วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มรัตนโกสินทร์



การศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำ
ของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มรัตนโกสินทร์
สังกัดกรุงเทพมหานคร
นางสาวอภิรดี ศรีประยูร
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2546
ISBN:974-373-296-9
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
THE STUDY OF TEACHER REQUIREMENT IN THE LEADER
BEHAVIOR ASPECT OF THE ADMINISTRATORS
IN RATTANAKOSIN GROUP OF SCHOOL ,
BANGKOK METROPOLITIAN.
MISS APIRADEE SRIPRAYOON
A Theis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education ( Educational Adiministration)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2003
ISBN: 974-373-296-9
ห้วข้อวิทยานิพนธ์ การศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
โดย นางสาวอภิรดี ศรีประยูร
สาขา การบริหารการศึกษา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก
กรรมการ รศ.เกริก วยัคฆานนท์
กรรมการ อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
บัณทิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็น
ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
…………………………………………คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
………………………………………………….ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง )
……………………..……………………………………กรรมการ
(ดร .รังสรรค์ มณีเล็ก )
…………………….……………………………………กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์)
…………………………………………………………กรรมการ
(อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ)
…………..…………………………………………...…กรรมการ
(ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง)
…………………….……………………………กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ )

นางสาวอภิรดี ศรีประยูร (2546) การศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร
โรงเรียน ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ ระดับมหาบันฑิต.
กรุงเทพฯ : บัณทิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการ
ควบคุมวิทยานิพนธ์ ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก รศ.เกริก วยัคฆานนท์
อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำและ
เปรียบเทียบความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตน
โกสินทร์ กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดของโรงเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์
กรุงเทพมหานคร จำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็น แบบสอบถาม แบบเลือกตอบและ
มาตรประเมินค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ยร้อยละ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูในกลุ่มรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร ที่อยู่ ในโรงเรียนขนาดต่างกัน มีความต้องการ
ด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ดังนี้
1.1 ครู ในโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความต้องการด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านความต้องการความรัก
ใคร่ผูกพัน รองลงมา คือ ด้านความต้องการในการร่วมประสานสัมพันธ์ และด้านความต้องการในการ
ควบคุม ตามลำดับ
1.2 ครูในโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็ก มีความต้องการด้านพฤติกรรมผู้นำ
ของผู้บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ
ด้านความต้องการในการร่วมประสานสัมพันธ์ รองลงมา คือด้านความต้องการความรักใคร่ผูกพัน
และด้านความต้องการในการควบคุม ตามลำดับ
2. เปรียบเทียบความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ในกลุ่มรัตนโกสินทร์กรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน พบว่าความต้องการของครู
ด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทั้งภาพรวมและ
จำแนกเป็นรายด้าน

APIRADEE SRIPRAYOON. (2003) : THE STUDY OF TEACHER REQUIREMENT IN
THE LEADER BEHAVIOR ASPECT OF THE ADMINISTRATORS IN
RATTANAKOSIN GROUP OF SCHOOL, BANGKOK METROPOLITIAN
ADMINISTRATION, MASTER DEGREE THESIS BANGKOK : GRADUATE
SCHOOL, RAJABHAT INSTITUTE THESIS : BANSOMDEJ CHAO PRAYA;
ADVISORY COMMITTEE : DR.RANGSAN MANEELEK;
ASSOC.PROF.KRERK WAYAKANON; MR.THAVEESAK JONGPRADABGEARD.
The objectives of this research were to study and compare teachers`need of leader
behavior of school principles in the Ratanakosin group of primary School. The population use for
the study comprised of 284 teachers from The Ratanakosin Group of primary School. Questionnaires
was used to the collected data which were analysis by percentage, mean, standard deviation, analysis
of variance.
Findings were as following
1. Teachers`need of leader behavior of school principles in large school were found to be
at high level.
2. Teachers`need of leader behavior of school principles in mediam and small school were
also found to be at high level.
3. In comparing teachers`need of leader behavior of school principles in difference sized
schools , it was found that their was no statistical difference at 0.5 level significant.

ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจาก ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก
ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รศ.เกริก วยัคฆานนท์ และอาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการ
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง รศ.สมชาย พรหมสุวรรณ ขอขอบพระคุณ
ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำ
และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และตรวจแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งผู้
เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือทุกท่าน ที่กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการสร้างเครื่อง
มือในการวิจัย
ขอขอบพระคุณบุคคลที่อยู่เบื้องหลังทุกท่าน ที่สนับสนุนให้การทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้
สำเร็จลุล่วงด้วยดี
อภิรดี ศรีประยูร

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย .................................................................................................………………...
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ............................................................................................…...……………
ประกาศคุณูปการ …………………………………………………..............................……......…...
สารบัญ ..............................................................................................................…………….……...
สารบัญตาราง ............................................................................................................………………
สารบัญแผนภาพ …………………………………………………………………………………....
บทที่ 1 บทนำ ……………………………………………………………………………………….
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ……………………………………..………..
1.2 วัตถุประสงค์ …………………………………………..……………………..……….
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย…………………………..……………………
1.4 ขอบเขตการวิจัย ……….…………………………………...……………….……..….
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ ………………………………………………..………….……..…..
1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย …………………………………………………...……...…..
1.7 สมมติฐานในการวิจัย................................................................……………………….
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ……………………………………………………………
2.1 พฤติกรรมผู้นำ …………. ………………………………………..…………..
2.2 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นำ……….. ...................……...........……
2.3 หน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา………………….....…...
2.4 ทฤษฎีพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของ ซุทท์( Schutz )………..…….
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้นำ………………………………………....






1
1
2
2
2
3
4
4
5
5
10
12
19
21

สารบัญ(ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย …………………………………………………………………….……..
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ......................................................................……………….…
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย .........................................................................…………………..
การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ ............................................……………….…...
การเก็บรวบรวมข้อมูล ...........................................................................…………….……..
การวิเคราะห์ข้อมูล ..............................................................................………………..…....
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล …………………………………………………………………..….
ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำแนกตามระยะเวลาที่
ปฏิบัติงานและและขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติการสอน ………………….……
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์สังกัดกรุงเทพมหานคร…………………….
ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบความต้องการ ของครู ด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาด
ของโรงเรียรน……………………………………………………………………
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ……………………………………………………..…..
วัตถุประสงค์ …………………………………………………………………………….…
สมมติฐานในการวิจัย ……………………………………………………….………….….
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย………………………………………………...
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ……………………………………………………………...……
การเก็บรวบรวมข้อมูล ……………………………………………………………………..
สรุปผลการวิจัย………………………………………………………………………….….
การอภิปรายผลการวิจัย ……………………………………………………………….……
27
27
28
29
29
30
31
31
32
40
42
42
42
42
43
43
44
45
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ………………………………………………………….……….

สารบัญ(ต่อ)
หน้า
บรรณานุกรม .............................................................................…...................…………………...
ภาคผนวก ………………………………………………………………………………………...
ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย………………………………………………
ตารางประชากรและกลุ่มตัวอย่าง………………………………………
ภาคผนวก ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ ……………………….…..…….
ภาคผนวก ค หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง ……………………………………………
หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือวิจัย……………..……..…..
หนังสือขอความอนุเคราะห์ทดลองใช้เครื่องมือวิจัย…………....………
หนังสือขออนุญาตเก็บข้อมูล……………………..…….……………….
ภาคผนวก ง ประวัติผู้วิจัย .............................................................…..…………….…..
48
54
55
59
62
64
65
67
70
72

สารบัญตาราง
ตารางที่
1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำแนกตามขนาดโรงเรียนในกลุ่ม
รัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร …………………………………………….
2 แสดงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามขนาดโรงเรียน …………………..
3 คะแนนเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความต้องการของครูด้านพฤติกรรม
ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร…………
4 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความต้องการของครูด้านพฤติกรรม
ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ในด้านความต้องการในการร่วมประสานสัมพันธ์ ………………………….……
5 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความต้องการของครูด้านพฤติกรรม
ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ในด้านความต้องการในการควบคุม ……………………………………………..
6 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความต้องการของครูด้านพฤติกรรม
ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ในด้านความต้องการในความรักใคร่ผูกพัน ………………………………………
7 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความต้องการของครูด้านพฤติกรรม
ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
จำแนกตามขนาดโรงเรียน ………………………………………………………..
8 เปรียบเทียบความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน ……….
หน้า
27
31
32
33
35
37
38
39

สารบัญแผนภาพ
แผนภาพที่
1. กรอบแนวคิดในการวิจัย ......................................................................... …..……..
2. ของงานบริหารโรงเรียน .......................................................................…………...
หน้า
4
13
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันสังคมไทยของเรากำลังต้องการผู้บริหารที่เป็นผู้นำที่มีความรู้ความสามารถ
และชาญฉลาด เพื่อจะนำประเทศให้รอดปลอดภัย ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามกระแส
โลกาภิวัตน์ เพราะผู้บริหารที่เป็นผู้นำเท่านั้นที่จะสามารถสร้างและพัฒนาองค์กรให้เจริญรุดหน้าได้
(อภิวัฒน์ ภูไชยแสง,2542:10) การดำเนินงานของหน่วยงานการศึกษา หรือองค์การจะบรรลุเป้าหมาย
หรือวัตถุประสงค์ขององค์กรได้มากน้อยเพียงใด มีประสิทธิภาพสูงต่ำแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับพฤติ
กรรมการบริหารของผู้นำ องค์ประกอบที่ประสบผลสำเร็จ มีคุณลักษณะประการหนึ่งที่แตกต่างไปจาก
องค์การที่ไม่ประสบผลสำเร็จ คือพฤติกรรมผู้นำ ซึ่งสอดคล้องกับลิพฮาร์มและฮอช์(Lipharm&Hoch,
1974:176) ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับผู้นำไว้ตอนหนึ่งว่า “ภาวะผู้นำของผู้บริหาร
โรงเรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อความสำเร็จของโครงการต่างๆทางการศึกษา ความรู้ความสามารถ
และทักษะของผู้บริหารต่อการสร้างภาวะผู้นำที่ดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้บริหาร ” ดังนั้น
พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน จึงถือว่าเป็นแกนนำในการที่จะทำให้บุคลากรในโรงเรียนอยู่ร่วม
กันอย่างมีความสุข ปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ กระตือรือร้น และสนใจในหน่วยงาน แม้จะมีผู้นำอยู่
หลายระดับ แต่ผู้นำเหล่านั้นจะต้องขึ้นตรงต่อผู้นำและผู้บริหารที่เป็นหัวหน้าสูงสุดเพียงผู้เดียว ซึ่งพฤติ
กรรมผู้นำของผู้บริหารตามที่กล่าวนั้น มีสาเหตุมาจากการใช้ภาวะผู้นำของผู้บริหารนั่นเอง
ดังนั้นพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับผู้นำนั้น ย่อมมีความแตกต่างกันของ
แต่ละบุคคลดังที่กล่าวซึ่งพฤติกรรมผู้นำนี้จะส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนเป็นอย่างยิ่ง และมีความสอด
คล้องกับวิชัย ศรีเสน่ห์ (2542:13) กล่าวว่า ความสำเร็จและความล้มเหลวในการบริหารงานนั้นสามารถ
วัดได้จากพฤติกรรมในการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบทั้งมวล ของผู้บริหาร
วิกกิ้ง (Wiggins ,1969:45) กล่าวว่า พื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ประกอบด้วย
พฤติกรรม 3 ด้าน คือ พฤติกรรมด้านการร่วมประสานสัมพันธ์ พฤติกรรมด้านการควบคุม และพฤติ
กรรมดา้ นความรกั ใครผ่ กู พันธ  ซึ่งเป็นพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร มีความเชื่อว่า ผู้นำจะมีพฤติกรรม
ตามทฤษีพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ใน 3 ด้านที่กล่าวนี้
โรงเรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงาน
2
ที่จะต้องรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ให้เป็นไปตามนโยบายและหลักการจัดการศึกษาของชาติ
โดยมีโรงเรียน ในกลุ่ม 53 โรงเรียน มีครูที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกับผู้บริหารโรงเรียน รวมสิ้น 1,098 คน
ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรง
เรียนในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามกรอบทฤษฎีพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคลของซุทท์ (Schutz,1967 :131-135) ประกอบด้วยพฤติกรรม 3 ด้าน คือด้านการร่วมประสาน
สัมพันธ์ ด้านการควบคุมและด้านความรักใคร่ผูกพัน เพื่อจะได้ใช้ผลการวิจัยเป็นข้อมูลให้กับผู้บริหาร
โรงเรียนได้ทราบความต้องการของครูเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร อันจะเป็นแนวทางในการ
พัฒนาพฤติกรรมผู้นำของตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการของครู ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการบริหาร
การศึกษา ให้มีคุณภาพยิ่ง ๆขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่ม
รัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการของครู ด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1. ทำให้ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ ได้ทราบความต้องการด้าน
พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
2. เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์ ได้พัฒนาตนเอง
ในด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนได้สอดคล้องกับความต้องการของครู ที่จะส่งเสริมการ
บริหารการศึกษาให้มีคุณภาพต่อไปยิ่งขึ้น
ขอบเขตการวิจัย
1. ขอบเขตของเนื้อหา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา ความต้องการของครูด้านพฤติ
กรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามกรอบ
ทฤษฎีพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของซุทท์ (Schutz,1967 :131-135) ประกอบด้วยพฤติกรรม 3
ด้าน คือ ด้านการร่วมประสานสัมพันธ์ ด้านการควบคุม และด้านความรักใคร่ผูกพัน
3
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา กลุ่มรัตน
โกสินทร์สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,098 คน
2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่ม
รัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 284 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดของ
โรงเรียนเป็นชั้นของการสุ่ม
3. ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย
3.1 ตัวแปรต้น คือ ขนาดของโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์สังกัด
กรุงเทพมหานคร
3.2. ตัวแปรตาม คือ ความต้องการด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถม
ศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบพฤติกรรม 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการร่วมประสานสัมพันธ์
2 ด้านการควบคุม
3. ด้านความรักใคร่ผูกพัน
นิยามศัพท์เฉพาะ
ความต้องการ หมายถึง เป้าหมายที่ครูตั้งไว้สำหรับผู้บริหารที่เขาปรารถนาให้มีพฤติ
กรรมผู้นำที่เป็นไป เพื่อปฏิบัติการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จ
พฤติกรรมผู้นำ หมายถึง ลักษณะของการแสดงออกของผู้นำในการใช้อิทธิพลเหนือ
คนอื่นหรือกลุ่ม เพื่อให้ทำตามความตั้งใจของตนเองหรือกลุ่ม ด้วยความไว้วางใจทั้งสมัครใจและเต็มใจ
ปฎิบัติตามให้งานบรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ โดยแบ่งพฤติกรรมออกเป็น 3 ด้านคือ
1. ด้านการร่วมประสานสัมพันธ์ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาต่อการปฏิบัติตน
ของบุคคล ที่พยายามจะสนองความต้องการของบุคคลอื่นให้เป็นที่พอใจ
2. ด้านการควบคุม หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ และการ
ใช้อิทธิพลผลักดันคนอื่นที่พยายามจะสนองความต้องการของตนให้เป็นที่พอใจทั้งตนและบุคคลอื่น
3. ด้านความรักใคร่ผูกพัน หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกเกี่ยวกับอารมณ์ที่
พยายามจะสนองความต้องการของบุคคลอื่นให้เป็นที่พอใจ
ผู้บริหารโรงเรียน หมายถึง อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาใน
กลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
4
ครู หมายถึง ข้าราชการครู ผู้ปฏิบัติหน้าที่การสอนในโรงเรียนประถมศึกษา
ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
โรงเรียนประถมศึกษา หมายถึงโรงเรียนประถมศึกษากลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัด
กรุงเทพมหานคร จำนวน 53 โรงเรียน
กลุ่มรัตนโกสินทร์ หมายถึงเขตการปกครอง จำนวน 9 เขต ประกอบด้วย
เขตพระนคร เขตป้อมปราบ เขตปทุมวัน เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตดุสิต เขตบางซื่อ
เขตพญาไท และเขตราชเทวี
ขนาดของโรงเรียน หมายถึงโรงเรียน 3 ขนาด จำแนกเป็น โรงเรียนขนาดเล็ก
มีนักเรียน ตั้งแต่ 1-400 คน โรงเรียนขนาดกลาง มีนักเรียน 401-800 คน และโรงเรียนขนาดใหญ่
มีนักเรียน 801 คนขึ้นไป
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยนี้ได้นำแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ประกอบด้วย
พฤติกรรม 3 ด้าน ของ ซุทท์ (Schutz, 1960 : 131-135) มาเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบแนวคิดใน
การวิจัย ดังนี้
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
ความต้องการด้านพฤติกรรมผู้นำ ประกอบด้วย 3
ด้าน คือ
1.ด้านการร่วมประสานสัมพันธ์
2. ด้านการควบคุม
3. ด้านความรักใคร่ผูกพัน
ขนาดของโรงเรียน
ขนาดเล็ก
ขนาดกลาง
ขนาดใหญ่
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
สมมุติฐานในการวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้ มีสมมุติฐาน ดังนี้
ครูผู้สอนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ที่มีขนาดต่างกัน มีความต้องการด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา แตกต่างกัน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัย เรื่องการศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร โรง
เรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัย
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดังมีรายละเอียดที่เสนอตามลำดับต่อไปนี้
2.1 พฤติกรรมผู้นำ
2.1.1 ความหมายของผู้นำ
2.1.2 ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ
2.2 บทบาทของผู้นำ
2.3 หน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
- แนวคิดหลักในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา
2.4 ทฤษฎีพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของ ซุทท์ ( Schutz )
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้นำ
2.5.1 ผลงานวิจัยในประเทศ
2.5.2 ผลงานวิจัยต่างประเทศ
การดำเนินงานของหน่วยงานหรือองค์การจะบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การ
ได้มากน้อยเพียงใด มีประสิทธิภาพสูง ต่ำแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับผู้นำ และพฤติกรรมการบริหารของผู้นำ
จุดหมายหลักของการเป็นผู้นำ คือ การที่ผู้นำมีพฤติกรรมทางการเป็นผู้นำ ซึ่งมีหน้าที่ของการเป็นผู้นำ
และแบบของความเป็นผู้นำ พฤติกรรมผู้นำจึงถือว่าเป็นแกนสำคัญที่จะให้กลุ่มบุคคลในโรงเรียน
ดำเนินกิจกรรมตามผู้นำ ที่มีฐานะและบทบาทที่สำคัญที่สุด
1. พฤติกรรมผู้นำ
1.1 ความหมายของผู้นำ
มีผู้ให้ความหมายของผู้นำไว้มากในลักษณะต่างๆ กัน ดังต่อไปนี้
ภิญโญ สาธร (2526:254)ได้ให้ความหมายของผู้นำโดยอาศัยลักษณะ 3
ประการ ของผู้นำคือ
6
1. สามารถในการจูงใจให้คนปฏิบัติตามความคิดเห็น ความต้องการหรือคำสั่งของ
เขาได้ ผู้นำมีอิทธิพลหรือการปฏิบัติตน หรือพฤติกรรมอยู่เหนือผู้อื่น
2. ผู้นำ คือบุคคลที่มีอำนาจเหนือการติดต่อสัมพันธ์ระหว่าบุคคล ภาวะผู้นำเป็น
กระบวนการ 2 ทาง (Two Way Process ) คือผู้ที่มีอิทธิพลเหนือผู้ตาม ในทำนองเดียวกัน บางคราวผู้
ตามก็มีอิทธิพลเหนือผู้นำ ความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ จึงเป็นผลรวมของทัศนคติของสมาชิกภายใน
กลุ่มนั่นเอง ผู้นำแตกต่างจากหัวหน้าหรือผู้บริหาร คน 2 คนนี้อาจเป็นคนคนเดียวกันก็ได้แต่ไม่เสมอไป
ผู้บริหารหรือหัวหน้าหลายคนมีอำนาจหน้าที่โดยตำแหน่ง แต่อาจไม่ใช่ผู้นำที่แท้จริงของกลุ่ม ผู้นำที่แท้
จริงอาจจะเเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่หัวหน้าหรือผู้บริหาร แต่เขามีอำนาจ มีอิทธิพลและมีความสามารถในการ
จูงใจคน ให้ปฏิบัติตามความคิดเห็นหรือตามคำสั่งของเขาทั้งๆที่เขาไม่มีอำนาจโดยตำแหน่งใดๆ
กล่าวโดยสรุปแล้ว ผู้นำคือผู้ที่ทำหน้าที่นำพาองค์กรหรือหมู่คณะในการทำงานหรือ
ประกอบภารกิจให้เจริญรุดหน้า บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารจะต้องมีความเป็นผู้นำในตัวและความเป็นผู้นำ
เป็นคุณสมบัติสำคัญยิ่งกับตัวผู้บริหารทุกคน
สต๊อกดิล (Stogduill,1984: 7-15) ผู้บุกเบิกเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องผู้นำหลังจากได้
วิเคราะห์งานเขียนและวิจัยเกี่ยวกับการเป็นผู้นำมากกว่าหนึ่งร้อยเรื่อง ได้เขียนผลสรุปชื่อ“องค์ประกอบ
ของบุคลิกภาพที่มีความสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำ ที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำ ” (Personal
Factors Associated with Leadership : A Survey of Psychology) ในปี ค.ศ.1984 ซึ่งพอจะสรุปแนวคิด
เกี่ยวกับผู้นำได้ดังนี้
1. การเป็นผู้นำคือ ศูนย์กลางของกระบวนการกลุ่ม การเป็นผู้นำตามแนวความคิดนี้
ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของกระบวนการของกลุ่มเป็นศูนย์รวมของอำนาจ เป็นศูนย์รวมของความร่วมมือ
เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีตำแหน่งสูงในกลุ่มนั้นและเป็นผู้กำหนดจุดมุ่งหมายของกิจ
กรรมต่าง ๆ
2. การเป็นผู้นำ คือ บุคลิกภาพและผลของบุคลิคภาพ ซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจาก
คนอื่น เป็นที่น่าให้ความร่วมมือ
3. การเป็นผู้นำ คือ ศิลปะของการทำให้เกิดความยินยอมตามแนวคิดของกลุ่มนี้ถือว่า
การเป็นผู้นำเป็นศิลปะของผู้นำที่จะทำให้ผู้ติดตามยินยอมให้ความร่วมมือ เชื่อฟังยกย่องมีความจงรัก
ภักดีและเป็นศิลปะที่จะทำให้ผู้อื่นกระทำในสิ่งที่ผู้นำต้องการ
4. การเป็นผู้นำ คือ การใช้อิทธิพล ตามแนวคิดนี้ถือว่าการเป็นผู้นำก็คือการมีอิทธิพล
7
เหนือคนอื่นและให้คนอื่นปฎิบัติตาม เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย มีอิทธิพลต่อกิจกรรมของกลุ่มในความ
พยายามที่จะสร้างจุดมุ่งหมาย และทำให้บรรลุจุดมุ่งหมาย การมีอิทธิพลเหนือคนอื่นในที่นี้ไม่จำเป็น
ต้องใช้อำนาจบังคับหรือข่มขู่
5. การเป็นผู้นำ คือ การกระทำหรือพฤติกรรมที่กลุ่มนี้พยายามเป็นผู้นำในรูปของการ
กระทำหรือพฤติกรรม โดยถือว่าการเป็นผู้นำก็คือพฤติกรรมของบุคคลขณะที่นำกิจกรรมกลุ่ม
6. ประสานการทำงานของกลุ่ม การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน การ
ยกย่องหรือตำหนิสมาชิกและและการแสดงความสนใจในสวัสดิการของสมาชิกเป็นต้น
7. การเป็นผู้นำ คือ รูปแบบของการเกลี้ยกล่อม แนวคิดนี้เชื่อว่าการเป็นผู้นำ เป็น
ศิลปะในการเกลี้ยกล่อมคนอื่นให้ความร่วมมือในการปฎิบัติภารกิจเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ เป็นการ
เกลี้ยกล่อมให้คนอื่นทำตามมิใช่การข่มขู่บังคับหรือการใช้อำนาจ
8. การเป็นผู้นำ คือ ความสัมพันธ์ของพลังอำนาจ กลุ่มนี้ให้แนวคิดว่าการเป็นผู้นำคือ
ความแตกต่างของพลังอำนาจระหว่างผู้นำกับผู้ตาม ผู้นำย่อมใช้พลังอำนาจทางหนึ่งทางใดให้ผู้ตาม
ปฏิบัติตาม
9. การเป็นผู้นำ คือ เครื่องมือเพื่อการบรรจุจุดประสงค์เป็นเครื่องมือที่มีค่ายิ่งในการที่
จะทำให้กลุ่มบรรลุจุดมุ่งหมาย และทำให้สมาชิกมีความพึงพอใจ ผู้นำจะต้องจัดสถานการณ์ในการ
ทำงาน โดยประหยัดทั้งการลงทุนและเวลา รวมทั้งหาวิธีการที่จะสนองความต้องการของสมาชิก
10. การเป็นผู้นำ คือ ความแตกต่างของบทบาทในสังคมใด ๆ สมาชิกแต่ละคนย่อมมี
บทบาทที่แตกต่างกัน ผู้บังคับบัญชาจะต้องแสดงบทบาทของผู้นำ ซึ่งแตกต่างจากบทผู้ตาม ตามแนวคิด
นี้เน้นให้เห็นว่าผู้นำจะต้องมีบทบาทอย่างไร
11. การเป็นผู้นำ คือ การมีความคิดริเริ่มในการทำงาน การเป็นผู้นำมิใช่การมีตำแหน่ง
หน้าที่โดยไม่กระตือรือร้นแต่การเป็นผู้นำเป็นกระบวนการที่ต้องการความคิดริเริ่มและหาทางบำรุง
รักษากิจการที่ปฏิบัติจากความหมายของผู้นำต่าง ๆ เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้นำเป็นผู้ที่มีความสามารถใน
การทำให้กิจกรรมกลุ่มดำเนินไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
เชอร์วูด (Sherwood. ,1965 : 150) ให้ความเห็นเกี่ยวกับผู้นำไว้ว่า "ผู้นำ" คือ ผู้ใช้อิทธิ
พลเพื่อจะเป็นมรรควิธีให้บังเกิดอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้อิทธิพลหรือผู้ตามในสถานการณ์
ต่างๆ กัน
แอนดริว ดับบิว ฮาลปิน (Andrew W. Halpin ,1966 : 27 - 28) นั้น ได้ให้ความหมาย
ไว้อย่างกว้างขวางว่า"ผู้นำ" คือบุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งใน 5 อย่าง ดังต่อไปนี้
1. ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีบทบาทหรือมีอิทธิพลต่อคนในหน่วยงานมากกว่าผู้อื่น
8
2. ผู้นำ หมายถึง ผู้ที่มีบทบาทเหนือบุคคลอื่น
3. ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีบทบาทสำคัญที่สุด ในการทำให้หน่วยงานดำเนินไปสู่เป้
หมายที่วางไว้
4. ผู้นำ หมายถึง บุคคลผู้หนึ่งซึ่งได้รับเลือกจากผู้อื่นให้เป็นผู้นำ
5. ผู้นำ หมายถึง บุคคลผู้หนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งผู้นำในหน่วยงานหรือดำรงตำแหน่ง
หัวหน้างาน
ดังนั้นจากนิยามของคำว่าผู้นำในหลายทัศนะข้างต้น พอสรุปได้ว่า ผู้นำ หมายถึง
บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้ากลุ่มหรือองค์กรนั้น ๆ หรือไม่ได้รับการแต่งตั้งก็ตาม แต่เป็นผู้มี
อิทธิพลเหนือคนอื่น มีบทบาทในการนำกลุ่มให้ก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายที่วางไว้
1.2 ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ
การศึกษาพฤติกรรมผู้นำเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940-1960 เป็นระยะที่พยายามค้นหาแบบ
สากลที่เป็นพฤติกรรมผู้นำที่มีประสิทธิผล แนวคิดของนักทฤษฏีกลุ่มนี้สืบเนื่องมาจากแนวความคิดทาง
วิทยาศาสตร์ของ เทเลอร์ (Taylor) ในช่วงปี ค.ศ. 1900 ที่เน้นงานหรือผลผลิต และทฤษฏีการบริหาร
มนุษย์สัมพันธ์ของ เมโย (Mayo )ในปี ค.ศ. 1960 ที่เน้นความสัมพันธ์แล้วนำไปสู่การศึกษาพฤติ
กรรมการนำเพื่อค้นหาพฤติกรรมผู้นำที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย
การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำ เฮอเซย์ และ บรานชาร์ด (Hersey & Blanchard
,1982:103-104 ) ได้ศึกษาภาวะผู้นำแบบสถานการณ์ พฤติกรรมผู้นำแบบสถานการณ์ พฤติกรรมผู้นำ
แสดงออกเกี่ยวข้องกับวุฒิ ภาวะของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตาม จากผลงานของทั้งสองพอสรุปได้ว่า มิติ
การเป็นผู้นำมี 2 มิติ คือ มิติสัมพันธ์ และมิติกิจสัมพันธ์ ซึ่งความหมายของพฤติกรรมผู้นำทั้ง 2 มิติ มีดัง
นี้
พฤติกรรมมิติกิจสัมพันธ์ หมายถึง หมายถึงพฤติกรรมของผู้นำที่แสดงความสัมพันธ์
ระหว่างผู้นำกับผู้ตามในด้านความเข้าใจ ในการดำเนินการตามนโยบายตามแผนงาน การติดต่อสื่อสาร
และวิธีการดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงภารกิจที่ต้องปฏิบัติเป็นรายบุคคลในลักษณะของการแบ่งงาน การ
กำหนดระเบียบในการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตามเป็นไปตามตำแหน่งหน้าที่ พฤติกรรม
ผู้นำมิติมิตรสัมพันธ์ หมายถึง พฤติกรรมของผู้นำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้นำกับผู้ใต้บังคับ
บัญชาแสดงออกถึงความเป็นมิตร การเคารพซึ่งกันและกันความไว้วางใจในการทำงาน แสดงออกโดย
ความรู้สึก ชอบ รัก เกลียด ซึ่งเป็นความอบอุ่นที่ผู้นำแสดงต่อสมาชิกภายในกลุ่มหรือรายบุคคล (ประชุม
รอดประเสริฐ, 2526:24)
9
วิจิตร ธีรกุล (2518:19-20) ได้ให้ความหมายของพฤติกรรมทั้ง 2 มิติไว้ว่า
1. พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์ เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความเป็นมิตรที่ความ
สนใจ ความเอาใจใส่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของผู้ร่วมงาน
2. พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงาน เป็นพฤติกรรมผู้นำที่แสดงในผลงานมากกว่าในเรื่องของ
คนในองค์การ พยายามจัดระเบียบแบบแผนและเน้นการปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ที่
ตั้งไว้
พฤติกรรมผู้นำทั้งสองมิติที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อรุณ รักธรรม (2522 : 245) ได้ให้ความ
เห็นว่ามิติที่สำคัญสองมิติ คือ ด้านมุ่งงานและด้านมุ่งมิตรสัมพันธ์ โดยมิติแรกนั้น หมายถึง พฤติกรรม
ของหัวหน้าที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับสมาชิกภายในกลุ่ม ที่จะสร้างเสริมให้เกิดรูป
แบบการจัดการที่สมบูรณ์เหมาะสม ลู่ทางในการติดต่อทำความเข้าใจระหว่างบุคคลในหน่วยงานตลอด
จนวิธีการในการปฎิบัติงาน ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน การยกย่องนับถือ ตลอดจน ความสัมพันธ์
อันอบอุ่นที่ปรากฏอยู่ระหว่างหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานจากการศึกษาจึงพบว่าหัวหน้ามีอยู่หลาย
ชนิด เช่น หัวหน้าที่มุ่งให้ลูกน้องทำแต่งานหวังความสำเร็จของงานเป็นใหญ่ หัวหน้าที่มุ่งเสริมสร้าง
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง หัวหน้าที่มุ่งทั้งงานและสัมพันธ์ภาพ ระหว่างบุคคล
และหัวหน้าที่ให้ความสนใจน้อยทั้งคนและงาน
สรุปได้ว่าผู้นำที่มีประสิทธิภาพต้องยอมรับว่าพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารทั้ง 2 ด้าน คือ
ด้านมุ่งงานและมุ่งสัมพันธ์ต่างก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับผู้บริหารต้องประเมินสถานการณ์
เหตุการณ์ในการเลือกแบบผู้นำ และพฤติกรรมของบุคคลในหน่วยงานให้ชัดเจนว่าควรจะเลือกแบบ
พฤติกรรมในการบริหารแบบใดหรืออาจจะนำทั้งสองแบบไปใช้พร้อม ๆ กันก็ได้ ซึ่งผู้บริหารต้องใช้
เทคนิคและศิลป์ในการเลือกแบบของผู้นำ เพราะจะเป็นการสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้
ใต้บังคับบัญชา
สุรชาติ สังข์รุ่ง (2520 : 7) ได้ให้ความหมายของคำว่าพฤติกรรมผู้นำ หมายถึง
“พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสมารถในการนำกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายที่กำหนด
ความสามารถในการรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา รวมทั้งบำรุงขวัญและกำลังใจของกลุ่ม ”
ศิริ เจริญวัย (2521 : 4) กล่าวว่า พฤติกรรมผู้นำหมายถึงการประพฤติของผู้บริหารที่
แสดงออกในฐานะผู้นำกลุ่ม เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายโดยโน้มน้าวให้ผู้ร่วมงานเข้า
ใจในบทบาทหน้าที่ ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน หาหนทางแก้ปัญหา มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
เป็นอย่างดี
10
ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ (2525 : 8) กล่าวว่า…พฤติกรรมผู้นำ หมายถึง การกระทำที่ผู้
นำใช้อิทธิพลหรืออำนาจหน้าที่ในความสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการต่าง ๆ เพื่อ
ปฏิบัติการและอำนวยการโดยการใช้กระบวนการติดต่อซึ่งกันและกันเพื่อมุ่งให้บรรลุเป้าหมายที่ได้
กำหนดไว้
บรูค (Bruke ,1965 : 60-81) กล่าวว่า พฤติกรรมผู้นำ หมายถึงผู้นำที่มีบุคลิกภาพใน
แบบของการเป็นผู้เสนองาน คือ ต้องเป็นผู้กำหนดโครงสร้างของงานไว้ชัดเจน และบอกรายละเอียดแล้
วจะทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพ เพราะผู้ร่วมงานมีส่วนรับรู้โครงสร้างของงาน
จากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า พฤติกรรมผู้นำคือรูปแบบหนึ่งในการปฏิบัติหน้า
ที่ภายใต้ความเหมาะสมและสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนดโดยโน้มน้าวให้ผู้
ร่วมงานเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน หาหนทางแก้ปัญหา มีขวัญและกำลังใจในการ
ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี
2. บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นำ
บทบาทของผู้บริหารเป็นการแสดงพฤติกรรมของผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งตามนัยสิทธิ
และหน้าที่ของตำแหน่งนั้น ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อการบริหารงาน เพราะบทบาทเป็นความคาดหวัง
ของบุคคลอื่นที่กำหนดที่ให้ผู้บริหารกระทำ และคาดหวังนั้นมิได้มีอิทธิพลต่อการปฎิบัติงานเพียงอย่าง
เดียวแต่ยังมีอิทธิพลต่อความต้องการ ความมุ่งหมาย ความเชื่อถือ ความรู้สึกนึกคิดความปรารถนา และ
ทัศนคติของผู้บริหารอีกด้วย และการที่ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็
ต่อเมื่อเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนและเข้าใจตรงกับที่บุคคลอื่นคาดหวังด้วย ผู้บริหารจึงต้อง
อาศัยความรู้ระเบียบ กฎหมาย กรอบนโยบายของหน่วยงานเป็นแนวทางปฏิบัติโดยแสดงบทบาทและ
หน้าที่ออกมาให้ประจักษ์ชัด โดยใช้ความรู้ความสามารถ สติปัญญา อารมณ์ และบุคลิกภาพที่ดีและ
เหมาะสม จึงจะทำให้การบริหารงานบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมีผู้กล่าวถึง
บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารพอสรุปได้ ดังนี้
ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ (2529:142-144 ) กล่าวว่า บทบาทของผู้บริหารหรือผู้นำ
(Leadership Roles ) ไว้ดังนี้ ในฐานะผู้บริหาร ในฐานะผู้วางแผน ในฐานะผู้กำหนดนโยบายในฐานะผู้
เชี่ยวชาญ ในฐานะตัวแทนติดต่อกับบุคคลภายนอก ในฐานะผู้คอยควบคุม ความสัมพันธ์ของสมาชิก
ภายในกลุ่ม ในฐานะให้คุณให้โทษบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะคนกลางหรือผู้ตัดสิน ในฐานะ
เป็นบุคคลตัวอย่างบุคคลที่มีความประพฤติดีหรือปฏิบัติงานดีในฐานะสัญลักษณ์ของกลุ่ม ในฐานะตัว
แทนรับผิดชอบ ในฐานะผู้มีอุดมคติ ในฐานะบิดาและในฐานะผู้รับผิดแทน
11
สมอลล์(Small.1974:21-22)ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้บริหารในสถานที่ทั่วๆไปไว้10
ประการโดยพิจารณาจากหลักการพัฒนาคือ การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางประสงค์
1. ผู้ริเริ่ม หมายถึง ผู้บริหารในสถานศึกษาเป็นผู้ริเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อ
พัฒนาสถานศึกษาที่ตนรับผิดชอบ
2. ผู้กระตุ้น หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้กระตุ้นเสริมให้ครูอาจารย์และ
บุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษา เป็นผู้กระตุ้นเสริมให้ครูอาจารย์และบุคคลอื่น ๆ ในสถานศึกษา เปลี่ยน
แปลงพฤติกรรมการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดการพัฒนาสถานศึกษา
3. ดูแลสั่งการ หมายถึง ผู้บริหารในสถานศึกษาเป็นผู้ควบคุมดูแล สั่งการให้ครู
อาจารย์และบุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้รับมาจากผู้บริหาร
ระดับสูงขึ้นไป
4. ผู้ปฏิบัติ หมายถึง ผู้บริหารในสถานศึกษาเป็นผู้ปฎิบัติงานนโยบายที่ได้รับมาจากผู้
บริหารระดับสูงขึ้นไป
5. ผู้เชื่อมโยง หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างผู้บริหารระดับสูง
กับอาจารย์และบุคลากรอื่นในสถานศึกษาดำเนินการไปได้ด้วยดีและบรรลุตามจุดมุ่งหมาย
6. ผู้ประสานงาน หมายถึง ผู้บริหารในสถานศึกษาเป็นผู้ประสานให้งานต่าง ๆ ของ
สถานศึกษาดำเนินไปได้ด้วย ดีและบรรลุเป้าหมาย
7. ผู้ชักจูงหรือยับยั้ง หมายถึง ผู้บริหารในสถานศึกษาเป็นผู้ชักจูงหรือผู้นำในการ
เปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการพัฒนาและในขณะเดียวกัน ผู้บริหารในสถานศึกษาก็เป็นผู้ขัดขวาง ยับยั้ง
การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เห็นว่าไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงในการพัฒนา
8. ผู้แก้ต่าง หมายถึง ผู้บริหารในสถานศึกษาเป็นผู้ปกป้องครูอาจารย์และบุคลากร
อื่น ๆ ในสถานศึกษาที่ตนรับผิดชอบให้ได้ความเป็นธรรม
9. ผู้รับฟัง หมายถึง ผู้บริหารในสถานศึกษาเป็นผู้รับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะ
ของครูอาจารย์และบุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษา
10. ผู้วางเฉย หมายถึง ผู้บริหารงานในสถานศึกษาต้องทำตนเป็นกลางและวางเฉยในบาง
ครั้ง เมื่อเห็นว่าการกระทำตัวคนกลางหรือวางเฉย ก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสีย
สรุปได้ว่า ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญในการควบคุม กำกับดูแลให้งานดำเนินไปโดย
บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ต้องสนใจศึกษาเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในบทบาทของตนเพื่อให้มี
สมรรถภาพในการบริหาร และสามารถใช้ศิลปะในการบริหารได้เป็นอย่างดี
12
สมพงศ์ เกษมสิน (2526::22) ได้แบ่งหน้าที่ของผู้นำออกไว้ดังนี้คือ
1) เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
2) เป็นผู้ที่ช่วยเสริมสร้างให้ปริมาณงาน และคุณภาพของงานได้รับผลสูงสุด
3) เป็นผู้สอน แนะนำการทำงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
4) เป็นผู้ติดต่อและประสานงานในองค์การเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ
5) เป็นผู้สั่งงานและควบคุมงาน
กล่าวได้ว่า บทบาทของผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญในการรวมกลุ่มและจูงใจคนไปยัง
เป้าหมายประการใดประการหนึ่ง อันเป็นเรื่องของการปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงใน
การปฏิบัติงาน และเสริมสร้างความก้าวหน้าขององค์การหรือหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นผู้นำ
ยังมีหน้าที่ในการบริหารคน วัสดุและภาวะสิ่งแวดล้อมทางการบริหาร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและให้มี
ประสิทธิภาพตามนโยบายที่กำหนดไว้
3. หน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ในวงการศึกษาปัจจุบัน ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุด ใน
ฐานะที่เป็นผู้มีส่วนรับผิดชอบอย่างใกล้ชิดต่อการจัดการศึกษา อันเป็นพื้นฐานการศึกษาทุกระดับ
จะปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เหมาะสมกับความสำคัญที่มีผู้กล่าวถึงได้นั้น ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความ
เข้าใจในเรื่องของงานบริหารโรงเรียนอันเป็นหน้าที่ที่รับผิดชอบของงานกล่าวคือต้องการทราบและเข้า
ถึงวัตถุประสงค์ ขอบข่าย และความสำคัญของงานบริหา เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย
สมตามความคาดหวังของหน่วยงานรับผิดชอบของการประถมศึกษาของชาติ
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, ( 2532 :28 ) ได้แบ่งงานบริหาร
โรงเรียนมีขอบข่ายครอบคลุมงานหลายด้านด้วยกันสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ได้กำหนดงานบริหารโรงเรียนไว้รวม 6 งานคือ
1) งานวิชาการ
2) งานกิจการนักเรียน
3) งานบุคลากร
4) งานธุรการและการเงิน
5) งานอาคารสถานที่
6) งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
13
งานสนับสนุน
งานทั้ง 6 งานนี้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์หลักของการบริหารโรงเรียน
จะเห็นว่างานวิชาการเป็นงานที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักโดยตรง จึงแบ่งงานบริหารโรงเรียนทั้ง 6
งานออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1) งานหลัก เป็นงานที่เป็นไป เพื่อให้นักเรียนบรรลุจุดหมายของหลักสูตรโดยตรงคืองานวิชา
การ
2) งานสนับสนุน เป็นงานที่ช่วยส่งเสริมในการปฏิบัติงานหลัก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คืองานกิจการนักเรียน งานบุคลากร งานธุรการและการเงิน งานอาคารสถานที่และงานความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
งานหลัก งานวิชาการ
งานบริหารโรงเรียน งานกิจการนักเรียน
งานบุคลากร
ธุรการและการเงิน
งานอาคารสถานที่
งานความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชน
แผนภาพที่ 2 ขอบข่ายของงานบริหารโรงเรียน
(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2532 : 28)
ในบรรดางานบริหารโรงเรียนทั้ง 6 งานนั้น การจัดลำดับความสำคัญตั้งแต่ลำดับที่ 1 - 6
นั้น ไม่อาจทำได้แน่นอน ผลสรุปจากการระดมความคิดของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการระดับประถม
ศึกษา มีผลสรุปได้เพียงว่า งานวิชาการมีความสำคัญเป็น อันดับ 1 และงานความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชน มีความสำคัญเป็นอันดับ 6 ส่วนงานอื่นๆ อีก 4 งานนั้น ยังมีลำดับความสำคัญไม่
แน่นอนยังขึ้นอยู่กับนโยบาย ขนาดและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนเป็นสำคัญ (สำนัก
งานการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2532 : 28 ) แต่อย่างไรก็ตามขอเพียงให้ผู้บริหารตระหนักว่างานวิชาการ
เป็นงานหลัก ส่วนงานอื่นๆ เป็นงานสนับสนุน และพิจารณาให้ความสำคัญกับงานแต่ละงาน ให้
เหมาะสมแล้ว การดำเนินงานของโรงเรียนโดยส่วนรวมย่อมเป็นไปด้วยดี
14
ในการทำงานสิ่งใดก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจหรือแนวคิดเกี่ยวกับ
งานนั้นๆ เป็นอย่างดี จึงจะทำงานได้ตรงเป้าหมาย เพราะแนวคิดจะเป็นกรอบของความคิดในการ
ดำเนินการ การบริหารโรงเรียนก็เช่นเดียวกัน ผู้บริหารจะต้องเข้าใจแนวคิดหลักในการบริหารโรงเรียน
เพื่อว่าในการปฏิบัติงานจะได้ปฏิบัติตรงตามเป้าหมาย ไม่เสียเวลาและทรัพยากรต่างๆ โดยเปล่า
ประโยชน์
3.1 แนวคิดหลักในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา
แนวคิดหลักในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่สำคัญๆ มีดังนี้
1. โรงเรียนเป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นหน่วยงานปฏิบัติและ
ผลการจัดการประถมศึกษาจะเป็นเช่นใด ดูผลที่เกิดขึ้นจากโรงเรียน
2. ภารกิจหลักของโรงเรียนคือการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนบรรลุจุดหมายที่
กำหนดไว้ในหลักสูตร นั่นคือมีคุณภาพด้านผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในทุกกลุ่มประสบการณ์
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสุขภาพอนามัยที่ดี
3. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพการประถมศึกษามีหลายอย่าง เช่น ระบบการ
บริหาร ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ แต่ผู้บริหารโรงเรียนเป็นปัจจัย
ที่สำคัญที่สุด ดังนั้นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพการประถมศึกษา คือครูใหญ่ อาจารย์
ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียน
4. การบริหารโรงเรียนจะประสบผลสำเร็จต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะ
ที่ดี และคุณธรรมของผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ คือผู้บริหารที่สามารถใช้
ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอน จนบรรลุจุดหมายที่วางไว้
5. งานการบริหารโรงเรียนมีหลายงาน แต่จะครอบคลุมงาน 6 งาน ด้วยกันคือ
งานวิชาการ งานกิจการนักเรียน งานบุคลากร งานธุรการและการเงิน งานอาคารสถานที่ และงาน
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
6. ในบรรดาการบริหารทั้ง 6 งานนั้น งานวิชาการเป็นงานที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำ
ให้นักเรียนบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ส่วนงานอื่นเป็นงานเสริม และสนับสนุนให้งาน
วิชาการประสบผลสำเร็จดียิ่งขึ้น
7. ในการบริหารโรงเรียน ผู้บริหารจำเป็นต้องตระหนักถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน
เป็นสำคัญ
8. ทรัพยากรในการบริหารโรงเรียนที่สำคัญๆ มีอย่างน้อย 4 อย่าง คือ คน เงิน วัสดุ
อุปกรณ์และระบบการจัดการ ทรัพยากรด้านบุคลากรเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด
15
ดังนั้นในการบริหารโรงเรียนจึงจำเป็นต้องสร้างให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างภารกิจ
ของโรงเรียนและบุคคลผู้ทำงาน ทำอย่างไรจึงจะทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพและในขณะเดียวกันผู้ที่
ทำงานนั้นก็มีความสุขในการทำงานด้วยนั่นคือ ได้ทั้งงานและน้ำใจของบุคคลผู้ทำงานนั่นเอง
9. การบริหารงานทั้ง 6 งานของโรงเรียนจะดำเนินไปด้วยดี และมีประสิทธิภาพ ย่อม
ต้องอาศัยกระบวนการในการบริหารอย่างน้อย 4 ขั้นตอน ประกอบเสมอ กล่าวคือ
1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของโรงเรียน
2) วางแผน
3) ดำเนินการตามแผน
4) ประเมินผล
10. ทักษะที่สำคัญและจำเป็นในการบริหารของผู้บริหาร ได้แก่ ทักษะในด้านเทคนิค
วิธี ทักษะในด้านมนุษยสัมพันธ์ และทักษะในด้านความคิดรวบยอดของหน่วยงาน ผู้บริหารจำเป็นต้อง
มีทักษะด้านใดมากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับระดับและปริมาณของงานในหน้าที่เป็นสำคัญ
11. การบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ ย่อมต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) ยึดภารกิจหรือวัตถุประสงค์หลักของโรงเรียนเป็นสำคัญ นั่นคือคุณภาพ
ของนักเรียนที่กำหนดไว้ในจุดหมายของหลักสูตร กิจกรรมใดที่โรงเรียนจัดขึ้นต้องมุ่งประโยชน์ที่จะ
เกิดกับนักเรียนเป็นสำคัญ
(2) การที่โรงเรียนจะบรรลุภารกิจหลักได้ดีนั้น ย่อมต้องอาศัยการวางแผน
บริหารที่มีระบบและการดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ การวางแผนบริหารที่ดีย่อมหมายถึงการบรรลุ
วัตถุประสงค์หลักไปแล้วกึ่งหนึ่ง
(3) การวางแผนบริหารโรงเรียนจำเป็นต้องครอบคลุมงานบริหารโรงเรียนทั้ง
6 งานดังกล่าวแล้ว โดยยึดงานวิชาการเป็นหลัก ส่วนงานอื่นเป็นงานสนับสนุนส่งเสริมให้งานวิชาการ
บรรลุจุดหมายให้ดียิ่งขึ้น
(4) การดำเนินงานแต่ละงานจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และมีประสิทธิภาพก็ต่อ
เมื่อได้ใช้กระบวนการบริหารอย่างน้อย 4 ขั้นตอน คือการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ
การวางแผน การดำเนินการตามแผน และการประเมินผล
ทั้งนี้การดำเนินงานดังกล่าวจะเป็นไปได้ด้วยดีจำเป็นต้องอาศัย
1) คุณธรรมที่ดีและการเป็นผู้นำของผู้บริหาร
2) บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหารนั่นคือ
ใช้กระบวนการกลุ่มในการบริหาร
16
3) การใช้เทคนิคการนิเทศ การกำกับและติดตาม และประเมินผลอย่าง
เหมาะสมของผู้บริหาร
4) การตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างมีระบบ
5) มนุษย์สัมพันธ์ในโรงเรียน
6) การใช้ภาวะผู้นำในโรงเรียน
7) เทคนิคการนำการประชุม
8) การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
9) การประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน
(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ , 2541: 10-15)
สรุปได้ว่า บทบาทของผู้บริหารในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา จะต้องบริหาร
โดยยึดเป้าหมาย คือคุณภาพการศึกษาของนักเรียน และงานวิชาการเป็นหลัก ซึ่งจะต้องมีการวางแผน
การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ การนิเทศ ติดตาม กำกับและประเมินผลทุกขั้นตอนอย่าง
สม่ำเสมอประกอบกับผู้บริหารต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นผู้นำ และรู้จักใช้กระบวนการกลุ่ม
ในการทำงาน
3.2 ภาระหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา
กอร์ตัน (Gorton. 1983 : 191-195 ) ได้สรุปภารกิจหลักของผู้บริหารโรงเรียนไว้ 7
ประการ แต่ละภารกิจมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
1.ภารกิจด้านการบริหารบุคคล ประกอบด้วย
1.1 กำหนดนโยบายการบริหารงานบุคลากร
1.2 จัดดำเนินการคัดเลือกครู-อาจารย์และบุคลากรด้านอื่น ๆ
1.3 มอบหมายงานให้แก่บุคลากรด้านการศึกษา
1.4 แจ้งวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาให้แก่บุคลากรได้ทราบ
1.5 สังเกตพฤติกรรมการสอนของครู
1.6 วินิจฉัยหาลักษณะเด่นและลักษณะด้อยในการสอนของครู
1.7 ช่วยเหลือครูในการแก้ปัญหาในชั้นเรียน
1.8 ประเมินผลการสอนของครู
1.9 ช่วยปรับปรุงและพัฒนาการสอนของครู-อาจารย์
17
2. ภารกิจด้านกิจกรรมนักเรียน ประกอบด้วย
2.1 จัดบริการแนะแนวนักเรียน
2.2 จัดปฐมนิเทศนักเรียน
2.3 กำหนดนโยบายและกระบวนการเกี่ยวกับวินัยของนักเรียน
2.4 กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยของนักเรียน
2.5 พัฒนาและประสานงานกิจกรรมเสริมหลักสูตร
2.6 พิจารณาเกี่ยวกับวินัยและการลงโทษ
2.7 จัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน
2.8 รายงานพฤติกรรมของนักเรียนให้ผู้ปกครองได้ทราบ
3. ภารกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ประกอบด้วย
3.1 กำหนดนโยบายและมาตรการในการให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมใน
กิจกรรมของโรงเรียน
3.2 จัดดำเนินการให้บุคลากรของโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
3.3 ช่วยเหลือกิจกรรมของสมาคมครู-ผู้ปกครอง
3.4 จัดดำเนินการในเรื่องผู้ปกครองมาร้องทุกข์
3.5 เป็นตัวแทนของสถานศึกษาในกิจกรรมของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่หรือในชุมชน
อื่นๆ
4. ภารกิจด้านพัฒนาหลักสูตรและการสอน ประกอบด้วย
4.1 ช่วยเหลือในการกำหนดเป้าหมายของหลักสูตร
4.2 ช่วยทำความกระจ่างในเนื้อหาของหลักสูตร
4.3 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน
4.4 จัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน
4.5 จัดฝึกอบรมบุคลากรเพื่อพัฒนาการสอน
4.6 ช่วยเหลือในการประเมินผลการเรียน
5. ภารกิจด้านการเงินและพัสดุ ประกอบด้วย
5.1 จัดทำงบประมาณเงินรายได้ของโรงเรียน
5.2 จัดระบบตรวจสอบภายใน
5.3 จัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง
5.4 จัดระบบการพัสดุ
5.5 จัดระบบบัญชี
18
6. ภารกิจด้านอาคารสถานที่ ประกอบด้วย
6.1 จัดวางแผนเกี่ยวกับการใช้อาคารสถานที่
6.2 จัดระบบบำรุงและซ่อมแซมอาคารสถานที่
6.3 ดูแลคนงานภารโรง
6.4 จัดระบบการจอดยานพาหนะ
7. ภาระกิจด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย
7.1 จัดการประชุมหรือสัมมนา
7.2 จัดการประชาสัมพันธ์สถานศึกษา
7.3 ประเมินข้อดีข้อเสียของโปรแกรมการสอน
7.4 มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น การประกวดต่าง ๆ กีฬาส่งเสริม
วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น
ผู้บริหารมีบทบาทในการบริหารสถานศึกษามากมายหลายประการ ซึ่งนักวิชาการ
หลายท่านได้รวบรวมบทบาทของนักบริหารไว้ค่อนข้างมาก มีความแตกต่างและแยกย่อยตามหลักการ
บริหารงานแต่ละด้าน เช่น บทบาทที่เป็นคุณลักษณะบุคลส่วนตัว ทั่วไปและเกี่ยวกับด้านการจัดการ
เรียนการสอน ล้วนแต่เป็นบทบาทสำคัญที่ผู้บริหารสถานศึกษาพึงจะมีบทบาทหน้าที่เหล่านี้ผู้บริหาร
การศึกษาย่อมมีบทบาทหน้าที่ตามลักษณะของระบบการจัดสถานศึกษา จากลักษณะดังกล่าวผู้ศึกษา
สรุปผลบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาไว้ 2 ประการ คือ
ประการแรก การบริหารเป็นศาสตร์ หมายถึง ผู้บริหารต้องมีความรู้ ความสามารถ มี
บุคลิกที่ดี
ประการที่สอง การบริหารเป็นเรื่องของศิลปะ หมายถึงการบริหารจะต้องอาศัยความรู้
ความสามารถในการจัดการผสมกลมกลืนกับการใช้ปฏิภาณไหวพริบ และประสบการณ์ ซึ่งผู้บริหาร
จะต้องสามารถปฏิบัติงานให้ได้ทั้งผลงานและน้ำใจจากผู้ร่วมงานรวมทั้งบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. ทฤษฎีพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของ ซุทท์ (Schutz)
ซุทท์ (Schutz,1967 : 131 - 135) ได้ศึกษาค้นคว้าลักษณะความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคลและเสนอทฤษฎีโดยใช้ชื่อว่า ทฤษฎีพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีใจความว่า การที่
บุคคลจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการขั้นพื้นฐาน 3 ประการ
คือการร่วมประสานสัมพันธ์ การควบคุม และการรักใคร่ผูกพัน
19
1. การร่วมประสานสัมพันธ์ เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกอันเนื่องมาจากความต้องการเกี่ยวกับ
การรวมตัวของบุคคล พฤติกรรมอาจเป็นไปในรูปแบบการปลีกตัวออกห่าง การรวมตัวเป็นกลุ่ม หรือ
ความพยายามชักจูง หรือทำตนให้เป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้อื่น การร่วมประสานสัมพันธ์เกี่ยวกับ
กระบวนการรวมตัวของบุคคล ลักษณะการปฏิสัมพันธ์เป็นไปในรูปการอยู่ร่วมกัน และการพบปะ
หารือ บุคคลที่มีพฤติกรรมการร่วมประสานสัมพันธ์น้อยหรือพวกที่ไม่ชอบสังคม จะมีแนวโน้มที่คิดถึง
ตัวเองและมักทำตัวออกจากคนอื่น แต่ในจิตใจใต้สำนึกกับกลัวการทอดทิ้ง และต้องการมีคนสนใจเอา
ใจใส่ตน ความคิดของ
พวกไม่ชอบสังคมจะคิดอยู่เสมอว่า ไม่มีใครสนใจตน ดังนั้นการดำเนินชีวิตหรือการประกอบกิจกรรม
ต่างๆของคนประเภทนี้จะเป็นในลักษณะที่พยายามปลีกตัวไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น
บุคคลสังคมจัด เป็นพวกทีมีพฤติกรรมในการร่วมประสานสัมพันธ์สูงเป็นพิเศษ โดยทั่วไปมี
แนวโน้มที่เป็นคนเปิดเผย ชอบคบค้าสมาคมกับผู้อื่น และในขณะเดียวกันก็มีความต้องการให้คนอื่นสน
ใจจะรู้จักคบค้าสมาคมกับตนด้วย ทั้งนี้เพราะความรู้สึกใต้สำนึกของเขา เขากลัวการถูกทอดทิ้งอย่าง
โดดเดี่ยว ไม่มีใครคบหาสมาคมด้วยเช่นเดียวกับพวกไม่ชอบสังคมเหมือนกัน เว้นแต่พฤติกรรมภาย
นอกของเขาเท่านั้นที่เป็นลักษณะในตรงกันข้าม ความคิดที่แฝงอยู่ในจิตใต้สำนึกของพวกสังคมจัดพอ
สรุปได้ว่าแม้ไม่มีใครสนใจตน ตนก็จะทำทุกสิ่งทุกอย่างให้คนอื่นสนใจได้ บุคคลประเภทนี้เป็นพวกที่
อยู่คนเดียวไม่ได้ กิจกรรมทุกอย่างมักออกมาในรูป “ ทำด้วยกัน “
ในพฤตกิ รรมการรว่ มประสานสัมพนั ธ  นมี้ ี 2 ลักษณะคือ
1. การแสดงพฤติกรรมการมีส่วนร่วมกับบุคคลอื่น
2. ความต้องการที่จะให้บุคคลอื่นเข้ามามีส่วนร่วมกับตน
2. การควบคุม เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกอันเนื่องมาจากความต้องการเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่
และการใช้อิทธิพลผลักดันคนอื่น พฤติกรรมการควบคุมมักเกิดปัญหาขึ้นหลังจากการรวมตัวกันแล้ว
เพราะบุคคลต่างๆ ก็จะแสดงบทบาทของตนเองออกมา มีการดิ้นรนแสวงหาอำนาจ การแข่งขัน การใช้
อิทธิพลผลักดัน การปฏิสัมพันธ์จึงเป็นไปในลักษณะการเผชิญหน้า บุคคลที่มีพฤติกรรมการควบคุมต่ำ
เกินไปเป็นพวกยอมสละ มีแนวโน้มที่เป็นรอง ยอมสละอำนาจ และความรับผิดชอบ มักจะอยู่ใน
กลุ่มในตำแหน่งที่ไม่ต้องการใช้การตัดสินใจ และไม่ยอมตัดสินใจ หากมีคนอื่นตัดสินใจแทนได้ เป็น
พวกที่ไม่ยอมใช้อำนาจที่มีบังคับควบคุมคนอื่น ทั้งๆที่บางครั้งเป็นสิ่งที่ควรกระทำก็ตาม ทั้งนี้ เพราะมี
ความกลัวว่าตนเองจะไม่ได้รับความช่วยเหลือเมื่อต้องการความช่วยเหลือ ลักษณะของคนประเภทนี้จึง
มีลักษณะของความเป็นผู้ตามมากกว่าผู้นำ และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือมีความรู้สึกที่ติดแน่นในจิตใต้สำนึก
ว่า ตนเองไม่มีความสามารถที่จะรับผิดชอบอะไรทั้งนั้น จึงมักหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เห็นว่าจะไม่ได้
รับความช่วยเหลือจากคนอื่น
20
คนที่มีพฤติกรรมการควบคุมมาก เป็นพวกนิยมใช้อำนาจ ปรารถนาอำนาจเป็นสิ่งสุด
ยอด ต้องการที่จะบังคับผลักดันคนอื่นด้วยอำนาจที่มี พวกนี้จึงมีความกลัวอยู่ในใจว่า บุคคลอื่นจะไม่
ยอมอยู่ใต้อำนาจตน ความคิดในจิตใต้สำนึกของคนประเภทนี้สรุปได้ว่า คนอื่นไม่เชื่อว่าตนสามารถ
ตัดสินใจได้ สำหรับบุคคลที่ประสบความสำเร็จนั้นพฤติกรรมการควบคุม คือการใช้อำนาจและการ
ควบคุมจะไม่เป็นปัญหา เพราะคนประเภทนี้จะไม่รู้สึกอะไรจากการสั่งหรือการไม่สั่ง การรับหรือไม่
รับ ถ้าสิ่งเหล่านั้นเหมาะกับสถานการณ์ ทั้งนี้ เพราะโดยจิตใต้สำนึกตระหนักว่าตนเป็นคนที่มีความ
สามารถและมีความรับผิดชอบ ดังนั้น จึงไม่ต้องการจะผลักภาระหรือรอให้คนอื่นมาพิสูจน์ความ
สามารถ
ในพฤติกรรมการควบคุม นี้มี 2 ลักษณะคือ
1. การแสดงพฤติกรรมการควบคุมต่อบุคคลอื่น
2. ความต้องการที่จะให้บุคคลอื่นเข้ามาควบคุมแทน
3. ความรักใคร่ผูกพัน เป็นพฤติกรรมภายในหรือภายนอกอันเนื่องมาจากความต้องการทาง
อารมณ์ ได้แก่ ความใกล้ชิด สนิทสนม ความรัก ความเกลียด การแสดงออกซึ่งความผูกพันวางอยู่บน
พื้นฐานแห่งอารมณ์ บุคคลที่มีพฤติกรรมความรักใคร่ผูกพันน้อย มักผูกพันน้อย มักหลีกเลี่ยงที่จะ
สนิทสนมกับบุคคลอื่น โดยพยายามรักษาความสัมพันธ์ให้อยู่ในฐานะคนรู้จักกันธรรมดา แต่ในจิตใต้
สำนึกจะ
พยายามเสาะหาความรักใคร่ชอบพอ มีความรู้สึกเสมอว่าไม่มีใครรักชอบตนจริง แม้แต่ในการทำงาน
ร่วมกันก็กลัวไปว่า คนอื่นจะไม่ทำงานร่วมกับตน และคิดไปว่าพฤติกรรมที่คนอื่นแสดงออกมานั้นเป็น
ไปอย่างไม่จริงใจ ทัศนะของประเภทนี้สรุปได้ว่า เรื่องความรักความชอบพอเป็นเรื่องของความเจ็บ
ปวด ทรมาน จึงต่อต้าน และไม่ยอมสนิทสนมกับใคร ความกังวลในใจว่าตนเป็นคนที่ไม่น่ารัก และ
เขาเชื่อว่าหากได้คุยกับใครนานจนสนิทสนมแล้ว คนอื่นจะพบลักษณะที่ไม่ดีของตน
บุคคลที่มีพฤติกรรมความรักใคร่ผูกพันมากเกินไป เป็นพวกที่พยายามให้ความสนิท
สนมกับคนอื่นมากกว่าปกติ และมีความต้องการให้คนอื่นปฏิบัติเช่นนี้กับตน ในความรู้สึกใต้สำนึกมี
ความคิดว่าแม้ประสบการณ์เกี่ยวกับความรักความชอบในครั้งแรกของตนไม่ประสบความสำเร็จ แต่
ก็จะพยายามอีกครั้งและคิดว่าผลคงดีขึ้น ด้วยความรู้สึกเช่นนี้ บุคคลประเภทนี้จะไม่คิดถึงการปฏิเสธ
และความไม่น่ารักของตน แต่จะแสดงออกอย่างเปิดเผยเพื่อการยอมรับ การประจบ การแสดงความ
สนิทสนม แม้กระทั่งทำให้มิตรภาพของคนอื่นแตกแยกเพื่อให้ได้หันมาสนิทสนมชอบพอกับตน
สำหรับบุคลที่ประสบความสำเร็จนั้น พฤติกรรมด้านความรักใคร่ผูกพันจะไม่มีปัญหา บุคคลประเภทนี้
รู้สึกสบายใจในการมีความสัมพันธ์กับคนอื่น แม้ในเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ก็เช่นกัน ที่สำคัญก็คือ มีความ
รู้สึกว่าการที่คนอื่นไม่ชอบพอตนนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตนกับคนๆนั้น ไม่ใช่เพราะ
21
ความไม่น่ารักของตน ทั้งนี้เพราะจิตใต้สำนึกตระหนักว่าตนเป็นคนน่ารัก ใครก็ตามที่ได้รู้จักตนดีพอ
จะต้องรักชอบพอตน และตนก็มีความสามารถที่จะให้ความรักความชอบพอกับคนอื่นได้อย่างแท้จริง
ในพฤติกรรมความรักใคร่ผูกพัน นี้มี 2 ลักษณะ คือ
1. การแสดงพฤติกรรมความพึงพอใจต่อบุคคลอื่น
2. ความต้องการให้บุคคลอื่นพึงพอใจตน
จากทฤษฎีพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอาจกล่าวโดยสรุปดังนี้
1. การรว่ มประชาสมั พันธ  เป็นพฤติกรรมการร่วมปฏิสัมพันธ์กันในเบื้องต้นของ
บุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับกลุ่ม ในการเข้าร่วมกับบุคคลหรือกลุ่ม และการออกห่างจากบุคคลหรือ
กลุ่ม
2. การควบคุม เป็นพฤติกรรมซึ่งแสดงออกภายหลังการร่วมประสานสัมพันธ์กัน
ของบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลต่อกลุ่ม เกี่ยวกับการสั่งการ หรือการตัดสินใจ
3. ความรักใคร่ผูกพัน เป็นพฤติกรรมซึ่งแสดงออกภายหลังที่มีการร่วมประสาน
สัมพันธ์กันแล้ว ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับกลุ่ม ที่มีความใกล้ชิดกัน หรือเหินห่างกัน
เป็นการแสดงออกทางด้านอารมณ์
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้นำ
5.1 ผลงานวิจัยในประเทศ
สุมณฑา พงษ์มาลา (2528 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมผู้นำ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
กรุงเทพมหานคร มีพฤติกรรมด้านความต้องการความรักใคร่ผูกพัน อยู่ในระดับสูง ส่วนพฤติกรรม
ความต้องการการร่วมประสานสัมพันธ์ และพฤติกรรมในความต้องการการควบคุม อยู่ในระดับต่ำ
กชกร เบ้าสุวรรณ (2543:69-70) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูต่อพฤติ
กรรมผู้นำของผูบริหารโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่แสดง
พฤติกรรมการบริหารแบบกิจสัมพันธ์ในระดับสม่ำเสมอและบ่อยครั้ง ยกเว้นเรื่องการแก้ปัญหาความขัด
แย้งของครูด้วยการชี้ความผิดไปที่คนใดคนหนึ่ง ตำหนิผลงานที่บกพร่องของครูมากกว่าจะแนะวิธีแก้ไข
และตระหนักอยู่เสมอว่าความสำเร็จของงานข้นอยู่กับตนเองที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ไม่เคยปฏิบัติเลย และ
ครูส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมของผู้บริหารแบบกิจสัมพันธ์ และมิตรสัมพันธ์มากที่
สุด
22
เดชา พวงงาม (2531 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมการบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 6 ผลการวิจัย
พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนแสดงพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการอยู่ในเกณฑ์ปานกลางทุกกิจกรรม
สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ ยินดี เงินสอาด (2531 : บทคัดย่อ) ที่ได้ทำการศึกษาการปฏิบัติงานวิชา
การของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลจังหวัดตรัง โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบระดับ
ปัญหาการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน ผลการศึกษาพบว่า ระดับการปฏิบัติงานวิชาการของผู้
บริหารโรงเรียนตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียน และครูโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
นอกจากนี้ จันทรานี สงวนนาม (2533 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลักษณะบาง
ประการของผู้บริหาร บรรยากาศของโรงเรียนและความพึงพอใจในงาน ที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของ
โรงเรียนประถมศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณลักษณะบางประการของผู้บริหาร และปัจจัยที่
สัมพันธ์กับความสำเร็จของโรงเรียนประถมศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้คือ แบบของผู้นำ การตัดสินใจ
การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหา การเป็นผู้นำทางวิชาการ บรรยากาศของโรงเรียนและความพึงพอใจของ
ครู ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีแบบของผู้นำแบบมุ่งงานมากกว่าแบบมุ่งสัมพันธ์ มีพฤติ
กรรมตัดสินใจ แบบมุ่งเน้นกระบวนการมากกว่าแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ของงาน มีพฤติกรรมติดต่อสื่อสาร
แบบมุ่งการรับรู้ข่าวสารโดยทั่วกันมากกว่าแบบมุ่งความถูกต้องของข่าวสาร มีพฤติกรรมแก้ปัญหาแบบ
วิธีระบบ และผลการศึกษายังพบว่าตัวแปรที่ใช้ทำนายความสำเร็จของโรงเรียน ได้แก่พฤติกรรมแก้
ปัญหาด้วยวิธีระดมพลังสมอง และด้วยวิธีระบบ การเป็นผู้นำทางวิชาการ บรรยากาศของโรงเรียน
แบบของผู้นำ และความพึงพอใจในงานของครู
พัฒนา สงวนกล่ำจิตต์ (2526 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย รูปแบบผู้นำของผู้บริหาร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามทฤษฎี 3 มิติของเรดดิน พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีแบบหลักแบบ
สนับสนุน และแบบรวม ในการบริหารที่ได้ประสิทธิผลสูงในลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน และเมื่อ
พิจารณาถึงคะแนนมิติการบริหาร พบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่มีคะแนนมิติการบริหารด้านภารกิจการงาน
อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย ด้านสัมพันธภาพอยู่ในระดับค่อนข้างมาก และด้านประสิทธิผลอยู่ในระดับ
ปานกลาง และพบว่าผู้บริหารที่มีอายุมาก มีการศึกษาทางด้านการบริหารการศึกษาและมีประสบการณ์
ทำงานมาก มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริหารที่ทำงานมีประสิทธิผลสูงกว่าผู้บริหารกลุ่มอื่น ๆ สอดคล้อง
กับผลงานวิจัยของกองแผนงาน กรมอาชีวศึกษา (2522 : บทคัดย่อ) ที่ศึกษาเรื่องศึกษาแบบบริหารและ
ประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษา กรมอาชีวศึกษา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นนัก
พัฒนา หรือผู้สอนแนะ มีคะแนนมุ่งสัมพันธภาพ และประสิทธิผลของงานสูง แต่คะแนนมุ่งงานต่ำ มี
ผู้บริหารแบบนักบุญหรือผู้เอาใจเป็นจำนวนมาก รองลงมาเป็นอันดับสอง ผู้บริหารแบบเอาใจมากประ
สิทธิผลของงานมีน้อย ปรากฏแบบผู้บริหารเผด็จการที่มีศิลปะและผู้ทำตามคำสั่งแต่อย่างเดียวบ้างตาม
23
สมควร ส่วนผู้ประนีประนอม ผู้หนีงาน ผู้เผด็จการ และนักบริหารมีน้อยมาก ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัย
ของ วรเชษฐ สุขแสวง (2528 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่องพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาดีเด่น ในส่วนภูมิภาค ที่ได้รับพระราชทานรางวัล สังกัดกรมสามัญศึกษา ตามการรับรู้ของ
ผู้บริหารและครู - อาจารย์ ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมทางการบริหารโรงเรียน ตามการรับรู้ของผู้
บริหารและครู - อาจารย์ พบว่ามีพฤติกรรมด้านมุ่งงาน พฤติกรรมด้านนี้มุ่งสัมพันธภาพ และพฤติกรรม
ทั้งสองด้านรวมกันอยู่ในระดับปานกลาง
จำลอง แสงพรหมศรี (2537 : บทคัดย่อ) ทำการวิจัยพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสกลนคร ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหาร
ส่วนมากมีพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบนักพัฒนา ซี่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุรกิตต์ กิตติถิรพงษ์
(2528 : บทคัดย่อ) ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 11 และอารีรัตน์
หิรัญโร (2526 : บทคัดย่อ) ที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับแบบผู้นำที่ส่งผลต่อแรงจูงใจ และความพอใจในการ
ทำงานของอาจารย์ในสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารเป็นผู้นำแบบนัก
พัฒนาหรือผู้เสนอแนะมากกว่าแบบอื่น เพราะเป็นลักษณะการบริหารงานในสถานศึกษาเป็นแบบ
กระจายอำนาจและกระจายความรับผิดชอบ การควบคุมดูแลหรือนิเทศงานจะเป็นในลักษณะชี้นำ และ
เสนอแนะบนพื้นฐานความเป็นพี่น้องนับถือซึ่งกันและกันและระบบการบริหารในสังคมไทย ยังเป็น
ระบบอุปถัมภ์ และนอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ เรขา รัตนประสาท (2534 : บทคัดย่อ)
ที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรี โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ที่พบว่าส่วนมากผู้บริหารสตรีมีพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบนักพัฒนาเช่นกัน
รำพึง อัมเรศ (2517 : บทคัดย่อ)ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำ
กับวัยวุฒิ คุณวุฒิ และความเกรงใจของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดอ่างทอง พบว่าครู
ใหญ่ส่วนมากมีพฤติกรรมผู้นำสูงทั้ง 2 ด้าน แต่พฤติกรรมผู้นำด้านมุ่งสัมพันธ์ สูงกว่าด้านงาน ซึ่ง
สอดคล้องกับ สุรชาติ สังข์รุ่ง (2520 : บทคัดย่อ) วิญญู มณีจันทร์ (2520 : บทคัดย่อ) และสะอาด แสง
รัตน์ (2520 : บทคัดย่อ) ที่ได้ทำการวิจัยในความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับความพึงพอใจใน
การทำงานของครูประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาล ในเขตภาคกลาง ภาค
เหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ ผลการวิจัยทั้ง 3 ภาคสรุปได้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนประถม
ศึกษาทั้ง 3 ภาค มีพฤติกรรมด้านมุ่งสัมพันธ์มากกว่าด้านมุ่งงาน ผู้บริหารในภาคกลางมีพฤติกรรมผู้
นำทั้งสองด้านอยู่ในระดับสูง แต่ผู้บริหารในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพฤติกรรมผู้
นำอยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 2 ด้าน และพบอีกว่า ครูพึงพอใจผู้บริหารที่มีพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่ง
สัมพันธ์มากกว่าผู้บริหารที่ดี พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงาน
24
ณรงค์ รมณียกุล (2542 : 3) ได้ศึกษาคุณลักษณะของครูใหญ่ที่ส่งผลต่อขวัญของครูในโรงเรียน
ประถมศึกษาจังหวัดสุโขทัย พบว่า ประสบการณ์ของครูใหญ่ไม่มีผลทำให้ครูใหญ่มีลักษณะผู้นำแตก
ต่างกัน
เอกฉันท์ มาลัย (2542 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาการปฏิบัติตามภาวะผู้นำของผู้บริหารโรง
เรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสกลนคร พบว่า การปฏิบัติตามภาวะผู้นำที่
เป็นจริงของผู้บริหารอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านวิสัยทัศน์ตามที่คาดหวังมีการปฏิบัติน้อยที่สุด และ
ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการบริหาร ระหว่าง 1- 5 ปี มีการปฏิบัติตามภาวะผู้นำสูง
ศุภกฤต ไกรสกุล (2543 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาการปฏิบัติตามภาวะผู้นำของผู้บริหารโรง
เรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย พบว่า ผู้บริหาร
และผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีการปฏิบัติตามภาวะผู้นำ ด้านการตัดสินใจ ด้านวิสัยทัศน์ อยู่
ในระดับปานกลาง และด้านการติดต่อสื่อสาร อยู่ในระดับน้อย
พยุง สารทอง (2542 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาปัญหาและการปฏิบัติตนตามคุณธรรม ของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครพนม พบว่า การปฏิบัติตนตาม
คุณธรรม ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ด้านการพูดทักทายด้วยวาจาสุภาพ ด้านความซื่อสัตย์ มีค่า
เฉลี่ยสูงสุด ด้านการเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชา และการใช้อำนาจบังคับให้ได้มาซึ่งลาภสักการะ และด้าน
การให้คำปรึกษา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
จากผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้นำ พอสรุปได้ว่า พฤติกรรมผู้นำที่พบมีหลาย
ลักษณะ เช่น การประสานสัมพันธ์ การควบคุม ความผูกพัน การบริหารงานวิชาการ การตัดสินใจ
การกระจายอำนาจ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นพฤติกรรมที่จะมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของงาน ที่
ต้องรับผิดชอบร่วมกันโดยรวมของทุกฝ่าย พฤติกรรมที่เกิดและปฏิบัติของผู้บริหารนั้นย่อมมีความแตก
ต่างกันในความต้องการของบุคคลรอบข้าง ซึ่งความแตกต่างนี้จะเป็นตัวแปรที่จะทำให้การบริหารและ
การจัดการมีความแตกต่างกันไปด้วย
5.2 ผลงานวิจัยต่างประเทศ
วิกกินส์ (Wiggins , 1962 : 68) ได้ทำการวิจัยเรื่องลักษณะผู้นำและบรรยากาศในองค์
กร พบว่า ครูใหญ่มีพฤติกรรมความต้องการในการร่วมประสานสัมพันธ์ต่ำ มีความต้องการในการควบ
คุม และพฤติกรรมความต้องการซึ่งความรักใคร่ผูกพันสูง
เอคิน (Eakin, 1997 : 96-A) ได้ศึกษาคุณลักษณะผู้นำที่เห็นได้ชัดเจนของอาจารย์ใหญ่
ในโรงเรียน เซ็นท์หลุยส์ (St. Louis) สรุปไว้ว่า คุณลักษณะของผู้นำที่จำเป็นต้องมีและทำให้ประสบผล
25
สำเร็จ คือ ความรับผิดชอบ ความเฉลียวฉลาด มีไหวพริบเฉียบแหลม มีความยืดหยุ่นในหน้าที่ มีความ
เข้าใจในระบบครอบครัว ของผู้ร่วมงานแต่ละคน
นูเบิร์ท (Neubert. 1998 : 96-A) ได้ศึกษาคุณลักษณะทั่วไปของผู้นำที่เห็นได้ชัดในการ
ทำงานเป็นกลุ่ม สรุปได้ว่า การปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำในการทำงานเป็นกลุ่มนั้น ผู้นำต้องมีความ
สัมพันธ์
กับบุคคลในกลุ่มอื่นเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในกลุ่ม มีความสุขุมรอบคอบ ซึ่งตรงต่อหน้าที่ เป็นที่
ปรึกษาที่ดี ยอมรับในความรู้ ความสามรถของคนอื่น สามารถประสานงานได้ดีและรู้จักข้อ
บกพร่องของตนเองแล้วพัฒนาให้ดีขึ้น
แมคคาตี้ (Mccarty. 1998 : 1417-A) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะการเป็นผู้นำ
ของผู้หญิง การแก้ไขของอาชีพทางการศึกษา ผู้หญิงเป็นผู้นำที่มีความอ่อนโยน โอนอ่อนผ่อนตามและ
ให้ความร่วมมือกับผู้ใต้บังคับบังชาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร ผู้หญิงเป็นผู้นำที่เป็นศูนย์กลาง
เปลี่ยนแปลง เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของทีมงานในองค์กร เป็นศูนย์รวมของกระบวนการตัดสินใจ เพื่อ
พัฒนาคุณภาพของ
ตนเองและผู้ร่วมงานผู้หญิงเป็นผู้นำที่มีมนุษย์สัมพันธ์ และการสื่อสารที่ดี มีความคิดกว้างไกลใน
อนาคตคาดว่าตำแหน่งความเป็นผู้นำหญิงจะประสบความสำเร็จมากขึ้น
สรุปได้ว่า พฤติกรรมผู้นำที่พบในงานวิจัยต่างประเทศ พบว่า ผู้บริหารมีพฤติกรรม
ความต้องการในการซึ่งความรักใคร่ผูกพันสูง ส่วนพฤติกรรมที่ผู้บริหารต้องมีที่จะช่วยให้เกิดผลสำเร็จ
ในการ
บริหาร คือ ความรับผิดชอบ ความเฉลียวฉลาด ความยืดหยุ่นในหน้าที่ และพบอีกว่าผู้บริหารเพศหญิง
เป็นผู้บริหารที่มีความอ่อนโยน สามารถใช้คุณสมบัตินี้บริหารงานจะประสบผลสำเร็จได้ดีในอนาคต
วูดส์ ( Woods. 1988 : 688-A ) ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลหรือจุดเด่นของความ
เป็นผู้นำ โดยการสำรวจ สังเกต บันทึกข้อมูล สัมภาษณ์เพิ่มเติม สรุปได้ว่า ลักษณะสำคัญของภาวะผู้
นำของอาจารย์ใหญ่ดังนี้คือ ต้องมีพลัง แข็งแรง ปรับตัวได้ ต้องคอยส่งเสริม สนับสนุนครู จัดหาเงิน
ทุน และสรรหาผลประโยชน์ที่จะช่วยสนับสนุนบุคคลอื่น เป็นจุดศูนย์กลางของการวางแผน มีความรับ
ผิดชอบ มีความสามารถในทางวิชาการ บริหารให้เกิดความสัมพันธ์ในโรงเรียน โดยเป็นศูนย์กลางใน
การพัฒนา ให้คำปรึกษาครูและผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองนักเรียน จัดการทำให้เกิดแผนการสอน และการ
ดำเนินการต่าง ๆ
จากการศึกษาทฤษฎีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้น
จะเห็นได้ว่า มีแนวคิดหลากหลาย แนวคิดจะคล้อยตามกัน หรือเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ ว่าผู้นำหรือผู้
26
บริหารควรมีภาวะผู้นำ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความรับผิดชอบ ด้านการตัดสินใจ ความสัมพันธ์กับบุคคล
ในกลุ่ม ประสานงานได้ดี มีมนุษย์สัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร และมีคุณธรรมจริยธรรมจะทำให้ผู้
บริหารปรับปรุงพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การ
เมือง วัฒนธรรม ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ้าหากผู้บริหารมีภาวะผู้นำดัง
กล่าวแล้ว ผู้บริหารหรือผู้นำจะเป็นบุคคลที่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งกาย ใจ สามารถบริหารงานและทำ
ให้หน่วยงานหรือองค์กรได้รับผลสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสถานศึกษาจำเป็นต้องมี
หลักในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้บริหารโรงเรียนยังถือเป็นตัวจักรสำคัญในการ
ควบ
คุมการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนให้เป็นไปตามนโยบาย และเป้าหมายของการจัดการศึกษาใน
ระดับประถมศึกษา การศึกษาถึงพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารจึงสามารถบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการบริหาร
งานของผู้บริหารโรงเรียนได้ และยังทำให้ผู้บริหารโรงเรียนสามารถเป็นผู้นำของครูในโรงเรียนได้อย่าง
แท้จริง
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มรัตน
โกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามขนาดโรงเรียน
ประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความต้องการของครู ด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัด กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดของโรงเรียนที่
ปฏิบัติการสอน
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามขนาดโรง
เรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามขนาดโรงเรียนประถมศึกษา ในกลุ่ม
รัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ขนาดโรงเรียน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ
เล็ก 77 27.11
กลาง 112 39.44
ใหญ่ 95 33.45
รวม 284 100
32
จากตารางที่ 2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 206 คน ส่วนใหญ่เป็นข้าราชครูในโรงเรียน
ขนาดกลาง จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 39.44 รองลงมาเป็นข้าราชการครูโรงเรียนขนาดใหญ่
จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 33.45 และเป็นข้าราชการครูโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 77 คน คิดเป็น
ร้อยละ 27.11 ตามลำดับ
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความต้องการของครู ด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้
บริหารโรงเรียนประถม ศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัด กรุงเทพมหานคร โดยวิเคราะห์เป็นราย
ข้อและรายด้าน คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตารางที่ 3 แสดงคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความต้องการของครูด้านพฤติ
กรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
ด้าน
ที่
ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำ
ของผู้บริหารโรงเรียน X S.D
ระดับ
ความ
ต้องการ
อันดับ
1.
2.
3.
ด้านความต้องการในการร่วมประสานสัมพันธ์
ด้านความต้องการในการควบคุม
ด้านความต้องการรักใคร่ผูกพัน
3.61
3.64
3.87
0.97
0.94
1.08
มาก
มาก
มาก
3
2
1
ภาพรวม 3.71 1.00 มาก -
จากตารางที่ 3 พบว่าความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรง
เรียน ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานครโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อยคือ ด้านความรักใคร่ผูกพันธ 
( X = 3.87) ด้าน ความต้องการในการควบคุม( X = 3.64 )และด้านความต้องการในการร่วมประสาน
สัมพันธ์ ( X = 3.61) ตามลำดับ
33
ตารางที่ 4 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำ
ของผู้บริหาร ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร ในด้านความต้องการในการร่วม
ประสานสัมพันธ์
ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
ข้อ
ที่
ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร
โรงเรียน X S.D
ระดับ
ความ
ต้องการ
อันดับ
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10
11
ด้านความต้องการด้านการร่วมประสานสัมพันธ์
ผู้บริหารให้ความใกล้ชิดกับบุคคลอื่นได้ เสมอ
เท่าเทียมกัน
ผู้บริหารเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านสังคมภายนอก
ได้อย่างเหมาะสม
ผู้บริหารให้เวลากับทุกคนในการให้คำปรึกษาอย่าง
จริงใจ
ผู้บริหารมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มอย่าง
สม่ำเสมอ
ผู้บริหารสร้างสัมพันธ์อันดีและเป็นกันเองกับบุคคลอื่น
เมื่อต้องปฏิบัติงานร่วมกัน
ผู้บริหารให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน
ผู้บริหารให้ความสนิทสนมใกล้ชิดบุคคลอื่นได้อย่าง
เหมาะสม
ผู้บริหารให้ความเป็นกันเองกับบุคคลภายนอกอย่าง
สม่ำเสมอ
ผู้บริหารหาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลอื่น
กำลังดำเนินการอยู่
ผู้บริหารหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้ปกครองโดยให้เป็น
หน้าที่ของบุคลากรในองค์การก่อน
ผู้บริหารแสดงความเป็นมิตรกับบุคคลทั่วไปอย่าง
เหมาะสม
3.94
4.06
4.07
4.10
4.18
4.04
3.93
3.91
3.84
2.43
4.10
0.81
0.73
0.85
0.73
0.80
0.77
0.80
0.79
0.81
1.10
0.79
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
น้อย
มาก
7
5
4
3
1
5
8
9
12
15
2
34
ตารางที่ 4 (ต่อ)
ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
ข้อ
ที่
ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำ
ของผู้บริหารโรงเรียน X S.D
ระดับ
ความ
ต้องการ
อันดับ
12
13.
14.
15.
ด้านความต้องการในการร่วมประสานสัมพันธ์
ผู้บริหารแสดงความสำคัญของตนเมื่ออยู่ร่วมกับ
บุคคลอื่น
ผู้บริหารให้บุคคลอื่นปฏิบัติต่อตนเองอย่าง
สนิทสนม
ผู้บริหารชักชวนให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรม
ทางสังคมเป็นกลุ่ม
ผู้บริหารยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนในทาง
องค์การเสนอและร้องขอ
3.28
3.50
3.90
3.85
1.01
0.77
0.74
0.80
มาก
มาก
มาก
มาก
14
13
9
11
ภาพรวม 3.61 0.97 มาก -
จากตารางที่ 4 พบว่า ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ในด้านความต้องการในการร่วมประสาน
สัมพันธ์โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อยกเว้นข้อ 10 ผู้
บริหารหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้ปกครอง โดยเป็นหน้าที่ของบุคลากรในองค์การก่อน ความต้องการอยู่
ในระดับน้อย( X =2.43)โดยความต้องการเกี่ยวกับผู้บริหารสร้างความสัมพันธ์อันดีและเป็นกันเองกับ
บุคคลอื่นเมื่อต้องปฏิบัติงานร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด( X = 4.18) รองลงมาคือ ผู้บริหารแสดงความเป็น
มิตรกับบุคคลทั่วไปอย่างเหมาะสม ( X = 4.10) และผู้บริหารมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มอย่าง
สม่ำเสมอ ส่วนผู้บริหารหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้ปกครอง โดยเป็นหน้าที่ของบุคลากรในองค์การก่อน
ความต้องการอยู่ในระดับต่ำสุด( X = 2 .43)
35
ตารางที่ 5 คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับ ความตอ้ งการของคร ู ด้าน
พฤติกรรม ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัด
กรุงเทพมหานคร ในด้านความต้องการในการควบคุม
ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
ข้อ
ที่ ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำ
ของผู้บริหารโรงเรียน X S.D
ระดับ
ความ
ต้องการ
อันดับ
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10
11..
ด้านความต้องการในการควบคุม
ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นชักชวนในการทำกิจ
กรรม
ผู้บริหารให้บุคคลในองค์การ มีโอกาสควบคุมการ
ปฏิบัติงานของผู้บริหาร
ผู้บริหารให้บุคลากรในองค์การเป็นผู้ตัดสินใจในการ
ดำเนินงาน
ผู้บริหารให้บุคลากรในองค์การรับผิดชอบกิจกรรม
ต่าง ๆ ตามลำพัง
ผู้บริหารให้ความไว้วางใจในการตรวจสอบการทำงาน
ซึ่งกันและกัน
ผู้บริหารนำกฎระเบียบมาเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน
ของทุกคน
ผู้บริหารให้บุคคลกระทำกิจกรรมต่างๆนอกเหนืองาน
ได้ต่อเมื่อได้รับการพิจารณาตามขั้นตอน
ผู้บริหารพยายามมีอิทธิพลอย่างมากเหนือการ
ดำเนินงานของบุคคลอื่น
ผู้บริหารชักชวนบุคลากรปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆโดยให้
ทุกคนได้มีเวลาในการตัดสินใจที่จะทำตาม
ผู้บริหารให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบ
และวิธีการดำเนินงาน
ผู้บริหารใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการมอบหมายงานให้
กับผู้ปฏิบัติงาน
3.66
3.39
3.62
2.70
3.87
3.90
3.57
2.33
3.68
3.94
3.91
0.79
0.90
0.84
1.06
0.76
0.87
0.79
1.14
0.82
0.77
0.84
มาก
มาก
มาก
ปาน
กลาง
มาก
มาก
มาก
น้อย
มาก
มาก
มาก
10
13
11
14
7
6
12
15
8
4
5
36
ตารางที่ 5 (ต่อ)
ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำ
ของผู้บริหารโรงเรียน X S.D
ระดับ
ความ
ต้องการ
อันดับ
12.
13.
14.
15.
ด้านความต้องการในการควบคุม
ผู้บริหารกำกับและติดตามงานตามลำดับความรับ
ผิดชอบ
ผู้บริหารยอมรับและฟังความความคิดเห็นของบุคคล
ในการประชุม
ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในการ
อภิปรายหรือประชุมที่จัดขึ้น
ผู้บริหารให้บุคลากรทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่กลุ่มพึง
พอใจ
4.01
4.19
4.02
3.73
0.70
0.87
0.87
0.86
มาก
มาก
มาก
มาก
3
1
2
9
ภาพรวม 3.64 0.94 มาก -
จากตารางที่ 5 พบว่า ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรง
เรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัด กรุงเทพมหานคร ในด้านความต้องการในการควบ
คุมโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ยกเว้นข้อ 8 ผู้บริหาร
พยายามมีอิทธิพลอย่างมากเหนือการดำเนินงานของผู้อื่น ความต้องการอยู่ในระดับน้อย ( X =2.33)
และข้อ 4 ผู้บริหารให้บุคลากรในองค์การรับผิดชอบกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำพัง ความต้องการอยู่ใน
ระดับปานกลาง ( X = 2.70) โดยความต้องการเกี่ยวกับ ผู้บริหารยอมรับและฟังความคิดเห็นของบุคคล
ในการประชุม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X =4.19) รองลงมา คือผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วม
ในการอภิปรายหรือประชุมที่จัดขึ้น ( X =4.02) ส่วนผู้บริหารพยายามมีอิทธิพลอย่างมากเหนือ
การดำเนินงานของผู้อื่น ความต้องการอยู่ในระดับต่ำสุด ( X = 2.33)
37
ตารางที่ 6 คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความต้องการของครู ด้านพฤติกรรม
ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ในด้านความต้องการในความรักใคร่ผูกพัน
ข้อ ขา้ ราชการครูกรงุ เทพมหานคร
ที่ ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำ
ของผู้บริหารโรงเรียน X S.D ระดับ
ความต้องการ อันดับ
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
ด้านความต้องการในความรักใคร่ผูกพัน
ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในกิจ
กรรมส่วนตัวของผู้บริหารเอง
ผู้บริหารให้ความรู้สึกที่ดี รักและสามัคคีเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันในองค์การ
ผู้บริหารปฏิบัติตนเองอย่างสนิทสนมและ เป็นกันเอง
กับเพื่อนร่วมงาน
ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมาสนิทสนม และ
ใกล้ชิดตนในรูปแบบต่าง ๆ
ผู้บริหารมองโลกในแง่ดี และมีอารมณ์ขัน
ตามโอกาสอันควร
ผู้บริหารปฏิบัติตนต่อบุคคลอื่น อย่างใกล้ชิดและจริง
ใจเสมอหน้ากัน
ผู้บริหารให้ความสำคัญว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งและ
สำคัญสำหรับองค์การ
ผู้บริหารรักและผูกพันองค์การและบุคคลใน องค์การ
ผู้บริหารมีความเข้าใจในความรู้สึกและเหตุผลของ
บุคลากร
ผู้บริหารมีความปรารถนาดีและห่วงใยบุคลากรทุกคน
เท่าเทียมกัน
2.95
4.10
3.97
3.33
3.98
3.93
4.18
4.04
4.01
4.06
1.00
0.96
0.92
1.01
1.02
0.98
0.90
0.92
0.91
0.96
ปานกลาง
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
10
2
7
9
6
8
1
4
5
3
ภาพรวม 3.87 1.08 มาก -
จากตารางที่ 6 พบว่า ความต้องการของครู ด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ในด้านความต้องการในความรักใคร่
38
ผูกพัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.87) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ
ยกเว้น ข้อ 1 ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วนตัวของผู้บริหารเอง ความ
ต้องการอยู่ในระดับ ปานกลาง( X =2.95) โดยความต้องการเกี่ยวกับผู้บริหารให้ความสำคัญว่าทุกคน
เป็นส่วนหนึ่งและสำคัญสำหรับองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X =4.18)รองลงมา คือผู้บริหารให้ความรู้สึกที่
ดี รักและสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์การ ( X =4.12) และผู้บริหารมีความปรารถนาดีและห่วง
ใยบุคลากรทุกคนเท่าเทียมกัน ( X = 4.06) ส่วนผู้บริหาร เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ส่วนตัวของผู้บริหารเอง ความต้องการอยู่ในระดับ ต่ำสุด( X = 2.95 )
ตารางที่ 7 คะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการของครู ด้านพฤติกรรมผู้นำ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัด กรุงเทพมหานคร
จำแนกตามขนาดของโรงเรียน
โรงเรียนขนาด
เล็ก
โรงเรียนขนาด
กลาง
โรงเรียนขนาด
ใหญ่
ด้าน
ความต้องการของครูด้าน
พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา
X SD X SD X SD
1
2
3
ด้านความต้องการในการร่วม
ประสานสัมพันธ์
ด้านความต้องการในการควบคุม
ด้านความต้องการรักใคร่ผูกพัน
3.88
3.75
3.94
0.47
0.43
0.75
3.84
3.61
3.80
0.51
0.43
0.85
3.76
3.60
3.87
0.56
0.60
0.83
ภาพรวม 3.85 0.55 3.75 0.55 3.74 0.68
จากตารางที่ 7 พบว่าข้าราชการครูกรุงเทพมหานครในโรงเรียนขนาดเล็ก มี
ความต้องการยู่ในระดับมากทุกด้านเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ
จากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านความต้องการความรักใคร่ผูกพัน( X = 3.94 ) รองลงมาคือ ด้าน
ความต้องการในการร่วมประสานสัมพันธ์ ( X = 3.88 ) และความต้องการในการควบคุม ( X = 3.75 )
ตามลำดับ
ข้าราชการครูกรุงเทพมหานครในโรงเรียนขนาดกลาง ในภาพรวมมีความต้องการ
ด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านความต้องการใน
39
การรว่ มประสานสัมพนั ธ  ( X = 3.84 )รองลงมาคือ ด้านความต้องการความรักใคร่ผูกพัน( X = 3.80 )
และอันดับสุดท้าย คือด้านความต้องการในการควบคุม ( X = 3.61)ตามลำดับ
ข้าราชการครูกรุงเทพมหานครในโรงเรียนขนาดใหญ่ มีต้องการด้านพฤติกรรม
ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ
ด้านความต้องการความรักใคร่ผูกพัน (X =3.87) รองลงมาคือด้านความต้องการในการร่วมประสาน
สัมพันธ์ ( X = 3.76 ) และอันดับสุดท้าย คือด้านความต้องการในการควบคุม ( X = 3.60 ) ตามลำดับ
40
ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาโรงเรียนประถมศึกษา
ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัด กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดของโรงเรียน
ตารางที่ 8 เปรียบเทียบความต้องการของครู ด้านพฤติกรรมผู้นำของ ผู้บริหารโรงเรียนจำแนกตาม
ขนาดของโรงเรียน
ด้าน ความต้องการของครู ด้านพฤติกรรมผู้นำdf SS MS F p
1 ด้านความต้องการในการร่วมประสานสัมพันธ์
ระหว่างกลุ่ม 2 .675 .337 1.265 .284
ภายในกลุ่ม 281 74.895 .267
รวม 283 75.570
2 ด้านความต้องการในการควบคุม
ระหว่างกลุ่ม 2 1.281 .609 2.474 .086
ภายในกลุ่ม 281 69.174 .246
รวม 283 70.392
3 ด้านความต้องการรักใคร่ผูกพัน
ระหว่างกลุ่ม 2 .931 .465 .696 .499
ภายในกลุ่ม 281 187.831 .668
รวม 283 188.762
4 ภาพรวม
ระหว่างกลุ่ม 2 .692 .346 1.214 .299
ภายในกลุ่ม 281 80.148 .285
ภาพรวม 283 80.840
จากตารางที่ 8 พบว่าความต้องการของครูเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถม
ศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มี
นัยสำคัญทางสถิติ ทั้งภาพรวมและจำแนกเป็นรายด้าน
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร
โรงเรียนในกลุ่ม รัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยสรุปผลการศึกษาค้นคว้าและผลการวิจัย
ตามลำดับหัวข้อดังนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มรัตนโกสินทร์
สังกัดกรุงเทพมหานคร
2.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการของครู ด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่ม
รัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน
สมมติฐานในการวิจัย
ครูที่สอนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ที่มีขนาดต่างกัน มีความต้องการด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ต่างกัน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่วิจัยเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษากลุ่มรัตนโกสินทร์
สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,098 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่ม
รัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 284 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ตารางการ
กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ของ เครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970: 108 )
42
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง โดย
อาศัยแนวความคิดจาก ตำรา เอกสาร รายงาน ทฤษฎีและผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งออกเป็น
2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ เกี่ยวกับเพศ
อายุ วุฒิ ตำแหน่ง ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติการสอน จำนวน 4 ข้อ
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ
ด้านการร่วมประสานสัมพันธ์ ข้อ 1-15 จำนวน 15 ข้อ
ด้านการควบคุม ข้อ 16-30 จำนวน 15 ข้อ
ด้านความรักใคร่ผูกพันธ์ ข้อ 31-40 จำนวน 10 ข้อ
เป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ของไลเคิร์ธ (Likert’s rating scale) มีทั้งหมด 40 ข้อ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลตามขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นที่1 ขอหนังสือนำจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถึง
ผู้อำนวยการสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่2 นำหนังสือจากสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ถึงผู้อำนวยการเขต ในกลุ่ม
โรงเรียนรัตนโกสินทร์ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และส่งแบบสอบถามไปให้
ขั้นที่3 ผู้วิจัยไปรับแบบสอบถามคืนจากฝ่ายศึกษาธิการเขตทุกสำนักงานเขตด้วยตนเอง
และทางไปรษณีย์ ได้รับคืน จำนวน 284 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ตรวจสอบขั้นต้น โดยทำการตรวจสอบข้อมูล ตรวจดูความสมบูรณ์ของการ
ตอบแบบสอบถามที่ได้รับคืนมา จำนวน 284 ฉบับ และดำเนินการการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม
คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Social Science) ดังนี้
1.วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ และค่า
ร้อยละ
2.วิเคราะห์ ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่ม รัตน
43
โกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และคำนวณค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
3.วิเคราะห์เปรียบเทียบความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยวิเคราะห์
ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) แยกวิเคราะห์เป็นรายด้านทั้ง 3 ด้านและผลรวมทุกด้าน
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยสรุปเป็นประเด็นตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1. ความต้องของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่ม
รัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร มีความต้องการในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจาก
คะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านความรักใคร่ผูกพัน ด้านการควบคุม และด้านการร่วมประสาน
สัมพันธ์ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อในแต่ละด้าน ปรากฏผลดังนี้
1.1 ด้านความรักใคร่ผูกพัน พบว่า ข้อที่มีความต้องการอยู่ในระดับมาก อันดับแรก
คือผู้บริหารให้ความสำคัญว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งและสำคัญสำหรับองค์การ รองลงมา คือ ผู้บริหารให้
ความรู้สึกที่ดี รักและสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์การ และอันดับสุดท้ายซึ่งอยู่ในระดับปาน
กลาง คือ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคลอื่นมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วนตัวของผู้บริหารเอง
1.2 ด้านการควบคุม พบว่า ข้อที่มีความต้องการอยู่ในระดับ มากอันดับแรก คือ
ผู้บริหารยอมรับและฟังความคิดเห็นของบุคคลในการประชุม รองลงมาคือ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้
บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในการอภิปรายหรือประชุมที่จัดขี้น และอันดับสุดท้ายซึ่งอยู่ในระดับน้อย คือ
ผู้บริหารพยายามมีอิทธิพลอย่างมากเหนือการดำเนินงานของบุคคลอื่น
1.3 ด้านการร่วมประสานสัมพันธ์ พบว่าข้อที่มีความต้องการอยู่ในระดับมาก
อันดับแรก คือผู้บริหารสร้างความสัมพันธ์อันดีและเป็นกันเองกับบุคคลอื่นเมื่อต้องปฎิบัติงานร่วมกัน
รองลงมาคือ ผู้บริหารให้ความเป็นมิตรกับบุคคลทั่วไปอย่างเหมาะสม และอันดับสุดท้ายซึ่งอยู่ในระดับ
น้อย คือผู้บริหารหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้ปกครองโดยให้เป็นหน้าที่ของบุคลากรในองค์การก่อน
2. ผลเปรียบเทียบความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน -
ประถมศึกษาในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า แตกต่าง
กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
44
การอภิปรายผลการวิจัย
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัย เรื่องการศึกษาความต้องการของครู
ด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
นั้นผู้วิจัยอภิปรายผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่มีความต้องการด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้
บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านการร่วมประสานสัมพันธ์ ด้านการควบ
คุมและด้านความรักใคร่ผูกพันมาก โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดกลาง มีนักเรียนตั้งแต่ 401 – 800 คน
มีความต้องการพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนระดับประถมศึกษา มากกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก
จาํ นวนนกั เรยี นตงั้ แต  1 - 400 คน และโรงเรยี นขนาดใหญ่ มนี กั เรยี นตงั้ แต  801 คนขึ้นไป เมอื่ พจิ ารณา
เป็นรายข้อของแต่ละด้าน พบประเด็นในการอภิปรายผลดังนี้
1.1 ด้านความต้องการในการร่วมประสานสัมพันธ์ พบว่า ข้อที่มีความต้องการอยู่
ในระดับมาก เป็นอันดับแรก คือผู้บริหารสร้างความสัมพันธ์อันดีและเป็นกันเองกับบุคคลอื่นเมื่อต้อง
ปฎิบัติงานร่วมกัน ทั้งนี้เนื่องมาจาก การบริหารในปัจจุบันผู้บริหารใช้วิธีการบริหารแบบการมีส่วน
ร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง มีพฤติกรรมในการแสดงออกในด้านนี้สูง ซึ่งสอด
คล้องกับหลักการบริหาร ที่ว่า ผู้บริหารโรงเรียนต้องเปิดโอกาสให้บุคคลหลายฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วมใน
การทำงาน จะก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์อันดี ( สมบูรณ์ พรรณาภพ ,2521 : 245-247 )
ข้อที่มีความต้องการในระดับมาก รองลงมาคือ ผู้บริหารให้ความเป็นมิตรกับบุคคล
ทั่วไปอย่างเหมาะสม ทั้งนี้เป็นเพราะ การสร้างบรรยากาศแห่งความเป็นมิตรของผู้บริหาร จะทำให้ผู้ที่
ร่วมงานด้วยเกิดความปลอดภัยและเกิดความคิดที่จะทำงานร่วมกันได้ดี ซึ่งสอดคล้องกับประชุม รอด
ประเสริฐ.(2526:24) ที่ว่า พฤติกรรมของผู้นำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้นำกับผู้ใต้บังคับบัญชา
แสดงออกถึงความเป็นมิตร การเคารพซึ่งกันและกันความไว้วางใจในการทำงาน แสดงออกโดย
ความรู้สึก ชอบ รัก เกลียด ซึ่งเป็นความอบอุ่นที่ผู้นำแสดงต่อสมาชิกภายในกลุ่มหรือรายบุคคล
ข้อที่มีความต้องการเป็นอันดับสุดท้าย ซึ่งอยู่ในระดับ น้อย คือผู้บริหารหลีกเลี่ยงการ
พบปะกับผู้ปกครอง โดยให้เป็นหน้าที่ของบุคลากรในองค์การก่อน ทั้งนี้เนื่องมาจาก การพบปะกับ
ผู้ปกครอง ชุมชนต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร เพราะผู้บริหารสามารถดำเนินการได้ดีกว่า และสามารถ
ตัดสินใจได้ทันการ ซึ่งสอดล้องกับ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.(2541:10) เกี่ยว
กับภาระกิจของผู้บริหาร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน เกี่ยวกับการให้ผู้ปกครอง และ
ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการของโรงเรียนตลอดจนช่วยเหลือกิจการของสมาคมครูผู้ปกครอง
45
1.2 ด้านความต้องการในการควบคุม พบว่า ข้อที่มีความต้องการอยู่ในระดับมาก
เป็นอันดับแรก คือผู้บริหารยอมรับและฟังความคิดเห็นของบุคคลในการประชุม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก
ข้าราชการครูที่เสนอความคิดเห็นแล้วผู้บริหารมักจะเห็นว่าเป็นความเห็นที่ขัดกับตนเองไม่ยอมรับฟัง
หรือด่วนปฎิเสธก่อนโดยไม่ยอมรับฟังเหตุผลที่แท้จริงจึงทำให้ความต้องการการยอมรับฟังความคิดเห็น
ของข้าราชการครู อยู่ในระดับมาก ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้เข้าร่วมประชุม
เป็นบทบาทของผู้บริหาร (อภิวัฒน์ ภูไชยแสง,2542:20 )
1.3 ด้านความรักใคร่ผูกพัน พบว่า ข้อที่มีความต้องการอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก
คือผู้บริหารให้ความสำคัญว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งและสำคัญสำหรับองค์การ ซึ่งสอดคล้องกับ สุมณฑา
พงษ์มาลา (2527 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่องลักษณะพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถม
ศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่าผู้บริหารมีพฤติกรรมการแสดงออกซึ่งความรักใคร่ผูกพันสูง
2. เปรียบเทียบความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนใน
กลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียนที่ปฏิบัติการสอน พบว่า
ความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนระดับประถมศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มี
นัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มรัตนโกสินทร์
สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นพฤติกรรมที่ผู้บริหารทุกคนต้องมีและปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับ พรศักดิ์
จันทร์อ่อน ( 2543: 115 )พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ตามความคิดของครูในโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสกลนคร ที่ปฎิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความรู้
สึกนึกคิดและมุมมองต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา จังหวัดสกลนคร แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
ข้อเสนอแนะทั่วไปสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้
1. ควรมีการพัฒนาผู้บริหาร เกี่ยวกับการบริหารที่เน้น การร่วมประสานสัมพันธ์การ
ควบคุม ในลักษณะการประชุมอบรม สัมมนา ฯลฯ เพื่อเป็นการพัฒนาผู้บริหารให้บริหารงานได้สอด
คล้องกับความต้องการของครูในพฤติกรรมที่ครูต้องการ ทำให้การประสานความคิดและพฤติ
กรรมการปฎิบัติของครูและผู้บริหารเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2. ในการพิจารณาผู้บริหารเข้าสู่ตำแหน่ง สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
ควรพิจารณาผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี และมีความเป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย
46
ข้อเนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบความต้องการของครูเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดอื่น ๆ เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาการบริหารโรงเรียน
2. ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ของผู้
บริหารโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานครควรมีการ
3. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการบริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
บรรณานุกรม
กชกร เบ้าสุวรรณ. ความพึงพอใจของครูต่อพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ใน
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2543.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. เกณฑ์มาตรฐานเฉพาะตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2541
. ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองการพิมพ์, 2532.
. บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2542.
จันทรานี สงวนนาม. คุณลักษณะบางประการของผู้บริหาร บรรยากาศของ โรงเรียนและความพึงพอ
ใจในงานที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2533.
จำลอง แสงพรหมศรี. พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น, 2537.
ชวนชม ชินะตังกร. เอกสารการอบรมผู้บริหารโรงเรียนคาทอริกรุ่นที่ 1 นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542.
ณรงค์ รมณียกุล. การศึกษาแบบผู้นำต่าง ๆของครูใหญ่ที่ส่งผลต่อขวัญของครูในโรงเรียนประถม
ศึกษาจังหวัดสุโขทัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร, 2541.
เดชา พวงงาม. การศึกษาพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมสังกัดกรม
สามัญศึกษา เขตการศึกษา 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2531.
ธีรวิทย์ วัฒนพงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้ใต้บังคับบัญชากับขวัญและความพึง
พอใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในกระทรวงศึกษาธิการ.วิทยานิพนธ์ การศึกษา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2524.
48
นิพนธ์ ชูช่วยสุวรรณ. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจใน
การทำงานของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชนในเขตการศึกษา 3
สงขลา . วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒสงขลา, 2534
บัญชา แก้วเกตุทอง. ผู้นำการบริหาร. กรุงเทพมหานคร :โครงการตำราศิริราช , 2523.
ปฏิรูปการศึกษา (สรศ.) สำนักงาน. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544
ประทีป สยามชัย. หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการศึกษา, มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์. (อัดสำเนา), 2536.
ประชุม รอดประเสริฐ. ผู้นำและพฤติกรรมการบริหาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร, 2526.
พรศักดิ์ จันทร์อ่อน. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูในโรง
เรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สถาบันราชภัฎสกลนคร, 2543.
พัฒนา สงวนกล่ำจิตต์. แบบผู้นำของผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒตามทฤษฎีสามมิติ ของ
เรดดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร,
2526.
พยุง สารทอง. ศึกษาปัญหาและการปฏิบัติตนตามคุณธรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครพนม. รายงานการค้นคว้าอิสระ การศึกษา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2542
ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์. พฤติกรรมความเป็นผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยครูสรินทร์. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2525.
. พฤติกรรมผู้นำกับการบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2529.
. การปฏิบัติงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
เทศบาลจังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์พฤติกรรมผู้นำกับการบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ :
โอเดียนสโตร์, 2529.
49
ภิญโญ สาธร. หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2526.
ยินดี เงินสอาด. การศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศ
บาลจังหวัดตรัง. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร-
วิโรฒ สงขลา, 2531.
ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์สุวีริยาสาสน์, 2543.
เรขา รัตนประสาท. พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2534.
รำพึง อัมเรศ. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าพฤติกรรมผู้นำกับวัยวุฒิ คุณวุฒิและความเกรงใจของ
ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิทยาลัย
วิชาการศึกษาประสานมิตร, 2517
วรเชษฐ สุขแสวง. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่นในส่วนภูมิภาคที่
ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดกรมสามัญศึกษา ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครู - อาจารย์.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2528.
วิชัย ศรีเสน่ห์.ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารดีเด่นโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถม
ศึกษาจังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม, 2542.
วิจิตร (ธีรกุล) วรุตบางกูร. “พฤติกรรมผู้นำ” : การศึกษาแห่งชาติ. 26 สิงหาคม, 2518.
วิชาการ, กรม. คู่มือการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับประถมศึกษา กรุงเทพฯ :
สำนักงานทดสอบทางการศึกษา, 2537.
วิญญู มณีจันทร์. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับความพึงพอใจในการทำงานของครูในโรง
เรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาล ในเขตภาคเหนือ .
วิทยนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร,2520.
วีระพันธ์ สมเทพ. การศึกษาแบบผู้นำ พิสัยของแบบ และความสามารถในการปรับแบบผู้นำของผู้
บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.
50
ศุภกฤต ไกรสกุล. ศึกษาการปฏิบัติตามภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนัก
งานการประถมศึกษาอำเภอโพนพิสัยจังหวัดหนองคาย. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ
การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2543.
ศิริ เจริญวัย . ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับผลงานของวิทยาลัยครูในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร,
2521.
สมบูรณ์ พรรณาภพ. หลักเบื้องต้นของการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2521
สมพงศ์ เกษมสิน. การบริหาร. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช,2526.
สะอาด แสงรัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกำกับความพึงพอใจในการทำงาน
ของครูในโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์ปริญญา
การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2520.
สุมณฑา พงษ์มาลา. ลักษณะพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.
สุรกติ ต์ กติ ตถิ ิรพงษ. พฤตกิ รรมภาวะผนู้ าํ ของผบู้ รหิ ารโรงเรยี นมธั ยมศกึ ษาในเขตการศกึ ษา 11.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2528.
สุรชาติ สังข์รุ่ง. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับความพึงพอใจในการทำงานของครูโรง
เรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาล ในเขตภาคกลาง.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร,
2520.
. “ผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ,” ปฏิรูปการศึกษา. ปีที่ 8,9 (เมษายน, 2542) :8-9
โสภณ ชินคำ. ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 . วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขา
การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร . 2536
อภิวัฒน์ ภูไชยแสง. คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่พึงประสงค์ตามทัศนะของครู
ผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย. วิทยา
นิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2542.
เอกฉันท์ มาลีลัย. ศึกษาการปฏิบัติตามภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต
51
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2542.
อาชีวศึกษา, กรม กองแผนงาน . รายงานการวิจัยแบบบริหารและประสิทธิผลของผู้บริหารสถาน
ศึกษา กรมอาชีวศึกษา ปี 2522 . กรุงเทพฯ : กองแผนงาน กรมอาชีวศึกษา, 2522. อัดสำเนา
อรุณ รักธรรม. หลักมนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช, 2522
อารีรัตน์ หิรัญโร. แบบผู้นำที่ส่งผลต่อแรงจูงใจ และความพอใจในการทำงานของอาจารย์ในสถาน
ศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ
โรฒประสานมิตร, 2528.
Andrew W. Halpin. (1966). Theory and Research in Administration. New York :Macmillan
Company.
Bruke, W.W. 1965. “Leadership as a Function of the Leader the and the Situation”Journal of
Personality. 20 (April 1965 ) : 5063 – A.
Eakin, Cavolyn Joyce Killman. ‘Perceptions of Principals and Teachers Concerning
Desirable Leadership Traits for Principals in St” Louis Elementary Schools (St”
Louis,Missouri),’ Dissertation Abstracts International. 58(01) : 39-A; July, 1997.
Hersey. P. and K. H. Blanchard . Management of organization Behavir Utilizing Human Resources.
( 4 ed.). Engliwood Cliffs : Prentice – Hall, 198
Gorton, Richard D. School Administration and Supervision. Dubuque : W.m.c. Brown,
1983
Hersey, P. and K. H. Blanchard. 1982. Management of organization Behavir Utitizing
Human Resources. 4 ed. Englewood Cliffs : Prentice-Hall.
Halpin Andrew W. (1959) A Factorial Deseription of the Leader Behavior
Description in Leader Behavior : Its Description and Measurement. pp. 39-1, Edited
by R.M. Stogdill and A.E. Coons, Columbus : Ohio State University.
Krejcie, Robert V. & Morgan, Daryle W. Autumn). Determining sample size for research tivities.
Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-609; 1970.
Lipharm, J.M. and J.A Hoch Leadership Theory ”The principalship:Foundations and Functions.
New York : Harper & Row Publishers, 1974.
52
Mccarty, Susan Louise Broen. “A Woman Leads Us Leadership for Reform in Vocational
Education(Woman Administrators)”Dissertation Abstracts International. 59(05) ;
1417-A ; November,1998
Neubert, Mitchell Joho. "A Functional-Based Model Informal Leadership". Perceptions in
IntactWork Teams (Team Interaction), Dissertation Abstracts International. 59(05) :
1665 November, 1998
Sherwood, Thomas J. “The Role of the Leader" in Public Administration. New York :
Macmillan Company,1965.
Small, Jame F. " Role Option for School Adiminisstraters, " Performance Objective for
Principalships. Callifornia : Mc Cutchan, 1974
Stogdill, R. W. Managing Career Education Program. New York : Prentice-Hall Inc, 1973.
. Handbook of Leadership. New York : The Free Press, 1984.
Schutz, william . A Three – Dimensional Theories of Interpersonal Behavior. N.Y.: holt, Reinhart
and Winston, Inc., 1960.
. Expanding Human awareness. N.Y. ; Grove Press, 1967.
Wiggins, Thomas W. Leader Behavior Characteristice and Organization. Michigan : University
Microfilims, 1969.
Woods, Kathleen ann O’Loughlin, ‘Leadership Factors That Influence Educational Excellence’.
(Site Based Management 1988Elementary Schools), Dissertation Abstracts
International. 59 (03) : 688-A ;September,
…………………………
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก.
55
แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลประกอบการวิจัย
เรื่อง การศึกษาความต้องการของครูด้านพฤติกรรมผู้นำ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
คำชี้แจง แบบสอบถามชุดนี้ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 ความต้องการเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
ขอความกรุณาจากท่านโปรดตอบแบบสอบถามทุกข้อ และตรงตามความเป็นจริง คำตอบทั้ง
หมดจะใช้ประโยชน์ในการวิจัยเท่านั้น ดังนั้น ผลการวิจัยจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อท่าน จึงขอให้
ตอบด้วยความสบายใจ ตามความเป็นจริง โดยคำตอบจะไม่มีถูกหรือผิด
ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงได้รับความกรุณาจากท่านด้วยดี ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดกาเครื่องหมาย ลงใน ( ) หน้าข้อความซึ่งตรงกับความจริงเกี่ยวกับตัวท่านมากที่สุด
ปฏิบัติการสอนอยู่ในโรงเรียน
( ) โรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียน 1 – 400 คน
( ) โรงเรียนขนาดกลาง มีนักเรียนตั้งแต่ 401 - 800 คน
( ) โรงเรียนขนาดใหญ่ มีนักเรียนตั้งแต่ 801 คนขึ้นไป
ตอนที่ 2 ลักษณะพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
คำชี้แจง ท่านมีความต้องการให้ผู้บริหารโรงเรียนของท่านที่สังกัดอยู่ มีลักษณะพฤติกรรมผู้นำตาม
รายการต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด โปรดกาเครื่องหมาย ตรงกับผลการประเมินของท่าน โดยใช้เกณฑ์
การประเมินค่าความคิดเห็น ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
5 หมายความว่า มีความต้องการอยู่ในระดับ มากที่สุด
4 หมายความว่า มีความต้องการอยู่ในระดับ มาก
3 หมายความว่า มีความต้องการอยู่ในระดับ ปานกลาง
2 หมายความว่า มีความต้องการอยู่ในระดับ น้อย
1 หมายความว่า มีความต้องการอยู่ในระดับ น้อยที่สุด
56
ระดับความต้องการ
มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
ข้อ พฤติกรรม
5 4 3 2 1
ด้านความต้องการในการร่วมประสานสัมพันธ์
1 ผู้บริหารให้ความใกล้ชิดกับบุคคลอื่นได้เสมอเท่าเทียมกัน
2 ผู้บริหารเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆทางสังคมภายนอกได้อย่าง
เหมาะสม
3 ผู้บริหารให้เวลากับทุกคนในการให้คำปรึกษาอย่างจริงใจ
4 ผู้บริหารมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ
5 ผู้บริหารสร้างความสัมพันธ์อันดีและเป็นกันเองกับบุคคลอื่น
เมื่อต้องปฎิบัติงานร่วมกัน
6 ผู้บริหารให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน
7 ผู้บริหารให้ความสนิทสนมใกล้ชิดบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม
8 ผู้บริหารให้ความเป็นกันเองกับบุคคลภายนอกอย่างสม่ำเสมอ
9 ผู้บริหารหาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆที่บุคคลอื่นกำลัง
ดำเนินการอยู่
10 ผู้บริหารหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้ปกครองโดยให้เป็นหน้าที่
ของบุคลากรในองค์การก่อน
11 ผู้บริหารแสดงความเป็นมิตรกับบุคคลทั่วไปได้อย่างเหมาะสม
12 ผู้บริหารแสดงความสำคัญของตนเมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
13 ผู้บริหารให้บุคคลอื่นปฏิบัติต่อตนเองอย่างสนิทสนม
14 ผู้บริหารชักชวนให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและกลุ่ม
ต่าง ๆ
15 ผู้บริหารยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนในองค์การเสนอและ
ร้องขอ
57
ระดับความต้องการ
มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ขอ้ พฤตกิ รรม ทสี่ ดุ
5 4 3 2 1
ด้านความต้องการในการควบคุม
16 ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นชักชวนในการทำกิจกรรม
17 ผู้บริหารให้บุคลากรในองค์การมีโอกาสควบคุมการปฏิบัติ
งานของผู้บริหาร
18 ผู้บริหารให้บุคลากรในองค์การเป็นผู้ตัดสินใจในการดำเนิน
งาน
19 ผู้บริหารให้บุคลากรในองค์การรับผิดชอบกิจกรรมต่าง ๆ ตาม
ลำพัง
20 ผู้บริหารให้ความไว้วางใจในการตรวจสอบการทำงานซึ่งกัน
และกัน
21 ผู้บริหารนำกฎ ระเบียบมาเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของทุก
คน
22 ผู้บริหารให้บุคลกรกระทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกเหนืองานได้
ต่อเมื่อได้รับการพิจารณาตามขั้นตอน
23 ผู้บริหารพยายามมีอิทธิพลอย่างมากเหนือการดำเนินงาน
ของบุคคลอื่น
24 ผู้บริหารชักชวนบุคลากรปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยให้ทุกคน
ได้มีเวลาในการตัดสินใจที่จะทำตาม
25 ผู้บริหารให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบและวิธี
การดำเนินงาน
26 ผู้บริหารใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการมอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติ
งาน
27 ผู้บริหารกำกับและติดตามงานตามลำดับความรับผิดชอบ
58
ระดับความต้องการ
มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
ข้อ พฤติกรรม
5 4 3 2 1
ด้านความต้องการในการควบคุม (ต่อ)
28 ผู้บริหารยอมรับและฟังความคิดเห็นของบุคลากรในการ
ประชุม
29 ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในการอภิปราย
หรือการประชุมที่จัดขึ้น
30 ผู้บริหารให้บุคลากรทำกิจกรรมต่างๆ ตามที่กลุ่มพึงพอใจ
ด้านความต้องการในความรักใคร่ผูกพัน
31 ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วน
ตัวของผู้บริหารเอง
32 ผู้บริหารให้ความรู้สึกที่ดี รักและสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียว
กันในองค์การ
33 ผู้บริหารปฏิบัติตนเองอย่างสนิทสนมและเป็นกันเองกับเพื่อน
ร่วมงาน
34 ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมาสนิทสนมและใกล้ชิดตน
ในรูปแบบต่าง ๆ
35 ผู้บริหารมองโลกในแง่ดี และมีอารมณ์ขันตามโอกาสอันควร
36 ผู้บริหารปฏิบัติตนต่อบุคคลอื่นอย่างใกล้ชิดและจริงใจเสมอ
หน้ากัน
37 ผู้บริหารให้ความสำคัญว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งและสำคัญ
สำหรับองค์การ
38 ผู้บริหารรักและผูกพันองค์การและบุคคลในองค์การ
39 ผู้บริหารมีความเข้าใจในความรู้สึกและเหตุผลของบุคคลากร
40 ผู้บริหารมีความปรารถนาดีและห่วงใยบุคลากรทุกคนเท่า
เทียมกัน
ภาคผนวก ข .
63
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเพื่อหาความตรง (Validity) ของแบบสอบถาม
1. นางประนอม ทวีกาญจน์
ผู้อำนวยการโรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
สำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร
2. นางสาวมาสวิมล รักบ้านเกิด ผู้อำนวยการกองวิชาการ
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
3. นายอุดมศักดิ์ นาดี หัวหน้าฝ่ายทดสอบและประเมินผล
กองวิชาการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
4. ดร.สรายุทธ์ เศรษฐ์ขจร อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5. ผศ.สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
…………………………………………………
ภาคผนวก ค .
59
ตารางประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า จำแนกเป็นรายสำนักงานเขต/
โรงเรียน ในกลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ขนาดโรงเรียน ขนาดโรงเรียน
ลำดับ
ที่
สำนักงานเขต/โรงเรียนในกลุ่ม
รัตนโกสินทร์
เล็ก กลาง ใหญ่ รวม เล็ก กลาง ใหญ่ รวม
พระนคร - - - - - - - -
1 วัดตรีทศเทพ 15 - - 15 4 - - 4
2 วัดราชนัด 12 - - 12 3 - - 3
3 วัดมหรรณพ์ 15 - - 15 4 - - 4
4 วัดสุทัศน์ 10 - - 10 2 - - 2
5 วัดมหาธาตุ 11 - - 11 3 - - 3
6 วัดพระเชตุพน 10 - - 10 2 - - 2
7 วัดราษฎ์บูรณะ 9 - - 9 2 - - 2
8 วัดอินทรวิหาร 16 - - 16 - - 5
9 วัดใหม่อมตรส 11 - - 11 3 - - 3
10 วัดมกุฎกษัตริยาราม - 23 - 23 - 6 - 6
11 ราชบพิตร - 23 - 23 - 6 - 6
รวม 109 46 - 155 28 12 - 40
ป้อมปราบ - - - - - - - -
1 วัดพระพิเรนทร์ 12 - - 12 3 - - 3
2 วัดคณิกาผล 14 - - 14 4 - - 4
3 วัดดิสานุการาม 15 - - 15 4 - - 4
4 วัดสิตาราม - 17 - 17 - 4 - 4
รวม 41 17 - 58 11 4 - 15
ปทุมวัน - - - - - - - -
1 สวนหลวง 17 - - 17 4 - - 4
2 วัดบรมนิวาส - 21 - 21 - 5 - 5
3 วัดชัยมงคล - 22 - 22 - 6 - 6
4 วัดปทุมวนาราม - 23 - 23 - 6 - 6
5 วัดสระบัว - 40 - 40 - 11 - 11
60
ประชากร ประชากร
ขนาดโรงเรียน ขนาดโรงเรียน
ลำดับ
ที่
สำนักงานเขต/โรงเรียนในกลุ่ม
รัตนโกสินทร์
เล็ก กลาง ใหญ่ รวม เล็ก กลาง ใหญ่ รวม
6 ปทุมวัน - 28 - 28 - 7 - 7
7 วัดดวงแข - 21 - 21 - 5 - 5
8 สวนลุมพินี - - 31 31 - - 8 8
9 ปลูกจิต - - 23 23 - - 6 6
รวม 17 155 54 226 4 40 14 58
สัมพันธวงศ์ - - - - - - - -
1 วัดจักรวรรดิ 16 - - 16 4 6 - 4
2 วัดปทุมคงคา 13 - - 13 3 - - 3
3 วัดสัมพันธวงศ์ 11 - - 11 3 - - 3
รวม 40 - - 40 10 - - 10
ราชเทวี - - - - - - - -
1 วัดพระยายัง - 19 - 19 - 5 - 5
2 วัดทัศนารุณสุนทริการาม - 20 - 20 - 5 - 5
3 กิ่งเพชร - - 35 35 - - 9 9
4 วัดดิหงสารม - - 30 30 - - 8 8
รวม - 39 65 104 - 10 17 27
พญาไท - - - - - - - -
1 วัดไผ่ตัน - - 44 44 - - 11 11
รวม - - 44 44 - - 11 11
บางรัก - - - - - - - -
1 วัดหัวลำโพง 19 - - 19 5 - - 5
2 วัดม่วงแค 10 - - 10 3 - - 3
3 วัดมหาพฤฒาราม 11 - - 11 3 - - 3
4 วัดแก้วแจ่มฟ้า 9 - - 9 2 - - 2
5 วัดสวนพลู - 20 - 20 - 5 - 5
รวม 49 20 - 69 13 5 - 18
61
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ขนาดโรงเรียน ขนาดโรงเรียน
ลำดับ
ที่
สำนักงานเขต/โรงเรียนในกลุ่ม
รัตนโกสินทร์
เล็ก กลาง ใหญ่ รวม เล็ก กลาง ใหญ่ รวม
ดุสิต - - - - - - - -
ๅ วัดประชาระบือธรรม - 29 - 29 - 8 - 8
2 วัดสมณานัมบริหาร - 21 - 21 - 5 - 5
3 เบญจมบพิตร - 20 - 20 - 5 - 5
4 วัดธรรมาภิรตาราม - 29 - 29 - 8 - 8
5 สุโขทัย - - 26 26 - - 7 7
6 วัดจันทร์สโมสร - - 30 30 - - 8 8
7 วัดสวัสดิวารีสีมาราม 12 - - 12 3 - - 3
8 วัดราชผาติการาม 12 - - 12 3 - - 3
9 วัดเทวราชกุญชร 18 - - 18 5 - - 5
รวม 42 99 56 197 11 26 15 52
บางซื่อ - - - - - - - -
1 วัดประดู่ธรรมภิปัตย์ - 21 - 21 - 5 - 5
2 วัดเลียบราษฏร์บำรุง - 21 - 21 - 5 - 5
3 วัดบางโพโอมาวาส - - 34 34 - - 9 9
4 วัดสร้อยทอง - - 41 41 - - 11 11
5 วัดทองสุทธาราม - - 28 28 - - 7 7
6 วัดมัชฌันติการาม - - 41 41 - - 11 11
7 ประชาศรัทธาธรรม - 19 - 19 - 5 - 5
รวม - 61 144 205 - 15 38 53
สรุปรวม 298 437 363 1,098 77 112 95 284
ภาคผนวก ง.
73
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ – สกุล นางสาวอภิรดี ศรีประยูร
ที่อยู่ปัจจุบัน 462 ซอยเพชรเกษม 77/8 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม
กรุงเทพมหานคร 10160
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2526 มัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2530 หลักสูตรวิชาชีพ พาณิชกรรม จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมลออ
กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2534 หลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชา ศิลปศาสตร์ (การจัดการทั่วไป)
จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2536 หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชา การศึกษา(การประถมศึกษา)
จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
สถานที่ทำงาน
โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น