วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม



เจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรณีศึกษา: ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร
นางกมลพัฒน์ แย้มประไพ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2546
ISBN 974-373 -- -- ---- ----
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์สำเร็จลุล่วงด้วยความกรุณาของ ท่านอาจารย์ รศ. ดร. สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์
ผศ. สุพิศวง ธรรมพันทา ผศ. บุปผา แช่มประเสริฐ ดร.ทวิช บุญธิรัศมี และผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน จึงขอกราบขอบพระคุณ ไว้ ณ โอกาสนี้ นอกจากนี้ขอกราบขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง ที่ได้กรุณาสละเวลามาเป็นประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้
ขอขอบคุณ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา รุ่นที่ 2 ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเป็นกำลังใจจนวิทยานิพนธ์นี้แล้วเสร็จ
คุณค่าประโยชน์ของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ขอมอบแด่บุพการี ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกๆ ท่าน ด้วยความเคารพอย่างสูง
กมลพัฒน์ แย้มประไพ
สารบัญ
หน้า
ประกาศคุณูปการ. …………..……………………..…………………… ค
บทคัดย่อภาษาไทย …..………………………………….………………. ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ..……………………………………………….… ฉ
สารบัญเรื่อง ..……………………………………………………….…… ญ
สารบัญแผนภาพ……………………………………………..……….….. ฎ
สารบัญตาราง……………………………………………………………. ฏ
สารบัญตาราง (ต่อ)........................................................................... ฐ
บทที่ 1 บทนำ…………………………………………………………………….… 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………………………...…. 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………. 3
ขอบเขตการวิจัย……………………………………………….…………… 3
นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………………..………...….. 3
สมมติฐานการวิจัย……………………………………………………….… 4
กรอบแนวคิด……………………………………………………………….. 5
ประโยชน์ของการวิจัย……………………………………………...……… 6
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง….………………………………………..... 7
ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการจัดการขยะมูลฝอย..…………..……….. 7
แนวคิดการรับรู้ข่าวสาร.........................………………………………….. 18
แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน...…..……………………….. 22
แนวคิดพฤติกรรม…….…………..…………………….………………..... 27
แนวคิดเจตคติ...............……………………………………….…..………. 30
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………. 34
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ………………………………………………………….. 36
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง………………………….……………………… 36
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย…………………………………………………… 38
การเก็บรวบรวมข้อมูล …………………………………………………….. 40
การวิเคราะห์ข้อมูล ..............................................…………………………. 41
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล..................................................................... 41

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………………… 43
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป……………………………………..…………… 43
ผลการทดสอบสมมติฐาน...…………………………………...…..…………. 52
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล……………………………………………..…………… 58
สรุปผลการวิจัย………………………………….…………………………… 58
สรุปและอภิปรายผลการศึกษาวิจัย…………………………………………… 59
ข้อเสนอแนะ ………………………………..……………………………….. 69
ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป ………………………………………….…… 70บรรณานุกรม………………………………………………………………………….. 71
ภาคผนวก……………………………………………………………………………… 75
แบบสอบถาม ………………………………………………………………... 76
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ................................................................................... 84
ประวัติผู้วิจัย………………………………………………………………………… 88

สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………………………….…………. 6

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 แหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอย…………………………………….. 9
ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม..........…………………….. 43
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับมูลฝอย……………………………. 46
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับ
ขยะมูลฝอยของประชาชน...................................................……... 48
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน….. 49
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านเจตคติต่อการบริการเก็บขน
ขยะมูลฝอย..................................................................................…. 51
ตารางที่ 7 การวิเคราะห์ความแปรปรวนเจตคติในการบริการเก็บขนมูล
ฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และตัวแปรตามต่างๆ
จำแนกอาชีพ................................................................................... 52
ตารางที่ 8 การวิเคราะห์ความแปรปรวนเจตคติในการบริการเก็บขนมูล
ฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และตัวแปรตามต่างๆ
จำแนกลักษณะที่พักอาศัย.............................................................. 53
ตารางที่ 9 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอย
ของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรความรู้เกี่ยวกับ
มูลฝอย........................................................................................... 54
ตารางที่ 10 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอย
ของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรการรับรู้ข่าวสาร
เกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชน................................................ 55

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 11 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอย
ของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรการรับรู้ข่าวสาร
เกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชน....................................................... 56
บทที่ 1
บทนำ
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
การพัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการเพิ่มจำนวนของประชากร และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคหรือวิถีชีวิตของคนไทย ได้ส่งผลให้มีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐยังเน้นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ และมีปัญหาด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทำให้การกำจัดขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ การเก็บขนขยะมูลฝอยและการขนส่งขยะมูลฝอยไม่เอื้ออำนวยต่อเจ้าของแหล่งกำเนิดในการคัดแยกขยะมูลฝอย รวมทั้งการดำเนินงานเก็บรวบรวมและขนส่งยังไม่ถูกต้องจนทำให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ และส่งผลกระทบต่อประชาชน มีขยะตกค้างในชุมชน เนื่องจากระบบเก็บรวบรวมและขนส่งไม่ทั่วถึง และประชาชนมีการทิ้งขยะมูลฝอยอย่างไม่ถูกต้อง ประกอบกับระบบการเก็บขนขยะและของเสียไม่มีระบบการเก็บที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ 2546: 10)
จากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น และเป็นแหล่งขยะมูลฝอยที่แท้จริงก็คือ ชุมชน ซึ่งเป็นผู้ผลิตขยะมูลฝอยจากการบริโภคและการทิ้งของคนในชุมชน จากตัวเลขที่แสดงปริมาณขยะ พบว่าในปี พ.ศ.2544 กรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะมูลฝอย 9,400 ตันต่อวัน และคาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น (กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ 2546: 1) ภาระของกรุงเทพมหานครในการจัดเก็บและทำลายขยะมูลฝอยจึงนับว่าเป็นปัญหาหลักที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ถ้าการบริหารจัดการไม่ดี ชุมชน และประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยรวมทั้งการรักษาความสะอาด ปัญหาขยะมูลฝอยก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น การจัดการขยะต้องอาศัยความร่วมมือจากส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและประชาชน โดยเฉพาะวิธีการจัดเก็บและการทำลายต้องอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย และเทคโนโลยี ซึ่งต้องใช้งบประมาณสูง จากการดำเนินงานที่ผ่านมายังไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างได้ผล เนื่องจากปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น เครื่องมือที่มีอยู่และวิธีการจัดการมูลฝอยยังขาดประสิทธิภาพ และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ การจัดการขยะมูลฝอยให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้นต้องมาจากการลดปริมาณของ
2
มูลฝอย จึงจำเป็นต้องมีการจัดการที่เป็นระบบและเป็นกระบวนการ นับตั้งแต่การลดปริมาณขยะมูลฝอยการคัดแยกมูลฝอยก่อนนำทิ้ง จะเป็นหนทางที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยและเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ทั้งยังเป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย สิ่งสำคัญจะต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในฐานะเป็นผู้ผลิตขยะมูลฝอยหรือเป็นผู้ทิ้ง
กรุงเทพมหานครได้กำหนดแนวทางและเป้าหมาย โดยจะระดมความร่วมมือจากผู้อาศัยในชุมชน ให้ดำเนินการพัฒนาร่วมกัน โดยมุ่งหวังให้ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและยังถือว่าผู้ที่ก่อปัญหาต้องมีส่วนในการแก้ไขปัญหาด้วย เพื่อช่วยบำรุงรักษาพัฒนาเมืองให้สะอาดเรียบร้อยน่ามีหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอยรับผิดชอบดูแล คือ สำนักรักษาความสะอาดกรุงเทพมหานครและสำนักงานเขต ได้จัดทำโครงการรักษาความสะอาดและการจัดเก็บขยะมูลฝอยต่าง ๆ เพื่อนำมาให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งให้ความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับอันตราย พิษภัยและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากขยะมูลฝอยแก่ประชาชนและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอยและคัดแยกก่อนทิ้ง (กรุงเทพมหานคร: 2543) รวมทั้งสนับสนุนให้องค์กรส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบมีระบบการจัดเก็บและขนส่งขยะมูลฝอยจากชุมชนอย่างถูกต้อง
ผู้วิจัยในฐานะรับผิดชอบงานรักษาความสะอาดของเขตบางคอแหลมเห็นว่า การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับขยะมูลฝอยในเขตบางคอแหลม ซึ่งมีที่พักอาศัย สถานที่ราชการและเอกชน และประชาชนที่มีอาชีพหลากหลาย มีส่วนในการรับผิดชอบและก่อให้เกิดเจตคติที่ดีในการจัดการขยะมูลฝอยที่ได้ ผู้วิจัยจึงได้สนใจศึกษาเรื่อง "เจตคติต่อการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรณีศึกษา: ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร" จะเป็นประโยชน์ในการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของสำนักงานเขตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และเป็นการให้บริการประชาชนในการเก็บขนขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
3
วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
2.เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นกลุ่มประชากรอาชีพต่างๆ ในเขตความรับผิดชอบของเขตบางคอแหลม ที่ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร แยกตามสถานที่พักอาศัยและสถานที่ทำงาน ประกอบด้วย บ้านพักอาศัย สถานที่ราชการและเอกชน ศาสนสถาน โรงเรียน สถานพยาบาล ตลาดสด และคอนโดมิเนียม
นิยามศัพท์เฉพาะ
อาชีพ หมายถึง การประกอบอาชีพของบุคคลเช่น รับราชการ พนักงานองค์กรเอกชน แม่ค้า นักบวช แม่บ้าน
สถานที่อยู่ หมายถึง สถานที่พักอาศัย หน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนที่อยู่บนถนนเจริญกุล ได้แก่ ที่พักอาศัย คอนโดมิเนียม โรงเรียน วัด โรงพยาบาลและสถานพยาบาล ตลาดสด และสถานที่พักชั่วคราว
ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย หมายถึง การที่ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับขยะมูลฝอย ในเรื่องของความหมาย ชนิดของขยะมูลฝอย แหล่งที่มาของมูลฝอย การกำจัดมูลฝอย การคัดแยกขยะมูลฝอย พิษภัยอันตรายและผลกระทบจากขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอย หรือมูลฝอย หมายถึง บรรดาสิ่งของที่คนไม่ต้องการใช้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของแข็งทั้งอินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุ รวมตลอดถึงขี้เถ้า ซากสัตว์ ฝุ่นละอองและเศษวัตถุต่างๆที่ทิ้งจากบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยและสถานที่ต่างๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ ขยะที่เป็นเศษอาหารหรือขยะเปียก ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือขยะแห้ง และขยะพิษหรือขยะมูลฝอยอันตราย
4
เจ้าหน้าที่เก็บขนมูลฝอย หมายถึง พนักงานเก็บขนมูลฝอยที่อยู่ประจำรถเก็บขนมูลฝอยแต่ละประเภท ไม่รวมคนขับรถทำหน้าที่ให้บริการเก็บขนมูลฝอย
การบริการเก็บขนขยะมูลฝอย หมายถึง กิจกรรมตั้งแต่การขนถ่ายมูลฝอยจากภาชนะรองรับมูลฝอย เข้าสู่รถเก็บมูลฝอยไปจนถึงการขนมูลฝอยนั้นไปถ่ายเทไว้ที่จุดหมายปลายทาง จำแนกเป็น การเก็บขนมูลฝอยที่ใช้รถเก็บขนวิ่งเก็บขนมูลฝอยจากภาชนะรองรับมูลฝอยที่ตั้งอยู่บนถนน ปากซอย จอดรถเก็บขนมูลฝอยเป็นจุด เก็บขนมูลฝอยจากภาชนะรองรับของเจ้าของโดยนำภาชนะรองรับเปล่าไปคืน หรือเจ้าของนำภาชนะกลับคืนไปเอง
การรับรู้ข่าวสาร หมายถึง การรับรู้ข่าวสารประชาชน โดยการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงการคัดแยก การเก็บขนขยะมูลฝอย
การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอย หมายถึง การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมูลฝอยในชุมชน โดยประชาชนช่วยกันรักษาความสะอาดในชุมชนโดยการลดปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน ซึ่งเป็นมูลฝอยที่ถูกปล่อยออกมาจากบ้านพักอาศัย ร้านค้า ตลาด สถานที่ราชการต่างๆ ที่อยู่ในชุมชนนั้น และเข้าร่วมกิจกรรม หรือโครงการต่าง ๆ ที่ชุมชนจัดขึ้น
เจตคติ หมายถึง ระดับความความรู้สึกหรือความพอใจต่อการการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเจ้าหน้าที่เก็บขนขยะ ได้แก่ การจัดเก็บขนขยะมูลฝอยด้วยระบบการคัดแยก การให้บริการตามเวลาที่กำหนด
สมมติฐานของการวิจัย
จากกรอบแนวความคิดที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เป็นแนวทางกำหนดสมมติฐานเพื่อใช้ตอบปัญหาการวิจัยตามวัตถุประสงค์คือ
สมมติฐานที่ 1 ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกันมีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูล
ฝอยของเขตบางคอแหลมแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 2 ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในที่พักที่มีลักษณะแตกต่างกันมีเจตคติต่อการ
บริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลมแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์
กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม
สมมติฐานที่ 4 การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับ
เจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม
5
สมมติฐานที่ 5 การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับ
เจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม
กรอบแนวความคิด
จากการวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาภายใต้แนวคิดและทฤษฎีการเกี่ยวกับ ความรู้เรื่องขยะมูลฝอย ของ ยุพิน ระพิพันธุ์ (2544 : 24 – 26)) ที่อธิบายถึง วัสดุสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของแข็งของเน่าเปื่อยได้หรือไม่ก็ตาม ตลอดจนขี้เถ้า ซากสัตว์ มูลสัตว์ ฝุ่นละอองและเศษวัตถุที่ทิ้งแล้วจากบ้านเรือน ที่พักและสถานที่ต่างๆ และการจัดการขยะมูลฝอย ที่อธิบายให้เห็นถึงแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน มาใช้ร่วมกับระบบการเก็บขนมูลฝอย ของธเนศ ศรีสถิตย์ (2537:1-10 ) อธิบายถึงการบริการจัดเก็บมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ ทฤษฎีการรับรู้ข่าวสารของ ของนรินทร์ พัฒนาพงศ์ (2542:3) ที่อธิบายถึง การสื่อสารจะทำหน้าที่ประสานความเข้าใจในการที่จะให้เกิดการผลดีต่อการบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จ แนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วมของประชาชนของ โคเฮนและอัฟฮอฟฟ์ และไพรัตน์ เตชะรินทร์ (2527 : 6-7) ที่กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จ แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของ ลลิตา โภชนพันธ์ (2539 : 15-16) ที่อธิบายถึงพฤติกรรมเกิดจากการเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงานส่งผลให้เกิดเจตคติได้ และแนวคิดเจตคติ ที่อธิบายถึง เจตคติเกิดจาก ความรู้ ความรู้สึก และพฤติกรรม นำมาศึกษาร่วมกับหลักฐานเชิงประจักษ์จากงานวิจัยที่ผ่านมา นำมาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวความคิดเพื่อการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ดังรายละเอียดที่แสดงไว้ใน แผนภาพที่ 1
6
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิด
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
-อาชีพ
-สถานที่อยู่
-ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย
-การรับรู้ข่าวสาร
-การมีส่วนร่วมในการจัดการ
มูลฝอย
เจตคติต่อการบริการเก็บขน
ขยะมูลฝอยของเขต
บางคอแหลม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1.เพื่อทราบถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบาง
คอแหลม กรุงเทพมหานคร
2.เพื่อทราบแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.สามารถนำผลที่ได้ไปเป็นแนวทางแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าทบทวนเอกสารต่างๆ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามลำดับที่จะนำเสนอต่อไปนี้
1.ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการจัดการขยะมูลฝอย
2. แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้ข่าวสาร
3.แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
4.แนวคิดพฤติกรรม
5.แนวคิดเกี่ยวกับเจตคติ
6.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการจัดการขยะมูลฝอย
1.ความหมาย
1.1 ขยะมูลฝอย ตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2484 (แก้ไขเพิ่มเติม
ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2497)
“มูลฝอย” หมายถึง บรรดาสิ่งต่างๆ ที่คนไม่ต้องการและทิ้งไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
ของแข็งจะเน่าเปื่อยได้หรือไม่ก็ตาม และของอ่อนที่มีความชื้น ทั้งนี้รวมถึงขี้เถ้า ซากสัตว์ ฝุ่นละออง เศษผ้าเศษอาหาร เศษกระดาษ และเศษวัสดุสิ่งของทั้งที่เก็บกวาดจากเคหะสถาน อาคาร ถนน ตลาด สถานที่เลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมและอื่นๆ
ในทางวิชาการ จะใช้คำว่า “ขยะมูลฝอย” (Solid Waste) หมายถึง วัตถุสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของแข็งจะเน่าเปื่อยได้หรือไม่ก็ตาม รวมตลอดถึงขี้เถ้า ซากสัตว์ มูลสัตว์ ฝุ่นละอองและเศษวัตถุที่ทิ้งแล้วจากบ้านเรือน ที่พักอาศัย สถานที่ต่างๆรวมถึงสถานที่สาธารณะ ตลาด และโรงงานอุตสาหกรรม ยกเว้น อุจจาระ และปัสสาวะของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งปฏิกูลที่ต้องการเก็บและกำจัดที่แตกต่างไป
กรุงเทพมหานคร (กองวิชาการและแผน 2543) ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
ขยะมูลฝอย (Solid Waste) หมายถึง วัตถุสิ่งของที่ทิ้งจากอาคารบ้านเรือนสถานที่ทำงานและจากอุตสาหกรรม ได้แก่ เศษอาหาร เศษสิ่งของต่าง ๆ เครื่องใช้ วัสดุที่เหลือจากการรื้อทำลาย หรือการก่อสร้าง ซากรถยนต์ และตะกอนจากน้ำเสีย เป็นต้น
8
กรุงเทพมหานคร (กองวิชาการและแผน 2543) ได้ให้ความหมาย ขยะพิษจากชุมชน (Household Hazardous Waste) ไว้ได้แก่ หลอดไฟ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉาย สีสเปรย์ เครื่องสำอางหมดอายุ แบตเตอรี ยารักษาโรคที่หมดอายุ น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรกรถ ภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ น้ำยาทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์ น้ำยารักษาเนื้อไม้ น้ำยาขัดเงาไม้ น้ำยาขัดเงาโลหะ กาว สีทาบ้าน ทินเนอร์ แลกเกอร์ สารฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช สารฆ่าสัตว์ที่รบกวน และภาชนะใส่ปุ๋ยเคมี เป็นต้น ขยะพิษ ควรต้องแยกและรวบรวมใส่ถุง นำไปทิ้งในถังรองรับขยะพิษ
1.2 ชนิดของขยะมูลฝอย
วิรัช ชมชื่น (2537 : 28 ) ได้อธิบายเกี่ยวกับชนิดของขยะมูลฝอยไว้ดังนี้
1.2.1 ขยะมูลฝอยเปียก (Garbage) เป็นขยะมูลฝอยที่ประกอบด้วยอินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยง่ายมีความชื้นสูง เกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ได้ง่ายเมื่อปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งจะเกิดการเน่าเปื่อยส่งกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค ขยะมูลฝอยชนิดนี้ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้ เป็นต้น
1.2.2 ขยะมูลฝอยแห้ง (Rubbish) เป็นขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ได้ยาก
หรือย่อยสลายไม่ได้ มีความชื้นต่ำ บางชนิดติดไฟและเป็นเชื้อเพลิงได้ดี บางชนิดไม่ติดไฟและทำเป็นเชื้อเพลิงไม่ได้ เช่น เศษอาหาร เศษไม้ เศษแก้ว เศษโลหะ กระป๋อง เป็นต้น
1.2.3 ขี้เถ้า (Aahes) เป็นกากเชื้อเพลิงที่ผ่านการเผาไหม้แล้ว เช่น ขี้เถ้าถ่าน ขี้เถ้าแกลบ เป็นต้น ขยะมูลฝอยชนิดนี้ถ้ากำจัดหรือควบคุมไม่ดีจะเกิดการฟุ้งกระจาย ทำให้สกปรกเลอะเทอะเกิดมลพิษทางอากาศได้
1.2.4 ซากสัตว์ (Dead Animals) เป็นซากสัตว์ที่ตายและไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ซากหนู สุนัข แมว ฯลฯ ซึ่งซากเหล่านี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเน่าเหม็นมาก เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและเชื้อโรค
1.2.5 เศษก่อสร้าง (Construction Refuse) ได้แก่ เศษคอนกรีตที่แตกเป็นชิ้นเล็ก
ชิ้นน้อย เศษอิฐ เศษไม้ และเศษโลหะต่าง ๆ เศษหิน ปูน ทราย ขยะมูลฝอยเหล่านี้ทำให้ขาดความสวยงามไม่เป็นระเบียบ
1.2.6 มูลฝอยจากถนน (Street Seepings) ได้แก่ ฝุ่น ผง ดิน หิน ใบไม้ เศษ
กระดาษ เศษไม้ และเศษโลหะต่าง ๆ ที่ได้จากการกวาดถนน ขยะมูลฝอยเหล่านี้ทำให้ถนนสกปรกเลอะเทอะ
1.2.7 มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Refuse) โรงงานอุตสาหกรรม
9
แต่ละแห่งจะมีขยะมูลฝอยแตกต่างกันไป ทั้งนี้แล้วแต่กิจกรรมของแต่ละโรงงาน เช่น โรงงานผลิตอาหารจะมีขยะมูลฝอยจำพวกเศษอาหารชนิดต่าง ๆ และเศษภาชนะบรรจุอาหารปะปนอยู่สูง ซึ่งจะเป็นขยะมูลฝอยสดมากกว่าขยะมูลฝอยแห้ง
1.2.8 ขยะมูลฝอยจากกสิกรรม ได้แก่ ของเสียที่เกิดจากกิจกรรมทางกสิกรรม เช่น
เศษพืช หญ้า ฟางข้าว มูลสัตว์ เป็นต้น
1.2.9 ขยะมูลฝอยพิเศษ เป็นของเสียซึ่งมีอันตรายสูง เช่น ขยะมูลฝอยที่ปนเปื้อนเชื้อ
โรคที่ได้จากโรงพยาบาล ของเสียจากกัมมันตรังสี และของเสียที่เป็นสารเคมี เป็นต้น ของเสียเหล่านี้ต้องกำจัดและควบคุมเป็นพิเศษไม่ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์
1.3 การจำแนกประเภทของขยะมูลฝอย
วิรัช ชมชื่น (2537 : 28 ) กล่าวว่า มูลฝอยที่เกิดขึ้น สามารถจำแนกประเภทตามลักษณะของแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอยได ้ดังนี้
ตารางที่ 1 แหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอย
แหล่งกำเนิด
ชนิดของขยะมูลฝอย
ส่วนประกอบ
1.อาคารบ้านเรือน
ภัตตาคาร ร้านค้า
สถานที่ทำงาน
ตลาดสด
- ขยะมูลฝอยเปียก
(Garbage)
เป็นขยะมูลฝอยที่เกิดจากการเตรียมการประกอบหรือบริการอาหาร ขยะมูลฝอยจากตลาดจากการเก็บอาหารการซื้อขายอาหาร และผลผลิตเกี่ยวกับอาหาร
- ขยะมูลฝอยแห้ง
(Rubbish)
พวกที่ไหม้ไฟได้ เช่น กระดาษ กระดาษแข็ง หีบหรือกล่อง เศษไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ หญ้าเครื่องเรือนเครื่องใช้
พวกที่ไม่ไหม้ไฟ เช่น เหล็กและโลหะอื่น ๆ กระป๋อง เครื่องเรือน เครื่องใช้ที่ทำจากโลหะ แก้ว เครื่องปั้นดินเผา
- ขี้เถ้า (Ash)
สิ่งที่เหลือจากการเผาไหม้
2.ถนน ข้างถนน
บริเวณที่ดินรกร้าง
ว่างเปล่า
-ขยะมูลฝอยที่เก็บกวาด จากถนน
- ซากพืช
- เศษชิ้นส่วนของ ยานพาหนะ
ดิน เศษหิน ผง ฝุ่น ใบไม้
สุนัข แมว ฯลฯ
ซากรถยนต์ ยานพาหนะอื่นๆ
1 0
แหล่งกำเนิด ชนิดของขยะมูลฝอย ส่วนประกอบ
3.บริเวณที่มีการ
ก่อสร้าง การรื้อถอน
อาคาร
- เศษสิ่งก่อสร้าง
ไม้ อิฐ เศษคอนกรีต หิน
4.โรงงานอตุสาหกรรม
โรงไฟฟ้า โรงพยาบาล
- ขยะมูลฝอยจาก
กิจการอุตสาหกรรม
- ขยะมูลฝอยพิเศษ
มีลักษณะเฉพาะของอตุสาหกรรมแต่ละ
ประเภท
ขยะมูลฝอยที่เป็นสารพิษ ขยะมูลฝอยที่ติดเชื้อวัตถุระเบิด วัตถุแผ่รังสี
5. ฟาร์มที่เลี้ยงสัตว์
-ขยะมูลฝอยจากการ
เกษตร
มูลสัตว์ เศษหญ้า เศษฟาง
6. โรงงานบำบัดน้ำเสีย
- ขยะมูลฝอยจากการ
บำบัดน้ำเสีย
พวกของแข็งที่ติดตะแกรง
1.4 การกำจัดขยะมูลฝอย
การจำกัดขยะมูลฝอยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 4 วิธีการ ดังนี้คือ
1.4.1 การหมักทำปุ๋ย (Composting)
การหมักขยะมูลฝอยเพื่อทำปุ๋ย คือ การย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในขยะ
มูลฝอยโดยอาศัยขบวนการทางชีวเคมีของจุลินทรีย์ ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมในด้านความชื้น อุณหภูมิ ปริมาณ ออกซิเจน รวมทั้งอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนและไนโตรเจน ทำให้ได้แร่ธาตุที่ค่อนข้างคงรูปมีคุณค่าต่อการบำรุงดิน
1.4.2 การนำไปเผา (Incineration)
การเผาขยะมูลฝอยในเตาเผาที่ถูกหลักสุขาภิบาล เป็นขบวนการเผาไหม้ของเสียทั้งส่วนที่เป็นของแข็ง ของเหลวและก๊าซ ซึ่งต้องใช้ความร้อนสูงเพื่อทำให้การเผาไหม้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ไม่ทำให้เกิดกลิ่นและควันรบกวนรวมทั้งไม่ทำให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะทางอากาศ
1 1
1.4.3 การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill)
การฝังกลบขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลเป็นวิธีการที่ควบคุมและดูแลได้ง่ายกว่า 2 วิธีข้างต้น โดยการฝังกลบนี้ขยะมูลฝอยจะถูกนำมาเทกองบนพื้นที่ได้เตรียมไว้แล้วใช้เครื่องจักรกลบดอัดให้แน่นเพื่อลดปริมาตรของขยะมูลฝอยให้เล็กลง จากนั้นจึงใช้ดินกลบทับด้านบนและบดอัดให้แน่นสลับกันไป ซึ่งจะทำให้เกิดลักษณะเป็นชั้นและมีความสูงเพิ่มมากขึ้นตามระดับที่กำหนดไว้ ซึ่งชั้นความสูงของการกลบนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพของภูมิประเทศของพื้นที่ที่ใช้ในการฝังกลบ
1.4.4 การลดปริมาณและการคัดแยก
การกำจัดด้วยวิธีนี้ไม่ใช่การกำจัดขยะมูลฝอยที่สมบูรณ์ เพราะหลังจากลด
ปริมาณของขยะมูลฝอยลงได้แล้ว ส่วนที่เหลือยังต้องนำไปฝังกลบ หรือเผา เพียงแต่ปริมาณของขยะมูลฝอยที่ต้องกำจัดนั้นมีน้อยลงทำให้ประหยัดงบประมาณ พื้นที่และพลังงาน นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเพิ่มรายได้อีกด้วย โดยปริมาณของขยะมูลฝอยจะลดลงได้ด้วยการทำให้มันเกิดขึ้นน้อยลง การลดปริมาณขยะมูลฝอยจะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของหลาย ๆฝ่าย คือ ฝ่ายรัฐบาล ผู้ประกอบการ ตลอดจนประชาชนทุกคน แต่ละฝ่ายจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันออกไป
การคัดแยกขยะมูลฝอย กรุงเทพมหานคร (กองวิชาการและแผนงาน 2543) ได้จัดทำแนวทางในการลดปริมาณและการแยกขยะมูลฝอย โดยใช้ แนวคิด 4RS ประกอบด้วย 4 วิธีการดังนี้คือ
1. ลดการใช้ เป็นการลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ใช้อย่างประหยัด และใช้เท่าที่จำเป็น เช่น ทำอาหารให้พอดีรับประทาน เลือกซื้อสินค้าที่ไม่บรรจุห่อหลายชั้น ใช้ผ้าเช็ดหน้า แทนกระดาษทิชชู พกถุงผ้าไปตลาด
2. การซ่อมแซม เป็นการซ่อมแซมวัสดุสิ่งของที่ชำรุด ให้อยู่ในสภาพที่ดีใช้งานได้นาน ไม่ต้องทิ้งเป็นขยะหรือต้องสิ้นเปลืองซื้อใหม่
3. การใช้ซ้ำ เป็นการนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบเดิม หรือใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เช่น ขวดแก้วนำไปล้างไว้ใส่น้ำดื่ม การนำกระดาษมาใช้ สองหน้า
4. การนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการนำขยะมาแปรรูป ผ่านกระบวนการผลิต
ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาใช้ใหม่ ทำให้ไม่ต้องนำทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตสิ่งของต่างๆ แต่ใช้ขยะเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตต่างๆ เช่น การนำขวดแก้วที่ใช้แล้วกลับไปหลอมใหม่ เป็นต้น
1 2
ในการดำเนินการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด ควรจะให้มีการคัดแยกประเภทตั้งแต่แหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากครัวเรือน แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือและการยอมรับจากครัวเรือนจึงจะประสบผลสำเร็จ
ดังนั้น ขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากทุกชุมชน ในการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยควรจะประกอบด้วย
1. ให้ชุมชน (ครัวเรือน) เป็นผู้รับผิดชอบหรือมีความรู้เป็นเจ้าของโครงการนี้เอง ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวที่เกิดขึ้น
2. จัดระบบเก็บขนให้เหมาะสม โดยเฉพาะการจัดเก็บขยะมูลฝอยจากบ้าน
3. จัดหาภาชนะหรือถังขยะมูลฝอยแยกประเภทบริการแก่ครัวเรือน และชุมชนให้ทั่วถึง
4. มีการเก็บขนขยะมูลฝอยที่แยกประเภททุกวัน เช่นเดียวกับขยะมูลฝอยทั่วไป
5.ประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อให้ชุมชนรับทราบโครงการ และผลที่ได้รับจากโครงการการรณรงค์เพื่อให้ชุมชนเกิดความร่วมมือในการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย และประโยชน์อีกประการหนึ่งของการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย คือ ทำให้สามารถวางแผนการกำจัดขยะมูลฝอยครั้งสุดท้ายได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.5 ผลกระทบและปัญหาที่เกิดจากขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอยที่เกิดจากชุมชน มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องกำจัด หากไม่มีการเก็บและกำจัดอย่างถูกต้องหรืออย่างเหมาะสมแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อชุมชน คือ
1.5.1 เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม (Pollution) ขยะมูลฝอยเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของชุมชนเกิดมลพิษ เช่น น้ำเสีย อากาศเสีย เกิดการปนเปื้อนของดิน เป็นต้น
1.5.2 แหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและแมลง ( Breeding Places ) ในขยะมูลฝอยอาจจะมีเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคต่างๆปะปนมา เช่น มูลฝอยจากโรงพยาบาล และการสะสมของมูลฝอยที่เก็บขนมา ถ้ากำจัดไม่ถูกต้องจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันและหนู ซึ่งจะเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน
1.5.3 การเสี่ยงต่อสุขภาพ ( Health risk ) ชุมชนที่ขาดการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดี และถูกต้องตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาล จะทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้โดย
1 3
ง่าย เช่น โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือ พยาธิชนิดต่าง ๆ เนื่องจากขยะมูลฝอยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง ฉะนั้น การแพร่ของโรคย่อมเป็นได้ง่าย นอกจากนั้นยังมีอันตรายที่เกิดจากขยะพิษ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ มีสารปรอท ทำให้ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ประสาทหลอน หรือการได้รับสารตะกั่ว จากแบตเตอรี่รถยนต์ ยาฆ่าแมลงก็จะทำให้อ่อนเพลีย ซีด ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ความจำเสื่อม ชักกระตุกและหมดสติได้
1.5.4 การสูญเสียทางเศรษฐกิจ ( Esthetics Economic Loss ) ชุมชนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับกำจัดขยะมูลฝอยเป็นประจำอยู่แล้ว และถ้าการกำจัดไม่ถูกต้อง ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ เช่น นำขยะมูลฝอยทิ้งลงในแหล่งน้ำ ก็จะส่งผลให้เกิดน้ำเสีย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ ซึ่งจะเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมา เป็นต้น
1.5.5 ทำให้ขาดความสง่างาม ( Esthetics ) การเก็บรวบรวมและกำจัดขยะมูลฝอยที่ดี จะช่วยให้ชุมชนเกิดความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย อันแสดงถึงการมีวัฒนธรรมนำไปสู่ความเจริญของชุมชน ถ้าขาดการเก็บหรือการจัดการไม่ดี ย่อมทำให้เกิดความไม่น่าดู
1.5.6 ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (Nuisance ) ขยะมูลฝอยก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ประชาชนได้ เนื่องจากความสกปรกและกลิ่นเหม็นที่เกิดจากการเน่าเปื่อย หรือการสลายของขยะมูลฝอย
ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยเป็นสิ่งที่นำมาใช้ศึกษาเพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของความ มูลฝอย แหล่งที่มาของขยะมูลฝอย การกำจัด การคัดแยกขยะมูลฝอย และผลกระทบจากขยะมูลฝอย นำไปสู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพ
การจัดการขยะมูลฝอย
การจัดการขยะมูลฝอย หมายถึง หลักการในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม การทิ้ง การเก็บชั่วคราว การรวบรวม การขนถ่ายและการขนส่ง การกำจัดขยะมูลฝอย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดในทางสุขภาพอนามัย ความสวยงาม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุดจะต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยปัจจัยในหลายด้านประกอบกัน ได้แก่ ความรู้ในเรื่องของขยะมูลฝอย การบริการ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การประสานความร่วมมือทั้งของหน่วยงานราชการและประชาชน และการดำเนินการในการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างเหมาะสม
1 4
ปรีดา แย้มเจริญวงศ์ (2531 : 13-14) ได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยไว้ว่า การดำเนินการจัดการมูลฝอยที่ดี จะต้องใช้วิธีการกำจัดที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล โดยไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม เช่น พื้นดิน แหล่งน้ำและอากาศ เป็นต้น โดยจะต้องคำนึงถึงองศ์ประกอบ สำคัญ 5 ประการ คือ
1. ชนิด ปริมาณและลักษณะของขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นตามประเภทของกิจกรรมและแหล่งกำเนิด
2. ค่าใช้จ่ายและการลงทุนที่ใช้ในการดำเนินงาน เกี่ยวกับการจัดการในการกำจัด
3. ปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ที่ได้รับผลจากการเกิดมลพิษ อาจจะส่งผลกระทบต่อ
สุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์
4. การนำเอาทรัพยากรบางส่วนจากขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
5. กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กองวิชาการและแผนงาน (2537) ได้มีวิธีการจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการโดยสำนักรักษาความสะอาด ได้นำมาปฎิบัติมีอยู่ 4 วิธี ได้แก่
1. การหมักให้มูลฝอยย่อยสลายตัวเป็นปุ๋ยอินทรีย์ (Composting)
2. การเทกองกลางแจ้ง (Open dumping)
3. การฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary landfill)
4. การเผาในโรงงานเผาขยะ (Incineration) จะนำเผาเฉพาะส่วนที่ถูกแยกออกจาก
มูลฝอยที่นำเข้าโรงงานและมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดจากสถานพยาบาล
รูปแบบการจัดกิจกรรมหรือโครงการลดและแยกขยะมูลฝอยในชุมชน ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้
1. ชาวชุมชนมีจิตสำนึกและวิสัยทัศน์
2. ระดมอาสาสมัครและมอบหมายภาระกิจ
3. การวางกลยุทธ์ในชุมชน
4. การรณรงค์ประชาสัมพันธ์
5. การลงมือปฏิบัติ
6. การประเมินสถานการณ์และการปรับแผน
ยุพิน ระพิพันธุ์ (2544 : 24 – 26) ได้กล่าวถึง แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยไว้ว่า การจัดการขยะมูลฝอย หมายถึง หลักการในการดำเนินการเกี่ยวข้องกับการควบคุม การทิ้งการเก็บชั่วคราว การรวบรวม การขนถ่ายและการขนส่ง การแปลงรูป และการกำจัดขยะมูลฝอย
1 5
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดในทางสุขอนามัย ความสวยงาม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุด คือการยอมรับของสังคม ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยปัจจัยในหลายๆ ด้านประกอบกัน ได้แก่ การบริการ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และวิธีการจัดการขยะมูลฝอยในแต่ประเภท โดยวิธีการจัดการจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในทุกแง่ทุกมุม
การจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2440 โดยเริ่มจากการดำเนินการแบบง่าย ๆ และเริ่มขยายงานใหญ่ขึ้น มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามขนาดของชุมชนที่ใหญ่ขึ้น ปริมาณประชากรเพิ่มขึ้น และคาดว่าในอนาคตจะมีวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อนอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยอีกมาก ความยุ่งยากหลายประการที่เกี่ยวเนื่องอยู่ด้วย มิอาจแยกออกได้รวดเร็ว ผลกระทบอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทรัพยากรที่เริ่มมีจำนวนจำกัด เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจถึงส่วนต่างๆ ของระบบการจัดการขยะมูลฝอย ตลอดจนความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ เหล่านั้นให้ชัดเจน
กิจกรรมทั้งหลายในการจัดการขยะมูลฝอย อันเริ่มตั้งแต่การทิ้งขยะมูลฝอยจนกระทั่งถึงการกำจัดขยะมูลฝอยในขั้นสุดท้าย อาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1.การทิ้งขยะมูลฝอย เป็นมูลกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ทิ้งเห็นว่าวัสดุชิ้นใดๆ นั้น ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไปแล้ว จึงทิ้งไว้หรือรวบรวมเพื่อกำจัดต่อไป ดังจะเห็นได้ว่าการทิ้งขยะมูลฝอยเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นกับบุคคลผู้ใช้วัสดุนั้นๆ ว่าจะยังใช้ประโยชน์จากวัสดุนั้นได้หรือไม่
2.การจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ในส่วนนี้จะมุ่งความสนใจไปที่ขยะมูลฝอยที่มาจากชุมชนมากกว่าขยะมูลฝอยจากแหล่งอื่น ทั้งนี้ เพราะขยะมูลฝอยส่วนนี้ประกอบด้วยขยะมูลฝอยมากมายหลายชนิดปะปนกันอยู่ และเกิดในแหล่งที่ผู้คนอาศัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่ผู้คนอยู่กันอย่างแออัด ไม่มีที่เพียงพอที่จะเก็บขยะมูลฝอยที่เกิดในแหล่งที่ผู้คนอาศัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่ผู้คนอยู่กันอย่างแออัด ไม่มีที่เพียงพอที่จะเก็บขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่เพียงพอจะเก็บก็จะมีการขนย้ายหรือกำจัดไปในเวลาที่ต้องการ มีการขนย้ายหรือกำจัดไปในเวลาอันควร มิฉะนั้นจะเกิดการเน่าเหม็น เป็นภาพที่ไม่น่าดู และอาจมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
3.การแปลงรูปหรือการคืนรูป องค์ประกอบของระบบการจัดการขยะมูลฝอยส่วนนี้รวมตั้งแต่เทคนิคการใช้เครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิ
1 6
ภาพของส่วนประกอบอื่นๆ และเพื่อแยกวัสดุที่ยังใช้ประโยชน์ได้กลับมาใช้ใหม่ หรือแปลงรูปขยะมูลฝอยให้ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่น ปุ๋ย หรือพลังงานความร้อน
ระบบการเก็บขนมูลฝอย
ธเนศ ศรีสถิตย์ (2537: 1-10) ได้กล่าวถึงระบบเก็บขนมูลฝอยว่า แบ่งเป็น 2 ระบบคือ
1. ระบบถังเคลื่อนที่ (Hauled Container System: HSC) เป็นระบบที่ภาชนะ
รองรับมูลฝอยจะถูกลากไปขนถ่ายยังสถานีปลายทาง ซึ่งอาจเป็นสถานีขนถ่ายหรือสถานที่กำจัดมูลฝอยที่มีปริมาณมากและประหยัดเวลาในการเก็บขนมูลฝอย
2. ระบบถังประจำ (Stationary Container System: SCS) เป็นระบบที่
ภาชนะรองรับมูลฝอยถูกวางไว้ตายตัว ไม่มีการเคลื่อนย้ายเหมือนระบบแรก แต่ใช้วิธีขนถ่ายมูลฝอยจากภาชนะรองรับไปยังรถขนเก็บมูลฝอยหรือนำภาชนะรองรับมูลฝอยอันใหม่มาวางไว้แทน
การกำหนดเส้นทางในการเก็บขนมูลฝอย
ธเนศ ศรีสถิตย์ (25371-10) อธิบายถึงการกำหนดเส้นทางการเก็บขนมูลฝอยไว้ว่า การกำหนดเส้นทางการเก็บขนมูลฝอยให้เหมาะสม ส่วนใหญ่จะทำโดยการทดลองวางเส้นทางที่เหมาะสมหลายๆ ครั้ง จึงไม่มีกฎเกณฑ์ตามตัว การกำหนดเส้นทางทำแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อนนัก สามารถทำได้ด้วยวิธีที่เรียกว่า Heuristic มีหลักดังนี้
1. เส้นทางไม่ควรแบ่งซอยมากเกินไป
2. เวลาที่ใช้ในการเก็ขนมูลฝอยของรถแต่ละคันควรมีการกำหนดเวลาให้แน่นอนและ
ทัดเทียมกัน
3. จุดเริ่มต้นในการเก็บขนมูลฝอยควรอยู่ใกล้สำนักงานหรือโรงเก็บรถมากที่สุด
4. หลีกเลี่ยงการเก็บขนมูลฝอยในชั่วโมงเร่งด่วน
5. กรณีเป็นเส้นทางเดินรถทางเดียวควรเริ่มต้นเก็บจากหัวถนนซึ่งเป็นที่สูงก่อน
6. กรณีเส้นทางตันควรพิจารณาก่อนว่าควรเก็บขนด้วยวิธีการอย่างไรจึงจะเหมาะสม
7. ถ้าพื้นที่เก็บขนเป็นเนินสูง ในการเก็บขนมูลฝอยควรเก็บในขณะที่รถวิ่งลงเนินและทำการเก็บทั้งสองข้างถนนในเวลาเดียวกัน
8. กรณีที่มีการเก็บขนจากด้านเดียวของถนน การเดินรถควรเป็นแบบทวนเข็มนาฬิกา
ซึ่งจะทำให้ได้เก็บขนมูลฝอยจากด้านซ้ายของถนนตลอดไป
1 7
9. การเก็บขนมูลฝอยทั้งสองข้างถนนในเวลาเดียวกัน ควรใช้เฉพาะในช่วงถนนที่เห็น
ว่าพนักงานเก็บขนมีความปลอดภัยเพียงพอ และไม่ควรให้มีจุดเก็บขนมูลฝอยอยู่ใกล้ทางแยกที่ถนนตัดกัน
สถานีขนถ่ายมูลฝอย
ธเนศ ศรีสถิตย์ (2537: 1-10) อธิบายไว้ว่า เป็นสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้รถเก็บขนมูลฝอยขนาดเล็กไปเทลงรถบรรทุกมูลฝอยขนาดใหญ่ ที่บรรจุมูลฝอยได้ปริมาณมากๆ ทำให้รถเก็บขนมูลฝอยขนาดเล็กไม่ต้องขนส่งมูลฝอยไปยังสถานที่กำจัดมูลฝอย หากพื้นที่กำจัดมูลฝอยนั้นอยู่ไกลจากพื้นที่เก็บขน เช่น 20 หรือ 30 กิโลเมตร สถานีขนถ่ายมูลฝอยมีประโยชน์ต่อการเก็บมูลฝอยคือ
1. ประหยัดค่าใช้จ่าย
2. รถเก็บขนมูลฝอยมีเวลาในการเก็บขนมูลฝอยมากขึ้นทำให้สามารถขยายพื้นที่เก็บ
ขนได้
3. เอกชนหรือหน่วยงานที่มีปริมาณมูลฝอยมาก หากมีรถเก็บขนมูลฝอยเองสามารถ
ขนส่งมูลฝอยมาทิ้งสถานีขนถ่ายได้ เป็นการลดภาระของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
4. ที่สถานีขนถ่ายมูลฝอย สามารถคัดแยกมูลฝอยที่มีประโยชน์ได้ระหว่างที่รอเวลาใน
การขนส่งมูลฝอยไปยังสถานที่กำจัด
ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญของชุมชนเมืองที่ควรได้รับการแก้ไข จากการศึกษาชนิดของขยะมูลฝอยที่แบ่งเป็น ขยะมูลฝอยเปียก (Garbage) ขยะมูลฝอยแห้ง (Rubbish) ขี้เถ้า (Aahes) ซากสัตว์ (Dead Animals) เศษก่อสร้าง (Construction Refuse) มูลฝอยจากถนน (Street Seepings) มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Refuse) ขยะมูลฝอยจากกสิกรรม และขยะมูลฝอยพิเศษที่เป็นของเสียซึ่งมีอันตรายสูง ของเสียเหล่านี้ต้องกำจัดและควบคุมเป็นพิเศษไม่ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ ทำให้ทราบถึงประเภทของขยะมูลฝอยที่มีประโยชน์ในการนำมาประกอบกับการจัดการขยะมูลฝอย ประเภทของขยะมูลฝอย ตามแนวคิดของวิรัช ชมชื่น (2537 : 28 ) เป็นความรู้ที่นำมาสร้างกิจกรรมทั้งหลายในการจัดการขยะมูลฝอย ตั้งแต่การทิ้งขยะมูลฝอยจนกระทั่งถึงการกำจัดขยะมูลฝอยในขั้นสุดท้าย ได้แก่การทิ้งขยะมูล การจัดการขยะมูลฝอย และการแปลงรูปหรือการคืนรูป และแนวคิดการจัดการของยุพิน ระพิพันธุ์ ที่อธิบายให้เห็นถึงการจัดการขยะมูลฝอยประเภทต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง
1 8
จากการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความรู้และการจัดการขยะมูลฝอยต่างๆข้างต้น ผู้วิจัยได้นำแนวคิดการจัดการขยะมูลฝอยของยุพิน ระพิพันธุ์ (2544: 24-26) มาใช้ในการศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยประเภทต่างๆ โดยนำมาศึกษาร่วมกับแนวคิดด้านการบริการขนถ่ายมูลฝอย และระบบการเก็บขนมูลฝอย ของธเนศ ศรีสถิตย์ (2537: 1-10) ที่มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม มาใช้เป็นกรอบในการศึกษาครั้งนี้
2. แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้ข่าวสาร
การดำเนินโครงการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ จะต้องอาศัยการสื่อสารที่มีองค์ประกอบและกระบวนการในการสื่อสารรวมถึงการประชาสัมพันธ์ที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญ การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนและมีการกำหนดวิธีการ การวางแผนในการเลือกและใช้สื่ออย่างเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายย่อมจะประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการ
นรินทร์ พัฒนาพงศ์ (2542:3)ได้อธิบายไว้ว่า การสื่อสาร หมายถึง การแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยใช้สื่อ หรือช่องทางต่างๆ เพื่อมุ่งหมายโน้มน้าวจิตใจให้เกิดผลในการ รับรู้ หรือ เปลี่ยนทัศนคติ หรือ เปลี่ยนพฤติกรรม และการประชาสัมพันธ์ เป็นการสื่อสารขององค์กรเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับประชาชน โดยการเสนอข่าวสาร การสร้างกิจกรรมให้เป็นข่าวสาร การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม หรือการแสดงความปรารถนาดีต่อประชาชนในฐานะที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และเกื้อกูลผลประโยชน์ซึ่งกันและกันความสัมพันธ์ในลักษณะนี้จะนำไปสู่ทัศนคติในเชิงบวก หรือภาพพจน์ ที่น่านิยมขององค์กร และไปสู่พฤติกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคม
องค์ประกอบของการสื่อสาร
นรินทร์ พัฒนาพงศ์ (2542:3) ได้กล่าวว่า ในการสื่อสาร มีสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง องค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้คือ
1. ผู้ส่งสาร (Sender) หมายถึง บุคลหรือกลุ่มบุคล ที่มีความคิด มีความต้องการ และมีความตั้งใจที่จะส่งข่าวสาร ความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อและอื่นๆ ไปสู่ผู้รับสาร ผู้ส่งสาที่ดี มีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง ควรมีคุณลักษณะที่มีความเหมาะสมด้วยคุณลักษณะที่ดี ของผู้ส่งสาร ประกอบด้วยปัจจัยต่อไปนี้
1.1 มีความรู้ ความสามารถ ในข้อมูลข่าวสาร หรือเรื่องที่จะสื่อสาร
1 9
1.2 มีบุคลิกลักษณะในท่าทาง ความเฉลียวฉลาด มีไหวพริบ และการตัดสินใจ
1.3 ได้รับการยอมรับในสังคม ผู้ที่ได้รับการยอมรับทั้งแบบที่เป็นผู้นำเป็น
ทางการ และไม่เป็นทางการ รวมถึงผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคม จะได้รับการยอมรับด้วยดี
1.4 เป็นคนเปิดเผยจริงใจ จะสามารถสร้างความไว้วางใจกับผู้รับสารได้ดี
2. สาร (Message) หมายถึง ข่าว ข้อมูล และอื่นๆที่มีความหมายที่แสดงออกโดยอาศัยภาษา หรือสัญลักษณ์ที่จะสามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร สารจะเป็นตัวเร่งเร้าและกระตุ้นให้ผู้รับสารรับรู้และเข้าใจความหมาย และมีปฏิกิริยาในการตอบสนองได้
คุณลักษณะของสารที่ดี เนื้อหาข่าวสารที่ดีจะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิผล
2.1 สารนั้นจะต้องมุ่งถึงผู้รับสารและได้รับความสนใจจากผู้รับสาร
2.2 สารนั้นต้องมีสัญลักษณ์แสดงถึงความเหมือนกันของผู้ส่งสารและผู้รับสาร
เพื่อแลกเปลี่ยนความหมายซึ่งกันและกัน
2.3 สารต้องเร้าความต้องการของผู้รับสาร และแนะนำวิธีการที่ผู้รับสารจะ
ได้รับประโยชน์หรือการตอบสนองตามความต้องการ
2.4 สารต้องแนะนำวิธีที่ผู้รับสารจะตอบสนองความต้องการของตน ตาม
ความเหมาะสมกับสถานการณ์ และสอดคล้องกับการดำเนินวิถีชีวิต
3. ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ (Channel) หมายถึง สิ่งที่จะนำสารไปส่งยังผู้รับสาร ซึ่งมีหลายช่องทางโดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออีเล็กทรอนิกส์ สื่อพื้นบ้าน เป็นต้น
การที่จะพิจารณาในการใช้สื่อหรือช่องทางการสื่อสารใด ควรพิจารณาถึง ปัจจัยต่อไปนี้
3.1 ความเหมาะสมของสื่อกับผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารต้องเลือกช่องทาง หรือการใช้สื่อที่เหมาะสม และตนมีความชำนาญในสื่อนั้นๆ
3.2 ความเหมาะสมของสื่อนั้นกับการถ่ายทอดสาร
3.3 ความเหมาะสมของสื่อกับสภาพแวดล้อม
4. ผู้รับสาร (Receiver) ในกระบวนการสื่อสารผู้รับสารและผู้ส่งสาร จะต้อง
เปลี่ยนแปลงบทบาทระหว่างกัน คือเป็นทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารด้วย
คุณลักษณะของผู้รับสารทีดี เพื่อให้เกิดประสิทธิผล มีดังนี้
2 0
4.1 ทักษะในการสื่อสาร ผู้รับสารจะต้องมีความสามารถหรือมีความชำนาญในทักษะการสื่อสาร
4.2 ทัศนคติในการสื่อสาร ทัศนคติต่อตนเอง ต่อสารและต่อผู้ส่งสาร เพราะ
เป็นส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมการรับสารของผู้รับสารที่จะถูกกำหนดออกมาในลักษณะใด
4.3 ระดับความรู้ ความรู้เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับและแปลความหมายของ
สารเป็นอย่างมาก
4.4 สถานภาพในระบบสังคมและวัฒนธรรม
โรเบิร์ต อาร์ ออเนอร์ (อ้างในนรินทร์ พัฒนาพงศ์ 2542) ได้เขียนหลัก 10 ประการ ของการสื่อสารที่ดีไว้ ดังนี้
1. จงทำความเข้าใจกับความคิดของท่านให้แจ่มแจ้งก่อนจะสื่อสารไปยังผู้อื่น
2. จงตรวจสอบจุดมุ่งหมายอันแท้จริงของการสื่อสารทุกครั้ง
3. จงพิจารณาถึงสิ่งแวดล้อมและตัวบุคคลในการสื่อสาร
4. จงปรึกษาหารือกับผู้อื่นตามความเหมาะสมในการวางแผนเพื่อการสื่อสาร
5. จงระมัดระวังน้ำเสียงของท่านเช่นเดียวกับเนื้อหาของข้อความที่ส่งออกไป
6. จงใช้โอกาสที่จะให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับทันที
7. จงติดตามผลการสื่อสารของท่าน
8. จงคำนึงถึงผลของการสื่อสารทั้งในปัจจุบันและอนาคต
9. จงระวังให้ท่าทางของท่านสนับสนุนการสื่อสารของท่านด้วย
10. จงเป็นผู้ฟังที่ดี อย่าพยายามให้ผู้อื่นเข้าใจท่านฝ่ายเดียวแต่ท่านต้อง
เข้าใจผู้อื่น
ในการสื่อสารย่อมต้องพบปัญหาและอุปสรรค จึงมีหลักและวิธีการขจัดปัญหาและ
อุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร ดังนี้
1. ความน่าเชื่อถือ (Credibility) ถ้าบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วยเป็นผู้ที่เชื่อถือ
ได้ ไม่เคยหลอกลวง เมื่อมีการติดต่อสื่อสารครั้งใดย่อมได้รับความสนใจ เชื่อฟังและทำตาม หรืออาจกล่าวง่ายได้ว่า คนให้ความเชื่อถือข่าวสารนั้น
2. ความละเอียด (Context) ให้คำอธิบายที่ละเอียดชัดเจน ไม่มีเนื้อความใด
ที่ขาดตกบกพร่อง
3. เนื้อหา (Content) คำพูดต้องเป็นเนื้อหาสาระที่จะทำให้คนอื่นสนใจได้ดี
2 1
ควรจะเป็นข่าวสารที่แสดงผลดี และผลเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้รับสารนั้น หรือเป็นการเสนอวิธีการปฏิบัติ ผู้ที่รับข่าวสารจะปฏิบัติได้โดยไม่ถูกล้อเลียนหรือตั้งข้อรังเกียจเพราะไม่ถูกกับค่านิยมของกลุ่ม
4. ความชัดเจน (Clarity) คือการที่พูดด้วยศัพท์ที่ผู้ฟังเข้าใจทางเดียวตามที่
ผู้ส่งข่าวสารต้องการให้เข้าใจ ไม่ใช่คำที่ตีความได้ 2 แง่ 3ง่าม
5. การกล่าวซ้ำ (Consistency) ถ้าข่าวสารที่ให้นั้นมีความสลับซับซ้อน
เข้าใจยากควรต้องอธิบายซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อความเข้าใจที่แท้จริงและป้องกันการหลงลืม
6. ช่องทาง (Channel) การเลือกช่องทางการติดต่อสื่อสารให้ถูกกับสถาน
การณ์และบุคคลต่าง ๆ บุคคลที่อยู่ใกล้เคียงอาจส่งข่าวสารด้วยวาจาได้ แต่ถ้าข่าวสารยาก สลับซับซ้อนอาจใช้การจดบันทึกประกอบข่าวสารบางอย่างต้องการส่งให้บุคคลโดยทั่วไป ได้รับทราบ อาจใช้การสื่อสารทางมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ข่าวสารที่ส่งไป ถึงบุคคลเฉพาะคน อาจใช้จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ เป็นต้น
7. ความสามารถ (Capability) ของทั้งผู้ส่งข่าวสาร (Sender) และผู้รับข่าว
สาร(Receiver) บุคคลบางคนมีความจำดีเพียงบอกกล่าวด้วยวาจาก็อาจสามารถจดจำได้หมด แต่บางคนมีความสามารถทางนี้จำกัด อาจต้องมีการจดบันทึกช่วยความจำ ผู้ส่งข่าวสาร บางคนรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำอธิบายให้คนเข้าใจได้ง่าย แต่บางคนมีความสามารถทางนี้จำกัด อาจใช้การจดบันทึกช่วย เพื่อได้มีโอกาสเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนได้ดีขึ้น
จะเห็นว่า การติดต่อสื่อสารที่ได้ผลนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการ กระทำของผู้ส่งข่าวสารแต่ฝ่ายเดียว ต้องขึ้นอยู่กับทั้งตัวผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ผู้รับข่าวสาร (Receiver) ช่องทาง (Channel) และตัวข่าวสารเอง (Message) ทั้ง ๆ ที่เมื่อมีอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารเกิดขึ้น
การสื่อสารตามแนวคิดของนรินทร์ พัฒนาพงศ์ (2542:3) อธิบายให้เห็นว่าการสื่อสารจะมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าองค์ประกอบทุกตัวในกระบวนการสื่อสารต่างมีอิทธิพล ซึ่งกันและกัน และต้องมีคุณลักษณะที่เหมาะสมดังกล่าวข้างต้น จะทำให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจและรับรู้สิ่งต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการทำงาน และการมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ การแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสาร โดยใช้สื่อ หรือช่องทางต่าง ๆ เพื่อมุ่งหมายโน้มน้าวจิตใจให้เกิดผลในการ รับรู้ หรือ เปลี่ยนทัศนคติ หรือ เปลี่ยนพฤติกรรม
2 2
กระบวนการในการสื่อสารรวมถึงการประชาสัมพันธ์นับว่าเป็นหัวใจสำคัญ ที่องค์กรจะใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับประชาชน โดยการเสนอข่าวสาร การสร้างกิจกรรม และ การแสดงความปรารถนาดีต่อประชาชนในฐานะที่สำนักงานเขตบางคอแหลมรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริการด้านการเก็บขนขยะมูลฝอยให้กับประชาชน ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้จะนำไปสู่เจตคติที่ดีต่อการบริการ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ จึงเป็นแนวคิดที่นำมาใช้ศึกษา เพื่อให้ทราบถึง ผลของการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ที่จะทำหน้าที่ประสานความเข้าใจในการที่จะให้เกิดผลดีต่อการบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของนรินทร์ พัฒนาพงศ์ (2542: 3) มาเป็นกรอบในการศึกษาครั้งนี้
3. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนได้ถูกนำไปใช้ในเรื่องต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นความหมายของการมีส่วนร่วม จึงถูกให้คำจำกัดความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ที่นำไปใช้
ความหมายการมีส่วนร่วมของประชาชน
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2539 : 130) ได้ให้ความหมาย การมีส่วนร่วมของประชาชนว่า หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้เป็นเป้าหมายของการพัฒนา เข้ามาร่วมโครงการของการพัฒนาตั้งแต่เริ่มโครงการดำเนินการ และมีการประเมินจนเสร็จสิ้นโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ทั้งเรื่องที่ทำอยู่ และการทำงานร่วมกัน ซึ่งถ้าหากสมประสงค์แล้วก็จะทำให้คนเกิดการพัฒนาได้
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2526 : 25) ได้กล่าวถึงสาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนว่า หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ การร่วมปฏิบัติ และการร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ อันมีผลกระทบถึงตัวของประชาชนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาและนำมาซึ่งสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน
ไพรัตน์ เตชะรินทร์ (2527 : 6-7) ได้เสนอความหมายและหลักการสำคัญเรื่อง นโยบายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาว่าหมายถึง กระบวนการที่รัฐบาลทำการส่งเสริม
2 3
ชักนำ สนับสนุนและสร้างโอกาสให้ประชาชนทั้งในรูปส่วนบุคคล กลุ่มคน ชมรม สมาคม มูลนิธิและองค์การอาสาสมัครรูปแบบต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องรวมกันอาทิ ในเรื่องต่อไปนี้ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และนโยบายของการพัฒนาตามที่กำหนดไว้คือ
1.ร่วมทำการศึกษาค้นคว้าปัญหา และสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนรวมตลอดจนความต้องการของชุมชน
2.ร่วมคิดหาสร้างรูปแบบ และวิธีการพัฒนาเพื่อแก้ไขและลดปัญหาของชุมชน หรือเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือสนองความต้องการของชุมชน
3.ร่วมวางแผนนโยบายหรือแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขจัดและแก้ไขปัญหาและสนองความต้องการของชุมชน
4.ร่วมตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วม
5.ร่วมจัดหรือปรับปรุงระบบการบริหารงานพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
6.ร่วมการลงทุนในกิจกรรมโครงการของชุมชนตามขีดความสามารถของตนเองและของหน่วยงาน
7.ร่วมปฏิบัติตามนโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรมให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
8.ร่วมควบคุม ติดตาม ประเมินผล และร่วมบำรุงรักษาโครงการและกิจกรรมที่ได้ทำไว้ทั้งโดยเอกชนและรัฐบาลให้ใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป
ความสำคัญของการมีส่วนร่วม
ปริศนา โกลละสุต ( 2534 : 13 ) ได้ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมไว้ดังนี้
1. จะช่วยให้ประชาชนยอมรับโครงการมากขึ้น เนื่องจากเป็นโครงการที่ตรงกับ
ปัญหาและความต้องการของประชาชน
2. ประชาชนจะมีความรู้สึกผูกพัน และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของมากยิ่งขึ้น
3. การดำเนินโครงการจะราบรื่น ได้รับความร่วมมือจากประชาชนมากขึ้น
4. จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถของประชาชนมากขึ้น
5. โครงการจะให้ประโยชน์แก่ประชาชนมากขึ้น และมีการระดมทรัพยากรเพื่อการ
ดำเนินโครงการมากขึ้น
2 4
ลักษณะของการมีส่วนร่วม
โคเฮน และอัฟฮอฟ (Cohen and Uphoff 1980 : 219-222) ได้แบ่งชนิดของการมีส่วนร่วมออกเป็น 4 ชนิดคือ
1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making) ประกอบด้วย ริเริ่มตัดสินใจ ดำเนินการตัดสินใจ และตัดสินใจปฏิบัติการ
2. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (Implementation) ประกอบด้วยการสนับสนุนด้านทรัพยากรการบริหาร และการประสานงานขอความร่วมมือ
3. การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (Benefits) ประกอบด้วยผลประโยชน์ทางด้านวัตถุ ผลประโยชน์ทางสังคม หรือผลประโยชน์ส่วนบุคคล
4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation)
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (2527 : 10) ได้แบ่งขั้นตอนของการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้เป็น 4 ขั้นตอนคือ
1.การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา และสาเหตุของปัญหา
2.การมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรม
3.การมีส่วนร่วมในการลงทุนและปฏิบัติงาน
4.การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล
มิติในการมีส่วนร่วมของประชาชน
แนวคิดของ Matthias Stiefel and Andrew Pearse (อ้างใน ปรัชญา เวสารัชช์: 5)
ได้เสนอการมีส่วนร่วมไว้ 5 มิติ คือ
1. การมีส่วนร่วมในการประจันหน้า โดยถือว่าการมีส่วนร่วมสะท้อนลักษณะการแจกแจงแบ่งสรรอำนาจในการตัดสินใจที่ผิดไปจากเดิม จึงอาจมองได้ว่าเป็นการประจันหน้าระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มสังคม กลุ่มชนชั้นต่าง ๆ เป็นการปะทะกัน (Confrontation) ระหว่างผลประโยชน์ของคนในเมือง หรือเป็นการเผชิญหน้าระหว่างสมาชิกองค์การอาสาสมัคร กับหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมั่นคงแล้วและไม่ยอมเปลี่ยนแปลง (Immobile Establishments) ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงหน่วยงานราชการ
2 5
การมองการมีส่วนร่วมในมิติของการประจันหน้าเช่นนี้ชี้ให้เกิดความสนใจลักษณะการเปลี่ยนแปลงสถาบันซึ่งนำไปสู่การต่อต้านการมีส่วนร่วมโดยองค์การเก่า แสดงการเปลี่ยนหรือปรับโครงสร้างทางอำนาจ รวมทั้งช่วยให้สนใจประเมินผลได้ผลเสียที่เกิดจากการประจันหน้า (ซึ่งขึ้นกับทัศนะของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง)
2. การมีส่วนร่วมเป็นเรื่องของกลุ่มและขบวนการในการเข้าร่วม มิตินี้พิจารณาการมีส่วนร่วมจากการวิเคราะห์โครงสร้าง วิธีดำเนินการ ตลอดจนสภาพแวดล้อมของกลุ่มและขบวนการที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วม โดยเน้นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดพลังเช่น โครงสร้างและการจัดรูปองค์การภายในกลุ่มหรือภายในขบวนการ องค์การที่มีประสิทธิภาพจะเปลี่ยนคนแต่ละคนที่ปราศจากอำนาจให้เป็นพลังสังคมและเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในขั้นตอนการประจันหน้า อีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญจากมิติของกลุ่ม คือรูปแบบและลักษณะของภาวะผู้นำ รวมทั้งสัมพันธภาพระหว่าง “ผู้นำ” กับ ”ผู้ตาม” ในขบวนการ
มิติเกี่ยวกับกลุ่มและขบวนการนี้ ยังให้ความสนใจขอบข่ายของการร่วมเป็นพันธมิตรระหว่างกลุ่มหรือขบวนการต่าง ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อเนื่องถึงการประสานขบวนการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อปกป้องและเผยแพร่ผลประโยชน์ของกลุ่มและขบวนการที่เข้าร่วม
3. การมีส่วนร่วมเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล ตามนิยามทั่วไป การมีส่วนร่วมเป็นเรื่องของพฤติกรรมกลุ่มแต่ขณะเดียวกันการตัดสินใจเข้าร่วมกับกลุ่มเป็นการตัดสินใจเฉพาะบุคคล ซึ่งผู้สนใจอาจศึกษาได้จากประสบการณ์ในชีวิตของแต่ละคน ในแง่นี้อาจกล่าวถึงการทำความเข้าใจการมีส่วนร่วมจากการศึกษาประวัติส่วนตัว และการทำความเข้าใจแนวคิดสำคัญบางอย่าง เช่น “การตัดสินใจ” “ความสำนึกในชนชั้น” “การสร้างสำนึก” “การจูงใจ” และ “ความรู้สึกแปลกแยก” ทั้งนี้เพราะแนวคิดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลด้วย
4. การมีส่วนร่วมเป็นโครงการ (Programme or Project) ในวงราชการและองค์การระหว่างประเทศ การมีส่วนร่วมของประชาชนมักหมายไปถึงโครงการซึ่งถูกกำหนดเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเฉพาะด้าน นักวิจัยที่สนใจมิตินี้อาจศึกษาระบบการจูงใจซึ่งทำให้ข้าราชการ นักปฏิบัติภาคสนาม หรือ ผู้นำโครงการมีส่วนดำเนินการเผยแพร่โครงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับเป้าหมายในโครงการ รวมทั้งศึกษาระดับการมีส่วนร่วมซึ่งมักขึ้นกับลักษณะโครงการ
2 6
การพิจารณาการมีส่วนร่วมจากมิติของโครงการนี้อาศัยข้อสมมติที่ว่า ถึงแม้โครงการจะถูกกำหนดขึ้นจากแหล่งใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดจากเบื้องบน แต่ก็เชื่อว่าถ้ากลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมแล้ว โครงการจะเกิดผล และการเข้าร่วมของกลุ่มเป้าหมายย่อมเกิดขึ้นได้ถ้าใช้วิธีการเข้าถึงปัญหาที่ถูกต้อง
5. การมีส่วนร่วมเป็นนโยบาย ตามความหมายกว้าง เราอาจมองประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันแทบไม่มีรัฐบาลใดกล้าคัดค้านหลักการประชาธิปไตยอย่างเปิดเผย ดังที่เชอร์รี่ อาร์นสไตน์ (Sherry Arnstein) เขียนไว้ว่า “โดยหลักการไม่มีใครคัดค้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วมเป็นสิ่งดีตามทฤษฎีแล้วการมีส่วนร่วมของผู้ใต้ปกครองนั้นเป็นหลักหินแห่งประชาธิปไตย…”
การมีส่วนร่วมเป็นแกนกลางของนโยบายรัฐบาล แต่ในทางปฏิบัติ ผู้นำหรือผู้ปฏิบัติเองอาจมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลจากความกลัวหรือความไม่เชื่อว่าจะเกิดผล แต่มีบางรัฐบาลพยายามระดมความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของมวลชนให้สนับสนุนรัฐบาล จึงเน้นการมีส่วนร่วมในนโยบายของรัฐ ซึ่งตามแนวคิดของยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2526 : 25) ได้อธิบายให้เห็นสาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ การร่วมปฏิบัติ และการร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ อันมีผลกระทบถึงตัวของประชาชนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาและนำมาซึ่งสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน และ ไพรัตน์ เตชะรินทร์ (2527 : 6-7) ได้อธิบายถึงหลักการสำคัญเรื่อง นโยบายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา กระบวนการที่รัฐบาลทำการส่งเสริม ชักนำ สนับสนุนและสร้างโอกาสให้ประชาชนทั้งในรูปส่วนบุคคล กลุ่มคน ชมรม สมาคม มูลนิธิและองค์การอาสาสมัครรูปแบบต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องรวมกันเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และนโยบายของการพัฒนา
จากแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะการมีส่วนร่วม ผู้วิจัยนำมาศึกษาเพื่อให้ทราบถึงลักษณะและวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำกิจการใดๆ จนประสบผลสำเร็จ ในการศึกษาครั้งนี้ จึงได้นำแนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะการมีส่วนร่วมของ โคเฮนและอัฟฮอฟฟ์ และ ไพรัชน์ เตชะรินทร์ ที่ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งกล่าวถึงกิจกรรมที่ปฏิบัติในชุมชน คือ กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอย การจำแนกประเภทขยะมูลฝอยและการลดปริมาณขยะมูลฝอย
2 7
4. แนวคิดพฤติกรรม
เบนดุรา (Bandura, 1997: 16) กล่าวว่า ความรู้ ความเข้าใจ หรือความเชื่อของคนมีบทบาทสำคัญต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม
ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2526: 15) ให้ความหมายของพฤติกรรมไว้ว่า หมายถึง กิจกรรมทุกประเภทที่มนุษย์กระทำไม่ว่าสิ่งนั้นจะสังเกตได้หรือไม่ได้ เช่น การเดิน การพูด การคิด ความรู้สึก ความสนใจ
ชัยพร วิชชาวุธ (2523: 1) ได้ให้คำจัดกัดความของพฤติกรรมไว้ว่า หมายถึง การกระทำของมนุษย์ไม่ว่าการกระทำนั้นผู้กระทำจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว และไม่ว่าคนอื่นจะสังเกตการกระทำนั้นได้หรือไม่ก็ตาม เช่น การพูด การเดิน การได้ยิน การเข้าใจ การรู้สึกโกธร การคิด ฯลฯ ต่างก็เป็นพฤติกรรมทั้งนั้น
ความหมายของพฤติกรรม จึงหมายถึงการตอบสนองที่บุคคลนั้นแสดงออกมาทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคล โดยอาจแสดงออกมาทั้งที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ ซึ่งบุคคลอื่นสามารถสังเกตเห็นได้ หรือสามารถตรวจสอบได้
บลูม (Bloom 1975: 65-197) กิจกรรมทุกประเภทที่มนุษย์กระทำ อาจเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ หรือไม่ได้ และพฤติกรรมดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. พฤติกรรมด้านความรู้ เป็นพฤติกรรมที่มีขั้นตอนด้านความสามารถ ความรู้ การใช้ความคิด และพัฒนาด้านสติปัญญา จำแนกไว้ 6 ขั้นตอนคือ ความรู้ ความเข้าใจ การนำความรู้ไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล
2. พฤติกรรมด้านทัศนคติ และค่านิยม ความรู้สึกชอบ พฤติกรรมด้านนี้หมายถึง ความรู้สึก ความชอบ ความเข้าใจ ความสนใจ การให้คุณค่า การปรับเปลี่ยนค่านิยม เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการจัดการพฤติกรรมด้านนี้
การเกิดพฤติกรรมแบ่งออกเป็น
1.การรับรู้หรือการให้ความสนใจ ได้แก่ ความตระหนัก ความยินดีหรือเต็มใจรับ การเลือกรับหรือเลือกให้ความสนใจ
2.การตอบสนอง ได้แก่ความยินยอมในการตอบสนอง ความเต็มใจที่จะตอบสนอง
3.การให้ค่า หรือการเกิดค่านิยม ได้แก่การยอมรับค่านิยม การชอบในค่านิยม การผูกมัด
2 8
4.การจัดกลุ่ม ได้แก่ การสร้างแนวคิดหรือค่านิยม และการจัดระบบค่านิยม
5.การแสดงลักษณะค่านิยมที่ยึดถือ ได้แก่ การวางหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับค่านิยม
3.พฤติกรรมด้านการปฏิบัติ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ความสามารถที่แสดงออกทางร่างกาย รวมทั้งวิธีการปฏิบัติ หรือพฤติกรรมที่แสดงออกหรือสังเกตได้ พฤติกรรมนี้เมื่อแสดงออกจะสามารถประเมินผลได้ง่าย
พฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการม (2520 อ้างใน ลลิตา โภชนพันธ์ 2539: 15-16) ได้กล่าวไว้ว่า พฤติกรรมควรได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งการประพฤติตนให้สอดคล้องกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีข้อควรคำนึงดังต่อไปนี้
1.ทุกคนมีบางสิ่งบางอย่างที่ได้รับจากสังคม ได้แก่การศึกษา การบริการสาธารณะ เป็นต้นสิ่งที่ต้องให้แก่สังคม ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การเคารพกฎหมาย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นต้น
2.ทุกคนควรต้องรักษาเสริมสร้างธรรมชาติเอาไว้ เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและรักษาสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
3.การตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติโดยไม่ระมัดระวัง ย่อมก่อให้เกิดผลเสียหายแก่การดำรงของสิ่งมีชีวิต
4.ถ้าเราดำรงชีวิตอย่างมีความสุข เราจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข ความคิด ความรู้สึกที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างกลมกลืนและมีความพอเหมาะ
5.ทรัพยากรทั้งหมดในโลกเป็นของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ไม่ใช่ของมนุษย์เท่านั้น
6.การดำรงชีวิตของมนุษย์ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการใช้ทรัพยากรและการกระทำกิจกรรมอื่นๆ
7.ในการกระทำกิจกรรมใดๆ ที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มึต่อความเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดความแห้งแล้งและอุทกภัย มีผลต่อการดำรงชีวิตของคน
8.การดำรงชีวิตอย่างมัธยัสถ์ เท่านั้นจะทำให้คนมีชีวิตกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมอย่างมีความสุข เช่น การใช้จักรยานทำให้ไม่เปลืองน้ำมัน ไม่ทำให้อากาศเป็นพิษ สุขภาพแข็งแรงและอุบัติเหตุลดลง
2 9
9.ในการกระทำใดๆ ที่มีผลกระทบต่องสิ่งแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นในระยะยาวที่จะกระทบกระเทือนถึงอนุชนรุ่นต่อไป เช่นการตัดไม้ทำลายป่า จะทำให้เกิดความแห้งแล้งกันดาร และเมื่อระยะเวลาผ่านไปที่แห่งนั้นก็จะเป็นทะเลทรายอย่างถาวร
10.ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งมวลเกิดจากคน ดังนั้นในการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงจำเป้นต้องแก้ที่ตัวคน โดยแต่ละคนสำนึกและฝึกปฏิบัติตนเอง และร่วมกันแก้ปัญหาสังคม
การวัดพฤติกรรม
สมจิตต์ สุพรรณทัศน์ (2534:132-136) ได้กล่าวถึงวิธีการวัดพฤติกรรมว่ามี 2 วิธีคือ
1.การศึกษาพฤติกรรมโดยทางตรง อาจทำได้ 2 วิธีคือ การสังเกตแบบให้ผู้ถูกสังเกตรู้สึกตัว และ การสังเกตแบบธรรมชาติ คือการที่บุคคลที่ต้องการสังเกตพฤติกรรมไม่ได้กระทำตนเป็นที่รบกวนพฤติกรรมของบุคคลผู้ถูกสังเกต เป็นไปตามลักษณะที่ทำให้ผู้ถูกสังเกตไม่ทราบว่าถูกสังเกต ซึ่งจะได้พฤติกรรมที่แท้จริง
2.การศึกษาพฤติกรรมโดยทางอ้อม มีหลายวิธี ได้แก่ การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การทดลอง และการทำการบันทึก
กระบวนการเรียนรู้ซึ่งมีสถาบันต่าง ๆ เช่น ครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อน และสื่อมวลชนเป็นผู้กำหนดอันประกอบด้วย ความรู้ ความเข้าใจซึ่งจะมีผลมาจากกระบวนการเรียนรู้เฉพาะเรื่อง เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรู้สึก มีความตื่นตัวตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วม ซึ่งจากแนวคิดของลองแมน (Goldensor 1984: 90) ชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมเป็นการกระทำ หรือการตอบสนองการกระทำทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคล เป็นปฏิสัมพันธ์ในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายในหรือภายนอก รวมทั้งกิจกรรมการกระทำต่างๆ ที่เป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมายสังเกตเห็นได้ หรือเป็นกิจกรรมกระทำต่างๆ ที่ได้ผ่านการใคร่ครวญมาแล้วหรือเป็นไปอย่างไม่รู้ตัว สอดคล้องกับแนวคิดของ เบนดุรา (Bandura, 1997: 16) ที่อธิบายถึง ความรู้ ความเข้าใจ หรือ ความเชื่อของคนมีบทบาทสำคัญต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม แนวคิดของประภา เพ็ญ สุวรรณ (2526: 15) ที่ชี้ให้เห็นว่า กิจกรรมทุกประเภทที่มนุษย์กระทำไม่ว่าสิ่งนั้นจะสังเกตได้หรือไม่ได้ เช่น การเดิน การพูด การคิด ความรู้สึก ความสนใจ และ แนวคิดของ ลลิตา โภชนพันธ์ ชี้ให้ถึงการกระทำของบุคคลที่ส่งผลต่อการจัดการ จากแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับพฤติกรรม ผู้วิจัยได้นำแนวคิดของ ลลิตา โภชนพันธ์ (2539: 15-16) ซึ่ง
3 0
ครอบคลุมถึงพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการจัดการมาทำการศึกษาพฤติกรรมบุคคลที่นำไปสู่ผลของการจัดการสิ่งแวดล้อมในการศึกษาครั้งนี้
5. แนวคิดเกี่ยวกับเจตคติ
ความหมาย
ฟรีดแมน (Freedman 1978 อ้างใน สงวน สุทธิเลิศอรุณ 2529: 92) ให้ความหมายว่า เจตคติ หมายถึง ระบบที่มีลักษณะมั่นคงถาวร ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบด้านความรู้ ความรู้สึก และการปฏิบัติ
สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2529: 92) ได้ให้ความหมาย เจตคติว่า หมายถึง ความรู้สึกหรือท่าที่ของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันมีผลให้บุคคลมีพฤติกรรมตอบสนองในลักษณะที่สอดคล้องกันและได้อธิบายถึงหน้าที่ของเจตคิตว่า
เจตคติมีหน้าที่
1.ช่วยให้เกิดความเข้าใจในสิ่งเร้า
2.ช่วยในการปรับตัว
3.ช่วยป้องกันตนเอง
4.ช่วยในการแสดงออกถึงค่านิยม
สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2529: 92-94) ได้กล่าวถึงลักษณะของเจตคติว่ามี 2 มิติ คือ
1.ทิศทาง (Direction) ทิศทางคือ ทางบวกได้แก่ ความรู้สึกหรือท่าทางในทางที่ดี ชอบและพึงพอใจ และทางลบ ได้แก่ ความรู้สึกหรือท่าทางในทางไม่ดี ไม่ชอบไม่พึงพอใจ
2.ความเข้มข้น (Magnitude) มี 2 ขนาดคือ ความเข้มข้นมาก และความเข้มข้นน้อย เช่น บางคนมีความรู้สึกชอบสะอาดและความมีระเบียบเรียบร้อย แต่บางคนมีท่าทางใฝ่ต่ำมาก ผู้ที่มีเจตคติเข้มข้นมากจะมีปัญหาในการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
3 1
องค์ประกอบของเจตคติ
จากการที่เจตคติเป็นนามธรรม เป็นตัวการสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของคน เปรียบเสมือนหางเสือของพฤติกรรม ดังนั้น เจตคติจะต้องเกิดจากการรับรู้ มีองค์ประกอบ 3 ด้านคือ
1. ด้านความรู้ (Cognitive Component) เช่นความรู้ที่บุคคลได้รับมา รวมทั้งความ
เชื่อ
2. ด้านความรู้สึก (Affective Component) เมื่อบุคคลเรียนรู้มาจะเกิดความรู้สึกต่อสิ่ง
นั้น ว่าชอบหรือไม่ชอบ พอใจหรือไม่พอใจ
3. ด้านพฤติกรรม (Behavioral Component) เมื่อบุคคลได้เรียนรู้มาจะเกิดความรู้สึก
ต่อสิ่งนั้นในทางบวกหรือลบก็ได้ และจะแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งนั้น
สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2529: 94-95) ได้อธิบายถึง การปลูกฝังเจตคติและแหล่งที่มาของเจตคติว่า เจตคติเกิดจากการเรียนรู้ ในขณะที่บุคคลอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อม บุคคลจะปะทะกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ เกิดเป็นประสบการณ์ขึ้น อันจะก่อให้เกิดความรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เกิดความรู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบ และมีการแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งที่ได้เกิดการเรียนรู้มาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
แหล่งที่มาของการเกิดเจตคติ สรุปได้ 4 ประการคือ
1. ประสบการณ์เฉพาะด้าน บุคคลจะเกิดเจตคติได้ เมื่อได้มีประสบการณ์กับตนเอง
ในเรื่องนั้นๆ
2. การติดต่อสื่อความหมายกับผู้อื่น บุคคลจะเกิดเจตคติได้ เมื่อติดต่อสื่อความหมาย
กับผู้อื่น
3. ตัวอย่าง (Model) บุคคลจะเกิดเจตคติได้จากตัวอย่างที่ปรากฎ
4. องค์ประกอบของสถาบัน บุคคลจะเกิดเจตคติจากอิทธิพลของสถาบันต่างๆที่
เกี่ยวข้อง
การเกิดพฤติกรรมทางด้านเจตคติ แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน (สงวน สุทธิเลิศอรุณ 2529:
95-96) คือ
1. การรับหรือการให้ความสนใจเมื่อบุคคลได้ปะทะกับสิ่งเร้าย่อมเกิดการรับ หรือให้ความสนใจเกิดความตระหนักหรือเกิดความเต็มใจที่จะรับและมีการคัดเลือกการรับและให้ความสนใจต่อสิ่งเร้าบางอย่าง
3 2
2. การตอบสนอง เมื่อคนได้รับหรือสนใจในสิ่งเร้าจะเกิดกรณีผูกพันที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าเช่น การเชื่อฟัง เกิดความสมัครใจและความเต็มใจที่จะทำ
3. การเห็นคุณค่า หลังจากบุคคลได้รับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแล้วบุคคลจะเกิดความเชื่อในสิ่งเร้านั้น และพัฒนาเป็นความรู้ความเข้าใจในขั้นแรกจะมีการยอมรับในคุณค่า ต่อมากเกิดความรู้สึกชอบและสุดท้ายเกิดการยอมรับ
4. การจัดระเบียบ เมื่อบุคคลได้ยอมรับคุณค่าของสิ่งใดแล้วจะมีการจัดระเบียบของคุณค่านั้นเป็นหมวดหมู่หรืออาจจะพัฒนาคุณค่าของสิ่งนั้นก็ได้
5. การแสดงพฤติกรรมตามคุณค่าที่ปรากฏ ในขั้นนี้บุคคลจะแสดงพฤติกรรมที่เป็นมาตรฐานสำหรับบุคคลนั้น
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2529: 96-97) เจตคติแม้นได้รับการปลูกฝังในตัวบุคคลก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามทฤษฎีดังนี้
1.ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงเจตคติเพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ที่กล่าวไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงเจตคติของบุคคลนั้นจะเกิดขึ้นภายหลังจากการที่บุคคลได้เลือกตัดสินใจที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
2.ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในการกระทำ กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงเจตคติของบุคคลให้เป็นไปตามรูปใดจะต้องให้เขามีส่วนร่วมในกลุ่มบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ทฤษฎีความสอดคล้องทางความคิด กล่าวไว้ว่า ถ้าสมาชิกในสังคมหรือกลุ่มใดก็ตามมีความร ู้สึกหรือท่าทีไปในทางที่สอดคล้องกันก็จะอยู่ด้วยกันได้ต่อไป
4.ความไม่สอดคล้องทางความคิด กล่าวไว้ว่า เมื่อบุคคลเกิดความขัดแย้งขึ้นเป็นสองทางแต่ละทางไม่ลงรอยกันก็จะพยายามขจัดความขัดแย้งให้หมดไปไม่ว่าจะขัดแย้งกับบุคคลหรือวัตถุหรือสถานการณ์
เคลมาน (Kelman 1958 อ้างใน สงวน สุทธิเลิศอรุณ 2529: 98) ได้กล่าวถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงเจตคติของบุคคลไว้ดังนี้
1.การยอมตาม บุคคลจะยอมตามเปลี่ยนแปลงเจตคติเมื่อถูกความกดดันจากกลุ่มหรือสถานการณ์เมื่อถูกบังคับจากกลุ่มก็จำเป็นต้องเปลี่ยนเจตคติตามกลุ่ม
3 3
2.การเลียนแบบ เมื่อบุคคลเกี่ยวข้องกับผู้อื่นจะมีการกระทำระหว่างกันเมื่อเกิดความพึงพอใจก็จะเกิดการเลียนแบบบุคลิกภาพของบุคคลนั้น ก่อนจะมีการเลียนแบบจะมีการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
3.ต้องการที่จะเปลี่ยน บุคคลเมื่อได้เรียนรู้สังคมมากขึ้นก็จะเกิดค่านิยมในสิ่งที่ตนชื่นชอบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติตามค่านิยม
4.การเปลี่ยนความเชื่อ การเปลี่ยนแปลงเจตคติจะต้องเปลี่ยนความเชื่อของบุคคลให้ได้เสียก่อน
5.การได้รับความรู้ ได้รับความรู้จากข่าวสารที่เชื่อถือได้จะช่วยให้บุคคลเปลี่ยนเจตคติได้
6.การได้รับประสบการณ์โดยตรง ถ้าจะเปลี่ยนเจตคติต้องบุคคลจะต้องมีประสบการณ์กับตนเองในเรื่องนั้น
7.การเปลี่ยนแปลงปทัสถานทางสังคม เป็นวิธีการเปลี่ยนแปลงเจตคติของบุคคลได้วิธีหนึ่ง
8.การใช้วิธีจิตบำบัด กระบวนการล้างสมองโดยทำให้บุคคลเกิดความคิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งย่อมเปลี่ยนแปลงเจตคติของบุคคลได้
วิธีวัดเจตคติ
สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2529: 99-101) ได้สรุปไว้ว่า มีวิธีที่ใช้อย่างแพร่หลายๆ วิธี ได้แก่
1.คำถามแบบที่ใช้คำว่า เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย
2.คำถามที่มีตัวเลือกหลายประเด็นตามสเกลที่กำหนด
3.คำถามปลายเปิด
4.การใช้คำถามแบบใช้ความหมายของคำที่แตกต่างกัน
5.การวัดเจตคติแบบเธอร์สโตน เชื่อว่าเจตคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นย่อมแตกต่างกันจากน้อยสุดไปมากสุด
6.แบบของโบการ์ดัส เป็นเทคนิคการวัดเจตคติทางด้านสังคมเป็นการวัดในเชิงคุณภาพ
จากแนวคิดของฟรีดแมน (Freedman 1978) ชี้ให้เห็นว่า เจตคติ เป็นระบบที่มีลักษณะมั่นคงถาวร ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบด้านความรู้ ความรู้สึก และการปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสงวน สุทธิเลิศอรุณ (2529: 92) ที่อธิบายว่า เจตคติ เป็นความรู้สึกหรือท่าที่ของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันมีผลให้บุคคลมีพฤติกรรมตอบสนองในลักษณะที่สอดคล้องกันและ
3 4
ได้อธิบายถึงหน้าที่ของเจตคิตว่า มีหน้าที่ ช่วยให้เกิดความเข้าใจในสิ่งเร้า ช่วยในการปรับตัว ช่วยป้องกันตนเอง และช่วยในการแสดงออกถึงค่านิยม เจตคติเป็นความรู้สึกหรือท่าที่ของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันมีผลให้บุคคลมีพฤติกรรมตอบสนอง ตามแนวคิดของสงวน สุทธิเลิศอรุณ (2529: 92) ครอบคลุมเนื้อหาที่จะศึกษา ผู้วิจัยจึงมาใช้เป็นกรอบในการศึกษาครั้งนี้ โดยใช้การวัดเจตคติแบบคำถามที่มีตัวเลือกหลายประเด็นตามสเกลและคำถามปลายเปิดเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างสามารถเลือกตอบได้ตามความรู้สึกของตนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า มีผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม
ที่มีต่อการจัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอย รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้ ดังนี้
จินตนา เปียสวน (2538) ศึกษาเรื่อง ความรู้ความตระหนักตนของแม่บ้าน เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในแฟลตข้าราชการกรุงเทพมหานครพบว่าพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยมีสูง โดยแยกตามประเภทของถังเก็บชนิดต่างๆ
วรรณา ลิ่มพานิชย์ (2538) ได้ศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำจัดขยะมูลฝอยในเมืองพัทยา พบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองพัทยา ระดับการศึกษา การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ความรู้ความเข้าใจในเรื่องขยะมูลฝอย และความคิดเห็นต่อปัญหาขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
ชัยยุทธ โยธามาตย์ (2539) ศึกษาเรื่อง“การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย ศึกษาเฉพาะกรณี เขตเทศบาล ตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี“ ผลการศึกษาพบว่า เพศ อายุ อาชีพ ระยะเวลาที่เข้าตั้งถิ่นฐาน การได้รับข่าวสาร ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย ส่วนระดับการศึกษา รายได้ การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม ความรู้ความเข้าใจในเรื่องขยะมูลฝอย และความคิดเห็นต่อปัญหาขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย
นฤเทพ สิทธิชาญคุณะ (2541) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร” พบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมี
3 5
ส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.2 จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์พบว่า ที่อยู่อาศัย อาชีพ การศึกษา การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอย จิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย ส่วนอายุ รายได้ ความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะมูลฝอย ทัศนะต่อพนักงานเก็บขยะ ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการกำจัดขยะมูลฝอย
ยุพิน ระพิพันธุ์ (2544) ศึกษาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และการจัดการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจำแนกประเภทขยะมูลฝอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อนทิ้งในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคมในจังหวัดชลบุรี พบว่า เพศ อาชีพ ระดับการศึกษา ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชนมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย
สรุปการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่า ความรู้เรื่องขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยมีผลต่อเจตคติในการบริการจัดเก็บขยะมูลฝอย ส่วนอาชีพและลักษณะที่อยู่อาศัยของประชาชนที่แตกต่างกันยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนในเรื่องนี้
จากการศึกษาค้นคว้าวรรณกรรม แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ร่วมกับหลักฐานเชิงประจักษ์ เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องการจัดการมูลฝอยในชุมชน ตัวแปรที่เป็นสาเหตุต่อประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยของชุมชน พัฒนาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยตัวแปรอิสระทุกตัวมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยของชุมชน
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ผู้วิจัยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องจาก หนังสือ งานวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบสอบถามและสมมติฐานสำหรับแบบสอบถาม และผู้วิจัยได้พัฒนาให้มีคุณภาพโดยมีรายละเอียดดังนี้
ประชากรที่ศึกษาและการสุ่มตัวย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นกลุ่มประชากรที่ประกอบอาชีพต่างๆ ที่มีสถานที่อยู่เป็น บ้านพักอาศัย หน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุงมีลักษณะที่อยู่อาศัยและอาชีพแตกต่างกัน ได้แก่ ที่พักอาศัย(บ้านเรือน) คอนโดมิเนียม สถานที่ราชการ โรงพยาบาล โรงเรียน วัด โรงพยาบาล ตลาดสด และโรงแรม
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เลือกจากกลุ่มประชากร ที่ได้รับบริการเก็บขนขยะมูลฝอยจากเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ซึ่งแตกต่างกันตามลักษณะของสถานซึ่งมีอยู่หลากหลาย แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ บ้านพักอาศัย หน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนทุกหน่วยงานตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง
โดยผู้วิจัยส่งแบบสอบถามแบบเจาะจงไปที่ประธานชุมชน และหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องการรักษาความสะอาดในหน่วยงานนั้นๆ
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้หลักเกณฑ์การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของบุญชม ศรีสะอาด (2543 : 37-47) มีหลักเกณฑ์การคำนวณสัดส่วนดังนี้ หน่วยงานที่มีประชากรที่เป็นหลักร้อยใช้สัดส่วน 15 –30 % ประชากรที่มีหลักพันใช้สัดส่วน 10-15% และประชากรที่มีหลักเป็นหมื่นใช้สัดส่วน 5-10 % ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้สัดส่วน 15 % ของประชากรที่มีหลักเป็นร้อย ใช้สัดส่วน 10 % ของที่เป็นเกณฑ์ต่ำสุดของ
37
ประชากรที่มีหลักเป็นพัน และ 5% ของประชากรที่มีหลักเป็นหมื่นโดยใช้เกณฑ์ต่ำสุด เนื่องจากกลุ่มประชากรมีจำนวนมากและมีความหลากหลาย
ผู้วิจัยจึงได้คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรที่เป็นบ้านพักอาศัยด้วยอัตราร้อยละ 10 ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดของประชากรที่เป็นหลักพัน โดยส่งแบบสอบถามให้กับประธานชุมชนส่งให้กับหัวหน้าครัวเรือนได้ประชากรจำนวนทั้งสิ้น 156 ตัวอย่าง และส่งแบบสอบถามไปยังหัวหน้าหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าด้านรักษาความสะอาดของหน่วยงานนั้นๆ หน่วยงานละ 1 คน จากการกำหนดสัดส่วนดังกล่าว ได้นำมาพิจารณาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรกลุ่มต่างๆ ที่นำมาศึกษามีรายละเอียดดังนี้
ชื่อหน่วยงาน
ประชากร/แห่ง
กลุ่มตัวย่าง
ร้อยละ
1.บ้านพักอาศัย
1,495
156
65.27
2.ตลาดสด
28
28
11.71
3.โรงเรียน
7
7
2.93
4.สถานที่ราชการ
5
5
2.09
5.โรงพยาบาลและสถานพยาบาล
2
2
0.84
6.ศาสนสถาน
6
6
2.51
7.สถานบริการที่พักชั่วคราวและห้องเช่า
15
15
6.28
8.คอนโดมิเนียม
20
20
8.37
รวม
239
100.00
38
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ลักษณะของแบบสอบถาม แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน มีรายละเอียดดังนี้
ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย กลุ่มประชากรจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา การนับถือศาสนา รายได้ อาชีพ และลักษณะที่อยู่อาศัย/สถานที่ทำงาน
แบบสอบถาม เจตคติต่อการบริการเก็บขนมูลฝอย จำนวน 40 ข้อ
ส่วนที่ 2 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
1.คำถามใช้วัดความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย (จำนวน 10 ข้อ) เป็นการให้เลือกตอบผิดให้คะแนน 0 ตอบถูกให้คะแนน 1 โดยมีเกณฑ์การแปลผลดังนี้
คะแนน 0.00 -0.33 หมายถึง ระดับน้อย
คะแนน 0.34-0.66 หมายถึง ระดับปานกลาง
คะแนน 0.34-1.00 หมายถึง ระดับมาก
2.คำถามใช้วัดการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอย (จำนวน 10 ข้อ) เป็นคำถามมีมาตรวัดเป็นแบบ Interval scale 3 ระดับ ประกอบด้วย
1-ไม่เห็นด้วย 2-ไม่แน่ใจ และ3-เห็นด้วย
3.คำถามใช้วัดการมีส่วนร่วมของประชาชน (จำนวน 10 ข้อ) เป็นคำถามมี
มาตรวัดเป็นแบบ Interval 3 ระดับ ประกอบด้วย
1-ไม่เห็นด้วย 2-ไม่แน่ใจ และ3-เห็นด้วย
4. คำถามใช้วัดเจตคติ ต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย (จำนวน 10 ข้อ)
เป็นคำถามมีมาตรวัดเป็นแบบ Interval 3 ระดับ ประกอบด้วย 1-ไม่เห็นด้วย 2-ไม่แน่ใจ และ3-เห็นด้วย
จากข้อคำถามในส่วนที่ 2 ข้อ 2-4 มีระดับการวัดความคิดเห็น 3 ระดับดังนี้
คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ
เห็นด้วย ระดับคะแนน 3 1
ไม่แน่ใจ ระดับคะแนน 2 2
ไม่เห็นด้วย ระดับคะแนน 1 3
39
เกณฑ์การแปลผล แบ่งคะแนนเฉลี่ยออกเป็น 3 กลุ่มคือ
เห็นด้วยระดับต่ำ มีคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 0.00 - 1.00
เห็นด้วยระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.01 - 2.00
เห็นด้วยระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.01 - 3.00
ส่วนที่ 3 ปัญหาและข้อเสนอแนะ เป็นคำถามปลายเปิด
การสร้างเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่แบบสอบถาม ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ศึกษาเอกสารและงานวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริการเก็บขนจัดการมูลฝอยนำมาเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
2.กำหนดขอบเขตเนื้อหาในการสร้างแบบสอบถาม
3.สร้างแบบสอบถามให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่กำหนดไว้
การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามให้มีคุณภาพ ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือด้วยตนเองโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ เพื่อนำเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
เมื่อทำการสร้างแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือและดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ (Validity) ได้นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปหาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยนำแบบสอบถามฉบับร่างไปให้กรรมการวิทยานิพนธ์ จำนวน 3 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องมือในด้านเนื้อหาคำถาม เพื่อให้ครอบคลุมและวัดได้ตรงตามที่ต้องการวัด รวมทั้งตรวจสอบความเป็นปรนัย (Objectivity) ของคำถาม คำตอบแต่ละข้อ เพื่อให้ได้ข้อคำถามที่ถูกต้องชัดเจน เมื่อผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วผู้วิจัยได้นำแบบ
40
สอบถามมาทำการปรับแก้ให้เหมาะสมทั้งภาษาและเนื้อหาตามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพด้านอำนาจการจำแนกของข้อคำถาม ความเที่ยงตรงของเครื่องมือ เพื่อนำไปใช้จริง
2. การทดลองใช้แบบสอบถาม (Try Out) นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมีลักษณะเดียวกัน จำนวน 30 คน จากเขตยานาวา เพื่อตรวจสอบภาษาที่ใช้ให้เป็นที่เข้าใจและมีความชัดเจนเมื่อนำแบบสอบถามไปใช้ได้จริง
3. การตรวจสอบอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม (Discrimination) นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาตรวจสอบคุณภาพด้วยอำนาจจำแนกรายข้อของข้อคำถามด้วยการทดสอบหาค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (⎯X ) ระหว่างกลุ่มสูงกับกลุ่มต่ำ ตามเทคนิค 25% ของลิเคอร์ต (Likert) โดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย แบ่งเป็นกลุ่มสูง 25% และกลุ่มต่ำ 25% แล้วนำมาเปรียบเทียบกันด้วยสูตร t-test คัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่า t-test ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (บุญชม ศรีสะอาด 2536 : 94) จึงนำไปใช้จริง โดยถือว่าเป็นอำนาจจำแนกที่ใช้ได้
4. การตรวจสอบความเทยงตรงของเครื่องมือ (Reliability) ทำการทดสอบกลับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริงจำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.7458
5. ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของแบบสอบถามขั้นสุดท้าย ในด้านการใช้ภาษา สำนวนภาษาในข้อคำถามให้เข้าใจง่ายและเข้าใจตรงกัน มีความเที่ยงตรง มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ แล้วจึงนำไปทำการสอบถามจากลุ่มตัวอย่างจริง (Internal Consistency) ด้วยวิธี Coefficient Alpha ของ Cronbach โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ติดต่อประธานชุมชนและหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อขอความร่วมมือในแจกแบบสอบถามให้แก่บุคคลากรในหน่วยงานทำการตอบแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้จัดแบบสอบถามตามสัดส่วนของประชากรต่อกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ข้างต้น
41
ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ผู้วิจัยพยายามเก็บแบบสอบถามกลับมาให้ได้มากที่สุดด้วยการมีจดหมายปะหน้าทุกชุด เพื่อชี้แจงผู้ตอบแบบสอบถามไม่ต้องระบุชื่อ นามสกุล สำหรับการตอบแบบสอบถาม ผู้วิจัยจะนำเสนอผลการวิจัยในภาพรวม เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามมีความสบายใจที่จะตอบแบบสอบถามตามความคิดเห็น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิจัยครั้งนี้ โดยจะใช้เวลาในการเก็บรวมรวมข้อมูลประมาณ 1 เดือน
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนำมาวิเคราะห์ ทำการลงรหัสจากนั้นได้นำไปวิเคราะห์ทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows และในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ทางสถิติในการวิจัยครั้งนี้ ใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (α = 0.05) เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานในการวิจัย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) กับตัวแปรอิสระทุกตัวที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
2. ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) หาค่าความแตกต่างตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม
3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
การทดสอบสมมติฐาน
ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานเพื่อใช้ในการตอบปัญหาตามวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
สมมติฐานที่ 1 ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกันมีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูล
ฝอยของเขตบางคอแหลมแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 2 ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในที่พักที่มีลักษณะแตกต่างกันมีเจตคติต่อ
การบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลมแตกต่างกัน
42
สถิติที่ใช้วิเคราะห์สมมติฐานที่ 1-2 ใช้ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) หาความแตกต่างของตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม
สมมติฐานที่ 3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม
สมมติฐานที่ 4 การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับ
เจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม
สมมติฐานที่ 5 การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับ
เจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ สมมติฐานข้อ 3 - 5 คือ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ
เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
การกำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน มีดังนี้
ค่า γ ความหมาย
0.8 ขึ้นไป มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
0.61- 0.80 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
0.41- 0.60 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
0.21- 0.40 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
0.01- 0.20 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ
0.00 ไม่มีความสัมพันธ์
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 239 ชุด เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ทำการศึกษาเจตคติต่อการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ดังจะนำเสนอผลการวิจัยตามลำดับดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป
ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล
จำนวน
ร้อยละ
1. เพศ
ชาย
หญิง
114
125
47.70
52.30
รวม
239
100.00
2. อายุ
20-30ปี
31-40ปี
41-50ปี
50 ปีขึ้นไป
55
111
52
21
23.00
46.40
21.80
8.80
รวม
239
100.00
3.ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษา/ปวช.
อนุปริญญา/ปวส.
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
81
85
27
21
25
33.90
35.60
11.30
8.80
10.50
รวม
239
100.00
4. นับถือศาสนา
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
180
10
49
75.30
4.20
20.50
รวม
239
100.00
44
ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล
จำนวน
ร้อยละ
5. รายได้
4,000-5,500 บาท
5,501-7,500 บาท
7,501-15,000 บาท
15,001-25,000 บาท
25,000 บาทขึ้นไป
69
101
48
17
4
28.90
42.30
20.10
7.10
1.70
รวม
239
100.00
6.อาชีพ
เอกชน
ข้าราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
แม่ค้า
แม่บ้าน
นักบวช
พนักงานบริษัท
พนักงานโรงแรม
ภารโรง
อาจารย์ ครู
บริกร
ลูกจ้าง(ราชการ)
อื่นๆ
28
22
6
22
23
4
25
8
3
1
94
1
2
11.70
9.20
2.50
9.20
9.60
1.70
10.50
3.30
1.30
0.40
39.3
0.40
0.80
รวม
239
100.00
7.ที่อยู่อาศัย/สถานที่ทำงาน
บ้านพักอาศัย
ตลาดสด
โรงเรียน
สถานที่ราชการ
โรงพยาบาลและสถานพยาบาล
ศาสนสถาน
สถานบริการที่พักชั่วคราว
คอนโดมิเนียม
156
28
7
5
2
6
15
20
65.27
11.71
2.93
2.09
0.84
2.51
6.28
8.37
รวม
239
100.00
45
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามจากตารางที่ 2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 218 คน แยกเป็น ชาย จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 47.70 และเป็น หญิง จำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 52.30 มีอายุ 20-30ปี จำนวน 55คน คิดเป็นร้อยละ 23.00 อายุ 31-40 ปี จำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 46.40 อาย ุ 41-50ปี จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 21.80 อายุสูงกว่า 50 ปี จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 8.80
พิจารณาระดับการศึกษา พบว่า ระดับประถมศึกษา จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 33.90 มัธยมศึกษาตอน/ปวช. จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 35.60 อนุปริญญา/ปวส. จำนวน 27คน คิดเป็นร้อยละ 11.30คน ปริญญาตรี จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 8.80 และ สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 10.50
พิจารณาด้านอาชีพ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเอกชน จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 11.70 ข้าราชการ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 9.20 พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 2.50 แม่ค้า จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 9.20 แม่บ้าน จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 9.60 นักบวช จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.70 พนักงานบริษัท จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 10.50 พนักงานโรงแรม จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 3.30 ภารโรง จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.30 ครู อาจารย์ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.40 บริกร จำนวน 94 คิดเป็นร้อยละ 39.3 ลูกจ้างราชการ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.40 และอื่นๆ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.80
พิจารณาด้านรายได้ พบว่า มีรายได้ต่อเดือน รายได้ 4,000-5,500 บาท จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 28.90 รายได้ 5,501-7,500 บาท จำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 42.30 รายได้ 7,501-15,000 บาท จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 20.10รายได้ 15,001-25,000 บาท จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 7.10 รายได้ และรายได้สูงกว่า 25,000 บาท จำนวน 4 คน คิดเป็น 1.70
พิจารณาด้านที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำงานพบว่า บ้านพักอาศัย จำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 65.27 ตลาดสด จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 11.71 โรงเรียน จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 2.93 สถานที่ราชการ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 2.09 โรงพยาบาลและสถานพยาบาล จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.84 ศาสนสถาน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 2.51 สถานบริการที่พักชั่วคราว จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 6.28 และ คอนโดมิเนียม จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 8.37
สรุปผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นบ้านพักอาศัย ห้องพักชั่วคราว และคอนโดมิเนียม ตามลำดับ โดยประกอบอาชีพเป็นบริกรมากที่สุด รองลงมาเป็น เอกชน และพนักงานบริษัท มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปีมากที่สุดและมีรายได้อยู่ในระหว่าง 5,501 -7,500 บาท
46
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถาม
ความรู้เกี่ยวกับมูลฝอย
ข้อความ
ใช่
ไม่ใช่
Mean
SD.
ระดับ
1.ท่านคิดว่ามูลฝอยคือ วัตถุสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้แล้วซึ่งส่วนใหญ่เป็นของแข็งจะเน่าเปื่อยหรือไม่ก็ได้
78.70
21.30
0.79
0.41
มาก
2.ท่านคิดว่าเศษก่อสร้าง คอนกรีตที่แตกเป็นชิ้นเล็กๆ ไม่จัดว่าเป็นขยะมูลฝอย
42.30
57.70
0.42
0.50
ปานกลาง
3.ท่านคิดว่าเศษหญ้า ฟางข้าว ที่มาจากการกสิกรรมไม่จัดว่าเป็นขยะมูลฝอย
45.20
54.80
0.45
0.50
ปานกลาง
4.ท่านคิดว่าขยะมูลฝอยเกิดจากการเตรียมการประกอบหรือจากการบริการด้านอาหาร
62.30
37.70
0.62
0.49
ปานกลาง
5.ท่านคิดว่าการหมักปุ๋ยเป็นการกำจัดขยะแบบหนึ่ง
67.40
32.60
0.67
0.47
มาก
6.ท่านคิดว่าการฝังกลบขยะมูลฝอยเป็นการกำจัดอย่างไม่ถูกหลักสุขาภิบาล
38.50
61.50
0.38
0.49
น้อย
7.ท่านคิดว่าการกำจัดขยะด้วยการลดปริมาณและการคัดแยก เป็นการกำจัดขยะมูลฝอยที่สมบูรณ์ที่สุด
66.50
33.10
0.67
0.47
มาก
8.ท่านคิดว่าไม่ควรนำของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
52.30
47.70
0.52
0.50
ปานกลาง
9.ท่านคิดว่าขยะมูลฝอยที่มาจากชุมชนไม่ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยเพราะเป็นหน้าที่ของสำนักงานเขตที่ต้องรับผิดชอบ
47.70
52.30
0.48
0.50
ปานกลาง
10.ท่านคิดว่าขยะมูลฝอยส่งผลให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งเพาะ
เชื้อโรค เป็นการเสี่ยงต่อสุขภาพและเป็น
การสูญเสียทางเศรษฐกิจชุมชนต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการกำจัดขยะมูลฝอย
72.00
28.00
0.72
0.45
มาก
รวม
0.57
0.16
ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์ตารางที่ 3 ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับมูลฝอย พบว่า ในภาพรวม
47
กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.16 ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง ความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยในระดับมาก ประกอบด้วยข้อคำถามที่ว่า ท่านคิดว่ามูลฝอยคือ วัตถุสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้แล้วซึ่งส่วนใหญ่เป็นของแข็งจะเน่าเปื่อยหรือไม่ก็ได้ ท่านคิดว่าการหมักปุ๋ยเป็นการกำจัดขยะแบบหนึ่ง ท่านคิดว่าการกำจัดขยะด้วยการลดปริมาณและการคัดแยกเป็นการกำจัดขยะมูลฝอยที่สมบูรณ์ที่สุด และท่านคิดว่าขยะมูลฝอยส่งผลให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค เป็นการเสี่ยงต่อสุขภาพและเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ชุมชนต ้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการกำจัดขยะมูลฝอย แสดงให้เห็นว่าการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะมูลฝอย และมีความต้องการที่จะกำจัดขยะออกจากแหล่งกำเนิด เพราะรู้ว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ
มีข้อสังเกต ที่ได้จากคำถามที่กล่าวว่า “ขยะมูลฝอยที่มาจากชุมชนไม่ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอย เพราะเป็นหน้าที่ของสำนักงานเขตที่ต้องรับผิดชอบ ความรู้ในข้อนี้ประชาชนตอบ ร้อยละ 52.30 ว่าไม่ใช่ นั่นแสดงให้เห็นว่า ถ้าประชาชนยังมีความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ไม่มากพอ ประชาชนก็จะไม่ให้ความร่วมมือ หรือไม่รับผิดชอบ เพราะคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งลักษณะเช่นนี้ จะส่งผลให้การจัดการขยะในชุมชนไมได้ผล”
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถาม
48
เกี่ยวกับปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชน
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
Mean
SD.
ระดับ
1.ท่านคิดว่าการประชาสัมพันธ์ของเขตในการให้บริการขนขยะมูลฝอยทั่วถึง
53.60
37.20
9.20
2.44
0.66
มาก
2.ท่านคิดว่าการประชาสัมพันธ์ของเขตในการให้บริการเก็บขนขยะใช้สื่อไม่เหมาะสม
6.30
70.70
23.00
1.83
0.52
ปานกลาง
3.ท่านคิดว่าท่านไม่ค่อยได้รับข่าวสารด้านการบริการ
10.0
36.00
54.00
1.56
0.67
ปานกลาง
4.ท่านคิดว่าเจ้าหน้าที่ที่มาให้บริการให้สามารถประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการให้บริการดีอยู่แล้ว
43.10
43.50
13.40
2.30
0.69
มาก
5.ท่านคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีการ
ประชาสัมพันธ์เรื่องเวลาการเก็บขนขยะ
32.20
41.40
26.40
2.60
0.76
มาก
6.ท่านคิดว่าท่านไม่เคยทราบเกี่ยวกับเวลาเก็บขนขยะจากเจ้าหน้าที่เพราะไม่ได้อยู่บ้าน
19.20
51.00
29.70
1.90
0.69
ปานกลาง
7.ท่านคิดว่าเขตไม่จำเป็นต้องมีช่องทางการสื่อสารกับประชาชน
40.20
25.90
33.90
2.06
0.86
มาก
8.ท่านคิดว่าเขตควรประชาสัมพันธ์การบริการ และช่วงเวลาการให้บริการด้วยการทำป้ายประชาสัมพันธ์
60.70
27.60
11.70
2.49
0.70
มาก
9.ท่านคิดว่าเขตควรแจกแผ่นพับ หรือใบปลิวเพื่อให้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการบริการเก็บขนขยะ
56.50
36.00
7.50
2.49
0.63
มาก
10.ท่านคิดว่าการจัดทำวีดีโอแนะนำแนวทางการจัดการขยะของเขตเป็นประโยชน์
57.30
33.90
8.80
2.49
0.65
มาก
รวม
2.16
0.26
มาก
ผลการวิเคราะห์ตารางที่ 4 ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนพบว่า การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.16 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.26 โดยพบว่า ความคิดเห็นที่มีค่าอยู่ในระดับสูง ประกอบด้วย ท่านคิดว่าการประชาสัมพันธ์ของเขตในการให้บริการขนขยะมูลฝอยทั่วถึง ท่านคิดว่าเจ้าหน้าที่ที่มาให้บริการให้สามารถประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการให้บริการดีอยู่แล้ว ท่านคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์เรื่องเวลาการ
49
เก็บขนขยะ ท่านคิดว่าเขตไม่จำเป็นต้องมีช่องทางการสื่อสารกับประชาชน ท่านคิดว่าเขตควรประชาสัมพันธ์การบริการ และช่วงเวลาการให้บริการด้วยการทำป้ายประชาสัมพันธ์ ท่านคิดว่าเขตควรแจกแผ่นพับ หรือใบปลิวเพื่อให้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการบริการเก็บขนขยะ และ ท่านคิดว่าการจัดทำวีดีโอแนะนำแนวทางการจัดการขยะของเขตเป็นประโยชน์
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถาม
เกี่ยวกับปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
Mean
SD.
ระดับ
1.ท่านคิดว่าประชาชนควรมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอย
73.20
20.90
5.90
2.67
0.58
มาก
2.ท่านคิดว่าเขตควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งจะทำให้การบริการเก็บขนขยะมูลฝอยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
52.30
45.60
2.10
2.50
0.54
มาก
3.ท่านคิดว่าเขตควรคิดรูปแบบใหม่ๆ ในการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย
54.40
36.00
9.60
2.45
0.66
มาก
4.ท่านคิดว่าท่านพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับเขต เพื่อให้ชุมชนของท่านน่าอยู่
43.10
38.50
18.40
2.25
0.75
มาก
5.ท่านคิดว่าท่านไม่มีเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกับเขตในการกำจัดขยะ
20.50
38.10
41.40
1.79
0.76
ปานกลาง
6.ท่านคิดว่าประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับเขตในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
17.20
48.50
34.30
1.83
0.70
ปานกลาง
7.ท่านคิดว่าเขตควรมีโครงการเพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมทำกิจกรรม
53.60
31.00
15.50
2.38
0.74
มาก
8.ท่านคิดว่าการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทำให้มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่
55.60
37.20
7.10
2.49
0.63
มาก
9.ท่านคิดว่าการมีส่วนทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดความร่วมมือกันมากขึ้น
59.80
33.50
6.70
2.53
0.62
มาก
10.ท่านคิดว่าเป็นหน้าที่ของเขตในการให้บริการ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดชุมชน
31.40
36.40
32.20
1.99
0.80
ปานกลาง
รวม
2.29
0.27
มาก
50
ผลการวิเคราะห์ตารางที่ 5 ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.29 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.27 โดยพบว่า ข้อคำถามที่มีค่าอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ท่านคิดว่าประชาชนควรมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอย ท่านคิดว่าเขตควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งจะทำให้การบริการเก็บขนขยะมูลฝอยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ท่านคิดว่าเขตควรคิดรูปแบบใหม่ๆ ในการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย ท่านคิดว่าท่านพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับเขต เพื่อให้ชุมชนของท่านน่าอยู่ ท่านคิดว่าเขตควรมีโครงการเพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมทำกิจกรรม ท่านคิดว่าการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทำให้มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ท่านคิดว่าการมีส่วนทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดความร่วมมือกันมากขึ้น และท่านคิดว่าเป็นหน้าที่ของเขตในการให้บริการ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดชุมชน
51
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถาม
เกี่ยวกับปัจจัยด้านเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
Mean
SD.
ระดับ
1.ท่านพึงพอใจต่อการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขต
59.80
27.20
13.00
2.47
0.71
มาก
2.ท่านพึงพอใจต่อการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปบริการถึงหน้าบ้าน
58.60
38.50
2.90
2.56
0.55
มาก
3.ท่านพึงพอใจต่อโครงการของเขตในการให้ประชาชนไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
53.10
35.6
11.30
2.42
0.69
มาก
4.ท่านคิดว่าการมีความรู้เกี่ยวกับขยะทำให้เกิดทัศนคติที่ดีกับเจ้าหน้าที่ที่มาให้บริการ
54.00
35.10
10.90
2.43
0.68
มาก
5.ท่านรู้สึกว่าความรู้เกี่ยวขยะมูลฝอยทำให้ท่านสามารถจัดการกับขยะมูลฝอยได้ถูกวิธี
55.60
39.70
4.60
2.51
0.59
มาก
6. ท่านพึงพอใจในการทำงานต่อเจ้าหน้าที่ที่เสียสละและรับผิดชอบต่อการจัดการขยะมูลฝอย
54.00
34.30
11.70
2.42
0.69
มาก
7.ท่านคิดว่าเจ้าหน้าที่ไม่มาเก็บขนขยะตามเวลาที่กำหนด
22.60
36.00
41.40
1.81
0.78
ปานกลาง
8.ท่านพึงพอใจต่อการบริหารด้านการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขต
54.00
37.20
8.80
2.45
0.65
มาก
9.ท่านคิดว่า รถขนขยะไม่เหมาะสมและมีไม่เพียงพอต่อการให้บริการเก็บขนขยะ
9.60
43.90
46.40
1.63
0.65
ปานกลาง
10.ท่านคิดว่าเขตควรมีการจัดการมูลฝอยที่ดีกว่านี้และควรถูกกับลักษณะสุขาภิบาล
8.0
26.9
65.10
1.43
0.64
ปานกลาง
รวม
2.22
0.26
มาก
ผลการวิเคราะห์ตารางที่ 6 ปัจจัยด้านเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยพบว่า เจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.22 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.26 โดยพบว่า ความคิดเห็นที่มีค่าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ท่านพึงพอใจต่อการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขต ท่านพึงพอใจต่อการให้บริการเก็บขน
52
ขยะมูลฝอยของเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปบริการถึงหน้าบ้าน ท่านพึงพอใจต่อโครงการของเขตในการให้
ประชาชนไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ท่านคิดว่าการมีความรู้เกี่ยวกับขยะทำให้เกิดทัศนคติที่ดี
กับเจ้าหน้าที่ที่มาให้บริการ ท่านคิดว่าเจ้าหน้าที่ไม่มาเก็บขนขยะตามเวลาที่กำหนด ท่านคิดว่าเจ้า
หน้าที่ไม่มาเก็บขนขยะตามเวลาที่กำหนด ท่านพึงพอใจต่อการบริหารด้านการบริการเก็บขนขยะ
มูลฝอยของเขต และท่านคิดว่ารถขนขยะไม่เหมาะสมและมีไม่เพียงพอต่อการให้บริการเก็บขน
ขยะ
ผลการทดสอบสมมติฐาน
การทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขต
บางคอแหลม กรุงเทพมหานคร มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
ตารางที่ 7 การวิเคราะห์ความแปรปรวนเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขต
บางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และตัวแปรตามต่างๆ จำแนกอาชีพ
ตัวแปร แหล่งความแปรปรวน SS df MS F Sig.
Between Groups 0.983 12 0.082
Within Groups 14.804 225 0.066
อาชีพ
Total 15.786 237
1.244 .254
สมมติฐานที่ 1 ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกันมีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูล
ฝอยของเขตบางคอแหลมแตกต่างกัน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่ 7 พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกันมีเจตคติ
ต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลมไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้ง
แสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่ว่าจะประกอบอาชีพใด มีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูล
ฝอยไม่แตกต่างกัน เพราะทุกอาชีพมีความต้องการที่จะกำจัดขยะมูลฝอย และต้องใช้บริการเก็บขน
ขยะมูลฝอยของสำนักงานเขตเช่นเดียวกัน
53
ตารางที่ 8 การวิเคราะห์ความแปรปรวนเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และตัวแปรตามต่างๆ จำแนกลักษณะที่พักอาศัย
54
ตารางที่ 9 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรความรู้เกี่ยวกับมูลฝอย
ตัวแปร
⎯X
SD.
γ
Sig.
เจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
2.216
0.258
ความรู้เกี่ยวกับมูลฝอย
0.572
0.159
0.024
0.717
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สมมติฐานที่ 3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับ
เจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม
ผลการวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรความรู้เกี่ยวกับมูลฝอย จากตารางที่ 9 พบว่า ค่าเฉลี่ยของเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม (⎯X = 2.216) และความรู้เกี่ยวกับมูลฝอย (⎯X = 0.572) อยู่ในระดับปานกลาง และมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย (γ = 0.024) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
แสดงให้เห็นว่า ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย แต่ไม่ได้นำมาเกี่ยวกับความคิดเห็นในด้านการบริการเก็บขนมูลฝอยของสำนักงานเขต ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนจึงไม่มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม
55
ตารางที่ 10 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชน
ตัวแปร
⎯X
SD.
γ
Sig.
เจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
2.216
0.258
การรับรู้ข่าวสาร
2.162
0.2580
0.145
0.025
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สมมติฐานที่ 4 การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับ
เจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม
ผลการวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนจากตารางที่ 10 พบว่า ค่าเฉลี่ยของเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม อยู่ในระดับมาก (⎯X =2.216) และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชน (⎯X = 2.162) อยู่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย (γ = 0.093) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
แสดงให้เห็นว่า ประชาชนได้รับข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยไม่มากนัก แต่การรับรู้ข่าวสารยังมีความสัมพันธ์กับการให้บริการเก็บขนมูลฝอยของสำนักงานเขต แต่อยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประชาชนจะรู้และเข้าใจการให้บริการของสำนักงานเขตมากยิ่งขึ้น สำนักงานเขต จึงควรทำการประชาสัมพันธ์การให้บริการแก่ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น จาก จึงกล่าวได้ว่า ตัวแปรการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์ต่อเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม
56
ตารางที่ 11 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของ
เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตัวแปร
⎯X
SD.
γ
Sig.
เจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
2.216
0.258
การมีส่วนร่วมของประชาชน
2.288
0.272
0.258
0.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สมมติฐานที่ 5 การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการ
เก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม
ผลการวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรการมีส่วนร่วมของประชาชน จากตารางที่ 11 พบว่า ค่าเฉลี่ยของเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม (⎯X = 2.216) และการมีส่วนร่วมของประชาชน (⎯X = 2.288) อยู่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำกับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย (γ = 0.258) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
แสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับขยะมูลฝอย และการบริการเก็บขนมูลฝอยของสำนักงานเขตมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างน้อย ประชาชนส่วนใหญ่จะมีส่วนร่วมกับสำนักงานเขตในการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยในทางอ้อม กล่าวคือ มีประชาชนบางส่วนที่มีการทิ้งขยะแบบคัดแยกขยะ ส่วนใหญ่ยังคงทิ้งขยะในถังภาชนะที่รองรับขยะตามที่ที่กำหนดไว้ หรือจากที่ประชาชนวางไว้หน้าบ้านกรณีที่เจ้าหน้าที่บริการเก็บขนขยะตรงจากที่พักอาศัย จึงเห็นได้ว่าความร่วมมือกับสำนักงานเขตในการบริการเก็บขนขยะจึงมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ
57
สรุปผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร พบว่า
1. ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกันมีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย
ของเขตบางคอแหลมไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในที่พักที่มีลักษณะแตกต่างกันมีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะ มูลฝอยของเขตบางคอแหลม มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (γ = 0.024) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. การรับรู้ข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (γ = 0.145) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
5. การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม มีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ (γ = 0.258) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาเจตคติต่อการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรณีศึกษา: ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของ เขตบาง คอแหลม กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการเก็บขนมูลฝอยของ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านของกลุ่มประชากรที่จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา การนับถือศาสนา รายได้ อาชีพ และลักษณะที่อยู่อาศัย /สถานที่ทำงาน คำถามเป็นคำถามที่ใช้วัดความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย คำถามใช้วัดการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอย คำถามใช้วัดการมีส่วนร่วมของประชาชน คำถามใช้วัดเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยการจัด ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.7458
สรุปผลการวิจัย
สรุปผลจากการวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร พบว่า
1. ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลมไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในที่พักที่มีลักษณะแตกต่างกัน มีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยของประชาชน มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (γ = 0.024) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
59
4. การรับรู้ข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (γ = 0.145)
ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
5. การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยของประชาชน มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม มีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ (γ = 0.258) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
การอภิปรายผลการวิจัย
ผลการศึกษาในครั้งนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญที่พบในการวิจัยดังต่อไปนี้
สมมติฐานที่ 1 ผลการวิเคราะห์ พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกันมีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลมไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้ง
ผลการศึกษาที่ไม่ยอมรับสมมติฐาน แสดงให้เห็นว่า ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยไม่แตกต่างกัน เพราะทุกอาชีพมีความต้องการที่จะกำจัดขยะมูลฝอย และต้องใช้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยของสำนักงานเขตเช่นเดียวกัน การประกอบอาชีพของประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานเขตบางคอแหลมนั้นจะมีความหลากหลาย ทำให้ขยะมูลฝอยมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น อาชีพแม่ค้า หรือแม่บ้าน จะเป็นแหล่งของขยะมูลฝอยเปียก เกิดจากการเตรียมการประกอบหรือบริการอาหาร จากตลาดมีการซื้อขายอาหารสดหรือจากการทิ้งเศษขยะมูลฝอย และผลผลิตเกี่ยวกับอาหาร ขยะมูลฝอยที่เก็บกวาดจากถนน ซากพืช เศษชิ้นส่วนของยานพาหนะ ส่วนประชาชนที่มีอาชีพก่อสร้าง จะมีขยะในลักษณะ เศษวัสดุที่เหลือทิ้งจากสิ่งก่อสร้าง ในขณะที่อาชีพอุตสาหกรรม จะมีขยะประเภทขยะมูลฝอยพิเศษหรือขยะพิษ หรือถ้าเป็นขยะมูลฝอยที่มาจากฟาร์มที่เลี้ยงสัตว์ เกิดจากผู้ที่ประกอบอาชีพกสิกรรม เป็นต้น ซึ่งลักษณะการจัดเก็บขยะมูลฝอยหรือการจัดการและการทำลายก็จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของขยะมูลฝอยนั้น ๆ ถึงแม้ประชาชนในเขตบางคอแหลมจะมีความหลากหลายของอาชีพ แต่ผลผลิตของขยะที่ได้ส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกันมาก ดังนั้นประชาชนที่ประกอบอาชีพแต่ละลักษณะอาชีพ จึงมีความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย และการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมในแต่ละประเภทของขยะมูลฝอยที่อยู่ในความรับผิดชอบ ซึ่งความรู้เกี่ยว
60
กับขยะมูลฝอยต่าง ๆ นั้นจะทำให้เห็นความสำคัญในการคัดแยกขยะและใช้วิธีการกำจัดหรือการจัดการที่เหมาะสม ส่งผลต่อความสะอาดของสถานที่ บ้านเรือนและชุมชนของตน ไม่เป็นบ่อเกิดของโรคและไม่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพราะประชาชนจะมีความเข้าใจและอาศัยการจัดเก็บจากหน่วยงานรักษาความสะอาดทำให้มีเจตคติที่ดีต่อการให้บริการอัน จะส่งผลดีต่อการบริการในด้านจัดเก็บของสำนักงานเขตบางคอแหลมที่ทำงานได้รวดเร็วขึ้น สามารถบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดของ ปรีดา แย้มเจริญวงศ์ (2531 : 13-14) ที่ให้ข้อสนับสนุนเกยวกับการจัดการขยะมูลฝอยไว้ว่า การดำเนินการจัดการมูลฝอยที่ดี จะต้องใช้วิธีการกำจัดที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล โดยไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม พื้นดิน แหล่งน้ำและอากาศ เป็นต้น โดยจะต้องคำนึงถึงองศ์ประกอบ สำคัญ 5 ประการ คือ ชนิด ปริมาณและลักษณะของขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นตามประเภทของกิจกรรมและแหล่งกำเนิด ค่าใช้จ่ายและการลงทุนที่ใช้ในการดำเนินงาน เกี่ยวกับการจัดการในการกำจัด ปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ที่ได้รับผลจากการเกิดมลพิษ อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ การนำเอาทรัพยากรบางส่วนจากขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ และกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นประชาชนที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ ย่อมมีความรู้ในการจัดการขยะตามประเภทแหล่งกำเนิดอยู่แล้ว จึงไม่ส่งผลต่อเจตคติในการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของสำนักงานเขตบางคอแหลม
สรุปจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ประชาชนทุกอาชีพต่างก็มีความต้องการ ที่จะกำจัด ขยะมูลฝอย ซึ่งการจัดการขยะมูลฝอยเกิดจากจิตสำนึกในด้านการรักษาความสะอาดของบุคคล และเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลถึงมลภาวะต่างๆที่จะส่งผลกระทบหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของตน อีกทั้งมีความจำเป็นที่จะต้องมีส่วนรับผิดชอบในการรักษาความสะอาดในการกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อมิให้เกิดปัญหาการตกค้างและส่งกลิ่นเหม็นและไม่เป็นปัญหาหรือภาระของตน ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกัน จะมีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
61
สมมติฐานที่ 2 ผลการวิเคราะห์ พบว่า ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในที่พักที่มีลักษณะแตกต่างกันมีเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ในเขตบางคอแหลม จะมีสถานที่ที่มีลักษณะแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะลักษณะที่พักอาศัย หรือสถานท ี ่ทำงานของประชาชนมีความแตกต่างกัน มีหลากหลายลักษณะ อาทิ บ้านพักอาศัยในชุมชน คอนโดมิเนียม สถานที่ทำงานทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน เป็นต้น จึงมีลักษณะของมูลฝอยที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน ทำให้การทิ้งขยะมีลักษณะที่แตกต่างกันด้วย และมีขยะมูลฝอยหลายประเภทที่ต้องการการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยในลักษณะต่างกันตามสถานที่นั้น ๆ การจัดการขยะมูลฝอยที่ดีต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่บุคคลอื่นหรือชุมชน ดังนั้นการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยที่ดี จะต้องใช้วิธีการกำจัดที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล โดยไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม เช่น พื้นดิน แหล่งน้ำและอากาศ เป็นต้น และจะต้องคำนึงถึงองศ์ประกอบ สำคัญ ได้แก่ ปริมาณและลักษณะของขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นตามประเภทของกิจกรรมและแหล่งกำเนิด โดยเฉพาะสถานที่ที่เป็นแหล่งสร้างขยะอันตราย อาทิ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จะพบปัญหาคือขยะพิษ ขยะอันตราย เข็มฉีดยา โดยจะมีการจัดเก็บขนโดยการจัดจ้างบริษัทเอกชน แต่ขยะมูลฝอยทั่วไปจะจัดเก็บโดยฝ่ายรักษาความสะอาดของสำนักงานเขตบางคอแหลม นอกจากนี้ยังมีขยะมูลฝอยจากบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่อยู่ในชุมชนต่าง ๆ เช่น ชุมชนสวนหลวง1, ชุมชนวัดพระยาไกรระยะ3 และชุมชนบางอุทิศ การเก็บขนจะใช้วิธีการชักลากเนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่ในชุมชน แม้มีความแตกต่างกันตามลักษณะของที่พักอาศัย แต่ประชาชนจะรับรู้ปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ที่ได้รับผลจากการเกิดมลพิษของมูลฝอยที่อาจจะส่งผลกระทบต่อ สุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักของกองวิชาการและแผนงาน (2537) ที่ได้อธิบายถึงวิธีการจัดการขยะมูลฝอย ในรูปแบบการจัดกิจกรรมหรือโครงการลดและแยกขยะมูลฝอยในชุมชน ที่ทำให้ชุมชนมีจิตสำนึกและวิสัยทัศน์ ให้ความร่วมมือในการการวางกลยุทธ์ในชุมชนด้านการรักษาความสะอาด และยังสอดคล้องกับแนวคิดของยุพิน ระพิพันธุ์ (2544 : 24 – 26) ได้กล่าวถึง หลักการในการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอย เกี่ยวข้องกับการควบคุม การทิ้งการเก็บชั่วคราว การรวบรวม การขนถ่ายและการขนส่ง การแปลงรูป และการกำจัดขยะมูลฝอย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดในทางสุขอนามัย ความสวยงาม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุด คือการยอมรับของสังคม ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยปัจจัยในหลายๆ ด้านประกอบกัน ได้แก่ การบริการ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และวิธีการจัดการ ขยะมูล
62
ฝอยในแต่ประเภท โดยวิธีการจัดการจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในทุกแง่ทุกมุม นอกจากนี้ยังพบว่า ขยะมูลฝอยที่มาจากชุมชนมีมากกว่าขยะมูลฝอยจากแหล่งอื่นทั้งมีความหลากหลายจากสิ่งของที่ทิ้งปะปนกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่ผู้คนอยู่กันอย่างแออัด ไม่มีที่เพียงพอที่จะเก็บ ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่เพียงพอจะเก็บก็จะต้องคำนึงถึงการ ขนย้ายหรือกำจัดไปในเวลาที่ต้องการ มิฉะนั้นจะเกิดการเน่าเหม็น เป็นภาพที่ไม่น่าดู และอาจมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งนี้การจัดเก็บขยะมูลฝอยจึงขึ้นอยู่กับความตระหนักของแหล่งกำเนิด ซึ่งถ้ามีทัศนคติที่กับการจัดการขยะมูลฝอยก็ย่อมส่งผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ทำให้ที่พักอาศัยถูกสุขอนามัย และปราศจากโรคภัย
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในที่พักที่มีลักษณะแตกต่างกัน จึงมีเจตคติต่อจัดเก็บขยะมูลฝอยรวมถึงเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของสำนักงานเขตบางคอแหลมด้วย ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
63
สมมติฐานที่ 3 ผลการวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรความรู้เกี่ยวกับมูลฝอย จากตารางที่ 9 พบว่า ค่าเฉลี่ยของเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม อยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.216) และความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 0.572) และมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (γ = 0.024) กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่ไม่ยอมรับสมมติฐาน แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย แต่ไม่ได้นำมาเกี่ยวกับความคิดเห็นในด้านการพึงพอใจต่อการบริการเก็บขนมูลฝอยของสำนักงานเขตบางคอแหลม ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนจึงไม่มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม ทั้งนี้อาจมีสาเหตุที่เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น ความรู้ของประชาชนที่เกี่ยวกับขยะมูลฝอย ซึ่งอยู่ในระดับ ปานกลางนั้น กับความพึงพอใจในการบริการเก็บขนมูลฝอยเปนความรู้ที่ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ดังเช่น มีบางคำถามที่กล่าวว่า “ขยะมูลฝอยที่มาจากชุมขนไม่ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดเพราะเป็นหน้าที่ ของสำนักงานเขตที่จะต้องรับผิดชอบ” ที่ทำให้ประชาชนอาจมีความรู้ความเข้าใจที่ผิดว่าไม่ใช่หน้าที่และความรับผิดชอบของตนในการกำจัด ดังนั้นทางสำนักงานเขตควรให้ความรู้เรื่องในเรื่องของวิธีการ, ขั้นตอน หรือระยะเวลาในการจัดเก็บขยะมูลฝอยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับความรู้ด้านวิชาการของมูลฝอย เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการจัดการคัดแยกทิ้งขยะ ให้ถูกวิธี เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดจากบ้านเรือนของตน เพราะปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญของชุมชนเมืองที่ควรได้รับการแก้ไข จากการที่ขยะมีหลากหลายชนิดของขยะมูลฝอย อาทิ ขยะมูลฝอยเปียก ขยะมูลฝอยแห้ง ขี้เถ้า ซากสัตว์ เศษก่อสร้าง มูลฝอยจากถนน มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม ขยะมูลฝอยจากกสิกรรม และขยะมูลฝอยพิเศษที่เป็นของเสียซึ่งมีอันตรายสูง ของเสียเหล่านี้ต้องกำจัดและควบคุมเป็นพิเศษไม่ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ ทำให้ทราบถึงประเภทของขยะมูลฝอยที่มีประโยชน์ในการนำมาประกอบกับการจัดการขยะมูลฝอย ประเภทของขยะมูลฝอย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของวิรัช ชมชื่น (2537: 28) ความรู้ที่นำมาสร้างกิจกรรมทั้งหลายในการจัดการขยะมูลฝอย ตั้งแต่การทิ้งขยะมูลฝอยจนกระทั่งถึงการกำจัดขยะมูลฝอยในขั้นสุดท้าย ได้แก่การทิ้งขยะมูล การจัดการขยะมูลฝอย และการแปลงรูปหรือการคืนรูป และแนวคิดการจัดการของยุพิน ระพิพันธุ์ (2544 : 24 – 26) ที่อธิบายให้เห็นถึงการจัดการขยะมูลฝอยประเภทต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง
64
นอกจากนี้ ปรีดา แย้มเจริญวงศ์ (2531 : 13-14) ยังชี้ให้เห็นว่า การดำเนินการจัดการมูลฝอยที่ดี จะต้องใช้วิธีการกำจัดที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล โดยไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับขยะมูลฝอย เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้บุคคลเกิดจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยถูกวิธี แต่ในส่วนที่ประชาชนไม่ได้นำความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับการบริการและวิธีการเก็บขยะมูลฝอยของสำนักงานเขตบางคอแหลมอาจเนื่องมาจากการให้ความรู้ในส่วนนี้ไม่ทั่วถึง หรือไม่ได้รับข้อมูล จึงทำให้ความสัมพันธ์ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลมต่ำและไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
65
สมมติฐานที่ 4 ผลการวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนจากตารางที่ 10 พบว่า ค่าเฉลี่ยของเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลมอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X =2.216) และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.162) และมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (γ = 0.093) กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่า ประชาชนได้รับข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยไม่มากนัก แต่การรับรู้ข่าวสารยังมีความสัมพันธ์กับการให้บริการเก็บขนมูลฝอยของสำนักงานเขต แต่อยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพมากขึ้นและได้รับความร่วมมือที่ดีประชาชนจะต้องรู้และเข้าใจการให้บริการของสำนักงานเขตมากยิ่งขึ้น สำนักงานเขต จึงควรทำการประชาสัมพันธ์การให้บริการแก่ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น จากผลการวิเคราะห์ที่ได้จากแบบสอบถาม มีถึงร้อยละ 60.70 ที่ต้องการให้เขตทำป้ายประชาสัมพันธ์การบริการและช่วงเวลาของการให้บริการ ดังนั้นจึงแสดงว่าการประชาสัมพันธ์ทางเขตได้มีการดำเนนการ แต่ข้อมูลอาจจะยังไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด หรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารยังไม่เพียงพอต้องมีการกระทำที่ต่อเนื่องและเข้าถึงแต่ในภาพรวมก็มีการรับรู้ข่าวสารที่ทางเขตได้ลงประชาสัมพันธ์อยู่บ้าง จึงกล่าวได้ว่า ตัวแปรการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์ต่อเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม ทั้งนี้การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการบริการเก็บขนมูลฝอย จะทำให้ประชาชนทราบถึง กระบวนการให้บริการของสำนักงานเขตบางคอแหลม ที่จะเข้าไปอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บขนมูลฝอย เป็นบริการที่เข้าถึงแหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้โดยใชการชักลากและรถเก็บขนมูลฝอย ตามแนวคิดของธเนศ ศรีสถิตย์ (2537: 1-10) อธิบายให้เห็นว่า การเก็บขนมูลฝอยขนาดเล็กไปเทลงรถบรรทุกมูลฝอยขนาดใหญ่ ที่บรรจุมูลฝอยได้ปริมาณมากๆ ทำให้รถเก็บขนมูลฝอยขนาดเล็กไม่ต้องขนส่งมูลฝอยไปยังสถานที่กำจัดมูลฝอย ประหยัดค่าใช้จ่ายรถเก็บขนมูลฝอยมีเวลาในการเก็บขนมูลฝอยมากขึ้นทำให้สามารถขยายพื้นที่เก็บขนได้ หากมีรถเก็บขนมูลฝอยเองสามารถขนส่งมูลฝอยมาทิ้งสถานีขนถ่ายได้ เป็นการลดภาระของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ที่สถานีขนถ่ายมูลฝอย สามารถคัดแยกมูลฝอยที่มีประโยชน์ได้ระหว่างที่รอเวลาในการขนส่งมูลฝอยไปยังสถานที่กำจัด การกำจัดขยะมูลฝอย มีความสำคัญต่อชุมชน ทั้งนี้เพราะผลกระทบและปัญหาที่เกิดจากขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยที่เกิด
66
จากชุมชน มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องกำจัด หากไม่มีการเก็บและกำจัดอย่างถูกต้องหรืออย่างเหมาะสมแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อชุมชน เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย อากาศเสีย เกิดการปนเปื้อนของดิน แหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและแมลง ในขยะมูลฝอยอาจจะมีเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ปะปนมา เช่น มูลฝอยจากโรงพยาบาล และการสะสมของมูลฝอยที่เก็บขนมา ถ้ากำจัดไม่ถูกต้องจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันและหนู ซึ่งจะเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน การเสี่ยงต่อสุขภาพ ชุมชนที่ขาดการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดี และถูกต้องตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาล จะทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้โดยง่าย เช่น โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือ พยาธิชนิดต่าง ๆ เนื่องจากขยะมูลฝอยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง การแพร่ของโรคย่อมเป็นได้ง่าย นอกจากนั้นยังมีอันตรายที่เกิดจากขยะพิษ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ มีสารปรอท ทำให้ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ประสาทหลอน หรือการได้รับสารตะกั่ว จากแบตเตอรี่รถยนต์ ยาฆ่าแมลงก็จะทำให้อ่อนเพลีย ซีด ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ความจำเสื่อม ชักกระตุกและหมดสติได้ ดังนั้นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการให้บริการควรจะมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงโทษภัยของขยะมูลฝอย ที่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน การเก็บรวบรวมและกำจัดขยะมูลฝอยที่ดี จะช่วยให้ชุมชนเกิดความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย อันแสดงถึงการมีวัฒนธรรมนำไปสู่ความเจริญของชุมชน ถ้าขาดการเก็บหรือการจัดการไม่ดี ย่อมทำให้เกิดความไม่น่าดู ซึ่งขยะมูลฝอยก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ประชาชนได้ เนื่องจากความสกปรกและกลิ่นเหม็นที่เกิดจากการเน่าเปื่อย หรือการสลายของขยะมูลฝอย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของของนรินทร์ พัฒนาพงศ์ (2542: 3) ที่อธิบายให้เห็นว่า กระบวนการในการสื่อสารรวมถึงการประชาสัมพันธ์นับว่าเป็นหัวใจสำคัญ ที่องค์กรจะใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับประชาชน โดยการเสนอข่าวสาร การสร้างกิจกรรม และการแสดงความปรารถนาดีต่อประชาชนในฐานะที่สำนักงานเขตรับผิดชอบ เกี่ยวกับการบริการด้านการเก็บขนขยะมูลฝอยให้กับประชาชน ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้จะนำไปสู่เจตคติที่ดีต่อการบริการ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ จึงเป็นแนวคิดที่นำมาใช้ศึกษา เพื่อให้ทราบถึง ผลของการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ที่จะทำหน้าที่ประสานความเข้าใจ ทำให้ประชาชนมีเจตคติที่ดีต่อการให้บริการ ทำเกิดผลดีต่อการบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการบริการเก็บขนมูลฝอยมีความสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาลดปริมาณขยะในชุมชน เพื่อให้ประชาชนไม่เสี่ยงต่อมลภาวะเป็นพิษ
67
ที่อาจเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ ได้ จึงกล่าวได้ว่า การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 5 ผลการวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร กับตัวแปรการมีส่วนร่วมของประชาชน จากตารางที่ 11 พบว่า คาเฉลี่ยของเจตคติในการบริการเก็บขนมูลฝอยของเขตบางคอแหลมอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.216) การมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.288) และมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ (γ = 0.258) กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับขยะมูลฝอย และการบริการเก็บขนมูลฝอยของสำนักงานเขตมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างน้อย ด้วยสาเหตุที่การทำกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่จะกระจายไปสู่แหล่งอาศัยที่แตกต่างกัน ทำให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมหรือมีส่วนร่วมน้อย เพราะแหล่งอาศัยบางสถานที่ไม่เอื้อต่อการจัดทำ ดังนั้นประชาชนส่วนใหญ่จะมีส่วนร่วมกับสำนักงานเขตในการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยในทางอ้อม กล่าวคือ มีประชาชนบางส่วนที่มีการทิ้งขยะแบบคัดแยกขยะ ส่วนใหญ่ยังคงทิ้งขยะในถังภาชนะที่รองรับขยะตามที่ที่กำหนดไว้ หรือจากที่ประชาชนวางไว้หน้าบ้านกรณีที่เจ้าหน้าที่บริการเก็บขนขยะตรงจากที่พักอาศัย จึงเห็นได้ว่าความร่วมมือกับสำนักงานเขตในการบริการเก็บขนขยะจึงมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนมิใช่เพียงแค่คัดแยกมูลฝอยเท่านั้น แต่เป็นการที่ประชาชนมีส่วนในการปฏิบัติกิจกรรมอื่น ๆ ในการจัดการมูลฝอยให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งก็มีชุมชนบางอุทิศ มีการจัดกิจกรรมรักษาความสะอาดเพื่อพัฒนาชุมชน ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2526 : 25) ได้ชี้ให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ การร่วมปฏิบัติ และการร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ อันมีผลกระทบถึงตัวของประชาชนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาและนำมาซึ่งสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ในการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยของสำนักงานเขต เป็นการให้บริการเพื่อมุ่งหวังในการจัดการขยะมูลฝอยให้กับประชาชน ซึ่งเป็นภาระหนัก ทั้งนี้เพราะปริมาณขยะมูลฝอยมีเป็นจำนวนมาก ประชากรในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น ในขณะที่เจ้าหน้าที่ สถานที่กำจัดขยะ หรือสถานที่ทิ้งขยะมีน้อย อีกทั้งขยะมีหลากหลายประเภท ซึ่งการจัดการกับขยะแต่ละประเภทมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นแหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอยต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำจัดที่ถูกวิธี มีการคัดแยกขยะแยกไว้ เมื่อเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตมาให้บริการ จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้บริการเก็บขนขยะได้ เร็วขึ้น ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
68
คัดแยกขยะ เป็นสิ่งสำคัญที่กรุงเทพมหานคร ได้ทำการรณรงค์ให้ประชาชน เข้าใจและยังอำนวยความสะดวกโดยจัดภาชนะรองรับขยะที่แยกประเภทไว้ให้อย่างเด่นชัด เพื่อให้เกิดความตระหนัก และสร้างนิสัยให้ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทางตามที่กำหนดซึ่งง่ายต่อการเก็บขน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย จึงควรเป็นสิ่งที่ควรนำมารณรงค์ให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม กลุ่มประชากรไม่ว่าจะจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา การนับถือศาสนา รายได้ อาชีพ และลักษณะที่อยู่อาศัย/สถานที่ทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของไพรัตน์ เตชะรินทร์ (2527 : 6-7) ที่อธิบายถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาว่า เป็นกระบวนการที่รัฐบาลทำการส่งเสริม ชักนำ สนับสนุน และสร้างโอกาสให้ประชาชนทั้งในรูปส่วนบุคคล กลุ่มคน ชมรม สมาคม มูลนิธิและองค์การอาสาสมัครรูปแบบต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องรวมกัน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และนโยบายของการพัฒนาตามที่กำหนดไว้ เป็นวิธีการพัฒนาเพื่อแก้ไขและลดปัญหาของชุมชน หรือเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือสนองความต้องการของชุมชน เป็นการทำกิจกรรมเพื่อขจัดและแก้ไขปัญหาและสนองความต้องการของชุมชนซึ่ง ประชาชนต้องมีเจตคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
ดังนั้นจากผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สรุปได้การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยของประชาชนจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชนและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในชุมชนจะทำให้เกิดความร่วมมือกันมากขึ้น จึงมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
69
ผลจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะมูลฝอย และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดเก็บขยะมูลฝอยเป็นสิ่งสำคัญ ที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอย เพราะความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยทำให้ประชาชนเข้าใจการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ในชุมชนของตน สามารถจัดการได้อย่างมีระเบียบเรียบร้อย ถูกกับสุขลักษณะ ซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนนั้นๆ และทำให้สำนักงานเขตให้บริการได้รวดเร็ว และบรรลุวัตถุประสงค์
จากผลการศึกษา สำนักงานเขตควรมีการปรับปรุงการให้ข้อมูลข่าวสารในด้านบริการและการประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทางเขตจัดขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการบริการของสำนักงานเขต และยังช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน และในชุมชน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นปัญหาที่หนักที่พบในทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานครได้
ข้อเสนอแนะจากความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะที่ได้จากประชาชน โดยแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทาง
ต่าง ๆ ในการบริการเก็บขนมูลฝอยของสำนักงานเขตสรุปได้ดังนี้
1. ควรมีการเก็บขนขยะให้ถี่ขึ้น บางครั้งเจ้าหน้าที่ของเขตเว้นระยะเวลาในการเข้ามารับและเก็บขนทำให้เกิดการตกค้างส่งกลิ่นเหม็นรบกวน โดยเฉพาะชุมชนพระยาไกรระยะ 3 และจุดรับขยะที่ชักลากอยู่ไกล ทำให้ยากลำบากต่อการชักลากและเก็บขน
2. ควรจัดให้มีรถบริการเก็บขนมูลฝอยขนาดเล็กที่เข้าไปในชุมชน เพื่อ
สามารถเข้าถึงแหล่งกำเนิดขยะได้มากยิ่งขึ้น ชุมชนส่วนใหญ่จะมีถนนและทางเดินเท้าขนาดเล็กทำให้รถใหญ่เข้าไม่ได้ จึงต้องการให้มีการใช้รถที่มีขนาดเล็กเพื่อให้เข้าถึง และสะดวกต่อการเก็บขนมูลฝอยในชุมชน
3. สำนักงานเขตควรจัดถังขยะให้กับชุมชนต่างๆ มากขึ้น เพื่อสะดวก
ต่อการทิ้งและมีเพียงพอกับความต้องการ ประชาชนยังมีความจำเป็นที่ต้องนำมูลฝอยไปทิ้งในถังขยะ เพราะในช่วงเวลาของการเก็บขนไม่สามารถนำไปถึงได้
4. ต้องการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมการรักษาความสะอาด เพราะผู้นำชุมชนไม่ให้ความสนใจด้านนี้ และบางครั้งการจัดก็ทำได้ไม่ดีทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน และควรแนะนำแบบอย่างหรือพาไปศึกษาจากชุมชนอื่น ๆ ที่จัดกิจกรรมหรือโครงการจนประสบความสำเร็จ เพื่อจะได้มาจัดทำให้เกิดในชุมชนบ้าง
70
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อเจตคติในการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอย เพื่อ
นำผลที่ได้มาเป็นแนวทางเพิ่มเติมในการบริหารจัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอยของสำนักงานเขต
2. ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริการด้านความสะอาดอื่นๆ ของสำนักงาน
เขต เพื่อนำผลที่ที่ได้มาปรับปรุงการบริหารจัดการด้านการบริการประชาชน
3. ควรศึกษารายละเอียดของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเก็บขนมูลฝอยโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจัดทำกิจกรรมหรือโครงการหลาย ๆ รูปแบบเพื่อเป็นแนวทางใหกับชุมชนหรือหน่วยงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บรรณานุกรม
กรุงเทพมหานคร. (2543). ทิศทางการพัฒนากรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักรักษา
ความสะอาด.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ. (2546). การจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ.
กองวิชาการและแผนงาน. (2543). จุลสารการคัดแยกขยะ. กรุงเทพฯ: สำนักรักษา
ความสะอาด. (อัดสำเนา)
กองวิชาการและแผนงาน . (2537). ข้อมูลการรับซื้อสินค้าจากมูลฝอย. กรุงเทพฯ:
สำนักรักษาความสะอาด.
กองวิชาการและแผนงาน. (2543) . คู่มือการลดปริมาณมูลฝอยในชุมชน. กรุงเทพฯ :
สำนักรักษาความสะอาด.
จินตนา เปียสวน (2538). ความตระหนักและการปฏิบัติตัวของแม่บ้าน เกี่ยวกับการ
จัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือน ในแฟลตข้าราชการกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์สาขาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล.
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2527). การระดมประชาชนเพื่อพัฒนาชนบทในงานบริหารงาน
พัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ชลาพรรณ ลิขิตวศินกุล.(2534). ปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักในการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมของมัคคุเทศก์อาชีพ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม
คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.
ชัยยุทธ โยธามาตย์. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย:
ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลฃตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี.
พัฒนบริหารศาสตร์ มหาบัณฑิต วิทยานิพนธ์สถาบันพัฒนบริหาร ศาสตร์.
ชัยพร วิชชาวุธ .(2523). การวิจัยเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
ชุดา จิตพิทักษ์. (2525). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. . กรุงเทพมหานคร : สารมวลชน.
ทวีทอง หงส์วิวัฒน์ บรรณาธิการ. (2527). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
นรินทร์ พัฒนาพงศา. (2542). การสื่อสารรณรงค์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อเปลี่ยน
พฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เขียว.
นฤเทพ สิทธิชาญคุณะ. (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย
กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและ การวางแผนสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
7 2
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ : การวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัย.
กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
ปาริชาติ วลัยเสถียรและคณะ. (2542). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ปริศนา โกลละสุต. (2534). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน : ศึกษาเปรียบเทียบผู้เคยย้ายถิ่นและผู้ไม่เคยย้ายถิ่น วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม), สถาบันพัฒนบัณฑิตบริหารศาสตร์.
ปรีดา แย้มเจริญวงศ์. (2531). การจัดการขยะขยะมูลฝอย. ภาควิชาวิทยาศาสตร์
สุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2528). รายงานการวิจัย การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรม
เพื่อพัฒนาชนบท,กรุงเทพมหานคร : สถาบันไทยคดีศึกษา.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปุสตี อาคมานนท์ มอนซอน และคณะ.(2535). การท่องเที่ยวเดินป่า : ผลกระทบ
ต่อสภาวะแวดล้อม กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่7. (2543). การพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือ
ระหว่างรัฐและเอกชน, (อัดสำเนา)
พวงทอง ตั้งธิติกุล.(2542) ความพึงพอใจของผู้รับบริการบัตรประกันสุขภาพ.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2529). นโยบายและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา.
พรทิพย์ สมปัตตะวนิช. (2540). การตลาดเพื่อสังคม. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระราชบัญญัติสาธารณสุข. (2497). พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2484.
(แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2497)
พงษ์อนันต์ สรรพานิช. (2526). ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อประชาชนชาวภูเก็ต.
กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
มงคล ชาวเรือ, (2527). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พระนครศรีอยุธยา:
วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา .
7 3
มลฑล ใบบัว. (2537). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ยุพิน ระพิพันธุ์.(2544). ความรู้ ทัศนคติและการจัดการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการจำแนกประเภทมูลฝอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อนทิ้ง ในเขตเทศบาลเมือง พนัสนิคม อำเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี วิทยานิพนธ์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2539) . เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาชนบท หน่วยที่8 -15.
มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมธิราช, สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ .
กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์พลชัย.
ลลิตา โภชนพันธ์. (2539). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในเชิงนิเวศน์สัญจรของ
นักท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา,
สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิชาการ,กรม. (2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านการ
ช่วยเหลือผู้อื่นเสียสละ มุ่งมั่นพัฒนา กรุงเทพมหานคร: กองวิจัยทางการ
การศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
วิชาญ มณีโชติ. (2535). พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัด สงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2540). วิกฤตสิ่งแวดล้อม ทางตันแห่งการพัฒนา. กรุงเทพฯ:
บ.ส่องสยาม.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2526). พฤติกรรมกับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิรัช ชมชื่น.(2536). พฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
วรรณา ลิ้มพานิชย์. (2538) การมีส่วนร่วมของประชาชนชราในการกำจัดขยะมูลฝอย
เมืองพัทยา. คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์วิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรินทร์ ตันติพุกนนท์. (2542). โครงการก่อสร้างโรงงานกำจัดมูลฝอยโดยการเผา.
วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่3 ฉบับที่ 13 : 2542.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2529). ทฤษฎีและปฎิบัติการทางจิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ:
อักษรบัณฑิต.Rajabhat
สมจิตต์ สุพรรณทัศน์. (2534). พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลง ในเอกสารการสอน
7 4
ชุดวิชาสุขศึกษา หน่วยที่ 1-7. (หน้า 98-106,132-136). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
สมทัศ สมชีวีตา. (2543). นโยบายและการดำเนินงานของรัฐในการควบคุมมลภาวะ
และสิ่งแวดล้อมในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7. การพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน. (อัดสำเนา).
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2534). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์.
Bandura Albert. (1977). Social Leaning Theory. New Jersey : Prentice-Hall Inc.
Englewood Gliffs.
Bloom, Benjamin S., et al. (1956). Taxonomy of Education Objectives :
Connitive and Affective Domains. New Yorks David Mc Kay
Company, Inc.
Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1980). Participation's Place in Rural Development:
Seeking Clarity Through Specificity. World Development., (1980,January).
New York: Cornell University.
Conbach, Lee Joseph. (1972). The Dependability of Behavioral Measurement : Theory of Generaligility for Scares and Profiles. By Lee J. Cronbach and others. New York : Willey.
Fishbey , Martin and AJyen ,Icek. (1975). Belief, Attitude,Intention and Behavior.
Massachusettes : Addison-Wesley Publishing company.
Mullins, Luaric J. (1985). Management and Organizationl Behavior.
London: Pitman Company.
Jonathan L. Freedman and David O. Sears. (1978). Social Psychology.
New Jersy: Prentic Hall Inc.
ภาคผนวก
76
แบบสอบถาม
คำชี้แจง การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาเจตคติต่อการบริการเก็บขนมูลฝอยของ
เขตบางคอแหลม เพื่อนำมาปรับปรุงการให้บริการ
ข้อแนะนำเกี่ยวกับแบบสอบถาม
ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคล 7 ข้อ
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย
จำนวน 40 ข้อ แบ่งเป็น 4 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 คำถามใช้วัดความรู้เกี่ยวกับมูลฝอย จำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 2 คำถามใช้วัดการรับรู้ข่าวสารจำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 3 คำถามใช้วัดการมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยของประชาชน
จำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 4 คำถามใช้วัดเจตคติ ต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย
จำนวน 10 ข้อ
ส่วนที่ 3 ปัญหาและข้อเสนอแนะ
77
หน้า 1/7
แบบสอบถาม
เรื่อง เจตคติต่อการบริการเก็บขนขนยะมูลฝอยของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
ชุดที่
ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคล
คำชี้แจง โปรดเติมคำในช่องว่างหรือใส่เครื่องหมาย √ ในช่องที่ท่านเลือก
1 เพศ
1. ชาย 2. หญิง
2.อายุ
1. 20-30ปี 2. 31-40ปี 3. 41-50ปี 4. 50ปีขึ้นไป
3. ระดับการศึกษา
1. ประถมศึกษา 2.มัธยมศึกษา/ปวช 3.อนุปริญญา/ปวส.
4.ปริญญาตรี 5.สูงกว่าปริญญาตรี
4.นับถือศาสนา
1.ศาสนาพุทธ 2. ศาสนาคริสต์
3.ศาสนาอิสลาม
5.รายได้
1. 4,000-5,500 บาท 2. 5,501-7,500 บาท
3. 7,501-15,000 บาท 4 15,001-25,000 บาท
5. 25,000 ขึ้นไป
78
หน้า 2/7
6.อาชีพ
1. เอกชน
2. ข้าราชการ
3. พนักงานรัฐวิสาหกิจ
4. แม่ค้า
5. แม่บ้าน
6. นักบวช
7. พนักงานบริษัท
8. พนักงานโรงแรม
9. ภารโรง
10. อาจารย์ ครู
11. รับจ้าง
12. บริกร
13. อื่นๆ
7. ที่อยู่อาศัย/สถานที่ทำงาน
1. บ้านพักอาศัย
2.ตลาดสด
3.โรงเรียน
4.สถานที่รสชการ
5.โรงพยาบาลและสถานพยาบาล
6.ศาสนสถาน
7.สถานบริการที่พักชัวคราว
8.คอนโดมิเนียม
79
หน้าที่ 3/7
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับความการคิดเห็น
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย √ ในช่องระดับความคิดเห็นที่ตรงกับความเป็นจริง
หรือสอดคล้องกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด
ตอนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับมูลฝอย
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
ใช่
ไม่ใช่
1.ท่านคิดว่ามูลฝอยคือ วัตถุสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้แล้วซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นของแข็งจะเน่าเปื่อยหรือไม่ก็ได้
2.ท่านคิดว่าเศษก่อสร้าง คอนกรีตที่แตกเป็นชิ้นเล็กๆ ไม่จัดว่าเป็นขยะมูลฝอย
3.ท่านคิดว่าเศษหญ้า ฟางข้าว ที่มาจากการกสิกรรมไม่จัดว่าเป็นขยะมูลฝอย
4.ท่านคิดว่าขยะมูลฝอยเกิดจากการเตรียมการประกอบ
หรือจากการบริการด้านอาหาร
5.ท่านคิดว่าการหมักปุ๋ยเป็นการกำจัดขยะแบบหนึ่ง
6.ท่านคิดว่าการฝังกลบขยะมูลฝอยเป็นการกำจัดอย่างไม่ถูกหลักสุขาภิบาล
7.ท่านคิดว่าการกำจัดขยะด้วยการลดปริมาณและการคัดแยก เป็นการกำจัดขยะมูลฝอยที่สมบูรณ์ที่สุด
8.ท่านคิดว่าไม่ควรนำของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
9.ท่านคิดว่าขยะมูลฝอยที่มาจากชุมชนไม่ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยเพราะเป็นหน้าที่ของสำนักงานเขตที่ต้องรับผิดชอบ
10.ท่านคิดว่าขยะมูลฝอยส่งผลให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค เป็นการเสี่ยงต่อสุขภาพและเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ชุมชนต ้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการกำจัดขยะมูลฝอย
80
หน้าที่ 4/7
ตอนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับการรับรู้ข่าวสาร
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
1.ท่านคิดว่าการประชาสัมพันธ์ของเขตในการให้บริการ
ขนขยะมูลฝอยทั่วถึง
2.ท่านคิดว่าการประชาสัมพันธ์ของเขตในการให้บริการเก็บขนขยะใช้สื่อไม่เหมาะสม
3.ท่านคิดว่าท่านไม่ค่อยได้รับข่าวสารด้านการบริการ
4.ท่านคิดว่าเจ้าหน้าที่ที่มาให้บริการให้สามารถ
ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการให้บริการดีอยู่แล้ว
5.ท่านคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์เรื่องเวลาการเก็บขนขยะ
6.ท่านคิดว่าท่านไม่เคยทราบเกี่ยวกับเวลาเก็บขนขยะจากเจ้าหน้าที่เพราะไม่ได้อยู่บ้าน
7.ท่านคิดว่าเขตไม่จำเป็นต้องมีช่องทางการสื่อสารกับประชาชน
8.ท่านคิดว่าเขตควรประชาสัมพันธ์การบริการ และ
ช่วงเวลาการให้บริการด้วยการทำป้ายประชาสัมพันธ์
9.ท่านคิดว่าเขตควรแจกแผ่นพับ หรือใบปลิวเพื่อให้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการบริการเก็บขนขยะ
10.ท่านคิดว่าการจัดทำวีดีโอแนะนำแนวทางการจัดการขยะของเขตเป็นประโยชน์
81
หน้าที่ 5/7
ตอนที่ 3 คำถามใช้วัดการมีส่วนร่วมของประชาชน
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
1.ท่านคิดว่าประชาชนควรมีส่วนร่วมในการกำจัด
ขยะมูลฝอย
2.ท่านคิดว่าเขตควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน
การบริหารจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งจะทำให้การบริการเก็บขนขยะมูลฝอยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.ท่านคิดว่าเขตควรคิดรูปแบบใหม่ๆ ในการบริการเก็บ
ขนขยะมูลฝอย
4.ท่านคิดว่าท่านพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมกับเขต เพื่อให้ชุมชนของท่านน่าอยู่
5.ท่านคิดว่าท่านไม่มีเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกับเขตในการกำจัดขยะ
6.ท่านคิดว่าประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับเขตในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
7.ท่านคิดว่าเขตควรมีโครงการเพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมทำกิจกรรม
8.ท่านคิดว่าการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทำให้มีความรู้
ความเข้าใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่
9.ท่านคิดว่าการมีส่วนทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดความร่วมมือกันมากขึ้น
10.ท่านคิดว่าเป็นหน้าที่ของเขตในการให้บริการ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดชุมชน
82
หน้าที่ 6/7
ตอนที่ 4 คำถามใช้วัดเจตคติต่อการบริการเก็บขนขยะมูลฝอย
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
1.ท่านพึงพอใจต่อการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอย
ของเขต
2.ท่านพึงพอใจต่อการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยของเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปบริการถึงหน้าบ้าน
3.ท่านพึงพอใจต่อโครงการของเขตในการให้ประชาชนไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
4.ท่านคิดว่าการมีความรู้เกี่ยวกับขยะทำให้เกิดทัศนคติที่ดีกับเจ้าหน้าที่ที่มาให้บริการ
5.ท่านรู้สึกว่าความรู้เกี่ยวขยะมูลฝอยทำให้ท่านสามารถจัดการกับขยะมูลฝอยได้ถูกวิธี
6. ท่านพึงพอใจในการทำงานต่อเจ้าหน้าที่ที่เสียสละและรับผิดชอบต่อการจัดการขยะมูลฝอย
7.ท่านคิดว่าเจ้าหน้าที่ไม่มาเก็บขนขยะตามเวลาที่กำหนด
8.ท่านพึงพอใจต่อการบริหารด้านการบริการเก็บขน
ขยะมูลฝอยของเขต
9.ท่านคิดว่า รถขนขยะไม่เหมาะสมและมีไม่เพียงพอต่อการให้บริการเก็บขนขยะ
10.ท่านคิดว่าเขตควรมีการจัดการมูลฝอยที่ดีกว่านี้และควรถูกกับลักษณะสุขาภิบาล
83
หน้าที่ 7/7
ส่วนที่ 3 ปัญหาและข้อเสนอแนะ
ผู้วิจัยขอขอบคุณที่สละเวลาตอบแบบสอบถาม ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะนำไปใช้ในการปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กมลพัฒน์ แย้มประไพ
ผู้วิจัย
8 4
รายนามผู้เชี่ยวชาญ
ชื่อ-นามสกุล
วุฒิการศึกษา
ตำแหน่ง
1.นายศิวรัตน์ สุวรรณกาศ
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้อำนวยการเขตตลิ่งชัน
สำนักงานเขตตลิ่งชัน
2.นายสุรชัย ประภัศน์สุตานนท์
ศึกษาบัณฑิต
(รัฐศาสตรบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตยานนาวา
สำนักงานเขตยานนาวา
3. นายสพโชค ทาบสุวรรณ์
ปริญญาโท
การจัดการสาธารณะ
(คณะรัฐศาสตร์)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
หัวหน้าฝ่ายรักษาความสะอาดและ
สาธารณะ สำนักงานเขตทวีวัฒนา
88
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ นางกมลพัฒน์ แย้มประไพ
วัน เดือน ปีเกิด 6 สิงหาคม 2499
สถานที่เกิด กรุงเทพมหานคร
ประวัติการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน เจ้าหน้าที่งานรักษาความสะอาด 6
สำนักงานเขตบางคอแหลม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น