ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ระบบประสาทสมอง
บทเรียนสำเร็จรูป
ชุดที่ 1
เรื่อง ระบบประสาทสมอง
วิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
นางนฤมล อบมาลี
โรงเรียนบ้านขมิ้นเรืองราษฎร์รังสรรค์ เครือข่ายจอมพระ 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
คำนำ
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ระบบอวัยวะสำคัญ วิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเพื่อนำไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ โดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ละคน ให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทุกด้านเต็มตามศักยภาพของตนเอง ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงอย่างเป็นระบบและขั้นตอน เป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีต่อการเรียนรู้ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ระบบอวัยวะสำคัญ วิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย เนื้อหา ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบหายใจภายนอก ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบสืบพันธุ์ ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน ที่มุ่งพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามเป้าหมายของหลักสูตร ตามนโยบาย ตามเป้าหมายของโรงเรียนและชุมชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้ จะเอื้อประโยชน์สำหรับครูผู้สอน นักเรียน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพต่อไป
นฤมล อบมาลี
สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ .......................................................................................................................... ข
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ระบบประสาทสมอง .......................................................... 1
คำนำ .......................................................................................................................... 2
คำแนะนำการใช้บทเรียนสำเร็จรูป ............................................................................ 4
จุดประสงค์ ................................................................................................................. 5
แบบทดสอบก่อนเรียน .............................................................................................. 6
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน ...................................................................................... 7
กรอบที่ 1 .................................................................................................................. 9
เฉลยกรอบที่ 1 ........................................................................................................ 11
กรอบที่ 2 ................................................................................................................ 12
เฉลยกรอบที่ 2 ........................................................................................................ 14
กรอบที่ 3 ................................................................................................................ 16
เฉลยกรอบที่ 3 ........................................................................................................ 18
กรอบที่ 4 ................................................................................................................ 19
เฉลยกรอบที่ 4 ........................................................................................................ 24
กรอบที่ 5 ................................................................................................................ 26
เฉลยกรอบที่ 5 ........................................................................................................ 27
แบบทดสอบหลังเรียน ............................................................................................. 29
ใบกิจกรรม .............................................................................................................. 30
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน ..................................................................................... 31
ผลการประเมินบทเรียนสำเร็จรูป ชุดที่ 1 ............................................................... 32
บรรณานุกรม ........................................................................................................... 33
บัญชีตาราง
ตาราง หน้า
1 ผลการประเมินบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ระบบประสาทสมอง ...................... 32
บัญชีภาพประกอบ
ภาพประกอบ หน้า
1 สมองของมนุษย์ ............................................................................................ 7
2 สมองของมนุษย์ ............................................................................................ 9
3 การควบคุมของระบบประสาท ..................................................................... 12
4 สมองของมนุษย์ .......................................................................................... 14
5 สมองของมนุษย์ .......................................................................................... 16
6 สมองของมนุษย์ .......................................................................................... 18
7 สมองของมนุษย์ .......................................................................................... 22
8 สมองของมนุษย์ .......................................................................................... 24
9 สมองของมนุษย์ .......................................................................................... 26
10 สมองของมนุษย์ ........................................................................................ 27
11 สมองของมนุษย์ ........................................................................................ 31
บทเรียนสำเร็จรูป
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง ระบบประสาทสมอง
โดย
นางนฤมล อบมาลี
โรงเรียนบ้านขมิ้นเรืองราษฎร์รังสรรค์ เครือข่ายจอมพระ 1
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
คำนำ
ในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สาระที่ 1
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาระที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพเพื่อ
การดำรงชีวิตที่ดี และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ด้วยเหตุผลดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงได้จัดทำนวัตกรรมทางการศึกษา คือ บทเรียนสำเร็จรูป มาใช้เพื่อประกอบการเรียนการสอน โดยมีจุด
มุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองอย่างละเอียดจากบทเรียนสำเร็จรูป ซึ่งได้เสนอเนื้อหา
เกี่ยวกับ ระบบประสาท ไปทีละขั้นตอน พร้อมกับตอบคำถามเป็นตอน ๆ ไปจนจบเนื้อหา
จากการทดลองใช้ปรากฏว่านักเรียนให้ความสนใจ เข้าใจ และสนุกกับบทเรียนสามารถ
ตอบคำถามได้ดีเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง
หวังว่าบทเรียนสำเร็จรูปนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนและนักเรียนหรือผู้สนใจ
เป็นอย่างดี
นฤมล อบมาลี
นักเรียนจะต้องศึกษาตามขั้นตอน ดังนี้
1. คำแนะนำในการใช้บทเรียนสำเร็จรูป
2. จุดประสงค์ทั่วไป
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
คำแนะนำการใช้บทเรียนสำเร็จรูป
1. บทเรียนนี้เป็นบทเรียนสำเร็จรูป ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง ในการศึกษาบทเรียนนี้
นักเรียนจะต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง โดยไม่เปิดดูคำตอบล่วงหน้าก่อนตอบคำถาม
2. ให้นักเรียนอ่านและตอบคำถามทีละกรอบตามลำดับ ไม่ควรทำข้ามกรอบแล้วตอบคำถาม
โดยเติมคำตอบในช่องว่างในใบกิจกรรมที่เตรียมไว้ในตอนท้ายบทเรียน
3. เมื่อทำบทเรียนเสร็จแต่ละกรอบ ให้ตรวจกับเฉลยซึ่งอยู่หน้าถัดไปเพื่อตรวจดูว่าทำถูกต้อง
หรือไม่ ถ้าถูกให้ทำเครื่องหมาย / ถ้าผิดให้ทำเครื่องหมาย X
4. ถ้าคำตอบนักเรียนตรงกับคำตอบที่เฉลยไว้ ให้นักเรียนอ่านและทำบทเรียนในกรอบต่อไป
5. ถ้าคำตอบนักเรียนตรงกับคำตอบที่เฉลยไว้ ให้นักเรียนย้อนกลับไปอ่านกรอบเดิมอีกครั้งหนึ่ง
เพื่อความเข้าใจ แล้วตอบคำถามใหม่ หากยังไม่ถูกต้องก็ให้กลับไปทบทวนใหม่จนกว่าจะ
ได้คำตอบที่ถูกต้อง ถ้าไม่เข้าใจจริง ๆ ให้ถามคุณครูเพื่อขอคำแนะนำ
6. ขอให้นักเรียนตั้งใจศึกษาบทเรียน ไม่ต้องรีบร้อนหรือกังวลว่าจะช้าหรือเร็วกว่าคนอื่น ๆ
และต้องระลึกเสมอว่าจะต้องตั้งใจและพยายามเรียนด้วยตนเองให้มากที่สุด
7. เมื่อจบบทเรียนให้รวมคะแนนกรอบละ 1 คะแนน ในบางข้อจะมีหลายคำตอบ
ถ้ามีคำตอบใดผิดพลาดจะไม่ได้คะแนน รวมคะแนนทั้งหมดลงในช่องคะแนนที่ให้ไว้
จุดประสงค์
จุดประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับเรื่อง ระบบประสาท
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนบอกชื่ออวัยวะที่เป็นส่วนประกอบของระบบประสาทได้
2. นักเรียนดูแล รักษา และป้องกันระบบประสาทของตนได้อย่างถูกวิธี
3. บอกหน้าที่ของระบบประสาทได้อย่างถูกต้อง
4. บอกประโยชน์ของระบบประสาทได้อย่างถูกต้อง
แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ระบบประสาท
คำชี้แจง : ให้นักเรียนกาเครื่องหมาย X ให้ตรงกับข้อ ก, ข, ค, หรือ ง ที่เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
1. ควบคุมความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าว
ก. ลิมบิก ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. สมองเล็ก
2. ศูนย์รับกระแสประสาทความรู้สึก
ก. ไฮโปทาลามัส ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. สมองเล็ก
3. สมองในข้อใดที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
ก. ไฮโปทาลามัส ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. พอนส์
4. ข้อใดเป็นการป้องกันระบบสมอง
ก. ไฮโปทาลามัส ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. สมองเล็ก
5. สมองแบ่งออกเป็นส่วนสำคัญได้กี่ส่วน
ก. 4 ส่วน ข. 5 ส่วน
ค. 7 ส่วน ง. 9 ส่วน
6. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับระบบสมอง
ก. สมองเป็นระบบประสาทส่วนกลาง
ข. สมองเป็ระบบประสาทส่วนหน้า
ค. สมองเป็นระบบประสาทอัติโนมัติ
ง. สมองเป็นระบบประสาทส่วนท้าย
7. สมองในข้อใดที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
ก. ไฮโปทาลามัส ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. สมองเล็ก
8. มีหน้าที่ควบคุมการทรงตัว
ก. ไฮโปทาลามัส ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. สมองเล็ก
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ระบบประสาท
เฉลยข้อที่ 1 ตอบข้อ เฉลยข้อที่ 2 ตอบข้อ
เฉลยข้อที่ 3 ตอบข้อ เฉลยข้อที่ 4 ตอบข้อ
เฉลยข้อที่ 5 ตอบข้อ เฉลยข้อที่ 6 ตอบข้อ
เฉลยข้อที่ 7 ตอบข้อ เฉลยข้อที่ 8 ตอบข้อ
ภาพประกอบ 1 สมองของมนุษย์ http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.html
น้อง ๆ ตรวจคำตอบจากแบบทดสอบก่อนเรียนแล้ว
เรามาเริ่มเรียนตามกรอบต่าง ๆ กันเลย
กรอบการศึกษาที่ 1
หน้าที่ของระบบประสาท
ระบบประสาทมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในการตอบสนอง
ต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอกทั้งหมด เช่น ควบคุมให้อวัยวะต่าง ๆ
ของร่างกายทำงานประสานกัน ควบคุมการเคลื่อนไหว ความคิดอ่าน พูด
แปลความหมาย รับความรู้สึกจากภายนอก
ภาพประกอบ 2 สมองของมนุษย์
http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.html
น้อง ๆ ช่วยตอบคำถามต่อไปนี้นะครับ
ระบบประสาททำหน้าที่อย่างไรในร่างกายของคนเรา ?
เฉลยคำตอบกรอบที่ 1
ระบบประสาทมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการตอบสนอง
ต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอกทั้งหมด เช่น ควบคุมให้อวัยวะต่าง ๆ
ของร่างกายทำงานประสานกัน ควบคุมการเคลื่อนไหว ความคิดอ่าน
พูดแปลความหมาย รับความรู้สึกจากภายนอก
ตอบถูกเก่งมากนะครับ
ถ้าตอบผิดกลับไปดูอีกที
เรามาศึกษากรอบที่ 2 กันต่อนะครับ
กรอบการศึกษาที่ 2
ส่วนประกอบของระบบประสาท ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1. ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมองและไขสันหลัง
2. ระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ เส้นประสาทที่ทำงานเองโดย
อัตโนมัติ
ภาพประกอบ 3 การควบคุมของระบบประสาท
http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.htm
นักเรียนช่วยตอบคำถามด้วยนะครับ
ระบบประสาทแบ่งเป็นกี่ส่วนอะไรบ้าง
เฉลยคำตอบกรอบที่ 2
ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ระบบประสาทส่วนกลาง
2. ระบบประสาทอัตโนมัติ
ภาพประกอบ 4 สมองของมนุษย์
http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.htm
ตอบถูกมั๊ยครับ ถ้าตอบถูกเก่งมากครับ
เรามาศึกษากรอบที่ 3 ต่อนะครับ
กรอบการศึกษาที่ 3
ระบบประสาทส่วนกลางระบบสมอง
เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีรูปร่างเป็นก้อนรูปไข่ประกอบด้วยเซลล์ประสาทมากมาย จำนวนประมาณพันล้านเซลล์อยู่ในกะโหลกศรีษะ เซลล์ประสาทในสมองแผ่กระจายกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง สมองมีน้ำหนักเพียง 2% ของร่างกาย ต้องการออกซิเจนไปเลี้ยง 20% ของออกซิเจนที่สูดเข้าไปใช้ในร่างกาย สมองของเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ 300 – 400 กรัม แล้วเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงอายุ 15 ปี มนุษย์ถือได้ว่าเป็นสัตว์โลกที่มีสมองใหญ่และมีคุณภาพมากที่สุด มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1,300 – 1,400 กรัม มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีความหนาและแข็งแกร่ง ทำหน้าที่ ป้องกันไม่ให้สมองได้รับความกระทบกระเทือน สมองประกอบด้วยส่วนสำคัญ 9 ส่วน
1. ซีรีบรัม (Cerebrum) (พูส่วนหน้า พูส่วนกลาง พูส่วนข้าง และพูส่วนหลัง)
2. สมองเล็ก (cerebellum) 3. ทาลามัส (thalamus) 4. ไฮโปทาลามัส (hypothalamus)
5. ระบบลิมบิก (limbic system) 6. สมองส่วนกลาง (midbrain) 7. พอนส์ (pons)
8. ก้านสมอง (medulla oblongata) 9. เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น (reticular formation)
ภาพประกอบ 5 สมองของมนุษย์
http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.html
ศึกษากรอบที่ 3 แล้วช่วยตอบ
คำถามก่อนนะครับ
สมองแบ่งออกเป็นส่วนสำคัญกี่ส่วนอะไรบ้าง
เฉลยคำตอบกรอบที่ 3
สมองประกอบด้วยส่วนสำคัญ 9 ส่วน
1. ซีรีบรัม (Cerebrum) (พูส่วนหน้า พูส่วนกลาง พูส่วนข้าง และพูส่วนหลัง)
2. สมองเล็ก (cerebellum) 3. ทาลามัส (thalamus) 4. ไฮโปทาลามัส (hypothalamus)
5. ระบบลิมบิก (limbic system) 6. สมองส่วนกลาง (midbrain) 7. พอนส์ (pons)
8. ก้านสมอง (medulla oblongata) 9. เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น (reticular formation)
ภาพประกอบ 6 สมองของมนุษย์
http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.html
ถ้านักเรียนตอบถูกเก่งมากครับ
เรามาศึกษากรอบที่ 4 ต่อนะครับ
กรอบการศึกษาที่ 4
หน้าที่ของสมอง
1. ซีรีบรัม (Cerebrum)
เป็นส่วนของสมองที่อยู่บนสุดของศีรษะ มีรูปร่างเป็นพูย้อย ตั้งแต่หน้าผากไปตามรูป
ของกะโหลกศีรษะจนถึงบริเวณท้ายทอย มีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 80% ของสมองทั้งหมด บริเวณเปลือกนอกจะมีลักษณะเป็นรอยหยัก ยับย่นจีบ เป็นร่องลึก เรียกว่า คอร์เทกซ์
(Cortex) ซึ่งจัดว่าเป็นบริเวณที่สำคัญมาก ทั้งนี้เนื่องจากพบว่าคนที่มีความฉลาดมากและอัจฉริยะมักจะมีคอร์เทกซ์หรือรอยหยักส่วนนี้มากกว่าปกติ เนื่องจากจะทำให้มีพื้นที่ในการ
ใช้งานของสมองมากตามไปด้วย
สมองแท้จะเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางในการควบคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ ความจำ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล เป็นต้น ในส่วน
ของสมองแท้เองยังแบ่งออกได้อีก 4 ส่วนย่อย ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
- พูสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ในบริเวณนี้จะแบ่งออกได้อีก 2 ซีก คือ
ซีกซ้าย (left themisphere) และซีกขวา (right themisphere)โดยมีหน้าที่ควบคุมการ
เคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หรือเรียกส่วนนี้ว่าเขตมอเตอร์ (motor area)
แต่การสั่งงานจะกลับด้านกัน คือสมองซีกซ้ายจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านขวา
ของร่างกาย ส่วนสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านซ้ายของร่างกาย
นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของอารมณ์ การพูด ความคิด การจำ การเรียนรู้ และการใช้
ภาษาอีกด้วย
- พูสมองส่วนกลาง (Parietal lobe) เป็นส่วนที่ค่อนมาทางด้านหลังส่วนบน
ใกล้กับเขตมอเตอร์ เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกต่าง ๆ ทั่วไปของร่างกาย เช่น
ร้อน หนาว เจ็บปวด เป็นต้น หรือเรียกส่วนนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเขตรับสัมผัส (sensory area)
- พูสมองส่วนข้าง (temporal lobe) เป็นส่วนที่อยู่บริเวณด้านข้างของสมองตรงขมับ
มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับรู้ในด้านรส กลิ่น เสียง และความเข้าใจด้านภาษา
หรืออาจเรียกส่วนนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเขตการฟัง (auditory)
- พูสมองส่วนหลัง (occipital lobe) เป็นบริเวณที่อยู่ท้ายสุดของสมองแท้
ตรงท้ายทอย มีหน้าที่ควบคุมการรับรู้ทางสายตาให้เกิดการมองเห็นภาพต่าง ๆ
ทั้งแนวตั้งและแนวนอน หรืออาจเรียกบริเวณส่วนนี้ว่า เขตการเห็น (visual area)
2. สมองเล็ก (cerebellum)
เป็นสมองส่วนที่อยู่บริเวณท้ายทอยใต้สมองแท้ลงมา รูปร่างเหมือนใบไม้มีลักษณะเป็นรอยหยักย่นเช่นกันแต่น้อยกว่าสมองแท้ ชั้นนอกเป็นสีเทา (gray matter)
ส่วนชั้นในเป็นสีขาว (white matter) มีหน้าที่สำคัญคือช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้
การควบคุมของสมองสามารถทำงานประสานกันได้เป็นจังหวะเดียวกันเพื่อทำกิจกรรม
ใดกิจกรรมหนึ่ง เช่น การเล่นเทนนิสจะตีลูกให้ถูกได้ อวัยวะหลายส่วนจะต้องทำงาน
ประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ตา หู แขน ขา มือ ฯลฯ หน้าที่อีกประการหนึ่งคือ
ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย เนื่องจากสมองเล็กเป็นตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัสที่ใช้ควบคุมการทรงตัวซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นใน ทำให้เกิดความสมดุลในขณะที่ร่างกา
กำลังอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น ขณะยืน เดิน หมุนตัว กระโดด เป็นต้น นอกจากนี้
ยังควบคุมการเกร็งตัวของร่างกายอีกด้วย
3. ทาลามัส (thalamus)
เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากสมองแท้ลงมา ทำหน้าที่เป็นศูนย์รับกระแสประสาทความ
รู้สึกที่ถูกส่งมาจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่ไขสันหลัง ผ่านก้านสมอง
(medulla oblongata) พอนส์ และสมองส่วนกลาง (midbrain) ตามลำดับ จนถึงทาลามัส
จากนั้นทาลามัสจะจัดการแยกกระแสประสาทเหล่านั้นเพื่อเข้าสู่สมองเขตต่าง ๆ อีก
ทอดหนึ่ง และเมื่อสมองสั่งการเช่นใด ทาลามัสจะรับคำสั่งนั้นส่งเข้าสู่สมองส่วนกลาง
พอนส์ ก้านสมอง และสู่ไขสันหลัง เพื่อส่งคำสั่งนั้นให้ไปมีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
เท่ากับว่าทาลามัสเป็นสถานีสุดท้ายในการจ่ายกระแสประสาทให้กับสมอง และเป็น
สถานีแรกที่รับคำสั่งจากสมองเพื่อจ่ายไปสู่อวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้ทาลามัสยังทำหน้าที่
ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กแรกเกิดในขณะที่สมองแท้ยังทำงานได้ไม่เต็มที่อีก
4. ไฮโปทาลามัส (hypothalamus)
อยู่ใต้ทาลามัสลงมาใกล้กับต่อมไร้ท่อพิทูอิทารี (pituitary gland) เป็นกลุ่มของเซลล์สมองที่มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา ไฮโปทาลามัสถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบ
ลิมบิก (limbic system) และมีหน้าที่สำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับระบบการทำงาน
ของร่างกาย เช่น ควบคุมการทำงานของต่อมพิทูอิทารี รักษาระดับความสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย การหายใจ การหลับ การตื่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ปริมาณน้ำตาล
ในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลในการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากนี้
ยังทำหน้าที่ควบคุมแรงขับ (drive) ต่าง ๆ เช่น ความหิว ความกระหายความต้องการทางเพศ เป็นต้น ความสำคัญของไฮโปทาลามัสนี้เองบางครั้งจึงได้รับสมญาว่าผู้พิทักษ์ร่างกาย
(guardian of body)
5. ระบบลิมบิก (limbic system)
เป็นเซลล์ประสาทที่กระจายอยู่โดยรอบทาลามัสและไฮโปทาลามัส ระบบนี้ประกอบด้วย ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) และอะมิกดาลา (amygdala) ทำหน้าที่
ควบคุมความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวของมนุษย์และสัตว์
6. สมองส่วนกลาง (midbrain)
เป็นส่วนที่มีความยาวประมาณ 1 นิ้ว ตั้งอยู่ใต้ทาลามัส โดยมีเซลล์ประสาทเป็นตัวเชื่อมต่อกัน
7. พอนส์ (pons)
เป็นส่วนที่อยู่ถัดลงมาจากสมองส่วนกลาง ด้านขวาของพอนส์จะอยู่ติดกับส
มองเล็ก (cerebellum) โดยมีใยประสาทเป็นตัวเชื่อม จึงทำให้พอนส์เป็นทางผ่านของกระแสประสาทที่มาจากส่วนล่างเข้าสู่สมองแท้และสมองเล็ก เพื่อให้เกิดการประสานงานกัน
ระหว่างสมองทั้งสองชนิด เช่น สามารถเคลื่อนไหวได้พร้อมกับการทรงตัวที่ดี เป็นต้น
8. ก้านสมอง (medulla oblongata)
เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากพอนส์ลงมา และเป็นส่วนสุดท้ายของสมอง โดยก้านสมอง
จะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับไขสันหลัง ภายในก้านสมองหรือ เมดูลลาประกอบด้วย
เส้นประสาทเป็นมัด เพื่อส่งกระแสประสาทที่ได้รับจากสมองผ่านส่วนต่าง ๆ ลงมาตามลำดับเพื่อส่งเข้าสู่ไขสันหลังและรับกระแสประสาทที่ส่งขึ้นมาจากไขสันหลังส่งต่อไปสู่ส่วน
ต่าง ๆ ของสมองตามลำดับเช่นกัน เท่ากับว่าก้านสมองเป็นสถานีรับส่งกระแสประสาท
สุดท้ายที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับไขสันหลัง แต่เนื่องจากมัดของเส้นประสาท
ที่อยู่ภายในก้านสมองนั้นมีลักษณะไขว้กันเป็นรูปกากบาท จึงทำให้เส้นประสาทชุดที่มา
จากร่างกายซีกขวาจะไปเชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่จะเข้าสู่สมองซีกซ้าย และเส้นประสาท
ชุดที่มาจากร่างกายซีกซ้ายจะไปเชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่จะเข้าสู่สมองซีกขวา จึงมีผลทำให้สมองซีกขวาควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกซ้ายและสมองซีกซ้ายจึงควบคุมการ
ทำงานของอวัยวะซีกขวา นอกจากนี้ก้านสมองยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ
ภายในบางชนิดอีกด้วย เช่น การเต้นของหัวใจ การขยายและหดตัวของปอด การย่อยอาหาร
การยืดและหดตัวของเส้นเลือด เป็นต้น
9. เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น (reticular formation)
เป็นกลุ่มของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำหน้าที่ควบคุมสภาวะตื่นตัวของร่างกาย การแสดงอาการงุนงง เป็นต้น
ภาพประกอบ 7 สมองของมนุษย์
http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.html
เรามาตอบคำถามก่อนนะครับ
สมองแต่ละส่วนมีประโยชน์อย่างไร
สมองแต่ละส่วนมีประโยชน์อย่างไร
เฉลยคำตอบกรอบที่ 4
สมองแต่ละส่วนมีประโยชน์ ดังนี้
1. ซีรีบรัม (Cerebrum) (พูส่วนหน้า พูส่วนกลาง พูส่วนข้าง และพูส่วนหลัง)
มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ ความจำ การวิเคราะห์
การใช้เหตุผล ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย รับความรู้สึกต่าง ๆ
ทั่วไปของร่างกาย รับรู้ในด้านรส กลิ่น เสียง และความเข้าใจด้านภาษา ควบคุมการรับรู้
ทางสายตาให้เกิดการมองเห็นภาพต่าง ๆ
2. สมองเล็ก (cerebellum) มีหน้าที่ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
3. ทาลามัส (thalamus) มีหน้าที่ศูนย์รับกระแสประสาทความรู้สึกที่ถูกส่งมาจากอวัยวะ
ต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่ไขสันหลัง ผ่านก้านสมอง (medulla oblongata) พอนส์
และสมองส่วนกลาง (midbrain) ตามลำดับ จนถึงทาลามัส
4. ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) มีหน้าที่ ในการสร้างความสมดุลให้กับระบบการทำงาน
ของร่างกาย
5. ระบบลิมบิก (limbic system) มีหน้าที 6. สมองส่วนกลาง (midbrain) ทำหน้าที่
ควบคุมความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวของมนุษย์และสัตว์
7. พอนส์ (pons) มีหน้าที่ เป็นทางผ่านของกระแสประสาทที่มาจากส่วนล่างเข้าสู่สมองแท้
และสมองเล็ก
8. ก้านสมอง (medulla oblongata) มีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับไขสันหลัง
9. เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น (reticular formation) มีหน้าที่ควบคุมสภาวะตื่นตัวของร่างกาย
การแสดงอาการงุนงง เป็นต้น
ภาพประกอบ 8 สมองของมนุษย์ http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.html
นักเรียนตอบถูกมั๊ยครับ ถ้าตอบถูกเก่งมากครับ
เรามาศึกษากรอบที่ 5 ต่อนะครับ
กรอบการศึกษาที่ 5
การป้องกันดูแลรักษาระบบสมอง
ไม่ควรให้สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ถ้าจำเป็นควรสวม
ใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกกันน๊อก ระวังการหกล้มสมองได้รับการกระแทก
อย่างแรง
ภาพประกอบ 9 สมองของมนุษย์
http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.html
เก่งจังเลย ให้ตอบคำถามต่อไป
นักเรียนจะป้องกันดูแลรักษาระบบสมองได้อย่างไร
เฉลยคำตอบกรอบที่ 5
การป้องกันดูและรักษาระบบสมอง
ไม่ควรให้สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ถ้าจำเป็นควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกกันน๊อก ระวังการหกล้มและสมองได้รับกระแทกอย่างแรง
ภาพประกอบ 10 สมองของมนุษย์
http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.html
ไชโย ! เราเรียนจบหมดทุกกรอบแล้ว
ให้ไปทำแบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ระบบประสาทสมอง
คำชี้แจง : ให้นักเรียนกาเครื่องหมาย X ให้ตรงกับข้อ ก, ข, ค, หรือ ง ที่เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
1. ควบคุมความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าว
ก. ลิมบิก ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. สมองเล็ก
2. ศูนย์รับกระแสประสาทความรู้สึก
ก. ไฮโปทาลามัส ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. สมองเล็ก
3. สมองในข้อใดที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
ก. ไฮโปทาลามัส ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. พอนส์
4. ข้อใดเป็นการป้องกันระบบสมอง
ก. ไฮโปทาลามัส ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. สมองเล็ก
5. สมองแบ่งออกเป็นส่วนสำคัญได้กี่ส่วน
ก. 4 ส่วน ข. 5 ส่วน
ค. 7 ส่วน ง. 9 ส่วน
6. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับระบบสมอง
ก. สมองเป็นระบบประสาทส่วนกลาง
ข. สมองเป็ระบบประสาทส่วนหน้า
ค. สมองเป็นระบบประสาทอัติโนมัติ
ง. สมองเป็นระบบประสาทส่วนท้าย
7. สมองในข้อใดที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
ก. ไฮโปทาลามัส ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. สมองเล็ก
8. มีหน้าที่ควบคุมการทรงตัว
ก. ไฮโปทาลามัส ข. ซีรีบรัม
ค. ทาลามัส ง. สมองเล็ก
ใบกิจกรรมวิชาสุขศึกษา รื่อง ระบบประสาทสมอง
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ ให้ตรงกับกรอบต่าง ๆ ที่กำหนดให้
กรอบที่ 1
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
กรอบที่ 2
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
กรอบที่ 3
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
กรอบที่ 4
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
กรอบที่ 5
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
ชื่อ................................................................................. ชั้น..................... เลขที่..........
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ระบบประสาทสมอง
เฉลยข้อที่ 1 ตอบข้อ เฉลยข้อที่ 2 ตอบข้อ
เฉลยข้อที่ 3 ตอบข้อ เฉลยข้อที่ 4 ตอบข้อ
เฉลยข้อที่ 5 ตอบข้อ เฉลยข้อที่ 6 ตอบข้อ
เฉลยข้อที่ 7 ตอบข้อ เฉลยข้อที่ 8 ตอบข้อ
ภาพประกอบ 11 สมองของมนุษย์
http://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.html
ตาราง 26 ผลการประเมินบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ระบบประสาทสมอง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เลขที่
ชื่อ-สกุล
ผลการประเมิน คุณลักษณะฯ
กิจกรรมระหว่างเรียน
รวม
ก่อนเรียน หลังเรียน กรอบ 1 กรอบ 2 กรอบ 3 กรอบ 4 กรอบ 5 กรอบ 6
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
รวม
ค่าร้อยละ
ลงชื่อ ผู้เก็บข้อมูล
(นางนฤมล อบมาลี)
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2544.
. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์,
2545.
กรมวิชาการ. การวัดและการประเมินผลในชั้นเรียนวิชาพลศึกษากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย
วิชาพลศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2539.
. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2544.
. คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2545.
. แผนการสอนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2526.
. แนวทางการวัดและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน .
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2545.
รุจิร์ ภุ่สาระและคณะ. แนวหน้าฉบับบูรณาการมาตรฐานการเรียนรู้ สลน.6. กรุงเทพ :
อักษรเจริญทัศน์จำกัด, ม.ป.ป..
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. หนังสือชุดพัฒนากิจกรรมกระบวนการ สลน. กรุงเทพฯ :
บริษัทเดอะมาสเตอร์กรุฟ แมเจ้มนท์, ม.ป.ป..
มลิวัลย์ ชาวอุบล.การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง โรคติดต่อท้องถิ่น
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
วินัย พัฒนรัฐ และคณะ. แบบเรียนมาตรฐานฉบับพิเศษกลุ่มสร้างสริมลักษณะนิสัย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประสานมิตร, ม.ป.ปhttp://www.non.rmutsb.ac.th/homepages/organ/3_Nervous.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น