………………… 43
การเก็บรวบรวมข้อมูล ………………………………………….………….. 44
การวิเคราะห์ข้อมูล……………………………………….…………..…….. 44
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์……………….……….………………………….. 45
การทดสอบสมมติฐาน……………….……….……………..…………….. 45
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลทั่วไป………………………….………………….….……………… 46
การหาค่าระดับของตัวแปร……………………………………….………. 53
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปร..................................... 54
ค่าความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ กับการมีส่วนร่วมของโรงเรียน
มัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ …………………………………… 55
แนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์กับโรงเรียน
มัธยมศึกษา..................................................................................…… 56
12
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย……………..…………………………………….………… 59
สรุปและอภิปรายผลการวิจัย……………………………..………………… 60
ข้อเสนอแนะ……………………………….…………………….………….. 63
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป………….…………………….………….. 64
บรรณานุกรม……………………………………………………………………….. 65
ภาคผนวก…………………………………………………………………………… 70
แบบสอบถาม ……………………………………………………………... 71
ประวัติผู้วิจัย………………………………..……………………………………….. 79
13
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทั่วไป …………………………….………………….…………. 47
ตารางที่ 2 จำนวนร้อยละของความรู้ความเข้าใจงานตำรวจชุมชนพันธ์....................... 49
ตารางที่ 3 จำนวนร้อยละของความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ................................ 50
ตารางที่ 4 จำนวนร้อยละของความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ................. 51
ตารางที่ 5 จำนวนร้อยละของการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์....................................................................................... 52
ตารางที่ 6 ค่าระดับของตัวแปรการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์………………………..……………..………………………. 53
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยของและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรแยกตามกลุ่มในระดับสูง
และต่ำของตัวแปร ………………………….………………….…………. 54
ตารางที่ 8 ค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงาน
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์……………………..….………………….………. 55
14
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………………………….…………. 8
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยได้เกิดวิกฤตการณ์หลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจ ได้ก่อ
ผลกระทบต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชนไทยอย่างรุนแรงและกว้างขวาง สถานประกอบ
การต่างๆ เลิกกิจการเป็นจำนวนมาก อัตราการว่างงานเพิ่ม ปัญหาอาชญากรรมมีแนวโน้มที่จะเพิ่ม
สูงและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จำนวนคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ
ระดับความหวาดกลัว และความรู้สึกไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
จากสถิติคดีอาญาทั่วประเทศเปรียบเทียบจากสถิติคดีอาญาในปี พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2543
ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของอาชญากรรมเพิ่มขึ้นโดยพบว่า คดชี วี ติ รา่ งกาย และ เพศ (Crimes against
Person) ที่ได้รับแจ้ง 29,381 คดี เพิ่มขึ้นเป็น 34,787 คดี คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ
(Violent Crime) ที่ได้รับแจ้ง 8,400 คดี ลดลงเป็น 8,258 คดี คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ (Property
of crimes) ที่ได้รับแจ้ง 55,688 คดี เพิ่มขึ้นเป็น 68,334 คดี คดีที่น่าสนใจ (Interesting Crimes)
35,557 คดี เพิ่มขึ้นเป็น 43,450 คดี และคดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย (Victimles Crimes) ที่ได้รับแจ้ง
311,008 คดี เพิ่มขึ้นเป็น 380,306 คดี (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2544)
สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่โดยตรงในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ตลอดจน
ใหค้ วามช่วยเหลือประชาชน ในการขจัดหรือบรรเทาปัญหาสังคมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในอดีตที่ผ่านมา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีแนวทางในการป้องกัและปราบปรามอาชญากรรมมาตลอด ยุทธศาสตร์
การพัฒนาดังกล่าวเน้นการเสริมสร้างองค์การตำรวจลักษณะปิด โดยทำหน้าที่ป้องกันปราบปราม
อาชญากรรมได้ตามลำพัง เน้นการใช้ยุทธวิธีตำรวจแบบจารีตประเพณี ได้แก่ การตรวจท้องที่
ตู้ยาม การตั้งจุดตรวจ และการระดมกำลังออกปราบปรามอาชญากรรม ด้วยเหตุนี้เองสรรพกำลัง
และทรัพยากรต่างๆ ในยุคนั้นจึงถูกทุ่มเทเข้าไปในด้านการปฏิบัติการสืบหาข่าวและติดตามจับกุม
หลังเกิดเหตุเป็นหลัก เพื่อปราบปรามให้คนร้ายหรือเหล่ามิจฉาชีพที่ก่ออาชญากรรมทั้งหลายหมด
สิ้นไปโดยเร็ว แต่ปรากฏว่าความพยายามดังกล่าวได้ผลเพียงในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากยังมีข้อ
จำกัดอยู่หลายประการ โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนร้าย ซึ่งถือได้ว่ามาตรการ
ดงั กลา่ วเปน็ การตงั้ รบั มากกวา่ การรกุ และอยบู่ นพนื้ ฐานของแนวความคดิ ทวี่ า่ “อาชญากรรมเปน็ ปญั หา
2
ของตำรวจที่จะต้องแก้ไขแต่เพียงหน่วยเดียว” ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความรู้สึกห่างเหินตำรวจ พา
กันเพิกเฉย ไม่สนใจ ไม่ให้ความร่วมมือ และไม่สนับสนุนกิจการของตำรวจเท่าที่ควร โดยถือว่ามิใช่
ธุระหรือไม่ใช่หน้าที่นอกเสียจากว่าอาชญากรรมหรือปัญหาต่างๆ จะได้เกิดขึ้นกับตนหรือคนที่ตน
รู้จักเท่านั้น (กรมตำรวจ 2540) ด้วยเหตุนี้การข่าวหรือข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับที่หลบซ่อน หรือ
แหล่งมั่วสุม ตลอดจนแผนการก่ออาชญากรรมของคนร้ายยังไม่เพียงพอที่จะทำให้การสืบสวนจับ
กุมหรือการป้องกันปราบปรามของตำรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงส่งผลให้การป้อง
กันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมตามภารกิจและความรับผิดชอบของตำรวจ ไม่สามารถลดลงจนถึงระดับ
ทสี่ งั คมยอมรบั ได ้ นอกจากนนั้ แลว้ มาตรการทใี่ ชใ้ นการปราบปรามดงั กลา่ ว ยังเป็นเพียงการแก้ไขที่
ปลายเหตุ เป็นวิธีการที่นำมาใช้หลังจากมีเหตุเกิดขึ้นแล้ว ฉะนั้น เมื่ออาชญากรรมเกิดขึ้น แม้จะ
สามารถจับกุมได้ในภายหลังก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าเกิดความสงบสุขในสังคมหรือความปลอดภัยใน
ชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างแท้จริง
การแสวงหาความร่วมมือนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญจำเป็นอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตอยู่ เพราะคน
เราไม่สามารถที่จะประกอบกิจกรรมการงานได้ทุกอย่างให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องการดำรงชีวิตประจำวัน หรือการประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันและ
กันทั้งสิ้น เช่นเดียวกับการปฏิบัติงานของตำรวจซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและ
เอกชน เพราะการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำรวจในฐานผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ก็ไม่สามารถประสบ
ความสำเร็จได้ งานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือ
จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินงานใน
ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างดี ในทางตรงกัน
ข้ามหากไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนการดำเนินงานในด้านนี้อาจล้มเหลวได้ การมีส่วนร่วม
ของประชาชนจึงเป็นกระบวนการดำเนินงานรวมพลังประชาชนกับองค์กรของรัฐ หรือองค์กรเอกชน
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยยึดหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชน
หรือชุมชนในการร่วมมือกันวางแผนและการปฏิบัติงาน และติดตามผลเพื่อแก้ปัญหาของประชาชน
และชุมชน การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาในปัจจุบันเป็นกระแสหลักของชุมชนใน
ปัจจุบัน เช่นเดียวกับกระแสการปกครองในระบบประชาธิปไตย ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม เทคโนโลยี
ที่ก้าวหน้า และการคมนาคมขนส่งสะดวกรวดเร็วทำให้โลกร้อยเรียงเข้าด้วยกัน สำหรับในส่วนของ
การป้องกันอาชญากรรม ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มีกลยุทธ์ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และมีบท
บาทที่มากขึ้นใช้เป็นเกราะกำบังในประเทศอย่างเป็นระบบ ทำให้ได้รับการยอมรับจากประชาชน
3
และเป็นการให้ความสำคัญกับชุมชน เป็นแนวทางเสริมสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง และสามารถช่วยตน
เองได้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2543)
ปัจจุบันการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์อยใู่ นระหวา่ งการใชแ้ ผนของสำนักงานตาํ รวจแหง่ ชาติ
แม่บท ฉบับที่3 (พ.ศ. 2540- 2544) ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อความในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540- 2544) ที่มุ่งเสริมงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในการแก้ไขปัญหา
อาชญากรรมและยาเสพติดให้โทษ โดยรัฐเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ชุมชน
สามารถพึ่งตนเองและป้องกันตนเองได้มากขึ้น โดยมุ่งเน้นให้มีการพัฒนางานชุมชนสัมพันธ์ เพื่อ
แสวงหาความร่วมมือและเปิดโอกาสให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรต่างๆ มีส่วนร่วมในการให้ข้อ
มูลข่าวสาร ตลอดจนกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติดร่วมกัน จึงได้นำ
องค์ความรู้ และรูปแบบการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์มาใช้เสริมสร้างให้ประชาชนมีจิตสำนึก
และตระหนักถึงการทำหน้าที่พลเมืองดี โน้มน้าวให้ประชาชนตระหนักถึงภัยของอาชญากรรม และมีจิต
สำนึกที่จะทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี มีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมที่จะส่งผลให้
บรรลุความสำเร็จของงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์และเกิดความสงบเรียบร้อยของสังคม (ประเสริฐ
สุนทร 2543)
งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะ
สถาบันการศึกษา ที่ถือว่าเป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนนโยบายการป้องกันปราบปราม
อาชญากรรม นโยบายของโครงการเน้นไปที่เยาวชน ในเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรม ปัญหาอาชญา
กรรม อาจเกิดจากตัวเยาวชนเอง หรือเกิดจากบุคคลอื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ปัญหาก่อเหตุ
ทะเลาะวิวาท และทำลายทรัพย์สิน นักเรียนต่างสถาบันตีกัน การพกพาอาวุธผิดกฎหมาย ปัญหายา
เสพติด ที่อาจเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นต่อเยาวชนที่อยู่ในสถาบันการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรและชุมชนในการป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันสาร
เสพย์ติด การพนัน สื่อลามกอนาจาร และการทะเลาะวิวาทให้แก่นักเรียน นักศึกษา และเยาวชน
โดยจัดกิจกรรมประสานความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนด
ร่วมกันหลายโครงการร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบ
ปรามยาเสพติดแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ โดยกำหนดเป็นนโยบายของสถานศึกษาในการดำเนิน
งานการจัดการด้านกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ และได้มีการดำเนินการในการจัดกิจกรรม
โครงการต่างๆ อาทิ โครงการโรงเรียนสีขาว โครงการมัธยมรวมใจต้านภัยยาเสพติด "พลังแผ่น
ดิน ถิ่นมัธยม" เป็นต้น โครงการเหล่านี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความรู้เรื่องกฎหมายทั่วไป และพิษ
ภัยของยาเสพติดแก่ชุมชน ให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อก่อให้เกิดการ
4
ประสานความร่วมมือระหว่างตำรวจและชุมชน เป็นการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง (กระทรวงศึกษาธิการ
2543)
ผู้วิจัยเห็นว่าการศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์ ศึกษากรณี : โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตธนบุรี” เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันปัญหาอาชญา
กรรมในชุมชน และเป็นแนวทางที่ก่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างตำรวจ และประชาชน
เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งผลของการศึกษาทำให้ทราบถึงปัญหาและ
อุปสรรคของการใช้นโยบายของงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ โดยเฉพาะความร่วมมือของสถาบันการ
ศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งจะได้นำไปใช้ในการปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิ
ผลยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์
3. เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงานตาํ รวจชมุ ชนสมั พนั ธก์ บั โรงเรยี นมัธยมศึกษา
ขอบเขตของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
นิยามคำศัพท์ที่ใช้ในการศึกษา
1. โรงเรียนมัธยมศึกษา
หมายถึง โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาของกรมสามัญศึกษา
และ โรงเรียนมัธยมของเอกชนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน ใน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
2. ประเภทของโรงเรียนมัธยมศึกษา หมายถึง ประเภทของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่นำมา
ศึกษาในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล หมายถึง โรงเรียนมัธยมศึกษาที่สังกัดกรมสามัญศึกษา
5
โรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชน หมายถึง โรงเรียนมัธยมศึกษาที่สังกัดสำนักงานการ
ศึกษาเอกชน
3. ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา หมายถึง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารของโรงเรียน
มัธยมศึกษา ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ หมายถึง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ครู อาจารย์ ของโรงเรียน
มัธยมศึกษาที่เข้าร่วมงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
4. การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา หมายถึง ลักษณะของกิจกรรมการมีส่วน
ร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์เพื่อเป็นการให้ความรู้ด้านกฎหมาย และ
การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของชุมชน
5. งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ หมายถึง งานที่ตำรวจได้กระทำเพื่อให้บุคคล หรือกลุ่ม
บุคคลในสังคมหรือชุมชนต่างๆ เกิดการรวมตัวกัน มีความสัมพันธ์ผูกพันเกี่ยวข้องต่อกัน ร่วมมือ
ประสานการปฎิบัติเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการปฎิบัติงานของตำรวจ และเป็นการดำเนินการ
อย่างเป็นกระบวนการ เพื่อให้ตำรวจมีปฎิสัมพันธ์อันดีกับชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีความ
เข้าใจในปัญหาซึ่งกันและกัน ตลอดจนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหา
อาชญากรรม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในชุมชนหรือสังคมนั้นๆ
6. ความรู้ความเข้าใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
หมายถึง ความรู้ความเข้าใจของผู้บริหาร หรือผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์
เป้าหมาย และวิธีดำเนินกิจกรรมของงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
7. ความสัมพันธ์ที่ดีของโรงเรียนมัธยมศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หมายถึง การให้
ความร่วมมือหรือการทำกิจกรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
8. ความพึงพอใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
หมายถึง ระดับความพึงพอใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาหรือผู้บริหาร ครู อาจารย์ และนักเรียนของ
โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจวัดจากความคิดเห็น แบ่งออกเป็น 5
ระดับคือ ไม่พึงพอใจ พึงพอใจน้อย พึงพอใจปานกลาง พึงพอใจมาก พึงพอใจมากที่สุด
สมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชมุ ชนสมั พนั ธ์
สมมติฐานที่ 2 ความสัมพันธ์ที่ดีของโรงเรียนมัธยมศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความ
สัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
6
สมมติฐานที่ 3 ความพึงพอใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาต่อการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ตำรวจของโรงเรียนมัธยมศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
กรอบความคิดในการทำวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาภายใต้แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมี
ส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ โดยได้นำแนวคิดทฤษฎีต่างๆ มาใช้ใน
การศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (2540 -2544)
เป็นโครงการที่ใช้จัดสภาพทั่วไปไม่ว่าในระดับเมือง ชุมชน หรือละแวกบ้าน ในลักษณะเสริมสร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลง่ายต่อการควบคุม และสังเกตตรวจตราโดยไม่ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพ
ส่วนบุคคล มุ่งสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันชีวิตร่างกายและทรัพย์
สิน รวมทั้งต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร และชุมชนในการป้องกันและสร้าง
ภูมิคุ้มกันอาชญากรรมต่างๆ จากสารเสพย์ติด การพนัน สื่อลามกอนาจาร และการทะเลาะวิวาท
ของนักเรียน นักศึกษา และเยาวชน โดยจัดกิจกรรมประสานความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบต่อ
เนื่อง แนวนโยบายของการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (2543 : 2 -
6) ที่กำหนดให้การดำเนินงานของสถาบันการศึกษามีส่วนร่วมกับชุมชน องค์กรต่างๆ และตำรวจใน
การที่จะป้องกันปัญหาสารเสพย์ติด การพนัน สื่อลามกอนาจาร และการทะเลาะวิวาทในชุมชน
แนวคดิ ทฤษฎกี ารมสี ว่ นรว่ ม ของ เจมิ ศกั ด ์ิ ปนิ่ ทอง (2527 : 272-273) ทอี่ ธบิ ายถงึ กระบวนการของ
การมีส่วนร่วมทำให้เกิดผลสำเร็จ ต้องมีขั้นตอนในการค้นหาปัญหา วางแผน การปฏิบัติการและการ
ประเมินผล ทฤษฎีเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของ พอล (Paul อ้างใน ประเสริฐ
เมฆมณี 2519:44-45) ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและปราบปราบอาชญากรรมของ
ตำรวจยุคใหม่ โดยถือเป็นภาระหน้าที่ของตำรวจที่ต้องตระหนักถึงการป้องกันอาชญากรรม และเป็น
งานหลักที่สำคัญกว่าการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ แนวคิดงานตำรวจชุมชนและมวลชน
สัมพันธ์ของพาร์ค (Park อ้างใน ประเสริฐ สุนทร 2543:23) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้
เกิดความพยายามจูงใจให้นักอาชญาวิทยาทั้งหลายเห็นความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ในสภาพแวดล้อม
ของเมืองที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมอาชญากร แนวคิดเกี่ยวกับอาชญากรรมของ ควินนีย์ (Quinney
1970 : 15-16) ที่กล่าวถึงพฤติกรรมของคนที่จะเป็นอาชญากรรม มีองค์ประกอบของอาชญากรรม
7
3 ประการ คือ มีกฎหมาย มีผู้ออกและผู้ใช้กฎหมาย และมีผู้ละเมิดกฎหมาย ทฤษฎีการควบคุม
อาชญากรรมจาก สภาพแวดล้อมของ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (2526 : 17 - 22) ที่นำเสนอเกี่ยวกับ
แนวคิดใหม่ มีลักษณะเป็นความคิดรวมระหว่างทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นแนวความคิดริเริ่ม
และทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์ที่ต้องการลดช่องโอกาส มีความเพียงพอในการควบคุมอาชญากรรม
สนับสนุนสัมพันธภาพและการรวมตัวของสุจริตชนในสังคม มีกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์
ของประชาชนโดยรวม มีวิธีการปฏิบัติที่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมการใช้พื้นที่ให้
สอดคล้องกับนโยบาย ทำการฝึกอบรมประชาชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาอาชญา
กรรมในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แนวคิดทฤษฎีความพึงพอใจของ แอปเปิ้ลไวท์ (Applewhite 1956
: 8) ที่กล่าวถึงความพึงพอใจของบุคคลส่งผลให้เกิดเป็นพฤติกรรมหรือการกระทำภายนอก ซึ่งมีผล
ต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้ โดยนำแนวคิดเหล่านี้มาพิจารณาร่วมกับหลักฐาน
เชิงประจักษ์จากงานวิจัยที่ผ่านมา เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่น่าจะมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของโรง
เรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ซึ่ง ผู้วิจัยได้นำมาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อ
ใช้เป็นกรอบความคิดในการทำวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
ตัวแปรตาม คือ การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ตัวแปรอิสระ คือ ความรู้ความเข้าใจในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ความสัมพันธ์กับเจ้า
หน้าที่ตำรวจ และความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของ
โรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ดังรายละเอียดที่แสดงไว้ในแผนภาพที่ 1
แผนภาพที่ 1 กรอบความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
1 .ความรู้ความเข้าใจของโรงเรียนมัธยม
ศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
2. ความสัมพันธ์ที่ดีของโรงเรียนมัธยม
ศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
3. ความพึงพอใจของโรงเรียนมัธยม
ศึกษาต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ตำรวจ
การมีส่วนร่วม
ของโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
8
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบระดับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
2. ทำให้ทราบปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์
3. ทำให้ทราบข้อคิดเห็นของโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับนโยบายในการป้องกันปราบปราม
อาชญากรรม
4. ทาํ ใหไ้ ดแ้ นวทางและการรว่ มมอื ระหวา่ งโรงเรยี นมธั ยมศกึ ษากบั สาํ นกั งานตาํ รวจแหง่ ชาติ
ในการวางแผนการพัฒนาการบริหารงานชุมชนสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์นี้ ได้
รวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร และผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา ดังจะ
นำเสนอตามลำดับต่อไปนี้
1. แนวความคิดเกี่ยวกับอาชญากรรม
2. แนวความคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
3. ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
4. แนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วม
5. ทฤษฎีความพึงพอใจ
6. ทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์
7. งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
8. แนวนโยบายของสถาบันการศึกษาในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
9. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวความคิดเกี่ยวกับอาชญากรรม
ความหมายของอาชญากรรม
คำว่า “อาชญากรรม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมาย
เอาไว้ว่า เป็นการกระทำผิดทางอาญา
คนทั่วไปอาจจะได้ยินคำว่า อาชญากรรม ตามสื่อต่างๆ จนเคยชิน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ
โทรทัศน์ ซึ่งได้มีนักคิดที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ได้ให้ความหมายของอาชญากรรม ไว้ดังนี้
ควินนีย์ (Quinney 1970 :15-16) ได้ให้ทัศนะไว้ว่า “อาชญากรรม คือ พฤติกรรมของคนที่
องค์กรซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในสังคมที่ดำรงอยู่แบบการเมืองได้กำหนดขึ้น “หมายความว่า พฤติกรรม
ใดจะเป็นอาชญากรรมก็ต่อเมื่อองค์กรเป็นผู้กำหนดขึ้น ซึ่งการกำหนดนั้นกำหนดไว้ในกฎหมาย
องค์กรที่ว่านี้เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องอาชญากรรมด้วย และเป็นองค์กรซึ่งเกิดขึ้นในสังคม
ที่ดำรงอยู่แบบการเมือง คือ เป็นสังคมที่มีผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง
10
แนวความคิด ควินนีย์ (Quinney 1970 : 15-16) เกี่ยวกับอาชญากรรม มีองค์ประกอบที่
สำคัญ 3 ประการคือ มีกฎหมาย มีผู้ออกและผู้ใช้กฎหมาย และมีผู้ละเมิดกฎหมาย
ท่านพุทธทาสภิกขุ (2527 : 32) ได้ให้ความหมายอาชญากรรมไว้ว่า อาชญากรรม หมาย
ถึง “ความผิดทุกอย่างที่สมควรจะได้รับโทษเนื่องจากการกระทำผิดต่อสังคม”
กล่าวโดยสรุป อาชญากรรม หมายถึง พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย
และทรัพย์สินทั้งของบุคคล และสังคม โดยมีกฎหมายห้ามสิ่งนั้นไว้หรือมีการกำหนดว่าสิ่งนั้นเป็น
สิ่งผิด และต้องมีการลงโทษสำหรับการกระทำนั้นๆ โดยฝ่ายที่มีอำนาจตามกฎหมาย
ประเภทของอาชญากรรม
การจัดประเภทของอาชญากรรม เป็นสิ่งสำคัญต่อความเข้าใจปรากฎการณ์ของอาชญากรรม
แต่ละชนิด อันจะนำไปสู่ความเชื่อมโยงกับสาเหตุและการป้องกันแก้ไขปัญหา ซึ่งมีนักคิดหลาย
ท่านได้แยกปรแภทของอาชญากรรมเอาไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา จะได้นำเสนอพอเป็นแนวทาง
ในการทำความเข้าใจ ดังต่อไปนี้
ไคลนาร์ด และ ควินนีย์ (Clinard and Quinney 1970 : 84 – 85) ได้แบ่งประเภทของ
อาชญากรรมโดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ๆ 5 ประการ คือ
1. ปัจจัยด้านกฎหมาย ถือว่าอาชญากรรมคือพฤติกรรมที่ได้รับการกำหนดโดยฝ่ายที่มี
อำนาจสิ่งที่กำหนดขึ้นก็คือกฎหมายอาญา กฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ขึ้นอยู่กับ
การเปลี่ยนแปลงของอำนาจ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาดูกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาดังกล่าว
ด้วย
2. ปัจจัยด้านอาชีพของอาชญากร ผู้ประกอบอาชญากรรมมีอยู่หลากหลาย ขึ้นอยู่
กับระดับของกิจกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต จึงต้องพิจารณาบทบาทของอาชญากรใน
สังคมด้วย พิจารณาภาพพจน์ของอาชญากรความก้าวหน้าในการประกอบอาชญากรรม ตลอดจน
บุคลิกภาพของผู้ประกอบอาชญากรรม
3. ความสนับสนุนของกลุ่มต่อการประกอบอาชญากรรม ต้องพิจารณาดูว่ามีพฤติกรรมของ
อาชญากรได้รับการสนับสนุนจากพรรคมากน้อยแค่ไหน
4. พิจารณาดูว่พฤติกรรมของอาชญากร มีความสัมพันธ์กับแนวประพฤติ หรือบรรทัดฐาน
ของฝ่ายที่มีอำนาจในการออกกฎหมายและบริหารกฎหมายหรือไม่เพียงใด
11
5. ปฎิกิริยาของสังคม และกระบวนการทางกฎหมายต่อการประกอบอาชญากรรม ต้อง
พิจารณาดูว่าสังคมมีปฎิกิริยาต่อาอชญากรรมนานาชนิดอย่างไร และมีกระบวนการในการลงโทษ
หนักเบาต่างกันอย่างไร
จากการยึดปัจจัยทั้ง 5 ประการ ดังกล่าวเป็นหลัก ไคลนาร์ด และ ควินนีย์ จึงได้แยก
ประเภทของอาชญากรรม เป็น 9 ประเภท ได้แก่
1. อาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลอย่างรุนแรง (Violent Personal Crime) เช่น การฆ่า
การทำร้ายร่างการจนบาดเจ็บสาหัส การข่มขืนกระทำชำเรา
2. อาชญากรรมที่กระทำต่อทรัพย์ตามโอกาส (Occasional Property Crime) เช่น การ
ปลอมลายมือ การขโมยของตามร้านขายของ การทำลายสิ่งสาธารณ์
3. อาชญากรรมที่ทำลายความเป็นระเบียบบเรียบร้อยของสังคม (Public Order Crime)
เช่น การเป็นโสเภณี การรักร่วมเพศ การใช้ยาเสพติด การเมาสุราในที่สาธารณะ
4. อาชญากรรมที่ทำกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน (Conventional Crime) เช่น การย่องเบา การ
ปล้น
5. อาชญากรรมการเมือง (Political Crime) เช่น การกบฎ การก่อการร้าย การกระทำ
จารกรรม
6. อาชญากรรมที่เกิดจากงานอาชีพ (Occupational Crime) เช่น การทุจริตต่อหน้าที่
7. อาชญากรรมที่กระทำโดยห้างร้านบริษัท (Corporate Crime) เช่น การโฆษณา
หลอกลวง ความผิดต่อเครื่องหมายการค้า การผลิตอาหารและยาที่ไม่ปลอดภัย
8. องค์การอาชญากรรม (Organized Crime) เช่น องค์กรมาเฟีย
9. อาชญากรรมที่ยึดเป็นอาชีพ (Professional Crime) เช่น การเป็นมือปืนรับจ้าง การ
ต้มตุ๋น การล้วงกระเป๋า การปลอมของ
สาเหตุของอาชญากรรม
วรเดช จันทรศร (2522 : 51-53) ได้สรุปสาเหตุของอาชญากรรม ไว้ดังนี้
1. สาเหตุในแง่ตัวบุคคล มองว่าอาชญากรรมที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากความโน้มเอียงต่อ
การกระทำผิดที่ถูกกำหนดโดยบุคลิกภาพของบุคคลที่แตกต่างกันออกไป เช่น ความผิดปกติทางชีว
ภาพ กรรมพันธุ์ ความผิดปกติทางสมอง ระดับสติปัญญา ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาทางจิตวิทยา
12
กายภาพ รวมตลอดถึงความไม่สามารถของบุคคลที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและแรงผลักดัน
ของบุคคลที่ตกลงใจประกอบอาชญากรร ซึ่งผลของการศึกษาทางด้านสังคมจิตวิทยา
2. สาเหตุในแง่ของกลุ่มบุคคล มองว่าอาชญากรรมส่วนหนึ่ง เกิดจากการขาดความสามารถที่
จะต่อต้านการกดดันในการกระทำซึ่งถูกกำหนดโดยบทบาทของกลุ่ม เช่น การเลียนแบบ ความ
สัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ ในแง่ของการเรียนรู้ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม
และวัฒนธรรม
3. สาเหตุในแง่ระบบสังคม มองว่าการเกิดอาชญากรรมนั้น ย่อมเกี่ยวพัน และขึ้นอยู่กับ
สภาพการณ์ต่างๆ ทางสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม สถานภาพ และชนชั้นทางสังคม ที่บุคคลจะ
เป็นเครื่องกำหนดความโน้มเอียงในการกระทำผิด ซึ่งผลเป็นที่ได้จากการศึกษาทางสังคมและวัฒน
ธรรมอีกด้วย
สรุปได้ว่าสาเหตุของอาชญากรรมนั้น ย่อมเกี่ยวพันและขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ ทางสภาพ
แวดล้อมทางวัฒนธรรม สถานะชนชั้นทางสังคมที่จะเป็นเครื่องกำหนดความโน้มเอียงในการกระทำ
ผิด ความสามารถที่จะต่อต้านความกดดันในการกระทำผิดซึ่งถูกกำหนดโดยบทบาทของกลุ่ม และ
ความโน้มเอียงต่อการกระทำที่ถูกกำหนดโดยบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับปัญหาอาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเกิดขึ้นอย่างหนาแน่นตามความสลับซับ
ซ้อนของสังคมเมืองนั้นพบว่า ปัญหาโจรกรรมเกิดขึ้นมากที่สุด อันเป็นปัญหาที่ทำความเดือดร้อน
รำคาญให้แก่ประชาชนผู้สุจริตชนเป็นอย่างมาก ซึ่งสาเหตุของปัญหานั้นมีหลายประการไม่ว่าจะเป็น
สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม แหล่งอบายมุข แหล่งเสื่อมโทรม ยาเสพติด ปัญหาวัยรุ่นและอื่นๆ
แนวความคิด ควินนีย์ เกี่ยวกับอาชญากรรม ชี้ให้เห็นถึงองค์ประกอบที่สำคัญ 3
ประการของอาชญากรรม ได้แก่ มีกฎหมาย มีผู้ออกและผู้ใช้กฎหมาย และมีผู้ละเมิดกฎหมาย ซึ่ง
สอดคล้องกับการให้ความรู้และการปฎิบัติของของตำรวจ ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จึงได้
นำแนวคิดนี้มาเป็นกรอบในการศึกษาในครั้งนี้
2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
13
4.1 แนวทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมาย
ประเสริฐ เมฆมณี (2519 : 44-45) ได้อธิบายไว้ว่า เมื่อโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคปฎิวัติอุตสาห
กรรม ในต้นศตวรรษที่ 19 ทำให้เกิดภาวะที่คนจากชนบทอพยพเข้าสู่ตัวเมืองที่เป็นแหล่งโรงงานอุต
สาหกรรม ทำให้เมืองเหล่านั้นเติบโตมีประชาชนอาศัยอยู่มาก ภายใต้สภาพการณ์ที่เมืองขยายตัว
อย่างรวดเร็วนี้เองได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในด้านต่างๆ ติดตามมา โดยเฉพาะปัญหาอาชญากรรม
ในชุมชนเมืองได้ทวีปริมาณเพิ่มมากขึ้น สำหรับประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศชั้นนำในการปฎิวัติอุต
สาหกรรมได้มีความตื่นตัวต่อการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมเป็นพิเศษ กิจการตำรวจยุคใหม่ได้รับ
การก่อตั้งขึ้น พอล (Paul 1788) เลขาธิการรัฐสภาพของประเทศอังกฤษ ในระหว่างปี ค.ศ. 1822 -
1829 เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำริเริ่มผลักดันให้มีการตั้งระบบตำรวจยุคใหม่ ภายใต้การปก
ครองระบอบประชาธิปไตย โดยก่อตั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาตินครบาลลอนดอนขึ้นในปี ค.ศ.
1829 พอล ได้กำหนดหลักการตำรวจอาชีพไว้ 9 ประการดังนี้
1. การป้องกันอาชญากรรมเป็นภารกิจพื้นฐานของตำรวจ
2. ตำรวจต้องได้รับความเคารพนับถือและยกย่องจากประชาชนอย่างแท้จริง
3. การที่ประชาชนเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นการชักนำให้ประชาชน เคารพยำ
เกรงตำรวจ
4. การปฎิบัติหน้าที่เชิงบังคับขู่เข็ญของตำรวจ จะเป็นผลให้ประชาชนสนับสนุนกิจการ
ตำรวจลดน้อยลงเป็นสัดส่วน
5. ตำรวจจะต้องปฎิบัติหน้าที่ บังคับใช้กฎหมายด้วยความเที่ยงธรรม
6. ตำรวจพึงใช้กำลังอาวุธในกรณีจำเป็นสุดวิสัย ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้ว
7. ตำรวจและประชาชนเสมือนบุคคลเดียวกัน
8. ตำรวจเป็นตัวแทนของกฎหมาย
9. สังคมที่ปลอดจากอาชญากรรมและความยุ่งเหยิง ย่อมเป็นสิ่งที่ทดสอบประสิทธิภาพใน
การทำงานของตำรวจ
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (2526 : 8) ได้อธิบายเอาไว้ว่า พอล ได้รับยกย่องในเวลาต่อมาว่าเป็น
“บิดาของตำรวจยุคใหม่” ได้เน้นให้บุคลากรตำรวจภายใต้บังคับบัญชา ได้ตระหนักว่าการป้องกัน
อาชญากรรม คือ งานหลักของตำรวจและมีความสำคัญยิ่งกว่าการสืบสวนสอบสวนการจับกุมและ
การลงโทษผู้กระทำผิด ทัศนะของ พอล ได้กลายเป็นพื้นฐานของการก่อกำเนิดแนวทฤษฎีบังคับใช้
กฎหมาย (Law Enforcement Approach) เพื่อป้องกันอาชญากรรมขึ้น ยุทธวิธีหลักของตำรวจ
ในการป้องกันอาชญากรรมตามทฤษฎีบังคับใช้กฎหมายก็คือ การตรวจท้องที่ซึ่งได้รับการขนาน
14
นามว่าเป็นกระดูกสันหลังของงานตำรวจย่อมมีผลในการยับยั้งผู้ที่มีแนวโน้มจะประกอบอาชญากรรม
เพราะความเกรงกลัวการจับกุม ฉะนั้น ตำรวจสายตรวจจึงต้องแต่งเครื่องแบบ และรถวิทยุ
สายตรวจจึงควรมีลักษณะเด่นชัดเห็นได้ง่าย เพื่อเป็นการข่มขวัญยับยั้งอาชญากร นอกจากนั้น
การตรวจท้องที่โดยสม่ำเสมอต่อเนื่อง จะทำให้สมาชิกในชุมชนเกิดความรู้สึกว่ามีตำรวจและการ
กระจายกำลังตำรวจอยู่ทั่วไปทุกแห่งหน ด้วยเหตุนี้ตามแนวทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย การปรากฏตัว
ของตำรวจ และการกระจายกำลังตำรวจอยู่ทั่วไปทุกท้องที่ ตำรวจมีลักษณะเป็นได้ทั้งงานประจำ
และงานเฉพาะกิจ ในลักษณะงานประจำ ตำรวจสายตรวจมักได้รับการกำหนดพื้นที่รับผิดชอบใน
การป้องกันอาชญากรรม และระงับเหตุร้ายภายในระยะเวลาแต่ละผลัดที่ปฎิบัติหน้าที่ ส่วนใน
ลักษณะงานเฉพาะกิจนั้น ตำรวจสายตรวจในทุกเขตพื้นที่คือกำลังหลักที่พร้อมจะรวมตัวในทันที
ที่ได้รับคำสั่งจากศูนย์บัญชาการ เพื่อการปฏิบัติงานเฉพาะกิจที่เร่งด่วน
ยุทธวิธีหลักในการป้องกันอาชญากรรมตามแนวทฤษฎีบังคับใช้กฎหมายคือ การตรวจท้องที่
การปรากฏตัวของตำรวจและเข้าระงับยับยั้งอาชญากรรมเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น องค์ประกอบหลักของ
ยุทธวิธี คือ กำลังตำรวจ อาวุธ เครื่องมือสื่อสาร ยานพาหนะ เขตพื้นที่รับผิดชอบในการตรวจใน
งานประจำ การระดมกำลังรวมตัวกันอย่างเร่งด่วนในกรณีมีเหตุพิเศษ
แนวทางบังคับใช้กฎหมาย และหลักการตำรวจอาชีพ ที่กำหนดขึ้นมาได้รับการยอมรับ
อย่างแพร่หลาย และได้ขยายขอบเขตไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว องค์กรตำรวจอาชีพ
กลายเป็นองค์กรหลักที่จำเป็นของประเทศต่างๆ ในโลก
แนวความคิดของ พอล ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของตำรวจยุคใหม่ระบบตำรวจยุคใหม่
ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อธิบายถึงภาระหน้าที่ของตำรวจที่ต้องตระหนักถึงการ
ป้องกันอาชญากรรม โดยถือเป็นงานหลักของตำรวจที่มีความสำคัญยิ่งกว่าการสืบสวนสอบสวน
การจับกุมและการลงโทษผู้กระทำผิด และยังเป็นพื้นฐานของการก่อกำเนิดแนวทฤษฎีบังคับใช้
กฎหมายเพื่อป้องกันอาชญากรรม จึงได้นำแนวคิดนี้มาใช้เป็นกรอบในการศึกษาครั้งนี้
15
3. ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม (Theory of Crime Control
Through Environmental Design - CED)
เนื่องจากมาตรการหลายประเภทตามแนวทฤษฎีบังคับใช้กฎหมายยังมีคุณประโยชน์ ถ้า
ปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ แทนที่จะยกเลิกและนำมาตรการภายใต้ทฤษฎีตำรวจชุมชน
สัมพันธ์มาประยุกต์ใช้ใหม่ทั้งหมด ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (2526 : 17-22) จึงได้เสนอแนวทฤษฎีที่
สามขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม” (Theory of Crime
Control Through Environmental Design - CED) หรือใช้อักษรย่อว่า “ทฤษฎี ค.อ.ส.”
ทฤษฎี ค.อ.ส. มีลักษณะเป็นความคิดรวม (Synthesis) ระหว่างทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย ซึ่ง
เป็นแนวความคิดริเริ่ม (Thesis) และทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งเป็นแนวความคิดแย้ง
(Antithesis) ทฤษฎี ค.อ.ส. ได้ก้าวไปไกลไปกว่าแนวทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งกำลังพัฒนาอยู่
ในสหรัฐอเมริกา ไวส์เซแนนด์ (Whisenand 1979) เบลี (Bayley 1980) มีโดว์ (Meadow 1980)
และ ซูซูกิ (Suzuki 1980) ในลักษณะมุ่งหักล้างหรือแทนที่ทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย (Theoretical
Utilities) และทางปฏิบัติ (Pragmatic Utilities) แต่ในสถานการณ์และสภาพพื้นที่ที่ต่างกัน จึงสม
ควรทจี่ ะนาํ กรอบทฤษฎแี ละมาตรการภายใตแ้ นวทฤษฎที งั้ สองนมี้ าประยกุ ตใ์ ชใ้ หเ้กอื้ กลู กนั แทนที่จะหัก
ล้างหรือโจมตีซึ่งกันและกัน นอกจากทฤษฎี ค.อ.ส. จะมุ่งประสานแนวทฤษฎีทั้งสองแล้วก็ยังมุ่ง
พัฒนาทฤษฎี (Theoretical Proposition) สำหรับอธิบายปรากฏการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมอาชญากร
ซึ่งเป็นความพยายามที่จะเชื่อมโยงอาชญาวิทยาเข้ากับพฤติกรรมศาสตร์ทั่วไป ทฤษฎี ค.อ.ส. ได้
เสนอข้อกำหนดเบื้องต้น (Basic Assumptions) และมาตรการหรือมรรควิธีการปฎิบัติ (Pragmatic
Means) ไว้ดังนี้
1. ข้อกำหนดเบื้องต้น (Basic Assumptions) ของทฤษฎี ค.อ.ส.
1.1 หลักทฤษฎี ค.อ.ส มุ่งที่จะลดช่องโอกาสสำหรับการประกอบอาญากรรมใน
สภาพแวดล้อม แต่ไม่ได้ละเลยความสำคัญของตัวบุคคล ซึ่งมีแนวโน้มหรือสำนึกที่จะละเมิด
กฎหมาย
1.2 หลักทฤษฎี ค.อ.ส มีความพอเพียงในการควบคุมอาชญากรรมประเภทประทุษร้าย
ต่อทรัพย์ อยู่ในขอบเขตเหมาะสมหรือยอมรับได้
1.3 หลักทฤษฎี ค.อ.ส. มีคุณค่าทางปฎิบัติ (Pragmatic Utilities) ในระดับสูงรวมทั้ง
ส่งเสริมหลักศีลธรรมและมนุษยธรรม
16
1.4 หลักทฤษฎี ค.อ.ส มุ่งสนับสนุนการรวมตัวและสัมพันธภาพระหว่างสุจริตชนใน
สังคม เพื่อให้เกิดแรงต้านทุจริตชนซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยภายในกรอบของกฎหมาย
1.5 หลักทฤษฎี ค.อ.ส. คำว่า “กฎหมาย” หมายถึง กฎหมายซึ่งตราขึ้นเพื่อผล
ประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม
2. มาตรการหรือมรรควิธีการปฎิบัติ (Pragmatic Means)
2.1 กำหนดนโยบายโดยคำนึ่งถึงประชาชนส่วนร่วม และวางผังเมืองให้มีการใช้พื้นที่
เป็นสัดส่วนไม่ปะปนกัน เพื่อลดการแก่งแย่งใช้บริการสาธารณะ เพิ่มสมรรถภาพในการสอดส่อง
ตรวจตรา และเมการควบคุมพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม
2.2 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในพื้นที่แต่ละประเภทให้สอดคล้องกับนโยบายที่กำหนดไว้
2.3 ทำการฝึกอบรมประชาชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรม
ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปแต่ต่อเนื่อง โดยเน้นที่
2.3.1 การผูกสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ให้เกิดความรู้สึกต่อกันเสมือนพี่เสมือนน้อง
2.3.2 การรับผิดชอบร่วมกันต่อส่วนรวมเพื่อป้องกันอาชญากรรม
2.2.3 การปฎิบัติที่ถูกต้องเมื่อประสบเหตุด่วนเหตุร้าย
2.4 ควบคุมการใช้พื้นที่แต่ละประเภท โดยกลุ่มผู้รับผิดชอบหลักและผู้สนับสนุนให้
เหมาะสมกับนโยบายที่กำหนดไว้ ตำรวจเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการควบคุมพื้นที่สาธารณะ ส่วน
ประชาชนผู้อยู่อาศัยควบคุมพื้นที่ในย่านหรือละแวกบ้าน โดยใช้มาตรการเพื่อนบ้านเตือนภัย หรือ
สายตรวจประชาชนเป็นประการสำคัญ
มาตรการทั่วไปในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
มนัส ครุฑไชยันต์ (2530) ได้กล่าวถึง สาเหตุของอาชญากรรมพบว่าเกิดจากเจตนาในการ
กระทำผิด และโอกาสในการกระทำผิด ดังนั้น การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของตำรวจ
นครบาลอาจแบ่งได้ 2 ส่วน ดังนี้คือ
1. การป้องกันอาชญากรรม ได้แก่ การใช้มาตรการและวิธีการต่าง ๆ ที่จะไม่ให้อาชญา
กรรมเกิดขึ้น แบ่งเป็น 3 มาตรการ คือ
1.1 มาตรการป้องกันพื้นฐาน เป็นการปฎิบัติภายใต้แนวความคิดที่สอดคล้องกับองค์
ประกอบของการเกิดอาชญากรรม ซึ่งประกอบด้วย สภาพแวดล้อมของสังคม สถานภาพของผู้ที่
จะประกอบอาชญากรรมและโอกาสในการประกอบอาชญากรรมทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ จะเห็นว่า
17
องค์ประกอบที่เจ้าหน้าที่ป้องกันได้อย่างเดียวคือ ทำให้คนร้ายไม่มีโอกาสหรือมีโอกาสน้อยที่สุด ซึ่ง
จะสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1.1.1 ตัดโอกาสของคนร้ายโดยตรง ด้วยการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจใน
เครื่องแบบปรากฏในพื้นที่ และช่วงเวลาที่เหมาะสมตามข้อมูลอาชญากรรมเช่น ในช่วงเวลาเปิดทำ
การธนาคาร ร้านค้าทอง ไประจำจุดที่สถานที่ท่องเที่ยวหรือชุมชนหนาแน่นในช่วงเวลาตามสถิติ
ของคดี ตรวจพื้นที่เปลี่ยวในเวลากลางคืน ซึ่งล่อแหลมต่อการเกิดเหตุที่ประทุษร้ายต่อทรัพย์ใช้
ตำรวจสายตรวจเป็นหลักในการปฏิบัติ ทั้งสายตรวจรถยนต์ สายตรวจรถจักรยานยนต์ เดินเท้า
ยามจุด และจุดตรวจ
1.1.2 ขจัดมูลเหต ุ คอื การตดั โอกาสของคนรา้ ยโดยทางออ้ ม ภายในขีดความ
สามารถและขอบข่ายอำนาจ ยกเว้น ปัญหาคนยากจน คนตกงาน ผู้ที่ได้รับการศึกษาหรืออบรม
น้อย ซึ่งเป็นมูลเหตุหนึ่งของการเกิดอาชญากรรม ซึ่งนอกเหนืออำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่
จะแก้ไขได้
1.2 มาตรการป้องกันตามปกติ เป็นการกำหนดแนวทางการปฎิบัติให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้ปฎิบัติงาน ผลการป้องกันการเกิดอาชญากรรมทั่วไปในทุกคดี และมีการติด
ตามตรวจสอบการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1.3 มาตรการป้องกันเชิงรุก เป็นมาตรการปฎิบัติที่ใกล้ชิดกับมาตรการปราบปรามแต่
ยังไม่ถึงขั้นการจบั กมุ เปน็ การปฎบิ ตั ทิ เี่ ขา้ ไปใกลค้ นรา้ ยมากขนึ้ กวา่ ในมาตรการปอ้ งกนั ตามปกต ิ
วิธีการนี้เน้นย้ำการกระทำที่สม่ำเสมอโดยไม่หวังผลการจับกุม เพียงแต่มุ่งเน้นในการป้องกันหาก
สามารถจับกุมได้ก็จะเป็นผลต่อการปฎิบัติเพิ่มขึ้น
2. การปราบปรามอาชญากรรม ได้แก่ การใช้มาตรการระงับการกระทำผิด และการจับกุม
ควบคุมอาชญากร เพื่อป้องกันอาชญากรย้อนกลับมาประกอบอาชญากรรมอีก และเป็นการลงโทษ
อาชญากรเพื่อให้เข็ดหลาบ ทั้งยังเป็นเครื่องเตือนใจแก่ผู้ที่คิดจะประกอบอาชญากรรมแบ่งเป็น 2
มาตรการคือ
2.1 มาตรการปราบปรามตามปกติ ได้แก่ การป้องกันและระงับเหตุในขณะเกิด
อาชญากรรมและการสืบสวนติดตามจับกุมภายหลังเกิดเหตุ ตลอดจนการสืบสวนหาข่าวอาชญา
กรรมอย่างต่อเนื่องในทุกวิธี เช่น การปราบปรามอาวุธสงความ อาวุธปืนเถื่อน ยาเสพติด และของ
หนีภาษี
2.2 มาตรการปราบปรามในเชิงรุก เช่น การจัดให้มีการระดมกวาดล้างอย่างสอดคล้องกับ
เหตุการณ์ และสถานภาพอาชญากรรม
18
แนวคิดทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อมของ ปุระชัย เปี่ยมสมบรูณ์ เป็น
แนวคิดที่มีลักษณะเป็นความคิดรวมระหว่างทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นแนวความคิดริเริ่ม และ
ทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่ต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ชุมชนประชาชน
รวมทั้งสถานศึกษาเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาและป้องกันอาชญากรรม จึงได้นำมาเป็นกรอบในการ
ศึกษาครั้งนี้
4. แนวความคิดที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม
ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา
ประเทศมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แนวความคิดที่รัฐบาลได้ใช้ในการพัฒนาชุม
ชน ก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาชุมชนนั้นๆ
เนื่องจากสภาพปัญหาความต้องการ ตลอดจนสภาพภูมิศาสตร์พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง ค่านิยม และวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนที่แตกต่างกันออกไป โกยการยอมรับที่ว่า
ประชาชนในชุมชนเป็นผู้รู้ดีถึงสภาพปัญหาและความต้องการต่างๆ ของชุมชนเป็นอย่งดี ทั้งนี้
เพราะเป็นผู้ที่อาศัยในพื้นที่นั้นมานานอย่างต่อเนื่อง การนำไปสู่กระบวนการในการตัดสินใจในขั้น
ตอนต่างๆ ของการพัฒนา จึงเป็นสิ่งที่ดีเพื่อที่จะได้สร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของและการแก้
ปัญหาของชุมชนได้ตรงจุดกับความต้องการอย่างแท้จริง
การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลให้เกิดความ
สงบสุขแก่ประชาชนอย่างแท้จริง จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งการมีส่วนร่วมนี้
นับเป็นหลักการประการหนึ่งของหลักการพัฒนาชุมชน
ดังนั้น ในเรื่องการมีส่วนร่วมนี้จึงได้มีนักวิชาการ ตลอดจนนักพัฒนาได้ให้แนวความคิดไว้ใน
หลายประเด็น ซึ่งผู้ศึกษาได้นำมากล่าวไว้เท่าที่จำเป็นและมีความสอดคล้องกับแนวทางการศึกษา
ในเรื่องนี้ ดังนี้
ความหมายของการมีส่วนร่วม
อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่าง (2522 : 19) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า การมีส่วน
ร่วมเป็นผลมาจาการเห็นพ้องต้องกัน ในเรื่องความต้องการและทิศทางการเปลี่ยนแปลงซึ่งความ
เห็นพ้องต้องกันนั้นต้องมีมากพอจนเกิดการริเริ่มโครงการเพื่อการปฎิบัติ กล่าวคือ การเห็นพ้องต้อง
19
กันของคนส่วนใหญ่ ที่จะเข้าร่วมปฏิบัติการนั้น และเหตุผลที่มาร่วมปฎิบัติการจะต้องมีความ
ตระหนักว่า การปฏิบัติการทั้งหมดโดยกลุ่มหรือในนามของกลุ่มหรือกระทำผ่านองค์กร ดังนั้นองค์
กรจะต้องเป็นเสมือนตัวทำให้บรรลุถึงความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ (2527 : 183) ได้ให้ความหมายการมีส่วนร่วมว่า เป็นการเกี่ยวข้องทาง
ด้านจิตใจและอารมณ์ (Mental and Emotional Imvolvement) ของบุคคลหนึ่งในสถานการณ์
กลุ่ม (Group Situation) ซึ่งผลของการเกี่ยวข้องดังกล่าว เป็นเหตุเร้าใจให้การทำการ
(Contribution) บรรลุจุดมุ่งหมายของกลุ่มนั้น กับทั้งทำให้เกิดความรู้สึกร่วมรับผิดชอบกับกลุ่มดัง
กล่าวด้วย
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2526 : 139) ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนว่า หมายถึง การ
เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ การร่วมปฎิบัติ
และการร่วมมือรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ อันมีผลกระทบมาถึงตัวประชาชนเอง
ไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ (2531 : 24-25) กล่าวถึง การมีส่วนร่วมของประชาชนว่า เป็นกระบวน
การดำเนินงานรวมพลังประชาชนกับองค์กรของรัฐ หรือองค์กรเอกชน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา
หรือแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยยึดหลักการว่า สมาชิกในชุมชนนั้น ๆ จะต้องร่วมมือกันวางแผน
และการปฏิบัติงาน เพื่อสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาของประชาชนในชุมชน
นอกจากนี้ ไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ ยังได้กล่าวถึงความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชนที่
องค์การสหประชาชาติให้ไว้ ซึ่งเน้นว่าต้องมีความหมายครอบคลุมถึง
1. การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนา
2. การที่ประชาชนมีส่วนช่วยเหลือในการปฎิบัติตามโครงการพัฒนา
3. การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตลอดกระบวนการพัฒนา
เพียร์ส และ สตีเฟน (Pears and Stiefel 1979 : 4 - 8) ได้ให้คำจำกัดความของการมีส่วนร่วม
ของประชาชนว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การที่กลุ่มประชาชนหรือขบวนการ ซึ่ง
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นผู้อยู่วงนอก ได้เพิ่มความสามารถในการควบคุมทรัพยากรและสถาบัน
ต่างๆ ตามสภาวะสังคมที่เป็นอยู่
ลักษณะของการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง อาจมีส่วนร่วมในขั้นตอน
ใดขั้นตอนหนึ่งหรือหลายขั้นตอน หรือทุกขั้นตอนก็ได้ โดยแบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆ ตามประเภทของ
กิจกรรมไว้แตกต่างกัน ตามความคิดเห็นของนักวิชาการต่างๆ ดังนี้
20
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (2527 : 272-273) ได้แยกแยะขั้นตอนที่ประชาชนควรมีส่วนร่วมไว้เป็น 4
ขั้นตอน คือ
1. การทีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา และสาเหตุของปัญหา
2. การมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรม
3. การมีส่วนร่วมในการลงทุนและปฎิบัติการ
4. การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล
ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ (2537 : 83) กล่าวว่า ชุมชนควรมีขอบเขตของการมีส่วนร่วม 4
ลักษณะ คือ
1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการตัดสินใจ
2. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงาน
3. การมีส่วนร่วมของชุมชนในผลประโยชน์
4. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการประเมินผล
ไวส์ (White 1982 : 18) ให้คำจำกัดความ การมีส่วนร่วมประกอบด้วย 3 มิติด้วยกัน คือ
มิติที่หนึ่ง คือ การทีส่วนร่วมในการติดสินใจว่าอะไรควรทำอย่างไร
มิติที่สอง คือ มีส่วนร่วมเสียสละในการพัฒนา ลงมือปฎิบัติการที่ได้ตัดสินใจ
มิติที่สาม คือ มีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินงาน
อีกทั้ง ยังได้เพิ่มเติมว่า สาระสำคัญของการมีส่วนร่วม ประการที่ 4 ที่นำมาพิจารณา คือ
การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
โคเฮน และ อัฟฮอฟ (Cohen and Uphoff อ้างใน สุเมธ ทรายแก้ว 2536 15- 16) กล่าวถึง
ลักษณะการมีส่วนร่วมไว้ ดังนี้
การมีส่วนร่วมโดยทั่วไป หมายถึง การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making) แต่ก็
ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นการตัดสินใจแต่เพียงอย่างเดียว ยังใช้การตัดสินใจควบคู่ไปกับ
การปฎิบัติการ (Implementation) ด้วย เช่น ในการจัดองค์กร การกำหนดกิจกรรมพัฒนา เป็นต้น
การตัดสินใจยังมีความเกี่ยวข้องกับประชาชนในเรื่องของ ผลประโยชน์ (Benefits) และการประเมิน
ผล(Evaluation) ในกิจกรรมพัฒนาด้วย ซึ่งจะเห็นว่าการตัดสินใจนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฎิบั
ติการ แต่ก็เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และการประเมินผลด้วยเหมือนกัน กล่าวคือผลประโยชน์นั้น
เป็นผลมาจากการปฎิบัติการ และผลประโยชน์จะมาเป็นตัวกำหนดให้มีประเมินผล ซึ่งต่างก็ได้รับ
ผลมาจากขั้นตอนการตัดสินใจแล้วทั้งสิ้นนั่งเอง นอกจากนี้จะมีผลสะท้อนกลับ (Feedback) จาก
การประเมินผลและการปฎิบัติการกลับไปสู่การตัดสินใจอีกด้วย
21
จากแนวความคิดดังกล่าว โคเฮน และ อัฟฮอฟ ได้แบ่งลักษณะของการมีส่วนร่วมได้ 4
ลักษณะ คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฎิบัติการ การมีส่วนร่วมในผล
ประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
แบบหรือรูปการของการมีส่วนร่วม
คารี (Cary 1976 : 144) ได้แบ่งรูปการของการมีส่วนร่วม (Aspects of participation) ไว้
เป็น 5 รูปการ คือ
1. เป็นสมาชิก (Membership)
2. เป็นสมาชิกผู้เข้าประชุม (Attendence at Meetings)
3. เป็นสมาชิกผู้บริจาคเงิน(Financial contribution)
4. เป็นกรรมการ(Membership on committees)
5. เป็นประธาน(Position of leadership)
นอกจากนี้ คารี ยังได้แบ่งแบบของผู้มีส่วนร่วม (Types of participations) ออกเป็น 3
แบบคือ
1. ผู้กระทำ(Actor)
2. ผู้รับผลการกระทำ(Recipient)
3. สาธารณชนทั่วไป (Public)
ฉอ้าน วุฑฒิกรรมรักษา (2524 : 16)ได้แบ่งลักษณะการเข้าร่วมออกเป็น “ร่วมประชุม ร่วม
แสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ ร่วมออกแรง ร่วมออกเงิน / วัสดุอุปกรณ์ ร่วมเป็นกรรมการ”
กรรณิกา ชมดี (2524 : 11) ได้สรุปรูปแบบการมีส่วนร่วมออกเป็น 10 แบบ คือ
1. การมีส่วนร่วมประชุม
2. การมีส่วนร่วมออกเงิน
3. การมีส่วนร่วมเป็นกรรมการ
4. การมีส่วนร่วมเป็นผู้นำ
5. การมีส่วนร่วมสัมภาษณ์
6. การมีส่วนร่วมเป็นผู้ชักชวน
7. การมีส่วนร่วมเป็นผู้บริโภค
8. การมีส่วนร่วมเป็นผู้ริเริ่มหรือผู้ใช้แรงงาน
9. การมีส่วนร่วมเป็นผู้ใช้แรงงาน
22
10. การมีส่วนในการออกวัสดุอุปกรณ์
จากการศึกษาความหมาย ลักษณะ และรูปแบบของการมีส่วนร่วม สรุปได้ว่า การมีส่วน
ร่วมของประชาชน หมายถึง การที่บุคคล กลุ่ม หรือชุมชน มีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องที่มีผล
กระทบใดๆ ต่อการดำเนินชีวิตของตนเอง แล้วมีการแสดงให้เห็นถึงความต้องการโดยสมัครใจร่วม
กันเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดการเปลี่ยนแปลง เพื่อตัวประชาชนเอง จนมาสู่การตัดสินใจ
กระทำการเพื่อให้บรรลุถึงความประสงค์นั้นๆ โดยร่วมกันในการระดมความคิด การตัดสินใจ
การวางแผน การปฎิบัติการ การติดตามและประเมินผล รวมตลอดจนถึงการเสียสละเวลา แรง
งาน และทุนทรัพย์ต่างๆ ด้วย
การมีส่วนร่วมระหว่างตำรวจกับประชาชนนั้น มีนักวิชาการต่างๆ ให้ความคิดเห็นไว้ดังนี้
คาร์เวล (Caldwell 1965 : 78) กล่าวถึง การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการของตำรวจ
ว่า การรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน จะเป็นผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่สำหรับ
งานของตำรวจ เพราะการที่ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากประชาชนนั้น จะนำมาซึ่งความ
สะดวกรวดเร็วในการได้รับข่าวสารที่เกี่ยวกับอาชญากรรม และนำไปสู่ความสำเร็จในการสืบสวนที่มี
ประสิทธิภาพ เป็นผลให้การดำเนินคดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ประหยัดงบประมาณ ลดความเสี่ยงภัยต่อ
การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน และยังเป็นผลดีต่อโครงการ ลดอัตราการเกิดอาชญากรรมและการ
กระทำผิดของเด็กและเยาวชนในชุมชนลงได้
ประธาน วัฒนวาณิชย์ (2536 : 24) ได้กล่าวถึงหลักการที่จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน
การป้องกันและลดจำนวนอาชญากรรมในสังคมที่สำคัญ ได้แก่ การกระจายอำนาจในการ
บริหารงานยุติธรรม (Decentralization) พร้อมๆ กับการมีส่วนร่วมของประชาชนได้แก่
1. ประชาชนและชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในความพยายามใด ๆ ที่จะป้องกันอาชญากรรม
2. องค์กรในกระบวนการยุติธรรมจะต้องมีปฎิสัมพันธ์กับประชาชน หรือโครงการที่เอกชน
เป็นผู้ริเริ่มขึ้น
3. จัดให้มีโครงการร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรม ระหว่างภาครัฐและเอกชนในระดับ
ต่างๆ
4. เจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายจะต้องมีหน้าที่ให้การสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ในการป้องกัน
อาชญากรรม
จตุพร บานชื่น (2533) กล่าวว่า การที่ประชาชนจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือสนับสนุนงาน
ของตำรวจนั้น เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างตำรวจกับประชาชน โดยมีทัศนคติ
23
พฤติกรรม และการแสดงออกของแต่ละฝ่ายเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ต่อกันใน
ลักษณะต่างๆ
นอกจากการมสี ว่ นรว่ มของประชาชนตอ่ กจิ การตาํ รวจในปจั จบุ นั ไดแ้ ก  การใหข้ า่ วสาร การ
เป็นพยาน การปฎิบัติตามคำแนะนำ การช่วยชี้เบาะแสของคนร้าย
ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม
การที่ประชาชนจะตัดสินใจเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฎิบัติ และรับผิดชอบในโครงการหรือกิจ
กรรมต่างๆ ทั้งระบบนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางด้านสังคม
และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นคุณลักษณะภายในด้านบุคคลและกลุ่มคน ซึ่งเป็นการรับรู้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจาก
ภายนอก ดังมีผู้ให้ความเห็นไว้ดังนี้คือ
สากล สถิตวิทยานันท์ (2532 : 166-167) ให้ความเห็นว่า การมีส่วนร่วมเกิดแนวความคิด
สำคัญ 3 ประการคือ
1. ความสนใจและความห่วงกังวลร่วมกัน ซึ่งเกิดจากความสนใจและความห่วงกังวลส่วน
บุคคลซึ่งบังเอิญพ้องต้องกันกลายเป็นความสนใจและความห่วงกังวลร่วมกันของส่วนรวม
2. ความเดือดร้อนและความไม่พึงพอใจร่วมกัน ที่มีอยู่ต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่นั้นผลักดัน
ให้พุ่งไปสู่การร่วมกลุ่มวางแผน และลงมือทำงานร่วมกัน
3. การตกลงใจร่วมกันที่จะเปลี่ยนแปลงชุมชนไปในทิศทางที่พึงปรารถนา การตัดสินใจ
ร่วมกันนี้ จะต้องรุนแรงและมากพอที่จะทำให้เกิดความริเริ่มกระทำการที่สนองตอบความเห็นชอบ
ของคนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นๆ
อนุภาพ ถิรลาภ (2528 : 21-22) กล่าวถึงเงื่อนไขพื้นฐานของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเกิด
จากพื้นฐานของประชาชน 4 ประการคือ
1. ประชาชนต้องมีความสามารถที่จะมีส่วนร่วม กล่าวคือ ประชาชนจะต้องมีศักยภาพที่จะ
เข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น ประชาชนจะต้องมีความสามารถในการค้นหาความ
ต้องการ วางแผน จัดการ บริหารองค์กร และการใช้ทรัพยากรในที่สุด
2. ประชาชนจะต้องมีความพร้อมที่จะมีส่วนร่วม กล่าวคือ ประชาชนต้องมีสภาพทาง
เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และกายภาพ ที่เปิดโอกาสให้เข้ามีส่วนร่วม
24
3. ประชาชนต้องมีความประสงค์ที่จะเข้าร่วม กล่าวคือ ประชาชนจะต้องมีความเข้าใจเห็น
ประโยชน์ในการเข้าร่วม จะต้องมิใช่เป็นการบังคับหรือผลักดันให้เข้าร่วม โดยที่ประชาชนมิได้
ประสงค์จะเข้าร่วม
4. ประชาชนจะต้องมีความเป็นไปได้ที่จะเข้ารว่ ม ซงึ่ เปน็ การกระจายอำนาจให้แก่ประชาชน
ในการตัดสินใจ และกำหนดกิจกรรมที่ตนต้องการในระดับที่เหมาะสม ประชาชนจะต้องมีโอกาสและมี
ความเป็นไปได้ที่จะจัดการด้วยตนเอง
สานิตย์ บุญชู (2527 : 10-11) เสนอปัจจัยพื้นฐานในการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ
1. ปัจจุบันของสิ่งจูงใจ จากสภาพความเป็นจริงของชาวบ้านที่จะเข้าร่วมกิจกรรมใดกิจ
กรรมหนึ่งในแง่การร่วมแรง ร่วมทรัพยากร หรืออื่นๆ นั้น มีเหตุผลอยู่ 2 ประการคือ
1.1 การมองเห็นว่าจะได้รับประโยชน์จากสิ่งตอบแทนในสิ่งที่ตนทำไป ซึ่งถือเป็น
เรื่องการกระตุ้นให้เกิดมีสิ่งจูงใจถือ
1.2 การได้รับคำบอกกล่าว หรือชักชวนจากเพื่อนบ้านให้เข้าร่วมโดยมีสิ่งจูงใจเป็น
ตัวนำ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องของการก่อให้เกิดมีสิ่งจูงใจ
2. ปัจจัยโครงสร้างของช่องทางในการเข้ามีส่วนร่วม แม้ว่าชาวชนบทเป็นจำนวนมากจะเห็น
ประโยชน์ของการเข้ามีส่วนร่วมในกิจจกรรมการพัฒนา แต่ก็ไม่อาจเข้าร่วมกิจกรรมได้เนื่องจากการ
เข้าร่วมนั้นมิได้จัดรูปแบบความสัมพันธ์ที่เหมาะสม เช่น ภาวะผู้นำ ลักษณะการทำงาน กฎ
ระเบียบ แบบแผน เป็นต้น ดังนั้น ปัจจัยพื้นฐานทางด้านโครงสร้างของช่องทางการเข้ามามีส่วน
ร่วมจึงควรมีลักษณะดังนี้
2.1 เปิดโอกาสให้ทุกคนและทุกกลุ่มในชุมชน มีโอกาสเข้าร่วมในการพัฒนาในรูป
แบบใดรูปแบบหนึ่ง โดยการเข้าร่วมอาจอยู่ในรูปของการมีส่วนร่วมโดยตรงหรือโดยมีตัวแทนก็ได้
2.2 ควรมีกำหนดเวลาที่แน่ชัดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถกำหนดเงื่อนไขของตนเองได้
2.3 กำหนดลักษณะกิจกรรมที่แน่นอน
3. ปัจจัยอำนาจในการส่งเสริมกิจกรรมของการมีส่วนร่วม โดยปกติที่ผ่านมาในกิจกรรม
หนึ่งๆ แม้ว่าประชาชนจะเห็นด้วยและมีโอกาสเข้าร่วม แต่ไม่อาจกำหนดเป้าหมาย วิธีการ หรือผล
ประโยชน์ของกิจกรรม เพราะสิ่งเหล่านี้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้กระทำ
ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ (2527 : 183 ) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมได้แก่
1. ความศรัทธาที่มีต่อความเชื่อถือบุคคลสำคัญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในกิจกรรมต่างๆ เช่น การลงแขก การบำเพ็ญประโยชน์
25
2. ความเกรงใจบุคคลที่เคารพนับถือ หรือมีเกียรติยศ ตำแหน่ง ทำให้ประชาชนเกิดความ
เกรงใจที่มีจะมีส่วนร่วมด้วย ทั้งๆ ที่ยังมีมีความศรัทธาหรือความเต็มใจ
3. อำนาจบังคับที่เกิดจากบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า ทำให้ประชาชนถูกบีบบังคับให้มีส่วน
ร่วมในการกระทำต่างๆ เช่น บีบบังคับให้ทำงานเยี่ยงทาส ฯลฯ
สุเมธ ทรายแก้ว (2536 : 20-21) ได้เสนอว่า มีบุคคล 4 ฝ่ายต่างมีส่วนสำคัญในการมีส่วน
ร่วมในโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมชนบท ประกอบด้วย ประชาชนในท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น เจ้าหน้า
ที่ของรัฐ และบุคคลภายนอก สำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นยังมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยว
ข้องกับการมีส่วนร่วม ได้แก่
1. อายุและเพศ
2. สถานภาพในครอบครัว
3. ระดับการศึกษา
4. สถานภาพทางสังคม
5. อาชีพ
6. รายได้และทรัพย์สิน
7. ระยะเวลาในท้องถิ่นและสถานภาพการทำงาน
มานิตย์ จันทร์จำเริญ (2535 : 19-20) ได้สรุปปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนไว้ 11 ประการดังนี้คือ
1. การปฏิบัติตนให้คล้อยตามความเชื่อพื้นฐานกล่าวคือ บุคคลและกลุ่มบุคคลดูเหมือนจะ
เลือกวิธีการปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องและคล้ายคลึงกับความเชื่อมั่นพื้นฐานของตนเอง
2. มาตรฐานคุณค่าบุคคล และกลุ่มบุคคล ดูเหมือนจะปฎิบัติในลักษณะที่สอดคล้องกับ
มาตรฐานคุณค่าของตนเอง
3. เป้าหมาย บุคคลและกลุ่มบุคคลดูเหมือนจะส่งเสริม ปกป้อง และรักษาเป้าหมายของ
ตนเอง
4. ประสบการณ์ที่ผิดปกติธรรมดา พฤติกรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางครั้งมีรากฐาน
มาจากประสบการณ์ที่ผิดปกติธรรมดดา
5. ความคาดหมาย บุคคลและกลุ่มบุคคลมักจะทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งคิดว่าตัวเองควรจะต้อง
กระทำเช่นนั้น
6. การมองแต่ตัวเอง บุคคลและกลุ่มบุคคลมักจะทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งคิดว่าตัวเองควรจะต้อง
กระทำเช่นนั้น
26
7. การบังคับ บุคคลและกลุ่มบุคคลมักจะทำสิ่งต่างๆ ด้วยความรู้สึกว่าตนถูกบังคับให้ทำ
8. นิสัยและประเพณี บุคคลและกลุ่มบุคคลมักจะทำสิ่งต่างๆ ซึ่งเรามีนิสัยชอบกระทำเมื่อ
อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ
9. โอกาส บุคคล และกลุ่มบุคคล มักจะเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบการปฎิบัติของสังคม
โดยเฉพาะในทางที่เกี่ยวข้องกับจำนวนและชนิดของโอกาส ตามที่โครงสร้างของสังคมเอื้ออำนวยให้
10. ความสามารถ บุคคลและกลุ่มบุคคลมักจะเข้าร่วมกิจกรรมที่ตนมีความสามารถ
11. การสนับสนุน บุคคล และกลุ่มบุคคล มักจะเริ่มปฎิบัติงานเมื่อเขารู้สึกว่าเขาได้รับการ
สนับสนุน
สรุปได้ว่า ปัจจัยส่วนบุคคล สถานภาพทางสังคม และเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ
ระดบั การศกึ ษา ความเชอื่ คา่ นยิ ม นิสัย ประเพณ ี ตลอดจนความรสู้ กึ นกึ คดิ รวมทั้งการได้รับ
การยอมรับหรือการสนับสนุนจากผู้อื่น เป็นปัจจัยซึ่งเป็นคุณลักษณะภายในของบุคคลหรือกลุ่มคน
ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทั้งสิ้น
สำหรับการติดต่อสื่อสารก็เป็นปัจจัยอีกด้านหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมเพราะการ
ติดต่อสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างบุคคลหรือกลุ่ม
ดังที่ มานิตย์ จันทร์จำเริญ (2535 : 21) ได้สรุปว่า การสื่อสาร คือ การให้หรือการแลกเปลี่ยนข่าว
ข้อมูล ความคิด ความรู้สึก โดยวิธีการพูด การเขียน และการใช้สัญลักษณ์ ซึ่งสอดคล้องกับความ
หมายของการสื่อสารไว้ว่า เป็นการส่งข่าวสาร ข้อมูล แนวความคิด ความรู้สึก ตลอดจนทัศนคติ
จากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง รวมทั้งเป็นกระบวนการทางสังคมที่มนุษย์มีไว้ในการติดต่อกันโดย
การพูด การเขียน และสัญลักษณ์ต่างๆ
การติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการสื่อสารแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูละหว่างบุคคลหรือกลุ่มคน
ทั้งที่เป็นความคิด ความรู้สึก ทัศนคติ หรือข้อเท็จจริงจากบุคคล หรือกลุ่มคนหนึ่งไปยังอีกบุคคล
หนึ่งหรือกลุ่มคนหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการทางสังคมที่มนุษย์ใช้ติดต่อกัน เช่น การพูด การเขียน
หรือการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ทำให้เกิดความรู้สึกและความเข้าใจในเรื่องต่างๆ มากขึ้น และมีผลต่อ
เป้าหมายของการติดต่อสื่อสารนั้น หรือเกิดการปฏิบัติในสิ่งที่ต้องการ
ดังนั้น การติดต่อสื่อสารระหว่างตำรวจกับประชาชน จึงเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจ
ระหว่างสองฝ่าย และมีผลถึงว่า ประชาชนจะเข้าใจการปฎิบัติงานของตำรวจก่อให้เกิดความ
มั่นใจในสมรรถภาพและความตั้งใจจริงของตำรวจ และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการทำงาน และ
มีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ ของตำรวจ
27
นอกจากนี้ ราเวน และ โรบิน (Raven and Rubin 1983 : 356) ได้ชี้ให้เห็นว่า ความรู้
ความเข้าใจที่มีต่อบุคคล กลุ่ม หรือโครงการ มีความสำคัญอย่างมากทีทำให้เกิดการมีส่วนร่วมขึ้น
มา อย่างไรก็ตามความรู้ความเข้าใจที่จะนำไปสู่การเกิดความร่วมมือขึ้นมานี้ ต้องเป็นความรู้
ความเข้าใจที่ผู้ให้ความร่วมมือว่า มีเหตุมีผลในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การ
ที่บุคคลหนึ่งจะให้ความร่วมมือได้นั้น เขาต้องมีความเข้าใจว่าสิ่งที่เขาจะเข้าไปมีส่วนร่วมนั้นมีเหตุมี
ผลหรือเป็นประโยชน์ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ทั้งส่วนตัวหรือส่วนรวมก็ได้
นักวิชาการทั้งสองท่านนี้ยังได้อธิบายต่อไปว่า การที่จะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจและนำไป
สู่การมีส่วนร่วมนั้น ผู้ที่จะขอความร่วมมือจะต้องให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ทำให้เขาเกิดความรู้
ความเข้าใจว่า หากมีการร่วมมือเกิดขึ้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่องานตำรวจชุมชนสัมพันธ์นอกจาก
จะสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการให้ข้อมูลข่าวสารหรือ
การประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับผิดชอบในงานชุมชนสัมพันธ์ได้อีกด้วย
แนวคิดการมีส่วนร่วมของเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ที่ชี้ให้เห็นถึงการร่วมค้นหาปัญหา ร่วมคิด ร่วม
ปฏิบัติ ร่วมรับประโยชน์ เป็นการการติดต่อสื่อสารระหว่างตำรวจกับประชาชน เสริมสร้างความเข้า
ใจระหว่างสองฝ่าย ทำให้ประชาชนจะเข้าใจการปฎิบัติงานของตำรวจ เกิดความมั่นใจในสมรรถ
ภาพและความตั้งใจจริงของตำรวจ พร้อมที่จะให้การสนับสนุนการทำงานและมีส่วนร่วมในโครง
การต่างๆ ของตำรวจ สอดคล้องกับการศึกษาครั้งนี้จึงได้นำมาเป็นกรอบในการศึกษา
5. ทฤษฎีความพึงพอใจ
แอปเปิ้ลไวท์ (Applewhite 1956 : 8) ได้ให้ข้อสนับสนุนเกี่ยวกับความรู้สึกพึงพอใจในงานว่า
เป็นเรื่องของบุคคล ซึ่งเป็นความรู้สึกส่วนตัวของบุคคลในการทำงาน และความพึงใจในการทำงานมี
ความหมายรวมถึง ความพอใจในสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น การมีความสุขที่ได้ทำงานกับ
เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
ความพึงพอใจในชีวิต (Life Satisfaction) (อ้างใน มารศรี นุชแสงพลี 2532 : 25) โดยทั่วไป
มักหมายถึง การประเมินภาพรวมของชีวิตบุคคลหรือเป็นการเปรียบเทียบที่สะท้อนให้เห็นการรับรู้ถึง
ความไม่สอดคล้องกันระหว่างความมุ่งหวัง (Aspirations) กับสัมฤทธิ์ผล (Achievement) ของ
บุคคลที่แสดงให้เห็นว่า ความพึงพอใจเป็นกระบวนการรับรู้ (Cognitive Process) แต่ความสุข
แสดงถึงสภาพความรู้สึก (Affective) หรืออารมณ์ (Mood) คำถามที่เกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิต
28
มักรวมถึงกลุ่มเปรียบเทียบทั้งที่แจ่มชัดและไม่แจ่มชัด (Explicit or Implicit) เป็นการเปรียบเทียบ
กับผู้อื่นหรือรวมถึงด้านเวลาและมักรวมถึงความพอใจในมิติต่างๆ
ในทัศนะของ พอเทอร์มัต (Poitremaud อ้างใน เขมิกา 2527 : 16) กล่าวถึงความพอใจไว้ว่า
ต้องครอบคลุมในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ชีวิตการทำงาน บุคคลต้องมีความพอใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน และ
สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน
2. ความรู้สึกทางอารมณ์ เช่น ความพอใจในเรื่องความรัก
3. ชีวิตครอบครัว หมายถึง ความพอใจในความสัมพันธ์ของตนกับคู่ชีวิต และญาติสนิท
4. ชีวิตสังคม มีความพอใจในกิจกรรมต่างๆ ของสังคม เช่น การเข้าร่วมในองค์กรต่างๆ ทาง
การเมือง ศาสนาหรือองค์การที่ไม่เป็นทางการ
5. การใช้เวลาว่าง มีความพอใจกับกิจกรรมต่างๆ ที่สนใจ
ความพึงพอใจ ตามแนวความคิดของแอบเปิ้ลไวท์ อธิบายถึงความพึงพอใจว่าเป็นเรื่องของ
บุคคล ซึ่งเป็นความรู้สึกส่วนตัวของบุคคลในการทำงาน และหมายรวมถึงความพอใจในสภาพแวด
ล้อมทางกายภาพมีแนวคิดที่ชี้ให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วน
ร่วม จึงได้นำมาเป็นกรอบในการศึกษาครั้งนี้
6. ทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์ (Community Relations Theory)
ประเสริฐ สุนทร (2543 : 23) ได้อธิบายถึง ทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์ถูกเสนอขึ้นมาตั้งแต่ช่วงทศ
วรรษที่ 1920 โดยมีรากฐานมาจากแนวความคิด และผลการวิจัยของนักอาชญาวิทยากลุ่มชิคาโก
หรือ สำนักนิเวศวิทยาอาชญากรรม(The Ecological School of Criminology) ภายใต้การนำ
ของ พาร์ค (Park 1920 ) ซึ่งได้รับอิทธิพลในด้านความคิดเกี่ยวกับความสำคัญของชุมชนจากนัก
วิชาการ 3 ท่าน คือ
1. แนวความคิดของ ดาร์วิน (Darwin 1920) เกี่ยวกับการพึ่งพาอาศัยระหว่างสัตว์และพืช
2. แนวความคิดของ ซิมเมล (Simmel 1920) เห็นว่าคุณลักษณะเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่
มีความสัมพันธ์กันในทางสังคมหรือชุมชน
3. แนวความคิดของ ดัคคิม (Durkheim 1920) พิจารณาละเอียดไปอีกกว่าความหนาแน่น
ของประชากรเป็นปัจจัยที่กระทบต่อความแก่งแย่งทางสังคมและการแย่งงาน
จากแนวความคิดทั้งสามนี้ พาร์ค ได้พยายามจูงใจให้นักอาชญาวิทยาทั้งหลายเห็นความ
สำคัญของปัจจัยต่างๆ ในสภาพแวดล้อมของเมืองที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมอาชญากร ต่อมาจึงได้
29
มีการรวมตัวกันทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1929 เบอร์เกส
(Burgess 1929) ได้เสนอทฤษฎีวงรอบ (Concentric Circles Theory) ในการวิเคราะห์ปัญหา
อาชญากรรม โดยจากแนวทฤษฎีวงรอบนี้ เบอร์เกส พบว่าอาชญากรรมมักมีสถิติสูงในบริเวณใจ
กลางนครชิคาโก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นย่านธุรกิจรวมกับย่านที่อยู่อาศัยชั่วคราว เนื่องจากมีการย้ายเข้า
ออกอยู่เสมอและสถิติอาชญากรรม รวมทั้งปัญหาต่างๆ ของชุมชนจะลดลงทุกขณะเมื่อถอยห่าง
จากใจกลางเมืองออกไป ต่อมาในปี ค.ศ 1942 ชอร์ว และ คณะ (Shaw and Others) ก็ได้นำ
ทฤษฎีวงรอบไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาทุกรกรรมเยาวชนในมหานครชิคาโก ซึ่งก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
จากผลการศกึ ษาวจิ ยั ดงั กลา่ วนี้ นกั ทฤษฎีกลมุ่ ชคิ าโก ได้สรุปว่า การขาดระเบียบในสังคมหรือ
สภาวะแตกแยกของกลไกทางสังคม ที่มีหน้าที่ค้ำจุนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือความร่วมแรง
ร่วมใจ ตลอดจนกำลังใจของสมาชิกในสังคมเป็นสาเหตุเบื้องต้นของการเกิดอาชญากรรม ซึ่งจาก
แนวความคิดตามทฤษฎีนี้เองได้ใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างแนวควาคิดต่อเนื่อง เรียกว่า “หมู่บ้านใน
เมือง (Urban Village)” โดยเขาได้เน้นหนักที่การสร้างความสัมพันธ์ในสังคมหรือชุมชน ด้วยการ
จัดสภาพพื้นที่ในชุมชนให้มีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการเพิ่มปฎิสัมพันธ์ทางสังคมของคนในชุมชน
ต่างๆ นอกจากนี้ จาคอบ และ วูด (Jacobs and Wood) ยังได้เสนอให้มีการจัดชุมชนและเมือง
ให้มีลักษณะสะดวกและง่ายต่อการสังเกตติดตามรวมทั้งสร้างความรับผิดชอบต่อส่วนรวมแก่
สมาชิกในชุมชนอันเป็นการเสริมสร้างแนวทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์ให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น (ประเสริฐ สุนทร
2543 : 23)
สรุปได้ว่าแนวคิดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ เป็นเรื่องของการจัดสภาพทั่วไปไม่ว่าในระดับเมือง
ระดับชุมชน หรือละแวกบ้าน ในลักษณะเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลง่ายต่อการควบคุม
และสังเกตตรวจตรา โดยไม่ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล รวมทั้งมุ่งสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกใน
ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน ทั้งของตนเองและผู้อื่นให้ปลอดภัยจาก
อาชญากรรม นอกจากนั้นนักวิชาการตามแนวทฤษฎีตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ยังได้เสนอให้
มีการปรับบทบาทสำหรับตำรวจเสียใหม่ โดยให้ตำรวจมีบทบาทเป็นฝ่ายวางแผน สนับสนุน และ
ให้คำปรึกษาแก่ชุมชน โดยไม่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการป้องกันอาชญากรรมอีกต่อไป
แนวคิดของพาร์ค ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ในสภาพแวดล้อมของเมืองที่มีผล
กระทบต่อพฤติกรรมอาชญากร มีความสอดคล้องพื้นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาซึ่งใช้เป็นตัวแปรใน
การศึกษาครั้งนี้จึงได้นำแนวคิดของพาร์คทำเป็นกรอบในการศึกษา
30
7. งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ เป็นภารกิจหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่กำหนดให้เป็นงาน
หนึ่งของสถานีตำรวจทุกแห่ง เป็นกิจการรมที่ตำรวจปฎิบัติในการเสริมสร้างแสวงหาความร่วมมือ
จากประชาชน เพื่อให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมหรือชุมชนต่างๆ รวมตัวกัน ร่วมมือประสานงาน
กับตำรวจ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การปฎิบัติงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์
จำแนกได้ 2 ทาง คือ
ทางตรง คือ การจัดการฝึกอบรมสถานศึกษาตามงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์จากเจ้าหน้าที่
ตำรวจ และการเผยแพร่ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ความรู้ต่างๆ ให้แก่ ประชาชนจากงานชุมชนและ
มวลชนสัมพันธ์ ได้แก่ การแจกเอกสารแผ่นพับใบปลิว การติดประกาศเป็นต้น
ทางอ้อม คือ การเผยแพร่ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ความรู้ต่างๆ ให้แก่ประชาชนจากงานชุม
ชนและมวลชนสัมพันธ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น ประกาศในหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ใบ
ปลิว เป็นต้น
“โครงการชุมชนสัมพันธ์” มีการดำเนินการระยะแรกในช่วงปี พ.ศ. 2531 - 2534 เพื่อรองรับ
แผนกรมตำรวจ แม่บท ฉบับที่1 (พ.ศ. 2530 - 2534) เป็นการเริ่มต้นบุกเบิกวางรากฐานให้มีการ
ปฏิบัติงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์อย่างเป็นระบบมีแบบแผนที่ชัดเจน ระหว่างแผนงาน แผนเงิน
และแผนคนที่ต้องมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันอย่างเป็นกระบวนการ การดำเนินงานระยะที่
สองในปี พ.ศ.2535 - 2539 ตามแผนกรมตำรวจ แม่บท ฉบับที่2 (พ.ศ. 2535 - 2539) เป็นการ
ธำรงรักษาความต่อเนื่องและขยายการปฏิบัติให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในระยะที่สามภายใต้แผนกรม
ตำรวจ แม่บท ฉบับที่3 (พ.ศ. 2540 - 2544) โครงการชุมชนสัมพันธ์ได้ถูกปรับเปลี่ยนจากรูป
“โครงการชุมชนสัมพันธ์” มาเป็น “งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์” โดยถือเป็นงานประจำและได้มีการ
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับยุคสมัยตามลำดับ สำนักงาน
ตำรวจแห่งชาติได้ให้ความสำคัญแก่งานนี้มาก ถือเป็นงานสำคัญที่จะเสริมสร้างให้ประชาชนเข้ามา
มีส่วนร่วมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การนำเอาหลักปรัชญาตำรวจด้านชุมชนสัมพันธ์ที่ว่า “ตำรวจคือประชาชนและประชาชนก็คือ
ตำรวจ” มาใช้ในการปฏิบัติโดยเน้นให้เห็นสัมพันธภาพที่ดีระหว่างประชาชนกับตำรวจเป็นสิ่งที่จำ
เป็น และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ตำรวจต้องธำรง
รักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพอันดีนี้ไว้อย่างสม่ำเสมอ งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์จึงเป็นแนวความคิดที่
ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเข้าใจปัญหาของตำรวจ มีสัมพันธ์ภาพอันดีกับตำรวจ และ
31
เข้ามามีส่วนร่วมร่วม และสนับสนุนในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ทั้งนี้ โดยมีเป้าหมาย
สุดท้ายเพื่อให้เกิดความสงบสุขขึ้นในชุมชน และสังคม
ปัจจุบันการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์อยู่ในระหว่างการใช้แผน กรมตำรวจแม่บท ฉบับ
ที่3 (พ.ศ. 2540- 2544) ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อความในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ
ที่8 (พ.ศ. 2540- 2544) ที่มุ่งเสริมงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
และ ยาเสพติดให้โทษ โดยรัฐเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง
และป้องกันตนเองได้มากขึ้น
ปี พ.ศ. 2531 กรมตำรวจ จึงได้กำหนดโครงการ “ตำรวจชุมชนสัมพันธ์” ขึ้น เพื่อให้การ
ปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระบบแบบแผนที่ชัดเจน โดยรูปแบบของการดำเนินงานในระดับสถานี
ตำรวจของกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยให้แต่ละสถานีจัดตั้งชุดปฏิบัติการตำรวจชุมชน
สัมพันธ์ขึ้น ทำให้ปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระบบแบบแผนที่ชัดเจน โดยรูปแบบของการดำเนินงาน
ในระดับสถานีตำรวจนครบาล ได้ให้แต่ละสถานีจัดตั้งชุดปฏิบัติการชุมชนสัมพันธ์ขึ้น 1 ชุด
ประกอบด้วย นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร 1 นาย ชั้นประทวน 4 นาย รวม 5 นาย เจ้าหน้าที่ชุด
ปฏิบัติการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ทุกนาย จะต้องผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ใน
แนวคิด ปรัชญา หลักการ และขั้นตอนในการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ นอกจากนี้ในส่วน
ของการปฏิบัติงานในพื้นที่ ยังได้มีการกำหนดแนวทางในการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายที่จะเข้าไป
ดำเนินการอย่างชัดเจน อาทิเช่น ชุมชนที่เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาอาชญากรรมสูง หรือชุมชนที่เป็นย่าน
ธุรกิจล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม หรือย่านชุมชนแออัดที่มีประชาชนผู้มีรายได้น้อยรวมกันอยู่
ซึ่งเป็นจุดล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม นับได้ว่าการแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน โดย
การดำเนินงานชุมชนสัมพันธ์ของกองบัญชาการตำรวจนครบาลมีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้รวมระยะเวลาประมาณ 10 ปีเศษ
แนวนโยบายงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นงานที่เสริมสร้างให้ประชาชนมีจิตสำนึก และ
ตระหนักถึงการทำหน้าที่พลเมืองดี การปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนตระหนักถึงภัยของอาชญากรรม และมีจิตสำนึกที่จะทำหน้าที่เป็นพลเมือง
ดี มีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ที่จะส่งผลให้บรรลุความสำเร็จของงานชุมชน
สัมพันธ์และเกิดความสงบเรียบร้อยของสังคม
งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนและองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะ
สถาบันการศึกษาที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนนโยบายการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
นโยบายของโครงการเน้นไปที่ชุมชน ในเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรม ปัญหา
32
อาชญากรรมอาจเกิดจากตัวเยาวชนเอง หรือเกิดจากบุคคลอื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ปัญหา
ก่อเหตุทะเลาะวิวาท และทำลายทรัพย์สิน นักเรียนต่างสถาบันตีกัน การพกพาอาวุธผิดกฎหมาย
ปัญหายาเสพติด ที่อาจเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นต่อเยาวชนที่อยู่ในสถาบันการศึกษา กระทรวงศึกษาธิ
การได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรและชุมชนในการป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันสาร
เสพย์ติด การพนัน สื่อลามกอนาจาร และการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา และเยาวชน โดย
จัดกิจกรรมประสานความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดร่วม
กันหลายโครงการร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
ยาเสพติดแห่งชาติ ประสานกับกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นๆ โดยกระทรวงศึกษาธิการ
กำหนดเป็นนโยบายของสถานศึกษาในการดำเนินงานการจัดการด้านกระบวนการเรียนรู้และกิจ
กรรมต่างๆ มีการดำเนินการในการจัดกิจกรรมโครงการต่างๆ อาทิ โครงการโรงเรียนสีขาว
โครงการมัธยมรวมใจต้านภัยยาเสพติด "พลังแผ่นดิน ถิ่นมัธยม" เป็นต้น เพื่อให้ความรู้เรื่องกฎหมาย
ทั่วไป และพิษภัยของยาเสพติดแก่ชุมชน มีความรู้เรื่องการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้
เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างตำรวจและชุมชน
งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาและแก้ไข
ปัญหาสังคม โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรต่างๆ ที่เกิดจากการร่วมคิด ร่วมวาง
แผน ร่วมปฏิบัติและร่วมแก้ไขปัญหา เป็นหัวใจของงานพัฒนาชุมชนที่สำคัญจึงได้นำมาเป็นแนว
ทางในการศึกษา
8. แนวนโยบายของสถาบันการศึกษาในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
กระทรวงศึกษาธิการ (2543 : 2 - 6) ได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การดำเนินงาน เพื่อ
ป้องกันและแก้ไขปัญหา สารเสพย์ติด การพนัน สื่อลามกอนาจาร และการทะเลาะวิวาทในสถาน
ศึกษาขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่มีมาตรการในการดำเนินการเชิงรุก เพื่อให้โรงเรียนและสถานศึกษาใน
สังกัดปลอดสารเสพย์ติด การพนัน สื่ออนาจาร และการทะเลาะวิวาท โดยสร้างแนวร่วมให้ชุมชน
เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และเข้มแข็ง โดยกำหนดโครงการต่าง ๆ ขึ้น
และนโยบายของกระทรวงศึกษาที่กำหนดให้เป็นแนวทางในการดำเนินงานแก่ สถานศึกษา และบรรจุไว้
ในแผนงานของสถานศึกษานั้นๆ
33
ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติในการป้องปรามสารเสพย์ติด การพนัน สื่อลามกอนาจาร และ
การทะเลาะวิวาทในสถานศึกษา
1. บทบาทของโรงเรียน
1.1 จัดคณะกรรมการประกอบด้วยครู นักเรียน ผู้ปกครอง ตำรวจ นักธุรกิจ เพื่อจัด
กิจกรรมประกันความปลอดภัย และต่อต้านสารเสพย์ติด การพนัน สื่อลามก และการทะเลาะวิวาท
1.2 จัดกิจกรรมการเรียน การสอนให้นักเรียนสนุกท้าทาย และเอาใจใส่การเรียน
1.3 ประกาศนโยบายของโรงเรียนให้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดี และไม่พึง
ปรารถนาและประชุมชี้แจงนักเรียนและผู้ปกครอง
1.4 ติดต่อสถานีตำรวจในพื้นที่ เพื่อประสานงานขอความร่วมมือในกรณีเกิดเหตุ
1.5 บันทึกประจำวัน และรายงานเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น เพื่อลงมือแก้ไขให้
ทันท่วงที และรายงานหน่วยงานต้นสังกัด
1.6 เชิญผู้ปกครอบมาร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนอยู่เสมอ
1.7 กำชับให้ครูทุกคนเป็นต้นแบบพฤติกรรมที่ดี และเป็นที่เคารพเลื่อมใส
1.8 เชิญวิทยากรในชุมชนร่วมกิจกรรมสนับสนุนคุณธรรมจริยธรรม
1.9 สนับสนุนการจัดกิจกรรมนักเรียนให้รู้จักทำงานเป็นกลุ่ม
2.บทบาทสำหรับนักเรียน นักศึกษา
2.1 เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรณรงค์ต่อต้านสารเสพย์ติด การพนัน สื่อลามกอนาจาร
และการทะเลาะวิวาท
2.2 คณะกรรมการ/สภานักเรียนจัดกิจกรรมด้านความปลอดภัย และการส่งเสริม
วินัยของโรงเรียน
2.3 จัดกิจกรรมเพื่อเตือนเพื่อน
2.4 ฝึกประชาธิปไตยในกลุ่มนักเรียนให้รู้จักเคารพสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น
2.5 แจ้งเบาะแสผู้เล่นการพนัน หัวโจก เพื่อนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนให้ครูและผู้
บริหารทราบ
2.6 เคารพในกฏกติกามารยาทของนักเรียนที่พึงปฏิบัติ
2.7 เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน และตระหนักถึงความปลอดภัยจากสิ่งแวด
ล้อมรอบโรงเรียน
2.8 ร่วมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
34
2.9 ชักชวนผู้ปกครองให้เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน
2.10 ปฏิบัติตนเป็นพี่ที่ดีต่อรุ่นน้องและเพื่อนที่ดีในกลุ่ม
2.11 นักเรียนหญิงควรได้ฝึกทักษะการป้องกันตัวเพื่อความปลอดภัย และนักเรียน
ชายได้ทัศนศึกษางานของตำรวจ ทัณฑสถาน และบ้านพินิจเยาวชน
3. บทบาทของผู้ปกครอง
3.1 ฝึกอบรมบ่มนิสัยให้บุตรหลาน ให้มีระเบียบวินัย รับผิดชอบในการเรียน และ
รับผิดชอบตนเอง
3.2 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้ความอบอุ่นเป็นที่พึ่งได้ของลูก
3.3 ตักเตือนบุตรหลานให้อยู่ในระเบียบวินัยที่ดีงาม และสอดส่องดูแลโรงเรียนให้มี
มาตรการความปลอดภัย
3.4 ซกั ถามถงึ กจิ กรรมทโี่ รงเรยี น เพอื่ ตรวจสอบสภาพของเด็กเมื่ออยู่ในสถานศึกษา
3.5 หมั่นไปพบอาจารย์ประจำชั้นเข้าร่วมประชุมผู้ปกครอง เข้าร่วมกิจกรรมของ
โรงเรียน
3.6 ระมัดระวังมิให้เด็กริทดลองยาเสพย์ติด เล่นการพนัน สะสมสื่อลามก เข้ากลุ่ม
เพื่อนอันธพาล และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3.7 ให้เวลาอยู่กับบุตรหลาน เพื่อสร้างความอบอุ่น ดูแลมิให้เด็กดูโทรทัศน์ที่ก้าว
ร้าวรุนแรง และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4. บทบาทของชุมชน
4.1 ร่วมเป็นคณะกรรมการความปลอดภัยของโรงเรียน
4.2 ให้ความร่วมมือโรงเรียนในกิจกรรมต่างๆ
4.3 สนับสนุนให้โรงเรียนมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่น
4.5 สำหรับเจ้าของธุรกิจสนับสนุนให้พ่อแม่ที่ทำงานด้วยไปร่วมกิจกรรมโรงเรียน
4.6 เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าเยี่ยมชม หรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการ
ของชุมชน
4.7 สนับสนุนเงินทุนเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กยากจนในชุมชน
4.8 ช่วยสอดส่องดูแลพฤติกรรมของเยาวชน และแจ้งเบาะแสเยาวชน และครูที่มี
พฤติกรรมเสี่ยงต่อผู้บริหารโรงเรียน
35
กระทรวงศึกษาธิการได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร และชุมชนในการป้องกัน
แก้ไข และสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพย์ติด การพนัน สื่อลามกอนาจาร และการทะเลาวิวาทให้แก่นัก
เรียน นักศึกษา และเยาวชน โดยจัดกิจกรรมประสานสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องกับ
หน่วยงานต่างๆ ดังนี้
1. สำนักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ ได้ร่วมมือกับ
กระทรวงศึกษาธิการในการป้องกันและปราบปราม โดยการประสานงาน สนับสนุนงบประมาณ
ดำเนินการ และจัดทำโครงการที่สอดคล้องกัน
2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการป้องกัน
และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาโดยจัดทำโครงการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสารเสพย์ติด
เป็นส่วนหนึ่งของงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ โดยได้เริ่มจากโครงการนำร่องดังนี้
2.1 งานตำรวจประสานงานประจำโรงเรียน โดยได้ดำเนินการนำร่องในสถาน
ศึกษาส่วนกลาง สังกัดกรมสามัญศึกษา 11 โรงเรียน และสังกัดกรมอาชีวศึกษา 23 โรงเรียน รวม
140 โรงเรียน
2.2 โครงการ D.A.R.E (Drug Abuse Resistance Education) ซึ่งดำเนินการโดย
ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ผ่านการอบรมพิเศษไปให้ความรู้เกี่ยวกับภัยสารเสพย์ติดแก่ เยาวชนในสถานศึกษา
3. กองทัพบก ได้มีข้อตกลงร่วมกับกระทรวงศึกษาในการช่วยพัฒนาเยาวชนและทหาร
ซึ่งตกลงกันเมื่อ 29 ธันวาคม 2542 ในเรื่อง การดำเนินโครงการต้านสารเสพย์ติดในโรงเรียน อาทิ
โครงการ โรงเรียนสีขาว ครู ตำรวจ ทหาร ร่วมกันต้านยาเสพติด การผลิตรายการโทรทัศน์และวิทยุ
เพื่อรณรงค์ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสารเสพย์ติด การพนัน สื่อลามกอนาจาร และการทะเลาะวิวาท
การดำเนินงานค่ายพัฒนาจิตใจเยาวชน สำหรับนักเรียน นักศึกษาซึ่งสถาบันการศึกษาพิจารณาเห็น
สมควรนำเข้าฝึกอบรม และการฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะวิชาชีพสำหรับทหารที่ต้องการเพิ่มพูน
ความรู้และประสบการณ์ โดยจัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
4. สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย ดำเนินการร่วมกับกระทรวงศึกษา โดย
อาศัยหลักเพื่อนเตือนเพื่อน เป็นโครงการอาสากาชาดนักเรียนแกนนำต้านภัยยาเสพติด
5. กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการตรวจสุขภาพ และ
สนับสนุนเครื่องตรวจปัสสาวะ การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพย์ติด
6. องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการศึกษาเด็ก และเยาวชน ที่มีความสำคัญเป็น
ที่ยอมรับในสังคมไทยสูงสุด 6 องค์กร อาทิ มูลนิธิพิทักษ์เด็ก มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก มูลนิธิพัฒนาเด็ก
เป็นต้น ได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาคณะทำงานโครงการ
36
7. บริษัท อาร์ เอส โปรโมชั่น ได้ร่วมสนับสนุน รณรงค์ และประชาสัมพันธ์ต่อต้านการ
เสพสารเสพติด โดยจัดศิลปินยอดนิยมในสังกัดเข้าร่วมเป็นผู้รณรงค์
แนวนโยบายของสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ได้ชี้ให้เห็นถึง การดำเนิน
งานของสถาบันการศึกษาที่มีส่วนร่วมกับองค์กรต่างๆ และตำรวจในการที่จะป้องกันปัญหาสาร
เสพย์ติด การพนัน สื่อลามกอนาจาร และการทะเลาะวิวาทในชุมชน จึงได้นำแนวนโยบายนี้
มาเป็นกรอบในการศึกษาครั้งนี้
9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
อุบลวรรณ สืบบุคคล (2529) ได้ศึกษาปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการ
พัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย โครงการพื้นที่นครบางบัว กรุงเทพมหานคร พบว่า ความรู้
ความเข้าใจในหลักการโครงการ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของ
หัวหน้าครัวเรือน
ขวัญชัย วงศ์นิติกร (2535 : 110-111) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการ
พัฒนาชุมชนของผู้อยู่อาศัยในเขตบ้านจัดสรรชานเมือง หมู่บ้านจัดสรรเทพประทาน อำเภอบางกรวย
จังหวัดนนทบุรี พบว่าฐานะทางเศรษฐกิจ การเป็นผู้นำทั้งนอกและในชุมชน การเป็นสมาชิกกิจกรรม
การติดต่อกับผู้นำ และการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมในชุมชน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วน
ร่วมในการพัฒนา ส่วนระดับการศึกษา และความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการบริหารชุมชนหมู่บ้าน
ตนเอง ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
ดสิ ดยั ภูริปโชต ิ (2537) ได้ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความร่วมมือของประชาชนใน
งานตำรวจชุชนสัมพันธ์ ในเขตกองบังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี พบว่าประชาชนที่ให้ความร่วม
มือต่องานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในระดับสูง ได้แก่ ประชาชนเพศชายมีอายุระหว่าง 26 – 40ปี และ
ประชาชนที่มีทัศนคติเห็นด้วยกับงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ส่วนเพศหญิง กลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 26
ปี ลงมา ให้ความร่วมมือในระดับต่ำ ส่วนกลุ่มประชาชนที่มีระดับการศึกษาและความรู้ความเข้าใจ
ต่างกันมีระดับการให้ความร่วมมือไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่องานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์ได้แก่ เพศ อายุ และทัศนคติ ส่วนระดับการศึกษาและความรู้ความเข้าใจไม่ปรากฏว่ามีผล
กระทบต่อความร่วมมือแต่อย่างใด
37
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมพบว่า
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการ
ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
ปกรณ์ มณีปกรณ์ (2539) ได้ศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของคนไทยเชื้อสายจีนต่องานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์ ศึกษาเฉพาะกรณี ชุมชนชาวจีนในเขตเลือกตั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร พบว่าผู้ที่รู้จัก
ตำรวจเป็นการส่วนตัว ผู้ที่เคยปฎิบัติงานร่วมกับตำรวจมาก่อนรวมทั้งผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่ออาชญา
กรรม จะมีส่วนร่วมมากกว่าผู้ที่ไม่เคยรู้จักตำรวจเป็นการส่วนตัว ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติงานร่วมกับ
ตำรวจมาก่อน และผู้ที่ไม่เคยตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม สำหรับทัศนคติต่อผลสัมฤทธิ์ของการ
ปฏิบัติงาน ทัศนคติต่อการประชุมวางแผนร่วมกับผู้นำชุมชน ความรู้ความเข้าใจต่อขั้นตอนการ
ดำเนินงาน และความรู้ความเข้าใจต่อจุดมุ่งหมายของโครงการ มีอิทธิพลต่อระดับการมีส่วนร่วม
ของประชาชน
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผู้ที่เคยทราบเกี่ยวกับงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์มาก่อนจะมีส่วนร่วมสูง
สุด ส่วนผู้ที่ไม่เคยทราบเกี่ยวกับงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์มาก่อนจะมีส่วนร่วมต่ำสุด และผู้ที่ทราบ
ปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่จะมีส่วนร่วมมากกว่าผู้ที่ไม่เคยทราบปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่
ปัญญา ธนสัมบัญ (2535) ได้ศึกษาเรื่องนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติศึกษาเฉพาะ
กรณีงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ของกองบัญชาการตำรวจนครบาลพบว่า
1. ความเข้าใจ ทัศนคติในทางบวก ความเชื่อมั่น ความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจ กับ
ประชาชนในชุมชนที่มีโครงการสูงกว่าชุมชนทีไม่มีโครงการ
2. การสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของประชาชร ในการปฏิบัติงานของตำรวจในการป้องกัน
ปราบปรามอาชญากรรม เปรียบเทียบระหว่างก่อนมีโครงการและหลังมีโครงการของชุมชนที่มีโครง
การและชุมชนที่ไม่มีโครงการ พบว่า ความเข้าใจทัศนคติในทางบวก ความเชื่อมั่น ความสัมพันธ์อัน
ดี การสนับสนุน และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อตำรวจในการป้องกันและปราบปราม
อาชญากรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
มรกต ไศละบาท (2529 : 109) ได้ศึกษาเรื่องภาพพจน์และความคาดหวังเกี่ยวกับการปฎิบัติ
หน้าที่ของตำรวจ ได้บรรยายถึงการที่ประชาชนส่วนใหญ่มีภาพพจน์ต่อตำรวจค่อนข้างไปในทางลบ
เพราะหตุผลสำคัญคือปัญหาระหว่างความสัมพันธ์ของตำรวจกับประชาชนที่อาจจะแสดงพฤติกรรม
ไม่เหมาะสมต่อประชาชน โดยเฉพาะอ่างยิ่งในประเด็นเกี่ยวกับการมีมนุษย์สัมพันธ์ ความสุภาพ
อ่อนโยน การก้าวร้าวข่มขู่ รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นพึ่งของประชาชน ที่อาจจะยังไม่สอด
38
คล้องกับความคาดหวังของประชาชน ทั้งนี้เพราะแทนที่ประชาชนซึ่งเคยติดต่อกับตำรวจจะมีความรู้
สึกอบอุ่นหรือปลอดภัย แต่กลับมีผลตรงกันข้าม กล่าวคือ กลับรู้สึกว่าประพฤติตัวเป็นนายประชา
ชนหรือข่มขู่ประชาชน ซึ่งในประเด็นนี้ทางตำรวจน่าจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงในแนวทางการให้
บริการแก่ประชาชน รวมทั้งไม่ควรเลือกปฎิบัติต่อประชาชนบางกลุ่มหรือบางสถานภาพ เพื่อจะได้
ช่วยกันสร้างสรรค์ ภาพพจน์ใหม่ของตำรวจในสายตาประชาชน
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมพบว่า
ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปราม
อาชญากรรม
พ.ต.ท.สมชัย เจริญทรัพย์ (2535 : 44) ได้ศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อการมีส่วนร่มในการ
ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ของประชาชนในชุมชนประชานิเวศน์ 3 อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
ซึ่งผลการศึกษาทัศนคติของประชาชนเป็นดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ได้ผลน้อย
2. เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ไม่คุ้มค่าภาษีอากร
3. เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ไม่รวดเร็ว
4 .เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยมีมนุษย์สัมพันธ์น้อย
5. เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ไม่ค่อยซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
6. เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ไม่ค่อยเสมอภาค
7. เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ไม่ค่อยให้ความเป็นธรรม
ซึ่งปัญหาทั้ง 7 ข้อ เป็นปัญหาที่ทำให้ประชาชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจใน
การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม เพราะประชาชนไม่ค่อยพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้า
หน้าที่ตำรวจ ซึ่งผู้บังคับบัญชาควรพิจารณาแก้ไขอย่างจริงจังเพื่อให้ได้มาซึ่งความร่วมมือของ
ประชาชนอย่างเต็มใจ
พรรณี โชตนะ (2526) ได้ศึกษาเรื่อง การต่อต้านอาชญากรรมในทัศนะของประชาชน
ศึกษาเฉพาะกรณี แจ้งเหตุ 191 ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพระโขนงในปี พ.ศ. 2525 พบ
ว่า ประชาชนเห็นว่าตำรวจเป็นที่พึ่งหน่วยแรก เมื่อมีอาชญากรรมเกิดขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ภาพ
พจน์ของตำรวจในสายตาของประชาชนไม่ดีนัก ประชาชนไม่มั่นใจในความประพฤติของเจ้าหน้าที่
ตำรวจ เกรงว่าจะไม่ได้รับความยุติธรรมจากการปฎิบัติหน้าที่ของตำรวจ และความล่าช้าในการปฎิ
บัติงาน การต้อนรับ หรือการบริการที่ไม่ดีเป็นอุปสรรคต่อการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
39
ในทำนองเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าประชาชนมีทัศนคติทีไม่ดีต่อตนเอง เนื่องจาก
ไม่เข้าใจการปฎิบัติงานในหน้าที่ของตำรวจ
Kaufman (1949 : 110 -124 ) กล่าวว่า อายุ เพศ ขนาดครอบครัว อาชีพ รายได้ และความ
ยาวนานในการอาศัยอยู่ในท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
พบว่า ความพึงพอใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วม
ในการป้องกันปราบปรามอาชญกรรม
ด้วยวัตถุประสงค์ที่ยต้องการนำเสนอเพื่อเป็นพื้นฐานนำไปสู่คำอธิบายปัจจัยตัวแปรที่มีความ
สัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
หนังสือ งานวิจัย การสอบถาม และการสัมภาษณ์ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบสอบถาม
เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำมาทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติที่เหมาะสม รวม
ไปถึงทดสอบสมมติฐาน สรุปผล และเสนอข้อเสนอแนะ โดยมีรายละเอียดดังนี้
การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์ และนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษาและสำนักงานการศึกษาเอกชน ที่อยู่ในพื้นที่ของสำนักงานเขตธนบุรี ซึ่งได้
จากข้อมูลของสำนักงานเขตธนบุรี (2545) ที่มีอยู่จำนวนทั้งสิ้น 26 โรงเรียน (ไม่รวมโรงเรียนที่
สังกัดกรุงเทพมหานคร เนื่องจากยังไม่มีโรงเรียนขยายโอกาสเข้าร่วมโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์)
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ได้จากการนำรายชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตธนบุรีทั้งหมด จำนวน
26 โรงเรียน นำมาแยกเป็น 2 ประเภท คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 4
โรงเรียน และโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 22 โรงเรียน มาเป็น
กลุ่มตัวอย่าง และเลือกโดยใช้หลักเกณฑ์ 15% ซึ่งเป็นเกณฑ์ต่ำสุดจากหลักวิธีคิดกลุ่มตัวอย่างของ
บุญชม ศรีสะอาด (2540 : 24-27) โดยใช้วิธีการเลือกจากโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญ
ศึกษา จำนวน 1 โรงเรียน และโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 3
โรงเรียน โดยเลือกเฉพาะโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ รวม 4 โรงเรียน
และใช้วิธีการส่งแบบสอบถามด้วยวิธีเจาะจง ไปยังผู้บริหาร ครู อาจารย์ และนักเรียนที่เข้าร่วมงาน
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์แต่ละโรงเรียน
41
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามจำนวนของผู้บริหาร ครู อาจารย์โรง
เรียนมัธยมศึกษาแต่ละโรงเรียนที่เข้าร่วมงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ตามสัดส่วน 15% ซึ่งเป็นเกณฑ์
ต่ำสุดจากหลักของบุญชม ศรีสะอาด (2540 : 24-27) จำนวน 40 ชุด แต่ละโรงเรียนตามสัดส่วนที่
กำหนด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามโดยมีเนื้อหาดัง
ต่อไปนี้
ลักษณะของแบบสอบถาม
ลักษณะแบบสอบถาม เป็นแบบสอบถามที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับ
เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ประเภทของโรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นแบบสอบถาม
ปลายปิด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามวัดความคิดเห็นและความพึงพอใจเกี่ยวกับปัจจัยภายนอก
จำนวน 30 ข้อ เป็นคำถามในเชิงบวก และเชิงลบอย่างละ 5 ข้อ มีรายละเอียดดังนี้
1. คำถามเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ (10 ข้อ)
2. คำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ (10 ข้อ)
3. คำถามเกี่ยวกับความพึงพอใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (10 ข้อ)
4. คำถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมธั ยมศกึ ษาในงานตาํ รวจชุมชนสัมพันธ์
เพื่อใช้วัดระดับความคิดเห็น และระดับความพึงพอใจจากแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ
งานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยพัฒนามาจาก
แบบสอบถามของ ประเสริฐ สุนทร ด้านการมีส่วนร่วมในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์โดยดัดแปลงมา
จากแบบสอบถามของ วันธิกรณ์ นุเกตุ และของ กรรณิกา ชมดี คือ เลือกเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับ
การมีส่วนร่วมมาใช้ ร่วมกับข้อมูลจากการสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องนำมาสร้างแบบ
สอบถามโดยใช้การประมาณค่า 5 ระดับสำหรับวัดความคิดเห็นเป็นการวัดแบบช่วง ได้แก่ 1-ไม่
เห็นด้วย 2-เห็นด้วยน้อย 3-เห็นด้วยปานกลาง 4-เห็นด้วยมาก 5-เห็นด้วยมากที่สุด และสำหรับ
42
วัดความพึงพอใจแบบช่วง ได้แก่ 1-ไม่พึงพอใจ 2-พึงพอใจน้อย 3-พึงพอใจปานกลาง 4-พึง
พอใจมาก 5-พึงพอใจมากที่สุด มีรายละเอียดและเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
เกณฑ์การให้คะแนนของแบบสอบถามในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 5 ระดับ
แปลผลจากคะแนนของแบบสอบถาม โดยรวมคะแนนจากแบบสอบถามทั้ง 30 ข้อ
แล้วใช้ค่าเฉลี่ย (∼X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ของกลุ่มปัจจัยภายนอก
เนื่องจากลักษณะแบบทดสอบที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ เป็น
การเลือกตอบโดยใช้มาตรของ ลิเคิร์ต (Likert Scale) แต่ละข้อมีคะแนนเป็น 1, 2, 3, 4, 5
ดังนั้น เกณฑ์การพิจารณาขอบเขตของคะแนนเฉลี่ยเพื่อใช้ในการแปลผลตามความหมายของ
ข้อมูล จึงกำหนดไว้เป็น 3 ระดับ ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
พิสัย = (คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ำสุด) / 3
= (5 - 1 ) / 3
= 1.33
จากเกณฑ์ดังกล่าว จึงสามารถกำหนดระดับความคิด และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
ได้ดังนี้
3.67 - 5.00 หมายถึง อยู่ในระดับสูง
2.34 - 3.66 หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง
1.00 - 2.33 หมายถึง อยู่ในระดับต่ำ
ส่วนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วมกับการดาํ เนนิ งานของโรงเรยี นมธั ยมศกึ ษาใน
งานตาํ รวจชุมชนสัมพันธ์ที่พึงประสงค ์ เปน็ แบบสอบถามปลายเปดิ ให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความ
คิดเห็นถึงรูปแบบการมีส่วนร่วมที่พึงประสงค์ ซึ่งนำใช้ในการสรุปรูปแบบการมีส่วนร่วมของ โรง
เรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่พึงประสงค์
43
การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามให้มีคุณภาพ ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือด้วยตนเองโดย
รวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ และข้อมูลจากโรงเรียนมัธยมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาเป็นแนวทางในการสร้าง
แบบสอบถาม
เมื่อทำการสร้างแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบ
คุณภาพของเครื่องมือและดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ (Validity) ได้นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปหา
ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยเสนอนำแบบสอบถามฉบับร่างไปให้กรรมการวิทยา
นิพนธ์ จำนวน 3 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ท่าน ที่มีประสบการณ์ทางด้านการบริหารการ
ศึกษา และด้านวิชาการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เพื่อตรวจสอบ
ความสมบูรณ์ของเครื่องมือในด้านเนื้อหาคำถาม เพื่อให้ครอบคลุมและวัดได้ตรงตามที่ต้องการวัด
รวมทั้งตรวจสอบความเป็นปรนัย (Objectivity) ของคำถาม คำตอบแต่ละข้อเพื่อให้ได้ข้อคำถามคำ
ตอบที่ชัดเจน ถูกต้อง เมื่อผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามมา
ทำการปรับแก้ให้เหมาะสมทั้งภาษาและเนื้อหาตามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
เพื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพด้านอำนาจการจำแนกของข้อคำถาม ความเที่ยงตรงของเครื่องมือ เพื่อ
นำไปใช้จริง
2. การทดลองใช้แบบสอบถาม (Try Out) นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้
ประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งไม่ได้ถูกจัดเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้
จำนวน 30 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบภาษาที่ใช้ให้เป็นที่เข้าใจกันเมื่อนำแบบสอบถามไปใช้จริง
3. การตรวจสอบอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม (Discrimination) นำข้อมูลที่
ได้จากแบบสอบถามมาตรวจสอบคุณภาพด้วยอำนาจจำแนกรายข้อของข้อคำถามด้วยการทดสอบ
หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (∼X ) ระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำตามเทคนิค 25 % ของลิเคอร์ต
(Likert) โดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย แบ่งเป็นกลุ่มสูง 25 % และกลุ่มต่ำ 25% แล้วนำมา
เปรียบเทียบกันด้วยสูตร t-test คัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่า t-test ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไปนำไปใช้จริง โดยถือ
ว่าเป็นอำนาจจำแนกที่ใช้ได้ การคำนวณหาคะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐานรายข้อของแต่
ละกลุ่ม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ϒ = 0.05
44
4. ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) ด้วยการวัดความคงที่ภายใน
(Internal Consistency) ด้วยวิธี Coefficient Alpha ของ Cronbach
คำนวณหาค่าความเชื่อมั่นจากแบบสอบถามจำนวน 30 ชุด ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างที่มี
ลักษณะไกล้เคียงกับกลุ่ตัวอย่างที่นำมาศึกษาได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.7686
5. ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของแบบสอบถามขั้นสุดท้าย ภายใต้ข้อบกพร่องที่
ค้นพบจากการตรวจสอบทั้งหมด ทั้งในด้านการใช้สำนวนภาษาในข้อคำถามให้เข้าใจง่ายและเข้าใจ
ตรงกัน มีความสมบูรณ์ในเนื้อหาที่ต้องการทราบ มีความสามารถในการจำแนกและมีความเที่ยงตรง
มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ แล้วจึงนำไปทำการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจริง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยทำเป็นหนังสือขอความร่วมมือจาก บัณฑิต
วิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ส่งไปยังผู้บริหารของสถานศึกษา เพื่อขอความร่วม
มือในการตอบแบบสอบถาม
ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ผู้วิจัยพยายามเก็บแบบสอบถามกลับมาให้ได้มากที่สุดด้วยการมี
จดหมายปะหน้าทุกชุด เพื่อชี้แจงผู้ตอบแบบสอบถามไม่ต้องระบุชื่อ นามสกุล สำหรับการตอบแบบ
สอบถาม ผู้วิจัยจะนำเสนอผลการวิจัยในภาพรวม เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามมีความสบายใจที่จะ
ตอบแบบสอบถามตามความคิดเห็น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิจัยครั้งนี้ โดยจะใช้เวลาในการ
เก็บรวบรวมข้อมูลประมาณ 1 เดือน
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนำมาวิเคราะห์ ทำการลงรหัสจากนั้นได้
นำไปวิเคราะห์ทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows และใน
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ทางสถิติในการวิจัยครั้งนี้ ใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
(ϒ = 0.05) เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานในการวิจัย
45
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่า
เฉลี่ย ของคะแนนตัวแปรทุกตัวในกลุ่มตัวอย่างตัวแปรอิสระ เพื่ออธิบายตัวแปรทุกตัวที่ใช้ในการ
วิจัยครั้งนี้ ตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบอัตราส่วน (Ratio Scale) และแบบช่วง (Interval Scale)
ใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการอธิบายตัวแปรที่นอกเหนือจากที่ใช้วัดด้วย
ค่าความถี่ และค่าร้อยละ
2. การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยภายภายนอก โดยนำมาพิจารณา
ผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
การทดสอบสมมติฐาน
กำหนดสมมติฐานจากตัวแปรทุกตัวในกลุ่มปัจจัยส่วนบุคคล และ ปัจจัยภายนอก โดยผู้วิจัย
ได้ตั้งสมมติฐานย่อยไว้ดังนี้
สมมติฐานที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
สมมติฐานที่ 2 ความสัมพันธ์ที่ดีของโรงเรียนมัธยมศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความ
สัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
สมมติฐานที่ 3 ความพึงพอใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
สถิติที่ใช้วิเคราะห์สมมติฐานข้อ 1-3 คือ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
(ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ 2540 : 172-176)
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา “การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์ ศึกษากรณี : โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตธนบุรี“ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและ
ประมวลผลในเชิงปริมาณ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยขอนำเสนอผลการวิจัย
และวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่ 2 การหาค่าระดับของตัวแปร
ส่วนที่ 3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปร
ส่วนที่ 4 การทดสอบสมมติฐาน
ส่วนที่ 5 แนวทางที่เหมะสมในการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์กับโรงเรียนมัธยมศึกษา
ผลการศึกษาปรากฏดังต่อไปนี้
1.ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ : กรณี
ศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตธนบุรี ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมด้วยตนเอง โดยทำเป็น
หนังสือขอความร่วมมือจาก บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ส่งไปยังผู้
บริหารของสถานศึกษา เพื่อขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้รับอยู่ในสภาพ
สมบูรณ์พอที่จะนำมาวิเคราะห์ได้จำนวน 147 ชุด จากจำนวน 160 ชุด คิดเป็นร้อยละ 91.87 ซึ่งถือ
ว่าสามารถเก็บรวมรวมได้ตามขนาดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้เบื้องต้น
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ประสบการณ์ ระดับการ
ศึกษา และประเภทของสถาบันการศึกษา นำเสนอโดยแจกแจงเป็นตารางความถี่ และร้อยละ ดังนี้
47
ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทั่วไป
ตัวแปร จำนวน ร้อยละ
1.เพศ
ชาย
หญิง
35
112
23.8
76.2
2.ประสบการณ์
1-3 ปี
4-6 ปี
7-10 ปี
10ปีขึ้นไป
11
26
15
95
7.5
17.7
10.2
64.6
3.ระดับการศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
9
33
98
7
6.1
22.4
66.7
4.8
4.ประเภทสถานศึกษา
รัฐบาล
เอกชน
35
112
23.8
76.2
รวม 147 คน
48
จากตารางที่ 1 แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ลักษณะทั่วไปของ
กลุ่มตัวอย่าง จากจำนวน 147 คน มีลักษณะดังนี้
เพศ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 76.2 และเป็นเพศชาย
จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 23.8 เป็นผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์การทำงานส่วนใหญ่ 10 ปี
ขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 61.22 รองลงมาเป็น 7-10 ปี จำนวน 15 คน คิด
เป็นร้อยละ 10.21 เป็นนักเรียน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 28.57
ระดับการศึกษา ผู้บริหารและครู มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อย
ละ 66.7 ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 4.8 เป็นนักเรียนมัธยมศึกษา
ตอนต้น จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 6.1 และมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ
22.4 เป็นสถานศึกษาของรัฐบาล 35 คน คิดเป็นร้อยละ 23.8 และเอกชน จำนวน 112 คน คิดเป็น
ร้อยละ 76.2
49
จำนวนร้อยละของข้อมูลทั่วไป (แบบสอบถาม)
ตารางที่ 2 ความรู้ความเข้าใจงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วย
มาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วย
น้อย
ไม่เห็นด้วย
1. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เสริมสร้างความ
สัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน
25.2 47.6 23.1 3.4 0.7
2. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์ให้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของตำรวจใน
การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
27.2 53.2 13.6 4.8 0.7
3. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นงานที่ต้องการให้
ประชาชนมีส่วนรับรู้และเข้าใจการปฏิบัติงานของ
ตำรวจ
27.2 50.3 17.0 4.8 0.7
4. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นงานที่ส่งเสริมให้
ตำรวจและประชาชนเข้าใจสาเหตุของปัญหาในชุมชน
ร่วมกัน
32.7 44.9 19.0 2.7 0.7
5. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นงานที่ต้องการให้
ประชาชนเข้าใจการพัฒนาชุมชนโดยการพึ่งตนเอง
18.4 44.2 26.5 9.5 1.4
6. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นการสร้างภาพและ
ประชาสัมพันธ์ผลงานของตำรวจเท่านั้น
6.8 18.4 40.1 21.8 12.9
7. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นการสร้างภาระให้
ประชาชนในชุมชน
2.0 12.2 31.3 19.7 34.7
8. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นงานที่ตำรวจต้อง
นำบริการต่างๆไปให้ชุมชนโดยที่ประชาชนไม่ต้องมี
ส่วนร่วม
4.1 9.5 28.6 23.1 34.7
9. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์มุ่งให้ประชาชน
สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมาย
10.9 19.7 29.3 24.5 15.6
10. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์ตั้งขึ้นเพื่อสร้างภาพ
และประชาสัมพันธ์งานของตำรวจเท่านั้น
10.2 13.6 23.1 25.2 27.9
50
ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วย
มาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วย
น้อย
ไม่เห็นด้วย
1.ท่านต้องการพึ่งพาตำรวจเมื่อรู้สึกว่าไม่
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
42.9 38.1 13.6 2.7 2.7
2.ท่านวางแผนป้องกันการโจรกรรมตามที่
ตำรวจแนะนำ
19.0 53.1 21.8 4.8 1.4
3.ท่านเคยแจ้งข่าวสารหรือชี้เบาะแสของคน
ร้ายให้กับตำรวจ
8.8 21.1 30.6 16.3 23.1
4.ท่านเคยเป็นพยานให้ตำรวจ 2.7 10.2 23.8 17.0 46.3
5.ท่านเคยช่วยสอดส่องหรือสังเกตพฤติกรรม
ของคนแปลกหน้าในชุมชน
9.5 31.3 34.0 15.6 9.5
6.ท่านไม่เห็นด้วยกับโครงการฝากบ้านไว้กับ
ตำรวจในช่วงเทศกาลหรือในช่วงวันหยุดติด
ต่อกันหลายวัน
17.0 18.4 26.5 15.0 23.1
7.ท่านไม่เห็นด้วยกับการแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นให้
เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ
10.2 16.3 19.0 18.4 36.1
8.ท่านมีความรู้สึกไม่อบอุ่นใจและปลอดภัย
เมื่ออยู่ไกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
6.8 13.6 25.2 24.5 29.9
9.ท่านรู้สึกว่าตำรวจไม่เป็นมิตรกับประชาชนก 4.8 14.3 32.7 23.8 24.5
10.ท่านคิดว่าการติดต่อธุระกับตำรวจหรือการ
ขึ้นสถานีตำรวจทำให้ท่านเสียเวลามากกว่าได้
ประโยชน์
11.6 9.5 34.0 25.9 19.0
51
ตารางที่ 4 ความพึงพอใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ระดับความพึงพอใจ
ข้อความ พึงพอใจ
มากที่สุด
พึงพอใจ
มาก
พึงพอใจ
ปานกลาง
พึงพอใจ
น้อย
ไม่พึงพอใจ
1.ปัจจุบันตำรวจมีความอ่อนโยนและสุภาพ
มากขึ้น
10.2 34.0 41.5 10.2 4.1
2.ตำรวจเสียสละเวลาในการทำงานเพื่อ
ประชาชน
12.2 34.7 34.7 15.0 3.4
3.ตำรวจมีความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ 11.6 40.1 32.0 12.9 3.4
4.ตำรวจมีพฤติกรรมและกริยาวาจาดีขึ้น 9.5 31.3 38.1 15.6 5.4
5.ตำรวจให้ความช่วยเหลือและบริการ
ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
7.5 23.1 41.5 22.4 5.4
6.ตำรวจไม่ค่อยเอาใจใส่ต่อปัญหาความ
เดือนร้อนของประชาชน
3.4 12.9 46.9 22.4 14.3
7.ตำรวจปฏิบัติงานโดยเห็นแก่อามิสสินจ้าง 6.8 15.0 35.4 19.0 23.8
8.ตำรวจมักปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เช่นรีดไถ 4.1 18.4 33.3 22.4 21.8
9.ท่านไม่มั่นใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ
เมื่อท่านมีเหตุการณ์เกิดขึ้น
5.4 15.6 46.3 21.8 10.9
10.ตำรวจมักเลือกปฏิบัติ หรือเข้าข้างผู้มีอิทธิ
พลหรือคนรู้จัก
12.9 19.0 34.0 16.3 17.7
52
ตารางที่ 5 การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
การมีส่วนร่วม
ข้อความ มีส่วนร่วม
มากที่สุด
มีส่วนร่วม
มาก
มีส่วนร่วม
ปานกลาง
มีส่วน
ร่วมน้อย
ไม่มี
ส่วนร่วม
1.ท่านมีส่วนร่วมในกิจกรรมของตำรวจในการ
ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
4.1 15.0 36.1 25.2 19.7
2.ท่านเคยบริจาคเงินซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่
ตำรวจนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน
2.7 10.9 27.2 25.2 34.0
3.ท่านเคยมีส่วนร่วมในการจับกุมคนร้ายกับ
ตำรวจ
2.7 3.4 19.7 19.7 54.4
4.ท่านเคยช่วยสังเกตพฤติกรรมของคนแปลก
หน้าในชุมชนและแจ้งให้ตำรวจทราบ 2.0 17.0 27.2 26.5 27.2
5.ท่านเคยบริจาคที่ดินเพื่อปลูกสร้างสถานี
ตำรวจหรือป้อมยามตำรวจ 2.0 8.8 8.2 8.8 72.1
6.ท่านคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการ
ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมเพราะเป็น
เรื่องของตำรวจ 9.5 16.3 30.6 25.2 18.4
7.ท่านไม่เคยมีส่วนร่วมในการแจ้งข่าวสาร
หรือเบาะแสของคนร้ายให้ตำรวจรู้ 2.0 12.2 31.3 19.7 34.7
8.ท่านไม่เคยมีส่วนร่วมกับการอุทิศทุนทรัพย์
ช่วยเหลือในงานของตำรวจ
4.1 9.5 28.6 23.1 34.7
9.ท่านไม่เคยมีส่วนร่วมในการป้องกันการ
โจรกรรมในบ้านของท่านที่ตำรวจแนะนำ
6.1 17.7 32.0 21.8 22.4
10.ท่านไม่มีส่วนร่วมในการจัดเวรยามใน ชุม
ชนเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจ
5.4 10.2 29.9 19.7 34.7
53
2. การหาค่าระดับของตัวแปร
ตารางที่ 6 ค่าระดับของตัวแปรการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์
ตัวแปร N ∼X S.D. ระดับ
1.การมีส่วนร่วมของโรงเรียน
มัธยมศึกษาในงานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์
147 2.8408 0.4049 ปานกลาง
2.ความรู้ความเข้าใจในงาน
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์
147 3.7082 0.6135 สูง
3.ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่
ตำรวจ
147 3.2973 0.5790 ปานกลาง
4.ความพึงพอใจการปฏิบัติงาน
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
147 3.2782 0.6373 ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ยของตัวแปรจากตารางที่ 6 พบว่า การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยม
ศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความพึงพอใจการปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าที่ตำรวจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ความรู้ความเข้าใจในงานในงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับสูง
54
3. การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปร
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรแยกตามกลุ่มในระดับสูงและต่ำ
ของตัวแปร
ค่าระดับ N ∼X S.D.
1.การมีส่วนร่วมของโรงเรียน
มัธยมศึกษาในงานตำรวจชุม
ชนสัมพันธ์
ระดับต่ำ
ระดับสูง
21
126
2.1714
2.9524
0.3690
0.2861
2.ค่าความรู้ความเข้าใจในงาน
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ระดับต่ำ
ระดับสูง
0
147
0.00
2.8408
0.00
0.4049
3.ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่
ตำรวจ
ระดับต่ำ
ระดับสูง
14
133
2.6929
2.8564
0.3772
0.4059
4.ความพึงพอใจการปฏิบัติงาน
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ระดับต่ำ
ระดับสูง
14
133
2.9857
2.8256
0.2797
0.4137
ผลของการวิเคราะห์จากตารางที่ 7 พบว่า ความรู้ความเข้าใจในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ของ
โรงเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับสูง และไม่มีค่าระดับต่ำ ในขณะที่ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ และ
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ แบ่งออกได้เป็น ระดับต่ำ
และระดับสูง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย ปานกลางทุกระดับ
55
4. การทดสอบสมมติฐาน
การวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ จะนำเสนอตามสมมติฐานที่ตั้งไว้มี ราย
ละเอียดได้ดังนี้
ตารางที่ 8 ค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์
การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจ
ตัวแปร ชุมชนสัมพันธ์
N ∼X S.D. P value Sig.
1.ความรู้ความเข้าใจในงาน
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์
147 3.7082 0.6135 -0.59 .239
2.ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่
ตำรวจ
147 3.2973 0.5790 0.055 .254
3.ความพึงพอใจการปฏิบัติ
งานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
147 3.2782 0.6373 -0.032 .352
การทดสอบสมมติฐานที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับงานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์
ผลการวิเคราะห์จากตาราง 8 พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ –0.59 ที่นัยสำคัญทาง
สถิติ 0.239 ซึ่งสูงกว่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่กำหนดไว้ที่ 0.05 แสดงให้เห็นว่า ความรู้ความเข้าใจ
ของโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของโรง
เรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่สอดคล้อง
กับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์ไม่มีส่วนร่วมในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
56
การทดสอบสมมติฐานที่ 2 ความสัมพันธ์ที่ดีของโรงเรียนมัธยมศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจมี
ความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ผลการวิเคราะห์จากตาราง 8 พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.055 ที่นัยสำคัญทาง
สถิติ 0.254 ซึ่งสูงกว่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่กำหนดไว้ที่ 0.05 แสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ที่ดีของ
โรงเรียนมัธยมศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน
งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
แสดงให้เห็นว่า โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีความสัมพันธ์กับการมี
ส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
การทดสอบสมมติฐานที่ 3 ความพึงพอใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาต่อการปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์
ผลการวิเคราะห์จากตาราง 8 พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ –0.032 ที่นัยสำคัญทาง
สถิติ 0.352 ซึ่งสูงกว่าระดับนับสำคัญทางสถิติที่กำหนดไว้ที่ 0.05 แสดงให้เห็นว่า ความพึงพอใจของโรง
เรียนมัธยมศึกษาต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของโรง
เรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่สอดคล้อง
กับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่าให้เห็นว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้า
หน้าที่ตำรวจไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในตำรวจชุมชนสัมพันธ์
3. แนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์กับโรงเรียนมัธยมศึกษา
จากผลของการศึกษาพบว่า การให้ความร่วมมือของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีต่องานตำรวจชุม
ชนสัมพันธ์มีในระดับปานกลาง โดยได้รับข้อสนเทศซึ่งจะนำมาวิเคราะห์ค่อนข้างน้อย และพบว่าความ
คิดเห็นของผู้บริหาร ครู อาจารย์ และนักเรียนที่มีต่องานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในลักษณะที่พึงประสงค์
ดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องแสวงหาความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับโรงเรียนมัธยมศึกษา
และประชาสัมพันธ์ถึงวัตถุประสงค์ของงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
57
2. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ต้องมีความพร้อมในการปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์ และปฏิบัติ
ตนเป็นแบบอย่างที่ น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับ
3. ความพร้อมของโรงเรียนมัธยมศึกษา เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมทำกิจกรรมเกี่ยวกับงาน
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
แนวนโยบายงานชุมชนสัมพันธ์เป็นงานที่เสริมสร้างให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักถึงการ
ทำหน้าที่พลเมืองดี การปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อโน้มน้าวให้
ประชาชนตระหนักถึงภัยของอาชญากรรม และมีจิตสำนึกที่จะทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี มีส่วนร่วมใน
การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมที่จะส่งผลให้บรรลุความสำเร็จของงานชุมชนสัมพันธ์และเกิด
ความสงบเรียบร้อยของสังคม
โครงการตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ เป็นโครงการหนึ่งของงานชุมชนสัมพันธ์ที่ต้องอาศัย
ความร่วมมือจากชุมชนและองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่ถือว่าเป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญ
ในการสนับสนุนนโยบายการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม นโยบายของโครงการเน้นไปที่เยาวชน
ในเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรม ปัญหาอาชญากรรมอาจเกิดจากตัวเยาวชนเอง
หรือเกิดจากบุคคลอื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ปัญหาก่อเหตุทะเลาะวิวาท และทำลายทรัพย์สิน นัก
เรียนต่างสถาบันตีกัน การพกพาอาวุธผิดกฎหมาย ปัญหายาเสพติด ที่อาจเกิดจากการกระทำของ
บุคคลอื่นต่อเยาวชนที่อยู่ในสถาบันการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้ประสานความร่วมมือกับหน่วย
งาน องค์กรและชุมชนในการป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพย์ติด การพนัน สื่อลามกอนาจาร และ
การทะเลาะวิวาทให้แก่นักเรียน นักศึกษา และเยาวชน โดยจัดกิจกรรมประสานความสัมพันธ์กันอย่าง
เป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดร่วมกันหลายโครงการร่วมกับสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ
โดยกำหนดเป็นนโยบายของสถานศึกษาในการดำเนินงานการจัดการด้านกระบวนการเรียนรู้และกิจ
กรรมต่างๆ และได้มีการดำเนินการในการจัดกิจกรรมโครงการต่างๆ อาทิ โครงการโรงเรียนสีขาว
โครงการมัธยมรวมใจต้านภัยยาเสพติด "พลังแผ่นดิน ถิ่นมัธยม" เป็นต้น โครงการเหล่านี้มีวัตถุประสงค์
หลักเพื่อให้ความรู้เรื่องกฎหมายทั่วไป และพิษภัยของยาเสพติดแก่ชุมชน ให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติงาน
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อก่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างตำรวจและชุมชน เป็นการสร้าง
ชุมชนให้เข้มแข็ง
การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ศึกษา
กรณี : โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตธนบุรีมี วัตถุประสงค์หลักในการวิจัยดังนี้
59
1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษาในงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์
3. เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์กับโรงเรียนมัธยมศึกษา
สรุปผลการวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อหาปัจจัยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยม
ศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ โดยประชากรที่นำมาศึกษา เป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์ และนักเรียน
ในสังกัดกรมสามัญศึกษา และสำนักงานการศึกษาเอกชนที่อยู่ในพื้นของเขตธนบุรี จำนวน 147 คน
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยสัดส่วนร้อยละ 15 ของประชากรกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็น
เกณฑ์ต่ำสุด ตามวิธีของ บุญชม ศรีสะอาด (2543 : 24-27) ได้โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดกรม
สามัญศึกษา จำนวน 1 โรงเรียน และ โรงเรียนในสังกัดการศึกษาเอกชน จำนวน 3 โรงเรียน ส่งแบบ
สอบถามด้วยวิธีเจาะจงไปยังผู้บริหาร ครู อาจารย์และนักเรียนที่เข้าร่วมงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
จำนวน 40 ชุดในแต่ละโรงเรียน
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมด้วยตนเอง ข้อมูลที่ได้รับอยู่ในสภาพสมบูรณ์
พอที่จะนำมาวิเคราะห์ได้จำนวน 147 ชุด จากจำนวน 160 ชุด คิดเป็นร้อยละ 91.87 ซึ่งถือว่า
สามารถเก็บรวมรวมได้ตามขนาดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้เบื้องต้น
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ยของคะแนนตัวแปรทุกตัวในกลุ่มตัวอย่างตัวแปรอิสระ เพื่อใช้ในการอธิบายตัวแปรทุกตัวที่ใช้
ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทำการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์
ของปัจจัยต่างๆ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment
Correlation Coefficient) (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ 2540 : 172 - 176)
60
สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
การสรุปและอภิปรายผลการวิจัย จะสรุปและนำเสนอผลการวิจัยประเด็นสำคัญที่พบดังนี้
1. ค่าระดับของตัวแปรการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ผลจากการศึกษา พบว่า
1.1 การมีส่วนร่วมของมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ อยู่ใน
ระดับปานกลาง
1.2 ความรู้ความเข้าใจในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง โดยมีระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย
คิดเป็นร้อยละ 100
1.3 ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางโดยมี
ระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 90.5 และระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 9.5
1.4 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ อยู่ใน
ระดับปานกลาง โดยมีระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 90.5 และระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อย
ละ 9.5
2. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชมุ ชนสมั พนั ธ์
การจากตั้งสมมติฐานเพื่อหาปัจจัยที่มีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์ โดยการนำเสนอผลการวิจัยตามลำดับดังนี้
การทดสอบสมมติฐานที่ 1 ความรู้ความเข้าใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับงานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์
ผลการวิเคราะห์พบว่า ความรู้ความเข้าใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
61
ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้อง เนื่องจากความรู้ความเข้าใจของบุคคลเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การรับรู้
ในขณะที่การมีส่วนร่วมเป็นความรู้สึกและจิตสำนึกส่วนตัวของบุคคลที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งอาจมี
ผลมาจากปัจจัยอื่น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ราเวน และ โรบิน (Ravan and Robin 1983 : 356)
ที่อธิบายไว้ว่า การที่บุคคลหนึ่งจะให้ความร่วมมือได้นั้น เขาต้องมีความเข้าใจว่า สิ่งที่เขาจะเข้าไปมี
ส่วนร่วมนั้น มีเหตุมีผล หรือเป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นได้ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมก็ได้ ทั้งนี้ความรู้ความเข้าใจ
ในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สะท้อนให้เห็นถึงข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนได้รับยังไม่เพียงพอ หรือมีเนื้อ
หาสาระยังไม่กระจ่างชัดถึงประโยชน์ที่เขาจะได้รับจากเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งสอดคล้องกับ
ผลการวจิ ยั ของ ดสิ ดนยั ภูริปโชต ิ (2537 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า ความรู้ความเข้าใจที่มีต่อโครงการตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์ไม่มีผลกระทบต่อความร่วมมือของประชาชนโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ และสอด
คล้องกับผลการวิจับของ พระมหาชินวัฒน์ เสือป่า(2544 : 100) ที่พบว่าความรู้ความเข้าใจในการป้อง
กันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนของประธานกรรมการชุมชนไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม
ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
การทดสอบสมมติฐานที่ 2 ความสัมพันธ์ที่ดีของโรงเรียนมัธยมศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจมี
ความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ผลการวิเคราะห์พบว่า ความสัมพันธ์ที่ดีของโรงเรียนมัธยมศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มี
ความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้อง อาจเกิดจากการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกับการมี
ส่วนร่วมในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์น้อยครั้งเกินไป และไม่มีประเด็นน่าสนใจที่จะเป็นปัจจัยดึงดูดให้
บุคคลเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึก ความตั้งใจ ความพร้อมในด้านต่างๆ ในการปฏิบัติงาน
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์และความพร้อมของโรงเรียนมัธยมศึกษา งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ เป็นงานของ
ภาครัฐที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ที่เป็นกระบวนการดำเนินงานรวมพลังประชาชนกับเจ้าหน้าที่
ตำรวจ เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ในชุมชน โดยให้ความรู้ความเข้าใจต่อชุมชน การแก้ปัญหา
ต่างๆ เพื่อให้ลุล่วงไปด้วยดีจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของประชาชาชนจึงจะสำเร็จ
และต้องมีความเห็นพ้องต้องกัน และถ้ามีการร่วมมือที่ดีของประชาชนในโครงการของตำรวจ ก็จะเกิด
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน ซึ่งจะเป็นผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่สำหรับงานป้องกันและ
ปราบปรามอาชญกรรม (Caldwell 1965 : 75) นอกจากนี้ จตุพร บานชื่น (2533) ยังได้ให้แนวคิดเกี่ยว
กับความร่วมมือของประชาชนในการช่วยเหลือสนับสนุนงานของตำรวจ ต้องมีผลมาจากความสัมพันธ์
62
ที่ดีระหว่างตำรวจกับประชาชน โดยมีทัศนคติ พฤติกรรม และการแสดงออกของแต่ละฝ่ายเป็นองค์
ประกอบที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันในลักษณะต่างๆ ได้ และปัจจัยที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ประกอบ
ด้วย สิ่งที่จูงใจ ช่องทางในการมีส่วนร่วม และอำนาจในการส่งเสริมให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วม และผู้ที่
มีส่วนร่วมต้องมีความเห็นพ้องกับเป้าหมายของการดำเนินงานจึงจะนำไปสู่ความสำเร็จ
การทดสอบสมมติฐานที่ 3 ความพึงพอใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาต่อการปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์
ผลการวิเคราะห์พบว่า ความพึงพอใจของโรงเรียนมธยมศึกษาต่อการปฏิบัติงานของจ้าหน้าที่
ตำรวจไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพราะไม่มีความเชื่อมั่นต่อการปฏิบัติ
งาน ภาพลักษณ์และความประพฤติของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ซึ่ง
ตามแนวคิดของ พอเทอร์มัด (Poitremaud อ้างใน เขมิกา ยามะรัตน์ 2527:16 ) กล่าวไว้ว่า ความพึง
พอใจที่เกิดขึ้นต้องครอบคลุมถึง ความพึงพอใจในงานที่มีความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน และสิ่งแวดล้อม
เป็นความรู้สึกทางอารมณ์ สังคม เช่น การเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ และการใช้เวลาว่างและมีความพึง
พอใจในกิจกรรมต่างๆ และมีความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามผลการศึกษาของ พรรณี โชตนะ
(2526 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า ประชาชนจะเห็นตำรวจเป็นที่พึ่งด่านแรก เมื่อมีอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่
ภาพพจน์ของตำรวจในสายตาของประชาชนไม่ดีนัก ประชาชนไม่มั่นใจในความประพฤติของเจ้าหน้าที่
ตำรวจ เกรงว่าจะไม่ได้รับความยุติธรรมจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตำรวจ และความไม่พึงพอใจ
ต่อการล่าช้าในการปฏิบัติงาน การบริการที่ไม่ดี จึงเป็นอุปสรรคต่อการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่
ตำรวจ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ประชาชนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเอง เนื่องจากไม่
เข้าใจการปฏิบัติงานในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
แนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์กับโรงเรียนมัธยมศึกษา
1. ตำรวจต้องแสวงหาความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับ ครู อาจารย์ นักเรียนใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา และให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมกับสถาบันการศึกษา
63
และประชาชนในชุมชุนต่างๆ และตำรวจควรเป็นกันเองกันประชาชนให้มากกว่านี้ และประพฤติเป็นตัว
อย่างที่ดีแก่ประชาชน
2. เจา้ หนา้ ทตี่ าํ รวจ สถานตี าํ รวจ สาํ นกั งานตาํ รวจแหง่ ชาต ิ ควรประชาสัมพันธ์งานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์ให้โรงเรียนมัธยมศึกษา ประชาชนทราบถึงวัตถุประสงค์ การดำเนินงานของงานตำรวจชุม
ชนสัมพันธ์และติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
3. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ควรจัดกิจกรรม เช่น ให้ความรู้ในเกี่ยวกับการป้องกัน
ปราบปราม การบำบัดรักษา ฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติด และติดตามประเมินผลการดำเนินงานรวมถึงการเอา
ใจใส่ในการให้ความรู้ดังกล่าวของตำรวจชุมชนสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
4. ผู้บังคับบัญชาควรเอาใจใส่ในงานตำรวจชุมชนให้มากขึ้น เช่น ในด้านงบประมาณ การจัด
บุคลากรมาเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ควรจัดจากเจ้าหน้าที่ที่มีความสมัครใจ
5. โรงเรียนมัธยมศึกษาควรมีความพร้อมในทุกด้าน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดำเนินงาน
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ข้อเสนอแนะ
1. การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง เป็น
เครื่องชี้ให้เห็นว่า งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ยังไม่ประสบความสำเร็จหรือบรรลุเป้าหมายเท่าที่ควรเป็น
ซึ่งบ่งบอกได้ว่า ลำพังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์แต่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถที่จะปฏิบัติภารกิจให้
ประสบความสำเร็จได้ จึงต้องอาศัยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดความประทับ
ใจในการบริการ เป็นการสร้างความเชื่อถือศรัทธาและความไว้วางใจแก่ประชาชนให้หันมามีส่วนร่วม
มากขึ้น
2. ความรู้ความเข้าใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่ดี
ของโรงเรียนมัธยมศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความพึงพอใจของโรงเรียนมัธยมศึกษาต่อการปฏิบัติ
งานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุม
ชนสัมพันธ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้โรงเรียนมัธยมศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมกับงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ เนื่องจากโรงเรียนมัธยมศึกษาไม่
ทราบถึงวัตถุประสงค์ของงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ มีทัศนคติที่ไม่ดี ไม่มีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงาน
และไม่มั่นใจในพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจเนื่องจากเกรงว่าจะไม่ได้รับความยุติธรรมจากการ
ปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องแสวงหาความร่วมมือ สร้างความเชื่อมั่น เสริมสร้างภาพลักษณ์ใน
64
เชิงบวก และเน้นการประชาสัมพันธ์งานของตำรวจเพื่อความร่วมมือของโรงเรียนมัธยมศึกษาและ
ประชาชน
3. การจัดกิจกรรมเน้นการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่น การให้
ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด การพนันสื่อลามก อนาจาร ปัญหาอาชญากรรม การรักษาความปลอดภัยใน
ชีวิตและทรัพย์สิน การจัดระเบียบจราจร การประชาสัมพันธ์งานของตำรวจเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดโครงการอย่างต่อเนื่อง เช่นโครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ โรงเรียนสีขาว
เป็นต้น
ผลของการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อสนับสนุนถึงทัศนคติของบุคคลที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ตำรวจ ซึ่งเป็นรากฐานที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมในด้านลบของตำรวจ เน้นให้เห็นความ
สำคัญของพฤติกรรม วิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ต้องทำการปรับเปลี่ยนวิธีการในการ
ดำเนินงานกับชุมชน เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี ถึงแม้นว่าประชาชนจะมีความรู้ความเข้าใจในงานของ
ตำรวจดังผลของการศึกษา แต่ทัศนคติที่มีต่อตำรวจในด้านลบจะเป็นตัวส่งผลเสียต่อการมีส่วนร่วม
นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังให้ข้อสนับสนุนแนวคิดทางสังคมที่ชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมมีอิทธิพลต่อ
ทัศนคติ เมื่อมีการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นก็จะแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ที่อาจส่งผลเสีย
ตอ่ สงั คม กอ่ ใหเ้ กดิ ชอ่ งวา่ งดา้ นความร ู้ ความเขา้ ใจ ทัศนคต ิ และการปฏบิ ตั งิ านตา่ งๆ ได้
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน ของงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์ เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่มีต่อการทำงานของตำรวจ และปัญหาที่เกิดจากการประสานงาน
ในเพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีจากสถานศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่พัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ด้าน
วิชาการ และเป็นหน่วยงานที่ตำรวจสามารถใช้ประชาสัมพันธ์งานของตำรวจที่ยังประโยชน์ต่อตัว
ประชาชนในด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของตนได้
2. ควรมีการศึกษาการดำเนินงานของโครงการตำรวจที่นำไปสู่ชุมชน เพื่อให้ทราบถึงปัญหา
ผลกระทบ และอุปสรรคของการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน
โครงการตำรวจให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย
3. ควรมีการศึกษาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ที่อยู่ในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
เพื่อนำไปพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีศักยภาพที่จะทำให้งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย
บรรณานุกรม
กรมตำรวจ. (2527). บทบาทและหน้าที่ตำรวจไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ตำรวจ.
กรรณิกา ชมดี. (2524). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจศึกษาเฉพาะ
กรณี : โครงการสารภี ตำบลท่าช้าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยา
นิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). โครงการโรงเรียนสีขาว. โดยความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการ
และสำนัก คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 1 เมษยายน 2543.
ขวัญชัย วงศ์นิติกร. (2532). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของผู้อาศัยอยู่
ในหมู่บ้านจัดสรรชานเมือง : ศึกษากรณีหมู่บ้านจัดสรรเทพประทานอำเภอบางกรวย
จังหวัดนนทบุรี.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เขมิกา ยามะรัต. (2527). ความพึงพอใจในชีวิตของคนชรา : ศึกษากรณีข้าราชการบำนาญ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,สำนักงาน. (2533). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่8 พ.ศ.2534 - 2539. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา.
จตุพร บานชื่น. (2533). กิจการตำรวจไทย. ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐศาสนศาสตร์
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2527). การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาชนบท. ในการบริหารงาน
พัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ชูเกียรติ ภัยลี้. (2535). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมระหว่างเขตพื้น
ที่ที่มีการปฏิบัติงานกับพื้นที่ที่ไม่ปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา. เอกสารวิจัยหลักสูตรการบริหารตำรวจชั้นสูง สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ กอง
บัญชาการศึกษา.
ชินวัฒน์ เสือป่า. (2544). ปัจจัยเกื้อหนุนต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำในการป้องกัน และแก้ไข
ปัญหายาเสพย์ติดในชุมชนกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดสิ ดนยั ภูริปโชต.ิ (2537). ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือของประชาชนในงานตำรวจชุมชน
สัมพันธ์ในเขตกองบังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(พัฒนาสังคม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
66
เดช ศิริเจริญ และคณะ. (2530). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
เดชน์ จรูญเรืองฤทธิ์. (2532). การรักษาความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ :
อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุฟ.
ตำรวจแห่งชาติ,สำนักงาน. (2529). แผนงานและงบประมาณ. แผนกรมตาํ รวจแมบ่ ทฉบบั ที่ 1
(พ.ศ.2530-2534) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมตำรวจ.
_____________. (2534). แผนงานและงบประมาณ. แผนกรมตำรวจแม่บทฉบับที่ 2
(พ.ศ.2535-2539) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมตำรวจ
_____________. (2539). แผนงานและงบประมาณ. แผนกรมตำรวจแม่บทฉบับที่ 3
(พ.ศ.2540-2544) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมตำรวจ
_____________. (2543). สถิติคดีอาญาที่น่าสนใจทั่วราชอาณาจักร.
http : //www.police.go.th/stat>.
ถม ทรัพย์เจริญ. (2524). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในประเทศไทยศึกษากรณี :
อำเภอคำเขื่อนแก้วจังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). กลวิธี แนวทาง วิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงาน
พัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ปกรณ์ มณีปกรณ์. (2539). การมีส่วนร่วมของคนไทยเชื้อสายจีนต่องานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ศึกษากรณีเฉพาะชุมชนชาวจีนในเขตเลือกตั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต สาขาอาชญวิทยาและงานยุติธรรม คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปัญญา ธนสัมบัญ. (2535). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนา
ชนบทและชุมชนตามข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศึกษากรณี : จังหวัด
ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2526). การควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม : หลักทฤษฎีและ
มาตรการ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ประเสริฐ เมฆมณี. (2519). ตำรวจกับกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพฯ : บริษัทบพิธ จำกัด.
67
ประธาน วัฒนวาณิชย์. (2536). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม.
วารสารสังคม 1. (ฉบับพิเศษ 2536).
___________. (2533). อาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร : ศึกษาวิเคราะห์ ปัจจัยทางสังคมและ
เศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่ออาชญากรรม. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ เรื่อง
คุณภาพชีวิตของคนในเมืองหลวง 19-21 มีนาคม 2533. ณ สถาบันพัฒนาการสาธารณสุข
มูลฐานอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล. (เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม).
ประเสริฐ สุขสมบรูณ์. (2519). งานมวลชนสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของตำรวจ. วิทยานิพนธ์
วิทยาลัยกองทัพบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง.
ประเสริฐ สุนทร. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
ศึกษากรณี : กองบังคับการตำรวจนครบาล 6. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคม
สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พุทธทาสภิกขุ. (2527). บททดลองเสนอว่าด้วยจิตวิเคราะห์แบบพุทธ. กรุงเทพฯ :
บริษัท พลพันธ์การพิมพ์ จำกัด.
ไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์. (2531). การมีส่วนร่วมของระชาชน. วารสารพฒั นาชุมชน2, (กมุ ภาพนั ธ 2531).มรกต
ไศลบาท. (2529). ภาพพจน์และความคาดหวังเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ
เจ้าหน้าที่ตำรวจ. วิทยานิพนธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนัส ครุฑไชยันต์. (2530). คำบรรยายหลักสูตรสารวัตรป้องกันและปราบปราม.(อัดสำเนา).
มานิตย์ จันทร์จำเริญ. (2530). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปราม
อาชญากรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจห้วยขวาง.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
(พัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลไทยอนุเคราะห์ไทย.
วันธิกรณ์ นุเกตุ. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญา
กรรม ศึกษากรณี : งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรเดช จันทศร. (2522). สาเหตุอาชญากรรม ทฤษฎี แนวคิดที่เกี่ยวข้อง. วารสาร
พัฒนบริหารศาสตร์ 19 (มกราคม 2522).
วีระ ทิพย์พาหน. (2540). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของ
ธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะสังคมศาสตร์ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
68
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมชาย วาณิชเสนี. (2533). นโยบายการตำรวจ : ศึกษางานตำรวจชุมชนสัมพันธ์กองบัญชาการ
ตำรวจนครบาล. เอกสารวิจัยปริญญาโท หลักสูตรรัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชารัฐ
ประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. .
สมชัย เจริญทรัพย์. (2535). ทัศนคติของประชาชนในชุมชนประชานิเวศน์ 3 ต่อการมีส่วนร่วม
ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม. เอกสารรายงานการวิจัยวิชาระเบียบวิธีการวิจัย
หลักสูตรผู้กำกับการรุ่น 18 กองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจ.
สุเมธ ทรายแก้ว. (2536). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ ศึกษาเฉพาะกรณี : โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
จัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคม
สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2531). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์ในกิจ
กรรมหมู่บ้านแบบคหบาล ศึกษาเฉพาะกรณี : หมู่บ้านสหกรณ์คหสถานกรุงเทพ
จำกัด โครงการ 4 กรุงเทพมหานคร. คณะสังคมศาสตร์ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อัณณพ ชูบำรุง. (2532). อาชญวิทยาและอาชญกรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (อัดสำเนา).
อนิรุธ ขันตี. (2541). การส่งเสริมบทบาทชุมชนในการป้องกันอาชญากรรม. วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิตศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อานภุ าพ ถริ ลาภ. (2528). การวเิ คราะหเ์ ชงิ สมมติฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา
ชนบท:ศึกษาเฉพาะกรณี พิบูลย์มังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่าง. (2522).คำบรรยายลักษณะวิชาทฤษฎีและการพัฒนาชุมชน.
ภาคการศึกษาที่ 2/2522. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (อัดสำเนา).
อิทธิพล สุขยิ่ง. (2537). ทัศนะของผู้นำชุมชนในพื้นที่เป้าหมายต่อการปฏิบัติงานของตำรวจชุม
ชน:ศึกษากรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาล.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคม
สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุกฤษฎ์ ปัจจิมสวัสดิ์. (2532). คว ามคิดเห็นของประชาชนผู้พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรร เขต
กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามของเจ้าหน้าที่
69
ตำรวจนครบาล ปี พ.ศ.2530. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุบลวรรณ สืบยุคล. (2529). ปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่อยู่
อาศัย ศึกษากรณี : การตั้งถิ่นฐานใหม่ของผู้มีรายได้น้อย โครงการฟื้นฟูนครบางบัว
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Applewhite and Phillip B. (1965). Organization and Behavior. New York:Prentice-Hall,
Cohen J.M. and Uphoff, N.T. (1980). Participation's Place in Rural Development :
Seeking Clarity Through Specificity. World Development.,New York: Cornell
University.
Durkheim, Emile. (1970). The Normal and The Pathological in Sociology of Crime and
Deliquency. New York : John Wiley.
Hartjen, C.A. (1974). Crime and Criminalization. New York : Praeger.
Kaufman, H.F. (1949). Participation Organized Activities in Selected Kentucky Locatities.
Agricutural Experiment Station Bulletins,
Quinney, Richard. (1970). The Social Reality of Crime. Boston : Little Brown and Company.
Reven, B.H.and Rubin,J.Z. (1983). Social Psychology.New York John Wiley and Sons.
Shanahan, Donald. (1975). Partrol Administration. Boston : Holbrook.
Shaw, C.R. and Machay, H.D. (1969). Juvenile Delinquency and Urban Area. University of
Chicao Press.
Tappan, Paul. (1960). Crime,Justice and Correction. New York : Mcgraw-Hill.
White, A.T. (1982). The Community Participation : A Discoussion of the Agreement.
New York : United Nation Children's Fund.
แบบสอบถาม
เรื่อง การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ศึกษากรณี : โรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตธนบุรี
คำชี้แจง การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์
ข้อแนะนำเกี่ยวกับแบบสอบถาม
แบบสอบถามชุดนี้มีทั้งหมด 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป จำนวน 4 ข้อ
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นและความพึงพอใจ จำนวน 30 ข้อ ดังนี้
ตอนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์
ตอนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ตอนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับความพึงพอใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ตอนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจ
ชุมชนสัมพันธ์
ส่วนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานของโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่พึงประสงค์
71
แบบสอบถาม
ชุดที่ 1-3
เรื่อง การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ศึกษากรณี : โรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตธนบุรี
หน้า 1/5
ส่วนที่ 1 ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย ลงในวงเล็บหน้าข้อความ และเติมข้อความลงในช่องว่าง
ตามความเป็นจริง
ข้อ 1. เพศ
( ) 1. ชาย ( ) 2. หญิง
ข้อ 2. ประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา (เฉพาะผู้บริหาร ครู อาจารย์)
( ) 1.1-3 ปี ( ) 2. 4-6 ปี
( ) 3. 7-10 ปี ( ) 4. 10 ปี ขึ้นไป
ข้อ 3. ระดับการศึกษาสูงสุด
( ) 1. มัธยมศึกษาตอนต้น ( ) 2. มัธยมศึกษาตอนปลาย
( ) 3. ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ( ) 4. ปริญญาโทหรือเทียบเท่าขึ้นไป
ข้อ 4. ประเภทของสถาบันการศึกษา
( ) 1. สถาบันการศึกษาของรัฐบาล ( ) 2. สถาบันการศึกษาเอกชน
72
หน้า 2/5
ส่วนที่ 2 ความเห็นเกี่ยวกับงานของตำรวจ
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย ในช่องระดับความคิดเห็นที่ตรงกับความเป็นจริงหรือ
สอดคล้องกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด
ตอนที่ 1 ความรู้ความเข้าใจงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วย
มาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วย
น้อย
ไม่เห็นด้วย
1. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เสริมสร้างความ
สัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน
2. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์ให้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของตำรวจใน
การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
3. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นงานที่ต้องการให้
ประชาชนมีส่วนรับรู้และเข้าใจการปฏิบัติงานของ
ตำรวจ
4. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นงานที่ส่งเสริมให้
ตำรวจและประชาชนเข้าใจสาเหตุของปัญหาในชุมชน
ร่วมกัน
5. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นงานที่ต้องการให้
ประชาชนเข้าใจการพัฒนาชุมชนโดยการพึ่งตนเอง
6. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นการสร้างภาพและ
ประชาสัมพันธ์ผลงานของตำรวจเท่านั้น
7. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นการสร้างภาระให้
ประชาชนในชุมชน
8. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นงานที่ตำรวจต้อง
นำบริการต่างๆไปให้ชุมชนโดยที่ประชาชนไม่ต้องมี
ส่วนร่วม
9. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์มุ่งให้ประชาชน
สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมาย
10. งานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์ตั้งขึ้นเพื่อสร้างภาพ
และประชาสัมพันธ์งานของตำรวจเท่านั้น
73
หน้า 3/5
ตอนที่ 2 ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วย
มาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วย
น้อย
ไม่เห็นด้วย
1.ท่านต้องการพึ่งพาตำรวจเมื่อรู้สึกว่าไม่
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2.ท่านวางแผนป้องกันการโจรกรรมตามที่
ตำรวจแนะนำ
3.ท่านเคยแจ้งข่าวสารหรือชี้เบาะแสของคน
ร้ายให้กับตำรวจ
4.ท่านเคยเป็นพยานให้ตำรวจ
5.ท่านเคยช่วยสอดส่องหรือสังเกตพฤติกรรม
ของคนแปลกหน้าในชุมชน
6.ท่านไม่เห็นด้วยกับโครงการฝากบ้านไว้กับ
ตำรวจในช่วงเทศกาลหรือในช่วงวันหยุดติด
ต่อกันหลายวัน
7.ท่านไม่เห็นด้วยกับการแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นให้
เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ
8.ท่านมีความรู้สึกไม่อบอุ่นใจและปลอดภัย
เมื่ออยู่ไกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
9.ท่านรู้สึกว่าตำรวจไม่เป็นมิตรกับประชาชนก
10.ท่านคิดว่าการติดต่อธุระกับตำรวจหรือการ
ขึ้นสถานีตำรวจทำให้ท่านเสียเวลามากกว่าได้
ประโยชน์
หน้า 4/5
74
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ระดับความพึงพอใจ
ข้อความ พึงพอใจ
มากที่สุด
พึงพอใจ
มาก
พึงพอใจ
ปานกลาง
พึงพอใจ
น้อย
ไม่พึงพอใจ
1.ปัจจุบันตำรวจมีความอ่อนโยนและสุภาพ
มากขึ้น
2.ตำรวจเสียสละเวลาในการทำงานเพื่อ
ประชาชน
3.ตำรวจมีความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่
4.ตำรวจมีพฤติกรรมและกริยาวาจาดีขึ้น
5.ตำรวจให้ความช่วยเหลือและบริการ
ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
6.ตำรวจไม่ค่อยเอาใจใส่ต่อปัญหาความ
เดือนร้อนของประชาชน
7.ตำรวจปฏิบัติงานโดยเห็นแก่อามิสสินจ้าง
8.ตำรวจมักปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เช่นรีดไถ
9.ท่านไม่มั่นใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ
เมื่อท่านมีเหตุการณ์เกิดขึ้น
10.ตำรวจมักเลือกปฏิบัติ หรือเข้าข้างผู้มีอิทธิ
พลหรือคนรู้จัก
75
หน้า 5/5
ตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์
การมีส่วนร่วม
ข้อความ มีส่วนร่วม
มากที่สุด
มีส่วนร่วม
มาก
มีส่วนร่วม
ปานกลาง
มีส่วน
ร่วมน้อย
ไม่มี
ส่วนร่วม
1.ท่านมีส่วนร่วมในกิจกรรมของตำรวจในการ
ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
2.ท่านเคยบริจาคเงินซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่
ตำรวจนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน
3.ท่านเคยมีส่วนร่วมในการจับกุมคนร้ายกับ
ตำรวจ
4.ท่านเคยช่วยสังเกตพฤติกรรมของคนแปลก
หน้าในชุมชนและแจ้งให้ตำรวจทราบ
5.ท่านเคยบริจาคที่ดินเพื่อปลูกสร้างสถานี
ตำรวจหรือป้อมยามตำรวจ
6.ท่านคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการ
ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมเพราะเป็น
เรื่องของตำรวจ
7.ท่านไม่เคยมีส่วนร่วมในการแจ้งข่าวสาร
หรือเบาะแสของคนร้ายให้ตำรวจรู้
8.ท่านไม่เคยมีส่วนร่วมกับการอุทิศทุนทรัพย์
ช่วยเหลือในงานของตำรวจ
9.ท่านไม่เคยมีส่วนร่วมในการป้องกันการ
โจรกรรมในบ้านของท่านที่ตำรวจแนะนำ
10.ท่านไม่มีส่วนร่วมในการจัดเวรยามใน ชุม
ชนเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจ
76
ส่วนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานของโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ที่พึงประสงค์
กรุณาให้รายละเอียดในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.นักเรียนเข้าใจงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์หรือไม่ มากน้อยเพียงใด
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
.........................................................................................................………....................................
2.นักเรียนให้ความร่วมมือกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์มากน้อยเพียงใด
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................
3.จากการที่ได้มีการร่วมกิจกรรมกันระหว่างนักเรียนกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์แล้ว พฤติกรรมของนักเรียนมี
การเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
...............................................................................………..............................................................
4.นักเรียนได้รับประโยชน์จากงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์หรือไม่ อย่างไร
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
.......................................................................................................................………......................
ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านได้สละเวลาในการตอบแบบสอบถามฉบับนี้ ซึ่งจะเป็น
ประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการปรับปรุงการมีส่วนร่วมในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์และเป็นแนวทางในการ
ปรับปรุงการป้องกันปราบปรามอาชญกรรมของชุมชนต่อไป
ร.ต.อ.สหชัย สืบด้วง
ผู้วิจัย
78
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ ร้อยตำรวจเอก สหชัย สืบด้วง
วัน เดือน ปีเกิด 19 สิงหาคม 2514
สถานที่เกิด จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
ประวัติการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2537
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน
- สถานีตำรวจนครบาล ตลาดพลู
พ.ศ.2545-ปัจจุบัน ช่วยราชการงานป้องกันปราบปราม
พ.ศ.2541-2544 ตำแหน่ง พนักงานสอบสวน
- สถานีตำรวจนครบาลบางพลัด
พ.ศ.2539-2540 ช่วยราชการงานสอบสวน
- โรงเรียนตำรวจภูธร 7
พ.ศ.2537-2539

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น