วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย (ตอนที่ 1)



การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย : กรณีศึกษา คนพิการทางร่างกาย
ในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายสิรวิชญ์ สวัสดี
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2546
ISBN :
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย : กรณีศึกษา คนพิการทางร่างกาย
ในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายสิรวิชญ์ สวัสดี
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2546
ISBN : 974-373-292-6
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วิทยานิพนธ์ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย : กรณีศึกษา คนพิการทางร่างกายใน
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โดย นายสิรวิชญ์ สวัสดี
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รศ. ดร. นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
กรรมการ ผศ. สุพิศวง ธรรมพันทา
กรรมการ ผศ. บุปผา แช่มประเสริฐ
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
……………………………………………… คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………….………………….….. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
………………………………………………. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร. นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์)
………………………………………………. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวง ธรรมพันทา)
………………………………………...…….. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ)
………………………………………...…….. กรรมการ
(ดร. ทวิช บุญธิรัศมี)
……………………………………………….. กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ)
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Sirawit Sawasdee. (2003). The Rehabilitation of physical disability : A Case study of physical
disability in Phrapradeang vocation rehabilitation center, Department of
Social Welfare, Ministry of Social Development and Human Security. Bangkok :
Graduate School, R.I.B. Advisor committee : Assoc. Prof Dr. Nongluksana Thepsawasdi Asst. Prof. Supisuang Dhampunta Asst. Prof. Boobpha Champrasert.
A study on “The Rehabilitation of physical disability : A Case study of physical disability in
Phrapradeang vocation rehabilitation center, Department of Social Welfare, Ministry of Social Development and Human Security.” aims to study factors effecting rehabilitation of physical disability. It is an exploratory research, the population studies were disable persons totally 60 cases. The data was analyzed by statistical method using t-test, Oneway ANOVA and co-valuation of Pearson at the level of significance 0.05. The findings were:-
1. The difference factors such as age, education level, marital status, type of disability,
duration of disability has relationship with the rehabilitation of the physical disability differently.
2. The experience from training program and experience from paticipation of project for
disable persons in vocation rehabilitation center had relation with the efficiancy of rehabilitation of the disable persons.
Recommendation for the rehabilitation of disability.
1. Phrapradeang vocation rehabilitation center should increase training programe for disable persons to choose more training program.
2. Phrapradeang vocation rehabilitation center provide the capital tools and accessories in
vocational for disable persons after the trainning so that they could earn their living after leaving the center.
3. Phrapradeang vocation rehabilitation center should increase project for disable persons the project from which the disable persons desire to learn and receive the learning.
Recommendation for the next research
1. There should be study on the factors effecting social rehabilitation of disable
persons for create training strategy and develop rehabilitation of disable person.
2. The should be study on comparative efficiency social rehabilitation of other
vocations rehabilitation center departments of social welfare, for finding the best development potential of disable persons.
นายสิรวิชญ์ สวัสดี. (2546) การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย : กรณีศึกษา คนพิการทางร่างกาย
ในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม : รศ. ดร. นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
ผศ. สุพิศวง ธรรมพันทา ผศ. บุปผา แช่มประเสริฐ
การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย : กรณีศึกษา คนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพ
คนพิการพระประแดง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง จ.สมุทรปราการ
การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรที่นำมาศึกษาเป็นคนพิการทางร่างกายที่เข้ารับการฝึกอาชีพที่จบหลักสูตรการฝึกอาชีพในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ พระประแดง ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น
60 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ t-test , Oneway ANOVA และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า
1. อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประเภทความพิการและระยะเวลาความพิการ ทแี่ตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน ประสบการณ์2. จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตรและประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับ
ผู้รับการฝึกอาชีพ มีความสัมพันธ์ต่อผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
1. ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรเพิ่มโปรแกรมการฝึกอาชีพให้คนพิการได้เลือกฝึกอาชีพมากกว่าเดิม
2. ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรสนับสนุนในด้านทุนทรัพย์ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพให้กับคนพิการภายหลังที่จบหลักสูตรการฝึกอาชีพไปแล้ว
3. ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรเพิ่มโครงการต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อคนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพโดยคนพิการมีความประสงค์ให้จัดขึ้น
สารบัญตาราง
ตารางที่ 1 หน้า
1 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามเพศ………………………………. 73
2 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามอายุ………………………………. 74
3 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามระดับการศึกษา………………….. 74
4 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามสถานภาพสมรส………………… 75
5 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามสถานภาพภายในครอบครัว ……. 75
6 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามประเภทความพิการ……………… 76
7 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามลักษณะความพิการ……………… 77
8 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามระยะเวลาความพิการ…………… 77
9 ค่าระดับประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร และประสบการณ์จาก
การเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ……...…………………………… 78
10 ค่าระดับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ…………...……………………… 78
11 เปรียบเทียบผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจำแนกตามเพศ…………....… 79
12 ความแปรปรวนของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการกับตัวแปรอายุ……… 79
13 ความแปรปรวนของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการกับตัวแปร
ระดับการศึกษา………………………………………………………………… 80
14 ความแปรปรวนของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการกับ
ตัวแปรสถานภาพสมรส……………………………………………………….. 80
15 เปรียบเทียบผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจำแนกตาม
สถานภาพภายในครอบครัว…………………………………………………… 81
16 ความแปรปรวนของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพกับตัวแปร
สถานภาพสมรสภายในครอบครัว…………………………………….………. 81
17 เปรียบเทียบผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพจำแนกตามลักษณะ ความพิการ…….. 82
18 ความแปรปรวนของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการกับ
ตัวแปรระยะเวลาความพิการ…………………………………………….……. 82

สารบัญตาราง (ต่อ)
ตารางที่ หน้า
19 ค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปร ความสัมพันธ์ของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการกับประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร………………..…..…. 83
20 ค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปร ความสัมพันธ์ของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการกับประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับ
ผู้รับการฝึกอาชีพ……………………………………………………….…..…... 83
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………………………………………… 10
แผนภาพที่ 2 โครงสร้างการบริหารงานศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง……………. 48
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ เรื่อง การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย กรณีศึกษา : คนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำเร็จลงด้วยดีเนื่องจากได้รับการดูแลเอาใจใส่ตรวจแก้ไขอย่างละเอียดจากคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพิศวง ธรรมพันทา และผู้ช่วยศาสตราจารย์บุปผา แช่มประเสริฐ ขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ นอกจากนี้ขอกราบขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง
ที่ได้สละเวลาอันมีค่ามาเป็นประธานในการสอบวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้
ขอขอบคุณคุณพ่อ และคุณแม่ ที่ได้ให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษาด้วยดีมาโดยตลอดขอบคุณญาติพี่น้องที่เป็นกำลังใจ และพี่น้องชาวสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนารุ่น 1 และรุ่น 2 ที่เป็นกำลังใจและให้ความช่วยเหลือ
คุณค่าและประโยชน์ของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ขอมอบแด่บุพการี ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณทุก ๆ ท่าน ด้วยความเคารพอย่างสูง
นายสิรวิชญ์ สวัสดี
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปีคนพิการสากล (International Year for Disabled Persons) พ.ศ. 2524 ซึ่ง
ประกาศโดยองค์การสหประชาชาติ มีสาระสำคัญว่า “คนพิการจะได้รับสิทธิเช่นเดียวกับคนอื่นในสังคม เป็นต้น
ว่า สิทธิที่จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ สิทธิที่จะได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และการมีงานทำที่เหมาะสม”
(ขนิษฐา เทวินทรภักติ 2540 : 27) และหลังจากนั้นในหลายประเทศได้รับการจัดประชุมสัมมนาในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
กับคนพิการหลายครั้ง มีข้อมติและรายงานการประชุมที่นำไปสู่แนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคนพิการ โดย
เฉพาะ “แผนปฏิบัติการระดับโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ” (World Programme of Action Concerning Disabled Persons) ซึ่งได้รับรองจากสมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติในสมัย
ประชุมที่ 31 เมื่อ พ.ศ. 2525 ซึ่งนำมาใช้ในโอกาสที่องค์การ สหประชาชาติได้ประกาศให้มี “ทศวรรษคนพิการ
แห่งสหประชาชาติ” ใน พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นแผนที่มุ่งส่งเสริมมาตรการที่ได้ผลในการป้องกันความ
พิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการและการตระหนักว่าคนพิการต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในการดำเนิน
ชีวิต และในการพัฒนาของประเทศ ซึ่งหมายถึงว่า คนพิการต้องมีโอกาสเท่าเทียมกับบุคคลอื่นในการได้รับผลอัน
เนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในโลกที่มีคนพิการมากกว่า 500 ล้านคน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก
ความบกพร่องทางจิต ทางกาย หรือประสาทรับความรู้สึก คนพิการเหล่านี้ย่อมมีสิทธิและโอกาสอันเท่าเทียมกับ
คนทั่วไป การป้องกันรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการมักตกเป็นภาระของรัฐบาล แต่ไม่ได้หมายความว่าความ
รับผิดชอบในส่วนของสังคม บุคคลและองค์กรต่าง ๆ จะน้อยลง รัฐบาลแต่ละประเทศได้ปลุกเร้าให้สังคมตระหนัก
ถึงการยอมรับให้คนพิการได้มีส่วนร่วมทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง รัฐบาลได้สร้างความมั่นใจให้กับ
คนพิการ ให้ความเชื่อมั่นว่าคนพิการจะมีมาตรฐานชีวิตเท่าเทียมกับประชาชนทั่วใป องค์กรเอกชนสามารถส่งเสริม
งานของรัฐบาลโดยการเสนอปัญหาออกในรูปของความจำเป็น เสนอวิธีแก้ไขที่เหมาะสม และร่วมให้บริการ
กระจายความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศ ความสำเร็จอันเกิดจากการนำแผนปฏิบัติการนี้ไปปฏิบัติ
ขึ้นอยู่กับการพัฒนาทางเศรษกิจและสังคม การให้บริการด้านมนุษยธรรมอย่างกว้างขวางต่อประชาชน
ในประเทศไทย ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (2534 :8) พ.ศ. 2534
โดยมีเหตุผลในการประกาศพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ คนพิการเป็นทรัพยากรส่วนหนึ่งของประเทศ แต่เนื่องจาก
สภาพของความพิการเป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิต ในการประกอบอาชีพ และในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ
สังคมโดยที่สมควรสนับสนุนส่งเสริมให้คนพิการได้มีโอกาสในด้านต่าง ๆ สามารถดำรงชีวิต ประกอบอาชีพ และ
มีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคมเท่าเทียมกับคนปกติทั่วไป คนพิการสมควรจะได้รับการคุ้มครอง การสงเคราะห์
การพัฒนา และการฟื้นฟู
2
สมรรถภาพโดยวิธีการทางการแพทย์ ทางการศึกษา ทางการฝึกอาชีพ ทางสังคม และตลอดจนแก้ไข
ปัญหาและขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่คนพิการ รวมทั้งให้สังคมมีส่วนร่วมใน
การเกื้อกูลและฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพัฒนาตนเองได้โดย
ให้การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ความเป็นมนุษย์ และความเป็นพลเมืองไทย มีส่วนร่วมในทางการ
เมือง กำหนดนโยบาย รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ชุมชน สังคม และรัฐทุกระดับ
การได้รับข้อมูลข่าวสาร สิ่งอำนวยความสะดวก และการคุ้มครองจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจาก
สังคม
รัฐบาลไทยในทุกยุคสมัยได้เล็งเห็นและยอมรับในความสำคัญของการสงเคราะห์และฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการ โดยได้ตระหนักว่าคนพิการนั้นยังเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อสังคม หากได้รับ
การฟื้นฟูปรับสภาพ และฝึกอบรมวิชาชีพที่เหมาะสมกับความพิการ กำลังความสามารถ สติปัญญาก็
สามารถฟื้นฟูให้เกิดประโยชน์ได้ เพื่อให้คนพิการสามารถประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอยู่ในสังคม
ได้ด้วยตนเอง ไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม อีกทั้งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
ในปี พ.ศ. 2511 กรมประชาสงเคราะห์ได้จัดตั้ง ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง ภายใต้สังกัด
กระทรวงมหาดไทยเป็นแห่งแรก ต่อมาได้โอนหน่วยงานมาสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2536 และในปี พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนชื่อจากกรมประชาสงเคราะห์มาเป็นกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ขยายการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการเพิ่มขึ้นในภูมิ
ภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ จนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 8 แห่ง ซึ่งมีนโยบายในการดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคน
พิการคือ คือ
1. เพื่อพัฒนาผู้พิการทุกด้านทั้งทางร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา อันได้แก่การฝึก
อาชีพให้ดำเนินการไปพร้อม ๆ กันอย่างมีประสิทธิภาพ และบังเกิดผลแก่ผู้พิการให้มากที่สุด
2. เพื่อฝึกผู้พิการให้อยู่ในกฎระเบียบวินัย สามารถออกไปทำงานภายนอก ได้ใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับ
บุคคลปกติได้ และสังคมยอมรับผู้พิการมากขึ้น
3. เพื่อดำเนินการฝึกภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีให้แก่ผู้รับการฝึกอาชีพ อันจะเป็น
ประโยชน์หลังจากผู้พิการสำเร็จการฝึกอาชีพออกไปทำงานภายนอกแล้ว
4. เพื่อฝึกคุณธรรม ความอดทน ความซื่อสัตย์ ฝึกการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับคนอื่น ฝึกการ
พัฒนาตนเองให้ปฏิบัติตน ประพฤติดี ประพฤติชอบ
5. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอาชีพได้รับความรู้ ประสบการณ์ในการศึกษาดูงานฝึกงานตาม
สถานประกอบการต่าง ๆ
ความสนใจของการพัฒนาศักยภาพคนพิการในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย จากจำนวนคนพิการทั่วราช
อาณาจักร 1.1 ล้านคน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2544 : 9) ซึ่งจากการที่ได้มีการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ ทั้ง
ในส่วนของภาครัฐ สังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งปัจจุบันสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
3
: 6) ซึ่งศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง เดิมสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สังกัดกระทรวงการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ
ของคนพิการแห่งแรกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมี เป้าหมาย คือ ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ให้พร้อมกลับเข้าสู่สังคม
และสามารถดำเนินชีวิตต่อไปเหมือนคนปกติ เตรียมความพร้อมในงานอาชีพและการประกอบอาชีพ ฝึกอบรม
อาชีพให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตวามความถนัดและเหมาะสมกับสภาพร่างกาย สามารถ
ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง ครอบครัวและอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข และมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง คือ
1. ให้การฝึกอบรมและอาชีพแก่คนพิการทุกประเภทที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทาง
ร่างกายให้มีความสามารถและความชำนาญงาน เพื่อประกอบอาชีพในสถานประกอบการและอาชีพอิสระ
2. ให้การฟื้นฟูและแก้ไขสภาพความพิการของอวัยวะตามหลักการแพทย์ อาทิ การจัดแขนเทียม เบรส
รองเท้าสำหรับคนพิการ รถเข็น รถโยก ไม้ค้ำยัน การผ่าตัดอื่น ๆ ตามที่แพทย์วินิจฉัยให้การรักษาฟื้นฟูเฉพาะราย
3. ให้การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านจิตใจและสังคมช่วยเหลือผู้พิการให้ได้รับความเข้าใจ
สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคม ยอมรับและเชื่อมั่นในตนเอง รู้ถึงวิธีการปฏิบัติการวางตน และ
สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุขในสังคม
4. ให้คำแนะนำปรึกษาและแนะแนวทางในการฝึกวิชาชีพ ตลอดจนมีการประเมินผลการฝึกอาชีพ
เพื่อให้การประกอบอาชีพของผู้พิการได้ผลสูงสุดตามทักษะความสามารถ มีรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัวโดย
ไม่เป็นภาระต่อสังคม
5. จัดหางานให้กับผู้พิการที่สำเร็จการฝึกอาชีพของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง
ได้ทำงานในสถานประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระ
แต่ผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้งในเรื่องการฝึกอาชีพและการประกอบ
อาชีพ จำนวนมากแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดและปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการฟื้นฟู
สมรรถภาพ โดยเฉพาะคนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น
(รุ่งมณี ตุลกิจจาวงค์ 2542 : 58 อ้างจาก ชีวาพร คุ้มจอหอ 2544 : 2)
1. การขาดการเตรียมความพร้อมทางร่างกาย คนพิการส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการฟื้นฟูและปรับสภาพทาง
ด้านร่างกายมาก่อน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการฝึกอาชีพและการใช้งาน ซึ่งถ้าหากคนพิการจำเป็นจะต้องฟื้นฟู
สภาพในการฝึกอาชีพก็จะทำให้คนพิการเรียนไม่ทันผู้อื่นเกิดความล่าช้าในการฝึกอาชีพ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความ
ท้อแท้เบื่อหน่ายในการฝึกอาชีพ และไม่อาจสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
2. การขาดเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจ คนพิการส่วนมากจะประสบปัญหาทางด้านอารมณ์และ
จิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนพิการภายหลังซึ่งเมื่อตกอยู่ในสภาพความพิการแล้วมักจะท้อแท้ สิ้นหวัง หมดอาลัยใน
4
3. การขาดการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษา คนพิการส่วนมากจะมีการศึกษาค่อนข้างต่ำ บางราย
ไม่ได้รับการศึกษาเลยซึ่งมีสาเหตุมาจากความยากจน ทัศนคติของครอบครัวที่มีต่อสภาพความพิการ ประกอบกับ
สถานศึกษาคนพิการมีขีดจำกัด ขาดวัสดุ อุปกรณ์และบุคลากรที่มีความรู้ ทำให้คนพิการถูกละเลยในด้านการศึกษา
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการฝึกอาชีพของคนพิการ
4. ปัญหาจากสภาพสังคม จากเจตคติของสังคมที่มองคนพิการเป็นคนไร้ความสามารถไม่สามารถพึ่ง
พาตนเองได้ ต้องอาศัยความช่วยเหลือเกื้อกูลจากสังคมนั้น ทำให้คนพิการไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ทั้งในด้าน
ความสามารถและสิทธิในการอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นผลให้คนพิการไม่กล้าที่จะออกไปสู่
สังคมหรือแม้แต่จะทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และเมื่อคนพิการเข้ามารับการฝึกอาชีพก็มักจะประสบปัญหาในด้านการ
ปรับตัว ไม่สามารถเข้ากับผู้อื่นและสภาพแวดล้อมได้ ไม่ยอมรับกฎระเบียบต่าง ๆ ของสังคม บางรายมีทัศนคติต่อ
สังคมหรือมองโลกในแง่ลบ
สรุปได้ว่า ปัญหาของคนพิการในการอยู่ร่วมกับคนในสังคมปกตินั้น คนพิการยังขาดปัจจัยในการพัฒนา
ตนเองและปรับตัวให้เข้ากับสังคม ขาดความพร้อมด้านต่าง ๆ ของคนพิการ ทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์จิตใจ
และการศึกษา ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในสังคมของคนพิการ ซึ่งในสังคมที่เจริญแล้วย่อมไม่ปล่อยปละละ
เลยให้คนพิการถูกทอดทิ้ง เป็นไปตามยถากรรม คนในสังคมจะต้องร่วมมือกันช่วยเหลืออุ้มชู ให้คนพิการหลุดพ้น
จากความเดือดร้อนทุกข์ยาก นอกจากเป็นการขจัดปัญหาสังคมตั้งแต่ต้นแล้ว ยังเชื่อว่าเป็นผู้ที่มีมนุษยธรรมที่ได้ช่วย
ชุบชีวิตใหม่ให้คนเหล่านี้อีกด้วย ช่วยแก้ปัญหาให้คนพิการอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติสุข มองโลกในแง่ดี
อนาคตสดใส ความช่วยเหลืออุ้มชูจากผู้ที่มีร่างกายเป็นปกติ จะทำให้ผู้พิการรู้สึกภูมิใจในตนเอง ว่าเขาก็เป็นส่วน
หนึ่งของสังคมที่มีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติได้ การช่วยเหลือเพื่อให้เข้าช่วยตัวเองได้
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนในสังคมทุกคน ที่จะเอื้อประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ด้อยโอกาสเช่นคนพิการได้มีศักยภาพในการ
ดำเนินชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสิทธิ โอกาส และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้
1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพ
คนพิการพระประแดง จ.สมุทรปราการ
2. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระ
ประแดง จ.สมุทรปราการ
5
สมมติฐานในการวิจัย
สมมติฐานที่ 1 คนพิการที่มีเพศแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
แตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 2 คนพิการที่มีอายุแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
แตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 3 คนพิการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟูสมรรถคนพิการ
แตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 4 คนพิการที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 5 คนพิการที่มีสถานภาพภายในครอบครัวแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 6 คนพิการที่มีประเภทความพิการแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 7 คนพิการที่มีลักษณะความพิการแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 8 คนพิการที่มีระยะเวลาความพิการแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 9 ประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตรมีความสัมพันธ์ต่อผลของการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
สมมติฐานที่ 10 ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพมีความ
สัมพันธ์ต่อผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพและจบการศึกษาตามหลักสูตรการ
ฝึกอาชีพ ปีการศึกษา 2545 ในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง
อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 60 คน
6
นิยามศัพท์เฉพาะ
คนพิการ หมายถึง คนพิการทางร่างกายที่เข้ารับการฝึกอาชีพ ในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ
พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีความพิการตามที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกำหนดคุณสมบัติในการ
เข้ารับการฝึกอาชีพ
ผู้รับการฝึกอาชีพ หมายถึง คนพิการทางร่างกายที่เข้ารับการฝึกอาชีพ ณ ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระ
ประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
การฟื้นฟูสมรรถภาพ หมายถึง การเสริมสร้างสมรรถภาพ หรือความสามารถด้านต่าง ๆ
ของคนพิการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ การศึกษา อาชีพ ตลอดจนการปรับตัวด้านสังคมให้กลับคืน
สู่สภาพที่ดีขึ้น เพื่อสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
เพศ หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของคนพิการที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย
อายุ หมายถึง ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมาถึงปัจจุบันของคนพิการ
ระดับการศึกษา หมายถึง ภาวะการได้รับการศึกษาหรือการศึกษาขั้นสูงสุดที่คนพิการได้รับและได้วุฒิการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากรัฐ
สถานภาพสมรส หมายถึง สภาพการมีคู่ครองของคนพิการ โดยแบ่งเป็น โสด , สมรส , หม้าย , หย่า
ร้าง และแยกกันอยู่
สถานภาพในครอบครัว หมายถึง ภาวะการเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นสมาชิกภายในครอบครัว
ประเภทความพิการ หมายถึง ความพิการทางร่างกายที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนทางสรีระ
โดยแบ่งเป็น พิการแขนหนึ่งข้าง พิการแขนสองข้าง พิการขาหนึ่งข้าง พิการขาสองข้าง
พิการนิ้วมือไม่ครบ พิการอัมพาตท่อนล่าง พิการอัมพาตครึ่งซีก พิการกระดูกสันหลังคด
พิการทางการได้ยิน และพิการมากกว่าหนึ่งอย่าง
ลักษณะความพิการ หมายถึง ความพิการทางร่างกายของคนพิการที่มีมาตั้งแต่กำเนิดและความพิการที่
เกิดขึ้นในภายหลัง
7
ระยะเวลาความพิการ หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่มีความพิการจนถึงปัจจุบัน
ประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร หมายถึง การมีความรู้ ความสามารถและ
ทัศนคติที่ดีจากการเข้ารับการฝึกตามกระบวนการฝึกอบรมอาชีพของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ
พระประแดงจนจบหลักสูตร
ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ หมายถึง การมีความรู้ ความ
สามารถและทัศนคติที่ดีจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการที่จัดขึ้นสำหรับผู้รับการ
ฝึกอาชีพ โดยศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงจัดเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากโปรแกรมการฝึกอาชีพ
ปกติตามหลักสูตร
ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ หมายถึง ผลสำเร็จของการเสริมสร้างสมรรถภาพ
หรือความสามารถด้านต่าง ๆ ของคนพิการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ การศึกษา อาชีพ ตลอดจนการ
ปรับตัวด้านสังคมให้กลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้น ประกอบด้วย การช่วยเหลือตนเอง
การช่วยเหลือครอบครัว การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม การประกอบอาชีพ การได้รับความยอมรับจากผู้อื่น การ
เห็นคุณค่าในตนเอง และการเชื่ออำนาจในตนเอง
การช่วยเหลือตนเอง หมายถึง การปฏิบัติกิจกรรมและภารกิจส่วนตัวได้ด้วยตนเอง โดยมิ
ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น
การช่วยเหลือครอบครัว หมายถึง การมีส่วนร่วมในการแบ่งเบาภาระและปฏิบัติกิจกรรม
ต่าง ๆ ภายในครอบครัวของตนเอง
การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม หมายถึง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมที่คนส่วนใหญ่ร่วม
กันปฏิบัติ
การประกอบอาชีพ หมายถึง ความเชื่อมั่นในความรู้และความสามารถของตนเองในการ
เลือกประกอบอาชีพสุจริต เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง
การได้รับความยอมรับจากผู้อื่น หมายถึง ความคิดเห็น ความรู้ ความสามารถและทักษะ
ต่าง ๆ ของคนพิการที่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือร่วมปฏิบัติกิจกรรมใด ๆ กับผู้อื่น
เป็นที่ยอมรับและชื่นชม โดยไม่ได้รับการต่อต้านหรือปฏิเสธ
8
การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองที่จะกระทำสิ่ง
หนึ่งสิ่งใดได้สำเร็จ มีความนับถือตนเอง มีความพอใจที่ได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่นในสังคม
การเชื่ออำนาจในตนเอง หมายถึง ความเชื่อมั่นของตนเองในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ประสบความ
สำเร็จหรือได้รับความล้มเหลวนั้นมาจากการกระทำของตนเองและประสบการณ์ที่ได้รับจากภายนอก
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ
1.1 เพศ
1.2 อายุ
1.3 ระดับการศึกษา
1.4 สถานภาพสมรส
1.5 สถานภาพภายในครอบครัว
1.6 ประเภทความพิการ
1.7 ลักษณะความพิการ
1.8 ระยะเวลาความพิการ
1.9 ประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร
1.10 ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ
2. ตัวแปรตาม
ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
2.1 การช่วยเหลือตนเอง
2.2 การช่วยเหลือครอบครัว
2.3 การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
2.4 การประกอบอาชีพ
2.5 การได้รับความยอมรับจากผู้อื่น
2.6 การเห็นคุณค่าในตนเอง
2.7 การเชื่ออำนาจในตนเอง
9
กรอบแนวคิดในการวิจัย
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนพิการและการฟื้นฟูสมรรถภาพคน
พิการ ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวความคิดในการวิจัย โดยแบ่งเป็นตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม ตามแผนภาพที่ 1 ดังนี้
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ
ตัวแปรตาม
ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
1. การช่วยเหลือตนเอง
2. การช่วยเหลือครอบครัว
3. การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
4. การประกอบอาชีพ
5. การได้ความยอมรับจากผู้อื่น
6. การเห็นคุณค่าในตนเอง
7. การเชื่ออำนาจในตนเอง
1. เพศ
2. อายุ
3. ระดับการศึกษา
4. สถานภาพสมรส
5. สถานภาพภายในครอบครัว
6. ประเภทความพิการ
7. ลักษณะความพิการ
8. ระยะเวลาความพิการ
9. ประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร
10. ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการ ฝึกอาชีพ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
ในการศึกษาวิจัย เรื่อง การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย จะทำให้ทราบถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มี
อิทธิพลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการ ในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง
จังหวัดสมุทรปราการ ตลอดจนข้อเสนอแนะและแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่คนพิการในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพ
คนพิการ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
61
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้เสนอตามหัวข้อต่อ
ไปนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
2. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิทยา
3. ความรู้เกี่ยวกับคนพิการ
4. ความรู้เกี่ยวกับศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง
5. แนวคิดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
6. แนวคิด การเรียนรู้ทางสังคม
7. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ
1. แนวคิดเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
1.1 ประวัติความเป็นมาของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (พูนศักดิ์ ประมงค์ 2533 : 123-
125)
ประวัติศาสตร์การจัดโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับคนพิการในประเทศตะวันตกที่ผ่านมาได้เปลี่ยนจากการมองคนพิการว่าเป็นเชื้อสายที่ชั่วร้ายในสังคม และน่าดูถูกเหยียดหยามมาเป็นการยอมรับและให้การปฏิบัติต่อคนพิการอย่างดีขึ้น จากอดีตที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของเรื่องปรัญชาและค่านิยมของสังคมในแต่ละยุคสมัยและยังขึ้นอยู่กับความเชื่อในด้านเศรษฐกิจและการเมืองอีกด้วย คอล์สโท (Kolstoe) และเฟรย์ (Frey) ได้แบ่งยุคการปฏิบัติต่อคนพิการออกเป็น 5 ยุค คือ
1) ยุคแห่งการทำลายล้าง ในสังคมดั้งเดิมมนุษย์จะเสาะแสวงหาเลี้ยงชีพเพื่อการอยู่รอด
สมาชิกแต่ละคนถูกคาดหวังให้หาเลี้ยงตนเองและนำความเจริญมาสู่สังคม ส่วนพวกคนพิการซึ่งไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงตกเป็นภาระของสังคมไปโดยปริยาย ด้วยเหตุนี้เด็กพิการที่เกิดมาจึงถูกกำจัดให้พ้นไปจากสังคม ตัวอย่างเช่น ชาวสปาตาในยุคกรีกโบราณ ได้คาดหวังว่าเด็กทุกคนจะต้องมีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายถือว่าเป็นตัวถ่วงความเจริญของสังคม ดังนั้น เพื่อให้สังคมอยู่รอดได้ เด็กเหล่านี้จะถูกขับไล่ออกจากชุมชนและปล่อยให้
62
ตายอย่างอเน็จอนาถ ในกรุงโรมเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว เด็กที่เกิดมาพิการจะถูกนำไปปล่อยในท่อระบายน้ำโสโครก และปล่อยให้เสียชีวิตไปเอง
2) ยุคแห่งการดูแคลน ก่อนยุคกลางเป็นยุคของชนชั้นนายทุนที่ดิน ความสัมพันธ์ของคนในสังคมเป็นแบบผู้ดีกับไพร่ บรรดาไพร่จะทำงานเป็นผู้ดูแลรักษาที่ดินให้แก่ชนชั้นผู้ดี ความสัมพันธ์เป็นไปในเชิงการพึ่งพิงผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน เมื่อแนวความคิดความต้องการพื้นฐานได้นำมาใช้ในสังคม คนพิการจึงได้รับการผ่อนปรนมากขึ้น การปฏิบัติต่อคนพิการด้วยการทำลายล้างได้เปลี่ยนมาเป็นการเยาะเย้ยดูแคลน และคนพิการยังคงถูกจัดให้เป็นชนชั้นที่ต่ำสุดในสังคม
3) ยุคแห่งการสงเคราะห์ จากยุคกลางที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของ
สังคมที่มีต่อคนพิการมากขึ้น โดยการนำของชาวนิกายโรมันคาทอลิค สังคมได้เริ่มให้ความสำคัญในคุณค่าความเป็นมนุษย์ของคนพิการ คริสต์ศาสนาได้สอนว่า มนุษย์ทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้าและควรค่าแก่การมีชีวิตอยู่รอด โดยได้เน้นว่าคนพิการเป็นบุคคลที่สังคมควรให้การดูแลเอาใจใส่ จากคำสอนนี้ ทำให้มีการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนพิการขึ้น และสถานสงเคราะห์กับวัดจึงเป็นที่พักพิงของคนพิการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
4) ยุคแห่งการศึกษา ระหว่าง คริสศตวรรษ 18 พระได้หันมาให้การศึกษาแก่คนพิการนอกเหนือจากการตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งนับได้ว่าเป็นชั้นแรกที่นำไปสู่การฟื้นฟูสมรรถภาพ แนวความคิดใหม่ในการให้การศึกษาแก่คนพิการได้แพร่หลายไปยังสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ อย่างช้า ๆ พลเมืองทั่วไปจึงได้ทราบถึงความสามารถในการเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในวงการศึกษา สังคมอุตสาหกรรมต้องการผู้ที่มีการศึกษามากยิ่งขึ้น พลเมืองในประเทศจึงพ้นสภาพจากความไม่รู้หนังสือ ซึ่งรวมถึงความพิการทั้งหลายด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเหตุผลที่มีการจัดโปรแกรมการศึกษาสำหรับคนพิการเป็นเพราะความต้องการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของสังคมนั่นเอง
5) ยุคแห่งงานอาชีพ นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวทางการศึกษา ซึ่งเป็นการปฏิบัติต่อคนพิการในรูปแบบใหม่แล้ว ยังได้มีการพัฒนาการจัดโปรแกรมการฝึกงานจำนวน 1940 โปรแกรมขึ้น ซึ่งเป็นความเพียรพยายามที่จะพัฒนาความสามารถสูงสุดของแต่ละบุคคลในวงการอาชีพ การเคลื่อนไหวนี้ยังคงเป็นที่แพร่หลายอยู่มาก โดยดูได้จากโปรแกรมฝึกงานใหม่ ๆ ที่จัดขึ้นสำหรับคนพิการในปัจจุบัน
63
สำหรับประวัติความเป็นมาของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในประเทศไทยนั้น มีจุดเริ่มต้นไม่แตกต่างจากประเทศทางซีกโลกตะวันตกมากนัก เนื่องจากวิถีชีวิต การดำรงชีพ ค่านิยม ของคนไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนาซึ่งสอนให้คนมีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนร่วมโลก วัดจึงมีบทบาทสำคัญในการให้การสงเคราะห์แก่ผู้ยากไร้รวมถึงผู้พิการด้วยและในขณะเดียวกันยังทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่คนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ผู้ชาย เนื่องจากในสมัยก่อนนิยมให้ผู้หญิงอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน เรียนงานเย็บปักถักร้อยอยู่กับบ้าน ประวัติการให้การสงเคราะห์และฟื้นฟู
สมรรถภาพของประเทศไทยแตกต่างจากประเทศทางตะวันตกตรงที่ว่า ประเทศไทยไม่เคยมีประวัติการสงเคราะห์คนพิการหรือผู้ยากไร้ โดยการฆ่าฟันหรือปล่อยให้ตายอย่างอนาถา แนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้เริ่มทวีความสำคัญขึ้นในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยได้มีการจัดให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่บรรดาทหารที่พิการเป็นลำดับแรก คนพิการอื่น ๆ จึงมีโอกาสได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ค่านิยมของคนไทยยังเชื่อถือเรื่องบาปบุญอยู่ โดยเชื่อว่าความพิการเป็นผลมาจากเวรกรรมเมื่อชาติปางก่อน ทำให้รู้สึกอับอายที่จะต้องออกไปพบปะผู้คน นอกจากนี้ยังมีคนพิการอีกจำนวนไม่น้อยที่อยู่ห่างไกลความเจริญ มีฐานะยากจนและไม่เคยทราบเรื่องการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพของหน่วยงานต่าง ๆ มาก่อนเลย จึงทำให้มีคนพิการจำนวนมากที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพและมีความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก
ในปัจจุบันนี้รัฐบาลและเอกชนรวมทั้งองค์การนานาชาติ เช่น องค์การสหประชาชาติ
องค์การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการระหว่างประเทศ ได้ให้ความสำคัญแก่คนพิการมากยิ่งขึ้น โดยมีความเชื่อว่าคนพิการเป็นทรัพยากรที่มีค่าของประเทศชาติ ถ้าหากได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพให้เขาสามารถกระทำหน้าที่ทางสังคมได้ตามศักยภาพที่เขามีอยู่ ซึ่งดีกว่าปล่อยให้คนพิการเหล่านี้อยู่อย่างลำบากและเป็นภาระแก่สังคม หน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพของรัฐ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ให้การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์
กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาพิเศษให้แก่คนพิการและสนับสนุนการศึกษาของโรงเรียนเอกชนต่าง ๆ เช่น โรงเรียนสอนคนตาบอด โรงเรียนปัญญาวุฒิกร ฯลฯ กระทรวงมหาดไทย ให้การสงเคราะห์และฟื้นฟูอาชีพคนพิการ โดยได้จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการทั้งในเมืองหลวงและส่วนภูมิภาค ส่วนองค์การเอกชนที่ให้การสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูป
ขององค์การ สมาคม หรือมูลนิธิต่าง ๆ เช่น สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นต้น
64
1.2 ความหมายของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
การพึ่งตนเองได้ของคนพิการ ถือเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญหรือเป็นหัวใจของการช่วยเหลือคนพิการ ทั้งนี้
เพราะบุคคลพิการส่วนใหญ่ ร่างกาย จิตใจ และสติปัญญามิได้พิการโดยสิ้นเชิง ยังมี ศักยภาพของมนุษย์
(potential manpower) อย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าจะสูญเสียความสามารถไปเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น การสูญเสีย
อวัยวะของร่างกายที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ บางครั้งก็อาจเป็นการสูญเสียความสามารถในหน้าที่ของอวัยวะส่วนนั้น ซึ่งอาจ
เป็นการถาวรหรือเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น หากได้รับการบำบัดรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่แรกเริ่มแล้วคนพิการ
ก็จะมีความสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด ฉะนั้นแนวทางสำคัญที่จะนำไปสู่การช่วยเหลือคนพิการที่ถูกต้องคือ การ
ส่งเสริมให้บุคคลพิการให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพนั้นเองได้มีผู้ให้ความหมายของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
(Rehabilitation) ไว้มากดังนี้
การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
พ.ศ. 2534 หมายถึง การเสริมสร้างสมรรถภาพหรือการเสริมสร้างความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยอาศัยวิธีการทางการแพทย์ ทางการศึกษา ทางสังคม และการฝึกอาชีพ เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทำงานหรือดำรงชีวิตในสังคมทัดเทียมคนปกติ
คง สุวรรณรัต (2529) กล่าวว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพ หมายถึง การทำการรักษาและฟื้นฟูสภาพของร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งให้การศึกษาและฝึกอาชีพที่เหมาะสมให้กลับสู่สภาพร่างกายและจิตใจที่เป็นอิสระ สามารถประกอบอาชีพช่วยตนเองได้ไม่เป็นภาระต่อผู้อื่นหรือสังคม ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาส่วนของร่างกายที่พิการประการหนึ่ง กันอีกประการหนึ่งคือ การบริหารส่วนของร่างกายที่ไม่พิการให้มีความแข็งแรง คล่องแคล่ว สามารถทำหน้าที่ทดแทนส่วนที่พิการได้ จนสามารถประกอบอาชีพดูแลตนเองและครอบครัวอยู่ในสังคมได้โดยอิสระ
อุดม ลักษณวิจารณ์ (2525) ได้ให้ความหมายว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพ คือขบวนการที่ผดุงรักษาความสามารถในการทำกิจกรรมในการปฏิบัติภารกิจประจำวัน และดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนภายหลังจากที่เจ็บป่วยหรือหลังได้รับอุบัติเหตุให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับความสามารถเดิมให้มากที่สุด เพื่อที่จะทำให้ผู้พิการนั้นสามารถดำรงชีวิตในชุมชนได้อย่างปกติสุขโดยพึ่งตนเองได้มากที่สุด
65
การฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นการเสริมสร้างหรือพัฒนาร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ หรือเรียนรู้พัฒนาการเดิมที่จำเป็นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะใช้ความสามารถที่เหลืออยู่ได้อย่างเต็มที่ในการแสดงออกด้านอารมณ์ ร่างกาย สังคม และการหาเลี้ยงชีพ โดยกำหนดให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมเพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ตามหลักวิชา โดยการแนะนำจากผู้มีความรู้ด้านนี้ โดยเฉพาะกิจกรรมในการฟื้นฟู
สมรรถภาพระหว่างบุคคล ทักษะใหม่ ๆ จะทำให้ผู้ป่วยสามารถจะกำหนดแนวทางของชีวิตใหม่ และทำให้รู้สึกว่าการดำรงชีพ การทำงาน และการพักผ่อนหย่อนใจ การสนุกในยามว่างกับผู้อื่น ก่อให้เกิดความสบายใจและความหวังใหม่
พลอากาศโทนายแพทย์สดับ ธีระบุตร (2527) ได้ให้ความหมายว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการ หมายถึง การใช้วิทยาการสาขาต่าง ๆ เพื่อทำให้สมรรถภาพของคนพิการที่สูญเสียไปหรือยังไม่มีกลับคืนสู่สภาพปกติที่มนุษย์ควรจะมีมากที่สุด และเร็วที่สุดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ถ้าเป็นการสูญเสียอวัยวะก็จะต้องหาวิธีให้คนพิการนั้นใช้ความสามารถอื่นมาทดแทนความสามารถเดิมที่ขาดหายไป เช่น มือขวาขาดไม่สามารถเขียนหนังสือได้ก็ฝึกให้ใช้มือซ้ายเขียนแทน หรือสวมใส่มือเทียมให้ใช้การแทน หรือหัดใช้อวัยวะอื่น เช่น ปาก เท้า แขน มือที่ขาดหายไป เป็นต้น นอกจากการฟื้นฟูสมรรถภาพให้คนพิการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เองโดยใช้อวัยวะเทียมหรือไม่ก็ตาม ต้องให้คนพิการมีขวัญดี กำลังใจดี มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ และมีความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสิ่งแวดล้อมที่สะดวกสบายด้วย
สรุปแล้วการฟื้นฟูสมรรถภาพ หมายถึง กระบวนการเสริมสร้างสมรรถภาพและความสามารถต่าง ๆ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และด้านอาชีพเพื่อสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมกับคนปกติได้อย่างมีความสุข
1.3 ความสำคัญและความจำเป็นของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ความสำคัญและความจำเป็นของการสงเคราะห์และการฟื้นฟูสมรรถภาพ สามารถพิจารณาได้ดังนี้ คือ
1) เป็นสิทธิที่คนพิการจะต้องได้รับ มนุษยชาติทุกคนมีสิทธิของมนุษยชนชั้นพื้นฐานที่จะต้องได้รับในด้านต่าง ๆ คนพิการก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความพิการที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด หรือความพิการที่เกิดขึ้นภายหลังก็ตาม คนพิการต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิและได้รับสวัสดิการของคนพิการ
66
ทั้งนี้โดยสมัชชาใหญ่ขององค์การ สหประชาชาติ ได้ประกาศปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ 2 ฉบับ คือ
(1) ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของบุคคลปัญญาอ่อน
(2) ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ
ปฏิญญาทั้งสองฉบับได้ระบุถึงสิทธิของคนพิการว่ามีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องได้รับ
การสงเคราะห์และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ดังนี้
(1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของบุคคลปัญญาอ่อน องค์การสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญานี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2509 มีสาระสำคัญ คือ
ก) บุคคลปัญญาอ่อนได้รับสิทธิพื้นฐานตามวัย เช่นเดียวกับพลเมืองของแต่ละประเทศ
ข) บุคคลปัญญาอ่อนไม่ว่าจะเป็นขนาดหนักหรือไม่เพียงไร มีสิทธิได้รับการเยียวยาทางการแพทย์และทางกายภาพบำบัด ตลอดจนได้รับการศึกษา อบรม ฟื้นฟูสมรรถภาพตามความสามารถที่พึงมีพึงได้
ค) บุคคลปัญญาอ่อนย่อมคงไว้ซึ่งสิทธิที่จะได้รับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการครองชีพตลอดจนมีสิทธิที่จะทำงานและประกอบอาชีพตามความถนัด ตามสถานที่พึงมีพึงได้
ง) บุคคลปัญญาอ่อนมีสิทธิที่จะอยู่กับครอบครัวของตนเองกับบิดา มารดา
บุญธรรมหรือผู้อุปการะ โดยได้ชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนั้น ๆ ด้วย โดยมีสิทธิเข้าร่วมใน
กิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน ของครอบครัวที่เขาสมัครใจอยู่ด้วย และบริการมีอย่างไรย่อมต้องพยายามให้พวกเขาได้รับ เช่นบุคคลปกติธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่าที่จะสามารถเป็นไปได้
จ) บุคคลปัญญาอ่อนมีสิทธิที่จะมีผู้พิทักษ์ที่มีคุณสมบัติ ในกรณีที่เป็นการรักษาผลประโยชน์และเพื่อการกินดีอยู่ดีของเขา แต่บุคคลที่มีหน้าที่ให้บริการแก่บุคคลปัญญาอ่อนนั้นจะถือว่าเป็นผู้พิทักษ์ที่มีคุณสมบัติของบุคคลปัญญาอ่อนหาได้ไม่
ฉ) บุคคลปัญญาอ่อนมีสิทธิที่จะได้รับการปกป้องจากการกระทำที่เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่ผิดและเลวร้าย ถ้าหากถูกจับกุมในข้อกล่าวหาใด ๆ ก็ตาม ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยคำนึงถึงความสูงต่ำของสติปัญญาเป็นดุลยพินิจ
ช) บุคคลปัญญาอ่อนไม่สามารถจะใช้สิทธิให้ได้ผลเต็มที่ได้ แต่เนื่องจากความเป็นปัญญาอ่อนขนาดหนัก การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมย่อมกระทำได้ วิธีการสำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือการปฏิเสธการใช้สิทธิต้องประกอบด้วยหลักประกันทางกฎหมายเพื่อปกป้อง ต่อต้านการกระทำอันใดที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ซึ่งต้องยึดเอาผลทางความ
67
สามารถทางสังคมของบุคคลปัญญาอ่อนเป็นบรรทัดฐาน โดยผู้ชำนาญที่ได้รับการรับรองคุณสมบัติแล้ว และต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาเป็นคราว ๆ ไป และสิทธิการอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูง
(2) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิคนพิการ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยระบุสิทธิของคนพิการดังนี้ คือ
ก) คำว่า “คนพิการ” หมายถึง ใครก็ตามที่ไม่สามารถปฏิบัติสิ่งที่จำเป็นที่คนปกติหรือชีวิตสังคมทั่วไปต้องทำเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดได้ด้วยตนเองซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางกายหรือสมอง โดยเป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ก็ตาม
ข) คนพิการควรได้รับสิทธิที่กล่าวถึงในประกาศนี้ สิทธิเหล่านี้จะจัดให้คนพิการโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ และไม่มีการแบ่งแยกเนื่องจากเชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา สิทธิทางการเมืองหรือความเห็นที่ขัดแย้งกัน สัญชาติหรือพื้นฐานทางสังคมและฐานะ ชาติกำเนิด หรือ
สถานการณ์อื่นใดเกี่ยวข้องกับคนพิการหรือครอบครัว
ค) คนพิการ มีสิทธิที่จะได้รับความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมีมาแต่กำเนิด คนพิการไม่ว่าจะมาจากชาติกำเนิดใด หรือมีลักษณะธรรมชาติและความมากน้อยของความพิการ และความบกพร่องต่างกันเพียงใด มีสิทธิพื้นฐานเหมือนกันกับเพื่อนร่วมชาติที่อยู่ในวัยเดียวกัน ซึ่งหมายถึง สิทธิที่จะมีชีวิตที่ดีพอสมควร และมีชีวิตสมบูรณ์เท่าที่จะเป็นไปได้เช่นเดียวกับคนปกติ
ง) คนพิการมีสิทธิมนุษยชนและมีสิทธิทางการเมืองเช่นเดียวกับคนปกติทั่ว ๆ ไป
จ) คนพิการมีสิทธิตามที่ประกาศไว้ที่จะได้รับการฝึกให้เป็นคนพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด
ฉ) คนพิการมีสิทธิที่จะได้รับการรักษาด้านการแพทย์ จิตวิทยา และการรักษาเพื่อให้ทำงานได้ รวมทั้งอวัยวะเทียมและกายอุปกรณ์ต่าง ๆ มีสิทธิที่จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านการฝึกอาชีพ ด้านสังคม และด้านอาชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ คำแนะนำ การบริการเกี่ยวกับการจัดหางานทำ และการบริการอื่น ๆ ที่จะช่วยให้คนพิการได้พัฒนาความสามารถ ทักษะให้ถึงขีดสุดและช่วยทำให้กระบวนการที่จัดให้คนเหล่านี้เข้าร่วมชีวิตกับสังคมของคนปกติได้เร็วขึ้น
ช) คนพิการมีสิทธิจะได้รับความมั่นคง ปลอดภัยทางเศรษฐกิจและสังคม และมีสิทธิที่จะมีชีวิตพอสมควร เขามีสิทธิซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของเขาที่จะทำงานในหน้าที่หรือเข้าร่วมในอาชีพที่มีประโยชน์ มีผลดีและได้รับความพอใจและมีสิทธิที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ
สหภาพแรงงาน
68
ซ) คนพิการมีสิทธิที่จะทำให้ความต้องการพิเศษของเขาได้รับการพิจารณาในทุกขั้นตอนของการวางแผนเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม
ฌ) คนพิการมีสิทธิที่จะอาศัยอยู่กับครอบครัวของเขาหรือกับผู้ปกครองที่รับเลี้ยงดูและเข้าร่วมในกิจกรรมสังคม การสร้างสรรค์ หรือกิจกรรมด้านนัทนาการทั้งหมดจะไม่มีใครสามารถต่อต้านเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของคนพิการ หรือปฏิบัติต่อคนพิการแตกต่างไปจากคนปกติโดยไม่มีความจำเป็น ถ้าคนพิการจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในสถานที่ที่จัดให้เป็นพิเศษ สภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่จะต้องคล้ายกับตนที่อยู่ในวัยเดียวกันมากที่สุด
ญ) คนพิการจะได้รับการคุ้มครองจากการปฏิบัติที่จะเป็นการกีดกัน ทำร้ายหรือ
ดูถูก
ฎ) คนพิการจะต้องทราบว่าเขามีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือ เมื่อความช่วยเหลือนั้นจำเป็นมากต่อการที่จะช่วยป้องกันคนพิการเองและทรัพย์สินของเขา ถ้ากระบวนการทางศาลได้ตัดสินไม่เห็นชอบต่อการให้ความช่วยเหลือ กระบวนการทางกฎหมายที่จะนำไปใช้ตัดสินต่อไปก็จะต้องพิจารณาถึงสภาพร่างกายและสติปัญญาของคนพิการด้วย
ฏ) องค์การคนพิการต่าง ๆ อาจเป็นประโยชน์ในการให้คำแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิของคนพิการ
ฐ) คนพิการ ครอบครัวของคนพิการและชุมชน จะต้องได้รับการบอกเล่าโดยใช้วิธีการ
เหมาะสมเกี่ยวกับสิทธิที่ได้ประกาศนี้
2) เป็นความจำเป็นที่จะต้องสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการให้ได้มากที่สุด
และเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เพราะคนพิการเป็นสมาชิกของสังคมที่จะมีส่วนในการพัฒนาประเทศได้เหมือนคน
ปกติทั่วไป ความพิการที่เกิดขึ้นนอกจากจะทำให้สูญเสียกำลังความสามารถในการทำงาน หรือความสามารถมีขีด
จำกัดทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่แล้วนั้น ยังทำให้เกิดภาระในการรักษาพยาบาลดูแล การจัดบริการต่าง ๆ ให้
แก่คนเหล่านี้ซึ่งเป็นภาระทั้งต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ แม้ว่าจำนวนคนพิการในประเทศไทยรวมทั้ง
หมดแล้วไม่ถึงร้อยละ 5 หรือร้อยละ 10 ตามที่องค์การอนามัยโลกและองค์การยูเนสโกคาดการณ์ไว้ก็ตาม แต่
หากปล่อยคนพิการเหล่านี้ไว้โดยไม่ได้รับการสงเคราะห์หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพแล้วนั้น จะเป็นการสูญเสียกำลัง
การพัฒนาประเทศ และเป็นการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจอย่างน่าเสียดาย เพราะคนพิการเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า หาก
ได้รับการพัฒนาความสามารถที่ถูกทาง นอกจากเขาจะสามารถช่วยเหลือตัวเอง เลี้ยงตัวเองได้ โดยไม่เป็นภาระแก่
ครอบครัว แก่สังคมแล้วนั้น กำลังแรงงาน ความสามารถ สติปัญญาของเขาเหล่านั้นสามารถที่จะเป็นกำลังในการ
พัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี
1.4 ปรัชญาของการฟื้นฟูสมรรถภาพ (กรมประชาสงเคราะห์ 2514)
1) คนพิการเป็นบุคคลที่มีสิทธิมนุษยชนอย่างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับบุคคลที่มีอวัยวะ
69
สมบูรณ์ทั้งหลาย ดังนั้น เขาจึงมีสิทธิได้รับมาตรการแห่งความคุ้มครอง และความช่วยเหลือทุก ๆ อย่าง ที่เป็นไป
ได้จากประเทศของเขา และโอกาสที่จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
2) โดยสภาพแห่งความพิการของเขานี้เอง เขาย่อมตกอยู่ในอันตรายจากความกระทบ
กระเทือนทางอารมณ์และจิตใจ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความรู้สึกถูกตัดรอน และข้องขัด ซึ่งฝังลึกอยู่ในจิตใจ
ดังนั้น เขาจึงควรมีสิทธิเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจ และความช่วยเหลือในทาง
สร้างสรรค์จากสังคมเป็นพิเศษ
3) เขาสามารถพัฒนาสมรรถภาพที่ยังคงเหลืออยู่ในตัวให้สูงขึ้นไปถึงระดับสูงจนคาดไม่ถึง ถ้าให้
โอกาสที่เหมาะสมแก่เขา และโดยทั่วไปแล้วเขาอาจจะกลายเป็นผู้มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อประเทศชาติ แทนที่
จะเป็นภาระแก่ตัวเอง ครอบครัวและประเทศชาติ
4) คนพิการเขาจะมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อชุมชนในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่
สวัสดิการทางเศรษฐกิจของชาติในทุก ๆ ทางเท่าที่สามารถจะกระทำได้ ภายหลังจากการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
แล้ว
5) ความต้องการที่สำคัญที่สุดของคนพิการก็คือ การใช้ชีวิตอยู่อย่างอิสระในชุมชนเช่นคนปกติ
ธรรมดาแทนที่จะใช้ชีวิตแยกไปอยู่ต่างหากในสถานสงเคราะห์
6) การฟื้นฟูปรับสภาพคนพิการจะสามารถทำได้สำเร็จ ถ้าได้รับความร่วมมือจากทางการแพทย์
การศึกษา สังคม และการอาชีพ ในการให้ความช่วยเหลือร่วมมือกันอย่างจริงจัง
1.5 พื้นฐานของการวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพ
1) การวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพจะต้องตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ ซึ่งได้รับ
การวินิจฉัยแล้วอย่างชัดแจ้ง
2) การวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพจะต้องให้สอดคล้องกับศักยภาพ เป้าหมายและสภาพแวดล้อม
ของบุคคลที่แตกต่างกัน
3) หน่วยงานที่ให้บริการจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้รับบริการ เพื่อส่งเสริมการวางแผน หรือ
ความสำเร็จของงาน ซึ่งเป็นไปตามสัมพันธภาพทางวิชาชีพ โดยมีลักษณะสนับสนุนมากกว่าเพื่อการบริการ หรือ
การใช้อำนาจกับผู้รับบริการในการให้บริการ การวางแผนต้องเกี่ยวข้องกับการพิทักษ์สิทธิของผู้รับบริการและวาง
แนวทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้รับบริการแต่ละคน
4) การวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพจะต้องเป็นการพัฒนา การร่วมมือร่วมใจในการใช้ทรัพยากรใน
ชุมชนซึ่งจะสนับสนุนให้การวางแผนนั้นเป็นความเป็นไปได้หรือเป็นจริงขึ้นมา
1.6 กระบวนการและลักษณะการฟื้นฟูสมรรถภาพ
การฟื้นฟูสมรรถภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ลักษณะนี้เรียกว่า
กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพ (rehabilitation process) ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ผู้ป่วยก้าวเข้ามาในโรงพยาบาล
เนื่องจากได้รับอันตรายครั้งแรกจากการเกิดโรค หรือเริ่มมีอาการที่ทำให้เกิดการเสื่อมสลายหรือสูญเสียระบบอวัยวะ
70
จำเป็นของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังต้องมีการดูแลติดตามผลเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและให้ได้ผล
อย่างจริงจัง
องค์การสหประชาชาติได้ให้แนวความคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลพิการไว้ว่า
(องค์การสหประชาชาติ แปลโดย นิรมล กุยยกานนท์ 2534)
1) คนพิการมีสิทธิมนุษยชนสมบูรณ์เช่นคนทั่วไป จึงควรมีสิทธิได้รับมาตรการแห่งการคุ้มครอง
และการช่วยเหลือ ตลอดจนโอกาสในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
2) โดยสภาพของความพิการ บุคคลเหล่านี้ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์และจิตใจ
อันเนื่องมาจากปัญหาของเขาเองในด้านต่าง ๆ เขาจึงควรมีสิทธิเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจและการสร้างสรรค์จาก
สังคมเป็นพิเศษ
3) ถ้าได้รับโอกาสที่เหมาะสม คนพิการจะสามารถพัฒนาสมรรถภาพของตนเองให้ดีขึ้นได้ และจะ
กลายเป็นผู้มีประโยชน์ต่อประเทศแทนที่จะเป็นภาระของสังคม
4) คนพิการย่อมมีความรับผิดชอบต่อชุมชนในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาติเท่าที่กระทำได้ภายหลัง
การฟื้นฟูสมรรถภาพแล้ว
5) คนพิการต้องการมีชีวิตอยู่อย่างอิสระในชุมชนคนปกติแทนที่จะไปอยู่ในที่พิเศษต่างหากที่ถูก
แบ่งไว้สำหรับบุคคลพิการโดยเฉพาะ
6) การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจะสำเร็จได้ก็โดยบุคคลในวงการต่าง ๆ ในสังคมให้ความร่วมมือ
และให้โอกาสอย่างจริงจัง
จากแนวความคิดด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการขององค์การสหประชาชาติจะเห็นได้ว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งรวมทั้งแนวคิดและประสบการณ์จากนานาประเทศ จากอดีตที่ผ่านมามักเข้าใจกันว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการให้ได้รับความสำเร็จอย่างแท้จริงนั้น จำเป็นต้องนำคนพิการเข้ารับบริการโดยอยู่ประจำในสถาบันเท่านั้น เช่น โรงพยาบาล โรงเรียนและสถานสงเคราะห์ เป็นต้น นอกจากนั้นจะเห็นได้จากประสบการณ์ความเชื่อถือที่ผ่านมานั้นปรากฏว่า คนพิการอาจมีสมรรถภาพทางร่างกายที่มีประสิทธิภาพสามารถประกอบอาชีพได้โดยต้องใช้ชีวิตอยู่ในสถาบัน หรือสถานที่ที่จัดไว้ให้โดยเฉพาะสำหรับคนพิการเท่านั้น แต่ความสำเร็จนี้มิใช่ถือว่าเป็นความต้องการโดยแท้จริงของคนพิการ ความสุขและความสำเร็จที่แท้จริงนั้น คือ ความสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือความสามารถที่จะใช้ชีวิตในสังคมและในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างเท่าเทียมกัน
71
1.7 การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบ่งออกเป็น 4 สาขา (ขนิษฐา เทวินทรภักติ 2539 : 52- 67)
1) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการแพทย์ (Medical Rehabilitation) หมายถึง
การฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีทางการแพทย์แก่คนพิการ ตามกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพความพิการให้ดีขึ้น ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การตรวจวินิจฉัย การให้คำแนะนำ ปรึกษา การบำบัดรักษาโรคโดยการให้ยาหรือศัลยกรรม การพยาบาล
เวชกรรมฟื้นฟู การฟื้นฟูปรับสภาพด้วยวิธรการต่าง ๆ เช่น กายภาพบำบัด แก้ไขการพูดหรือ
อรรถบำบัด กิจกรรมบำบัดการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน พฤติกรรมบำบัด จิตบำบัด การให้ความช่วยเหลือกายอุปกรณ์เสริมและเทียมหรือเครื่องช่วยความพิการตามความเหมาะสมกับสภาพความพิการ และบริการสังคมสงเคราะห์ คนพิการขอรับบริการดังกล่าวโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้จากสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขหรือมหาวิทยาลัยของรัฐ และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
2) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการศึกษา (Education Rehabilitation) หมายถึง การได้รับบริการด้านการศึกษาที่เหมาะสมแก่คนพิการในวัยเรียน ในระบบการศึกษาในโรงเรียน ตั้งแต่การศึกษาระดับการศึกษาภาคบังคับ การศึกษาสายสามัญ อาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษา ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ การเรียนในโรงเรียนพิเศษเฉพาะทาง การเรียนร่วม การศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความเหมาะสมและความสามารถของคนพิการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างสติปัญญา และพัฒนาให้คนพิการมีจริยธรรม ซึ่งมีรูปแบบการศึกษาดังต่อไปนี้
(1) จัดการศึกษาในระบบ เรียนร่วมกับเด็กปกติทั้งในการศึกษาภาคบังคับและสายสามัญและอุดมศึกษาในสถานศึกษาต่อไปของกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัย
72
(2) จัดการศึกษาในโรงเรียนเฉพาะทางทั้ง 4 ด้าน คือ สำหรับเด็กพิการทางการมองเห็น การได้ยิน ทางร่างกาย และทางสติปัญญา ซึ่งยังไม่มีความพร้อมที่จะเข้าเรียนร่วมใน
โรงเรียนปกติได้
(4) จัดการศึกษาร่วมกับโรงพยาบาลสำหรับเด็กพิการที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน
(5) จัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ในหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ
พื้นฐาน ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และสายอาชีพให้แก่คนพิการทุกประเภทความพิการในสถานสงเคราะห์ ศูนย์พัฒนาอาชีพคนพิการและคนพิการในสถานประกอบการที่ไม่มีพื้นฐานความรู้หรือวุฒิทางการศึกษา สายสามัญหรือสายอาชีพ เป็นต้น ให้ได้รับสิทธิและโอกาสในบริการทางการศึกษา
3) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านอาชีพ (Vocational Rehabilitation) หมายถึง
การได้รับการฝึกอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพความพิการ ตลอดจนเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่คนพิการก่อนออกไปประกอบอาชีพในสถานประกอบการภายนอก หรือประกอบอาชีพอิสระที่เหมาะสมกับสภาพความพิการ การจัดหางานให้คนพิการที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านอาชีพและคนพิการที่สามารถทำงานได้ในตำแหน่งงานที่สถานประกอบการกำหนดเข้าทำงานตามความรู้ ความสามารถ ความเหมาะสมกับสภาพความพิการ และลักษณะงานที่คนพิการสามารถกระทำได้ นอกจากนี้ให้บริการแนะแนวให้คำปรึกษาในงานอาชีพ รวมทั้งการประสานงานความร่วมมือกัน ระหว่างนายจ้าง คนพิการ สถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมโอกาสมีงานทำของคนพิการเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนในสถานประกอบการเอกชน ตามกฎกระทรวงเรื่องการจ้างงานคนพิการ รวมถึงการส่งเสริมให้มีการประกอบอาชีพอิสระ โดยสามารถให้บริการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพได้
4) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านสังคม (Social Rehabilitation) หมายถึง การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการในด้านอาคาร สถานที่ และบริการสาธารณะต่าง ๆ โดยจัดบริการให้ความช่วยเหลือคนพิการให้ได้รับพัฒนาคุณภาพชีวิตมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ตลอดจนดูแล
สวัสดิการแก่คนพิการที่เหมาะสม เช่น การให้ความช่วยเหลือเครื่องช่วยเหลือความพิการอย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนพิการเข้ามามีบทบาท และมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางสังคมให้เท่าเทียมคนทั่วไปทั้งในด้านอาชีพ การคมนาคม การใช้ชีวิตประจำวัน นันทนาการ หรือการแข่งขันกีฬาคนพิการ ฯลฯ การให้ความช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ครอบครัวและการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการแก่คนพิการในครอบครัวที่มีฐานะยากจน รวมทั้งให้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยส่งเสริมให้ชุมชน ตั้งแต่คนพิการ ครอบครัว องค์กรท้องถิ่นในทุกระดับทั่วประเทศ ใช้ทรัพยากรชุมชนและ
73
ภูมิปัญญาชาวบ้านให้เกิดประโยชน์ต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาให้คนพิการมากที่สุดเพื่อให้ครอบครัว ชุมชนและสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลและให้การฟื้นฟูสมรรถภาพแก่คนพิการในชุมชนรวมทั้งการจัดบริการด้านต่าง ๆ เพื่อเตรียมหรือส่งเสริมให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม
จะเห็นได้ว่า จากแนวความคิดข้างต้นเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการมิได้มุ่งเน้นเฉพาะทางด้านร่างกายแต่เพียงอย่างเดียว ความสำคัญทางด้านจิตใจรวมถึงสภาพแวดล้อมทางสังคมของคนพิการ มีอิทธิพลอย่างมากต่อการส่งผลความสำเร็จของการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ถือเป็นทางสู่ความสำเร็จในชีวิตของคนพิการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจนสามารถที่จะใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดตัวแปรตามซึ่งคาดว่าจะเป็นผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการซึ่งประกอบด้วย การช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือครอบครัว การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม การประกอบอาชีพ การได้ความยอมรับจากผู้อื่น การเห็นคุณค่าในตนเองและการเชื่ออำนาจในตนเอง ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
2. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิทยา
2.1 แนวคิดการเห็นคุณค่าในตนเอง
2.1.1 ความหมายการเห็นคุณค่าในตนเอง
การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem) เป็นขอบเขตที่บุคคลยอมรับหรือให้คุณค่าตน โดยมีผู้ศึกษาทั้งนักจิตวิทยาและนักวิชาการซึ่งได้ให้ความหมายของการเห็นคุณค่าในตนเองไว้ ดังนี้
กนกวรรณ อังกะสิทธิ์ (2540 : 16) กล่าวว่า การเห็นคุณค่าในตนเองคือการที่บุคคลนั้นสามารถวิเคราะห์ตนเองแล้วพบว่า ตนเองดี มีคุณค่า มีความสามารถในการที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ แล้วประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ และพึงพอใจในการกระทำของตน รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ โดยบุคคลและสังคมรอบข้างยอมรับ
เสาวภา วิชิตวาที (2534 : 37) กล่าวว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง การพิจารณาตัดสินค่าของตนเองตามความรู้สึก และทัศนคติต่อตนเองของบุคคลในเรื่องประสบความสำเร็จ
การประสบความล้มเหลว การปฏิเสธตนเอง การยอมรับตนเองคิดว่าตนเองมีค่าในสังคม ตลอดจนได้รับการยอมรับจากสังคม การได้รับการยอมรับจากบิดามารดา ผู้อาวุโส หรือผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า
74
สรุปความหมายของการเห็นคุณค่าของการเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึงการที่บุคคลนั้นมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองที่ได้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้สำเร็จ และมีความนับถือตนเอง มีความพอใจได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่นในสังคม ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าการเห็นคุณค่าในตนเองนั้นจะเป็นผลมาจากการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ด้วย
2.1.2 กระบวนการรับรู้การเห็นคุณค่าในตนเอง
ทาฟท์ (Taft 1985 อ้างจาก สุธีรัตน์ แก้วประโลม 2538 : 17) กล่าวว่าการที่บุคคลจะรับว่าตนเองมีคุณค่า มีกระบวนการอยู่ 2 ขั้นตอน คือ
1) การประเมินเจตคติและสังคมที่มีต่อตนเอง กระบวนการนี้มีรากฐานมาจากแนวคิดการมองตนเองของ คูเล่ย์ (Cooley) ที่ว่า บุคคลสามารถรู้จักตนเองได้โดยอาศัย
“กระจกมองตน” เป็นการรับรู้คุณค่าของตนเองที่มีรากฐานมาจากการประเมินและการยอมรับของผู้อื่น เป็นความรู้สึกที่ได้รับจากภายนอกต่อคุณค่าของตน
2) ความรู้สึกของบุคคลต่อความสามารถในการตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อม และผลที่ตนได้รับ กระบวนการนี้เป็นความรู้สึกภายในต่อคุณค่าของตนเอง เป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริงของบุคคลในสังคมและผลกระทบของบุคคลที่มีต่อสิ่งแวดล้อม นั่นคือความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง นอกจากจะเปลี่ยนแปลงไปตามวัย วุฒิภาวะและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่เกิดในชีวิต กล่าวคือ ถ้าเหตุการณ์ในชีวิตของบุคคลใดดำเนินไปในด้านดี ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนกระทำ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองก็จะเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าบุคคลใดประสบเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่าตนเองหมดความสามารถไร้ประโยชน์สูญเสียอำนาจความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองก็จะลดลง
แบรี่ (Barry 1989 : 99-100 อ้างจาก วิจิตร แก้วเครือวัลย์ 2544 : 25) กล่าวถึงความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองมีทั้งหมด 4 ด้านคือ
1) ความรู้สึกต่อร่างกายตนเอง หมายถึง บุคคลคิดและรู้สึกต่อรูปร่างและหน้าที่ของร่างกายตลอดจนความสามารถพื้นฐานของร่างกาย
2) ความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กับบุคคลอื่นเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองที่บุคคลคิดและรู้สึกเกี่ยวกับวิธีที่เขามีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ไม่ว่าเป็นคนที่สนิทสนมคุ้นเคยหรือบุคคลที่พบกันโดยบังเอิญ
3) ความสำเร็จของตนเองหมายถึงสิ่งที่บุคคลคิดและรู้สึกเกี่ยวกับความสามารถของ
เขาที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตครอบครัวการทำงานและสิ่งแวดล้อม
75
4) ความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองเป็นความรู้สึกทางนามธรรมและพฤติกรรมที่บุคคลแสดงความสนใจทางศีลธรรมและจิตวิญญาณ
สรุปแล้วกระบวนการรับรู้ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นการแสดงออกถึงลักษณะของตนเอง ทั้งความรู้สึก การมีสัมพันธ์กับบุคคลอื่น หรือสังคม โดยความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองจะเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ นั้น ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่ากระบวนการรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการจะเป็นผลมาจากการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้วย
2.1.3 กลไกพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง
ศรีนวล วิวัฒน์คุณูปการ (2535 : 26) กล่าวว่า ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองเริ่มพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก สิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อพัฒนาการความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองคือ การเลี้ยงดูของพ่อแม่ เด็กที่พัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูงหรือต่ำนั้นมาจากการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
ดวงกมล พึ่งประเสริฐ (2534 : 26) พัฒนาการความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองมีพื้นฐานมาจากการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว อิทธิพลที่สำคัญทำให้เด็กรับรู้เกี่ยวกับคุณค่าของตนเองคือ พ่อแม่ และบุคคลที่สำคัญของเด็กที่แสดงปฏิกิริยาต่อตัวเด็ก เมื่อโตขึ้นปฏิกิริยาจากบุคคลรอบข้างจะมีอิทธิพลต่อเขา ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ในวัยนี้มโนทัศน์เกี่ยวกับตนเองจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากกว่าช่วงอายุอื่น ๆ เด็กวัยรุ่นจะได้รับอิทธิพลจากเพื่อน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนไปตามเพื่อนในวัยเดียวกันที่ตอบสนองต่อเขา การตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองทั้งทางด้านการศึกษา อาชีพ การยอมรับของสังคม ซึ่งการยอมรับและวิพากษ์วิจารณ์ทั้งทางบวกและทางลบจะทำให้เกิดทัศนคติต่อตนเองตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและจะเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในวัยสูงอายุการเกษียณการทำงานการเสียชีวิตของคู่ครองและความสามารถของร่างกายลดลง เป็นต้น
กีล ลินเด็นฟิลด์ (Geal Lindenfield 1995 อ้างจาก สุธีรัตน์ แก้วประโลม 2538 : 18-19) ได้กล่าวถึงลักษณะของบุคคลที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงดังนี้
76
1) สงบและรู้สึกผ่อนคลาย (Calm and Relaxed) สามารถควบคุมตนเองได้แม้เผชิญอยู่กับความยุ่งยาก และความท้าทายที่หวาดกลัวที่อยู่ก็ตาม มักไม่ค่อยมีความเครียดปรากฏอยู่บนใบหน้าแม้จะผ่านการได้รับความกดดันอย่างสูงก็ตาม จะสามารถคืนสู่ความสงบได้อย่างรวดเร็ว
2) ดูแลตนเอง (Well-Nurtured) มีความเป็นอยู่ที่ดีในเรื่องของการดูแลตนเองและการออกกำลังกาย การไม่ทำลายตนเองด้วยการละเลยสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร การนอนหลับ การดื่ม รวมทั้งการแต่งกาย นอกจากนี้ยังดูแลร่างกายตนเองเป็นพิเศษเมื่อเจ็บป่วยหรือตกอยู่ภายใต้ความกดดัน
3) มีพลังและจุดมุ่งหมาย (Energetic and Purposeful) มีชีวิตชีวา ทั้งร่างกายและจิตใจสนุกสนานกับการทำงานในหน้าที่อย่างกระตือรือร้น มีแรงจูงใจสูงมีความคิดสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
4) เปิดเผยและความรู้สึก (Open and Expressive) สามารถสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา ทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง ซึ่งบ่งชัดถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้ทันที และสามารถควบคุมหรือหยุดความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้เมื่อต้องการ
5) คิดในทางที่ดีและมองโลกในทางที่ดี (Positive and Optimistic) มักจะไม่ค่อยมีความวิตกกังวลและความกลัวเมื่อพบความผิดพลาด ขณะที่กำลังเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งไม่คุ้นเคย ก็จะสังเกตกระบวนการนั้นอย่างเปิดเผยและรู้สึกปลอดภัยเมื่อปลดปล่อยความเครียดแล้วก็จะกลับมาแก้ปัญหาใหม่ และมองเห็นโอกาสในการแก้ปัญหาและพัฒนาในสิ่งที่เขาสนใจ
6) มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-Reliant) สามารถที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างอิสระและเป็นตัวของตัวเอง พึ่งพาตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้อื่นคอยชี้แนะ
7) มีความสามารถในการเข้าสังคมและร่วมมือกับผู้อื่นได้ (Sociable and
Co-operative) สามารถเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มและสามารถประนีประนอมเพื่อความเข้าใจอันดีและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน บุคคลเหล่านี้สามารถชื่มชนความสำเร็จของผู้อื่นได้อีกทั้งยังสนับสนุนให้กำลังใจในการพัฒนาตนเองของบุคคลอื่นด้วยแม้จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำก็สามารถแบ่งปันพลังอำนาจได้อย่างเหมาะสม
8) มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม (Apporiately Assertive) สามารถ
ยืนกรานความต้องการและสิทธิของตนได้
77
9) มีการพัฒนาตนเอง (Self-Developing) แม้บุคคลเหล่านี้จะมีการเห็นคุณค่าตนเองสูงแล้วก็ยังตรวจสอบตนอยู่เสมอมีความสุขกับการได้รู้ข้อบกพร่องและความผิดพลาดของตนเองอันจะสามารถพัฒนาพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นได้
สรุปแล้ว การเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการประกอบด้วย ลักษณะความเชื่อมั่นในตนเอง การมองโลกในแง่ดี การกล้าแสดงออก และการพยายามพัฒนาตนเอง ซึ่งลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ผู้วิจัยคาดว่าจะเป็นผลมาจากการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้วย
2.2 แนวคิดการเชื่ออำนาจในตนเอง
2.2.1 ความหมายของการเชื่ออำนาจในตนเอง
รอทเทอร์ (Rotter 1986 อ้างจาก บุญรับ ศักดิ์มณี 2532 : 23) การเชื่ออำนาจในตน เป็นความคาดหวังของบุคคลว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ตนได้รับนั้นเป็นผลจากการกระทำของตนไม่ว่าจะเป็นด้านดีหรือด้านร้ายก็ตามโดยเชื่อว่าถ้ากระทำดีก็จะได้ผลดี ถ้ากระทำชั่วก็จะได้รับผลร้ายตอบแทน และคนสามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นได้กับตน แต่ขึ้นอยู่กับเหตุภายนอก เช่น โชคชะตา ไสยศาสตร์ คุณสมบัติภายในตนที่อาจเปลี่ยนแปลงได้
พัชนี เอมะนาวิน (2536 : 15) มีความเห็นว่าการเชื่ออำนาจในตน หมายถึงการที่บุคคลมีความเชื่อหรือรับรู้ว่าเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนทั้งความสำเร็จและล้มเหลวเกิดจากการกระทำของตนเองมีบุคลิกลักษณะที่มีความเชื่อมั่นในตนเองมีความกระตือรือร้นต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และพยายามปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมนั้น ๆ เห็นคุณค่าของทักษะและความพยายามของตนเอง ใช้กระบวนการแก้ปัญหา มีความเชื่อมั่นเหตุผล มีความตั้งใจศึกษาหาความรู้และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น
มนตรี อนันรักษ์ (2517 : 5) ให้ความหมายของการเชื่ออำนาจในตน คือความรู้สึกหรือความคิดเห็นของคนด้านความสำเร็จความล้มเหลวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของตนเองในทางตรงกันข้ามการเชื่ออำนาจภายนอกตน (การควบคุมภายนอกตน)
คือความรู้สึกหรือความเห็นของบุคคลด้าน ความสำเร็จ ความล้มเหลว หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนนั้นเป็นผลมาจากผู้อื่นไม่ใช่ตนเป็นผู้กระทำ เช่น โชคลาง ความบังเอิญ เป็นต้น
78
อรวรรณ สุขีธรรมรักษ์ (2517 : 33) อธิบายว่าการเชื่ออำนาจในตน หมายถึงความเชื่อที่ว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวหรือความเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดกับตนเป็นผลมาจากการกระทำ ทักษะ หรือความสามารถของตนเอง ส่วนการเชื่ออำนาจภายนอกตน หมายถึงความเชื่อที่ว่าความสำเร็จความล้มเหลวหรือความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนขึ้นอยู่กับโชคลาง ความบังเอิญ หรือขึ้นอยู่กับอำนาจของผู้อื่น
รัตนา ประเสริฐสม (2526 : 10-12) กล่าวว่าการเชื่ออำนาจในตนเองเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่บุคคลนั้นได้มีโอกาสรับรู้สาเหตุของความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเอง บุคคลที่ทำ
กิจกรรมใด ๆ แล้วพบว่าในการที่ตนจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถและความพยายามของตนเอง หากความพยายามมากก็จะประสบความสำเร็จ หากไม่พยายามก็ไม่ประสบความสำเร็จและประเด็นสำคัญคือ เขาจะต้องผ่านประสบการณ์แห่งความสำเร็จและความ
ล้มเหลวมาแล้วบุคคลนั้นจะเป็นผู้ที่เชื่อในอำนาจตนเองสูงในทางกลับกันหากบุคคลที่กระทำกิจกรรมใด ๆ แล้วไม่อาจสรุปได้ว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากตนเองหรือไม่ เช่น การมีประสบการณ์ว่าการกระทำอย่างเดียวกันบางครั้งก็สำเร็จบางครั้งก็ล้มเหลว เกิดจากความพยายามของตนหรือไม่ ยังผลให้เขาเชื่ออำนาจในตนเองต่ำและมีแนวโน้มเชื่อโชคลางสูง
สรุปความหมายของความเชื่ออำนาจในตนเอง คือ ความเชื่อของบุคคลที่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในชีวิตที่เกิดจากประสบการณ์การรับรู้สิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากโชคลาง หรือความบังเอิญรวมทั้งการกระทำของตนเองและผู้อื่น ซึ่งเกิดจากทักษะหรือความสามารถที่มีอยู่ด้วย
2.2.2 ลักษณะความเชื่ออำนาจในตนเอง
พฤติกรรมความเชื่ออำนาจในตนเองของบุคคลก่อให้เกิดความคาดหวังที่จะได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกันจากพฤติกรรมอันใหม่ ความคาดหวังเช่นนี้ก่อตัวขึ้นจากพฤติกรรมหรือเหตุการณ์เฉพาะอันใดอันหนึ่งก่อนแล้วจึงขยายไปครอบคลุมพฤติกรรมหรือเหตุการณ์อื่น ๆ จวบจนกลายเป็น ทัศนคติหรือบุคลิกภาพที่สำคัญในตัวบุคคล นอกจากผลตอบแทนที่ได้รับแต่ละครั้งยังอาจทำให้ความคาดหวังต่อไปสูงขึ้นหรือต่ำลงได้อีกด้วย (Rotter 1971 : 58-59) โดยมีผู้ให้ความหมายเกี่ยวกับลักษณะของการเชื่ออำนาจในตนเอง ดังนี้
79
เวลเดอร์ (อ้างจาก Rotter 1971 : 58-59) พบว่าพวกที่มีความเชื่ออำนาจภายในตนเองจะมีสติดีกว่าควบคุมอารมณ์ทุกข์ได้ดีกว่า ปรับตัวผิดปกติน้อยกว่า วิตกกังวลและพึ่งพาผู้อื่นน้อยกว่าพวกที่มีความเชื่ออำนาจภายนอก
โซโลมอน และ โอเบอร์แลนเดอร์ (Solomon and Oberlander 1974 อ้างจาก บุญรับ ศักดิ์มณี 2532 : 25) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตน โดยอาศัยแนวคิดตามหลักทฤษฎีแรงจูงใจทั่วไป ระบุว่าความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุมเป็นจิตลักษณะที่สำคัญของบุคคลโดยทั่วไป การควบคุมจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
ลักษณะที่ 1 การควบคุมพฤติกรรมของตนเอง การที่คนเลือกกระทำพฤติกรรมตามที่ตนคิด หรือต้องการ เรียกว่า ความเป็นตัวของตัวเอง แต่การกระทำของพฤติกรรมตามที่คนอื่นชักจูงหรือบังคับ จะเรียกว่า “คล้อยตาม”
ลักษณะที่ 2 การควบคุมผลได้หรือผลกระทำ โดยพิจารณาว่า ผลดังกล่าวเกิดจากลักษณะความสามารถและความพยายามของตนเอง หรือเป็นเพราะอำนาจของโชคลาง โอกาสและการกระทำของคนอื่น ถ้าเป็นเพราะทักษะหรือความพยายามของตนเองก็จะเรียกว่า “ความเชื่ออำนาจภายในตนเอง” แต่ถ้าเชื่อว่าเกิดจากโชคลาง หรือบุคคลอื่นจะเรียกว่า “ความเชื่ออำนาจภายนอก” อย่างไรก็ตามการควบคุมพฤติกรรมอาจจะปะปนอยู่มากในหลายสถานการณ์
สรุปลักษณะความเชื่ออำนาจในตนได้ว่า บุคคลที่มีความเชื่ออำนาจในตนจะมีบุคลิกที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงจะมีความมั่นใจในการดำเนินชีวิต ส่วนบุคคลที่มีความเชื่อในอำนาจในตนเองต่ำจะขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ตัดสินใจเรื่องราวของตนเองไม่ได้ ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าความเชื่ออำนาจในตนเองของคนพิการนั้นเป็นผลมาจากการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
3. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคนพิการ
3.1 ความหมายของคนพิการ
80
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2525 : 548) กล่าวถึงคำว่า “พิการ” คือ เสียอวัยวะ มี แขน ขา เป็นต้น เสียไปจากสภาพเดิม
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) (อ้างจาก ปัญชลี อาภัสสร 2539 : 1) ได้กล่าวถึงคนพิการไว้ว่า เป็นความเสียเปรียบของบุคคลหนึ่งที่เกิดจากความชำรุดหรือความบกพร่อง เป็นผลทำให้บุคคลนั้นไม่อาจแสดงบทบาท หรือกระทำอะไรให้เหมาะสมสอดคล้องได้ตามวัย เพศ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ให้ความหมายของคนพิการว่า คนที่มีความผิด หรือ บกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญา หรือ ทางจิตใจ ตามประเภท และหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ประสิทธิ์ ดิศวัฒน์ (2526 : 16) ให้ความหมายว่า ผู้ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกายจนเป็นเหตุให้บุคคลนั้น ไม่สามารถกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามปกติได้ โดยแยกลักษณะความพิการ ดังต่อไปนี้ คือ
1) เป็นง่อย หมายถึง ผู้ที่แขนพิการ การเคลื่อนไหวไม่ได้เป็นปกติ จนไม่สามารถช่วย
ตัวเองได้
2) เป็นใบ้ หมายถึง ผู้ที่พูดไม่ได้ ซึ่งปกติมักจะหูหนวกด้วย
3) หูหนวก หมายถึง ผู้ที่หูหนวกทั้ง 2 ข้าง จนไม่สามารถได้ยินเสียงจากภายนอกได้
4) ตาบอดสนิท หมายถึง ผู้ที่ตาบอดทั้ง 2 ข้าง จนไม่สามารถมองเห็นภาพได้
5) อื่น ๆ หมายถึง ผู้ที่มีความพิการนอกเหนือจากที่กล่าวไว้แล้ว เช่น ผู้ที่ แขน ขาหรือขาขาดทั้ง 2 ข้าง
สรุปแล้ว คนพิการ หมายถึง ผู้ซึ่งมีความบกพร่อง และ หรือ สูญเสียสมรรถภาพทางร่างกาย หรือ จิตใจ ทำให้ไม่สามารถช่วยตัวเองในการกระทำกิจวัตรประจำวัน การเรียนรู้
การประกอบอาชีพ และมีความสัมพันธ์ทางสังคมได้เหมือนอย่างปกติ
3.2 ประเภท : สาเหตุ : ลักษณะความพิการ (กิตติยา รัตนากร 2531 : 10-15)
การพิจารณาประเภทของความพิการนั้นอาจแบ่งได้ตามลักษณะของสาเหตุบ้าง ลักษณะของความพิการ
ที่แสดงให้เห็นบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วประเภทของความพิการแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
81
3.2.1 ความพิการทางกาย (Physical Disability)
3.2.2 ความพิการทางจิต (Mental Disability)
3.2.3 ความพิการทางสังคม (Social Disability)
แม้ลักษณะความพิการทั้ง 3 ประเภท จะแตกต่างกันในลักษณะที่ปรากฏให้เห็นหรือแตกต่างกันโดย
สาเหตุก็ตาม การแบ่งประเภทความพิการดังกล่าวก็ไม่อาจแยกความพิการได้โดยเด็ดขาด
คนพิการคนหนึ่ง ๆ อาจมีความพิการมากกว่า 1 ประเภท คือ สามารถพิการทางกาย โดยมีความพิการทางจิตและพิการทางสังคมร่วมด้วย
3.2.1 ความพิการทางกาย (Physical Disability)
ความพิการทางกายนี้ทางการแพทย์เรียกความพิการนี้ว่า Functional Disability คือ ผู้ที่มีอวัยวะบางส่วนของร่างกายไม่ทำตามหน้าที่ ความพิการทางกายส่วนมากเป็นลักษณะที่ปรากฏให้เห็นโดยชัดเจนทางสรีระ สามารถพิจารณาถึงลักษณะและสาเหตุของความพิการได้ดังนี้ คือ
3.2.1.1 ความพิการแต่กำเนิด
โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงความพิการแต่กำเนิดมักเห็นถึงสภาพความพิการในลักษณะปากแหว่ง เพดานโหว่ นิ้วติดกัน แขน ขาลีบเล็ก เป็นต้น และเข้าใจกันว่า สิ่งที่ทำให้เป็นเช่นนั้นคือ กรรมพันธุ์ เพราะมีความผิดปกติภายในเกิดขึ้นขณะมารดาตั้งครรภ์ หรืออาจจะโทษเป็นเรื่องของบาป กรรมบ้าง แต่โดยสาเหตุของความพิการแต่กำเนิดโดยแท้จริงแล้วมีทั้งสาเหตุจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมที่มีผลให้เกิดความผิดปกติเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ สาเหตุที่ทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดพอจะสรุปได้ดังนี้
1) 20 % ของความพิการเกิดจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เกิดกับมารดาขณะตั้งครรภ์
2) 20 % เกิดจากกรรมพันธุ์ของพ่อหรือ และแม่
3) 60 % เกิดจากสาเหตุทั้ง 2 ประการรวมกัน
82
โดยลักษณะความพิการแต่กำเนิดที่เกิดขึ้นนั้น ถ้าเกิดในขณะที่เริ่มมีการปฏิสนธิสาเหตุมักมาจากองค์ประกอบภายในร่างกาย (Interal Factors) ในขณะที่องค์ประกอบภายนอก (External Factors) จะมีอิทธิพลต่อทารกในครรภ์ที่เจริญเติบโตพอสมควรแล้ว
องค์ประกอบภายใน (Interal Factors) ที่ทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด ได้แก่
1) กรรมพันธุ์ โดยพิจารณาจากความผิดปกติของโครโมโซม (Chromosome) เช่น
(1) ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ Turner’s Syndrome ทำให้เกิดความพิการ ตัวเตี้ย คอสั้น มีลักษณะคล้ายคลึงผังผืดที่คอ ข้อกระดูกศอกกาง
(2) ความผิดปกติโดยมีการเพิ่มโครโมโซมทำให้มีลักษณะ Down’s Syndrome หรือ Mongolism คือ มีความพิการในลักษณะหน้าแบน หน้าผากกว้าง กระดูก
กระโหลกศีรษะด้านหลังแบน กระดูกโหนกไม่ชัดเจน จมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นใหญ่คับปาก มือสั้น ลำตัวไม่สมวัย เท้าจะแบนกว้าง และมีการพิการทางสมองร่วมด้วย
2) ภาวะผิดปกติของระบบฮอร์โมนในมารดา จะทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด
ได้ เช่น กรณีมารดาเป็นเบาหวาน พบว่าโอกาสที่จะให้กำเนิดเด็กที่มีความพิการมีมากกว่ามารดาที่ไม่ได้เป็นเบา
หวาน
องค์ประกอบภายนอก (External Factors) ที่ทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด ได้แก่
1) ไวรัส (Virus) ความพิการแต่กำเนิดโดยเกิดจากการติดเชื้อจากไวรัสนั้นอาจจะไม่เกิดขึ้นทุกกรณี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อโรคและความแข็งแรงของทารกด้วย การติดเชื้อที่สำคัญที่สามารถทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดที่สำคัญคือ การติดเชื้อหัดเยอรมัน (Rubella) ลักษณะความพิการที่เกิดกับทารกคือ เป็นต้อกระจก หูหนวก โรคหัวใจ อาจมีความผิดปกติทางระบบประสาทเช่น สมองเสื่อม เชาวน์สติปัญญาต่ำ เป็นต้น
2) ยา (Drugs) การกินยาระหว่างตั้งครรภ์มีโอกาสทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดของทารกได้ เช่น ยา Thalidomile ซึ่งเป็นยาระงับประสาทและยาลดอาการอาเจียน ลักษณะความพิการที่ปรากฏ เช่น แขน ขากุด ฯลฯ ยาระงับชัก (Anticonvulsant) ลักษณะความพิการคือ
ปากแหว่ง เพดานโหว่ หรือมีอาการทั้ง 2 อย่าง
3) รังสี (Radiation) การที่มารดาได้รับรังสีเมื่ออายุครรภ์ต่ำกว่า 6 สัปดาห์ จะมีโอกาสทำให้ลูกเกิดความพิการที่เกี่ยวข้องระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมองเล็กกว่าปกติ (Microcephaly) อาจเป็นต้อกระจก (Cataracts) เป็นต้น
83
4) การถูกกดทับตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา แรงกดทับที่เกิดขึ้น เช่น การที่มารดามีน้ำคร่ำน้อยเกินไปจะทำให้แรงต่าง ๆ ที่กระทำต่อลูกหรือแรงบีบรัดตัวของมดลูกเองมุ่งเข้าสู่เด็กได้ง่ายขึ้น
5) การขาดอาหารของทารกในระยะแรกของการอยู่ในครรภ์ อาจทำให้เกิดความพิการในลักษณะปากแหว่ง เพดานโหว่ได้ทั้งนี้เพราะเกิดจากการขาดวิตามินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะต้องขาดในระหว่างการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเท่านั้น ถ้ามีการขาดอาหารภายหลังจากการสร้างอวัยวะต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ความพิการแต่กำเนิดจะไม่เกิดขึ้น
6) อายุของมารดาขณะตั้งครรภ์ มารดาที่ตั้งครรภ์ขณะอายุมาก โอกาสที่ลูกจะพิการแต่กำเนิดก็มากด้วยเช่นกัน เช่น ลูกจะมีลักษณะของ Mongolism ได้มาก ทั้งนี้เพราะการที่อายุมากจะทำให้ความสามารถในการผลิตไข่ (Ovum) ไม่สมบูรณ์นั่นเอง
ลักษณะของความพิการแต่กำเนิดซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถแบ่งตามลักษณะของความพิการได้ดังนี้ คือ
1) ความล้มเหลวในการพัฒนาการ (Failure of Development) ได้แก่
(1) การขาดหายไปของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งอย่างสิ้นเชิง เช่น การมีนิ้วมือ
นิ้วเท้าไม่ครบจำนวน การมีไตเพียงข้างเดียว เป็นต้น
(2) การมีอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของร่างกายเล็กกว่าปกติ เช่น การมีหัวเล็กกว่าปกติ (micro cephaly) เป็นต้น
2) การล้มเหลวในการเชื่อมต่อ (Failure of fusion) เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ เป็นต้น
3) การล้มเหลวของการแยกตัวออกจากกัน (Failure of Differentiation) เช่น นิ้วมือติดกันหมด ไตเชื่อมติดกันอยู่ในสภาพรูปเกือกม้า เป็นต้น
4) การล้มเหลวในการเสื่อมสลายตัว (Failure of Atrophy) ได้แก่ กรณีทวารหนักไม่เปิด ซึ่งเกิดจากมีกล้ามเนื้อไปขวางกั้นอยู่ ตามปกติกล้ามเนื้อจะสลายตัวไปก่อนที่เด็กจะคลอด เป็นต้น
5) การล้มเหลวของการสร้างช่องทางเปิดต่าง ๆ (Failure of Invagimation) เช่น ไม่มีช่องของทวารหนัก ไม่มีอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นต้น
6) การล้มเหลวในการสร้างท่อทางเดินต่าง ๆ (Failure of Canalization) เช่น การไม่มีท่อทางเดินน้ำดี การที่ท่อปัสสาวะสั้นกว่าปกติ เป็นต้น
84
7) การล้มเหลวของการเคลื่อนที่ของอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้อวัยวะนั้นอยู่ผิดตำแหน่ง (Failure of Migration) เช่น การอยู่ผิดตำแหน่งของลำไส้ เนื่องมาจากการหมุนตัวไม่ดีของลำไส้ เป็นต้น
8) การสร้างจำนวนอวัยวะเกินปกติ (Reduplication) เช่น มีนิ้วมือเกินจำนวนปกติ เป็นต้น
9) การเจริญเติบโตเกินปกติของอวัยวะ (Hypertrophy) เช่น ต่อมหมวกไตโตแต่กำเนิด เป็นต้น
10) เนื่องจากมีเนื้องอกเกิดขึ้นแทรกแซง (New Growth)
3.2.1.2 ความพิการอันเกิดจากความเจ็บป่วยใน 2 ลักษณะ คือ
1) โรคที่ติดต่อไม่ได้ เช่น หัวใจ หอบ หืด มะเร็ง ฯลฯ โรคอันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ โรคจากการขาดสารอาหาร เป็นต้น ลักษณะของความพิการที่เกิดขึ้น คือ
(1) โรคอันเนื่องจากการประกอบอาชีพ
ก) โรคแพ้พิษแมงกานีส การแพ้พิษเกิดจากการหายใจเอาผงหรือไอระเหยของแมงกานีสเข้าสู่ปอด หรือรับประทานปะปนกับอาหาร น้ำดื่ม อาการแพ้พิษส่วนมากจะเรื้อรังแต่จะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป เช่น ไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง เบื่ออาหาร พูดน้อย ความรู้สึกทางเพศเสื่อม ความพิการที่จะปรากฏให้เห็นในเวลาต่อมา เช่น การเดินมีการกระตุก ท่าเดินแกว่งไปมา ก้าวสั้น ๆ หกล้มบ่อย มีการสั่นกระตุกของปลายแขน ขา และที่สุดจะมีอาการอัมพาตของร่างกายบางส่วน
ข) โรคแพ้พิษตะกั่ว ตะกั่วเข้าสู่ร่างกายโดยเจือปนกับอาหาร น้ำดื่ม
สูดหายใจ แทรกซึมผ่านผิวหนัง อันตรายที่เกิดจากพิษตะกั่วมี 2 ลักษณะ คือ
(ก) แบบเฉียบพลัน จะเบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดแสบปวดร้อนในท้อง ปวดรอบ
สะดือ กล้ามเนื้ออ่อน เป็นต้น
85
(ข) แบบเรื้อรัง จะมีอาการปรากฏทีละน้อย เช่น พบเส้นตะกั่วสีม่วงคล้ำที่เหงือก อาการปวดท้องและเป็นตะคริวบริเวณท้องเป็นระยะ อาการขั้นสุดท้ายที่พบ คือ ข้อมือและข้อเท้าจะห้อย แขน ขาจะลีบ และเป็นอัมพาตในที่สุด
(2) โรคจากการขาดสารอาหาร
ก) โรคจากการขาดวิตามิน เอ ทำให้เกิดความพิการทางตา โรคนี้มักพบร่วมกับโรค
ขาดโปรตีนและแคลอรี่ อาการที่เกิดขึ้นคือ สายตาเสื่อมมีอาการตามัวในตอนกลางคืน มองไม่เห็นในที่มืด ทำให้
เยื่อบุตาแห้ง ตาดำขุ่นขาว กระจกตาแห้งขรุขระและเป็นแผล ในที่สุดตาบอด
ข) โรคจากการขาดวิตามิน ดี ส่วนมากมักจะเกิดในเด็กที่กำลังเจริญเติบโตและมักจะ
หายช้า ลักษณะที่เกิดขึ้นคือ กระดูกอ่อน เปราะ และทำให้แขน ขาโก่ง การเจริญเติบโตช้า
ค) โรคจากการขาดวิตามิน บี 1 อาการชาตามมือ เท้า เจ็บกล้ามเนื้อ แขน ขาไม่มี
กำลัง เป็นตะคริวบ่อย ๆ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตับและหัวใจโต ในรายที่ขาดสารอาหารมากอาจเป็นอัมพาตได้
ง) โรคจากการขาดโปรตีนและแคลอรี่ จะทำให้เกิดความพิการทั้งร่างกายและสมอง
ได้ ทั้งนี้เพราะผลจากการขาดโปรตีนและแคลอรี่ทำให้เด็กขาดวิตามินหลายชนิด เช่น ขาดวิตามิน เอ ทำให้เกิด
ความพิการทางตาได้ การขาดโปรตีนและแคลอรี่อย่างรุนแรงจะทำให้การเพิ่มจำนวนเซลในสมองลดน้อยลง ทำให้
สมองเล็กกว่าปกติ ซึ่งจะมีผลต่อสติปัญญา
จ) โรคจากการขาดธาตุไอโอดีน ผู้ขาดสารอาหารนี้ต่อมไทรอยด์จะบวมโต กลืน
อาหารและหายใจลำบาก ถ้าขาดอย่างมากจะทำให้มีผลต่อการพัฒนากระดูกหยุดชะงักและสติปัญญาต่ำ
ฉ) สำหรับโรคพิการที่เกิดจากโรค เช่น หัวใจ หอบหืด มะเร็ง ฯลฯ นั้น ลักษณะ
ที่อาจสูญเสียอวัยวะบางส่วนโดยการตัดทิ้ง เช่น มะเร็งที่เต้านมทำให้ต้องตัดเต้านมทิ้ง เพื่อป้องกันการลุกลามของ
โรค ส่วนโรคหัวใจ หอบหืดที่ไม่ปรากฏลักษณะความพิการทางกายนั้น แต่โรคเหล่านี้ทำให้เกิดความพิการใน
ลักษณะของการสูญเสียความสามารถในการทำงาน หรือเกิดการเสียเปรียบในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำ
วันอีกด้วย
2) โรคที่ติดต่อได้ เช่น วัณโรค โรคเรื้อน กามโรค ซิฟิลิส ฯลฯ มีลักษณะที่ทำให้เกิด
ความพิการ เช่น
(1) กามโรค เช่น โรคหนองใน อาจติดต่อไปยังลูกได้โดยเฉพาะเวลาคลอดเชื้ออาจเข้า
ทางตาทำให้เด็กตาบอด
(2) ซิฟิลิส ในบางระยะของโรคจะทำให้เกิดอันตรายแก่หัวใจหลอดเลือด
สมอง ตับ ไต ไขสันหลัง กระดูก ข้อ และอวัยวะอื่น ๆ ทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจโต หอบเหนื่อย บวม ถ้าเป็นที่
สมองและไขสันหลังอาจทำให้สติปัญญาเสื่อม วิกลจริตได้ และหากโรคติดต่อผ่านรกเข้าสู่เด็กในครรภ์อาจทำให้
เด็กตายหรือคลอดออกมาพิการ เช่น ตาบอด หูหนวก เป็นอัมพาต เป็นต้น
(3) โรคเรื้อน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและติดต่อได้โดยการแพร่เชื้อ
86
ออกมาตามแผล ผลของโรคจะทำให้เกิดความพิการหลงเหลือ เช่น แขน-ขากุด มีอาการของอัมพาตกล้ามเนื้อ เช่น
นิ้วงอ ข้อมือตก เดินเท้าตก เป็นต้น
3.2.1.3 ความพิการจากอุบัติเหตุ
การเกิดอุบัติเหตุทำให้เกิดความพิการในลักษณะสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยตรงแล้ว
ยังทำให้เกิดความสูญเสียความสามารถในการใช้อวัยวะนั้น ๆ การเกิดอุบัติเหตุเกิดได้
หลายลักษณะ เช่น อุบัติเหตุจากของมีคม อุบัติเหตุจากการตกจากที่สูง การพลัดตกหกล้ม เป็นต้น ซึ่งอุบัติเหตุทุก
ชนิดเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยและความพิการได้ทั้งสิ้น
3.2.1 ความพิการทางจิต (Mental Disability)
ความพิการทางจิตนี้รวมไปถึงความพิการทางสมองด้วย ความพิการทางจิต เช่น การเป็นโรคจิต โรค
ประสาท บุคลิกภาพผิดปกติ ปัญญาอ่อน ภาวะระแวง การติดยาเสพติด เป็นลักษณะของความพิการทางจิต เช่น
1) โรคจิต เป็นโรคทางจิตเวช อาจมีสาเหตุได้ทั้งเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น เนื้องอก
ของสมอง การติดเชื้อ ภาวะเป็นพิษจากสารหรือยาบางอย่าง หรือโรคจิตเกิดจากสาเหตุทางอารมณ์ จิตใจ ลักษณะ
อาการสำคัญของโรคจิต เช่น
(1) มีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ อาจจะเป็นได้ทั้งการแยกตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อมกับ
บุคคลหรือสิ่งต่าง ๆ มีพฤติกรรมถดถอย ไปสู่พฤติกรรมในวัยเด็ก หรือไม่แยกตัวเองแต่สนใจสิ่งแวดล้อม
กระตือรือร้น สร้างสัมพันธ์กับบุคคลหรือสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป ตลอดจนการมี พฤติกรรม บุคลิกภาพแปลก ๆ
เช่น พูดคนเดียว หัวเราะ ร้องไห้คนเดียว แต่งกายด้วยเสื้อผ้าแปลกไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ หรือความนิยม
เป็นต้น
(2) มีความผิดปกติของความคิด ความผิดปกติของประสาทการรับรู้ ความผิดปกติของ
อารมณ์
(3) ไม่สามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ตามสภาพความเป็นจริง มีอาการของการหลงผิดและ
ประสาทหลอน ตลอดทั้งขาดความเข้าใจและรู้จักสภาพของตนเอง ไม่ยอมรับการป่วย เป็นต้น
2) ความพิการทางสมองและปัญญาอ่อน มักเป็นที่เข้าใจกันว่า ความพิการทางสมองและ
ปัญญาอ่อนเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ความจริงแล้วมีความแตกต่างกันทั้งนี้เพราะความพิการทางสมองนั้นเป็นกลุ่มอาการ
ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นในสมอง และมีการทำลายเนื้อสมอง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทำให้เกิดความพิการ
ชนิดต่าง ๆ เช่น ด้านการเคลื่อนไหว ความผิดปกติของการพูด ความผิดปกติทางตา ทางหู ความผิดปกติเกี่ยวกับ
87
ส่วนปัญญาอ่อนนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องมีความพิการทางสมองเกิดขึ้น พยาธิสภาพของสมองอาจผิดปกติ
หรือไม่ผิดปกติก็ได้ แต่ลักษณะสำคัญของปัญญาอ่อนคือ การพัฒนาของสมองหยุดชะงัก เจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำ
ให้เกิดความจำกัดในด้านต่าง ๆ เช่น การเรียน การพัฒนาการไม่สมวัย การปรับตัวเข้ากับสังคม เป็นต้น
3.2.3 ความพิการทางสังคม (Social Disability)
ความพิการด้านนี้ ไม่เป็นความพิการที่มีการสูญเสียหรือความบกพร่องทางร่างกายที่เห็นได้ชัดเจน แต่จะ
เป็นความพิการในลักษณะของความเสียเปรียบ ความด้อยโอกาส การขาดโอกาส ในด้านต่าง ๆ ในสังคม เช่น
1) ด้านสภาพความเป็นอยู่ เช่น ขอทาน ผู้ยากไร้ ทั้งในเมืองและชนบท คนเร่ร่อน คนไร้ที่
พึ่ง เป็นต้น
2) ด้านพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ เช่น อันธพาล โสเภณี คนเป็นโรคพิษสุรา
เรื้อรัง ติดยาเสพติด เป็นต้น
สาเหตุส่วนใหญ่ของผู้ที่ความพิการทางสังคมจะมาจากปัญหาเศรษฐกิจ การอบรมเลี้ยงดู ความสัมพันธ์
ภายในครอบครัว การด้อยโอกาสทางการศึกษา เป็นต้น
สรุปแล้วความพิการทางกาย ความพิการทางจิต และความพิการทางสังคมนั้นอาจเป็นความพิการที่มี
ลักษณะส่งผลต่อเนื่องซึ่งกันและกัน หรือมีลักษณะควบคู่ไปด้วยกันได้ หรือคนพิการคนหนึ่ง ๆ อาจมีความพิการ
ทั้งทางกาย ทางจิต และทางสังคม ในเวลาเดียวกันก็ได้เช่นกันซึ่งผู้วิจัยมีความเห็นว่าน่าจะมีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถ
ภาพคนพิการ ในการวิจัยครั้งนี้ด้วย
3.3 ปฏิกิริยาที่มีต่อความพิการ (กิตติยา รัตนากร 2531 : 21)
ความพิการที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดหรือจากสาเหตุใดย่อมมีผลกระทบต่อผู้พิการทั้งทางตรงและ
ทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพิการทางร่างกายซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียของอวัยวะที่ทำให้เกิดความเปลี่ยน
แปลงทางร่างกายทั้งที่เห็นได้ชัดหรือไม่ชัดเจนก็ตาม ปฏิกิริยาของคนพิการที่มีต่อความพิการที่ได้รับนั้นโดยภาพ
รวมแล้วจะมีหลายลักษณะ เช่น เสียขวัญ หมดกำลังใจ วิตก หดหู่ เครียด กลัว โมโหร้าย ดุร้าย ช่วยตัวเองไม่
ได้ ท้อแท้ เรียกร้อง ก้าวร้าว กังวล เป็นต้น แต่ลักษณะของความรุนแรงของปฏิกิริยาต่าง ๆ เหล่านี้ของแต่ละ
บุคคลย่อมไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ
3.3.1 ลักษณะความพิการที่เกิดขึ้น
88
สภาพความพิการที่ปรากฏให้เห็นมาก น้อยเพียงใด ทำให้เกิดความสูญเสียที่เห็นได้ชัดเจนหรือไม่ สูญ
เสียอวัยวะที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อร่างกายหรือไม่ เช่น คนพิการที่พิการตาบอด แขน ขาขาด ย่อมมี
ปฏิกิริยาต่อความพิการมากกว่าคนพิการโดยกำเนิดที่มีนิ้วมือมากกว่าปกติ หรือพิการโดยสูญเสียนิ้วเท้าบางนิ้วจาก
อุบัติเหตุ เป็นต้น เพราะความพิการนั้นทำให้สูญเสียอวัยวะที่จำเป็นและสำคัญมาก หรือความพิการบริเวณใบหน้า
ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีผลต่อความสวยความงามย่อมจะทำให้มีปฏิกิริยาของความสูญเสียมากกว่าอวัยวะอื่น เป็นต้น
3.3.2 ระยะเวลาของการเกิดความพิการ
หากเป็นความพิการแต่กำเนิด หรือเป็นผู้ที่มีระยะเวลาของความพิการมากกว่า เช่น ผู้พิการทางตา
ปฏิกิริยาของความสูญเสียย่อมน้อยกว่าผู้พิการทางตาภายหลัง เพราะเขาไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้สายตา ไม่
เคยได้รับรู้ต่อการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับคนปกติมาก่อนแล้วมาเกิดความพิการสูญเสียในภายหลัง ย่อมจะ
มีปฏิกิริยาต่อความสูญเสียได้มากกว่าคนที่พิการแต่กำเนิด หรือคนที่พิการตั้งแต่วัยเด็ก เป็นต้น
3.3.3 บุคลิกลักษณะเฉพาะตัว
คนพิการที่มีสภาพจิตใจที่เข้มแข็ง อดทน สามารถยอมรับสภาพและปรับตัวเข้ากับสภาพความพิการนั้น
ๆ ภายในระยะเวลาไม่นาน ฉะนั้นปฏิกิริยาของความรู้สึกของบุคคลที่มีลักษณะเข้มแข็งเช่นนี้จะไม่รุนแรง และไม่
เกิดความรู้สึกยาวนานเหมือนผู้มีสภาพจิตใจอ่อนแอ หวั่นไหว ชอบพึ่งพิงผู้อื่น เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความรุนแรงของปฏิกิริยาที่มีต่อความพิการได้ เช่น สิ่งแวดล้อมทางครอบครัว สังคมของคนพิการ เช่น ถ้าอยู่ในครอบครัวที่ปกป้องเอาอกเอาใจ ตามใจ ช่วยเหลือทุกอย่าง ไม่พยายามให้คนพิการช่วยตนเอง ปฏิกิริยาของเขาก็จะมาก เช่น จะเรียกร้องความสนใจ แสดงความอ่อนแอ ฯลฯ เพื่อให้ได้รับการปฏิบัติและตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ ซึ่งปฏิกิริยาที่มีต่อความพิการเหล่านี้ ผู้วิจัยคาดว่าน่าจะมีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในการวิจัยครั้งนี้ด้วย
4. ความรู้เกี่ยวกับศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง (ชีวาพร คุ้มจอหอ 2544 : 55)
89
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง เดิมเป็นหน่วยราชการในสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
ในปี พ.ศ. 2536 ได้โอนหน่วยงานมาสังกัดกับ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และในปี พ.ศ. 2545 จากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเป็นสำนักบริการสวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งอยู่เลขที่ 50 หมู่ที่ 7 ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130 โทร. 0-2428-1558 โทรสาร. 0-2462-6636
4.1 ความเป็นมาของหน่วยงาน
กรมประชาสงเคราะห์ มีภารกิจด้านการสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ หลายประเภท อาทิ เด็กและเยาวชน สตรี คนชรา คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คนพิการ” ซึ่งได้เล็งเห็นว่าคนพิการไม่ใช่บุคคลที่ไร้ประโยชน์ แต่เป็นเพียงผู้สูญเสียอวัยวะบางส่วนและความสามารถบางอย่างไปเท่านั้น แต่สติปัญญาและอวัยวะที่เหลืออยู่ก็สามารถฟื้นฟูให้เกิดประโยชน์ได้ ถ้าได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาที่ถูกวิธี เพื่อให้คนพิการสามารถประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยตนเองไม่เป็นภาระแก่ ครอบครัวและสังคม อีกทั้งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ดังนั้น กรมประชาสงเคราะห์จึงได้มีนโยบายในการจัดฝึกอาชีพให้แก่คนพิการ โดยในปี พ.ศ. 2509 องค์การสหประชาชาติได้ส่ง Mr. Victor J. Baltafar ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เป็นผู้ให้คำแนะนำภายใต้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติซึ่งได้เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตัวอย่าง (Pilot Rehabilitation Training Center for the Disabled) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในประเทศไทย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2510 – 2514)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 กรมประชาสงเคราะห์ได้จัดตั้ง ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ
พระประแดง ภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นแห่งแรกต่อมา ในปี พ.ศ. 2536 ได้โอนหน่วยงานมาสังกัดกับ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และในปี พ.ศ. 2545 จากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเป็นสำนักบริการสวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและ
90
สวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และได้ขยายการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการเพิ่มขึ้นอีกในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ จนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 8 แห่ง
4.2 วิสัยทัศน์ดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ
มีหลักสูตรสาชาวิชาชีพและวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความต้องการของตลาดแรงงาน ผู้พิการรู้สิทธิและหน้าที่ของตนในสังคมประชาธิปไตย เคารพในสิทธิของผู้อื่น มีวินัย สามารถพึ่งพาตนเองและเลี้ยงดูครอบครัวได้ ทำประโยชน์และเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
4.3 นโยบายการดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ
1) เพื่อพัฒนาผู้พิการทุกด้านทั้งทางร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา อันได้แก่การฝึกอาชีพให้ดำเนินการไปพร้อม ๆ กันอย่างมีประสิทธิภาพ และบังเกิดผลแก่ผู้พิการให้มากที่สุด
2) เพื่อฝึกผู้พิการให้อยู่ในกฎระเบียบวินัย สามารถออกไปทำงานภายนอก ใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับบุคคลปกติได้ และสังคมยอมรับผู้พิการมากขึ้น
3) เพื่อดำเนินการฝึกภาวะความเป็นผู้นำและผู้ติดตามที่ดีให้แก่ผู้รับการฝึกอาชีพ อันจะเป็นประโยชน์หลักจากผู้พิการสำเร็จการฝึกอาชีพออกไปทำงานภายนอกแล้ว
4) เพื่อฝึกคุณธรรม ความอดทน ความซื่อสัตย์สุจริต ฝึกการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับคนอื่น ฝึกการพัฒนาตนเองให้ปฏิบัติตน ประพฤติดี ประพฤติชอบ
4) เพื่อให้ผู้รับการฝึกอาชีพได้รับความรู้ ประสบการณ์ในการศึกษาดูงานฝึกงานตามสถาน
ประกอบการต่าง ๆ
4.4 บทบาทและภารกิจ
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง ได้มีการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 โดยให้การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้ง 4 ด้าน คือ การฟื้นฟูทางการแพทย์ การฟื้นฟูทางการศึกษา และการฟื้นฟูทางสังคม โดยได้จัดบริการสวัสดิการด้านต่าง ไว้ ดังนี้
91
1) จัดการฝึกอาชีพแก่บุคคลพิการทั้งชายและหญิง อายุระหว่าง 14 –40 ปี จำนวน 5
แผนก ดังนี้
(1) แผนกช่างวิทยุ – โทรทัศน์
(2) แผนกช่างไฟฟ้า – เครื่องทำความเย็น
(3) แผนกช่างเย็บหนัง
(4) แผนกช่างตัดเย็บเสื้อผ้า
(5) แผนกคอมพิวเตอร์
2) จัดบริการปัจจัยสี่ ได้แก่ ที่พักอาศัย อาหาร เครื่องแต่งกาย ยารักษาโรค และสิ่งของเครื่องใช้
ส่วนตัวที่จำเป็น
3) ส่งเสริมความรู้และให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาทางการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยจัดการศึกษาสายสามัญในระบบนอกโรงเรียน
4) จัดบริการฟื้นฟูและปรับสภาพทางร่างกาย โดยให้การช่วยเหลือกายอุปกรณ์เสริมหรืออวัยวะเทียมและเครื่องช่วยความพิการ
5) จัดบริการทางด้านสังคมสงเคราะห์ ปรับสภาพทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตใจ รวมทั้งการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหา
6) จัดบริการนันทนาการ กิจกรรมกีฬา เพื่อให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ผ่อนคลายความตึงเครียดจากการฝึกอาชีพและเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
7) จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตในสังคม
8) จัดหางานให้แก่คนพิการที่สำเร็จการฝึกอาชีพได้ทำงานในสถานประกอบการ หรือประกอบ
อาชีพอิสระ และฝึกทักษะเพิ่มเติม รวมทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ และการรวมกลุ่ม
ประกอบอาชีพตามความเหมาะสม
4.5 วัตถุประสงค์การดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง
1) ให้การอบรมและฝึกอาชีพแก่ผู้พิการทุกประเภท ที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายให้มีความสามารถ และความชำนาญงาน เพื่อประกอบอาชีพในสถานประกอบการ และอาชีพอิสระ
2) ให้การฟื้นฟูและแก้ไขสภาพความพิการของอวัยวะตามหลักการแพทย์ อาทิ การจัดแขนเทียม ขาเทียม เบรส รองเท้าสำหรับคนพิการ รถเข็น รถโยก ไม้ค้ำยัน การผ่าตัดอื่น ๆ ตามที่แพทย์วินิจฉัยให้การรักษาฟื้นฟูเฉพาะราย
92
3) ให้การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านจิตใจและสังคม ช่วยเหลือผู้พิการให้ได้รับความรู้ความเข้าใจสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคม ยอมรับและเชื่อมั่นในตนเอง รู้ถึงวิธีการปฏิบัติการวางตน และความสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุขในสังคม
4) ให้คำแนะนำปรึกษาแนะแนวอาชีพ ตลอดจนประเมินผลการฝึกอาชีพเพื่อให้การประกอบอาชีพของผู้พิการได้ผลสูงสุดตามทักษะความสามารถ มีรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว โดยไม่เป็นภาระต่อสังคม
5) จัดหางานให้กับผู้พิการที่สำเร็จการฝึกอาชีพของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงได้ทำงานในสถานประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระ
4.6 ขอบเขตและลักษณะการให้บริการ
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดอบรมและฝึกอาชีพให้แก่คนพิการชายและหญิง อายุระหว่าง 14-40 ปี (ยกเว้นผู้พิการทางจิต) โดยมุ่งให้ผู้รับบริการมีความรู้ความสามารถ ได้รับการพัฒนาทักษะความชำนาญในวิชาชีพสาขาต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้เมื่อสำเร็จการฝึกอบรม ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง สามารถให้บริการแก่ผู้พิการเข้ารับการฝึกอาชีพได้ปีละประมาณ 160 คน โดยมีลักษณะการให้บริการดังนี้
4.6.1 บริการด้านการอบรมและฝึกอาชีพ
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง เปิดสอน 6 สาขาอาชีพ หลักสูตร 1 ปี (ผู้จบหลักสูตรการศึกษา จะได้รับประกาศนียบัตรจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) คือ
1) วิชาชีพช่างตัดเย็บเสื้อผ้า (ความรู้พื้นฐานอ่านออก-เขียนได้)
2) วิชาชีพช่างเย็บหนัง (ความรู้พื้นฐานอ่านออก-เขียนได้)
3) วิชาชีพช่างไฟฟ้า-เครื่องทำความเย็น (ความรู้พื้นฐานจบประถมศึกษาปีที่ 4)
4) วิชาชีพช่างวิทยุ-โทรทัศน์ (ความรู้พื้นฐานจบประถมศึกษาปีที่ 6)
5) วิชาชีพคอมพิวเตอร์ (ความรู้พื้นฐานจบมัธยมศึกษาปีที่ 3)
6) วิชาชีพนวดแผนโบราณ และอ่านเขียนอักษรเบรลล์ สำหรับคนพิการทางการ
มองเห็น (เปิดทำการสอนเพียง 2 รุ่น)
93
4.6.2 บริการด้านการศึกษาสายสามัญ
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงได้ประสานกับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอพระประแดง จัดหลักสูตรการเรียนการสอนนอกโรงเรียน (กศน.) ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อปรับวุฒิการศึกษาให้สูงขึ้น
4.6.3 บริการด้านการจัดหางาน
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง ได้ประสานงานกับภาครัฐและภาคเอกชน ในการจัดหางานให้แก่ผู้รับการฝึกอาชีพที่ต้องการประกอบอาชีพหลังจบหลักสูตร โดยได้พิจารณาจากความสามารถของผู้รับการฝึกอาชีพแต่ละราย ให้คำแนะแนวทางในการประกอบอาชีพ เช่น เงินทุนกู้ยืม ประกอบอาชีพ เป็นต้น
4.6.4 บริการด้านสุขภาพอนามัย
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง ให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟู ปรับสภาพร่างกาย จัดทำอุปกรณ์และอวัยวะเทียม การดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น ส่งต่อผู้รับการฝึกอาชีพไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล อบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยต่าง ๆ
4.6.5 บริการด้านปัจจัย 4
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง จัดให้มีบริการด้านที่อยู่อาศัย (หอพักชาย และหอพักหญิง) อาหาร (3 มื้อ) เครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าชุดฝึกอาชีพ ชุดกีฬา และเครื่องใช้จำเป็น เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก เป็นต้น) ยารักษาโรค
4.6.6 บริการด้านสังคมสงเคราะห์และการให้คำปรึกษาแนะนำ
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง ได้จัดให้มีการปรับสภาพผู้เข้ารับการฝึกอาชีพด้านสังคม อารมณ์ และจิตใจ ช่วยแก้ไขปัญหา และให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม เพื่อให้ผู้รับการฝึกสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้
94
4.6.7 รายละเอียดของงาน (Jop Description)
1) ฝ่ายบริหารงานศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง ประกอบด้วยสายงาน
สารบรรณ / ธุรการ งานบุคลากร งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และงานยานพาหนะ
2) กลุ่มการเงิน / บัญชี / พัสดุ ประกอบด้วยสายงานการเงินและบัญชี งานการเงินและฎีกา และงานพัสดุ
3) ฝ่ายสวัสดิการสงเคราะห์ ประกอบด้วยสายงานประเมินสมรรถภาพและเตรียมความพร้อม งานฝึกอบรมวิชาชีพ งานจัดหางานและติดตามผล งานบำบัดรักษา งานฟื้นฟูและปรับสภาพร่างกาย งานส่งเสริมสุขภาพ งานกายภาพบำบัด งานการศึกษาสายสามัญ งานบริการชุมชน และงานแผนงานและโครงการ
5) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ประกอบด้วยสายงานสังคมสงเคราะห์ งานสวัสดิการ
พื้นฐาน งานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต งานรับบริจาค และงานสูทกรรม
95
1. งานสารบรรณ / ธุรการ 1. งานประเมินสมรรถภาพ 1. งานสังคมสงเคราะห์
2. งานบุคลากร และเตรียมความพร้อม 2. งานสวัสดิการพื้นฐาน
3. งานอาคารสถานที่และ 2. งานฝึกอบรมวิชาชีพ 3. งานส่งเสริมและ
พัฒนาสิ่งแวดล้อม 3. งานจัดหางานและติดตามผล คุณภาพชีวิต
4. งานยานพาหนะ 4. งานบำบัดรักษา 4. งานรับบริจาค
5. งานฟื้นฟูและปรับสภาพทาง 5. งานสูทกรรม
ร่างกาย
6. งานส่งเสริมสุขภาพ
7. งานกายภาพบำบัด
8. งานการศึกษาสายสามัญ
9. งานบริการชุมชน
10. งานแผนงานและโครงการ
ผู้อำนวยการศูนย์
ฝ่ายบริหารงานศูนย์ ฯ
ฝ่ายสวัสดิการสงเคราะห์
ฝ่ายสังคมสงเคราะห์
พัสดุ /
กลุ่มการเงิน/บัญชี
1. งานการเงินและบัญชี
2. งานการเงินและฎีกา
3. งานพัสดุ
แผนภาพที่ 2 โครงสร้างการบริหารงานศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงปีงบประมาณ 2546
ที่มา : ฝ่ายบริหารงาน ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง
96
4.7 การรับสมัครผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ
4.7.1 คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ
1) เพศชายและหญิง มีอายุระหว่าง 14-40 ปี
2) เป็นผู้พิการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และความพิการนั้น ๆ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมวิชาชีพ
3) ไม่พิการอัมพาตจนไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายได้
4) ไม่พิการทางจิต ทางสมองหรือปัญญาอ่อน
5) คนหูหนวกหรือเป็นใบ้ต้องสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนโสตศึกษาของรัฐหรือเอกชน
6) คนพิการท่องล่างที่ต้องใช้เครื่องกายอุปกรณ์เสริมหรืออุปกรณ์เทียมและเครื่องกายอุปกรณ์ช่วยเดิน จะต้องสามารถเดินหรือเคลื่อนไหวได้เช่นปกติ
7) จะต้องผ่านการทดสอบว่าเป็นผู้มีสติปัญญา และมีความสามารถที่ฝึกวิชาชีพ
นั้น ๆ ได้
8) มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
9) ไม่เป็นโรคเรื้อรังหรือโรคติดต่ออันตราย หรือยาเสพติดให้โทษ
4.7.2 ขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงานในการประเมินสมรรถภาพและ
เตรียมความพร้อมด้านอาชีพแก่คนพิการ
1) ผู้พิการสมัครและรายงานตัว
2) ผู้พิการเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถภาพ โดยมีคณะกรรมการประเมิน
สมรรถภาพในรูปแบบสหวิชาชีพ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ หัวหน้าฝ่ายประเมินสมรรถภาพและเตรียมความพร้อม แพทย์ (เวชศาสตร์ฟื้นฟู) พยาบาล ครูฝึกอาชีพ
นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด นักอาชีวบำบัด ผู้ให้คำแนะนำ (Counselor) และผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟู ซึ่งศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงจัดให้มีการทดสอบ ดังนี้
97
(1) ด้านร่างกาย (ความพิการ)
(2) ด้านสติปัญญา
(3) ด้านอารมณ์ จิตใจ
(4) ด้านสังคม ครอบครัว และสภาพแวดล้อม
(5) ด้านการศึกษา
(6) ด้านบุคลิกภาพ / แนวถนัด
(7) ด้านทักษะทางอาชีพ และลักษณะนิสัยในการทำงาน
3) จัดให้มีการประชุม Case Conference เพื่อจัดโปรแกรมการฝึกอาชีพเป็นรายบุคคล
4) จัดให้มีการฝึกอาชีพแก่ผู้พิการที่ผ่านกระบวนการเตรียมความพร้อม โดยให้เข้ารับการฝึก
อาชีพในสาขาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กำหนดไว้
5) จัดบริการส่งต่อและแนะแนวการประกอบอาชีพแก่ผู้พิการที่ผ่านกระบวนการประเมินสมรรถภาพและเตรียมความพร้อม ในกรณีต่อไปนี้
(1) ผู้พิการที่มีความสามารถและศักยภาพในระดับสูง แต่ขาดทักษะด้านอาชีพ
ให้ส่งฝึกอาชีพร่วมกับหน่วยบริการฝึกอาชีพภายนอกศูนย์
(2) ผู้พิการที่มีความสามารถและศักยภาพในระดับสูง และมีทักษะด้านอาชีพแล้วให้ส่งหน่วยบริการจัดหางาน เพื่อประกอบอาชีพในสถานประกอบการหรืออาชีพอิสระ
(3) ผู้พิการที่มีความสามารถและศักยภาพในระดับปานกลาง ให้ส่งทำงานที่
โรงงานในอารักษ์
(4) ผู้พิการที่สำเร็จการฝึกอาชีพตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กำหนด ให้ส่งหน่วยบริการจัดหางาน เพื่อประกอบอาชีพในสถานประกอบการหรืออาชีพอิสระ
(5) ผู้พิการที่ไม่สามารถฝึกอาชีพได้ แต่สามารถทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ซับซ้อน ให้
ส่งต่อทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะงานที่ทำได้ หรือส่งกลับสู่ครอบครัว ชุมชน โดยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามสมควร
4.7.3 วิธีดำเนินการในการประเมินสมรรถภาพและเตรียมความพร้อมด้าน
98
อาชีพแก่คนพิการ
1) มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ Case เป็นรายบุคคลตั้งแต่เริ่มเข้าสู่กระบวนการประเมิน
สมรรถภาพ โดยมีหน้าที่สัมภาษณ์ประวัติ และรวบรวมผลการประเมินสมรรถภาพ การเตรียมความพร้อม ติดตามผลการฝึกอาชีพ และสำเร็จการฝึกอาชีพ รวมทั้งให้คำแนะนำและแนวการประกอบอาชีพ การแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ พฤติกรรม การฝึกอาชีพ กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และการประสานส่งต่อ จนกระทั่งสิ้นสุดการดำเนินงานเมื่อผู้พิการสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้ หรือช่วยเหลือตนเองได้โดยไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม
2) มีการประชุมปรึกษาหารือ Case Conference อย่างต่อเนื่อง โดยคณะทำงานด้าน
การประเมินสมรรถภาพและฟื้นฟู ในรูปแบบสหวิชาชีพ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟู
หัวหน้าฝ่ายประเมินสมรรถภาพและเตรียมความพร้อม แพทย์ (เวชศาสตร์ฟื้นฟู) พยาบาล ครูฝึกอาชีพ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด นักอาชีวบำบัด ผู้ให้คำแนะนำ (Counselor) และผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟู เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและศักยภาพของผู้พิการแต่ละราย
3) มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการประเมินสมรรถภาพ 3 กลุ่มงาน ดังนี้
(1) กลุ่มงานประเมินสมรรถภาพด้านร่างกาย ประกอบด้วย พยาบาล
นักกายภาพบำบัด นักอาชีวบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด ดำเนินการประสานและจัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพด้านร่างกาย (ความพิการ)
(2) กลุ่มงานประเมินสมรรถภาพด้านสังคม ประกอบด้วย นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และผู้ให้คำแนะนำ ดำเนินการประสานและจัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพด้านจิตใจ อารมณ์ สติปัญญา สังคม ครอบครัว การศึกษา สภาพแวดล้อม และบุคลิกภาพ / แนวถนัด
(3) กลุ่มงานประเมินสมรรถภาพด้านอาชีพ ประกอบด้วย ครูฝึกอาชีพ เจ้าหน้าที่จัดหางาน ดำเนินการประสานและจัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพด้านทักษะทางอาชีพ และลักษณะนิสัยในการทำงาน
99


การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย (ตอนที่ 1)

การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย (ตอนที่ 2)

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ18 กันยายน 2553 เวลา 09:47

    สวัสดีค่ะ อยากจอขอตัวงานวิจัยชิ้นนี้เพื่อไปให้ประกอบการทำวิทยานิพนธ์ค่ะ แต่ไม่สามารถDownloadได้
    รบกวนส่งเข้า E-mailให้หน่อยน่ะค่ะ
    fang_yamashita@hotmail.com
    ขอบพระคุณมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ส่งไปทาง e-mail ไปแล้วครับ

    ตอบลบ